เชิญแสดงความคิดเห็นเรื่อง หลักการอ่านคำในพจนานุกรม (ร่างที่ 1)

ผมลองร่างหลักการอ่านคำในพจนานุกรมขึ้นมา สำหรับใช้ในโครงการหนังสือเสียงพจนานุกรมฯ ให้ลองดูกันว่าควรเพิ่มหรือลบอะไรบ้างหรือไม่ ตามนี้ครับ

  1. อ่านคำต้น
    (คำในวงเล็บเหลี่ยม มีไว้บอกวิธีอ่านที่ถูกต้อง ฉะนั้นไม่ต้องอ่านออกเสียงซ้ำคำในวงเล็บเหลี่ยมนั้น)
  2. สะกดคำต้นทีละตัว
  3. บอกลักษณะคำ เช่น ว. อ่านว่า “คำวิเศษณ์” ก. อ่านว่า “คำกริยา” (ดูรายการคำย่อลักษณะคำในบัญชีที่ 1)
  4. อ่านความหมายของคำจนจบ ถ้าเจอเครื่องหมาย , หรือ ; ไม่ต้องออกเสียง เพียงเว้นวรรคให้เหมาะสม
  5. เครื่องหมาย . หมายถึงจบความหมาย จบคำอธิบาย
  6. ถ้ามีคำลูกของคำต้น ให้ทำเหมือนคำต้น คืออ่านคำ และสะกดด้วย แล้วจึงอ่านคำอธิบาย ควรเว้นเพื่อให้ฟังออกว่าเป็นคำใหม่
  7. ข้อความในวงเล็บที่มีตามคำต้น เป็นคำบอกที่ใช้ของคำนั้น ให้อ่านว่า เป็น.... เช่น (ราชา) อ่านว่า “เป็นคำราชาศัพท์” หรือ (ปาก) อ่านว่า “เป็นภาษาปาก” เป็นต้น (ดูรายการคำย่อบอกที่ใช้ในบัญชีที่ 2)
  8. คำที่มีหลายความหมาย จะมีเลข ๑ ๒ ๓ ... ตามคำต้น ให้อ่านว่า ความหมายที่ ... เช่น ไข ๑ ให้อ่านว่า “ไข ขอไข่ สระไอ ความหมายที่หนึ่ง”
  9. ข้อความในวงเล็บที่มาหลังจากคำอธิบายศัพท์ เป็นได้สองอย่างคือ
    1. 9.1. เป็นคำภาษาต่างประเทศ ให้อ่านว่า “มาจากภาษา” ตามด้วยชื่อภาษา และอ่านคำนั้น เช่น (อ. calculus) ให้อ่านว่า “มาจากภาษาอังกฤษ ว่า calculus” (ดูรายการคำย่อชื่อประเทศในบัญชีที่ 3)
      1. 9.1.1. ภาษาอังกฤษ ให้บอกว่า “สะกดดังนี้” แล้วสะกดคำให้ด้วย
      2. 9.1.2. ภาษาอื่น ให้คำอ่านอย่างเดียว
      3. 9.1.3. (ป.; ส. ...) ให้อ่านว่า “มาจากภาษาบาลี ในภาษาสันสกฤตว่า ...”
    2. 9.2. เป็นที่มาของคำในเอกสารที่อ้างถึง ต้องอ่านว่า “จากหนังสือ” แล้วบอกชื่อเต็มของเอกสาร เช่น (ม. คำหลวง มหาพน) ให้อ่านว่า “จากหนังสือ มหาชาติคำหลวง กัณฑ์มหาพน” (ดูรายการชื่อเต็มในบัญชีที่ 4)
  10. เครื่องหมาย = ให้อ่านว่า “เท่ากับ”
  11. เครื่องหมาย ºซ ให้อ่านว่า “องศาเซลเซียส”

ความจริงอยากเอาตัวอย่างหน้าพจนานุกรมมาใส่ไว้ด้วย จะได้เทียบได้ แต่กลัวจะเปลืองเวลาโหลดภาพ

สิ่งที่ต้องหาข้อมูลเพิ่มเติม
- วิธีอ่านสูตรเคมี
- วิธีอ่านชื่อวิทยาศาสตร์ของสัตว์และพืช
- หลักเกณฑ์การอ่านภาษาบาลีและสันสกฤต

บัญชี 1-4 ขอติดไว้ก่อน แล้วจะทำให้ทีหลัง

มีความคิดเห็นอย่างไร เขียนต่อไว้ในกระทู้นี้ หรือเขียนอีเมล์ถึงผมที่ viseua@inet.co.th หรือโทรหาเลยก็ได้ครับ ที่เบอร์ 081-441-8937

วิษณุ

เพิ่มเติมข้อมูล บัญชีที่ 1 2 3 และ 4

ยังไม่แน่ใจว่าจะให้อ่านอย่างไรดี คำในบัญชีที่ 1 น่าจะอ่านออกเสียงว่า "เป็นคำ..." เช่น ก. ก็ว่า "เป็นคำกริยา" เป็นต้น

คำในบัญชีที่ 2 ขอเสนอให้อ่านดังนี้ เช่น กฎ ให้ออกเสียงเป็น "เป็นคำที่ใช้ในกฎหมาย" นั่นคือ อ่านตามที่ให้ไว้ในตารางเลย

คำในบัญชีที่ 3 ไม่มีปัญหา ชื่อภาษามีอยู่ชัดเจน และไม่ต้องอ่านคำในวงเล็บ

บัญชีที่ 1

ตัวย่อ อ่านว่า
ก. เป็นคำกริยา
น. เป็นคำนาม
นิ. เป็นคำนิบาต
บ. เป็นคำบุรพบท
ว. เป็นคำวิเศษณ์
ส. เป็นคำสรรพนาม
สัน. เป็นคำสันธาน
อ. เป็นคำอุทาน

