อาสาสมัครเพื่อนคนตาบอดเขียน-อ่านอักษรเบรลล์กันได้ไหมคะ?

อยากทราบค่ะว่ามีพี่ๆ อาสาสมัครคนไหนเขียน-อ่านอักษรเบรลล์กันได้บ้างคะ และมีใครสนใจอยากลองฝึกเขียน-อ่านอักษรเบรลล์กันดูบ้างมั๊ยคะ ขอกระซิบค่ะว่าอักษรเบรลล์ไม่ได้ยากอย่างที่คิดนะคะ เรียนแป๊บเดียวรับรองว่าเขียน-อ่านได้แน่นอนค่ะ

สนใจทีเดียวครับ ความจริงอยากเรียนมานานแล้ว แต่ไม่รู้จะไปหาข้อมูลที่ไหน ช่วยแนะนำด้วยครับ

อีกอย่างที่อยากหาคือเครื่องพิมพ์ดุน สำหรับใช้ทั้งพิมพ์เบรลล์และภาพลายเส้นได้ วันก่อนที่ไปสำรวจวัดจีน พยายามหาเครื่องอย่างนี้ เพื่อทำแผนผังให้น้องๆตาบอด แต่หาไม่ได้

วิษณุ

รับสอนอ่าน เขียน อักษรเบรลล์ครับ หลักสูตร 8 ชั่วโมง 1300 บาท รวมค่าอุปกรณ์
ติดต่อ ณัฐพล 087-100-2424

จำได้ว่า เคยเห็น Slate น่ะครับที่ช่วยให้คนตาบอดสามารถเขียนได้ทั้งอักษรเบรลล์และภาพ และได้ยินข่าวมาแว่วๆ ว่า ที่สหกรณ์บริการคนตาบอดนำ Slate แบบนี้นำมาวางขายแล้ว

หลักการไม่มีอะไรมากไปกว่าเดิมครับ เพียงแค่ Slate แบบใหม่นี้จะมีขนาดเท่ากับกระดาษ A4 เลยครับ แต่ตารางที่ใช้ปิดส่วนหน้าสามารถถอดได้ และเราสามารถใช้ไม้บรรทัดทาบและกดไปตามรอยปุ เท่านี้ก็เป็นรายเส้นแบบง่ายๆ ได้แล้วครับ ไม่จำเป็นที่จะต้องไปหัดใช้ลูกกิ้งหรือแผ่นยาง เพราะคุณภาพของลายเส้นต้องอาศัยฝีมือที่สุดยอด

โบ

ปอมเคยเขียนเล่าวิธีการเขียนอักษรเบรลล์ไว้บนบล๊อกนะคะ ถ้าพี่ๆ สนใจอยากลองอ่านเพื่อศึกษาดูก่อน เชิญได้เลยค่ะที่ :
http://nupomme.exteen.com/20070528/entry

แต่ถ้าพี่ๆ อยากเรียนกันแบบลงมือเขียนอ่านจริงๆ พวกปอมยินดีสอนให้นะคะ พี่ๆ อาจจะลองรวบรวมคนที่สนใจ แล้วนัดมาเรียนกันก็ได้ค่ะ

พี่โบ : มีสเลตแบบนั้นด้วยเหรอพี่ หน้าตาเป็นไงอ่ะ ไว้ต้องลองเข้าไปหาซื้อมาดูเล่นสักอัน ว่าแต่ว่าปอมวาดรูปไม่เก่งอ่ะ :P

อ่านบทความของน้องปอมแล้ว ดูไม่ยากจริงๆครับ แต่รู้สึกอยากทำให้ดีกว่านั้น คือแปลงเอกสารอิเล็กทรอนิกส์เป็นรูปแบบเบรลล์ แล้วพิมพ์ลงเครื่องพิมพ์ได้เลย จะรวดเร็วและได้ปริมาณมากกว่า เสียแต่ว่าไม่มีเครื่องพิมพ์ดุนนี่แหละ

