สยาย เขียนว่า สอ-เสือ-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-ยอ-ยัก | [สะหฺยาย] เป็นคำกริยา หมายถึง คลี่หรือคลายสิ่งที่มุ่นหรือเป็นกลุ่มก้อนอยู่ให้แผ่กระจายออก เช่น สยายผม. เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ที่คลี่หรือคลายสิ่งที่มุ่นหรือเป็นกลุ่มก้อนอยู่ให้แผ่กระจายออก เช่น ผมสยาย. | สยาย [สะหฺยาย] ก. คลี่หรือคลายสิ่งที่มุ่นหรือเป็นกลุ่มก้อนอยู่ให้แผ่กระจายออก เช่น สยายผม. ว. ที่คลี่หรือคลายสิ่งที่มุ่นหรือเป็นกลุ่มก้อนอยู่ให้แผ่กระจายออก เช่น ผมสยาย. |
สยิว เขียนว่า สอ-เสือ-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อิ-วอ-แหวน | [สะหฺยิว] เป็นคำกริยา หมายถึง รู้สึกเย็นเยือก, รู้สึกเสียวซ่าน, รู้สึกวาบหวาม เช่น สยิวกาย สยิวใจ. | สยิว [สะหฺยิว] ก. รู้สึกเย็นเยือก, รู้สึกเสียวซ่าน, รู้สึกวาบหวาม เช่น สยิวกาย สยิวใจ. |
สยิ้ว เขียนว่า สอ-เสือ-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อิ-ไม้-โท-วอ-แหวน | [สะยิ่ว] เป็นคำกริยา หมายถึง ทําหน้านิ่วคิ้วขมวดแสดงความไม่พอใจหรือเบื่อหน่าย ในคำว่า สยิ้วหน้า สยิ้วพระพักตร์. | สยิ้ว [สะยิ่ว] ก. ทําหน้านิ่วคิ้วขมวดแสดงความไม่พอใจหรือเบื่อหน่าย ในคำว่า สยิ้วหน้า สยิ้วพระพักตร์. |
สยุ่น เขียนว่า สอ-เสือ-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อุ-ไม้-เอก-นอ-หนู | [สะหฺยุ่น] เป็นคำนาม หมายถึง เครื่องมือกลึงไม้ชนิดหนึ่ง รูปเหมือนสิ่ว ตัวทำด้วยเหล็ก ด้ามทำด้วยไม้ยาวประมาณ ๑ ศอก มีหน้าต่าง ๆ เช่น หน้าตัด หน้าสามเหลี่ยม หน้าโค้ง. | สยุ่น [สะหฺยุ่น] น. เครื่องมือกลึงไม้ชนิดหนึ่ง รูปเหมือนสิ่ว ตัวทำด้วยเหล็ก ด้ามทำด้วยไม้ยาวประมาณ ๑ ศอก มีหน้าต่าง ๆ เช่น หน้าตัด หน้าสามเหลี่ยม หน้าโค้ง. |
สยุมพร เขียนว่า สอ-เสือ-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อุ-มอ-ม้า-พอ-พาน-รอ-เรือ ความหมายที่ ๑ | [สะหฺยุมพอน] เป็นคำนาม หมายถึง สยมพร, สยัมพร หรือ สวยมพร ก็ใช้. | สยุมพร ๑ [สะหฺยุมพอน] น. สยมพร, สยัมพร หรือ สวยมพร ก็ใช้. |
สยุมพร เขียนว่า สอ-เสือ-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อุ-มอ-ม้า-พอ-พาน-รอ-เรือ ความหมายที่ ๒ | ดู ชะโอน เขียนว่า ชอ-ช้าง-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-โอ-ออ-อ่าง-นอ-หนู. | สยุมพร ๒ ดู ชะโอน. |
สยุมภู เขียนว่า สอ-เสือ-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อุ-มอ-ม้า-พอ-สำ-เพา-สะ-หระ-อู | [สะหฺยุมพู] เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง เป็นเองตามธรรมชาติ เช่น รกสยุมภู ว่า รกอย่างเป็นเองตามธรรมชาติ. | สยุมภู [สะหฺยุมพู] ว. เป็นเองตามธรรมชาติ เช่น รกสยุมภู ว่า รกอย่างเป็นเองตามธรรมชาติ. |
สร เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ ความหมายที่ ๑ | [สอน] เป็นคำนาม หมายถึง ศร. ในวงเล็บ มาจากภาษาบาลี และมาจากภาษาสันสกฤต ศร เขียนว่า สอ-สา-ลา-รอ-เรือ. | สร ๑ [สอน] น. ศร. (ป.; ส. ศร). |
สร เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ ความหมายที่ ๒ | [สอระ] เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ทิพย์, แกล้วกล้า, เช่น สรศาสดา สรศักดิ์ สรสีห์. ในวงเล็บ มาจากภาษาบาลี และมาจากภาษาสันสกฤต สุร เขียนว่า สอ-เสือ-สะ-หระ-อุ-รอ-เรือ. | สร ๒ [สอระ] ว. ทิพย์, แกล้วกล้า, เช่น สรศาสดา สรศักดิ์ สรสีห์. (ป., ส. สุร). |
สร เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ ความหมายที่ ๓ | [สฺระ]คํานําหน้าคําอื่นที่ใช้ในบทกลอนเพื่อความสละสลวย เช่น ดื่น เป็น สรดื่น, คําที่แผลงมาจากคําที่ขึ้นต้นด้วยตัว ส ซึ่งใช้ในบทกลอน เช่น สนุก เป็น สรนุก. | สร ๓ [สฺระ] คํานําหน้าคําอื่นที่ใช้ในบทกลอนเพื่อความสละสลวย เช่น ดื่น เป็น สรดื่น, คําที่แผลงมาจากคําที่ขึ้นต้นด้วยตัว ส ซึ่งใช้ในบทกลอน เช่น สนุก เป็น สรนุก. |
สรกะ เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-กอ-ไก่-สะ-หระ-อะ | [สะระกะ] เป็นคำนาม หมายถึง จอก, ขัน. ในวงเล็บ มาจากภาษาบาลี และมาจากภาษาสันสกฤต . | สรกะ [สะระกะ] น. จอก, ขัน. (ป., ส.). |
สรง เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-งอ-งู | [สง] เป็นคำกริยา หมายถึง อาบนํ้า (ใช้แก่บรรพชิตและเจ้านาย). ในวงเล็บ มาจากภาษาเขมร . | สรง [สง] ก. อาบนํ้า (ใช้แก่บรรพชิตและเจ้านาย). (ข.). |
สร่ง เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-ไม้-เอก-งอ-งู ความหมายที่ ๑ | [สะหฺร่ง] เป็นคำนาม หมายถึง วิธีฝังเพชรเม็ดเล็ก ๆ ขนาดไข่ปลาลงไปบนพื้นที่ทําให้โปร่ง, ถ้าแกะแรให้ผิวเป็นเหลี่ยมขึ้นเงาดูเหมือนฝังเพชร เรียกว่า ตัดสร่ง. | สร่ง ๑ [สะหฺร่ง] น. วิธีฝังเพชรเม็ดเล็ก ๆ ขนาดไข่ปลาลงไปบนพื้นที่ทําให้โปร่ง, ถ้าแกะแรให้ผิวเป็นเหลี่ยมขึ้นเงาดูเหมือนฝังเพชร เรียกว่า ตัดสร่ง. |
สร่ง เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-ไม้-เอก-งอ-งู ความหมายที่ ๒ | [สะหฺร่ง] เป็นคำนาม หมายถึง ชื่ออาหารว่างชนิดหนึ่ง ทำด้วยหมูสับคลุกกับรากผักชี พริกไทย น้ำปลา ปั้นเป็นก้อนกลม ๆ พันด้วยเส้นมี่สั้วลวก ทอดให้เหลืองนวล รับประทานกับน้ำจิ้ม. | สร่ง ๒ [สะหฺร่ง] น. ชื่ออาหารว่างชนิดหนึ่ง ทำด้วยหมูสับคลุกกับรากผักชี พริกไทย น้ำปลา ปั้นเป็นก้อนกลม ๆ พันด้วยเส้นมี่สั้วลวก ทอดให้เหลืองนวล รับประทานกับน้ำจิ้ม. |
สรฏะ เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-ตอ-ปะ-ตัก-สะ-หระ-อะ | [สะระ] เป็นคำนาม หมายถึง กิ้งก่า. ในวงเล็บ มาจากภาษาบาลี และมาจากภาษาสันสกฤต . | สรฏะ [สะระ] น. กิ้งก่า. (ป., ส.). |
สรณ, สรณะ สรณ มีเครื่องหมายยัติภังค์ท้ายคำ เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-นอ-เนน สรณะ เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-นอ-เนน-สะ-หระ-อะ | [สะระนะ] เป็นคำนาม หมายถึง ที่พึ่ง, ที่ระลึก; ความระลึก. ในวงเล็บ มาจากภาษาบาลี และมาจากภาษาสันสกฤต ศรณ เขียนว่า สอ-สา-ลา-รอ-เรือ-นอ-เนน. | สรณ, สรณะ [สะระนะ] น. ที่พึ่ง, ที่ระลึก; ความระลึก. (ป.; ส. ศรณ). |
สรณคมน์, สรณาคมน์ สรณคมน์ เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-นอ-เนน-คอ-ควาย-มอ-ม้า-นอ-หนู-ทัน-ทะ-คาด สรณาคมน์ เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-นอ-เนน-สะ-หระ-อา-คอ-ควาย-มอ-ม้า-นอ-หนู-ทัน-ทะ-คาด | เป็นคำนาม หมายถึง การยึดเอาเป็นที่พึ่งที่ระลึก, ในพระพุทธศาสนาหมายถึง การถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งที่ระลึก เรียกว่า ไตรสรณคมน์ หรือ ไตรสรณาคมน์. ในวงเล็บ มาจากภาษาบาลี . | สรณคมน์, สรณาคมน์ น. การยึดเอาเป็นที่พึ่งที่ระลึก, ในพระพุทธศาสนาหมายถึง การถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งที่ระลึก เรียกว่า ไตรสรณคมน์ หรือ ไตรสรณาคมน์. (ป.). |
สรณตรัย เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-นอ-เนน-ตอ-เต่า-รอ-เรือ-ไม้-หัน-อา-กาด-ยอ-ยัก | เป็นคำนาม หมายถึง ที่พึ่งทั้ง ๓ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์. | สรณตรัย น. ที่พึ่งทั้ง ๓ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์. |
สรดัก เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-ดอ-เด็ก-ไม้-หัน-อา-กาด-กอ-ไก่ | [สฺระ] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำกริยา หมายถึง เต็มไป, ดาษไป, แน่นไป. | สรดัก [สฺระ] (กลอน) ก. เต็มไป, ดาษไป, แน่นไป. |
สรดึ่น เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-อึ-ไม้-เอก-นอ-หนู | [สฺระ] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำกริยา หมายถึง ตื่นใจ. เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง เป็นพืดไป. | สรดึ่น [สฺระ] (กลอน) ก. ตื่นใจ. ว. เป็นพืดไป. |
สรดื่น เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-อือ-ไม้-เอก-นอ-หนู | [สฺระ] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง เกลื่อนกลาด, ดาษดื่น. | สรดื่น [สฺระ] (กลอน) ว. เกลื่อนกลาด, ดาษดื่น. |
สรตะ เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อะ | [สะระ] เป็นคำนาม หมายถึง การคาดคะเนตามเกณฑ์เกี่ยวกับเรื่องการพนัน มีหวย ถั่ว โป เป็นต้น; โดยปริยายหมายความว่า การคาดคะเนตามข้อสังเกตหรือสันนิษฐาน, การเก็งหรือการคาดหมายเอาโดยยึดเค้าเดิมเป็นหลัก, เช่น คิดสรตะแล้วงานนี้ขาดทุน, เขียนเป็น สะระตะ ก็มี. | สรตะ [สะระ] น. การคาดคะเนตามเกณฑ์เกี่ยวกับเรื่องการพนัน มีหวย ถั่ว โป เป็นต้น; โดยปริยายหมายความว่า การคาดคะเนตามข้อสังเกตหรือสันนิษฐาน, การเก็งหรือการคาดหมายเอาโดยยึดเค้าเดิมเป็นหลัก, เช่น คิดสรตะแล้วงานนี้ขาดทุน, เขียนเป็น สะระตะ ก็มี. |
สรตัก เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-ตอ-เต่า-ไม้-หัน-อา-กาด-กอ-ไก่ | [สฺระ] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำกริยา หมายถึง เต็มไป, ดาษไป, แน่นไป. | สรตัก [สฺระ] (กลอน) ก. เต็มไป, ดาษไป, แน่นไป. |
สรทะ เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อะ | [สะระ] เป็นคำนาม หมายถึง ฤดูใบไม้ร่วง, ฤดูสารท. ในวงเล็บ มาจากภาษาบาลี และมาจากภาษาสันสกฤต ศรท เขียนว่า สอ-สา-ลา-รอ-เรือ-ทอ-ทะ-หาน. | สรทะ [สะระ] น. ฤดูใบไม้ร่วง, ฤดูสารท. (ป.; ส. ศรท). |
สรทึง เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อึ-งอ-งู | [สฺระ] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำนาม หมายถึง แม่นํ้า, ใช้ว่า จทึง ฉทึง ชทึง ชรทึง สทิง หรือ สทึง ก็มี. ในวงเล็บ มาจากภาษาเขมร สฺทึง เขียนว่า สอ-เสือ-พิน-ทุ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อึ-งอ-งู ว่า คลอง . | สรทึง [สฺระ] (กลอน) น. แม่นํ้า, ใช้ว่า จทึง ฉทึง ชทึง ชรทึง สทิง หรือ สทึง ก็มี. (ข. สฺทึง ว่า คลอง). |
สรแทบ เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-สะ-หระ-แอ-ทอ-ทะ-หาน-บอ-ไบ-ไม้ | [สฺระ] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ไม่นูน, ราบ. | สรแทบ [สฺระ] (กลอน) ว. ไม่นูน, ราบ. |
สรนุก เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-นอ-หนู-สะ-หระ-อุ-กอ-ไก่ | [สฺระหฺนุก] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง สนุก. | สรนุก [สฺระหฺนุก] (กลอน) ว. สนุก. |
สรไน เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-นอ-หนู | [สฺระ] เป็นคำนาม หมายถึง ปี่ไฉน เช่น นักคุณแคนคู่ฆ้อง สรไน. ในวงเล็บ มาจาก โคลงหริภุญชัย ฉบับราชบัณฑิตยสภา พ.ศ. ๒๔๗๑. | สรไน [สฺระ] น. ปี่ไฉน เช่น นักคุณแคนคู่ฆ้อง สรไน. (หริภุญชัย). |
สรบ เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-บอ-ไบ-ไม้ | [สฺรบ] ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ และเป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ทั่ว, พร้อม, เขียนเป็น สรับ ก็มี. | สรบ [สฺรบ] (โบ; กลอน) ว. ทั่ว, พร้อม, เขียนเป็น สรับ ก็มี. |
สรบบ เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-บอ-ไบ-ไม้-บอ-ไบ-ไม้ | [สฺระ] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำนาม หมายถึง สารบบ. | สรบบ [สฺระ] (กลอน) น. สารบบ. |
สรบับ เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-บอ-ไบ-ไม้-ไม้-หัน-อา-กาด-บอ-ไบ-ไม้ | [สฺระ] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำนาม หมายถึง สารบับ. | สรบับ [สฺระ] (กลอน) น. สารบับ. |
สรพะ เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-พอ-พาน-สะ-หระ-อะ | [สะระพะ] เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง เสียงดัง, เอ็ดอึง. ในวงเล็บ มาจากภาษาบาลี และมาจากภาษาสันสกฤต ศรว เขียนว่า สอ-สา-ลา-รอ-เรือ-วอ-แหวน. | สรพะ [สะระพะ] ว. เสียงดัง, เอ็ดอึง. (ป.; ส. ศรว). |
สรเพชญ เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-สะ-หระ-เอ-พอ-พาน-ชอ-ช้าง-ยอ-หยิง | [สฺระเพด] เป็นคำนาม หมายถึง สรรเพชญ. ในวงเล็บ มาจากภาษาสันสกฤต สรฺวชฺ เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-พิน-ทุ-วอ-แหวน-ชอ-ช้าง-พิน-ทุ-ยอ-หยิง. | สรเพชญ [สฺระเพด] น. สรรเพชญ. (ส. สรฺวชฺ). |
สรภะ เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-พอ-สำ-เพา-สะ-หระ-อะ | [สะระ] เป็นคำนาม หมายถึง สัตว์ในนิยายว่ามี ๘ ขา มีกําลังยิ่งกว่าราชสีห์. ในวงเล็บ มาจากภาษาบาลี และมาจากภาษาสันสกฤต ศรภ เขียนว่า สอ-สา-ลา-รอ-เรือ-พอ-สำ-เพา. | สรภะ [สะระ] น. สัตว์ในนิยายว่ามี ๘ ขา มีกําลังยิ่งกว่าราชสีห์. (ป.; ส. ศรภ). |
สรภัญญะ เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-พอ-สำ-เพา-ไม้-หัน-อา-กาด-ยอ-หยิง-ยอ-หยิง-สะ-หระ-อะ | [สะระพันยะ, สอระพันยะ] เป็นคำนาม หมายถึง ทํานองสําหรับสวดคําที่เป็นฉันท์, ทํานองขับร้องทํานองหนึ่ง, เช่น สวดสรภัญญะ ทำนองสรภัญญะ. ในวงเล็บ มาจากภาษาบาลี . | สรภัญญะ [สะระพันยะ, สอระพันยะ] น. ทํานองสําหรับสวดคําที่เป็นฉันท์, ทํานองขับร้องทํานองหนึ่ง, เช่น สวดสรภัญญะ ทำนองสรภัญญะ. (ป.). |
สรภู เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-พอ-สำ-เพา-สะ-หระ-อู | [สะระ] เป็นคำนาม หมายถึง ตุ๊กแก. ในวงเล็บ มาจากภาษาบาลี . | สรภู [สะระ] น. ตุ๊กแก. (ป.). |
สรม เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-มอ-ม้า | [สฺรม] เป็นคำกริยา หมายถึง ขอ, มักใช้ว่า สรวม. ในวงเล็บ มาจากภาษาเขมร สูม เขียนว่า สอ-เสือ-สะ-หระ-อู-มอ-ม้า. เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง พร้อม. | สรม [สฺรม] ก. ขอ, มักใช้ว่า สรวม. (ข. สูม). ว. พร้อม. |
สรร เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-รอ-เรือ | [สัน] เป็นคำกริยา หมายถึง เลือก, คัด, เช่น จัดสรร เลือกสรร. ในวงเล็บ มาจากภาษาเขมร สรัล เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-ไม้-หัน-อา-กาด-ลอ-ลิง. | สรร [สัน] ก. เลือก, คัด, เช่น จัดสรร เลือกสรร. (ข. สรัล). |
สรรแสร้ง เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-รอ-เรือ-สะ-หระ-แอ-สอ-เสือ-รอ-เรือ-ไม้-โท-งอ-งู | เป็นคำกริยา หมายถึง เลือกว่า, แกล้งเลือก. | สรรแสร้ง ก. เลือกว่า, แกล้งเลือก. |
สรรหา เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-รอ-เรือ-หอ-หีบ-สะ-หระ-อา | เป็นคำกริยา หมายถึง เลือกมา, คัดมา, เช่น สรรหาของมาตกแต่งบ้าน คณะกรรมการสรรหาอธิการบดี. | สรรหา ก. เลือกมา, คัดมา, เช่น สรรหาของมาตกแต่งบ้าน คณะกรรมการสรรหาอธิการบดี. |
สรรค์ เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-รอ-เรือ-คอ-ควาย-ทัน-ทะ-คาด | [สัน] เป็นคำกริยา หมายถึง สร้างให้มีให้เป็นขึ้น, มักใช้เข้าคู่กับคำ สร้าง เป็น สรรค์สร้าง หรือ สร้างสรรค์. ในวงเล็บ มาจากภาษาสันสกฤต สรฺค เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-พิน-ทุ-คอ-ควาย ว่า สร้างอย่างพระพรหมสร้างโลก . | สรรค์ [สัน] ก. สร้างให้มีให้เป็นขึ้น, มักใช้เข้าคู่กับคำ สร้าง เป็น สรรค์สร้าง หรือ สร้างสรรค์. (ส. สรฺค ว่า สร้างอย่างพระพรหมสร้างโลก). |
สรรพ, สรรพ สรรพ เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-รอ-เรือ-พอ-พาน สรรพ มีเครื่องหมายยัติภังค์ท้ายคำ เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-รอ-เรือ-พอ-พาน | [สับ, สับพะ] เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ทุกสิ่ง, ทั้งปวง, ทั้งหมด, เช่น พร้อมสรรพ งามสรรพ เสร็จสรรพ สรรพสิ่ง สรรพสินค้า. ในวงเล็บ มาจากภาษาสันสกฤต สรฺว เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-พิน-ทุ-วอ-แหวน และมาจากภาษาบาลี สพฺพ เขียนว่า สอ-เสือ-พอ-พาน-พิน-ทุ-พอ-พาน. | สรรพ, สรรพ [สับ, สับพะ] ว. ทุกสิ่ง, ทั้งปวง, ทั้งหมด, เช่น พร้อมสรรพ งามสรรพ เสร็จสรรพ สรรพสิ่ง สรรพสินค้า. (ส. สรฺว; ป. สพฺพ). |
สรรพคราส เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-รอ-เรือ-พอ-พาน-คอ-ควาย-รอ-เรือ-สะ-หระ-อา-สอ-เสือ | เป็นคำนาม หมายถึง สุริยุปราคาหมดดวง. | สรรพคราส น. สุริยุปราคาหมดดวง. |
สรรพคุณ เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-รอ-เรือ-พอ-พาน-คอ-ควาย-สะ-หระ-อุ-นอ-เนน | เป็นคำนาม หมายถึง คุณสมบัติของสิ่งที่เป็นยา, โดยปริยายหมายถึงคุณสมบัติ เช่น เขามีสรรพคุณเชื่อถือได้. ในวงเล็บ มาจากภาษาสันสกฤต สรฺว เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-พิน-ทุ-วอ-แหวน + คุณ เขียนว่า คอ-ควาย-สะ-หระ-อุ-นอ-เนน . | สรรพคุณ น. คุณสมบัติของสิ่งที่เป็นยา, โดยปริยายหมายถึงคุณสมบัติ เช่น เขามีสรรพคุณเชื่อถือได้. (ส. สรฺว + คุณ). |
สรรพนาม เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-รอ-เรือ-พอ-พาน-นอ-หนู-สะ-หระ-อา-มอ-ม้า | ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในไวยากรณ์ เป็นคำนาม หมายถึง คําที่ใช้แทนชื่อ นาม หรือข้อความที่กล่าวมาแล้ว เพื่อไม่ต้องกล่าวชื่อ นาม หรือข้อความนั้นซ้ำอีก เช่น ฉัน เขา เรา ท่าน. | สรรพนาม (ไว) น. คําที่ใช้แทนชื่อ นาม หรือข้อความที่กล่าวมาแล้ว เพื่อไม่ต้องกล่าวชื่อ นาม หรือข้อความนั้นซ้ำอีก เช่น ฉัน เขา เรา ท่าน. |
สรรพสามิต เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-รอ-เรือ-พอ-พาน-สอ-เสือ-สะ-หระ-อา-มอ-ม้า-สะ-หระ-อิ-ตอ-เต่า | [สับพะ, สันพะ] เป็นคำนาม หมายถึง อากรที่เก็บจากสิ่งประดิษฐ์และผลิตขึ้นภายในประเทศ เรียกว่า อากรสรรพสามิต. | สรรพสามิต [สับพะ, สันพะ] น. อากรที่เก็บจากสิ่งประดิษฐ์และผลิตขึ้นภายในประเทศ เรียกว่า อากรสรรพสามิต. |
สรรพากร เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-รอ-เรือ-พอ-พาน-สะ-หระ-อา-กอ-ไก่-รอ-เรือ | [สันพากอน] เป็นคำนาม หมายถึง อากรที่เก็บจากสิ่งที่เป็นเองหรือมีบ่อเกิดเป็นรายได้. | สรรพากร [สันพากอน] น. อากรที่เก็บจากสิ่งที่เป็นเองหรือมีบ่อเกิดเป็นรายได้. |