บัญชีที่ 2

ตัวย่อ ให้อ่านว่า
(กฎ) เป็นคำที่ใช้ในกฎหมาย
(กลอน) เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง
(การทูต) เป็นคำที่ใช้ในวงการทูต
(การเมือง) เป็นคำที่ใช้ในวงการเมือง
(การศึกษา) เป็นคำที่ใช้ในวงการศึกษา
(เกษตร) เป็นคำที่ใช้ในการเกษตรกรรม
(คณิต) เป็นคำที่ใช้ในคณิตศาสตร์
(คอม) เป็นคำที่ใช้ในวิชาคอมพิวเตอร์
(เคมี) เป็นคำที่ใช้ในเคมี
(จริย) เป็นคำที่ใช้ในจริยศาสตร์
(ชีว) เป็นคำที่ใช้ในชีววิทยา
(ดารา) เป็นคำที่ใช้ในดาราศาสตร์
(ถิ่น) เป็นคำที่เป็นภาษาเฉพาะถิ่น
(ถิ่น-ปักษ์ใต้) เป็นคำที่เป็นภาษาถิ่นภาคใต้
(ถิ่น-พายัพ) เป็นคำที่เป็นภาษาถิ่นภาคพายัพ
(ถิ่น-อีสาน) เป็นคำที่เป็นภาษาถิ่นภาคอีสาน
(ธรณี) เป็นคำที่ใช้ในธรณีวิทยา
(บัญชี) เป็นคำที่ใช้ในการบัญชี
(แบบ) เป็นคำที่ใช้เฉพาะในหนังสือ ไม่ใช่คำพูดทั่วไป
(โบ) เป็นคำโบราณ
(ปรัชญา) เป็นคำที่ใช้ในปรัชญา
(ปาก) เป็นคำที่เป็นภาษาปาก
(พฤกษ) เป็นคำที่ใช้ในพฤกษศาสตร์
(แพทย์) เป็นคำที่ใช้ในแพทยศาสตร์
(ฟิสิกส์) เป็นคำที่ใช้ในฟิสิกส์
(ไฟฟ้า) เป็นคำที่ใช้ในวิชาไฟฟ้า
(ภูมิ) เป็นคำที่ใช้ในภูมิศาสตร์
(มานุษย) เป็นคำที่ใช้ในมานุษยวิทยา
(แม่เหล็ก) เป็นคำที่ใช้ในวิชาแม่เหล็กไฟฟ้า
(ราชา) เป็นคำที่ใช้ในราชาศัพท์
(เรขา) เป็นคำที่ใช้ในเรขาคณิต
(เลิก) เป็นคำที่เลิกใช้แล้ว
(วิทยา) เป็นคำที่ใช้ในวิทยาศาสตร์
(วรรณ) เป็นคำที่ใช้ในวรรณกรรม
(ไว) เป็นคำที่ใช้ในไวยากรณ์
(ศาสน) เป็นคำที่ใช้ในศาสนศาสตร์
(เศรษฐ) เป็นคำที่ใช้ในเศรษฐศาสตร์
(สถิติ) เป็นคำที่ใช้ในสถิติ
(สรีร) เป็นคำที่ใช้ในสรีรวิทยา
(สังคม) เป็นคำที่ใช้ในสังคมศาสตร์
(สำ) เป็นคำที่เป็นสำนวน
(สัตว) เป็นคำที่ใช้ในสัตวศาสตร์
(แสง) เป็นคำที่ใช้ในวิชาแสง
(โหร) เป็นคำที่ใช้ในโหราศาสตร์
(อุตุ) เป็นคำที่ใช้ในอุตุนิยมวิทยา

บัญชีที่ 3

ตัวย่อ อ่านว่า
(ข.) มาจากภาษาเขมร
(จ.) มาจากภาษาจีน
(ช.) มาจากภาษาชวา
(ญ.) มาจากภาษาญวน
(ญิ.) มาจากภาษาญี่ปุ่น
(ต.) มาจากภาษาพม่า [หมายเหตุ: มาจาก ตะเลง]
(บ.) มาจากภาษาเบงกาลี
(ป.) มาจากภาษาบาลี [หมายเหตุ: มาจาก ตะเลง]
(ฝ.) มาจากภาษาฝรั่งเศส
(ม.) มาจากภาษามลายู
(ล.) มาจากภาษาละติน
(ส.) มาจากภาษาสันสกฤต
(อ.) มาจากภาษาอังกฤษ
(ฮ.) มาจากภาษาฮินดี

