แนวความคิดเพื่อพัฒนาระบบผิวสัมผัสเพื่อทดแทนสีในงานจัดแสดง
สวัสดีค่ะ ตอนนี้กำลังหาข้อมูลเพื่อทำวิจัยเกี่ยวกับแนวความคิดเพื่อพัฒนาระบบผิวสัมผัสเพื่อทดแทนสีในงานจัดแสดง (ปริญญาโทคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาการจัดการนิทรรศการ ที่ธรรมศาสตร์)
ซึ่งตอนนี้กำลังหาข้อมูลเพื่อที่จะทำวิจัยเกี่ยวกับ คนพิการทางสายตากับการรับรู้เรื่องของสินะค่ะ โดยจุดประสงค์ที่วางไว้คือ จะสร้างระบบของผิวสัมผัสเพื่อบ่งบอกถึงสีในโทนต่างๆ ที่จะถูกพิมพ์ลงมาพร้อมกับภาพหรืองานกราฟฟิกต่างๆ ที่นำมาจัดแสดงในนิทรรศการ คล้ายกับระบบของอักษรเบลล์นะค่ะ ยกตัวอย่างเช่น มีภาพของตัวการ์ตูน(ภาพที่ไม่ซับซ้อนมากนัก) แล้วเมื่อคนพิการทางสายตามาจับกับผิวสัมผัสบนภาพนี้แล้ว ก้สามารถรับรู้ถึงสีแต่ละสีบนภาพๆนี้ได้(ซึ่งโดยตัวผู้เข้าชมต้องได้รับการฝึกเกี่ยวกับสัญลักษณ์นี้ก่อนแล้วและไม่ได้พิการแต่กำเจิดคืออาจจะต้องเคยรู้มาก่อนว่าสีนี้มีลักษณะยังไงค่ะ) พี่จึงอยากจะสอบถามข้อมูลหน่อยค่ะว่า สิ่งนี้ถ้าทำวิจัยออกมาแล้วมีประโยชน์ต่อผู้พิการทางสายตาจริงหรือไม่ในการรับรู้เรื่องของสีในภาพแสดงหรือในปัจจุบันมีวิธีใดบ้างที่สื่อในเรื่องของสี-ต้องการสื่อด้านไหนเมื่อเข้าชมนิทรรศการ... -หรือเนื้อหาประเภทใดที่ต้องการให้ถ่ายทอดมาในรูปของสื่อเพื่อคนพิการทางสายตามากที่สุด
และที่สำคัญที่สุด มีงานในลักษณะนี้อยู่แล้วหรือไม่
ใครมีข้อมูลอย่างไรชี้แนะได้นะค่ะ ทางนี้หรือทางอีเมล gig_ia@hotmail.com
ขอบคุณนะค่ะ
กิ๊ก
- Log in to post comments
หวัดดีครั
หวัดดีครับคุณกิ๊ก
ผมว่า งานวิจัยนี้น่าสนใจน่ะครับ ก็อย่างที่คุณกิ๊กพูดไว้น่ะครับ ห้ามเป็นคนตาบอดแต่กำเนิด ซึ่งหมายความว่า คนตาบอดที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของการวิจัย จะต้องมีมโนทัศน์พื้นฐานเกี่ยวกับสีและความรู้สึกเชิงผัสสะอันเป็นสากลน่ะครับ ตัวอย่าง สีแดง บางคนอาจจะบอกว่า ร้อนแรง รุนแรง รีบเร่ง แต่บางคนอาจจะรู้สึกกลับเป็น แจ่มใส สดใส น่ะครับ เข้าใจว่า สีต่างๆ ที่จะนำมาทำวิจัยน่าจะต้องเลือกให้ชัดเจน เพราะสีหนึ่งๆ อาจจะมีหลาย Tone ซึ่งล้วนแต่มีผลต่อการเทียบกับผิวสัมผัส คือ texture mapping ไช่ไหมครับ ให้ผมแนะนำน่ะครับ น่าจะใช้กรณีศึกษา จากการทำหนังสือการ์ตูนความยาวไม่เกิน ๒๐ หน้า ผมจำได้ว่า เคยมีนักศึกษาจาก ม.รังสิต มาติดต่อให้เป็นที่ปรึกษาทำงานประมาณนี้น่ะครับ ติดกับเรื่องของวัสดุ ข้อจำกัดในการสร้างประเภทของพื้นผิว และมโนทัศน์เกี่ยวกับภาพ ๓ มิติ ที่คนตาบอดประสบอยู่น่ะครับ เรื่องมันยาวมากครับ และผมอาจจะกำลังสับสนว่า คุณกิ๊กเน้นไปทางด้านไหน
เอกชัย
สวัสดีค่ะ
สวัสดีค่ะ คุณเอกชัย
ขอบคุณสำหรับคำแนะนำ โดยตอนนี้สามารถสรุปหัวข้อและวัตถุประสงค์ได้แล้วคือ
หัวข้อ การพัฒนาระบบผิวสัมผัสเพื่อการรับรู้ถึงสีของงานจัดแสดงในนิทรรศการสำหรับคนตาบอด
จุดประสงค์ จะมี 4 ข้อหลักคือ
1.ศึกษาแนวคิดและทฤษฎีในการพัฒนาระบบผิวสัมผัสเพื่อการรับรู้ถึงสีของคนตาบอดในงานสื่อสิ่งพิมพ์ในงานนิทรรศการ
2.ศึกษาขั้นตอนการรับรู้ถึงสีของคนตาบอด
3.ศึกษาความเป็นไปได้ในการสร้างผิวสัมผัสในด้านเทคนิคการผลิตและการนำไปใช้ในงานนิทรรศการ
4.เสนอแนะแนวทางในการพัฒนาระบบผิวสัมผัสเพื่อขยายรูปแบบและองค์ประกอบของสีเพื่อการรับรู้ของคนตาบอด
สีที่จะใช้ศึกษาในงานนี้คือ แม่สีขั้นที่ 1,2,3 และสีขาว-ดำ รวม 14 สีค่ะ
( นิยามคำศัพท์เฉพาะอาจยังไม่ชัดเจนเท่าไหร่นะค่ะ)
ซึ่งจากข้อมูลที่คุณเอกชัยเกริ่นมาเกี่ยวกับเรื่องของวัสดุ ข้อจำกัดในการสร้างประเภทของพื้นผิว และมโนทัศน์เกี่ยวกับภาพ ๓ มิติ ที่คนตาบอดประสบอยู่ เป็นข้อมูลหนึ่งที่ต้องการอย่างมากเลยค่ะ ยังไงรบกวนช่วยอธิบาย แนะนำ หรือส่งข้อมูลให้ที่ gig_ia@hotmail.com ด้วยนะค่ะ เพราะข้อมูลในส่วนนี้ยังไม่สามารถค้นหามากเท่าที่ควร
ขอบคุณค่ะ
กิ๊ก
ทำไปก็ใช้
ทำไปก็ใช้ประโยชน์อะไรไม่ได้มาก
แค่คลำภาพบางภาพ คนตาบอดก็ยังไม่เข้าใจว่าเป็นภาพอะไร
แล้วนี่จะใส่ผิวสัมผัสแทนสีอีก เอ๊ออออ น่าสนใจ แต่ไม่เกิดประโยชน์
เพราะมันไม่สำคัญกับชีวิตประจำวันอะไรสักนิด ของคนตาบอดเลย