สรรพางค์ เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-รอ-เรือ-พอ-พาน-สะ-หระ-อา-งอ-งู-คอ-ควาย-ทัน-ทะ-คาด | [สันระพาง] เป็นคำนาม หมายถึง ทั้งตัว, ทั่วตัว, มักใช้เข้าคู่กับคำ กาย เป็น สรรพางค์กาย เช่น เจ็บปวดทั่วสรรพางค์กาย, สารพางค์ ก็ว่า. ในวงเล็บ มาจากภาษาสันสกฤต สรฺวางฺค เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-พิน-ทุ-วอ-แหวน-สะ-หระ-อา-งอ-งู-พิน-ทุ-คอ-ควาย. | สรรพางค์ [สันระพาง] น. ทั้งตัว, ทั่วตัว, มักใช้เข้าคู่กับคำ กาย เป็น สรรพางค์กาย เช่น เจ็บปวดทั่วสรรพางค์กาย, สารพางค์ ก็ว่า. (ส. สรฺวางฺค). |
สรรพัชญ เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-รอ-เรือ-พอ-พาน-ไม้-หัน-อา-กาด-ชอ-ช้าง-ยอ-หยิง | ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้เฉพาะในหนังสือ ไม่ใช่คำพูดทั่วไป เป็นคำนาม หมายถึง สรรเพชญ. ในวงเล็บ มาจากภาษาสันสกฤต สรฺวชฺ เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-พิน-ทุ-วอ-แหวน-ชอ-ช้าง-พิน-ทุ-ยอ-หยิง. | สรรพัชญ (แบบ) น. สรรเพชญ. (ส. สรฺวชฺ). |
สรรพากร เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-รอ-เรือ-พอ-พาน-สะ-หระ-อา-กอ-ไก่-รอ-เรือ | ดู สรรพ, สรรพ สรรพ เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-รอ-เรือ-พอ-พาน สรรพ มีเครื่องหมายยัติภังค์ท้ายคำ เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-รอ-เรือ-พอ-พาน . | สรรพากร ดู สรรพ, สรรพ. |
สรรพางค์ เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-รอ-เรือ-พอ-พาน-สะ-หระ-อา-งอ-งู-คอ-ควาย-ทัน-ทะ-คาด | ดู สรรพ, สรรพ สรรพ เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-รอ-เรือ-พอ-พาน สรรพ มีเครื่องหมายยัติภังค์ท้ายคำ เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-รอ-เรือ-พอ-พาน . | สรรพางค์ ดู สรรพ, สรรพ. |
สรรเพชญ เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-รอ-เรือ-สะ-หระ-เอ-พอ-พาน-ชอ-ช้าง-ยอ-หยิง | ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้เฉพาะในหนังสือ ไม่ใช่คำพูดทั่วไป เป็นคำนาม หมายถึง ผู้รู้ทุกสิ่งทุกอย่าง, ผู้รู้ทั่ว, พระนามของพระพุทธเจ้า, สรรพัชญ ก็เรียก. ในวงเล็บ มาจากภาษาสันสกฤต สรฺวชฺ เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-พิน-ทุ-วอ-แหวน-ชอ-ช้าง-พิน-ทุ-ยอ-หยิง และมาจากภาษาบาลี สพฺพญฺญู เขียนว่า สอ-เสือ-พอ-พาน-พิน-ทุ-พอ-พาน-ยอ-หยิง-พิน-ทุ-ยอ-หยิง-สะ-หระ-อู. | สรรเพชญ (แบบ) น. ผู้รู้ทุกสิ่งทุกอย่าง, ผู้รู้ทั่ว, พระนามของพระพุทธเจ้า, สรรพัชญ ก็เรียก. (ส. สรฺวชฺ; ป. สพฺพญฺญู). |
สรรเพชุดา เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-รอ-เรือ-สะ-หระ-เอ-พอ-พาน-ชอ-ช้าง-สะ-หระ-อุ-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-อา | [สันเพดชุ] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้เฉพาะในหนังสือ ไม่ใช่คำพูดทั่วไป เป็นคำนาม หมายถึง ความเป็นผู้รู้ทุกสิ่ง หมายเอาความเป็นพระพุทธเจ้า. ในวงเล็บ มาจากภาษาสันสกฤต สรฺวชฺาตฺฤ เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-พิน-ทุ-วอ-แหวน-ชอ-ช้าง-พิน-ทุ-ยอ-หยิง-สะ-หระ-อา-ตอ-เต่า-พิน-ทุ-รอ-รึ และมาจากภาษาบาลี สพฺพญฺญุตา เขียนว่า สอ-เสือ-พอ-พาน-พิน-ทุ-พอ-พาน-ยอ-หยิง-พิน-ทุ-ยอ-หยิง-สะ-หระ-อุ-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อา. | สรรเพชุดา [สันเพดชุ] (แบบ) น. ความเป็นผู้รู้ทุกสิ่ง หมายเอาความเป็นพระพุทธเจ้า. (ส. สรฺวชฺาตฺฤ; ป. สพฺพญฺญุตา). |
สรรเพชุดาญาณ เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-รอ-เรือ-สะ-หระ-เอ-พอ-พาน-ชอ-ช้าง-สะ-หระ-อุ-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-อา-ยอ-หยิง-สะ-หระ-อา-นอ-เนน | เป็นคำนาม หมายถึง ญาณหรือปัญญาที่รู้ทุกสิ่ง หมายเอาญาณของพระพุทธเจ้า. ในวงเล็บ มาจากภาษาสันสกฤต สรฺวชฺาน เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-พิน-ทุ-วอ-แหวน-ชอ-ช้าง-พิน-ทุ-ยอ-หยิง-สะ-หระ-อา-นอ-หนู และมาจากภาษาบาลี สพฺฺญุตาณ เขียนว่า สอ-เสือ-พอ-พาน-พิน-ทุ-ยอ-หยิง-ยอ-หยิง-พิน-ทุ-ยอ-หยิง-สะ-หระ-อุ-ตอ-เต่า-ยอ-หยิง-สะ-หระ-อา-นอ-เนน. | สรรเพชุดาญาณ น. ญาณหรือปัญญาที่รู้ทุกสิ่ง หมายเอาญาณของพระพุทธเจ้า. (ส. สรฺวชฺาน; ป. สพฺฺญุตาณ). |
สรรวง เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-รอ-เรือ-วอ-แหวน-งอ-งู | [สฺระรวง] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำนาม หมายถึง สรวง. | สรรวง [สฺระรวง] (กลอน) น. สรวง. |
สรรเสริญ เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-รอ-เรือ-สะ-หระ-เอ-สอ-เสือ-รอ-เรือ-สะ-หระ-อิ-ยอ-หยิง | [สันเสิน, สันระเสิน] เป็นคำกริยา หมายถึง กล่าวคํายกย่อง เชิดชู หรือ เทิดทูน เช่น สรรเสริญพระพุทธคุณ, กล่าวคําชมด้วยความนิยมพอใจ หรือเยินยอคุณความดี เช่น สรรเสริญคนที่มีความกตัญญูรู้คุณ, สรเสริญ ก็ใช้. | สรรเสริญ [สันเสิน, สันระเสิน] ก. กล่าวคํายกย่อง เชิดชู หรือ เทิดทูน เช่น สรรเสริญพระพุทธคุณ, กล่าวคําชมด้วยความนิยมพอใจ หรือเยินยอคุณความดี เช่น สรรเสริญคนที่มีความกตัญญูรู้คุณ, สรเสริญ ก็ใช้. |
สรลน เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-ลอ-ลิง-นอ-หนู | [สฺระหฺลน] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง สลอน, แน่น; เชิดชู. | สรลน [สฺระหฺลน] (กลอน) ว. สลอน, แน่น; เชิดชู. |
สรลม เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-ลอ-ลิง-มอ-ม้า | [สฺระหฺลม] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง สล้าง, ดาษ, ระกะ. | สรลม [สฺระหฺลม] (กลอน) ว. สล้าง, ดาษ, ระกะ. |
สรลมสลวน เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-ลอ-ลิง-มอ-ม้า-สอ-เสือ-ลอ-ลิง-วอ-แหวน-นอ-หนู | [สะหฺลวน] เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง แน่นหนา, ดาดาษ, สล้าง, สลอน. | สรลมสลวน [สะหฺลวน] ว. แน่นหนา, ดาดาษ, สล้าง, สลอน. |
สรลอด เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-ลอ-ลิง-ออ-อ่าง-ดอ-เด็ก | [สฺระหฺลอด] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำนาม หมายถึง สลอด. | สรลอด [สฺระหฺลอด] (กลอน) น. สลอด. |
สรลอน เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-ลอ-ลิง-ออ-อ่าง-นอ-หนู | [สฺระหฺลอน] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง สลอน. | สรลอน [สฺระหฺลอน] (กลอน) ว. สลอน. |
สรละ เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อะ | [สฺระหฺละ] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำกริยา หมายถึง สละ. | สรละ [สฺระหฺละ] (กลอน) ก. สละ. |
สรล้าย เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-ลอ-ลิง-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-ยอ-ยัก | [สฺระหฺล้าย] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำกริยา หมายถึง สลาย, แตก, กระจาย, เรี่ยราย, เป็นแนวติด ๆ กันไป. | สรล้าย [สฺระหฺล้าย] (กลอน) ก. สลาย, แตก, กระจาย, เรี่ยราย, เป็นแนวติด ๆ กันไป. |
สรลิด เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อิ-ดอ-เด็ก | [สฺระหฺลิด] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำนาม หมายถึง ดอกสลิด. | สรลิด [สฺระหฺลิด] (กลอน) น. ดอกสลิด. |
สรเลข เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-สะ-หระ-เอ-ลอ-ลิง-ขอ-ไข่ | [สอระ] เป็นคำนาม หมายถึง ตําแหน่งข้าราชการหัวเมืองในสมัยโบราณ. | สรเลข [สอระ] น. ตําแหน่งข้าราชการหัวเมืองในสมัยโบราณ. |
สรวง เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-วอ-แหวน-งอ-งู | [สวง] เป็นคำนาม หมายถึง ฟ้า, สวรรค์; เทวดา. เป็นคำกริยา หมายถึง เซ่น, บูชา, บน. | สรวง [สวง] น. ฟ้า, สวรรค์; เทวดา. ก. เซ่น, บูชา, บน. |
สรวงเส เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-วอ-แหวน-งอ-งู-สะ-หระ-เอ-สอ-เสือ | เป็นคำกริยา หมายถึง บูชา, เสสรวง ก็ว่า. | สรวงเส ก. บูชา, เสสรวง ก็ว่า. |
สรวป เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-วอ-แหวน-ปอ-ปลา | [สะหฺรวบ] ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ เป็นคำกริยา หมายถึง สรุป. (แผลงมาจาก สรุป). | สรวป [สะหฺรวบ] (โบ) ก. สรุป. (แผลงมาจาก สรุป). |
สรวม เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-วอ-แหวน-มอ-ม้า | [สวม] เป็นคำกริยา หมายถึง ขอ. ในวงเล็บ มาจากภาษาเขมร . | สรวม [สวม] ก. ขอ. (ข.). |
สรวมชีพ เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-วอ-แหวน-มอ-ม้า-ชอ-ช้าง-สะ-หระ-อี-พอ-พาน | เป็นคำกริยา หมายถึง ขอชีวิต, ขอจงให้ชีวิตหรือปกป้องชีวิต, ใช้ขึ้นต้นคํากราบบังคมทูลอย่างขอเดชะ. | สรวมชีพ ก. ขอชีวิต, ขอจงให้ชีวิตหรือปกป้องชีวิต, ใช้ขึ้นต้นคํากราบบังคมทูลอย่างขอเดชะ. |
สรวล เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-วอ-แหวน-ลอ-ลิง | [สวน] เป็นคำกริยา หมายถึง หัวเราะ, ราชาศัพท์ใช้ว่า ทรงพระสรวล. | สรวล [สวน] ก. หัวเราะ, ราชาศัพท์ใช้ว่า ทรงพระสรวล. |
สรวลสันหรรษา เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-วอ-แหวน-ลอ-ลิง-สอ-เสือ-ไม้-หัน-อา-กาด-นอ-หนู-หอ-หีบ-รอ-เรือ-รอ-เรือ-สอ-รือ-สี-สะ-หระ-อา | เป็นคำกริยา หมายถึง หัวเราะร่าเริงยินดี, หัวเราะอย่างชอบอกชอบใจ, เช่น บรรดาศิษย์เก่ามาร่วมสรวลสันหรรษาในงานชุมนุมศิษย์เก่าประจำปี. | สรวลสันหรรษา ก. หัวเราะร่าเริงยินดี, หัวเราะอย่างชอบอกชอบใจ, เช่น บรรดาศิษย์เก่ามาร่วมสรวลสันหรรษาในงานชุมนุมศิษย์เก่าประจำปี. |
สรวลเส, สรวลเสเฮฮา สรวลเส เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-วอ-แหวน-ลอ-ลิง-สะ-หระ-เอ-สอ-เสือ สรวลเสเฮฮา เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-วอ-แหวน-ลอ-ลิง-สะ-หระ-เอ-สอ-เสือ-สะ-หระ-เอ-ฮอ-นก-ฮูก-ฮอ-นก-ฮูก-สะ-หระ-อา | เป็นคำกริยา หมายถึง หัวเราะร่าเริง, หัวเราะอย่างสนุกสนานครึกครื้น, เช่น เขาชอบหาเรื่องขำขันมาเล่า ทำให้เพื่อน ๆ ได้สรวลเสเฮฮาเสมอ, เสสรวล ก็ว่า. | สรวลเส, สรวลเสเฮฮา ก. หัวเราะร่าเริง, หัวเราะอย่างสนุกสนานครึกครื้น, เช่น เขาชอบหาเรื่องขำขันมาเล่า ทำให้เพื่อน ๆ ได้สรวลเสเฮฮาเสมอ, เสสรวล ก็ว่า. |
สรสรก เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-สอ-เสือ-รอ-เรือ-กอ-ไก่ | [สะระสก] เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง โซก, ซ่ก, โชก, เช่น แล้วมันก็เชือดเอาหัวใจนาง เลือดตกพลางสรสรก แล่นฉวยฉกหาไปบอยู่แล. ในวงเล็บ มาจาก มหาชาติคำหลวง ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๐ กัณฑ์กุมาร. | สรสรก [สะระสก] ว. โซก, ซ่ก, โชก, เช่น แล้วมันก็เชือดเอาหัวใจนาง เลือดตกพลางสรสรก แล่นฉวยฉกหาไปบอยู่แล. (ม. คำหลวง กุมาร). |
สรเสริญ เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-สะ-หระ-เอ-สอ-เสือ-รอ-เรือ-สะ-หระ-อิ-ยอ-หยิง | [สฺระ] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำกริยา หมายถึง สรรเสริญ. | สรเสริญ [สฺระ] (กลอน) ก. สรรเสริญ. |
สรเหนาะ, สระเหนาะ สรเหนาะ เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-สะ-หระ-เอ-หอ-หีบ-นอ-หนู-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-อะ สระเหนาะ เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-หอ-หีบ-นอ-หนู-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-อะ | [สฺระเหฺนาะ] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง เสนาะ, ไพเราะ; วังเวงใจ, เศร้าใจ, เช่น สรเหนาะนิราษน้อง ลงเรือ. (โคลงกำสรวล), สระเหนาะน้ำคว่วงคว้วง ควิวแด. (โคลงกำสรวล). (ข. สฺรโณะ ว่า นึกสังเวช สงสาร วังเวงใจ อาลัยถึง). | สรเหนาะ, สระเหนาะ [สฺระเหฺนาะ] (กลอน) ว. เสนาะ, ไพเราะ; วังเวงใจ, เศร้าใจ, เช่น สรเหนาะนิราษน้อง ลงเรือ. (โคลงกำสรวล), สระเหนาะน้ำคว่วงคว้วง ควิวแด. (โคลงกำสรวล). (ข. สฺรโณะ ว่า นึกสังเวช สงสาร วังเวงใจ อาลัยถึง). |
สร้อย เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-ไม้-โท-ออ-อ่าง-ยอ-ยัก ความหมายที่ ๑ | [ส้อย] เป็นคำนาม หมายถึง ขนคอสัตว์ เช่น สร้อยคอไก่ สร้อยคอสิงโต; เครื่องประดับที่ทําเป็นเส้น เช่น สร้อยคอ สร้อยข้อมือ, สายสร้อย ก็เรียก. | สร้อย ๑ [ส้อย] น. ขนคอสัตว์ เช่น สร้อยคอไก่ สร้อยคอสิงโต; เครื่องประดับที่ทําเป็นเส้น เช่น สร้อยคอ สร้อยข้อมือ, สายสร้อย ก็เรียก. |
สร้อยระย้า เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-ไม้-โท-ออ-อ่าง-ยอ-ยัก-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ยอ-ยัก-ไม้-โท-สะ-หระ-อา ความหมายที่ ๑ | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อตุ้มหูชนิดหนึ่งที่มีระย้าห้อยลงมา. | สร้อยระย้า ๑ น. ชื่อตุ้มหูชนิดหนึ่งที่มีระย้าห้อยลงมา. |
สร้อยสน เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-ไม้-โท-ออ-อ่าง-ยอ-ยัก-สอ-เสือ-นอ-หนู | เป็นคำนาม หมายถึง สร้อยที่ถักเป็นลายคดกริช; ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง; ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง. | สร้อยสน น. สร้อยที่ถักเป็นลายคดกริช; ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง; ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง. |
สร้อยอ่อน เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-ไม้-โท-ออ-อ่าง-ยอ-ยัก-ออ-อ่าง-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-นอ-หนู | เป็นคำนาม หมายถึง สร้อยขนาดเล็กตั้งแต่ ๒ สายขึ้นไปเรียงกัน มีหัวเป็นที่ร้อย. | สร้อยอ่อน น. สร้อยขนาดเล็กตั้งแต่ ๒ สายขึ้นไปเรียงกัน มีหัวเป็นที่ร้อย. |
สร้อย เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-ไม้-โท-ออ-อ่าง-ยอ-ยัก ความหมายที่ ๒ | [ส้อย] เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อปลานํ้าจืดหลายสกุลในวงศ์ Cyprinidae พบอยู่รวมกันเป็นฝูงในตอนปลายฤดูนํ้าหลาก และว่ายทวนนํ้าขึ้นไปหากินในแหล่งนํ้าที่สูงขึ้นไป ส่วนใหญ่ลําตัวสีขาวเงินและมีจุดคลํ้าหรือจุดดําบนเกล็ดจนเห็นเป็นเส้นสายหลายแถบพาดตามยาวอยู่ข้างตัว เช่น สร้อยขาว (Cirrhinus jullieni), กระสร้อย ก็เรียก. | สร้อย ๒ [ส้อย] น. ชื่อปลานํ้าจืดหลายสกุลในวงศ์ Cyprinidae พบอยู่รวมกันเป็นฝูงในตอนปลายฤดูนํ้าหลาก และว่ายทวนนํ้าขึ้นไปหากินในแหล่งนํ้าที่สูงขึ้นไป ส่วนใหญ่ลําตัวสีขาวเงินและมีจุดคลํ้าหรือจุดดําบนเกล็ดจนเห็นเป็นเส้นสายหลายแถบพาดตามยาวอยู่ข้างตัว เช่น สร้อยขาว (Cirrhinus jullieni), กระสร้อย ก็เรียก. |
สร้อย เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-ไม้-โท-ออ-อ่าง-ยอ-ยัก ความหมายที่ ๓ | [ส้อย] เป็นคำนาม หมายถึง คำหรือวลีที่ใช้ลงท้ายวรรค ท้ายบาท หรือท้ายบทร้อยกรอง เพื่อให้ครบตามจำนวน เพื่อความไพเราะของเสียงและความหมายหรือเพื่อแสดงว่าจบตอน เช่น นา เฮย ฤๅ บารนี แก่แม่นา โสตถิ์เทอญ, คำสร้อย ก็ว่า; คำที่เติมหรือประกอบคำอื่นเพื่อให้ไพเราะหรือเต็มความ เช่น เสื้อแสง หนังสือหนังหา, คำต่อท้ายราชทินนาม เช่น พระราชปัญญาสุธี ศรีปริยัติธาดา มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี เจ้าพระยาอภัยราชาสยามานุกูลกิจ สกลนิติธรรมศาสตราจารย์ มหิบาลมหาสวามิภักดิ์ ปรมัคราชมนตรีอภัยพิริยปรากรมพาหุ. | สร้อย ๓ [ส้อย] น. คำหรือวลีที่ใช้ลงท้ายวรรค ท้ายบาท หรือท้ายบทร้อยกรอง เพื่อให้ครบตามจำนวน เพื่อความไพเราะของเสียงและความหมายหรือเพื่อแสดงว่าจบตอน เช่น นา เฮย ฤๅ บารนี แก่แม่นา โสตถิ์เทอญ, คำสร้อย ก็ว่า; คำที่เติมหรือประกอบคำอื่นเพื่อให้ไพเราะหรือเต็มความ เช่น เสื้อแสง หนังสือหนังหา, คำต่อท้ายราชทินนาม เช่น พระราชปัญญาสุธี ศรีปริยัติธาดา มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี เจ้าพระยาอภัยราชาสยามานุกูลกิจ สกลนิติธรรมศาสตราจารย์ มหิบาลมหาสวามิภักดิ์ ปรมัคราชมนตรีอภัยพิริยปรากรมพาหุ. |
สร้อย เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-ไม้-โท-ออ-อ่าง-ยอ-ยัก ความหมายที่ ๔ | [ส้อย] เป็นคำนาม หมายถึง ผู้หญิง, นาง, เช่น จําใจจําจากสร้อย. ในวงเล็บ มาจาก หนังสือลิลิตตะเลงพ่าย แบบเรียนกวีนิพนธ์. | สร้อย ๔ [ส้อย] น. ผู้หญิง, นาง, เช่น จําใจจําจากสร้อย. (ตะเลงพ่าย). |
สร้อย เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-ไม้-โท-ออ-อ่าง-ยอ-ยัก ความหมายที่ ๕ | [ส้อย] เป็นคำนาม หมายถึง ดอกไม้ เช่น สร้อยสลา. | สร้อย ๕ [ส้อย] น. ดอกไม้ เช่น สร้อยสลา. |
สร้อย เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-ไม้-โท-ออ-อ่าง-ยอ-ยัก ความหมายที่ ๖ | [ส้อย] เป็นคำกริยา หมายถึง โศก. | สร้อย ๖ [ส้อย] ก. โศก. |
สร้อยเศร้า เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-ไม้-โท-ออ-อ่าง-ยอ-ยัก-สะ-หระ-เอ-สอ-สา-ลา-รอ-เรือ-ไม้-โท-สะ-หระ-อา | เป็นคำกริยา หมายถึง เศร้าสร้อย. | สร้อยเศร้า ก. เศร้าสร้อย. |
สร้อยทอง เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-ไม้-โท-ออ-อ่าง-ยอ-ยัก-ทอ-ทะ-หาน-ออ-อ่าง-งอ-งู | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Solidago polyglossa DC. ในวงศ์ Compositae ดอกสีเหลือง ออกเป็นช่อ. | สร้อยทอง น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Solidago polyglossa DC. ในวงศ์ Compositae ดอกสีเหลือง ออกเป็นช่อ. |
สร้อยทะแย เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-ไม้-โท-ออ-อ่าง-ยอ-ยัก-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-แอ-ยอ-ยัก | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง. | สร้อยทะแย น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง. |