บัญชีที่ 4

คำย่อ อ่านว่า
(กฎมนเทียรบาล ในกฎหมายราชบุรี) มาจาก หนังสือกฎหมาย พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ทรงรวบรวม ฉบับโรงพิมพ์กองลหุโทษ ร.ศ. ๑๒๐
(กฎ. ราชบุรี) มาจาก หนังสือกฎหมาย พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ทรงรวบรวม ฉบับโรงพิมพ์กองลหุโทษ ร.ศ. ๑๒๐
(กฎหมาย) มาจาก หนังสือเรื่องกฎหมายเมืองไทย หมอปรัดเล พิมพ์ จ.ศ. ๑๒๓๕
(กฐินพยุห) มาจาก ลิลิตกระบวนแห่พระกฐินพยุหยาตรา พระนิพนธ์ในสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส
(กบิลว่าน) มาจาก ตำรากบิลว่าน ของ หลวงประพัฒสรรพากร
(กฤษณา) มาจาก กฤษณาสอนน้อง แบบเรียนกวีนิพนธ์
(กลบท) มาจาก เพลงยาวกลบท และกลอักษร ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๕
(กล่อมช้างของเก่า) มาจาก บทกล่อมช้างของเก่า ในหนังสือชุมนุมฉันท์ดุษฎีสังเวย ฉบับโรงพิมพ์ ไท พ.ศ. ๒๔๕๗
(กล่อมเด็ก) มาจาก บทกลอนกล่อมเด็ก ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๗๐
(กล่อมพญาช้าง) มาจาก คำฉันท์กล่อมพญาช้าง ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๘
(กากี) มาจาก เรื่องกากีกลอนสุภาพ หนังสือวรรณคดี ของ เจ้าพระยาพระคลัง (หน) ฉบับหอสมุดแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๗
(กาพย์ห่อโคลง) มาจาก ประชุมกาพย์เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๘
(กามนิต) มาจาก หนังสือเรื่องกามนิต ของ เสฐียรโกเศศและนาคะประทีป ฉบับ เจริญวิทย์การพิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๐
(กําสรวล) มาจาก กำสรวลศรีปราชญ์ ฉบับโรงพิมพ์ ไท ถนนรองเมือง พ.ศ. ๒๔๖๐
(กุมภชาดก) มาจากเรื่อง กุมภชาดก ในหนังสือนิบาตชาดก เล่ม ๑๕ ตึสตินิบาต ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๗๐
(กุมารคําฉันท์) มาจาก กุมารคำฉันท์ พระนิพนธ์ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงมณฑา กับพระองค์เจ้าหญิงอุบล ฉบับโรงพิมพ์ โสภณพิพรรฒธนากร พ.ศ. ๒๔๖๖
(ไกรทอง) มาจาก พระราชนิพนธ์บทละครเรื่องไกรทอง สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ พิมพ์ทูลเกล้าฯ ถวาย พ.ศ. ๒๔๕๖
(ไกลบ้าน) มาจาก ไกลบ้าน พระราชหัตถเลขา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถึง สมเด็จเจ้าฟ้านิภานพดล เมื่อเสด็จไปยุโรป ร.ศ. ๑๒๖ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๖
(ขุนช้างขุนแผน) มาจาก หนังสือบทเสภา เรื่องขุนช้างขุนแผน ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๐-๖๑
(ขุนช้างขุนแผน - แจ้ง) มาจาก หนังสือบทเสภา เรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนแต่งงานพระไวย (สำนวนครูแจ้ง) ฉบับกรมศิลปากร พ.ศ. ๒๔๗๘
(คาวี) มาจาก คาวี พระราชนิพนธ์ ในรัชกาลที่ ๒ พิมพ์ จ.ศ. ๑๒๔๙
(คําพากย์) มาจาก คำพากย์รามเกียรติ์ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๑
(คําฤษดี) มาจาก หนังสือคำฤษดี สมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรส สมเด็จกรมพระเดชาดิศร และ กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์ ช่วยกันทรงนิพนธ์ ฉบับโรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ ร.ศ. ๑๒๔
(โคบุตร) มาจาก คำกลอนเรื่องโคบุตร ของ สุนทรภู่
(โคลงกวี) มาจาก โคลงกวีโบราณ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๗
(โคลงพระยาตรัง) มาจาก โคลงนิราศพระยาตรัง หนังสือโคลงกวีโบราณ และวรรณกรรมพระยาตรัง ฉบับโรงพิมพ์อักษรสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๐๕
(เงาะป่า) มาจาก เงาะป่า พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ฉบับโรงพิมพ์อักษรบริการ พ.ศ. ๒๕๑๑
(จด. ราชบัณฑิตยสถาน) มาจาก หนังสือจดหมายเหตุราชบัณฑิตยสถาน
(จารึกวัดป่ามะม่วง) มาจาก ศิลาจารึกวัดป่ามะม่วง หนังสือประชุมศิลาจารึก ภาคที่ ๑ ฉบับโรงพิมพ์สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี พ.ศ. ๒๕๒๑
(จารึกวัดโพธิ์) มาจาก ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน ฉบับราชบัณฑิตยสภา พ.ศ. ๒๔๗๒
(จารึกสยาม) มาจาก ประชุมจารึกสยาม ภาคที่ จารึกสุโขทัย, ศาสตราจารย์ ยอช เซเดส์ ชำระและแปล ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๗
(จิตรปทาฉันท์) มาจากเรื่อง จิตรปทาฉันท์ ในหนังสือชุมนุมตำรากลอน ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๕๐๔
