กํทร อ่านอย่างไร คำลูกต้องสะกดไหม

ดีเจแอ๊ดถามมาว่า

1. "เทียบ เช่น กำธร [-ทอน] ว.สนั่น, หวั่นไหว, สะเทือน, เช่น เสียงเทพอวย อาศิรวาท กำธรอากาศ ฦาเลวงไชยไชย.(สมุทรโฆษ).(เทียบ ข.กํทร ว่า บรรลือเสียง, ตีรัว)." จะอ่านอย่างไรค่ะ กํทร ต้องสะกดด้วยหรือไม่

2. ในศัพท์เช่น กำแพง จะมีกำแพงแก้ว และอื่นๆ จะต้อง อ่าน และสะกดทุกคำหรือไม่

คุณแอ๊ดช่างสังเกตมาก ขอบคุณจริง ๆ ครับ

1. กํ อ่านเป็น เกิม (ออกเสียงสั้นๆ)

ดังนั้น "(เทียบ ข.กํทร ว่า บรรลือเสียง, ตีรัว)" ควรอ่านเป็น "ในวงเล็บ เทียบภาษาเขมร เกิมทอน สะกดดังนี้ กอไก่ นะรึกคะหิด ทอทะหาน ว่า บรรลือเสียง ตีรัว"

เครื่องหมายวงกลมบนตัว ก เรียกว่า นฤหิต ครับ

2. คำศัพท์ที่มีคำลูก ต้องอ่านและสะกดด้วยครับ เพราะคำลูกนั้น มีสถานะเท่ากับคำต้น จึงต้องสะกดด้วย ถึงแม้ว่าจะยาวมากสักหน่อย คนตาบอดจะได้รู้จักว่าทั้งคำนั้นสะกดอย่างไร เพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจผิดพลาดครับ

ผมยังไม่แน่ใจว่าควรมีข้อยกเว้นหรือไม่ สำหรับคำที่เป็นสุภาษิต สำนวน หรือคำพังเพยยาว ๆ เช่น บัวไม่ช้ำ น้ำไม่ขุ่น ซึ่งเป็นคำลูกของ บัว

ไม่ทราบว่าคุณแอ๊ดและคนอื่นมีความเห็นอย่างไรบ้างครับ ผมเองรู้สึกว่าถ้าสะกด ก็จะยาวมากจนน่ารำคาญ แต่ถ้าไม่สะกดก็ไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน เลยตัดสินใจไม่ถูกสักที