สร้อยนกเขา เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-ไม้-โท-ออ-อ่าง-ยอ-ยัก-นอ-หนู-กอ-ไก่-สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-สะ-หระ-อา | เป็นคำนาม หมายถึง (๑) ดู ข้างตะเภา. (๒) ดู ขี้ขม เขียนว่า ขอ-ไข่-สะ-หระ-อี-ไม้-โท-ขอ-ไข่-มอ-ม้า และ ทองลิน เขียนว่า ทอ-ทะ-หาน-ออ-อ่าง-งอ-งู-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อิ-นอ-หนู. | สร้อยนกเขา น. (๑) ดู ข้างตะเภา. (๒) ดู ขี้ขม และ ทองลิน. |
สร้อยน้ำผึ้ง เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-ไม้-โท-ออ-อ่าง-ยอ-ยัก-นอ-หนู-ไม้-โท-สะ-หระ-อำ-ผอ-ผึ้ง-สะ-หระ-อึ-ไม้-โท-งอ-งู | ดู รากกล้วย เขียนว่า รอ-เรือ-สะ-หระ-อา-กอ-ไก่-กอ-ไก่-ลอ-ลิง-ไม้-โท-วอ-แหวน-ยอ-ยัก. | สร้อยน้ำผึ้ง ดู รากกล้วย. |
สร้อยระย้า เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-ไม้-โท-ออ-อ่าง-ยอ-ยัก-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ยอ-ยัก-ไม้-โท-สะ-หระ-อา ความหมายที่ ๑ | ดูใน สร้อย เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-ไม้-โท-ออ-อ่าง-ยอ-ยัก ความหมายที่ ๑. | สร้อยระย้า ๑ ดูใน สร้อย ๑. |
สร้อยระย้า เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-ไม้-โท-ออ-อ่าง-ยอ-ยัก-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ยอ-ยัก-ไม้-โท-สะ-หระ-อา ความหมายที่ ๒ | เป็นคำนาม หมายถึง (๑) ชื่อกล้วยไม้อิงอาศัยชนิด Otochilus fusca Lindl. ในวงศ์ Orchidaceae ดอกเล็ก สีขาว ออกเป็นช่อห้อยลง กลิ่นหอม. (๒) ชื่อไม้พุ่มอิงอาศัยชนิด Medinilla magnifica Lindl. ในวงศ์ Melastomataceae ใบรูปไข่เป็นมัน เส้นกลางใบสีขาวนวล ดอกสีชมพู ออกเป็นช่อห้อยลง. | สร้อยระย้า ๒ น. (๑) ชื่อกล้วยไม้อิงอาศัยชนิด Otochilus fusca Lindl. ในวงศ์ Orchidaceae ดอกเล็ก สีขาว ออกเป็นช่อห้อยลง กลิ่นหอม. (๒) ชื่อไม้พุ่มอิงอาศัยชนิด Medinilla magnifica Lindl. ในวงศ์ Melastomataceae ใบรูปไข่เป็นมัน เส้นกลางใบสีขาวนวล ดอกสีชมพู ออกเป็นช่อห้อยลง. |
สร้อยอินทนิล เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-ไม้-โท-ออ-อ่าง-ยอ-ยัก-ออ-อ่าง-สะ-หระ-อิ-นอ-หนู-ทอ-ทะ-หาน-นอ-หนู-สะ-หระ-อิ-ลอ-ลิง | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อไม้เถาชนิด Thunbergia grandiflora Roxb. ในวงศ์ Acanthaceae ดอกสีฟ้าอมม่วงหรือขาว ออกเป็นพวงห้อยระย้า, ช่ออินทนิล หรือ ม่านอินทนิล ก็เรียก. | สร้อยอินทนิล น. ชื่อไม้เถาชนิด Thunbergia grandiflora Roxb. ในวงศ์ Acanthaceae ดอกสีฟ้าอมม่วงหรือขาว ออกเป็นพวงห้อยระย้า, ช่ออินทนิล หรือ ม่านอินทนิล ก็เรียก. |
สระ เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ ความหมายที่ ๑ | [สะ] เป็นคำนาม หมายถึง แอ่งนํ้าขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นเองหรือคนขุด. ในวงเล็บ มาจากภาษาบาลี สร เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ และมาจากภาษาสันสกฤต สรสฺ เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-สอ-เสือ-พิน-ทุ. | สระ ๑ [สะ] น. แอ่งนํ้าขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นเองหรือคนขุด. (ป. สร; ส. สรสฺ). |
สระ เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ ความหมายที่ ๒ | [สะหฺระ] เป็นคำนาม หมายถึง เสียงพูดที่เปล่งออกมาโดยอาศัยการเคลื่อนไหวของลิ้นและริมฝีปากเป็นสําคัญ แต่ไม่มีการสกัดกั้นจากอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งในปาก เช่น เสียง อะ อา โดยทั่วไปจะออกเสียงสระร่วมกับเสียงพยัญชนะ หรือออกเสียงเฉพาะเสียงสระอย่างเดียวก็ได้, เสียงสระ ก็เรียก; ตัวอักษรที่ใช้แทนเสียงสระ เช่น ะ า, รูปสระ ก็เรียก. ในวงเล็บ มาจากภาษาบาลี สร เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ และมาจากภาษาสันสกฤต สฺวร เขียนว่า สอ-เสือ-พิน-ทุ-วอ-แหวน-รอ-เรือ. | สระ ๒ [สะหฺระ] น. เสียงพูดที่เปล่งออกมาโดยอาศัยการเคลื่อนไหวของลิ้นและริมฝีปากเป็นสําคัญ แต่ไม่มีการสกัดกั้นจากอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งในปาก เช่น เสียง อะ อา โดยทั่วไปจะออกเสียงสระร่วมกับเสียงพยัญชนะ หรือออกเสียงเฉพาะเสียงสระอย่างเดียวก็ได้, เสียงสระ ก็เรียก; ตัวอักษรที่ใช้แทนเสียงสระ เช่น ะ า, รูปสระ ก็เรียก. (ป. สร; ส. สฺวร). |
สระ เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ ความหมายที่ ๓ | [สะ] เป็นคำกริยา หมายถึง ฟอกให้สะอาดหมดจด ในคำว่า สระหัว สระผม, ชำระล้างให้สะอาด เช่น สระหวี. | สระ ๓ [สะ] ก. ฟอกให้สะอาดหมดจด ในคำว่า สระหัว สระผม, ชำระล้างให้สะอาด เช่น สระหวี. |
สระ เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ ความหมายที่ ๔ | [สฺระ]คําที่แผลงมาจากคําที่ขึ้นต้นด้วยคํา สะ ซึ่งใช้ในบทกลอน เช่น สะท้อน เป็น สระท้อน. | สระ ๔ [สฺระ] คําที่แผลงมาจากคําที่ขึ้นต้นด้วยคํา สะ ซึ่งใช้ในบทกลอน เช่น สะท้อน เป็น สระท้อน. |
สระ เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ ความหมายที่ ๕ | [สะระ] เป็นคำนาม หมายถึง เสียง. ในวงเล็บ มาจากภาษาบาลี และมาจากภาษาสันสกฤต สฺวร เขียนว่า สอ-เสือ-พิน-ทุ-วอ-แหวน-รอ-เรือ. | สระ ๕ [สะระ] น. เสียง. (ป.; ส. สฺวร). |
สระกอ เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-กอ-ไก่-ออ-อ่าง | [สฺระ] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง สะกอ. | สระกอ [สฺระ] (กลอน) ว. สะกอ. |
สระคราญ เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-คอ-ควาย-รอ-เรือ-สะ-หระ-อา-ยอ-หยิง | [สฺระ] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง สะคราญ. | สระคราญ [สฺระ] (กลอน) ว. สะคราญ. |
สระดะ เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-อะ | [สฺระ] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ระดะไป, เกะกะไป, ดาษไป, แน่นไป. | สระดะ [สฺระ] (กลอน) ว. ระดะไป, เกะกะไป, ดาษไป, แน่นไป. |
สระท้อน เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-ไม้-โท-ออ-อ่าง-นอ-หนู | [สฺระ] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง สะท้อน; อ่อน. ในวงเล็บ มาจากภาษาเขมร . | สระท้อน [สฺระ] (กลอน) ว. สะท้อน; อ่อน. (ข.). |
สระพรั่ง เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-พอ-พาน-รอ-เรือ-ไม้-หัน-อา-กาด-ไม้-เอก-งอ-งู | [สฺระ] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง สะพรั่ง. | สระพรั่ง [สฺระ] (กลอน) ว. สะพรั่ง. |
สระสม เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สอ-เสือ-มอ-ม้า | [สฺระ] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในวรรณกรรม เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง สวย เช่น พิศดูคางสระสม. ในวงเล็บ มาจาก ลิลิตพระลอ แบบเรียน. | สระสม [สฺระ] (วรรณ) ว. สวย เช่น พิศดูคางสระสม. (ลอ). |
สระอาด เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ออ-อ่าง-สะ-หระ-อา-ดอ-เด็ก | [สฺระ] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง สะอาด. | สระอาด [สฺระ] (กลอน) ว. สะอาด. |
สระอื้น เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ออ-อ่าง-สะ-หระ-อือ-ไม้-โท-นอ-หนู | [สฺระ] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำกริยา หมายถึง สะอื้น. | สระอื้น [สฺระ] (กลอน) ก. สะอื้น. |
สรั่ง เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-ไม้-หัน-อา-กาด-ไม้-เอก-งอ-งู | [สะหฺรั่ง] เป็นคำนาม หมายถึง หัวหน้ากะลาสี. (เปอร์เซีย). | สรั่ง [สะหฺรั่ง] น. หัวหน้ากะลาสี. (เปอร์เซีย). |
สรัสวดี เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-ไม้-หัน-อา-กาด-สอ-เสือ-วอ-แหวน-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-อี | [สะรัดสะวะดี] เป็นคำนาม หมายถึง เทวีองค์หนึ่งในลัทธิศักติของศาสนาฮินดู เป็นชายาของพระพรหม ถือว่าเป็นเทวีแห่งศิลปวิทยา มีหลายชื่อ เช่น ภารตี พราหมี สารทา, ไทยใช้ว่า สุรัสวดี ก็มี. ในวงเล็บ มาจากภาษาสันสกฤต สรสฺวตี เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-สอ-เสือ-พิน-ทุ-วอ-แหวน-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อี. | สรัสวดี [สะรัดสะวะดี] น. เทวีองค์หนึ่งในลัทธิศักติของศาสนาฮินดู เป็นชายาของพระพรหม ถือว่าเป็นเทวีแห่งศิลปวิทยา มีหลายชื่อ เช่น ภารตี พราหมี สารทา, ไทยใช้ว่า สุรัสวดี ก็มี. (ส. สรสฺวตี). |
สร่าง เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา-งอ-งู | [ส่าง] เป็นคำกริยา หมายถึง คลาย, ถอย, ทุเลา, (ใช้แก่ลักษณะความเป็นไปของร่างกายหรืออารมณ์ที่ผิดปรกติจากธรรมดา), เช่น สร่างไข้ สร่างโศก ไข้ยังไม่สร่าง สร่างเมา เมาไม่สร่าง. | สร่าง [ส่าง] ก. คลาย, ถอย, ทุเลา, (ใช้แก่ลักษณะความเป็นไปของร่างกายหรืออารมณ์ที่ผิดปรกติจากธรรมดา), เช่น สร่างไข้ สร่างโศก ไข้ยังไม่สร่าง สร่างเมา เมาไม่สร่าง. |
สร้าง เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-งอ-งู ความหมายที่ ๑ | [ส้าง] เป็นคำกริยา หมายถึง เนรมิต, บันดาลให้มีให้เป็นขึ้นด้วยฤทธิ์อำนาจ, เช่น พระพรหมสร้างโลก, ทำให้มีให้เป็นขึ้นด้วยวิธีต่าง ๆ กัน (ใช้ทั้งทางรูปธรรมและนามธรรม) เช่น สร้างบ้าน สร้างเมือง สร้างศัตรู สร้างชื่อเสียง. | สร้าง ๑ [ส้าง] ก. เนรมิต, บันดาลให้มีให้เป็นขึ้นด้วยฤทธิ์อำนาจ, เช่น พระพรหมสร้างโลก, ทำให้มีให้เป็นขึ้นด้วยวิธีต่าง ๆ กัน (ใช้ทั้งทางรูปธรรมและนามธรรม) เช่น สร้างบ้าน สร้างเมือง สร้างศัตรู สร้างชื่อเสียง. |
สร้างชาติ เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-งอ-งู-ชอ-ช้าง-สะ-หระ-อา-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อิ | เป็นคำกริยา หมายถึง ทำให้ชาติมีความเป็นปึกแผ่นมั่นคง. | สร้างชาติ ก. ทำให้ชาติมีความเป็นปึกแผ่นมั่นคง. |
สร้างฐานะ เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-งอ-งู-ถอ-ถาน-สะ-หระ-อา-นอ-หนู-สะ-หระ-อะ | เป็นคำกริยา หมายถึง ประกอบอาชีพจนมีทรัพย์สินเป็นหลักฐานมั่นคง. | สร้างฐานะ ก. ประกอบอาชีพจนมีทรัพย์สินเป็นหลักฐานมั่นคง. |
สร้างเนื้อสร้างตัว เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-งอ-งู-สะ-หระ-เอ-นอ-หนู-สะ-หระ-อือ-ไม้-โท-ออ-อ่าง-สอ-เสือ-รอ-เรือ-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-งอ-งู-ตอ-เต่า-ไม้-หัน-อา-กาด-วอ-แหวน | เป็นคำกริยา หมายถึง สร้างฐานะให้ดีขึ้น, สร้างฐานะให้มั่นคง. | สร้างเนื้อสร้างตัว ก. สร้างฐานะให้ดีขึ้น, สร้างฐานะให้มั่นคง. |
สร้างวิมานในอากาศ เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-งอ-งู-วอ-แหวน-สะ-หระ-อิ-มอ-ม้า-สะ-หระ-อา-นอ-หนู-สะ-หระ-ไอ-ไม้-ม้วน-นอ-หนู-ออ-อ่าง-สะ-หระ-อา-กอ-ไก่-สะ-หระ-อา-สอ-สา-ลา | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นสำนวน เป็นคำกริยา หมายถึง ใฝ่ฝันถึงความมั่งมี, คิดคาดหรือหวังจะมีหรือเป็นอะไรอย่างเลิศลอย. | สร้างวิมานในอากาศ (สำ) ก. ใฝ่ฝันถึงความมั่งมี, คิดคาดหรือหวังจะมีหรือเป็นอะไรอย่างเลิศลอย. |
สร้างสถานการณ์ เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-งอ-งู-สอ-เสือ-ถอ-ถุง-สะ-หระ-อา-นอ-หนู-กอ-ไก่-สะ-หระ-อา-รอ-เรือ-นอ-เนน-ทัน-ทะ-คาด | เป็นคำกริยา หมายถึง สร้างให้เป็นเรื่องเป็นข่าวขึ้นมาโดยไม่มีมูล เพื่อหวังประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง. | สร้างสถานการณ์ ก. สร้างให้เป็นเรื่องเป็นข่าวขึ้นมาโดยไม่มีมูล เพื่อหวังประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง. |
สร้างสรรค์ เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-งอ-งู-สอ-เสือ-รอ-เรือ-รอ-เรือ-คอ-ควาย-ทัน-ทะ-คาด | เป็นคำกริยา หมายถึง สร้างให้มีให้เป็นขึ้น (มักใช้ทางนามธรรม) เช่น สร้างสรรค์ความสุขความเจริญให้แก่สังคม. เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง มีลักษณะริเริ่มในทางดี เช่น ความคิดสร้างสรรค์ ศิลปะสร้างสรรค์. | สร้างสรรค์ ก. สร้างให้มีให้เป็นขึ้น (มักใช้ทางนามธรรม) เช่น สร้างสรรค์ความสุขความเจริญให้แก่สังคม. ว. มีลักษณะริเริ่มในทางดี เช่น ความคิดสร้างสรรค์ ศิลปะสร้างสรรค์. |
สร้างเสริม เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-งอ-งู-สะ-หระ-เอ-สอ-เสือ-รอ-เรือ-สะ-หระ-อิ-มอ-ม้า | เป็นคำกริยา หมายถึง ทำให้เกิดมีขึ้นและเพิ่มพูนให้มากยิ่งขึ้น เช่น การศึกษาสร้างเสริมคนให้เป็นพลเมืองดี. | สร้างเสริม ก. ทำให้เกิดมีขึ้นและเพิ่มพูนให้มากยิ่งขึ้น เช่น การศึกษาสร้างเสริมคนให้เป็นพลเมืองดี. |
สร้าง เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-งอ-งู ความหมายที่ ๒ | [ส้าง] เป็นคำนาม หมายถึง โรงขนาดเล็กมียกพื้นข้างใน สำหรับพระสงฆ์นั่งสวดพระอภิธรรม อยู่ ๔ มุมพระเมรุ, ซ่าง คดซ่าง คดสร้าง สำซ่าง หรือ สำสร้าง ก็เรียก. ในวงเล็บ เทียบ ภาษาสันสกฤต ศมฺศาน เขียนว่า สอ-สา-ลา-มอ-ม้า-พิน-ทุ-สอ-สา-ลา-สะ-หระ-อา-นอ-หนู และมาจากภาษาบาลี สุสาน เขียนว่า สอ-เสือ-สะ-หระ-อุ-สอ-เสือ-สะ-หระ-อา-นอ-หนู. | สร้าง ๒ [ส้าง] น. โรงขนาดเล็กมียกพื้นข้างใน สำหรับพระสงฆ์นั่งสวดพระอภิธรรม อยู่ ๔ มุมพระเมรุ, ซ่าง คดซ่าง คดสร้าง สำซ่าง หรือ สำสร้าง ก็เรียก. (เทียบ ส. ศมฺศาน; ป. สุสาน). |
สราญ เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-สะ-หระ-อา-ยอ-หยิง | [สะ] เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง สําราญ. | สราญ [สะ] ว. สําราญ. |
สร้าวเสียว เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-วอ-แหวน-สะ-หระ-เอ-สอ-เสือ-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก-วอ-แหวน | [ส้าว] เป็นคำกริยา หมายถึง เร่ง; เตือนใจ. | สร้าวเสียว [ส้าว] ก. เร่ง; เตือนใจ. |
สริตะ เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-สะ-หระ-อิ-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อะ | [สะริตะ] เป็นคำนาม หมายถึง แม่นํ้า, ลําธาร. ในวงเล็บ มาจากภาษาสันสกฤต และมาจากภาษาบาลี สริตา เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-สะ-หระ-อิ-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อา. | สริตะ [สะริตะ] น. แม่นํ้า, ลําธาร. (ส.; ป. สริตา). |
สรี้ เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-สะ-หระ-อี-ไม้-โท | [สะรี้]ดู กระซิก เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ซอ-โซ่-สะ-หระ-อิ-กอ-ไก่ ความหมายที่ ๒. | สรี้ [สะรี้] ดู กระซิก ๒. |
สรีร, สรีระ สรีร มีเครื่องหมายยัติภังค์ท้ายคำ เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-สะ-หระ-อี-รอ-เรือ สรีระ เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-สะ-หระ-อี-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ | [สะรีระ] เป็นคำนาม หมายถึง ร่างกาย. ในวงเล็บ มาจากภาษาบาลี และมาจากภาษาสันสกฤต ศรีร เขียนว่า สอ-สา-ลา-รอ-เรือ-สะ-หระ-อี-รอ-เรือ. | สรีร, สรีระ [สะรีระ] น. ร่างกาย. (ป.; ส. ศรีร). |
สรีรกิจ เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-สะ-หระ-อี-รอ-เรือ-กอ-ไก่-สะ-หระ-อิ-จอ-จาน | เป็นคำนาม หมายถึง การทํากิจเกี่ยวกับร่างกาย เช่น ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ; การปลงศพ. | สรีรกิจ น. การทํากิจเกี่ยวกับร่างกาย เช่น ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ; การปลงศพ. |
สรีรธาตุ เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-สะ-หระ-อี-รอ-เรือ-ทอ-ทง-สะ-หระ-อา-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อุ | เป็นคำนาม หมายถึง กระดูกของศพที่เผาแล้ว. | สรีรธาตุ น. กระดูกของศพที่เผาแล้ว. |
สรีรวิทยา, สรีรศาสตร์ สรีรวิทยา เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-สะ-หระ-อี-รอ-เรือ-วอ-แหวน-สะ-หระ-อิ-ทอ-ทะ-หาน-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา สรีรศาสตร์ เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-สะ-หระ-อี-รอ-เรือ-สอ-สา-ลา-สะ-หระ-อา-สอ-เสือ-ตอ-เต่า-รอ-เรือ-ทัน-ทะ-คาด | เป็นคำนาม หมายถึง วิชาว่าด้วยสมบัติและการกระทําหน้าที่ของอินทรีย์ต่าง ๆ ซึ่งเป็นส่วนของสิ่งที่เป็นรูปร่างและมีชีวิต. ในวงเล็บ มาจากภาษาอังกฤษ physiology เขียนว่า พี-เอช-วาย-เอส-ไอ-โอ-แอล-โอ-จี-วาย. | สรีรวิทยา, สรีรศาสตร์ น. วิชาว่าด้วยสมบัติและการกระทําหน้าที่ของอินทรีย์ต่าง ๆ ซึ่งเป็นส่วนของสิ่งที่เป็นรูปร่างและมีชีวิต. (อ. physiology). |
สรีรังคาร, สรีรางคาร สรีรังคาร เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-สะ-หระ-อี-รอ-เรือ-ไม้-หัน-อา-กาด-งอ-งู-คอ-ควาย-สะ-หระ-อา-รอ-เรือ สรีรางคาร เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-สะ-หระ-อี-รอ-เรือ-สะ-หระ-อา-งอ-งู-คอ-ควาย-สะ-หระ-อา-รอ-เรือ | [สะรีรังคาน, สะรีรางคาน] เป็นคำนาม หมายถึง เถ้าถ่านที่ปะปนกับกระดูกชิ้นเล็กชิ้นน้อยของศพที่เผาแล้ว. | สรีรังคาร, สรีรางคาร [สะรีรังคาน, สะรีรางคาน] น. เถ้าถ่านที่ปะปนกับกระดูกชิ้นเล็กชิ้นน้อยของศพที่เผาแล้ว. |
สรีรังคาร, สรีรางคาร สรีรังคาร เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-สะ-หระ-อี-รอ-เรือ-ไม้-หัน-อา-กาด-งอ-งู-คอ-ควาย-สะ-หระ-อา-รอ-เรือ สรีรางคาร เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-สะ-หระ-อี-รอ-เรือ-สะ-หระ-อา-งอ-งู-คอ-ควาย-สะ-หระ-อา-รอ-เรือ | ดู สรีร, สรีระ สรีร มีเครื่องหมายยัติภังค์ท้ายคำ เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-สะ-หระ-อี-รอ-เรือ สรีระ เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-สะ-หระ-อี-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ . | สรีรังคาร, สรีรางคาร ดู สรีร, สรีระ. |