(จินดามณี) มาจาก จินดามณี เล่ม ๑ - ๒ กับบันทึกเรื่องหนังสือจินดามณีและจินดามณี ฉบับพระเจ้าบรมโกศ ของ พระโหราธิบดี ฉบับโรงพิมพ์ รุ่งวัฒนา พ.ศ. ๒๕๑๒
(ฉันท์โพธิบาทว์) มาจาก ฉันท์โพธิบาท ในหนังสือประชุมจารึกวัดพระเชตุพน
(ฉันทลักษณ์) มาจาก ตำราสยามไวยากรณ์ ฉันทลักษณ์ ของ กรมศึกษาธิการ
(เฉลิมพระเกียรติพระนารายณ์) มาจาก โคลงเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนารายณ์ พระศรีมโหสถ แต่ง ฉบับราชบัณฑิตยสภา พ.ศ. ๒๔๖๘
(เฉลิมพระเกียรติ ร. ๒) มาจาก โคลงดั้นเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย, พระยาตรัง แต่ง ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๗
(ชิงนาง ร. ๖) มาจาก ชิงนาง ละครพูด ๔ องก์ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว แปลงจากเรื่องภาษาอังกฤษ ของ ริชาด ปรินสะลี เชริเดน
(ชุมนุมตํารากลอน) มาจาก หนังสือชุมนุมตำรากลอน ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ
(แช่งนํ้า) มาจาก ประกาศแช่งน้ำโคลงห้า
(โชค - โบราณ) มาจาก หนังสือตำราโชคต่าง ๆ เลือกคัดจากฉบับของโบราณ นาวาตรี หลวงวุฒิวารีรณ ร.น. พิมพ์ พ.ศ. ๒๔๖๗
(ไชยเชฐ) มาจาก ไชยเชฐ บทละครนอก พระราชนิพนธ์ ในรัชกาลที่ ๒ รวม ๖ เรื่อง ฉบับ หอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๕
(ดอกสร้อยสวรรค์ครั้งกรุงเก่า) มาจาก บทดอกสร้อยสวรรค์ครั้งกรุงเก่า พระนิพนธ์ ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงอดิศรอุดมเดช ฉบับโรงพิมพ์ โสภณพิพรรฒธนากร พ.ศ. ๒๔๖๓
(ดิกชนารีไทย) มาจาก ดิกชนารีไทย ค.ศ. ๑๘๔๖ ตัวเขียนของ J.H. Chandler
(ดึกดําบรรพ์) มาจาก ประชุมบทละครดึกดำบรรพ์ ฉบับหลวง พ.ศ. ๒๔๖๗
(ดุษฎีสังเวย) มาจาก คำฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้างของเก่า ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๗
(ตราสามดวง) มาจาก กฎหมายตราสามดวง ฉบับเรียงพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๗๔ รวบรวมโดย หลวงประดิษฐ์มนูธรรม
(ตะเลงพ่าย) มาจาก หนังสือลิลิตตะเลงพ่าย แบบเรียนกวีนิพนธ์
(ตํานานเครื่องมโหรีปี่พาทย์) มาจาก ตำนานเครื่องมโหรีปี่พาทย์ พระนิพนธ์ ในสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ฉบับโรงพิมพ์มิตรไทย พ.ศ. ๒๕๑๙
(ตํานานเครื่องราชอิสริยาภรณ์) มาจาก ตำนานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระดำรงราชานุภาพ ทรงเรียบเรียง ฉบับโรงพิมพ์ โสภณพิพรรฒธนากร พ.ศ. ๒๔๖๗
(ตํานานภาษีอากร) มาจาก ตำนานภาษีอากรบางอย่าง ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๕
(ตํานานอักษรไทย) มาจาก ตำนานอักษรไทย ของ ศาสตราจารย์ ยอช เซเดส์ ฉบับโรงพิมพ์ โสภณพิพรรฒธนากร พ.ศ. ๒๔๖๙
(ตําราขี่ช้าง) มาจาก ตำราขี่ช้าง ครั้งแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๕
(ตําราช้างคําโคลง) มาจาก โคลงตำราช้าง พระบวรราชนิพนธ์ ในกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ วชิรญาณรายเดือน เล่ม ๑๑
(ตําราช้างคําฉันท์) มาจาก ตำราช้างคำฉันท์ ฉบับโรงพิมพ์ ไท ถนนรองเมือง พ.ศ. ๒๔๖๐
(ตําราทํานายฝัน) มาจาก ตำราทำนายฝัน ใน หนังสือตำราโชคต่าง ๆ เลือกคัดจากฉบับของโบราณ นาวาตรีหลวงวุฒิวารีรณ ร.น. พิมพ์ พ.ศ. ๒๔๖๗
(ตําราปลูกไม้ผล) มาจาก หนังสือตำราปลูกไม้ผล กับ ตำราปลูกข้าวของโบราณ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ
(ตําราสร้างพระพุทธรูป) มาจาก ตำราสร้างพระพุทธรูป พระพุทธรูปสมัยต่าง ๆ ในประเทศไทย โดย หลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ และตำราโสฬสแปรธาตุ (ทำทอง) ฉบับโรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. ๒๔๙๙
(ไตรภูมิ) มาจาก หนังสือไตรภูมิพระร่วง ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ ร.ศ. ๑๓๑
(ไตรภูมิวินิจฉัย) มาจาก ไตรภูมิโลกวินิจฉัย ฉบับที่ ๑ ของ พระยาธรรมปรีชา (แก้ว รักตประจิตร) ม.ป.ท. พ.ศ. ๒๕๒๑
(ทวาทศมาส) มาจาก ทวาทศมาส ฉบับโรงพิมพ์ ไท พ.ศ. ๒๔๖๐
(ท้าวแสนปม) มาจากเรื่อง ท้าวแสนปม ในหนังสือศกุนตลา มัทนะพาธา ท้าวแสนปม ประมวลสุภาษิต พระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ฉบับโรงพิมพ์รุ่งเรืองรัตน์ พ.ศ. ๒๕๑๓
(นพมาศ) มาจาก เรื่องนางนพมาศ ฉบับราชบัณฑิตยสภา พ.ศ. ๒๔๗๒
(นันโท) มาจาก นันโทปนันทสูตรคำหลวง หนังสือพระประวัติ และ พระนิพนธ์ บทร้อยกรอง พระนิพนธ์ ในเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร ฉบับเจริญรัตน์การพิมพ์ พ.ศ. ๒๕๑๖