เอาไว้ไปห้องสมุดคราวหน้าผมจะไปซื้อสเลตมาลองใช้ดูครับ

วิษณุ

ที่จริงแล้ว .... จะเขียนเบรลล์ให้มันต้องเขียนแบบดั้งเดิม.... โปรแกรมแปลที่ผลิตออกมาจากหลากหลายสำนัก เช่น ราชสุดา ม.เชียงใหม่ ก็มีหลักการคล้ายกัน คือ ใช้ Dictionary-based ผสมผสานกับการใช้ model-based ในการทำ Word sectmentation น่ะครับ ในขั้นตอนแรก และใช้การถอดรหัสแบบเรียงตัวก่อน และในอีกขั้นก็นำคำหรือสระผสมมาถอดรหัสอีกครั้งเพื่อให้เป็นรูปแบบอ่านที่ถูกต้องและจัดรูปหน้าน่ะครับ..... ซึ่งโบว่า ถ้าคนปกติสามารถอ่านเบรลล์ได้ก็น่าสนุกดีน่ะครับ .... การผลิตเชิงปริมาณ เป็นเรื่องที่เหน็ดเหนื่อยน่ะครับ

โบ

เห็นด้วยกับพี่โบค่ะว่าเขียนอักษรเบรลล์นี่เขียนแบบดั้งเดิมด้วยสเลตและดินสอนี่มันกว่า จริงอยู่ค่ะว่าการเขียนแบบนี้ทำให้ไม่สามารถผลิตงานได้ในปริมาณมากๆ นะคะ แต่มันก็เหมือนกับงานแฮนด์เมทน่ะค่ะที่มีอารมณ์ความรู้สึกต่างไปจากงานที่ผลิตแบบ mass

ถึงแม้ว่าเทคโนโลยีในปัจจุบันนี้ทำให้เราสามารถผลิตเอกสารอักษรเบรลล์ได้ในปริมาณมากๆ และรวดเร็วขึ้น แต่ข้อเสียก็คือยังมีราคาแพงมากค่ะ เพราะเรายังต้องพึ่งเทคโนโลยีจากต่างประเทศอยู่ เครื่องพริ้นต์อักษรเบรลล์เครื่องหนึ่งมีราคาเป็นหลักแสน เพราะฉะนั้นคนตาบอดเรา (โดยเฉพาะคนตาบอดไทย) ก็ยังพึ่งพาสเลตและดินสอคู่ชีพอยู่นะคะ เพราะว่ามันมีราคาถูกที่พวกเราสามารถจ่ายได้ อีกอย่างมันสะดวกพกพาและสามารถนำขึ้นมาจดอะไรเล็กๆ น้อยๆ ได้ทันทีค่ะ แต่ถ้าเป็นงานที่ต้องการปริมาณนั้นก็อีกเรื่องหนึ่งค่ะ

ประมาณเดียวกับสื่อการเรียนการสอนสำหรับคนตาบอดนะคะ ที่ว่าถ้าเราต้องนำเข้าจากต่างประเทศนั้นจะมีราคาแพงมาก ทำให้เราสามารถนำเข้ามาได้ในปริมาณน้อย และไม่เพียงพอต่อความต้องการของน้องๆ นักเรียน อย่างน้องๆ ที่ได้ออกไปเรียนร่วมกับเพื่อนๆ สายตาปกตินี่จะประสบกับความขาดแคลนเรื่องสื่อพวกนี้ค่อนข้างมาก เพราะเรามัวแต่คิดว่าจะต้องผลิตภาพนูนจากเครื่องพิมพ์เบรลล์หรือเครื่อง thermoform (สะกดอย่างนี้ใหม) ที่ใช้ความร้อนทำให้ลายเส้นดินสอที่เราวาดนั้นนูนขึ้นมาได้นะคะ ภาพนูนแต่ละภาพเหล่านี้ตกอยู่ที่ราคาภาพละหลายสิบบาท และตัวเครื่องก็ไม่ใช่ถูกๆ เลย แต่เราลืมคิดไปค่ะว่าเราสามารถนำวัสดุเหลือใช้ที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาผลิตภาพนูนเพื่อใช้ในการเรียนการสอนได้เหมือนกัน (แถมอาจมีราคาถูกกว่าด้วย) อย่างวันก่อนไปได้มีโอกาสสัมผัสภาพนูนซึ่งเป็นสื่อการเรียนของอาจารย์ในโรงเรียนปกติท่านหนึ่ง อาจารย์เค้าเอาฟิวเจอร์บอร์ดมาใช้ แล้วแปะเชือกต่างๆ ที่มีลักษณะสัมผัสที่แตกต่างกันให้เป็นรูปสนามกีฬาประเภทต่างๆ ที่แสดงให้ผู้เรียนได้เห็นถึงเส้นต่างๆ ของสนาม เท่านี้นักเรียนตาบอดที่ออกไปเรียนร่วมก็ไม่ต้องนั่งอยู่เฉยๆ และจินตนาการเอาเองว่าสนามตะกร้อเป็นอย่างไร สนามวอลเล่ย์บอลเป็นอย่างไร มีกี่เส้น เวลาเสิร์ฟลูกจะเสิร์ฟตรงไหน อะไรอย่างนี้น่ะค่ะ