สรีสฤบ เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-สะ-หระ-อี-สอ-เสือ-รอ-รึ-บอ-ไบ-ไม้ | [สะรีสฺริบ] เป็นคำนาม หมายถึง สัตว์เลื้อยคลาน, งู. ในวงเล็บ มาจากภาษาสันสกฤต และมาจากภาษาบาลี สิรึสป เขียนว่า สอ-เสือ-สะ-หระ-อิ-รอ-เรือ-สะ-หระ-อึ-สอ-เสือ-ปอ-ปลา. | สรีสฤบ [สะรีสฺริบ] น. สัตว์เลื้อยคลาน, งู. (ส.; ป. สิรึสป). |
สรุก เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-สะ-หระ-อุ-กอ-ไก่ | [สฺรุก] เป็นคำนาม หมายถึง เมือง. ในวงเล็บ มาจากภาษาเขมร สฺรุก เขียนว่า สอ-เสือ-พิน-ทุ-รอ-เรือ-สะ-หระ-อุ-กอ-ไก่. | สรุก [สฺรุก] น. เมือง. (ข. สฺรุก). |
สรุกเกรา เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-สะ-หระ-อุ-กอ-ไก่-สะ-หระ-เอ-กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อา | [เกฺรา] เป็นคำนาม หมายถึง บ้านนอก. ในวงเล็บ มาจากภาษาเขมร สฺรุกเกฺรา เขียนว่า สอ-เสือ-พิน-ทุ-รอ-เรือ-สะ-หระ-อุ-กอ-ไก่-สะ-หระ-เอ-กอ-ไก่-พิน-ทุ-รอ-เรือ-สะ-หระ-อา. | สรุกเกรา [เกฺรา] น. บ้านนอก. (ข. สฺรุกเกฺรา). |
สรุง เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-สะ-หระ-อุ-งอ-งู | [สุง] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำนาม หมายถึง อํานาจ, เดช. | สรุง [สุง] (กลอน) น. อํานาจ, เดช. |
สรุโนก เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-สะ-หระ-อุ-สะ-หระ-โอ-นอ-หนู-กอ-ไก่ | [สฺรุ] เป็นคำนาม หมายถึง นก. (แผลงมาจาก สุโนก). | สรุโนก [สฺรุ] น. นก. (แผลงมาจาก สุโนก). |
สรุป, สรูป สรุป เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-สะ-หระ-อุ-ปอ-ปลา สรูป เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-สะ-หระ-อู-ปอ-ปลา | [สะหฺรุบ, สะหฺรูบ] เป็นคำกริยา หมายถึง ย่อเอาเฉพาะใจความสำคัญของเรื่องเป็นประเด็น ๆ ไป เช่น สรุปข่าว สรุปสถานการณ์, โบราณใช้ว่า สรวป ก็มี. เป็นคำนาม หมายถึง ประเด็นย่อ ๆ ของเรื่อง เช่น กล่าวโดยสรุป. | สรุป, สรูป [สะหฺรุบ, สะหฺรูบ] ก. ย่อเอาเฉพาะใจความสำคัญของเรื่องเป็นประเด็น ๆ ไป เช่น สรุปข่าว สรุปสถานการณ์, โบราณใช้ว่า สรวป ก็มี. น. ประเด็นย่อ ๆ ของเรื่อง เช่น กล่าวโดยสรุป. |
สรุสระ เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-สะ-หระ-อุ-สอ-เสือ-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ | [สะหฺรุสะหฺระ] เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ขรุขระ, ไม่เรียบร้อย. | สรุสระ [สะหฺรุสะหฺระ] ว. ขรุขระ, ไม่เรียบร้อย. |
สโรชะ เขียนว่า สอ-เสือ-สะ-หระ-โอ-รอ-เรือ-ชอ-ช้าง-สะ-หระ-อะ | เป็นคำนาม หมายถึง ดอกบัว, บัว. ในวงเล็บ มาจากภาษาสันสกฤต ว่า เกิดในสระ . | สโรชะ น. ดอกบัว, บัว. (ส. ว่า เกิดในสระ). |
สฤก เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-รึ-กอ-ไก่ | [สฺริก] เป็นคำนาม หมายถึง บัวขาว. ในวงเล็บ มาจากภาษาสันสกฤต . | สฤก [สฺริก] น. บัวขาว. (ส.). |
สฤคาล เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-รึ-คอ-ควาย-สะ-หระ-อา-ลอ-ลิง | [สฺริคาน] เป็นคำนาม หมายถึง หมาจิ้งจอก. ในวงเล็บ มาจากภาษาสันสกฤต . | สฤคาล [สฺริคาน] น. หมาจิ้งจอก. (ส.). |
สฤต เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-รึ-ตอ-เต่า | [สฺริด] เป็นคำกริยา หมายถึง ผ่านไป, พ้นไป, ล่วงไป. ในวงเล็บ มาจากภาษาสันสกฤต . | สฤต [สฺริด] ก. ผ่านไป, พ้นไป, ล่วงไป. (ส.). |
สฤษฎิ, สฤษฎี, สฤษฏ์ สฤษฎิ เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-รึ-สอ-รือ-สี-ดอ-ชะ-ดา-สะ-หระ-อิ สฤษฎี เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-รึ-สอ-รือ-สี-ดอ-ชะ-ดา-สะ-หระ-อี สฤษฏ์ เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-รึ-สอ-รือ-สี-ตอ-ปะ-ตัก-ทัน-ทะ-คาด | [สะหฺริดสะ, สะหฺริด] เป็นคำนาม หมายถึง การทํา, การสร้าง, ใช้ว่า สฤษดิ์ ก็มี. ในวงเล็บ มาจากภาษาสันสกฤต . | สฤษฎิ, สฤษฎี, สฤษฏ์ [สะหฺริดสะ, สะหฺริด] น. การทํา, การสร้าง, ใช้ว่า สฤษดิ์ ก็มี. (ส.). |
สฤษดิ์ เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-รึ-สอ-รือ-สี-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-อิ-ทัน-ทะ-คาด | เป็นคำนาม หมายถึง สฤษฏ์. | สฤษดิ์ น. สฤษฏ์. |
สลด เขียนว่า สอ-เสือ-ลอ-ลิง-ดอ-เด็ก | [สะหฺลด] เป็นคำกริยา หมายถึง สังเวชใจ, รู้สึกรันทดใจ; เผือด, ถอดสี, เช่น หน้าสลด; เฉา, เหี่ยว, (ใช้แก่ใบไม้ดอกไม้ซึ่งขาดนํ้าเลี้ยงหรือถูกความร้อน) เช่น ต้นไม้ถูกความร้อนมาก ๆ ใบสลด. | สลด [สะหฺลด] ก. สังเวชใจ, รู้สึกรันทดใจ; เผือด, ถอดสี, เช่น หน้าสลด; เฉา, เหี่ยว, (ใช้แก่ใบไม้ดอกไม้ซึ่งขาดนํ้าเลี้ยงหรือถูกความร้อน) เช่น ต้นไม้ถูกความร้อนมาก ๆ ใบสลด. |
สลดใจ เขียนว่า สอ-เสือ-ลอ-ลิง-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-ไอ-ไม้-ม้วน-จอ-จาน | เป็นคำกริยา หมายถึง รู้สึกเศร้าใจแกมสังเวช, รู้สึกหดหู่ใจ, เช่น ข่าวแผ่นดินไหวคนตายเป็นหมื่น ๆ ฟังแล้วสลดใจ เห็นสุนัขถูกรถทับตาย รู้สึกสลดใจ. | สลดใจ ก. รู้สึกเศร้าใจแกมสังเวช, รู้สึกหดหู่ใจ, เช่น ข่าวแผ่นดินไหวคนตายเป็นหมื่น ๆ ฟังแล้วสลดใจ เห็นสุนัขถูกรถทับตาย รู้สึกสลดใจ. |
สลบ เขียนว่า สอ-เสือ-ลอ-ลิง-บอ-ไบ-ไม้ | [สะหฺลบ] เป็นคำกริยา หมายถึง อาการที่หมดความรู้สึก เช่น ถูกตีหัวจนสลบ เป็นลมล้มสลบ. | สลบ [สะหฺลบ] ก. อาการที่หมดความรู้สึก เช่น ถูกตีหัวจนสลบ เป็นลมล้มสลบ. |
สลบแดด เขียนว่า สอ-เสือ-ลอ-ลิง-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-แอ-ดอ-เด็ก-ดอ-เด็ก | เป็นคำกริยา หมายถึง อาการที่ใบไม้ดอกไม้เหี่ยวหรือเฉาเมื่อถูกแดดหรือความร้อน. | สลบแดด ก. อาการที่ใบไม้ดอกไม้เหี่ยวหรือเฉาเมื่อถูกแดดหรือความร้อน. |
สลบไสล เขียนว่า สอ-เสือ-ลอ-ลิง-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-สอ-เสือ-ลอ-ลิง | เป็นคำกริยา หมายถึง อาการที่แน่นิ่งไม่ไหวติง, อาการที่หลับใหลจนไม่รู้สึกตัว, เช่น อดนอนมาหลายวัน วันนี้เลยนอนสลบไสล. | สลบไสล ก. อาการที่แน่นิ่งไม่ไหวติง, อาการที่หลับใหลจนไม่รู้สึกตัว, เช่น อดนอนมาหลายวัน วันนี้เลยนอนสลบไสล. |
สลบเหมือด เขียนว่า สอ-เสือ-ลอ-ลิง-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-เอ-หอ-หีบ-มอ-ม้า-สะ-หระ-อือ-ออ-อ่าง-ดอ-เด็ก | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาปาก เป็นคำกริยา หมายถึง สลบไสล. | สลบเหมือด (ปาก) ก. สลบไสล. |
สลวน เขียนว่า สอ-เสือ-ลอ-ลิง-วอ-แหวน-นอ-หนู | [สนละวน] เป็นคำกริยา หมายถึง สาละวน. | สลวน [สนละวน] ก. สาละวน. |
สลวย เขียนว่า สอ-เสือ-ลอ-ลิง-วอ-แหวน-ยอ-ยัก | [สะหฺลวย] เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ลักษณะของเส้นผมที่ละเอียด อ่อนนุ่ม ทิ้งตัว และมีปลายช้อยงอนงาม เช่น ผมสลวยจัดทรงง่าย, ลักษณะชายผ้าที่ทิ้งตัวห้อยลง เช่น ผ้าม่านทิ้งชายห้อยสลวย. | สลวย [สะหฺลวย] ว. ลักษณะของเส้นผมที่ละเอียด อ่อนนุ่ม ทิ้งตัว และมีปลายช้อยงอนงาม เช่น ผมสลวยจัดทรงง่าย, ลักษณะชายผ้าที่ทิ้งตัวห้อยลง เช่น ผ้าม่านทิ้งชายห้อยสลวย. |
สลอด เขียนว่า สอ-เสือ-ลอ-ลิง-ออ-อ่าง-ดอ-เด็ก | [สะหฺลอด] เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อไม้พุ่มชนิด Croton tiglium L. ในวงศ์ Euphorbiaceae เมล็ดเป็นพิษ. | สลอด [สะหฺลอด] น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Croton tiglium L. ในวงศ์ Euphorbiaceae เมล็ดเป็นพิษ. |
สลอน เขียนว่า สอ-เสือ-ลอ-ลิง-ออ-อ่าง-นอ-หนู | [สะหฺลอน] เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง เห็นเด่นสะพรั่ง เช่น นั่งหน้าสลอน ยกมือสลอน. | สลอน [สะหฺลอน] ว. เห็นเด่นสะพรั่ง เช่น นั่งหน้าสลอน ยกมือสลอน. |
สลอย เขียนว่า สอ-เสือ-ลอ-ลิง-ออ-อ่าง-ยอ-ยัก | [สะหฺลอย] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง งาม. | สลอย [สะหฺลอย] (กลอน) ว. งาม. |
สละ เขียนว่า สอ-เสือ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อะ ความหมายที่ ๑ | [สะละ] เป็นคำนาม หมายถึง ขนเม่น. ในวงเล็บ มาจากภาษาบาลี . | สละ ๑ [สะละ] น. ขนเม่น. (ป.). |
สละ เขียนว่า สอ-เสือ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อะ ความหมายที่ ๒ | [สะหฺละ] เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อปาล์มชนิด Salacca edulis Reinw. ในวงศ์ Palmae ขึ้นเป็นกอคล้ายระกํา ผลสีคลํ้า ไม่มีหนาม เนื้อสีขาวหนาล่อน รสหวาน (เทียบ ม. salak); ชื่อระกําพันธุ์หนึ่ง ส่วนมากผลมีเมล็ดเดียว. | สละ ๒ [สะหฺละ] น. ชื่อปาล์มชนิด Salacca edulis Reinw. ในวงศ์ Palmae ขึ้นเป็นกอคล้ายระกํา ผลสีคลํ้า ไม่มีหนาม เนื้อสีขาวหนาล่อน รสหวาน (เทียบ ม. salak); ชื่อระกําพันธุ์หนึ่ง ส่วนมากผลมีเมล็ดเดียว. |
สละ เขียนว่า สอ-เสือ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อะ ความหมายที่ ๓ | [สะหฺละ] เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อปลาทะเลชนิด Scomberoides sanctipetri ในวงศ์ Carangidae ลําตัวแบนข้างและกว้างมาก มีจุดดําใหญ่อยู่บนเส้นข้างตัว ๕๘ จุด ตาเล็กอยู่ค่อนไปทางด้านสันหัว ขนาดโตได้ถึง ๑.๕ เมตร. | สละ ๓ [สะหฺละ] น. ชื่อปลาทะเลชนิด Scomberoides sanctipetri ในวงศ์ Carangidae ลําตัวแบนข้างและกว้างมาก มีจุดดําใหญ่อยู่บนเส้นข้างตัว ๕๘ จุด ตาเล็กอยู่ค่อนไปทางด้านสันหัว ขนาดโตได้ถึง ๑.๕ เมตร. |
สละ เขียนว่า สอ-เสือ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อะ ความหมายที่ ๔ | [สะหฺละ] เป็นคำกริยา หมายถึง บริจาค เช่น สละทรัพย์ช่วยการกุศล, เสียสละ ก็ใช้; ผละออก เช่น กัปตันสละเรือ, ละทิ้ง เช่น สละบ้านเรือนออกบวช, ละวาง, ปล่อยวาง, (สิ่งที่ยังต้องการจะรักษาไว้กับตนอยู่เพื่อเห็นแก่ความสุขความสงบเรียบร้อย หรือเพื่อพลีบูชาเป็นต้น), เช่น สละกิเลส. | สละ ๔ [สะหฺละ] ก. บริจาค เช่น สละทรัพย์ช่วยการกุศล, เสียสละ ก็ใช้; ผละออก เช่น กัปตันสละเรือ, ละทิ้ง เช่น สละบ้านเรือนออกบวช, ละวาง, ปล่อยวาง, (สิ่งที่ยังต้องการจะรักษาไว้กับตนอยู่เพื่อเห็นแก่ความสุขความสงบเรียบร้อย หรือเพื่อพลีบูชาเป็นต้น), เช่น สละกิเลส. |
สละชีพเพื่อชาติ เขียนว่า สอ-เสือ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อะ-ชอ-ช้าง-สะ-หระ-อี-พอ-พาน-สะ-หระ-เอ-พอ-พาน-สะ-หระ-อือ-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-ชอ-ช้าง-สะ-หระ-อา-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อิ | เป็นคำกริยา หมายถึง ยอมเสียชีวิตเพื่อปกป้องประเทศชาติ. | สละชีพเพื่อชาติ ก. ยอมเสียชีวิตเพื่อปกป้องประเทศชาติ. |
สละราชสมบัติ เขียนว่า สอ-เสือ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อะ-รอ-เรือ-สะ-หระ-อา-ชอ-ช้าง-สอ-เสือ-มอ-ม้า-บอ-ไบ-ไม้-ไม้-หัน-อา-กาด-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อิ | เป็นคำกริยา หมายถึง สละความเป็นพระมหากษัตริย์. | สละราชสมบัติ ก. สละความเป็นพระมหากษัตริย์. |
สละสลวย เขียนว่า สอ-เสือ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อะ-สอ-เสือ-ลอ-ลิง-วอ-แหวน-ยอ-ยัก | [สะหฺละสะหฺลวย] เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ที่กล่าวหรือเรียบเรียงได้เนื้อถ้อยกระทงความ และมีสำนวนกลมกลืนไพเราะระรื่นหู (ใช้แก่ถ้อยคำสำนวน) เช่น บทความนี้มีสำนวนสละสลวย. | สละสลวย [สะหฺละสะหฺลวย] ว. ที่กล่าวหรือเรียบเรียงได้เนื้อถ้อยกระทงความ และมีสำนวนกลมกลืนไพเราะระรื่นหู (ใช้แก่ถ้อยคำสำนวน) เช่น บทความนี้มีสำนวนสละสลวย. |
สลัก เขียนว่า สอ-เสือ-ลอ-ลิง-ไม้-หัน-อา-กาด-กอ-ไก่ ความหมายที่ ๑ | [สะหฺลัก] เป็นคำกริยา หมายถึง สกัดกั้น เช่น สลักโจรไว้อย่าให้หนีไปได้. เป็นคำนาม หมายถึง เครื่องกั้นหรือกลอนประตูหน้าต่างเป็นต้นแบบเรือนไทยที่ลงไว้เพื่อไม่ให้เลื่อนหรือผลักเข้าไปได้ เช่น ลงสลักประตู. | สลัก ๑ [สะหฺลัก] ก. สกัดกั้น เช่น สลักโจรไว้อย่าให้หนีไปได้. น. เครื่องกั้นหรือกลอนประตูหน้าต่างเป็นต้นแบบเรือนไทยที่ลงไว้เพื่อไม่ให้เลื่อนหรือผลักเข้าไปได้ เช่น ลงสลักประตู. |
สลักเกลียว เขียนว่า สอ-เสือ-ลอ-ลิง-ไม้-หัน-อา-กาด-กอ-ไก่-สะ-หระ-เอ-กอ-ไก่-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก-วอ-แหวน | เป็นคำนาม หมายถึง แท่งโลหะที่หัวมีลักษณะกลมหรือเหลี่ยม ตอนปลายมีเกลียวสําหรับใส่ขันยึดกับนอต. ในวงเล็บ ดู นอต เขียนว่า นอ-หนู-ออ-อ่าง-ตอ-เต่า ความหมายที่ ๒. | สลักเกลียว น. แท่งโลหะที่หัวมีลักษณะกลมหรือเหลี่ยม ตอนปลายมีเกลียวสําหรับใส่ขันยึดกับนอต. (ดู นอต ๒). |
สลักเพชร เขียนว่า สอ-เสือ-ลอ-ลิง-ไม้-หัน-อา-กาด-กอ-ไก่-สะ-หระ-เอ-พอ-พาน-ชอ-ช้าง-รอ-เรือ | เป็นคำนาม หมายถึง ไม้หรือเหล็กสําหรับสอดขัดกลอนประตูหน้าต่างแบบเรือนไทยเพื่อไม่ให้เคลื่อนที่; วิธีเข้าปากไม้แบบหนึ่ง บากปากไม้และเดือยเป็นรูปหางเหยี่ยว ใช้ลิ่มสอดเข้าไปที่หัวเดือยซึ่งบากไว้ เมื่อสอดเดือยเข้าไปในปากไม้แล้วตอกอัด ลิ่มจะดันให้ปลายเดือยขยายออกอัดแน่นกับปากไม้; กล้ามเนื้อที่เกาะอยู่ระหว่างขอบกระดูกเชิงกรานตรงตะโพกกับหัวกระดูกต้นขาทําให้ขากางออกได้. | สลักเพชร น. ไม้หรือเหล็กสําหรับสอดขัดกลอนประตูหน้าต่างแบบเรือนไทยเพื่อไม่ให้เคลื่อนที่; วิธีเข้าปากไม้แบบหนึ่ง บากปากไม้และเดือยเป็นรูปหางเหยี่ยว ใช้ลิ่มสอดเข้าไปที่หัวเดือยซึ่งบากไว้ เมื่อสอดเดือยเข้าไปในปากไม้แล้วตอกอัด ลิ่มจะดันให้ปลายเดือยขยายออกอัดแน่นกับปากไม้; กล้ามเนื้อที่เกาะอยู่ระหว่างขอบกระดูกเชิงกรานตรงตะโพกกับหัวกระดูกต้นขาทําให้ขากางออกได้. |
สลัก เขียนว่า สอ-เสือ-ลอ-ลิง-ไม้-หัน-อา-กาด-กอ-ไก่ ความหมายที่ ๒ | [สะหฺลัก] เป็นคำกริยา หมายถึง ทําให้เป็นลวดลายหรือรูปภาพด้วยวิธีใช้สิ่วสกัด ตัด ตอก ดุน เป็นต้น เช่น สลักไม้ สลักลูกนิมิต หรือใช้สิ่งอื่นขูด ขีด ให้เป็นตัวหนังสือเป็นต้น เช่น สลักชื่อบนหีบบุหรี่. ในวงเล็บ เทียบ ภาษามลายู selak เขียนว่า เอส-อี-แอล-เอ-เค. | สลัก ๒ [สะหฺลัก] ก. ทําให้เป็นลวดลายหรือรูปภาพด้วยวิธีใช้สิ่วสกัด ตัด ตอก ดุน เป็นต้น เช่น สลักไม้ สลักลูกนิมิต หรือใช้สิ่งอื่นขูด ขีด ให้เป็นตัวหนังสือเป็นต้น เช่น สลักชื่อบนหีบบุหรี่. (เทียบ ม. selak). |
สลักเสลา เขียนว่า สอ-เสือ-ลอ-ลิง-ไม้-หัน-อา-กาด-กอ-ไก่-สะ-หระ-เอ-สอ-เสือ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อา | [สะเหฺลา] เป็นคำกริยา หมายถึง สลักให้เป็นลวดลายเรียบร้อยสวยงาม เช่น เสียเวลานั่งสลักเสลาผักครึ่งวันกว่าจะได้ลงมือทำกับข้าว สลักเสลาเสาหินเป็นลายเทพนม. | สลักเสลา [สะเหฺลา] ก. สลักให้เป็นลวดลายเรียบร้อยสวยงาม เช่น เสียเวลานั่งสลักเสลาผักครึ่งวันกว่าจะได้ลงมือทำกับข้าว สลักเสลาเสาหินเป็นลายเทพนม. |
สลักหลัง เขียนว่า สอ-เสือ-ลอ-ลิง-ไม้-หัน-อา-กาด-กอ-ไก่-หอ-หีบ-ลอ-ลิง-ไม้-หัน-อา-กาด-งอ-งู | ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในกฎหมาย เป็นคำกริยา หมายถึง เขียนข้อความลงในด้านหลังตราสาร เพื่อโอนไปซึ่งบรรดาสิทธิอันเกิดแต่ตราสารนั้น เช่น สลักหลังตั๋วแลกเงิน; เขียนลงข้างหลังเอกสารเป็นต้น เช่น สลักหลังเช็ค สลักหลังรูปให้ไว้เป็นที่ระลึก. | สลักหลัง (กฎ) ก. เขียนข้อความลงในด้านหลังตราสาร เพื่อโอนไปซึ่งบรรดาสิทธิอันเกิดแต่ตราสารนั้น เช่น สลักหลังตั๋วแลกเงิน; เขียนลงข้างหลังเอกสารเป็นต้น เช่น สลักหลังเช็ค สลักหลังรูปให้ไว้เป็นที่ระลึก. |
สลักเต้ เขียนว่า สอ-เสือ-ลอ-ลิง-ไม้-หัน-อา-กาด-กอ-ไก่-สะ-หระ-เอ-ตอ-เต่า-ไม้-โท | [สะหฺลัก] เป็นคำนาม หมายถึง ใบชา. ในวงเล็บ มาจากภาษาเขมร สฺลึกแต เขียนว่า สอ-เสือ-พิน-ทุ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อึ-กอ-ไก่-สะ-หระ-แอ-ตอ-เต่า. | สลักเต้ [สะหฺลัก] น. ใบชา. (ข. สฺลึกแต). |
สลักสำคัญ เขียนว่า สอ-เสือ-ลอ-ลิง-ไม้-หัน-อา-กาด-กอ-ไก่-สอ-เสือ-สะ-หระ-อำ-คอ-ควาย-ไม้-หัน-อา-กาด-ยอ-หยิง | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง สําคัญมาก, สําคัญยิ่ง, เช่น เรื่องนี้สลักสำคัญมาก ไม่เห็นสลักสำคัญอะไรเลย. | สลักสำคัญ ว. สําคัญมาก, สําคัญยิ่ง, เช่น เรื่องนี้สลักสำคัญมาก ไม่เห็นสลักสำคัญอะไรเลย. |
สลัด เขียนว่า สอ-เสือ-ลอ-ลิง-ไม้-หัน-อา-กาด-ดอ-เด็ก ความหมายที่ ๑ | [สะหฺลัด] เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อยําชนิดหนึ่งตามแบบชาวตะวันตก ประกอบด้วยผักสดหลายชนิด เช่น ผักกาดหอม หอมหัวใหญ่ มะเขือเทศ แตงกวา เป็นหลัก และอาจมีเนื้อสัตว์หรือไข่ด้วย ราดด้วยน้ำปรุงรสที่เรียกว่า น้ำสลัด สลัดมีหลายชนิด เช่น สลัดผัก สลัดเนื้อสัน สลัดแขก. | สลัด ๑ [สะหฺลัด] น. ชื่อยําชนิดหนึ่งตามแบบชาวตะวันตก ประกอบด้วยผักสดหลายชนิด เช่น ผักกาดหอม หอมหัวใหญ่ มะเขือเทศ แตงกวา เป็นหลัก และอาจมีเนื้อสัตว์หรือไข่ด้วย ราดด้วยน้ำปรุงรสที่เรียกว่า น้ำสลัด สลัดมีหลายชนิด เช่น สลัดผัก สลัดเนื้อสัน สลัดแขก. |
สลัดผลไม้ เขียนว่า สอ-เสือ-ลอ-ลิง-ไม้-หัน-อา-กาด-ดอ-เด็ก-ผอ-ผึ้ง-ลอ-ลิง-สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-มอ-ม้า-ไม้-โท | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่ออาหารชนิดหนึ่งตามแบบตะวันตก ทำด้วยผลไม้หลายชนิด หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ราดด้วยน้ำเชื่อมหรือครีม หรือใช้โรยหน้าไอศกรีม. | สลัดผลไม้ น. ชื่ออาหารชนิดหนึ่งตามแบบตะวันตก ทำด้วยผลไม้หลายชนิด หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ราดด้วยน้ำเชื่อมหรือครีม หรือใช้โรยหน้าไอศกรีม. |
สลัด เขียนว่า สอ-เสือ-ลอ-ลิง-ไม้-หัน-อา-กาด-ดอ-เด็ก ความหมายที่ ๒ | [สะหฺลัด] เป็นคำนาม หมายถึง โจรที่ปล้นเรือในทะเล เรียกว่า โจรสลัด. ในวงเล็บ เทียบ ภาษามลายู salat เขียนว่า เอส-เอ-แอล-เอ-ที ว่า ช่องแคบ . | สลัด ๒ [สะหฺลัด] น. โจรที่ปล้นเรือในทะเล เรียกว่า โจรสลัด. (เทียบ ม. salat ว่า ช่องแคบ). |
สลัดอากาศ เขียนว่า สอ-เสือ-ลอ-ลิง-ไม้-หัน-อา-กาด-ดอ-เด็ก-ออ-อ่าง-สะ-หระ-อา-กอ-ไก่-สะ-หระ-อา-สอ-สา-ลา | เป็นคำนาม หมายถึง โจรที่จี้หรือปล้นเครื่องบินในอากาศ. | สลัดอากาศ น. โจรที่จี้หรือปล้นเครื่องบินในอากาศ. |