(นิ. เกาะแก้วกัลกตา) มาจาก นิราศเกาะแก้วกัลกตา
(นิ. เดือน) มาจาก นิราศเดือน ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๖
(นิ. ตรัง) มาจาก นิราศพระยาตรัง
(นิทราชาคริต) มาจาก ลิลิตนิทราชาคริต พระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
(นิ. ทวาราวดี) มาจาก นิราศทวาราวดี ของ หลวงจักรปาณี (ฤกษ์) และบทละครเรื่อง มณีพิไชย พระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และ พระนิพนธ์ ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงภูวเนตร นรินทรฤทธิ์ ฉบับโรงพิมพ์กรุงเทพการพิมพ์ พ.ศ. ๒๕๑๒
(นิ. นรินทร์) มาจาก นิราศนรินทร์ แบบเรียนกวีนิพนธ์
(นิ. ประธม) มาจาก โคลงนิราศพระประธม พระเจ้าบรมวงศ์เธอชั้น ๒ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท ทรงพระนิพนธ์ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๙
(นิ. พลเสพย์) มาจาก ลิลิตนิราศพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพย์ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ
(นิ. เพชร) มาจาก นิราศเมืองเพชร ฉบับราชบัณฑิตยสภา พ.ศ. ๒๔๗๐
(นิ. เมืองเทศ) มาจาก นิราศเมืองเทศ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๒
(นิ. ลอนดอน) มาจาก นิราศลอนดอน แบบเรียนกวีนิพนธ์
(นิ. สุรสีห) มาจาก นิราศ พระบวรราชนิพนธ์ ในกรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาท
(นิ. อิเหนา) มาจาก นิราศอิเหนา ประชุมนิราศสุนทรภู่ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๕
(บทดอกสร้อย) มาจาก บทดอกสร้อยสุภาษิต สำหรับโรงเลี้ยงเด็ก ของ พระอรรคชายาเธอ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๕
(บทแผ่นเสียง) มาจาก บทแผ่นเสียง ของ ราชบัณฑิตยสภา ชุดที่ ๑ ฉบับโรงพิมพ์สยามพณิชยการ พ.ศ. ๒๔๗๖
(บรมราชาภิเษก ร. ๗) มาจาก พระบรมราชาภิเษกสัปดมราชมหาจักรีวงศ์
(บวรราชนิพนธ์) มาจาก พระบวรราชนิพนธ์ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๓
(บัญชีเพลง) มาจาก หนังสือบทเพลง ของ พระยาพิศาลสารเกษตร ฉบับโรงพิมพ์ยิ้มศรี พ.ศ. ๒๔๘๒
(บุณโณวาท) มาจาก บุณโณวาทคำฉันท์ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๖
(ปกีรณําพจนาดถ์) มาจาก ปกีรณำพจนาดถ์ ของ พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) โรงพิมพ์หลวง ในพระบรมมหาราชวัง จ.ศ. ๑๒๔๑
(ปฐมมาลา) มาจาก ประถม ก กา ประถม ก กาหัดอ่าน ปฐมมาลา อักษรนิติ แบบเรียนหนังสือไทย ฉบับโอเดียนการพิมพ์ พ.ศ. ๒๕๑๓
(ปฐมสมโพธิกถา) มาจาก ปฐมสมโพธิกถา พระนิพนธ์ ในสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ฉบับประพาสต้นการพิมพ์ พ.ศ. ๒๕๐๓
(ประกาศ ร. ๔) มาจาก ประชุมประกาศ รัชกาลที่ ๔ ฉบับโรงพิมพ์คุรุสภา พ.ศ. ๒๕๐๕
(ประชุมเชิญขวัญ) มาจาก ประชุมเชิญขวัญ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๑
(ประชุมพงศ.) มาจาก ประชุมพงศาวดาร ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ, เลขบอกภาค
(ประชุมพงศ. ภาค ๒) มาจาก ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๒ ฉบับโรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ พ.ศ. ๒๔๗๐
(ประชุมสุภาษิตสุนทรภู่) มาจาก คำฉันท์สอนหญิงและประชุมสุภาษิตสุนทรภู่ ฉบับโรงพิมพ์มงคล การพิมพ์ พ.ศ. ๒๕๑๒
(ประชุมหนังสือเก่า ภาค ๒) มาจาก หนังสือประชุมหนังสือเก่า ภาค ๒ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๕๙
(ประถม ก กา) มาจาก ประถม ก กา แบบเรียนของเก่า โรงพิมพ์ครูสมิท จ.ศ. ๑๒๔๙
(ประพาสจันทบุรี) มาจาก เสด็จประพาสไทรโยคและจันทบุรี พระราชนิพนธ์ ในรัชกาลที่ ๕ ร.ศ. ๑๓๑
(ประพาสไทรโยค) มาจาก เสด็จประพาสไทรโยคและจันทบุรี พระราชนิพนธ์ ในรัชกาลที่ ๕ ร.ศ. ๑๓๑
(ประพาสธารทองแดง) มาจาก กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง พระนิพนธ์ ในเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๖
(ประพาสมลายู) มาจาก ระยะทางเสด็จพระราชดำเนินประพาสทางบกเรือรอบแหลมมลายู ร.ศ. ๑๐๙, พระราชนิพนธ์ ในรัชกาลที่ ๕ ฉบับราชบัณฑิตยสภา พ.ศ. ๒๔๗๕
(ประวัติ. จุล) มาจาก พระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก่อนเสวยราชย์ พิมพ์ พ.ศ. ๒๔๗๒
(ปรัดเล) มาจาก อักขราภิธานศรับท์ ของ หมอปรัดเล
(ปักษ์ใต้) มาจาก อภิธานพื้นเมืองมณฑลปักษ์ใต้ พ.ศ. ๒๔๗๕