การที่เรามีเทคโนโลยีชั้นสูงมาช่วยในการผลิตให้รวดเร็วและได้ปริมาณมากขึ้นนั้นมันก็ดีค่ะ แต่ด้วยความที่ว่าพวกเรายังต้องนำเข้าอุปกรณ์เหล่านี้จากต่างประเทศอยู่ เลยทำให้คนส่วนใหญ่ยังไม่สามารถเข้าถึงได้น่ะค่ะ ดังนั้นในบางครั้งบางคราวเทคโนโลยีพื้นๆ ก็ยังมีบทบาทสำคัญอยู่ค่ะ

ขอแก้ข้อมูลนิดนึงค่ะ เครื่องที่ปอมเขียนว่าสามารถทำให้ลายเส้นของดินสอที่เราวาดนั้นนูนขึ้นมาได้นั้นไม่ได้เรียกว่าเครื่อง thermoform ค่ะ แต่มีคนบอกว่าเรียกว่า swelltouch ไอ้เจ้าเครื่องนี้จะต้องใช้กับกระดาษพิเศษค่ะ คือคนที่อยากทำภาพนูนที่มีลายเส้นง่ายๆ สามารถวาดรูปด้วยดินสอดำ (คิดว่าน่าจะเป็น 2B) ลงบนกระดาษพิเศษนี้ แล้วนำไปเข้าเครื่องเราก็จะได้ภาพนูนง่ายๆ ออกมาค่ะ ส่วนที่นูนคือส่วนที่เป็นลายเส้นดินสอค่ะ ได้ข่าวมาว่าตัวเครื่องมีราคาไม่แพงมาก (แต่ไม่ทราบว่าเท่าไหร่) แต่ตัวที่แพงคือตัวกระดาษ ซึ่งเห็นว่าแต่ละแผ่นตกประมาณ 1 ดอลล่าร์ ค่ะ

เขียนและอ่านไม่เป็นเลยอะค่ะ แต่ตอนนี้ก็เป็นอาสาสมัครอ่านหนังสือเสียวงให้กับทางสถาบันคนตาบอดแห่งชาติเพื่อการวิจัยและพัฒนาอยู่อะค่ะ มีความสุขมากที่ได้ทำงานเพื่อคนตาบอด และได้ความรู้ เปิดโลกกว้างให้ตัวเองเพิ่มมากขึ้น

When Tomorrow Comes "ควร! เตือนตัวเองเสมอว่าโกรธคือโง่ โมโหคือบ้า ด่าคือมาร ระรานคือบาป"

สนใจและอยากเรียนมากเลยครับ
เคยลอง Search แต่หาข้อมูลไม่ค่อยได้เป็นรูปเป็นร่างเลย
หากเป็นไปได้ ขอความอนุเคราะห์ด้วยนะครับ

ขอบพระคุณล่วงหน้าครับ _/|\_