สลัด เขียนว่า สอ-เสือ-ลอ-ลิง-ไม้-หัน-อา-กาด-ดอ-เด็ก ความหมายที่ ๓ | [สะหฺลัด] เป็นคำกริยา หมายถึง ทำให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ติดอยู่ให้หลุดไปโดยวิธีสะบัด ซัด หรือกระพือ เป็นต้น เช่น สลัดรองเท้าให้หลุดจากเท้า เม่นสลัดขน เขาสลัดมีดสั้นไปที่คู่ต่อสู้ ไก่สลัดขนปีก, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น สลัดรัก. | สลัด ๓ [สะหฺลัด] ก. ทำให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ติดอยู่ให้หลุดไปโดยวิธีสะบัด ซัด หรือกระพือ เป็นต้น เช่น สลัดรองเท้าให้หลุดจากเท้า เม่นสลัดขน เขาสลัดมีดสั้นไปที่คู่ต่อสู้ ไก่สลัดขนปีก, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น สลัดรัก. |
สลัดได เขียนว่า สอ-เสือ-ลอ-ลิง-ไม้-หัน-อา-กาด-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ดอ-เด็ก ความหมายที่ ๑ | [สะหฺลัด] เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อไม้พุ่มหลายชนิดในสกุล Euphorbia วงศ์ Euphorbiaceae ต้นเป็นเหลี่ยม มีหนาม ไม่มีใบ เช่น ชนิด E. lacei Craib, สลัดไดป่า (E. antiquorum L.) ส่วนที่ใช้ทํายาได้เรียก กระลําพัก. | สลัดได ๑ [สะหฺลัด] น. ชื่อไม้พุ่มหลายชนิดในสกุล Euphorbia วงศ์ Euphorbiaceae ต้นเป็นเหลี่ยม มีหนาม ไม่มีใบ เช่น ชนิด E. lacei Craib, สลัดไดป่า (E. antiquorum L.) ส่วนที่ใช้ทํายาได้เรียก กระลําพัก. |
สลัดได เขียนว่า สอ-เสือ-ลอ-ลิง-ไม้-หัน-อา-กาด-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ดอ-เด็ก ความหมายที่ ๒ | [สะหฺลัด] เป็นคำนาม หมายถึง เครื่องประดับยอดปรางค์ ทําเป็นรูปหอก มีกิ่งเป็นรูปดาบแตกสาขาออกไป ๔ ทิศ, แง่งขิง นพศูล นภศูล ฝักเพกา หรือ ลําภุขัน ก็เรียก. | สลัดได ๒ [สะหฺลัด] น. เครื่องประดับยอดปรางค์ ทําเป็นรูปหอก มีกิ่งเป็นรูปดาบแตกสาขาออกไป ๔ ทิศ, แง่งขิง นพศูล นภศูล ฝักเพกา หรือ ลําภุขัน ก็เรียก. |
สลับ เขียนว่า สอ-เสือ-ลอ-ลิง-ไม้-หัน-อา-กาด-บอ-ไบ-ไม้ | [สะหฺลับ] เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง คั่นเป็นลําดับ เช่น เขียวสลับแดง ผู้หญิงผู้ชายนั่งสลับกัน สร้อยทับทิมสลับเพชร; สับเปลี่ยน เช่น สลับคู่. | สลับ [สะหฺลับ] ว. คั่นเป็นลําดับ เช่น เขียวสลับแดง ผู้หญิงผู้ชายนั่งสลับกัน สร้อยทับทิมสลับเพชร; สับเปลี่ยน เช่น สลับคู่. |
สลับฉาก เขียนว่า สอ-เสือ-ลอ-ลิง-ไม้-หัน-อา-กาด-บอ-ไบ-ไม้-ฉอ-ฉิ่ง-สะ-หระ-อา-กอ-ไก่ | เป็นคำนาม หมายถึง เรียกการแสดงสั้น ๆ ที่คั่นระหว่างการแสดงละครแต่ละฉากเพื่อให้มีเวลาสําหรับเปลี่ยนฉากละครว่า การแสดงสลับฉาก. | สลับฉาก น. เรียกการแสดงสั้น ๆ ที่คั่นระหว่างการแสดงละครแต่ละฉากเพื่อให้มีเวลาสําหรับเปลี่ยนฉากละครว่า การแสดงสลับฉาก. |
สลับฟันปลา เขียนว่า สอ-เสือ-ลอ-ลิง-ไม้-หัน-อา-กาด-บอ-ไบ-ไม้-ฟอ-ฟัน-ไม้-หัน-อา-กาด-นอ-หนู-ปอ-ปลา-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อา | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง สับหว่างสลับเยื้องกันอย่างฟันปลา เช่น นั่งสลับฟันปลา ยืนสลับฟันปลา. | สลับฟันปลา ว. สับหว่างสลับเยื้องกันอย่างฟันปลา เช่น นั่งสลับฟันปลา ยืนสลับฟันปลา. |
สลับเรือน เขียนว่า สอ-เสือ-ลอ-ลิง-ไม้-หัน-อา-กาด-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-เอ-รอ-เรือ-สะ-หระ-อือ-ออ-อ่าง-นอ-หนู | ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในโหราศาสตร์ เป็นคำกริยา หมายถึง อาการที่ดาวพระเคราะห์สับเปลี่ยนเรือนเกษตรกันในดวงชะตาบุคคล เช่นเจ้าเรือนเกษตรพุธราศีกันย์มาครองเรือนเกษตรศุกร์ราศีตุลย์ และเจ้าเรือนเกษตรศุกร์ราศีตุลย์ไปครองเรือนเกษตรพุธราศีกันย์. | สลับเรือน (โหร) ก. อาการที่ดาวพระเคราะห์สับเปลี่ยนเรือนเกษตรกันในดวงชะตาบุคคล เช่นเจ้าเรือนเกษตรพุธราศีกันย์มาครองเรือนเกษตรศุกร์ราศีตุลย์ และเจ้าเรือนเกษตรศุกร์ราศีตุลย์ไปครองเรือนเกษตรพุธราศีกันย์. |
สลับสล้าง เขียนว่า สอ-เสือ-ลอ-ลิง-ไม้-หัน-อา-กาด-บอ-ไบ-ไม้-สอ-เสือ-ลอ-ลิง-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-งอ-งู | [สะหฺลับสะล่าง] เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง เรียกลักษณะต้นไม้ที่ขึ้นเป็นดง มองจากที่สูงแลเห็นยอดสูง ๆ ต่ำ ๆ เช่น ขึ้นไปบนยอดเขา เห็นต้นไม้ขึ้นสลับสล้างเต็มไปหมด. | สลับสล้าง [สะหฺลับสะล่าง] ว. เรียกลักษณะต้นไม้ที่ขึ้นเป็นดง มองจากที่สูงแลเห็นยอดสูง ๆ ต่ำ ๆ เช่น ขึ้นไปบนยอดเขา เห็นต้นไม้ขึ้นสลับสล้างเต็มไปหมด. |
สลัว, สลัว ๆ สลัว เขียนว่า สอ-เสือ-ลอ-ลิง-ไม้-หัน-อา-กาด-วอ-แหวน สลัว ๆ เขียนว่า สอ-เสือ-ลอ-ลิง-ไม้-หัน-อา-กาด-วอ-แหวน ไม้-ยะ-มก | [สะหฺลัว] เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ไม่แจ่ม, ไม่กระจ่าง, เช่น ในห้องมีแสงสลัวมองเห็นได้ราง ๆ ใกล้ค่ำมีแสงสลัว ๆ. | สลัว, สลัว ๆ [สะหฺลัว] ว. ไม่แจ่ม, ไม่กระจ่าง, เช่น ในห้องมีแสงสลัวมองเห็นได้ราง ๆ ใกล้ค่ำมีแสงสลัว ๆ. |
สลา เขียนว่า สอ-เสือ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อา | [สะหฺลา] เป็นคำนาม หมายถึง หมาก. ในวงเล็บ มาจากภาษาเขมร . | สลา [สะหฺลา] น. หมาก. (ข.). |
สลาเหิน เขียนว่า สอ-เสือ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-เอ-หอ-หีบ-สะ-หระ-อิ-นอ-หนู | เป็นคำนาม หมายถึง หมากที่ถือกันว่าเมื่อเสกแล้วเป็นตัวแมลงภู่ ทําให้ผู้กินแล้วลุ่มหลงรัก. | สลาเหิน น. หมากที่ถือกันว่าเมื่อเสกแล้วเป็นตัวแมลงภู่ ทําให้ผู้กินแล้วลุ่มหลงรัก. |
สลาก เขียนว่า สอ-เสือ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อา-กอ-ไก่ ความหมายที่ ๑ | [สะหฺลาก] เป็นคำนาม หมายถึง สิ่งเช่นติ้ว ตั๋ว หรือแผ่นกระดาษเล็ก ๆ เป็นต้น ซึ่งทําเป็นเครื่องหมายกําหนดไว้เนื่องในการเสี่ยงโชคเสี่ยงทายเป็นต้น เช่น สลากภัต; ป้ายบอกชื่อยา ใช้ปิดขวดยารักษาโรค เรียกว่า สลากยา, ฉลาก ก็ว่า. ในวงเล็บ มาจากภาษาบาลี และมาจากภาษาสันสกฤต ศลาก เขียนว่า สอ-สา-ลา-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อา-กอ-ไก่. | สลาก ๑ [สะหฺลาก] น. สิ่งเช่นติ้ว ตั๋ว หรือแผ่นกระดาษเล็ก ๆ เป็นต้น ซึ่งทําเป็นเครื่องหมายกําหนดไว้เนื่องในการเสี่ยงโชคเสี่ยงทายเป็นต้น เช่น สลากภัต; ป้ายบอกชื่อยา ใช้ปิดขวดยารักษาโรค เรียกว่า สลากยา, ฉลาก ก็ว่า. (ป.; ส. ศลาก). |
สลากกินแบ่ง เขียนว่า สอ-เสือ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อา-กอ-ไก่-กอ-ไก่-สะ-หระ-อิ-นอ-หนู-สะ-หระ-แอ-บอ-ไบ-ไม้-ไม้-เอก-งอ-งู | เป็นคำนาม หมายถึง สลากที่จัดให้มีขึ้นเพื่อขายให้แก่ผู้เล่นเป็นการเสี่ยงโชค โดยมีการให้รางวัลที่แบ่งเป็นหลายรางวัลแก่ผู้เล่นซึ่งถือสลากเลขหมายรางวัลที่ออกตามวิธีการที่กำหนด, ลอตเตอรี่ หวย หรือ หวยเบอร์ ก็เรียก. | สลากกินแบ่ง น. สลากที่จัดให้มีขึ้นเพื่อขายให้แก่ผู้เล่นเป็นการเสี่ยงโชค โดยมีการให้รางวัลที่แบ่งเป็นหลายรางวัลแก่ผู้เล่นซึ่งถือสลากเลขหมายรางวัลที่ออกตามวิธีการที่กำหนด, ลอตเตอรี่ หวย หรือ หวยเบอร์ ก็เรียก. |
สลากกินรวบ เขียนว่า สอ-เสือ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อา-กอ-ไก่-กอ-ไก่-สะ-หระ-อิ-นอ-หนู-รอ-เรือ-วอ-แหวน-บอ-ไบ-ไม้ | เป็นคำนาม หมายถึง สลากชนิดที่จําหน่ายแก่ผู้ถือเพื่อรับสิ่งของเป็นรางวัลในการเสี่ยงโชคโดยผู้จําหน่ายรวบเงินค่าสลากไว้ทั้งหมด. | สลากกินรวบ น. สลากชนิดที่จําหน่ายแก่ผู้ถือเพื่อรับสิ่งของเป็นรางวัลในการเสี่ยงโชคโดยผู้จําหน่ายรวบเงินค่าสลากไว้ทั้งหมด. |
สลากภัต เขียนว่า สอ-เสือ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อา-กอ-ไก่-พอ-สำ-เพา-ไม้-หัน-อา-กาด-ตอ-เต่า | [สะหฺลากกะพัด] เป็นคำนาม หมายถึง อาหารแห้งหรือผลไม้ถวายพระโดยวิธีจับฉลาก เช่น สลากภัตข้าวสาร สลากภัตทุเรียน. ในวงเล็บ มาจากภาษาบาลี สลากภตฺต เขียนว่า สอ-เสือ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อา-กอ-ไก่-พอ-สำ-เพา-ตอ-เต่า-พิน-ทุ-ตอ-เต่า. | สลากภัต [สะหฺลากกะพัด] น. อาหารแห้งหรือผลไม้ถวายพระโดยวิธีจับฉลาก เช่น สลากภัตข้าวสาร สลากภัตทุเรียน. (ป. สลากภตฺต). |
สลาก เขียนว่า สอ-เสือ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อา-กอ-ไก่ ความหมายที่ ๒ | [สะหฺลาก]ดู กระดี่ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-อี-ไม้-เอก ความหมายที่ ๑. | สลาก ๒ [สะหฺลาก] ดู กระดี่ ๑. |
สลาง เขียนว่า สอ-เสือ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อา-งอ-งู | ดู กระดี่ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-อี-ไม้-เอก ความหมายที่ ๑. | สลาง ดู กระดี่ ๑. |
สล้าง เขียนว่า สอ-เสือ-ลอ-ลิง-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-งอ-งู | [สะล่าง] เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ที่ตั้งอยู่สูงเด่นเป็นหมู่เป็นพวก เช่น ต้นสักสูงสล้าง. | สล้าง [สะล่าง] ว. ที่ตั้งอยู่สูงเด่นเป็นหมู่เป็นพวก เช่น ต้นสักสูงสล้าง. |
สลาด เขียนว่า สอ-เสือ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อา-ดอ-เด็ก | [สะหฺลาด] เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Notopterus notopterus ในวงศ์ Notopteridae รูปร่างคล้ายปลากราย หัวและลําตัวแบนข้างมาก ท้องเป็นสันคม ปากตํ่า สันหัวแอ่นลงเล็กน้อย ครีบหลังเด่นแต่มีขนาดเล็กเท่า ๆ กันกับครีบอก ครีบท้องเล็ก ครีบก้นยาวต่อเนื่องกับครีบหางซึ่งเล็กและมีขอบกลม พื้นลําตัวสีขาว หลังเทา ไม่มีจุดสีเด่นหรือลวดลายสีเข้มใด ๆ ขนาดยาวเพียง ๓๕ เซนติเมตร, ฉลาด หรือ ตอง ก็เรียก. | สลาด [สะหฺลาด] น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Notopterus notopterus ในวงศ์ Notopteridae รูปร่างคล้ายปลากราย หัวและลําตัวแบนข้างมาก ท้องเป็นสันคม ปากตํ่า สันหัวแอ่นลงเล็กน้อย ครีบหลังเด่นแต่มีขนาดเล็กเท่า ๆ กันกับครีบอก ครีบท้องเล็ก ครีบก้นยาวต่อเนื่องกับครีบหางซึ่งเล็กและมีขอบกลม พื้นลําตัวสีขาว หลังเทา ไม่มีจุดสีเด่นหรือลวดลายสีเข้มใด ๆ ขนาดยาวเพียง ๓๕ เซนติเมตร, ฉลาด หรือ ตอง ก็เรียก. |
สลาตัน เขียนว่า สอ-เสือ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อา-ตอ-เต่า-ไม้-หัน-อา-กาด-นอ-หนู | [สะหฺลา] เป็นคำนาม หมายถึง เรียกลมที่พัดจากทิศตะวันตกเฉียงใต้ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือในปลายฤดูฝนว่า ลมสลาตัน, เรียกลมพายุที่มีกําลังแรงจัดทุกชนิด เช่น ไต้ฝุ่น ไซโคลน ว่า ลมสลาตัน, โดยปริยายใช้เป็นความเปรียบเทียบหมายถึงอาการที่ไป มา หรือเกิดขึ้นรวดเร็วอย่างลมสลาตัน เช่น เวลาเขาโกรธอย่างกับลมสลาตัน. ในวงเล็บ เทียบ ภาษามลายู selatan เขียนว่า เอส-อี-แอล-เอ-ที-เอ-เอ็น ว่า ลมใต้ . | สลาตัน [สะหฺลา] น. เรียกลมที่พัดจากทิศตะวันตกเฉียงใต้ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือในปลายฤดูฝนว่า ลมสลาตัน, เรียกลมพายุที่มีกําลังแรงจัดทุกชนิด เช่น ไต้ฝุ่น ไซโคลน ว่า ลมสลาตัน, โดยปริยายใช้เป็นความเปรียบเทียบหมายถึงอาการที่ไป มา หรือเกิดขึ้นรวดเร็วอย่างลมสลาตัน เช่น เวลาเขาโกรธอย่างกับลมสลาตัน. (เทียบ ม. selatan ว่า ลมใต้). |
สลาบ เขียนว่า สอ-เสือ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อา-บอ-ไบ-ไม้ | [สะหฺลาบ] เป็นคำนาม หมายถึง ปีกของนก; ขน. ในวงเล็บ มาจากภาษาเขมร . | สลาบ [สะหฺลาบ] น. ปีกของนก; ขน. (ข.). |
สลาย เขียนว่า สอ-เสือ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อา-ยอ-ยัก | [สะหฺลาย] เป็นคำกริยา หมายถึง สูญสิ้นไป เช่น ฝันสลาย เมื่อพระอาทิตย์ขึ้น หมอกก็สลายไป, ทำให้สูญสิ้นไป เช่น ใช้ยาสมุนไพรสลายพิษงู, ฉลาย ก็ว่า. | สลาย [สะหฺลาย] ก. สูญสิ้นไป เช่น ฝันสลาย เมื่อพระอาทิตย์ขึ้น หมอกก็สลายไป, ทำให้สูญสิ้นไป เช่น ใช้ยาสมุนไพรสลายพิษงู, ฉลาย ก็ว่า. |
สลายตัว เขียนว่า สอ-เสือ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อา-ยอ-ยัก-ตอ-เต่า-ไม้-หัน-อา-กาด-วอ-แหวน | เป็นคำกริยา หมายถึง เปลี่ยนสภาพ เช่น ยาบางชนิดสลายตัวในน้ำ; อาการที่ฝูงชนซึ่งรวมตัวกันเพื่อประท้วงเป็นต้นแล้วต่อมาได้แยกย้ายกันไป เช่น กลุ่มชนที่มาประท้วงได้สลายตัวไปหมดแล้ว. | สลายตัว ก. เปลี่ยนสภาพ เช่น ยาบางชนิดสลายตัวในน้ำ; อาการที่ฝูงชนซึ่งรวมตัวกันเพื่อประท้วงเป็นต้นแล้วต่อมาได้แยกย้ายกันไป เช่น กลุ่มชนที่มาประท้วงได้สลายตัวไปหมดแล้ว. |
สลิด เขียนว่า สอ-เสือ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อิ-ดอ-เด็ก ความหมายที่ ๑ | [สะหฺลิด] เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อไม้เถาชนิด Telosma minor Craib ในวงศ์ Asclepiadaceae ใบมนป้อม ผลเรียวยาว ดอกสีเขียวอมเหลือง กลิ่นหอม กินได้, ขจร ก็เรียก. | สลิด ๑ [สะหฺลิด] น. ชื่อไม้เถาชนิด Telosma minor Craib ในวงศ์ Asclepiadaceae ใบมนป้อม ผลเรียวยาว ดอกสีเขียวอมเหลือง กลิ่นหอม กินได้, ขจร ก็เรียก. |
สลิด เขียนว่า สอ-เสือ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อิ-ดอ-เด็ก ความหมายที่ ๒ | [สะหฺลิด] เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Trichogaster pectoralis ในวงศ์ Anabantidae รูปร่างคล้ายปลากระดี่ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกัน มีเกล็ดเล็กและไม่มีจุดดําข้างตัว แต่มีลายสีคลํ้าหลายแนวพาดเฉียงตลอดข้างลําตัว และมีขนาดโตกว่าถึง ๒๐ เซนติเมตร พบตามแหล่งนํ้านิ่ง เช่น หนอง คลองบึงทั่วไป ทํารังเป็นหวอดที่ผิวนํ้า, ราชาศัพท์เรียกว่า ปลาใบไม้. | สลิด ๒ [สะหฺลิด] น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Trichogaster pectoralis ในวงศ์ Anabantidae รูปร่างคล้ายปลากระดี่ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกัน มีเกล็ดเล็กและไม่มีจุดดําข้างตัว แต่มีลายสีคลํ้าหลายแนวพาดเฉียงตลอดข้างลําตัว และมีขนาดโตกว่าถึง ๒๐ เซนติเมตร พบตามแหล่งนํ้านิ่ง เช่น หนอง คลองบึงทั่วไป ทํารังเป็นหวอดที่ผิวนํ้า, ราชาศัพท์เรียกว่า ปลาใบไม้. |
สลิล เขียนว่า สอ-เสือ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อิ-ลอ-ลิง | [สะลิน] เป็นคำนาม หมายถึง นํ้า. ในวงเล็บ มาจากภาษาบาลี และมาจากภาษาสันสกฤต . | สลิล [สะลิน] น. นํ้า. (ป., ส.). |
สลึก เขียนว่า สอ-เสือ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อึ-กอ-ไก่ | [สะหฺลึก] เป็นคำนาม หมายถึง ใบไม้. ในวงเล็บ มาจากภาษาเขมร . | สลึก [สะหฺลึก] น. ใบไม้. (ข.). |
สลึง เขียนว่า สอ-เสือ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อึ-งอ-งู | [สะหฺลึง] เป็นคำนาม หมายถึง มาตราเงินตามวิธีประเพณี ๒๕ สตางค์ เท่ากับ ๑ สลึง, เขียนตามวิธีโบราณดังนี้ (รูปภาพ) หมายความว่า ๒ สลึง; ชื่อมาตราชั่งตามวิธีประเพณี สําหรับกําหนดนํ้าหนักเท่ากับเงินหนัก ๑ ใน ๔ บาท หรือ ๓.๗๕ กรัม. | สลึง [สะหฺลึง] น. มาตราเงินตามวิธีประเพณี ๒๕ สตางค์ เท่ากับ ๑ สลึง, เขียนตามวิธีโบราณดังนี้ (รูปภาพ) หมายความว่า ๒ สลึง; ชื่อมาตราชั่งตามวิธีประเพณี สําหรับกําหนดนํ้าหนักเท่ากับเงินหนัก ๑ ใน ๔ บาท หรือ ๓.๗๕ กรัม. |
สลุต เขียนว่า สอ-เสือ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อุ-ตอ-เต่า | [สะหฺลุด] เป็นคำกริยา หมายถึง คํานับ เช่น ยิงสลุต. ในวงเล็บ มาจากภาษาอังกฤษ salute เขียนว่า เอส-เอ-แอล-ยู-ที-อี. | สลุต [สะหฺลุด] ก. คํานับ เช่น ยิงสลุต. (อ. salute). |
สลุบ เขียนว่า สอ-เสือ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อุ-บอ-ไบ-ไม้ | [สะหฺลุบ] เป็นคำนาม หมายถึง เรือใบเดินทะเลชนิดหนึ่งแบบชาวตะวันตก. ในวงเล็บ มาจากภาษาอังกฤษ sloop เขียนว่า เอส-แอล-โอ-โอ-พี. | สลุบ [สะหฺลุบ] น. เรือใบเดินทะเลชนิดหนึ่งแบบชาวตะวันตก. (อ. sloop). |
สลุมพร เขียนว่า สอ-เสือ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อุ-มอ-ม้า-พอ-พาน-รอ-เรือ | [สะหฺลุมพอน] เป็นคำนาม หมายถึง ปลาเนื้ออ่อน. ในวงเล็บ มาจาก พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๔๙๓. | สลุมพร [สะหฺลุมพอน] น. ปลาเนื้ออ่อน. (พจน. ๒๔๙๓). |
สแลง เขียนว่า สอ-เสือ-สะ-หระ-แอ-ลอ-ลิง-งอ-งู | เป็นคำนาม หมายถึง ถ้อยคําหรือสํานวนที่ใช้เข้าใจกันเฉพาะกลุ่มหรือชั่วระยะเวลาหนึ่ง ไม่ใช่ภาษาที่ยอมรับกันว่าถูกต้อง. ในวงเล็บ มาจากภาษาอังกฤษ slang เขียนว่า เอส-แอล-เอ-เอ็น-จี. | สแลง น. ถ้อยคําหรือสํานวนที่ใช้เข้าใจกันเฉพาะกลุ่มหรือชั่วระยะเวลาหนึ่ง ไม่ใช่ภาษาที่ยอมรับกันว่าถูกต้อง. (อ. slang). |
สว มีเครื่องหมายยัติภังค์ท้ายคำ เขียนว่า สอ-เสือ-วอ-แหวน | [สะวะ] เป็นคำนาม หมายถึง ของตนเอง. ในวงเล็บ มาจากภาษาสันสกฤต และมาจากภาษาบาลี สก เขียนว่า สอ-เสือ-กอ-ไก่. | สว [สะวะ] น. ของตนเอง. (ส.; ป. สก). |
สวกรรม เขียนว่า สอ-เสือ-วอ-แหวน-กอ-ไก่-รอ-เรือ-รอ-เรือ-มอ-ม้า | เป็นคำนาม หมายถึง งานส่วนตัว. ในวงเล็บ มาจากภาษาสันสกฤต สฺวกรฺมนฺ เขียนว่า สอ-เสือ-พิน-ทุ-วอ-แหวน-กอ-ไก่-รอ-เรือ-พิน-ทุ-มอ-ม้า-นอ-หนู-พิน-ทุ. | สวกรรม น. งานส่วนตัว. (ส. สฺวกรฺมนฺ). |
สวการย์ เขียนว่า สอ-เสือ-วอ-แหวน-กอ-ไก่-สะ-หระ-อา-รอ-เรือ-ยอ-ยัก-ทัน-ทะ-คาด | เป็นคำนาม หมายถึง หน้าที่หรือธุระของตนเอง. ในวงเล็บ มาจากภาษาสันสกฤต สฺวการฺย เขียนว่า สอ-เสือ-พิน-ทุ-วอ-แหวน-กอ-ไก่-สะ-หระ-อา-รอ-เรือ-พิน-ทุ-ยอ-ยัก. | สวการย์ น. หน้าที่หรือธุระของตนเอง. (ส. สฺวการฺย). |
สวภาพ เขียนว่า สอ-เสือ-วอ-แหวน-พอ-สำ-เพา-สะ-หระ-อา-พอ-พาน | เป็นคำนาม หมายถึง สภาพ, ความเป็นอยู่ของตนเอง. ในวงเล็บ มาจากภาษาสันสกฤต สฺวภาว เขียนว่า สอ-เสือ-พิน-ทุ-วอ-แหวน-พอ-สำ-เพา-สะ-หระ-อา-วอ-แหวน. | สวภาพ น. สภาพ, ความเป็นอยู่ของตนเอง. (ส. สฺวภาว). |
สวราชย์ เขียนว่า สอ-เสือ-วอ-แหวน-รอ-เรือ-สะ-หระ-อา-ชอ-ช้าง-ยอ-ยัก-ทัน-ทะ-คาด | เป็นคำนาม หมายถึง ความเป็นเอกราช; การปกครองด้วยตนเอง. ในวงเล็บ มาจากภาษาสันสกฤต สฺวราชฺย เขียนว่า สอ-เสือ-พิน-ทุ-วอ-แหวน-รอ-เรือ-สะ-หระ-อา-ชอ-ช้าง-พิน-ทุ-ยอ-ยัก. | สวราชย์ น. ความเป็นเอกราช; การปกครองด้วยตนเอง. (ส. สฺวราชฺย). |