(ปาเลกัว) มาจาก D.J.B. Pallegoix Dictionnaire, Siamois, Francais-Anglais
(พงศ. ๑๑๓๖) มาจาก พระราชพงศาวดาร ฉบับ จ.ศ. ๑๑๓๖ ในประชุมพงศาวดาร ภาค ๔
(พงศ. กรุงเก่า) มาจาก พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ พ.ศ. ๒๔๙๘
(พงศ. ประเสริฐ) มาจาก พงศาวดาร ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ ในประชุมพงศาวดาร ภาค ๑
(พงศ. โยนก) มาจาก พงศาวดารโยนก ของ พระยาประชากิจกรจักร์ (แช่ม บุนนาค) ฉบับโรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร พ.ศ. ๒๔๗๘
(พงศ. ร.ส๒) มาจาก พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๒ พระนิพนธ์ ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ฉบับโรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ พ.ศ. ๒๔๘๒
(พงศ. ร.ส ๓) มาจาก พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๓ ของ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค) ฉบับหอสมุดแห่งชาติ พ.ศ. ๒๔๗๗
(พงศ. เลขา) มาจาก พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา
(พงศ. เหนือ) มาจาก ลิลิตพงศาวดารเหนือ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศ วริยาลงกรณ์ ทรงพระนิพนธ์, ฉบับโรงพิมพ์ไท ร.ศ. ๑๒๗
(พงศ. อยุธยา) มาจาก พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา (แบบเรียน)
(พจน.) มาจาก พจนานุกรม กรมศึกษาธิการ
(พจน. ๒๔๙๓) มาจาก พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๔๙๓
(พยุหยาตรา) มาจาก โคลงพยุหยาตราเพชรพวง เจ้าพระยาพระคลัง (หน) แต่ง ฉบับ โรงพิมพ์วัชรินทรบริษัท ร.ศ. ๑๑๕ หรือโรงพิมพ์ ไท พ.ศ. ๒๔๕๗
(พระนลคําหลวง) มาจาก พระนลคําหลวง พระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ฉบับโรงพิมพ์เจริญธรรม พ.ศ. ๒๔๙๖
(พระราชกําหนดเก่า) มาจาก พระราชกำหนดเก่า ครั้งกรุงศรีอยุธยา ฉบับโรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ พ.ศ. ๒๔๗๖
(พระราชวิจารณ์) มาจาก พระราชวิจารณ์ พระราชนิพนธ์ ในรัชกาลที่ ๕
(พระราชหัตถเลขา ครั้งที่ ๕) มาจาก หนังสือพระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รวมครั้งที่ ๕ ฉบับราชบัณฑิตยสภา พ.ศ. ๒๔๖๙
(พระราชหัตถเลขา ร.ส๗) มาจาก พระราชหัตถเลขาประพาสชวา ร. ๗
(พากย์) มาจาก ประชุมคำพากย์รามเกียรติ์ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ
(พากย์นางลอย) มาจาก บทพากย์รามเกียรติ์ กาพย์นางลอย พระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ของ กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๑๙
(พายัพ) มาจาก อภิธานภาษาพื้นเมืองมณฑลพายัพ พ.ศ. ๒๔๗๔
(พาลีสอนน้อง) มาจาก พาลีสอนน้อง ของ นรินทร์อินทร์
(พิชัยสงคราม) มาจาก พิชัยสงครามคำฉันท์ ฉบับโรงพิมพ์ ไท พ.ศ. ๒๔๖๐
(พิธีทวาทศมาส) มาจาก โคลงพระราชพิธีทวาทศมาส สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาบำราบปรปักษ์ ทรงนิพนธ์
(พุทธเจดีย์) มาจาก ตำนานพุทธเจดีย์ พระนิพนธ์ ในสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
(เพชรมงกุฎ) มาจาก ลิลิตเพชรมงกุฎ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ
(เพลงยาวถวายโอวาท) มาจาก เพลงยาวถวายโอวาท ในหนังสือชีวิตและงานของสุนทรภู่ พระนิพนธ์ ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ฉบับอมรการพิมพ์ พ.ศ. ๒๕๑๙
(เพลงยาวนายภิมเสน) มาจาก เพลงยาวนายภิมเสน ใน เพลงยาวคารมเก่า เล่ม ๒ ฉบับโรงพิมพ์ ไทย พ.ศ. ๒๔๖๑
(แพทย์) มาจาก แพทย์ตำบล ของ พระยาแพทย์พงศาวิสุทธาธิบดี (สุ่น สุนทรเวช) พ.ศ. ๒๔๗๖
(ฟ้อน) มาจาก ตำราฟ้อนรำ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๗๑
(ม. กาพย์) มาจาก มหาชาติคำกาพย์ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๕๙
(ม. คําหลวง) มาจาก มหาชาติคำหลวง ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๐
(ม. ฉันท์) มาจาก มหาชาติคำฉันท์ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ
(มณีพิชัย) มาจาก มณีพิชัยตอนต้น บทละคร พระนิพนธ์ ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น ๒ กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๒
(มโนห์รา) มาจาก บทละครครั้งกรุงเก่า เรื่องมโนห์รา ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ
(ม.ร. ๔) มาจาก หนังสือมหาชาติ พระราชนิพนธ์ ในรัชกาลที่ ๔ ฉบับหอสมุดแห่งชาติ
(ม. ร่ายยาว) มาจาก มหาเวสสันดรชาดก (แบบเรียน)
(มลายู) มาจาก Wilkinson’s Malay-English Dictionary, 1903
(ม. ภาคอีสาน) มาจาก หนังสือมหาเวสสันดรชาดก คำกลอน ฉบับโรงพิมพ์กิมหลีหงวน พ.ศ. ๒๔๗๒
(มัทนะ) มาจากเรื่อง มัทนะพาธา ในหนังสือศกุนตลา มัทนะพาธา ท้าวแสนปม ประมวลสุภาษิต พระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ฉบับโรงพิมพ์รุ่งเรืองรัตน์ พ.ศ. ๒๕๑๓
(มาลัยคําหลวง) มาจาก พระมาลัยคำหลวง พระนิพนธ์ ในเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร ฉบับหอสมุดแห่งชาติ พ.ศ. ๒๔๗๘
(มิตรสภา) มาจาก วารสารมิตรสภา
(มิวเซียม) มาจาก หนังสือพิมพ์มิวเซียม เล่ม ๑-๓
(มูลบท) มาจาก มูลบทบรรพกิจ วาหนิติ์นิกร อักษรประโยค สังโยคพิธาน ไวพจน์พิจารณ์ พิศาลการันต์ แบบสอนหนังสือไทย ของ พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ฉบับโรงพิมพ์ประเสริฐอักษร พ.ศ. ๒๕๐๑
(ยวนพ่าย) มาจาก ลิลิตยวนพ่าย ฉบับโรงพิมพ์ ไท พ.ศ. ๒๔๖๐
(ยอพระเกียรติ) มาจาก โคลงและกลอนยอพระเกียรติ ๓ รัชกาล พระยาไชยวิชิต (เผือก) แต่ง ฉบับโรงพิมพ์ ไท พ.ศ. ๒๔๕๙
(ยอพระเกียรติกรุงธน) มาจาก โคลงยอพระเกียรติพระเจ้ากรุงธนบุรี นายสวน มหาดเล็ก แต่งฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๕
(รัตนทวารา) มาจาก หนังสือพิมพ์รัตนทวารา
(ราชกิจจา) มาจาก หนังสือราชกิจจานุเบกษา
(ราชาธิราช) มาจาก ราชาธิราช ของ เจ้าพระยาพระคลัง (หน) ฉบับอมรการพิมพ์ พ.ศ. ๒๕๑๓
(ราชาภิเษก ร. ๗) มาจาก โคลงลิลิตสุภาพ ตำรับพระบรมราชาภิเษกสัปดมราชมหาจักรีวงศ์ พ.ศ. ๒๔๗๒
(รามเกียรติ์ พลเสพย์) มาจาก บทละครชุดเบ็ดเตล็ดในเรื่องรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ ในรัชกาล ที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๔ ที่ ๕ และพระบวรราชนิพนธ์ ในกรมพระราชวังบวร มหาศักดิพลเสพย์ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๕๘
(รามเกียรติ์ ร. ๑) มาจาก พระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ ในรัชกาลที่ ๑
(รามเกียรติ์ ร. ๒) มาจาก พระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ ในรัชกาลที่ ๒
(รามเกียรติ์ ร. ๖) มาจาก บทละครเรื่องรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และ บ่อเกิดรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ฉบับโรงพิมพ์ประจักษ์วิทยา พ.ศ. ๒๕๑๒
(รําพันพิลาป) มาจากเรื่อง รําพันพิลาป ในหนังสือชีวิตและงานของสุนทรภู่ พระนิพนธ์ ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ฉบับอมรการพิมพ์ พ.ศ. ๒๕๑๙
(เรื่องพระบรมศพ) มาจาก หนังสือเรื่องสมเด็จพระบรมศพ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๕๙
(ลอ) มาจาก ลิลิตพระลอ แบบเรียน
(ลักวิทยา) มาจาก วารสารลักวิทยา
(ลักษณะธรรมนูญ) มาจาก ในหนังสือเรื่องกฎหมายเมืองไทย หมอปรัดเล พิมพ์ จ.ศ. ๑๒๓๕
(ลัทธิ) มาจาก ลัทธิธรรมเนียมภาคต่าง ๆ ฉบับกรมศิลปากร
(ลํานํ้าน้อย) มาจาก นิราศตามเสด็จทัพลำน้ำน้อย หนังสือวรรณคดีพระยาตรัง ฉบับโรงพิมพ์รุ่งวัฒนา พ.ศ. ๒๕๑๕
(ลิปิ) มาจาก หนังสือพระบาฬีลิปิกรม ของ พระยาปริยัติธรรมธาดา พ.ศ. ๒๔๕๙
(ลิลิตพยุหยาตรา) มาจาก ลิลิตพยุหยาตรา ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ
(โลกนิติ) มาจาก แบบเรียนกวีนิพนธ์ โลกนิติคำโคลง
(วชิรญาณ) มาจาก หนังสือวชิรญาณ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ
(วิทยาจารย์) มาจาก วารสารวิทยาจารย์
(ไวพจน์ประพันธ์) มาจาก ไวพจน์ประพันธ์ ในหนังสือภาษาไทย ของ พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เล่ม ๑ ฉบับ ป. พิศนาคะ การพิมพ์ พ.ศ. ๒๕๐๘
(ไวพจน์พิจารณ์) มาจาก ไวพจน์พิจารณ์ ฉบับโรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ ร.ศ. ๑๑๗
(ศกุนตลา) มาจากเรื่อง ศกุนตลา ในหนังสือศกุนตลา มัทนะพาธา ท้าวแสนปม ประมวลสุภาษิต พระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ฉบับโรงพิมพ์รุ่งเรืองรัตน์ พ.ศ. ๒๕๑๓
(ศิริวิบุลกิตติ) มาจากเรื่อง ศิริวิบุลกิตติ ในหนังสือชุมนุมตำรากลอน ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๕๐๔
(สมบัติอัมรินทร์) มาจากเรื่อง สมบัติอัมรินทร์ ในวชิรญาณรายเดือน เล่ม ๑๑
(สมุทรโฆษ) มาจาก สมุทรโฆษคำฉันท์ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๘
(สยามสมาคม) มาจาก วารสารสยามสมาคม