สวก เขียนว่า สอ-เสือ-วอ-แหวน-กอ-ไก่ ความหมายที่ ๑ | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง มีเนื้อไม่แน่นและไม่ซุย (ใช้แก่ลักษณะหัวเผือกหัวมันและผลไม้บางชนิด). | สวก ๑ ว. มีเนื้อไม่แน่นและไม่ซุย (ใช้แก่ลักษณะหัวเผือกหัวมันและผลไม้บางชนิด). |
สวก เขียนว่า สอ-เสือ-วอ-แหวน-กอ-ไก่ ความหมายที่ ๒ | [สะหฺวก] เป็นคำนาม หมายถึง สวิงขนาดเล็กชนิดหนึ่งสําหรับตักปลา. | สวก ๒ [สะหฺวก] น. สวิงขนาดเล็กชนิดหนึ่งสําหรับตักปลา. |
ส้วง เขียนว่า สอ-เสือ-ไม้-โท-วอ-แหวน-งอ-งู | เป็นคำนาม หมายถึง ช่อง, โพรง, (โดยมากมักใช้แก่ทวารหนัก). | ส้วง น. ช่อง, โพรง, (โดยมากมักใช้แก่ทวารหนัก). |
สวด เขียนว่า สอ-เสือ-วอ-แหวน-ดอ-เด็ก | เป็นคำกริยา หมายถึง ว่าเป็นทํานองอย่างพระสวดมนต์ เช่น สวดสังคหะ สวดพระอภิธรรม; ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาปาก หมายถึง นินทาว่าร้าย, ดุด่า, ว่ากล่าว, เช่น ถูกแม่สวด. | สวด ก. ว่าเป็นทํานองอย่างพระสวดมนต์ เช่น สวดสังคหะ สวดพระอภิธรรม; (ปาก) นินทาว่าร้าย, ดุด่า, ว่ากล่าว, เช่น ถูกแม่สวด. |
สวน เขียนว่า สอ-เสือ-วอ-แหวน-นอ-หนู ความหมายที่ ๑ | เป็นคำนาม หมายถึง บริเวณที่ปลูกต้นไม้เป็นจํานวนมาก เช่น สวนทุเรียน สวนยาง สวนกุหลาบ สวนผัก, โดยปริยายหมายถึงสถานที่ซึ่งมีลักษณะเช่นนั้นในบางกรณี เช่น สวนสัตว์ สวนงู. | สวน ๑ น. บริเวณที่ปลูกต้นไม้เป็นจํานวนมาก เช่น สวนทุเรียน สวนยาง สวนกุหลาบ สวนผัก, โดยปริยายหมายถึงสถานที่ซึ่งมีลักษณะเช่นนั้นในบางกรณี เช่น สวนสัตว์ สวนงู. |
สวนครัว เขียนว่า สอ-เสือ-วอ-แหวน-นอ-หนู-คอ-ควาย-รอ-เรือ-ไม้-หัน-อา-กาด-วอ-แหวน | เป็นคำนาม หมายถึง บริเวณที่ปลูกพืชผักที่ใช้เป็นอาหารในครัวเรือน เช่น พริก มะเขือ ข่า ตะไคร้ โหระพา. | สวนครัว น. บริเวณที่ปลูกพืชผักที่ใช้เป็นอาหารในครัวเรือน เช่น พริก มะเขือ ข่า ตะไคร้ โหระพา. |
สวนญี่ปุ่น เขียนว่า สอ-เสือ-วอ-แหวน-นอ-หนู-ยอ-หยิง-สะ-หระ-อี-ไม้-เอก-ปอ-ปลา-สะ-หระ-อุ-ไม้-เอก-นอ-หนู | เป็นคำนาม หมายถึง สวนที่จัดตามแบบญี่ปุ่น มีสิ่งประดับที่สำคัญคือ ไม้ดอก ไม้ใบ สะพาน โคม เป็นต้น. | สวนญี่ปุ่น น. สวนที่จัดตามแบบญี่ปุ่น มีสิ่งประดับที่สำคัญคือ ไม้ดอก ไม้ใบ สะพาน โคม เป็นต้น. |
สวนป่า เขียนว่า สอ-เสือ-วอ-แหวน-นอ-หนู-ปอ-ปลา-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา | เป็นคำนาม หมายถึง บริเวณที่ปลูกพรรณไม้ทดแทนป่าที่ถูกทำลาย มักเป็นไม้ที่มีค่าทางเศรษฐกิจ อาจปลูกไม้ชนิดเดียวหรือหลายชนิดรวมกันก็ได้ เพื่อใช้ไม้ทำเครื่องเรือน เยื่อกระดาษ หรืออนุรักษ์พรรณไม้ที่ใกล้จะสูญพันธุ์ เป็นต้น เช่น สวนป่าสัก สวนป่าไม้ยาง. ในวงเล็บ มาจากภาษาอังกฤษ forest เขียนว่า เอฟ-โอ-อา-อี-เอส-ที garden เขียนว่า จี-เอ-อา-ดี-อี-เอ็น ; สวนไม้ใบที่ปลูกไว้ในบริเวณบ้าน มักเป็นพรรณไม้ที่มีค่า เช่น เฟิน ว่าน. | สวนป่า น. บริเวณที่ปลูกพรรณไม้ทดแทนป่าที่ถูกทำลาย มักเป็นไม้ที่มีค่าทางเศรษฐกิจ อาจปลูกไม้ชนิดเดียวหรือหลายชนิดรวมกันก็ได้ เพื่อใช้ไม้ทำเครื่องเรือน เยื่อกระดาษ หรืออนุรักษ์พรรณไม้ที่ใกล้จะสูญพันธุ์ เป็นต้น เช่น สวนป่าสัก สวนป่าไม้ยาง. (อ. forest garden); สวนไม้ใบที่ปลูกไว้ในบริเวณบ้าน มักเป็นพรรณไม้ที่มีค่า เช่น เฟิน ว่าน. |
สวนพฤกษศาสตร์ เขียนว่า สอ-เสือ-วอ-แหวน-นอ-หนู-พอ-พาน-รอ-รึ-กอ-ไก่-สอ-รือ-สี-สอ-สา-ลา-สะ-หระ-อา-สอ-เสือ-ตอ-เต่า-รอ-เรือ-ทัน-ทะ-คาด | เป็นคำนาม หมายถึง บริเวณที่ปลูกพรรณไม้มากชนิดทั้งในและต่างประเทศ รวบรวมไว้เป็นหมวดหมู่ มักเขียนป้ายบอกชื่อสามัญและชื่อวิทยาศาสตร์ไว้ด้วย เพื่อประโยชน์แก่การศึกษาและพักผ่อนหย่อนใจเป็นต้น เช่น สวนพฤกษศาสตร์ที่พุแค จังหวัดสระบุรี. ในวงเล็บ มาจากภาษาอังกฤษ botanic เขียนว่า บี-โอ-ที-เอ-เอ็น-ไอ-ซี garden เขียนว่า จี-เอ-อา-ดี-อี-เอ็น botanical เขียนว่า บี-โอ-ที-เอ-เอ็น-ไอ-ซี-เอ-แอล garden เขียนว่า จี-เอ-อา-ดี-อี-เอ็น . | สวนพฤกษศาสตร์ น. บริเวณที่ปลูกพรรณไม้มากชนิดทั้งในและต่างประเทศ รวบรวมไว้เป็นหมวดหมู่ มักเขียนป้ายบอกชื่อสามัญและชื่อวิทยาศาสตร์ไว้ด้วย เพื่อประโยชน์แก่การศึกษาและพักผ่อนหย่อนใจเป็นต้น เช่น สวนพฤกษศาสตร์ที่พุแค จังหวัดสระบุรี. (อ. botanic garden, botanical garden). |
สวนรุกขชาติ เขียนว่า สอ-เสือ-วอ-แหวน-นอ-หนู-รอ-เรือ-สะ-หระ-อุ-กอ-ไก่-ขอ-ไข่-ชอ-ช้าง-สะ-หระ-อา-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อิ | เป็นคำนาม หมายถึง บริเวณที่ปลูกพรรณไม้นานาชนิด โดยเฉพาะไม้ยืนต้นที่มีค่าทางเศรษฐกิจและไม้ดอกซึ่งมีอยู่ในท้องถิ่น มักเขียนป้ายบอกชื่อสามัญและชื่อวิทยาศาสตร์ไว้ด้วย เพื่อพักผ่อนหย่อนใจ เช่น สวนรุกขชาติที่ห้วยแก้ว จังหวัดเชียงใหม่. ในวงเล็บ มาจากภาษาอังกฤษ arboretum เขียนว่า เอ-อา-บี-โอ-อา-อี-ที-ยู-เอ็ม. | สวนรุกขชาติ น. บริเวณที่ปลูกพรรณไม้นานาชนิด โดยเฉพาะไม้ยืนต้นที่มีค่าทางเศรษฐกิจและไม้ดอกซึ่งมีอยู่ในท้องถิ่น มักเขียนป้ายบอกชื่อสามัญและชื่อวิทยาศาสตร์ไว้ด้วย เพื่อพักผ่อนหย่อนใจ เช่น สวนรุกขชาติที่ห้วยแก้ว จังหวัดเชียงใหม่. (อ. arboretum). |
สวนสนุก เขียนว่า สอ-เสือ-วอ-แหวน-นอ-หนู-สอ-เสือ-นอ-หนู-สะ-หระ-อุ-กอ-ไก่ | เป็นคำนาม หมายถึง สถานที่ที่รวบรวมบรรดาสิ่งที่ทำให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลินไว้บริการประชาชน. | สวนสนุก น. สถานที่ที่รวบรวมบรรดาสิ่งที่ทำให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลินไว้บริการประชาชน. |
สวนสมุนไพร เขียนว่า สอ-เสือ-วอ-แหวน-นอ-หนู-สอ-เสือ-มอ-ม้า-สะ-หระ-อุ-นอ-หนู-สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-พอ-พาน-รอ-เรือ | เป็นคำนาม หมายถึง บริเวณที่ปลูกพืชที่ใช้เป็นสมุนไพร. | สวนสมุนไพร น. บริเวณที่ปลูกพืชที่ใช้เป็นสมุนไพร. |
สวนหย่อม เขียนว่า สอ-เสือ-วอ-แหวน-นอ-หนู-หอ-หีบ-ยอ-ยัก-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-มอ-ม้า | เป็นคำนาม หมายถึง สวนไม้ประดับขนาดเล็ก จัดในเนื้อที่จำกัด. | สวนหย่อม น. สวนไม้ประดับขนาดเล็ก จัดในเนื้อที่จำกัด. |
สวน เขียนว่า สอ-เสือ-วอ-แหวน-นอ-หนู ความหมายที่ ๒ | เป็นคำกริยา หมายถึง อาการที่เคลื่อนไปตรงข้ามในเส้นทางเดียวกัน เช่น เดินสวนกัน มีรถสวนมา; เทียบสอบขนาดหรือปริมาณเครื่องตวง เช่น สวนสัด สวนทะนาน; เอาสายสวนใส่ทางช่องปัสสาวะให้เข้าไปในกระเพาะปัสสาวะเพื่อให้ปัสสาวะออก, เอาลูกสวนใส่ทวารหนักแล้วบีบนํ้ายาหรือนํ้าสบู่ให้เข้าไปในลําไส้ใหญ่เพื่อกระตุ้นให้ลําไส้ใหญ่บีบตัวให้อุจจาระออก. | สวน ๒ ก. อาการที่เคลื่อนไปตรงข้ามในเส้นทางเดียวกัน เช่น เดินสวนกัน มีรถสวนมา; เทียบสอบขนาดหรือปริมาณเครื่องตวง เช่น สวนสัด สวนทะนาน; เอาสายสวนใส่ทางช่องปัสสาวะให้เข้าไปในกระเพาะปัสสาวะเพื่อให้ปัสสาวะออก, เอาลูกสวนใส่ทวารหนักแล้วบีบนํ้ายาหรือนํ้าสบู่ให้เข้าไปในลําไส้ใหญ่เพื่อกระตุ้นให้ลําไส้ใหญ่บีบตัวให้อุจจาระออก. |
สวนควัน เขียนว่า สอ-เสือ-วอ-แหวน-นอ-หนู-คอ-ควาย-วอ-แหวน-ไม้-หัน-อา-กาด-นอ-หนู | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง อาการที่ย้อนตอบทันที เช่น พูดสวนควัน ยิงสวนควัน เตะสวนควัน. | สวนควัน ว. อาการที่ย้อนตอบทันที เช่น พูดสวนควัน ยิงสวนควัน เตะสวนควัน. |
สวนความ เขียนว่า สอ-เสือ-วอ-แหวน-นอ-หนู-คอ-ควาย-วอ-แหวน-สะ-หระ-อา-มอ-ม้า | เป็นคำกริยา หมายถึง สอบเปรียบเทียบข้อความ. | สวนความ ก. สอบเปรียบเทียบข้อความ. |
สวนคำ เขียนว่า สอ-เสือ-วอ-แหวน-นอ-หนู-คอ-ควาย-สะ-หระ-อำ | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง อาการที่พูดย้อนตอบทันที เช่น พอเขาว่ามา ฉันก็ว่าสวนคำไป. | สวนคำ ว. อาการที่พูดย้อนตอบทันที เช่น พอเขาว่ามา ฉันก็ว่าสวนคำไป. |
สวนแทง เขียนว่า สอ-เสือ-วอ-แหวน-นอ-หนู-สะ-หระ-แอ-ทอ-ทะ-หาน-งอ-งู | เป็นคำกริยา หมายถึง แทงตอบทันที. | สวนแทง ก. แทงตอบทันที. |
สวนปากสวนคำ เขียนว่า สอ-เสือ-วอ-แหวน-นอ-หนู-ปอ-ปลา-สะ-หระ-อา-กอ-ไก่-สอ-เสือ-วอ-แหวน-นอ-หนู-คอ-ควาย-สะ-หระ-อำ | เป็นคำกริยา หมายถึง สอบปากคํายันกันดู. | สวนปากสวนคำ ก. สอบปากคํายันกันดู. |
สวนสนาม เขียนว่า สอ-เสือ-วอ-แหวน-นอ-หนู-สอ-เสือ-นอ-หนู-สะ-หระ-อา-มอ-ม้า | เป็นคำนาม หมายถึง พิธีชุมนุมพลกองทหารที่ลานกว้างเพื่อแสดงความสง่าผ่าเผย ความพร้อมเพรียง และอานุภาพของเครื่องอาวุธยุทโธปกรณ์ ให้เป็นเกียรติแก่ผู้เป็นประธานในพิธีซึ่งจะได้ตรวจดูแถวทหารที่ตั้งอยู่ คือ ตรวจพลและดูการเดินแถวของทหารเหล่านั้น. | สวนสนาม น. พิธีชุมนุมพลกองทหารที่ลานกว้างเพื่อแสดงความสง่าผ่าเผย ความพร้อมเพรียง และอานุภาพของเครื่องอาวุธยุทโธปกรณ์ ให้เป็นเกียรติแก่ผู้เป็นประธานในพิธีซึ่งจะได้ตรวจดูแถวทหารที่ตั้งอยู่ คือ ตรวจพลและดูการเดินแถวของทหารเหล่านั้น. |
สวน เขียนว่า สอ-เสือ-วอ-แหวน-นอ-หนู ความหมายที่ ๓ | เป็นคำกริยา หมายถึง เย็บแบบด้วยดอกไม้หรือใบไม้ให้เป็นแถบยาว เพื่อใช้ตกแต่งประดับโครงประทุนคลุมผ้าไตรเป็นต้น, เซ็น ก็ว่า. | สวน ๓ ก. เย็บแบบด้วยดอกไม้หรือใบไม้ให้เป็นแถบยาว เพื่อใช้ตกแต่งประดับโครงประทุนคลุมผ้าไตรเป็นต้น, เซ็น ก็ว่า. |
สวน ๔, สวนะ ๑ สวน ความหมายที่ ๔ เขียนว่า สอ-เสือ-วอ-แหวน-นอ-หนู สวนะ ความหมายที่ ๑ เขียนว่า สอ-เสือ-วอ-แหวน-นอ-หนู-สะ-หระ-อะ | [สะวะนะ] เป็นคำนาม หมายถึง การฟัง. ในวงเล็บ มาจากภาษาบาลี และมาจากภาษาสันสกฤต ศฺรวณ เขียนว่า สอ-สา-ลา-พิน-ทุ-รอ-เรือ-วอ-แหวน-นอ-เนน. | สวน ๔, สวนะ ๑ [สะวะนะ] น. การฟัง. (ป.; ส. ศฺรวณ). |
สวนาการ เขียนว่า สอ-เสือ-วอ-แหวน-นอ-หนู-สะ-หระ-อา-กอ-ไก่-สะ-หระ-อา-รอ-เรือ | เป็นคำนาม หมายถึง อาการฟัง. ในวงเล็บ มาจากภาษาบาลี . | สวนาการ น. อาการฟัง. (ป.). |
ส่วน เขียนว่า สอ-เสือ-ไม้-เอก-วอ-แหวน-นอ-หนู | เป็นคำนาม หมายถึง สิ่งที่แบ่งจากสิ่งรวม เช่น เงินส่วนนี้จะเอาไว้ทําบุญ; การเข้าร่วม เช่น เรื่องนี้ขอมีส่วนด้วย; แผนกย่อย, ฝ่าย, เช่น งานกองนี้แบ่งออกเป็นหลายส่วน, ตอน, ท่อน, เช่น เรื่องนี้แบ่งออกเป็น ๕ ส่วน; ขนาดที่พอเหมาะพอดี เช่น ได้ส่วน สมส่วน ผิดส่วน; ด้าน เช่น ส่วนกว้าง ส่วนยาว ส่วนหนา; จำนวนที่อยู่ข้างล่างของเศษในเลขเศษส่วน. เป็นคำสันธาน หมายถึง ฝ่าย, ข้าง, เช่น พอสอบเสร็จเพื่อน ๆ ก็ไปเที่ยวภูเก็ต ส่วนฉันไปเชียงใหม่. | ส่วน น. สิ่งที่แบ่งจากสิ่งรวม เช่น เงินส่วนนี้จะเอาไว้ทําบุญ; การเข้าร่วม เช่น เรื่องนี้ขอมีส่วนด้วย; แผนกย่อย, ฝ่าย, เช่น งานกองนี้แบ่งออกเป็นหลายส่วน, ตอน, ท่อน, เช่น เรื่องนี้แบ่งออกเป็น ๕ ส่วน; ขนาดที่พอเหมาะพอดี เช่น ได้ส่วน สมส่วน ผิดส่วน; ด้าน เช่น ส่วนกว้าง ส่วนยาว ส่วนหนา; จำนวนที่อยู่ข้างล่างของเศษในเลขเศษส่วน. สัน. ฝ่าย, ข้าง, เช่น พอสอบเสร็จเพื่อน ๆ ก็ไปเที่ยวภูเก็ต ส่วนฉันไปเชียงใหม่. |
ส่วนกลาง เขียนว่า สอ-เสือ-ไม้-เอก-วอ-แหวน-นอ-หนู-กอ-ไก่-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อา-งอ-งู | เป็นคำนาม หมายถึง ส่วนเมืองหลวง, ศูนย์กลาง. | ส่วนกลาง น. ส่วนเมืองหลวง, ศูนย์กลาง. |
ส่วนเกิน เขียนว่า สอ-เสือ-ไม้-เอก-วอ-แหวน-นอ-หนู-สะ-หระ-เอ-กอ-ไก่-สะ-หระ-อิ-นอ-หนู | เป็นคำนาม หมายถึง ส่วนที่นอกเหนือไปจากที่กำหนด เช่น ได้รับบัตรเชิญไปงาน ๒ คน แต่ไป ๓ คน คนที่ ๓ เป็นส่วนเกิน. | ส่วนเกิน น. ส่วนที่นอกเหนือไปจากที่กำหนด เช่น ได้รับบัตรเชิญไปงาน ๒ คน แต่ไป ๓ คน คนที่ ๓ เป็นส่วนเกิน. |
ส่วนควบ เขียนว่า สอ-เสือ-ไม้-เอก-วอ-แหวน-นอ-หนู-คอ-ควาย-วอ-แหวน-บอ-ไบ-ไม้ | ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในกฎหมาย เป็นคำนาม หมายถึง ส่วนของทรัพย์ซึ่งโดยสภาพแห่งทรัพย์หรือโดยจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นเป็นสาระสำคัญในความเป็นอยู่ของทรัพย์นั้น และไม่อาจแยกจากกันได้นอกจากจะทำลาย ทำให้บุบสลายหรือทำให้ทรัพย์นั้นเปลี่ยนแปลงรูปทรงหรือสภาพไป. | ส่วนควบ (กฎ) น. ส่วนของทรัพย์ซึ่งโดยสภาพแห่งทรัพย์หรือโดยจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นเป็นสาระสำคัญในความเป็นอยู่ของทรัพย์นั้น และไม่อาจแยกจากกันได้นอกจากจะทำลาย ทำให้บุบสลายหรือทำให้ทรัพย์นั้นเปลี่ยนแปลงรูปทรงหรือสภาพไป. |
ส่วนได้ส่วนเสีย เขียนว่า สอ-เสือ-ไม้-เอก-วอ-แหวน-นอ-หนู-สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ดอ-เด็ก-ไม้-โท-สอ-เสือ-ไม้-เอก-วอ-แหวน-นอ-หนู-สะ-หระ-เอ-สอ-เสือ-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก | เป็นคำนาม หมายถึง ประโยชน์ที่ควรได้ควรเสียซึ่งมีอยู่ในส่วนรวม, การได้การเสียร่วมกับคนอื่น, เช่น เขาไม่สนใจงานนี้เพราะไม่มีส่วนได้ส่วนเสียด้วย. | ส่วนได้ส่วนเสีย น. ประโยชน์ที่ควรได้ควรเสียซึ่งมีอยู่ในส่วนรวม, การได้การเสียร่วมกับคนอื่น, เช่น เขาไม่สนใจงานนี้เพราะไม่มีส่วนได้ส่วนเสียด้วย. |
ส่วนตัว เขียนว่า สอ-เสือ-ไม้-เอก-วอ-แหวน-นอ-หนู-ตอ-เต่า-ไม้-หัน-อา-กาด-วอ-แหวน | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง เฉพาะตัว, เฉพาะบุคคล, เช่น เรื่องส่วนตัว ของใช้ส่วนตัว. | ส่วนตัว ว. เฉพาะตัว, เฉพาะบุคคล, เช่น เรื่องส่วนตัว ของใช้ส่วนตัว. |
ส่วนท้องถิ่น เขียนว่า สอ-เสือ-ไม้-เอก-วอ-แหวน-นอ-หนู-ทอ-ทะ-หาน-ไม้-โท-ออ-อ่าง-งอ-งู-ถอ-ถุง-สะ-หระ-อิ-ไม้-เอก-นอ-หนู | เป็นคำนาม หมายถึง เขตเทศบาล. | ส่วนท้องถิ่น น. เขตเทศบาล. |
ส่วนบุญ เขียนว่า สอ-เสือ-ไม้-เอก-วอ-แหวน-นอ-หนู-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อุ-ยอ-หยิง | เป็นคำนาม หมายถึง ส่วนที่เป็นบุญกุศล เช่น แผ่ส่วนบุญ เปรตขอส่วนบุญ. | ส่วนบุญ น. ส่วนที่เป็นบุญกุศล เช่น แผ่ส่วนบุญ เปรตขอส่วนบุญ. |
ส่วนแบ่ง เขียนว่า สอ-เสือ-ไม้-เอก-วอ-แหวน-นอ-หนู-สะ-หระ-แอ-บอ-ไบ-ไม้-ไม้-เอก-งอ-งู | เป็นคำนาม หมายถึง ส่วนย่อยที่แยกออกจากส่วนใหญ่ เช่น เขาได้ส่วนแบ่งมรดก ๓ ใน ๑๐ ส่วน. | ส่วนแบ่ง น. ส่วนย่อยที่แยกออกจากส่วนใหญ่ เช่น เขาได้ส่วนแบ่งมรดก ๓ ใน ๑๐ ส่วน. |
ส่วนประกอบ เขียนว่า สอ-เสือ-ไม้-เอก-วอ-แหวน-นอ-หนู-ปอ-ปลา-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-กอ-ไก่-ออ-อ่าง-บอ-ไบ-ไม้ | เป็นคำนาม หมายถึง สิ่งต่าง ๆ ที่ใช้ประกอบเป็นสิ่งใหญ่, ส่วนของสิ่งต่าง ๆ ที่เป็นเครื่องประกอบทําให้เกิดเป็นรูปขึ้นใหม่โดยเฉพาะ, องค์ประกอบ ก็เรียก. | ส่วนประกอบ น. สิ่งต่าง ๆ ที่ใช้ประกอบเป็นสิ่งใหญ่, ส่วนของสิ่งต่าง ๆ ที่เป็นเครื่องประกอบทําให้เกิดเป็นรูปขึ้นใหม่โดยเฉพาะ, องค์ประกอบ ก็เรียก. |
ส่วนผสม เขียนว่า สอ-เสือ-ไม้-เอก-วอ-แหวน-นอ-หนู-ผอ-ผึ้ง-สอ-เสือ-มอ-ม้า | เป็นคำนาม หมายถึง สิ่งต่าง ๆ ที่ผสมกันให้เกิดเป็นสิ่งรวม เช่น ส่วนผสมของอาหาร ส่วนผสมของยา ส่วนผสมของปูนซีเมนต์. | ส่วนผสม น. สิ่งต่าง ๆ ที่ผสมกันให้เกิดเป็นสิ่งรวม เช่น ส่วนผสมของอาหาร ส่วนผสมของยา ส่วนผสมของปูนซีเมนต์. |
ส่วนพระองค์ เขียนว่า สอ-เสือ-ไม้-เอก-วอ-แหวน-นอ-หนู-พอ-พาน-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ออ-อ่าง-งอ-งู-คอ-ควาย-ทัน-ทะ-คาด | ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในราชาศัพท์ เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ส่วนตัว (ใช้แก่เจ้านายตั้งแต่พระองค์เจ้าขึ้นไป) เช่น หนังสือส่วนพระองค์. | ส่วนพระองค์ (ราชา) ว. ส่วนตัว (ใช้แก่เจ้านายตั้งแต่พระองค์เจ้าขึ้นไป) เช่น หนังสือส่วนพระองค์. |
ส่วนภูมิภาค เขียนว่า สอ-เสือ-ไม้-เอก-วอ-แหวน-นอ-หนู-พอ-สำ-เพา-สะ-หระ-อู-มอ-ม้า-สะ-หระ-อิ-พอ-สำ-เพา-สะ-หระ-อา-คอ-ควาย | เป็นคำนาม หมายถึง ส่วนหัวเมือง. | ส่วนภูมิภาค น. ส่วนหัวเมือง. |
ส่วนรวม เขียนว่า สอ-เสือ-ไม้-เอก-วอ-แหวน-นอ-หนู-รอ-เรือ-วอ-แหวน-มอ-ม้า | เป็นคำนาม หมายถึง หมู่คณะ เช่น เห็นแก่ส่วนรวม ทำเพื่อส่วนรวม, ส่วนที่ใช้ร่วมกัน เช่น ห้องน้ำส่วนรวม ของใช้ส่วนรวม. | ส่วนรวม น. หมู่คณะ เช่น เห็นแก่ส่วนรวม ทำเพื่อส่วนรวม, ส่วนที่ใช้ร่วมกัน เช่น ห้องน้ำส่วนรวม ของใช้ส่วนรวม. |
ส่วนร่วม เขียนว่า สอ-เสือ-ไม้-เอก-วอ-แหวน-นอ-หนู-รอ-เรือ-ไม้-เอก-วอ-แหวน-มอ-ม้า | เป็นคำนาม หมายถึง ส่วนได้ส่วนเสียในกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น เช่น มีส่วนร่วมในการบำเพ็ญกุศล มีส่วนร่วมในการทุจริต มีส่วนร่วมในการลงทุนบริษัท. | ส่วนร่วม น. ส่วนได้ส่วนเสียในกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น เช่น มีส่วนร่วมในการบำเพ็ญกุศล มีส่วนร่วมในการทุจริต มีส่วนร่วมในการลงทุนบริษัท. |
ส่วนลด เขียนว่า สอ-เสือ-ไม้-เอก-วอ-แหวน-นอ-หนู-ลอ-ลิง-ดอ-เด็ก | เป็นคำนาม หมายถึง ส่วนที่หักจากจํานวนเงินที่เก็บมาได้ หรือจากจํานวนที่ซื้อหรือที่ใช้ตามส่วนที่กําหนดไว้. | ส่วนลด น. ส่วนที่หักจากจํานวนเงินที่เก็บมาได้ หรือจากจํานวนที่ซื้อหรือที่ใช้ตามส่วนที่กําหนดไว้. |
ส่วนสัด เขียนว่า สอ-เสือ-ไม้-เอก-วอ-แหวน-นอ-หนู-สอ-เสือ-ไม้-หัน-อา-กาด-ดอ-เด็ก | เป็นคำนาม หมายถึง ขนาดที่พอเหมาะพอดีตามเกณฑ์ที่กําหนดหรือที่นิยม เช่น ผู้หญิงคนนี้มีรูปร่างได้ส่วนสัด; (ศิลปะ) ส่วนที่กําหนดขึ้นให้มีความสัมพันธ์กันเพื่อให้เกิดความพอดี. | ส่วนสัด น. ขนาดที่พอเหมาะพอดีตามเกณฑ์ที่กําหนดหรือที่นิยม เช่น ผู้หญิงคนนี้มีรูปร่างได้ส่วนสัด; (ศิลปะ) ส่วนที่กําหนดขึ้นให้มีความสัมพันธ์กันเพื่อให้เกิดความพอดี. |
ส่วนหน้า เขียนว่า สอ-เสือ-ไม้-เอก-วอ-แหวน-นอ-หนู-หอ-หีบ-นอ-หนู-ไม้-โท-สะ-หระ-อา | เป็นคำนาม หมายถึง เรียกเขตที่มีการรบว่า พื้นที่ส่วนหน้า, เรียกส่วนราชการที่แยกออกไปเพื่ออํานวยความสะดวกในการควบคุมบังคับบัญชาในการปฏิบัติหน้าที่หรือปฏิบัติงานพิเศษ เช่น เรียกกองบัญชาการทหารสูงสุดว่า กองบัญชาการทหารสูงสุดส่วนหน้า. | ส่วนหน้า น. เรียกเขตที่มีการรบว่า พื้นที่ส่วนหน้า, เรียกส่วนราชการที่แยกออกไปเพื่ออํานวยความสะดวกในการควบคุมบังคับบัญชาในการปฏิบัติหน้าที่หรือปฏิบัติงานพิเศษ เช่น เรียกกองบัญชาการทหารสูงสุดว่า กองบัญชาการทหารสูงสุดส่วนหน้า. |