(สรรพสิทธิ์) มาจาก สรรพสิทธิ์คำฉันท์ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิต ชิโนรส ทรงนิพนธ์ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๗
(สักวาของคุณพุ่ม) มาจาก สักวาของคุณพุ่ม ในหนังสือประชุมบทสักวา เล่นถวายในรัชกาลที่ ๕ ฉบับโรงพิมพ์ ไทย พ.ศ. ๒๔๖๑
(สังข์ทอง) มาจากเรื่อง สังข์ทอง ใน แบบเรียนกวีนิพนธ์
(สังข์ศิลป์ชัยภาคอีสาน) มาจาก เรื่องสังข์ศิลป์ชัย คำกลอนโบราณภาคเหนือ ฉบับโรงพิมพ์บำรุง นุกูลกิจ พ.ศ. ๒๔๖๘
(สังโยคพิธาน) มาจาก สังโยคพิธานแปล ของ กรมศึกษาธิการ ฉบับโรงพิมพ์อักษรนิติ ร.ศ. ๑๒๐
(สามก๊ก) มาจาก เรื่องสามก๊ก ฉบับราชบัณฑิตยสภา
(สามดวง) มาจาก กฎหมายตราสามดวง
(สิบสองเดือน) มาจาก เรื่องพระราชพิธีสิบสองเดือน พระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๖๓
(สุธน) มาจาก พระสุธนคำฉันท์ พระยาอิศรานุภาพ (อ้น) แต่ง ฉบับหอพระสมุด วชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๗๐
(สุบิน) มาจาก สุบินกุมาร โรงพิมพ์ครูสมิท บางคอแหลม จ.ศ. ๑๒๔๓
(สุภาษิตสุนทรภู่) มาจาก ประชุมสุภาษิตสุนทรภู่ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ
(สุ. สอนเด็ก) มาจาก สุภาษิตสอนเด็ก ในสุภาษิต ๓ อย่าง ราชบัณฑิตยสภาสอบทาน พ.ศ. ๒๔๗๒
(สูตรธนู) มาจาก สูตรธนูคำฉันท์ จากวชิรญาณรายเดือน ปีที่ ๒๐ ตอนที่ ๗๔ และ ๗๕
(เสภาพญาราชวังสัน) มาจาก บทเสภาเรื่องพญาราชวังสัน กับ สามัคคีเสวก พระราชนิพนธ์ ในสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ ฉบับโรงพิมพ์ภักดี ประดิษฐ์ พ.ศ. ๒๔๙๔
(เสภาสุนทรภู่) มาจาก เสภาเรื่องพระราชพงศาวดาร สุนทรภู่ แต่ง ฉบับราชบัณฑิตยสภา
(เสือโค) มาจาก เสือโคคำฉันท์ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๕
(หริภุญชัย) มาจาก โคลงหริภุญชัย ฉบับราชบัณฑิตยสภา พ.ศ. ๒๔๗๑
(เห่กล่อม) มาจาก บทเห่กล่อมพระเจ้าลูกเธอ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๐
(เห่เรือ) มาจาก กาพย์ห่อโคลงเห่เรือ แบบเรียนกวีนิพนธ์
(อธิบายแผนที่กรุงศรีอยุธยา) มาจาก อธิบายแผนที่พระนครศรีอยุธยา กับ คำวินิจฉัย ของพระยาโบราณ ราชธานินทร์ ฉบับชำระครั้งที่ ๒ และ เรื่องศิลปและภูมิสถานอยุธยา ของ กรมศิลปากร ฉบับโรงพิมพ์คุรุสภา พ.ศ. ๒๕๐๙
(อนันตวิภาค) มาจาก อนันตวิภาค ในหนังสือแปลศัพท์พากย์ต่าง ๆ ของ พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) พิมพ์ ร.ศ. ๑๑๔
(อนิรุทธ์) มาจาก อนิรุทธ์คำฉันท์ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ
(อภัย) มาจาก พระอภัยมณีคำกลอน ของ สุนทรภู่ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๗
(อภิธานัปปทีปิกา) มาจาก พระคัมภีร์อภิธานัปปทีปิกา หรือพจนานุกรมภาษาบาลีแปลเป็นไทย
(อภิไธยโพธิบาทว์) มาจาก หนังสือตำราโชคต่าง ๆ เลือกคัดจากฉบับของโบราณ นาวาตรีหลวงวุฒิวารีรณ ร.น. พิมพ์ พ.ศ. ๒๔๖๗
(อรรถศาสน์) มาจาก อรรถศาสน์ พระนิพนธ์ ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาวชิรญาณวโรรส พิมพ์ครั้งที่ ๓ พ.ศ. ๒๔๕๙
(อักษรประโยค) มาจาก อักษรประโยค ในแบบเรียนของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)
(อัยการเบ็ดเสร็จ) มาจาก Lois Siamoises Code de 1805 A.D. XIV พระอัยการเบ็ดเสร็จ
(อิลราช) มาจาก อิลราชคำฉันท์ หนังสืออ่านกวีนิพนธ์ ของ พระยาศรีสุนทรโวหาร (ผัน สาลักษณ) ฉบับโรงพิมพ์คุรุสภา พ.ศ. ๒๕๐๗
(อิเหนา) มาจาก อิเหนา พระราชนิพนธ์ ในรัชกาลที่ ๒ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๔
(อิเหนาคําฉันท์) มาจาก อิเหนาคําฉันท์ เจ้าพระยาพระคลัง (หน) แต่ง จาก วชิรญาณรายเดือน ร.ศ. ๑๑๙
(อิเหนา ร. ๕) มาจาก พระราชนิพนธ์ ในรัชกาลที่ ๕
(อุดร) มาจาก อภิธานภาษาลาวพวนในจังหวัดสระบุรีและลพบุรี พ.ศ. ๒๔๗๕
(อุเทน) มาจาก อุเทนคำฉันท์ พระยาอิศรานุภาพ (อ้น) แต่ง ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๘
(อุปสมบทวิธี) มาจาก อุปสมบทวิธีและบุรพกิจสำหรับภิกษุใหม่ พระนิพนธ์ในสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
(โอสถพระนารายณ์) มาจาก ตำราพระโอสถพระนารายณ์ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๐
(ฮินดูสตานี) มาจาก D. Forbes’ A Dictionary of the Hindustani Language
(Hobson - Jobson) มาจาก A glossary of Anglo-Indian colloquial words and phrases
(J.N.H.S.S.) มาจาก Journal of the Natural History Society of Siam