ส่วนหลัง เขียนว่า สอ-เสือ-ไม้-เอก-วอ-แหวน-นอ-หนู-หอ-หีบ-ลอ-ลิง-ไม้-หัน-อา-กาด-งอ-งู | เป็นคำนาม หมายถึง เรียกเขตของกองทหารที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการส่งกําลังบํารุงว่า พื้นที่ส่วนหลัง. | ส่วนหลัง น. เรียกเขตของกองทหารที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการส่งกําลังบํารุงว่า พื้นที่ส่วนหลัง. |
ส่วนองค์ เขียนว่า สอ-เสือ-ไม้-เอก-วอ-แหวน-นอ-หนู-ออ-อ่าง-งอ-งู-คอ-ควาย-ทัน-ทะ-คาด | ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในราชาศัพท์ เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ส่วนตัว (ใช้แก่หม่อมเจ้า) เช่น ของใช้ส่วนองค์. | ส่วนองค์ (ราชา) ว. ส่วนตัว (ใช้แก่หม่อมเจ้า) เช่น ของใช้ส่วนองค์. |
สวนะ เขียนว่า สอ-เสือ-วอ-แหวน-นอ-หนู-สะ-หระ-อะ ความหมายที่ ๒ | เป็นคำนาม หมายถึง การไหลไป. ในวงเล็บ มาจากภาษาบาลี และมาจากภาษาสันสกฤต สฺรวณ เขียนว่า สอ-เสือ-พิน-ทุ-รอ-เรือ-วอ-แหวน-นอ-เนน. | สวนะ ๒ น. การไหลไป. (ป.; ส. สฺรวณ). |
สวนาการ เขียนว่า สอ-เสือ-วอ-แหวน-นอ-หนู-สะ-หระ-อา-กอ-ไก่-สะ-หระ-อา-รอ-เรือ | ดู สวน ๔, สวนะ ๑ สวน ความหมายที่ ๔ เขียนว่า สอ-เสือ-วอ-แหวน-นอ-หนู สวนะ ความหมายที่ ๑ เขียนว่า สอ-เสือ-วอ-แหวน-นอ-หนู-สะ-หระ-อะ . | สวนาการ ดู สวน ๔, สวนะ ๑. |
สวนิต เขียนว่า สอ-เสือ-วอ-แหวน-นอ-หนู-สะ-หระ-อิ-ตอ-เต่า | [สะวะ] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำกริยา หมายถึง ยิน, ฟัง. | สวนิต [สะวะ] (กลอน) ก. ยิน, ฟัง. |
สวนีย มีเครื่องหมายยัติภังค์ท้ายคำ เขียนว่า สอ-เสือ-วอ-แหวน-นอ-หนู-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก | [สะวะนียะ] เป็นคำนาม หมายถึง คําที่น่าฟัง, คําไพเราะ. ในวงเล็บ มาจากภาษาบาลี และมาจากภาษาสันสกฤต ศฺรวณีย เขียนว่า สอ-สา-ลา-พิน-ทุ-รอ-เรือ-วอ-แหวน-นอ-เนน-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก. | สวนีย [สะวะนียะ] น. คําที่น่าฟัง, คําไพเราะ. (ป.; ส. ศฺรวณีย). |
สวบ, สวบ ๆ สวบ เขียนว่า สอ-เสือ-วอ-แหวน-บอ-ไบ-ไม้ สวบ ๆ เขียนว่า สอ-เสือ-วอ-แหวน-บอ-ไบ-ไม้ ไม้-ยะ-มก | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง เสียงดังอย่างเสียงกรับพวง; เสียงคนหรือสัตว์ยํ่าไปบนใบไม้หรือสิ่งที่ทําให้เกิดเสียงเช่นนั้น เช่น เสียงเดินบุกป่าดังสวบ ๆ, สวบสาบ ก็ว่า; อาการที่ก้มหน้าก้มตากินเอา ๆ ด้วยความหิวโหยหรือตะกละตะกลาม; อาการที่ก้าวเดินจ้ำเอา ๆ. | สวบ, สวบ ๆ ว. เสียงดังอย่างเสียงกรับพวง; เสียงคนหรือสัตว์ยํ่าไปบนใบไม้หรือสิ่งที่ทําให้เกิดเสียงเช่นนั้น เช่น เสียงเดินบุกป่าดังสวบ ๆ, สวบสาบ ก็ว่า; อาการที่ก้มหน้าก้มตากินเอา ๆ ด้วยความหิวโหยหรือตะกละตะกลาม; อาการที่ก้าวเดินจ้ำเอา ๆ. |
สวม เขียนว่า สอ-เสือ-วอ-แหวน-มอ-ม้า | เป็นคำกริยา หมายถึง กิริยาที่เอาของที่เป็นโพรงเป็นวงเป็นต้นครอบลงบนอีกสิ่งหนึ่ง เช่น สวมชฎา สวมหมวก เกี้ยวสวมจุก, คล้อง เช่น สวมพวงมาลัย, นุ่ง ในคําว่า สวมกางเกง, ใส่ เช่น สวมเสื้อ สวมรองเท้า; เข้าแทนที่ เช่น สวมตําแหน่ง. | สวม ก. กิริยาที่เอาของที่เป็นโพรงเป็นวงเป็นต้นครอบลงบนอีกสิ่งหนึ่ง เช่น สวมชฎา สวมหมวก เกี้ยวสวมจุก, คล้อง เช่น สวมพวงมาลัย, นุ่ง ในคําว่า สวมกางเกง, ใส่ เช่น สวมเสื้อ สวมรองเท้า; เข้าแทนที่ เช่น สวมตําแหน่ง. |
สวมกอด เขียนว่า สอ-เสือ-วอ-แหวน-มอ-ม้า-กอ-ไก่-ออ-อ่าง-ดอ-เด็ก | เป็นคำกริยา หมายถึง เอามือทั้ง ๒ ข้างโอบรัดเข้าไว้ในวงแขน เช่น แม่สวมกอดลูก, ส้วมกอด ก็ว่า. | สวมกอด ก. เอามือทั้ง ๒ ข้างโอบรัดเข้าไว้ในวงแขน เช่น แม่สวมกอดลูก, ส้วมกอด ก็ว่า. |
สวมเขา เขียนว่า สอ-เสือ-วอ-แหวน-มอ-ม้า-สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-สะ-หระ-อา | เป็นคำกริยา หมายถึง ทำความอัปยศให้แก่สามีด้วยการมีชู้โดยที่สามีไม่รู้ระแคะระคาย. | สวมเขา ก. ทำความอัปยศให้แก่สามีด้วยการมีชู้โดยที่สามีไม่รู้ระแคะระคาย. |
สวมบท, สวมบทบาท สวมบท เขียนว่า สอ-เสือ-วอ-แหวน-มอ-ม้า-บอ-ไบ-ไม้-ทอ-ทะ-หาน สวมบทบาท เขียนว่า สอ-เสือ-วอ-แหวน-มอ-ม้า-บอ-ไบ-ไม้-ทอ-ทะ-หาน-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อา-ทอ-ทะ-หาน | เป็นคำกริยา หมายถึง แสดงบทบาท เช่น สวมบทพระเอก สวมบทบาทผู้ร้าย; แสดงออกในลักษณะที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง เช่น คนใจบาปสวมบทนักบุญ. | สวมบท, สวมบทบาท ก. แสดงบทบาท เช่น สวมบทพระเอก สวมบทบาทผู้ร้าย; แสดงออกในลักษณะที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง เช่น คนใจบาปสวมบทนักบุญ. |
สวมรอย เขียนว่า สอ-เสือ-วอ-แหวน-มอ-ม้า-รอ-เรือ-ออ-อ่าง-ยอ-ยัก | เป็นคำกริยา หมายถึง เข้าแทนที่คนอื่นโดยทําเป็นทีให้เข้าใจว่าตนเองเป็นตัวจริง เช่น ผู้ร้ายสวมรอยเจ้าของบ้านเข้าไปขโมยของ. | สวมรอย ก. เข้าแทนที่คนอื่นโดยทําเป็นทีให้เข้าใจว่าตนเองเป็นตัวจริง เช่น ผู้ร้ายสวมรอยเจ้าของบ้านเข้าไปขโมยของ. |
สวมวิญญาณ เขียนว่า สอ-เสือ-วอ-แหวน-มอ-ม้า-วอ-แหวน-สะ-หระ-อิ-ยอ-หยิง-ยอ-หยิง-สะ-หระ-อา-นอ-เนน | เป็นคำกริยา หมายถึง เอาวิญญาณของผู้อื่นหรือสัตว์อื่นเป็นต้นมาสวมใส่ในจิตใจของตน เช่น สวมวิญญาณนักรบ สวมวิญญาณสัตว์ป่า. | สวมวิญญาณ ก. เอาวิญญาณของผู้อื่นหรือสัตว์อื่นเป็นต้นมาสวมใส่ในจิตใจของตน เช่น สวมวิญญาณนักรบ สวมวิญญาณสัตว์ป่า. |
สวมหน้ากาก เขียนว่า สอ-เสือ-วอ-แหวน-มอ-ม้า-หอ-หีบ-นอ-หนู-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-กอ-ไก่-สะ-หระ-อา-กอ-ไก่ | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นสำนวน เป็นคำกริยา หมายถึง แสดงทีท่าหรือกิริยาอาการที่มิได้เกิดจากนิสัยใจจริง, แสดงกิริยาท่าทีลวงให้เข้าใจผิด, เช่น ต่างคนต่างสวมหน้ากากเข้าหากัน, ใส่หน้ากาก ก็ว่า. | สวมหน้ากาก (สำ) ก. แสดงทีท่าหรือกิริยาอาการที่มิได้เกิดจากนิสัยใจจริง, แสดงกิริยาท่าทีลวงให้เข้าใจผิด, เช่น ต่างคนต่างสวมหน้ากากเข้าหากัน, ใส่หน้ากาก ก็ว่า. |
สวมหมวกหลายใบ เขียนว่า สอ-เสือ-วอ-แหวน-มอ-ม้า-หอ-หีบ-มอ-ม้า-วอ-แหวน-กอ-ไก่-หอ-หีบ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อา-ยอ-ยัก-สะ-หระ-ไอ-ไม้-ม้วน-บอ-ไบ-ไม้ | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นสำนวน เป็นคำกริยา หมายถึง ดำรงตำแหน่งหลายตำแหน่งในเวลาเดียวกัน. | สวมหมวกหลายใบ (สำ) ก. ดำรงตำแหน่งหลายตำแหน่งในเวลาเดียวกัน. |
สวมหัวโขน เขียนว่า สอ-เสือ-วอ-แหวน-มอ-ม้า-หอ-หีบ-ไม้-หัน-อา-กาด-วอ-แหวน-สะ-หระ-โอ-ขอ-ไข่-นอ-หนู | เป็นคำกริยา หมายถึง เอาหัวโขนสวมศีรษะ, โดยปริยายหมายความว่า ดำรงตำแหน่งหน้าที่ใหญ่โตหรือมียศถาบรรดาศักดิ์แล้วมักลืมตัวชอบแสดงอำนาจ. | สวมหัวโขน ก. เอาหัวโขนสวมศีรษะ, โดยปริยายหมายความว่า ดำรงตำแหน่งหน้าที่ใหญ่โตหรือมียศถาบรรดาศักดิ์แล้วมักลืมตัวชอบแสดงอำนาจ. |
ส้วม เขียนว่า สอ-เสือ-ไม้-โท-วอ-แหวน-มอ-ม้า ความหมายที่ ๑ | เป็นคำนาม หมายถึง สถานที่ที่สร้างไว้สำหรับถ่ายอุจจาระปัสสาวะโดยเฉพาะ มักทำเป็นห้อง. | ส้วม ๑ น. สถานที่ที่สร้างไว้สำหรับถ่ายอุจจาระปัสสาวะโดยเฉพาะ มักทำเป็นห้อง. |
ส้วมชักโครก เขียนว่า สอ-เสือ-ไม้-โท-วอ-แหวน-มอ-ม้า-ชอ-ช้าง-ไม้-หัน-อา-กาด-กอ-ไก่-สะ-หระ-โอ-คอ-ควาย-รอ-เรือ-กอ-ไก่ | เป็นคำนาม หมายถึง ส้วมแบบส้วมซึมชนิดหนึ่ง ต่างกันตรงที่เมื่อถ่ายแล้วใช้กดหรือชักให้น้ำที่อยู่ในถังด้านหลังหรือข้างบนหัวส้วมไหลชำระสิ่งที่ถ่ายแทนการราดน้ำ. | ส้วมชักโครก น. ส้วมแบบส้วมซึมชนิดหนึ่ง ต่างกันตรงที่เมื่อถ่ายแล้วใช้กดหรือชักให้น้ำที่อยู่ในถังด้านหลังหรือข้างบนหัวส้วมไหลชำระสิ่งที่ถ่ายแทนการราดน้ำ. |
ส้วมซึม เขียนว่า สอ-เสือ-ไม้-โท-วอ-แหวน-มอ-ม้า-ซอ-โซ่-สะ-หระ-อึ-มอ-ม้า | เป็นคำนาม หมายถึง ส้วมที่ตั้งถังซีเมนต์ซ้อนกันลงไปในดินหลาย ๆ ถัง มีหัวส้วมสำหรับนั่งถ่ายอยู่เหนือถังบนสุด เมื่อถ่ายแล้วต้องราดน้ำเพื่อชำระสิ่งที่ถ่ายให้ลงสู่ถังส้วมแล้วซึมหายไปในดิน. | ส้วมซึม น. ส้วมที่ตั้งถังซีเมนต์ซ้อนกันลงไปในดินหลาย ๆ ถัง มีหัวส้วมสำหรับนั่งถ่ายอยู่เหนือถังบนสุด เมื่อถ่ายแล้วต้องราดน้ำเพื่อชำระสิ่งที่ถ่ายให้ลงสู่ถังส้วมแล้วซึมหายไปในดิน. |
ส้วมหลุม เขียนว่า สอ-เสือ-ไม้-โท-วอ-แหวน-มอ-ม้า-หอ-หีบ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อุ-มอ-ม้า | เป็นคำนาม หมายถึง ส้วมที่ขุดหลุมแล้วใช้ไม้กระดานหรือไม้ท่อนใหญ่ทอดพาดปากหลุมสำหรับนั่งถ่าย. | ส้วมหลุม น. ส้วมที่ขุดหลุมแล้วใช้ไม้กระดานหรือไม้ท่อนใหญ่ทอดพาดปากหลุมสำหรับนั่งถ่าย. |
ส้วม เขียนว่า สอ-เสือ-ไม้-โท-วอ-แหวน-มอ-ม้า ความหมายที่ ๒ | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาถิ่นภาคอีสาน เป็นคำนาม หมายถึง ห้องนอน. | ส้วม ๒ (ถิ่นอีสาน) น. ห้องนอน. |
ส้วม เขียนว่า สอ-เสือ-ไม้-โท-วอ-แหวน-มอ-ม้า ความหมายที่ ๓ | เป็นคำกริยา หมายถึง เอามือทั้ง ๒ ข้างโอบรัดเข้าไว้ในวงแขน เรียกว่า ส้วมกอด, สวมกอด ก็ว่า. | ส้วม ๓ ก. เอามือทั้ง ๒ ข้างโอบรัดเข้าไว้ในวงแขน เรียกว่า ส้วมกอด, สวมกอด ก็ว่า. |
สวย เขียนว่า สอ-เสือ-วอ-แหวน-ยอ-ยัก | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง งามน่าพึงพอใจ, มักใช้เข้าคู่กับคํา งาม เป็น สวยงาม, ในบทกลอนใช้ว่า ส้วย ก็มี; ไม่เปียก (ใช้แก่ข้าวสุก) เช่น หุงข้าวสวยดี ไม่ดิบ ไม่แฉะ. | สวย ว. งามน่าพึงพอใจ, มักใช้เข้าคู่กับคํา งาม เป็น สวยงาม, ในบทกลอนใช้ว่า ส้วย ก็มี; ไม่เปียก (ใช้แก่ข้าวสุก) เช่น หุงข้าวสวยดี ไม่ดิบ ไม่แฉะ. |
สวยแต่รูป จูบไม่หอม เขียนว่า สอ-เสือ-วอ-แหวน-ยอ-ยัก-สะ-หระ-แอ-ตอ-เต่า-ไม้-เอก-รอ-เรือ-สะ-หระ-อู-ปอ-ปลา จอ-จาน-สะ-หระ-อู-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-มอ-ม้า-ไม้-เอก-หอ-หีบ-ออ-อ่าง-มอ-ม้า | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นสำนวน เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง มีรูปร่างงาม แต่มีความประพฤติ ท่าทีวาจา และกิริยามารยาทไม่ดี. | สวยแต่รูป จูบไม่หอม (สำ) ว. มีรูปร่างงาม แต่มีความประพฤติ ท่าทีวาจา และกิริยามารยาทไม่ดี. |
ส่วย เขียนว่า สอ-เสือ-ไม้-เอก-วอ-แหวน-ยอ-ยัก ความหมายที่ ๑ | เป็นคำนาม หมายถึง ของที่เรียกเก็บจากพื้นเมืองส่งเป็นภาคหลวงตามวิธีเรียกเก็บภาษีอากรในสมัยโบราณ; เงินช่วยราชการตามที่กําหนดเรียกเก็บจากราษฎรชายที่มิได้รับราชการทหารเป็นรายบุคคล, รัชชูปการ ก็ว่า. | ส่วย ๑ น. ของที่เรียกเก็บจากพื้นเมืองส่งเป็นภาคหลวงตามวิธีเรียกเก็บภาษีอากรในสมัยโบราณ; เงินช่วยราชการตามที่กําหนดเรียกเก็บจากราษฎรชายที่มิได้รับราชการทหารเป็นรายบุคคล, รัชชูปการ ก็ว่า. |
ส่วย เขียนว่า สอ-เสือ-ไม้-เอก-วอ-แหวน-ยอ-ยัก ความหมายที่ ๒ | เป็นคำนาม หมายถึง ชนชาติพูดภาษาตระกูลมอญเขมรพวกหนึ่ง อยู่ทางภาคอีสาน. | ส่วย ๒ น. ชนชาติพูดภาษาตระกูลมอญเขมรพวกหนึ่ง อยู่ทางภาคอีสาน. |
ส้วย เขียนว่า สอ-เสือ-ไม้-โท-วอ-แหวน-ยอ-ยัก ความหมายที่ ๑ | เป็นคำกริยา หมายถึง ชําแหละ, ผ่าล้าง. | ส้วย ๑ ก. ชําแหละ, ผ่าล้าง. |
ส้วย เขียนว่า สอ-เสือ-ไม้-โท-วอ-แหวน-ยอ-ยัก ความหมายที่ ๒ | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ลักษณะที่เป็นมุมแหลมออกไป. | ส้วย ๒ ว. ลักษณะที่เป็นมุมแหลมออกไป. |
ส้วยเสี้ยว เขียนว่า สอ-เสือ-ไม้-โท-วอ-แหวน-ยอ-ยัก-สะ-หระ-เอ-สอ-เสือ-สะ-หระ-อี-ไม้-โท-ยอ-ยัก-วอ-แหวน | เป็นคำนาม หมายถึง ของที่มีมุม ๓ มุม เช่นใบเรือที่อยู่ตอนหัวเรือ. ในวงเล็บ มาจาก อักขราภิธานศรับท์ ของ หมอปรัดเล. | ส้วยเสี้ยว น. ของที่มีมุม ๓ มุม เช่นใบเรือที่อยู่ตอนหัวเรือ. (ปรัดเล). |
สวยม เขียนว่า สอ-เสือ-วอ-แหวน-ยอ-ยัก-มอ-ม้า | [สะวะหฺยม] เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ด้วยตัวเอง. ในวงเล็บ มาจากภาษาสันสกฤต . | สวยม [สะวะหฺยม] ว. ด้วยตัวเอง. (ส.). |
สวยมพร เขียนว่า สอ-เสือ-วอ-แหวน-ยอ-ยัก-มอ-ม้า-พอ-พาน-รอ-เรือ | เป็นคำนาม หมายถึง สยมพร, สยัมพร หรือ สยุมพร ก็ใช้. | สวยมพร น. สยมพร, สยัมพร หรือ สยุมพร ก็ใช้. |
สวยมภู เขียนว่า สอ-เสือ-วอ-แหวน-ยอ-ยัก-มอ-ม้า-พอ-สำ-เพา-สะ-หระ-อู | เป็นคำนาม หมายถึง สยมภู. | สวยมภู น. สยมภู. |
สวรรค, สวรรค์ สวรรค มีเครื่องหมายยัติภังค์ท้ายคำ เขียนว่า สอ-เสือ-วอ-แหวน-รอ-เรือ-รอ-เรือ-คอ-ควาย สวรรค์ เขียนว่า สอ-เสือ-วอ-แหวน-รอ-เรือ-รอ-เรือ-คอ-ควาย-ทัน-ทะ-คาด | [สะหฺวันคะ, สะหฺวัน] เป็นคำนาม หมายถึง โลกของเทวดา, เมืองฟ้า. ในวงเล็บ มาจากภาษาสันสกฤต สฺวรฺค เขียนว่า สอ-เสือ-พิน-ทุ-วอ-แหวน-รอ-เรือ-พิน-ทุ-คอ-ควาย และมาจากภาษาบาลี สคฺค เขียนว่า สอ-เสือ-คอ-ควาย-พิน-ทุ-คอ-ควาย. | สวรรค, สวรรค์ [สะหฺวันคะ, สะหฺวัน] น. โลกของเทวดา, เมืองฟ้า. (ส. สฺวรฺค; ป. สคฺค). |
สวรรคต เขียนว่า สอ-เสือ-วอ-แหวน-รอ-เรือ-รอ-เรือ-คอ-ควาย-ตอ-เต่า | [สะหฺวันคด] เป็นคำกริยา หมายถึง ไปสู่สวรรค์, ตาย, (ใช้ในราชาศัพท์ สําหรับพระเจ้าแผ่นดิน สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช และพระบรมราชวงศ์ที่ทรงได้รับพระราชทานฉัตร ๗ ชั้น). ในวงเล็บ มาจากภาษาสันสกฤต สฺวรฺค เขียนว่า สอ-เสือ-พิน-ทุ-วอ-แหวน-รอ-เรือ-พิน-ทุ-คอ-ควาย + คต เขียนว่า คอ-ควาย-ตอ-เต่า ว่า ไปสู่สวรรค์ . | สวรรคต [สะหฺวันคด] ก. ไปสู่สวรรค์, ตาย, (ใช้ในราชาศัพท์ สําหรับพระเจ้าแผ่นดิน สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช และพระบรมราชวงศ์ที่ทรงได้รับพระราชทานฉัตร ๗ ชั้น). (ส. สฺวรฺค + คต ว่า ไปสู่สวรรค์). |
สวรรคบดี เขียนว่า สอ-เสือ-วอ-แหวน-รอ-เรือ-รอ-เรือ-คอ-ควาย-บอ-ไบ-ไม้-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-อี | [สะหฺวันคะบอดี] เป็นคำนาม หมายถึง เจ้าเมืองสวรรค์ คือ พระอินทร์. ในวงเล็บ มาจากภาษาสันสกฤต สฺวรฺคปติ เขียนว่า สอ-เสือ-พิน-ทุ-วอ-แหวน-รอ-เรือ-พิน-ทุ-คอ-ควาย-ปอ-ปลา-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อิ. | สวรรคบดี [สะหฺวันคะบอดี] น. เจ้าเมืองสวรรค์ คือ พระอินทร์. (ส. สฺวรฺคปติ). |
สวรรค์ในอก นรกในใจ, สวรรค์อยู่ในอก นรกอยู่ในใจ สวรรค์ในอก นรกในใจ เขียนว่า สอ-เสือ-วอ-แหวน-รอ-เรือ-รอ-เรือ-คอ-ควาย-ทัน-ทะ-คาด-สะ-หระ-ไอ-ไม้-ม้วน-นอ-หนู-ออ-อ่าง-กอ-ไก่ นอ-หนู-รอ-เรือ-กอ-ไก่-สะ-หระ-ไอ-ไม้-ม้วน-นอ-หนู-สะ-หระ-ไอ-ไม้-ม้วน-จอ-จาน สวรรค์อยู่ในอก นรกอยู่ในใจ เขียนว่า สอ-เสือ-วอ-แหวน-รอ-เรือ-รอ-เรือ-คอ-ควาย-ทัน-ทะ-คาด-ออ-อ่าง-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อู-ไม้-เอก-สะ-หระ-ไอ-ไม้-ม้วน-นอ-หนู-ออ-อ่าง-กอ-ไก่ นอ-หนู-รอ-เรือ-กอ-ไก่-ออ-อ่าง-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อู-ไม้-เอก-สะ-หระ-ไอ-ไม้-ม้วน-นอ-หนู-สะ-หระ-ไอ-ไม้-ม้วน-จอ-จาน | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นสำนวน เป็นคำนาม หมายถึง ความสุขที่เกิดจากการทำความดี หรือความทุกข์ที่เกิดจากการทำความชั่ว ย่อมอยู่ในใจของผู้ทำเอง. | สวรรค์ในอก นรกในใจ, สวรรค์อยู่ในอก นรกอยู่ในใจ (สำ) น. ความสุขที่เกิดจากการทำความดี หรือความทุกข์ที่เกิดจากการทำความชั่ว ย่อมอยู่ในใจของผู้ทำเอง. |
สวรรคาลัย เขียนว่า สอ-เสือ-วอ-แหวน-รอ-เรือ-รอ-เรือ-คอ-ควาย-สะ-หระ-อา-ลอ-ลิง-ไม้-หัน-อา-กาด-ยอ-ยัก | เป็นคำกริยา หมายถึง ตาย (ใช้แก่เจ้านายชั้นสูง), ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง หมายถึง ตาย. | สวรรคาลัย ก. ตาย (ใช้แก่เจ้านายชั้นสูง), (กลอน) ตาย. |
สวรรคาลัย เขียนว่า สอ-เสือ-วอ-แหวน-รอ-เรือ-รอ-เรือ-คอ-ควาย-สะ-หระ-อา-ลอ-ลิง-ไม้-หัน-อา-กาด-ยอ-ยัก | ดู สวรรค, สวรรค์ สวรรค มีเครื่องหมายยัติภังค์ท้ายคำ เขียนว่า สอ-เสือ-วอ-แหวน-รอ-เรือ-รอ-เรือ-คอ-ควาย สวรรค์ เขียนว่า สอ-เสือ-วอ-แหวน-รอ-เรือ-รอ-เรือ-คอ-ควาย-ทัน-ทะ-คาด . | สวรรคาลัย ดู สวรรค, สวรรค์. |
สวรรยา เขียนว่า สอ-เสือ-วอ-แหวน-รอ-เรือ-รอ-เรือ-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา | [สะหฺวันยา] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำนาม หมายถึง สมบัติ. | สวรรยา [สะหฺวันยา] (กลอน) น. สมบัติ. |
สวระ เขียนว่า สอ-เสือ-วอ-แหวน-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ | เป็นคำนาม หมายถึง เสียง. ในวงเล็บ มาจากภาษาสันสกฤต . | สวระ น. เสียง. (ส.). |
สวะ เขียนว่า สอ-เสือ-วอ-แหวน-สะ-หระ-อะ ความหมายที่ ๑ | [สะหฺวะ] เป็นคำนาม หมายถึง ต้นหญ้า ต้นผัก หรือสิ่งต่าง ๆ ที่ลอยเป็นแพอยู่ในนํ้า. | สวะ ๑ [สะหฺวะ] น. ต้นหญ้า ต้นผัก หรือสิ่งต่าง ๆ ที่ลอยเป็นแพอยู่ในนํ้า. |
สวะ ๒, สวะ ๆ สวะ ความหมายที่ ๒ เขียนว่า สอ-เสือ-วอ-แหวน-สะ-หระ-อะ สวะ ๆ เขียนว่า สอ-เสือ-วอ-แหวน-สะ-หระ-อะ ไม้-ยะ-มก | [สะหฺวะ] ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาปาก เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง เลว, ไร้ประโยชน์, เช่น คนสวะ เรื่องสวะ ๆ; ดาษดื่น, มีมาก, เช่น ของสวะ ๆ. | สวะ ๒, สวะ ๆ [สะหฺวะ] (ปาก) ว. เลว, ไร้ประโยชน์, เช่น คนสวะ เรื่องสวะ ๆ; ดาษดื่น, มีมาก, เช่น ของสวะ ๆ. |
สวะ เขียนว่า สอ-เสือ-วอ-แหวน-สะ-หระ-อะ ความหมายที่ ๓ | [สะหฺวะ] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำกริยา หมายถึง สละ เช่น สวะบาปแสวงบุญบท ที่แล้ว. ในวงเล็บ มาจาก ลิลิตยวนพ่าย ฉบับโรงพิมพ์ ไท พ.ศ. ๒๔๖๐. | สวะ ๓ [สะหฺวะ] (กลอน) ก. สละ เช่น สวะบาปแสวงบุญบท ที่แล้ว. (ยวนพ่าย). |
สวัสดิ, สวัสดิ์ ๑, สวัสดี ๑ สวัสดิ มีเครื่องหมายยัติภังค์ท้ายคำ เขียนว่า สอ-เสือ-วอ-แหวน-ไม้-หัน-อา-กาด-สอ-เสือ-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-อิ สวัสดิ์ ความหมายที่ ๑ เขียนว่า สอ-เสือ-วอ-แหวน-ไม้-หัน-อา-กาด-สอ-เสือ-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-อิ-ทัน-ทะ-คาด สวัสดี ความหมายที่ ๑ เขียนว่า สอ-เสือ-วอ-แหวน-ไม้-หัน-อา-กาด-สอ-เสือ-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-อี | [สะหฺวัดดิ, สะหฺวัด, สะหฺวัดดี] เป็นคำนาม หมายถึง ความดี, ความงาม, ความเจริญรุ่งเรือง;ความปลอดภัย เช่น ขอให้เดินทางโดยสวัสดิภาพ ขอให้มีความสุขสวัสดิ์พิพัฒนมงคล ขอให้มีความสุขสวัสดี ขอให้สวัสดีมีชัย. ในวงเล็บ มาจากภาษาสันสกฤต สฺวสฺติ เขียนว่า สอ-เสือ-พิน-ทุ-วอ-แหวน-สอ-เสือ-พิน-ทุ-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อิ และมาจากภาษาบาลี โสตฺถิ เขียนว่า สะ-หระ-โอ-สอ-เสือ-ตอ-เต่า-พิน-ทุ-ถอ-ถุง-สะ-หระ-อิ. | สวัสดิ, สวัสดิ์ ๑, สวัสดี ๑ [สะหฺวัดดิ, สะหฺวัด, สะหฺวัดดี] น. ความดี, ความงาม, ความเจริญรุ่งเรือง;ความปลอดภัย เช่น ขอให้เดินทางโดยสวัสดิภาพ ขอให้มีความสุขสวัสดิ์พิพัฒนมงคล ขอให้มีความสุขสวัสดี ขอให้สวัสดีมีชัย. (ส. สฺวสฺติ; ป. โสตฺถิ). |
สวัสดิการ เขียนว่า สอ-เสือ-วอ-แหวน-ไม้-หัน-อา-กาด-สอ-เสือ-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-อิ-กอ-ไก่-สะ-หระ-อา-รอ-เรือ | เป็นคำนาม หมายถึง การให้สิ่งที่เอื้ออํานวยให้ผู้ทํางานมีชีวิตและสภาพความเป็นอยู่ที่ดีและสะดวกสบาย เช่น มีสถานพยาบาล ให้ที่พักอาศัย จัดรถรับส่ง. | สวัสดิการ น. การให้สิ่งที่เอื้ออํานวยให้ผู้ทํางานมีชีวิตและสภาพความเป็นอยู่ที่ดีและสะดวกสบาย เช่น มีสถานพยาบาล ให้ที่พักอาศัย จัดรถรับส่ง. |
สวัสดิภาพ เขียนว่า สอ-เสือ-วอ-แหวน-ไม้-หัน-อา-กาด-สอ-เสือ-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-อิ-พอ-สำ-เพา-สะ-หระ-อา-พอ-พาน | เป็นคำนาม หมายถึง ความปลอดภัย เช่น ขอให้เดินทางโดยสวัสดิภาพ ตำรวจออกตรวจท้องที่ในเวลากลางคืนเพื่อสวัสดิภาพของประชาชน. | สวัสดิภาพ น. ความปลอดภัย เช่น ขอให้เดินทางโดยสวัสดิภาพ ตำรวจออกตรวจท้องที่ในเวลากลางคืนเพื่อสวัสดิภาพของประชาชน. |
สวัสดิมงคล เขียนว่า สอ-เสือ-วอ-แหวน-ไม้-หัน-อา-กาด-สอ-เสือ-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-อิ-มอ-ม้า-งอ-งู-คอ-ควาย-ลอ-ลิง | เป็นคำนาม หมายถึง สิ่งที่ให้ความสุข ความเจริญรุ่งเรือง เช่น ประดิษฐานพระพุทธรูปไว้ในบ้านเพื่อสวัสดิมงคล. | สวัสดิมงคล น. สิ่งที่ให้ความสุข ความเจริญรุ่งเรือง เช่น ประดิษฐานพระพุทธรูปไว้ในบ้านเพื่อสวัสดิมงคล. |
สวัสดิ์ ๒, สวัสดี ๒ สวัสดิ์ ความหมายที่ ๒ เขียนว่า สอ-เสือ-วอ-แหวน-ไม้-หัน-อา-กาด-สอ-เสือ-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-อิ-ทัน-ทะ-คาด สวัสดี ความหมายที่ ๒ เขียนว่า สอ-เสือ-วอ-แหวน-ไม้-หัน-อา-กาด-สอ-เสือ-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-อี | [สะหฺวัด, สะหฺวัดดี]คำทักทายหรือพูดขึ้นเมื่อพบหรือจากกัน เช่น อรุณสวัสดิ์ ราตรีสวัสดิ์ สวัสดีปีใหม่ สวัสดีครับคุณครู. | สวัสดิ์ ๒, สวัสดี ๒ [สะหฺวัด, สะหฺวัดดี] คำทักทายหรือพูดขึ้นเมื่อพบหรือจากกัน เช่น อรุณสวัสดิ์ ราตรีสวัสดิ์ สวัสดีปีใหม่ สวัสดีครับคุณครู. |
สวัสติ, สวาตี สวัสติ เขียนว่า สอ-เสือ-วอ-แหวน-ไม้-หัน-อา-กาด-สอ-เสือ-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อิ สวาตี เขียนว่า สอ-เสือ-วอ-แหวน-สะ-หระ-อา-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อี | [สะหฺวัดติ, สะวาตี] เป็นคำนาม หมายถึง ดาวฤกษ์ที่ ๑๕ มี ๕ ดวง เห็นเป็นรูปช้างพัง เหนียงผูกคอสุนัข ดวงแก้ว หรือ กระออมนํ้า, ดาวช้างพัง หรือ ดาวงูเหลือม ก็เรียก. ในวงเล็บ มาจากภาษาสันสกฤต สฺวาติ เขียนว่า สอ-เสือ-พิน-ทุ-วอ-แหวน-สะ-หระ-อา-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อิ. | สวัสติ, สวาตี [สะหฺวัดติ, สะวาตี] น. ดาวฤกษ์ที่ ๑๕ มี ๕ ดวง เห็นเป็นรูปช้างพัง เหนียงผูกคอสุนัข ดวงแก้ว หรือ กระออมนํ้า, ดาวช้างพัง หรือ ดาวงูเหลือม ก็เรียก. (ส. สฺวาติ). |
สวัสติกะ เขียนว่า สอ-เสือ-วอ-แหวน-ไม้-หัน-อา-กาด-สอ-เสือ-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อิ-กอ-ไก่-สะ-หระ-อะ | [สะหฺวัดติกะ] เป็นคำนาม หมายถึง สัญลักษณ์รูปกากบาทปลายหักมุมเวียนขวา ใช้เป็นเครื่องหมายแสดงความสุขสวัสดีมาแต่โบราณ สันนิษฐานกันว่าเป็นรูปดวงอาทิตย์โคจรเวียนขวา. ในวงเล็บ มาจากภาษาสันสกฤต สฺวสฺติกา เขียนว่า สอ-เสือ-พิน-ทุ-วอ-แหวน-สอ-เสือ-พิน-ทุ-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อิ-กอ-ไก่-สะ-หระ-อา. | สวัสติกะ [สะหฺวัดติกะ] น. สัญลักษณ์รูปกากบาทปลายหักมุมเวียนขวา ใช้เป็นเครื่องหมายแสดงความสุขสวัสดีมาแต่โบราณ สันนิษฐานกันว่าเป็นรูปดวงอาทิตย์โคจรเวียนขวา. (ส. สฺวสฺติกา). |
สวา เขียนว่า สอ-เสือ-วอ-แหวน-สะ-หระ-อา | [สะหฺวา] เป็นคำนาม หมายถึง ลิง. ในวงเล็บ มาจากภาษาเขมร . | สวา [สะหฺวา] น. ลิง. (ข.). |
สวาปาม เขียนว่า สอ-เสือ-วอ-แหวน-สะ-หระ-อา-ปอ-ปลา-สะ-หระ-อา-มอ-ม้า | [สะหฺวา] เป็นคำกริยา หมายถึง ขยุ้มกินอย่างตะกละลุกลนอย่างลิงกิน, ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาปาก หมายถึง กินอย่างตะกละ. | สวาปาม [สะหฺวา] ก. ขยุ้มกินอย่างตะกละลุกลนอย่างลิงกิน, (ปาก) กินอย่างตะกละ. |
สวาคตะ เขียนว่า สอ-เสือ-วอ-แหวน-สะ-หระ-อา-คอ-ควาย-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อะ | [สะหฺวาคะตะ] เป็นคำนาม หมายถึง คํากล่าวต้อนรับ. ในวงเล็บ มาจากภาษาบาลี และมาจากภาษาสันสกฤต . | สวาคตะ [สะหฺวาคะตะ] น. คํากล่าวต้อนรับ. (ป., ส.). |
สวาง เขียนว่า สอ-เสือ-วอ-แหวน-สะ-หระ-อา-งอ-งู | [สะหฺวาง] เป็นคำนาม หมายถึง ผี, สาง ก็เรียก. | สวาง [สะหฺวาง] น. ผี, สาง ก็เรียก. |
สว่าง เขียนว่า สอ-เสือ-วอ-แหวน-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา-งอ-งู | [สะหฺว่าง] เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ระยะเวลาฟ้าสาง, ระยะเวลาเมื่อรุ่งอรุณ, เช่น สว่างแล้ว, กระจ่าง, มีแสงมาก, เช่น แสงไฟสว่าง แสงจันทร์สว่าง; แจ้ง, รู้แจ้ง, เช่น ปัญญาสว่าง; หายจากความหลงผิด เช่น หูตาสว่าง; โล่ง, ปลอดโปร่ง, เช่น สว่างอก สว่างใจ; หายง่วง ในคําว่า ตาสว่าง. | สว่าง [สะหฺว่าง] ว. ระยะเวลาฟ้าสาง, ระยะเวลาเมื่อรุ่งอรุณ, เช่น สว่างแล้ว, กระจ่าง, มีแสงมาก, เช่น แสงไฟสว่าง แสงจันทร์สว่าง; แจ้ง, รู้แจ้ง, เช่น ปัญญาสว่าง; หายจากความหลงผิด เช่น หูตาสว่าง; โล่ง, ปลอดโปร่ง, เช่น สว่างอก สว่างใจ; หายง่วง ในคําว่า ตาสว่าง. |
สว่างไสว เขียนว่า สอ-เสือ-วอ-แหวน-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา-งอ-งู-สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-สอ-เสือ-วอ-แหวน | [สะหฺว่างสะไหฺว] เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง สว่างรุ่งเรืองทั่วไป เช่น บริเวณงานมีแสงไฟสว่างไสว, โดยปริยายหมายความว่า มีความสุข เช่น โลกนี้ช่างสว่างไสวเหลือเกิน เดี๋ยวนี้ฉันหมดหนี้สินแล้ว ชีวิตฉันจึงสว่างไสวขึ้น. | สว่างไสว [สะหฺว่างสะไหฺว] ว. สว่างรุ่งเรืองทั่วไป เช่น บริเวณงานมีแสงไฟสว่างไสว, โดยปริยายหมายความว่า มีความสุข เช่น โลกนี้ช่างสว่างไสวเหลือเกิน เดี๋ยวนี้ฉันหมดหนี้สินแล้ว ชีวิตฉันจึงสว่างไสวขึ้น. |
สวาด เขียนว่า สอ-เสือ-วอ-แหวน-สะ-หระ-อา-ดอ-เด็ก | [สะหฺวาด] เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อไม้เถาเนื้อแข็งชนิด Caesalpinia bonduc (L.) Roxb. ในวงศ์ Leguminosae ลําต้นมีหนาม ฝักมีหนามละเอียด เมล็ดกลม เปลือกแข็งสีเทาอมเขียว. เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง สีเทาอมเขียวอย่างสีเมล็ดสวาด เรียกว่า สีสวาด, เรียกแมวที่มีสีเช่นนั้นว่า แมวสีสวาด ว่าเป็นแมวไทยที่ชาวต่างประเทศนิยมเลี้ยงและมีราคาแพง. | สวาด [สะหฺวาด] น. ชื่อไม้เถาเนื้อแข็งชนิด Caesalpinia bonduc (L.) Roxb. ในวงศ์ Leguminosae ลําต้นมีหนาม ฝักมีหนามละเอียด เมล็ดกลม เปลือกแข็งสีเทาอมเขียว. ว. สีเทาอมเขียวอย่างสีเมล็ดสวาด เรียกว่า สีสวาด, เรียกแมวที่มีสีเช่นนั้นว่า แมวสีสวาด ว่าเป็นแมวไทยที่ชาวต่างประเทศนิยมเลี้ยงและมีราคาแพง. |
สวาดิ เขียนว่า สอ-เสือ-วอ-แหวน-สะ-หระ-อา-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-อิ ความหมายที่ ๑ | [สะหฺวาด]ดู สวัสติ เขียนว่า สอ-เสือ-วอ-แหวน-ไม้-หัน-อา-กาด-สอ-เสือ-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อิ. | สวาดิ ๑ [สะหฺวาด] ดู สวัสติ. |
สวาดิ เขียนว่า สอ-เสือ-วอ-แหวน-สะ-หระ-อา-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-อิ ความหมายที่ ๒ | [สะหฺวาด] ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ เป็นคำกริยา หมายถึง รักใคร่, ยินดี. | สวาดิ ๒ [สะหฺวาด] (โบ) ก. รักใคร่, ยินดี. |
สวาท เขียนว่า สอ-เสือ-วอ-แหวน-สะ-หระ-อา-ทอ-ทะ-หาน | [สะหฺวาด] เป็นคำนาม หมายถึง ความรัก ความพอใจ หรือความยินดีในทางกามารมณ์ เช่น รสสวาท พายุสวาท ไฟสวาท. ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาปาก เป็นคำกริยา หมายถึง รัก ยินดี หรือ พอใจ เป็นต้น (มักใช้ในเชิงปฏิเสธ) เช่น หน้าตาน่าสวาทนักนี่ คุณคิดว่าเขาสวาทคุณนักหรือ. ในวงเล็บ มาจากภาษาสันสกฤต สฺวาท เขียนว่า สอ-เสือ-พิน-ทุ-วอ-แหวน-สะ-หระ-อา-ทอ-ทะ-หาน ว่า รสอร่อย, รสหวาน . | สวาท [สะหฺวาด] น. ความรัก ความพอใจ หรือความยินดีในทางกามารมณ์ เช่น รสสวาท พายุสวาท ไฟสวาท. (ปาก) ก. รัก ยินดี หรือ พอใจ เป็นต้น (มักใช้ในเชิงปฏิเสธ) เช่น หน้าตาน่าสวาทนักนี่ คุณคิดว่าเขาสวาทคุณนักหรือ. (ส. สฺวาท ว่า รสอร่อย, รสหวาน). |
สว่าน เขียนว่า สอ-เสือ-วอ-แหวน-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา-นอ-หนู | [สะหฺว่าน] เป็นคำนาม หมายถึง เครื่องมือช่างไม้ปลายเป็นเกลียวแหลมสําหรับเจาะไช มี ๒ ชนิด คือ ชนิดหนึ่งเป็นเหล็กปลายเป็นเกลียวแหลมในตัวสําหรับเจาะไชสิ่งเล็ก ๆ หรือบาง ๆ อีกชนิดหนึ่งมีรูปร่างคล้ายลูกดาล ๒ อันต่อกัน ปลายด้านบนมีแป้นสําหรับมือกด ตรงกลางมีที่สําหรับมือจับหมุนให้ดอกสว่านซึ่งสวมติดกับปลายอีกด้านหนึ่งเจาะไชสิ่งที่ค่อนข้างใหญ่หน้าหนา. | สว่าน [สะหฺว่าน] น. เครื่องมือช่างไม้ปลายเป็นเกลียวแหลมสําหรับเจาะไช มี ๒ ชนิด คือ ชนิดหนึ่งเป็นเหล็กปลายเป็นเกลียวแหลมในตัวสําหรับเจาะไชสิ่งเล็ก ๆ หรือบาง ๆ อีกชนิดหนึ่งมีรูปร่างคล้ายลูกดาล ๒ อันต่อกัน ปลายด้านบนมีแป้นสําหรับมือกด ตรงกลางมีที่สําหรับมือจับหมุนให้ดอกสว่านซึ่งสวมติดกับปลายอีกด้านหนึ่งเจาะไชสิ่งที่ค่อนข้างใหญ่หน้าหนา. |
สว้าน เขียนว่า สอ-เสือ-วอ-แหวน-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-นอ-หนู | [สะว่าน] เป็นคำกริยา หมายถึง อาการที่ลมในท้องดันขึ้นมา เป็นอาการของไข้หนักจวนจะสิ้นใจ. | สว้าน [สะว่าน] ก. อาการที่ลมในท้องดันขึ้นมา เป็นอาการของไข้หนักจวนจะสิ้นใจ. |
สวาบ เขียนว่า สอ-เสือ-วอ-แหวน-สะ-หระ-อา-บอ-ไบ-ไม้ | [สะหฺวาบ] เป็นคำนาม หมายถึง ส่วนกายของคนและสัตว์สี่เท้า อยู่ระหว่างชายโครงกับสันกระดูกตะโพก เป็นส่วนที่ไม่มีกระดูก. | สวาบ [สะหฺวาบ] น. ส่วนกายของคนและสัตว์สี่เท้า อยู่ระหว่างชายโครงกับสันกระดูกตะโพก เป็นส่วนที่ไม่มีกระดูก. |
สวามิ, สวามี สวามิ เขียนว่า สอ-เสือ-วอ-แหวน-สะ-หระ-อา-มอ-ม้า-สะ-หระ-อิ สวามี เขียนว่า สอ-เสือ-วอ-แหวน-สะ-หระ-อา-มอ-ม้า-สะ-หระ-อี | [สะหฺวา] เป็นคำนาม หมายถึง เจ้า, ผู้เป็นใหญ่, นาย; ผัว, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระสวามี; เจ้าของ. ในวงเล็บ มาจากภาษาสันสกฤต สฺวามี เขียนว่า สอ-เสือ-พิน-ทุ-วอ-แหวน-สะ-หระ-อา-มอ-ม้า-สะ-หระ-อี สฺวามินฺ เขียนว่า สอ-เสือ-พิน-ทุ-วอ-แหวน-สะ-หระ-อา-มอ-ม้า-สะ-หระ-อิ-นอ-หนู-พิน-ทุ และมาจากภาษาบาลี สามิ เขียนว่า สอ-เสือ-สะ-หระ-อา-มอ-ม้า-สะ-หระ-อิ. | สวามิ, สวามี [สะหฺวา] น. เจ้า, ผู้เป็นใหญ่, นาย; ผัว, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระสวามี; เจ้าของ. (ส. สฺวามี, สฺวามินฺ; ป. สามิ). |
สวามินี เขียนว่า สอ-เสือ-วอ-แหวน-สะ-หระ-อา-มอ-ม้า-สะ-หระ-อิ-นอ-หนู-สะ-หระ-อี | เป็นคำนาม หมายถึง หญิงผู้เป็นใหญ่เป็นเจ้าของ. ในวงเล็บ มาจากภาษาสันสกฤต สฺวามินี เขียนว่า สอ-เสือ-พิน-ทุ-วอ-แหวน-สะ-หระ-อา-มอ-ม้า-สะ-หระ-อิ-นอ-หนู-สะ-หระ-อี. | สวามินี น. หญิงผู้เป็นใหญ่เป็นเจ้าของ. (ส. สฺวามินี). |
สวามิภักดิ์ เขียนว่า สอ-เสือ-วอ-แหวน-สะ-หระ-อา-มอ-ม้า-สะ-หระ-อิ-พอ-สำ-เพา-ไม้-หัน-อา-กาด-กอ-ไก่-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-อิ-ทัน-ทะ-คาด | เป็นคำกริยา หมายถึง ยอมตนหรือมอบตนอยู่ใต้อํานาจ เช่น ข้าศึกเข้ามาสวามิภักดิ์, สามิภักดิ์ ก็ว่า. ในวงเล็บ มาจากภาษาสันสกฤต สฺวามินฺ เขียนว่า สอ-เสือ-พิน-ทุ-วอ-แหวน-สะ-หระ-อา-มอ-ม้า-สะ-หระ-อิ-นอ-หนู-พิน-ทุ + ภกฺติ เขียนว่า พอ-สำ-เพา-กอ-ไก่-พิน-ทุ-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อิ ว่า ความซื่อตรงต่อเจ้า . | สวามิภักดิ์ ก. ยอมตนหรือมอบตนอยู่ใต้อํานาจ เช่น ข้าศึกเข้ามาสวามิภักดิ์, สามิภักดิ์ ก็ว่า. (ส. สฺวามินฺ + ภกฺติ ว่า ความซื่อตรงต่อเจ้า). |
สวาย เขียนว่า สอ-เสือ-วอ-แหวน-สะ-หระ-อา-ยอ-ยัก ความหมายที่ ๑ | [สะหฺวาย] เป็นคำนาม หมายถึง ต้นมะม่วง. ในวงเล็บ มาจากภาษาเขมร สฺวาย เขียนว่า สอ-เสือ-พิน-ทุ-วอ-แหวน-สะ-หระ-อา-ยอ-ยัก. | สวาย ๑ [สะหฺวาย] น. ต้นมะม่วง. (ข. สฺวาย). |
สวายสอ เขียนว่า สอ-เสือ-วอ-แหวน-สะ-หระ-อา-ยอ-ยัก-สอ-เสือ-ออ-อ่าง | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อมะม่วงชนิดหนึ่ง. ในวงเล็บ มาจากภาษาเขมร . | สวายสอ น. ชื่อมะม่วงชนิดหนึ่ง. (ข.). |
สวาย เขียนว่า สอ-เสือ-วอ-แหวน-สะ-หระ-อา-ยอ-ยัก ความหมายที่ ๒ | [สะหฺวาย] เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อปลานํ้าจืดขนาดใหญ่ชนิด Pangasius pangasius ในวงศ์ Schilbeidae ลําตัวแบนข้างเล็กน้อย ไม่มีเกล็ด มีหนวดสั้น ๆ ๒ คู่ ลักษณะคล้ายปลาเทโพแต่ไม่มีจุดเหนือครีบอก ขนาดยาวได้ถึง ๑.๖ เมตร. | สวาย ๒ [สะหฺวาย] น. ชื่อปลานํ้าจืดขนาดใหญ่ชนิด Pangasius pangasius ในวงศ์ Schilbeidae ลําตัวแบนข้างเล็กน้อย ไม่มีเกล็ด มีหนวดสั้น ๆ ๒ คู่ ลักษณะคล้ายปลาเทโพแต่ไม่มีจุดเหนือครีบอก ขนาดยาวได้ถึง ๑.๖ เมตร. |
สวาสดิ์ เขียนว่า สอ-เสือ-วอ-แหวน-สะ-หระ-อา-สอ-เสือ-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-อิ-ทัน-ทะ-คาด | [สะหฺวาด] เป็นคำกริยา หมายถึง รักใคร่, ยินดี. | สวาสดิ์ [สะหฺวาด] ก. รักใคร่, ยินดี. |
สวาหะ เขียนว่า สอ-เสือ-วอ-แหวน-สะ-หระ-อา-หอ-หีบ-สะ-หระ-อะ | [สะหฺวาหะ]คํากล่าวเมื่อจบการเสกเป่า. ในวงเล็บ มาจากภาษาสันสกฤต สฺวาหา เขียนว่า สอ-เสือ-พิน-ทุ-วอ-แหวน-สะ-หระ-อา-หอ-หีบ-สะ-หระ-อา. | สวาหะ [สะหฺวาหะ] คํากล่าวเมื่อจบการเสกเป่า. (ส. สฺวาหา). |
สวิง เขียนว่า สอ-เสือ-วอ-แหวน-สะ-หระ-อิ-งอ-งู | [สะหฺวิง] เป็นคำนาม หมายถึง เครื่องช้อนปลาชนิดหนึ่ง ถักเป็นร่างแห ลักษณะเป็นถุง มักใช้ไม้หรือหวายทําเป็นขอบปาก. | สวิง [สะหฺวิง] น. เครื่องช้อนปลาชนิดหนึ่ง ถักเป็นร่างแห ลักษณะเป็นถุง มักใช้ไม้หรือหวายทําเป็นขอบปาก. |
สวิงสวาย เขียนว่า สอ-เสือ-วอ-แหวน-สะ-หระ-อิ-งอ-งู-สอ-เสือ-วอ-แหวน-สะ-หระ-อา-ยอ-ยัก | [สะหฺวิงสะหฺวาย] เป็นคำกริยา หมายถึง อาการที่รู้สึกใจหวิว วิงเวียน คลื่นไส้ ตาพร่า จะเป็นลม เช่น เดินฝ่าแดดนาน รู้สึกสวิงสวาย; โลดโผน, เกินพอดี, เช่น สำนวนสวิงสวาย เต้นรำสวิงสวาย. | สวิงสวาย [สะหฺวิงสะหฺวาย] ก. อาการที่รู้สึกใจหวิว วิงเวียน คลื่นไส้ ตาพร่า จะเป็นลม เช่น เดินฝ่าแดดนาน รู้สึกสวิงสวาย; โลดโผน, เกินพอดี, เช่น สำนวนสวิงสวาย เต้นรำสวิงสวาย. |
สวิญญาณกทรัพย์ เขียนว่า สอ-เสือ-วอ-แหวน-สะ-หระ-อิ-ยอ-หยิง-ยอ-หยิง-สะ-หระ-อา-นอ-เนน-กอ-ไก่-ทอ-ทะ-หาน-รอ-เรือ-ไม้-หัน-อา-กาด-พอ-พาน-ยอ-ยัก-ทัน-ทะ-คาด | [สะวินยานะกะซับ, สะวินยานนะกะซับ] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในกฎหมาย และเป็นคำโบราณ เป็นคำนาม หมายถึง สิ่งที่มีวิญญาณหรือชีวิตซึ่งนับเป็นทรัพย์ เช่น ทาส ช้าง ม้า วัว ควาย, ตรงข้ามกับ อวิญญาณกทรัพย์, วิญญาณกทรัพย์ ก็ว่า. | สวิญญาณกทรัพย์ [สะวินยานะกะซับ, สะวินยานนะกะซับ] (กฎ; โบ) น. สิ่งที่มีวิญญาณหรือชีวิตซึ่งนับเป็นทรัพย์ เช่น ทาส ช้าง ม้า วัว ควาย, ตรงข้ามกับ อวิญญาณกทรัพย์, วิญญาณกทรัพย์ ก็ว่า. |
สวิตช์ เขียนว่า สอ-เสือ-วอ-แหวน-สะ-หระ-อิ-ตอ-เต่า-ชอ-ช้าง-ทัน-ทะ-คาด | [สะวิด] เป็นคำนาม หมายถึง อุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดหนึ่ง ใช้สําหรับปิดเปิดหรือเปลี่ยนวงจรไฟฟ้า. ในวงเล็บ มาจากภาษาอังกฤษ switch เขียนว่า เอส-ดับเบิลยู-ไอ-ที-ซี-เอช. | สวิตช์ [สะวิด] น. อุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดหนึ่ง ใช้สําหรับปิดเปิดหรือเปลี่ยนวงจรไฟฟ้า. (อ. switch). |
สสาร, สสาร สสาร เขียนว่า สอ-เสือ-สอ-เสือ-สะ-หระ-อา-รอ-เรือ สสาร มีเครื่องหมายยัติภังค์ท้ายคำ เขียนว่า สอ-เสือ-สอ-เสือ-สะ-หระ-อา-รอ-เรือ | [สะสาน, สานระ] เป็นคำนาม หมายถึง สิ่งที่มีมวลสาร ต้องการที่อยู่ และสัมผัสได้ อาจมีเพียงสารเดียว เช่น ทองคํา เงิน แก้ว เกลือ น้ำ หรือประกอบด้วยสารหลายสาร เช่น ดินปืน อากาศ ก็ได้. | สสาร, สสาร [สะสาน, สานระ] น. สิ่งที่มีมวลสาร ต้องการที่อยู่ และสัมผัสได้ อาจมีเพียงสารเดียว เช่น ทองคํา เงิน แก้ว เกลือ น้ำ หรือประกอบด้วยสารหลายสาร เช่น ดินปืน อากาศ ก็ได้. |
สสารนิยม เขียนว่า สอ-เสือ-สอ-เสือ-สะ-หระ-อา-รอ-เรือ-นอ-หนู-สะ-หระ-อิ-ยอ-ยัก-มอ-ม้า | เป็นคำนาม หมายถึง วัตถุนิยม. | สสารนิยม น. วัตถุนิยม. |
สสุระ เขียนว่า สอ-เสือ-สอ-เสือ-สะ-หระ-อุ-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ | [สะ] เป็นคำนาม หมายถึง พ่อตา, พ่อผัว. ในวงเล็บ มาจากภาษาบาลี และมาจากภาษาสันสกฤต ศฺวศุร เขียนว่า สอ-สา-ลา-พิน-ทุ-วอ-แหวน-สอ-สา-ลา-สะ-หระ-อุ-รอ-เรือ. | สสุระ [สะ] น. พ่อตา, พ่อผัว. (ป.; ส. ศฺวศุร). |
สสุรี, สัสุรี สสุรี เขียนว่า สอ-เสือ-สอ-เสือ-สะ-หระ-อุ-รอ-เรือ-สะ-หระ-อี สัสุรี เขียนว่า สอ-เสือ-ไม้-หัน-อา-กาด-สอ-เสือ-สะ-หระ-อุ-รอ-เรือ-สะ-หระ-อี | [สะ, สัดสุ] เป็นคำนาม หมายถึง แม่ยาย, แม่ผัว. ในวงเล็บ มาจากภาษาบาลี และมาจากภาษาสันสกฤต ศฺวศฺรู เขียนว่า สอ-สา-ลา-พิน-ทุ-วอ-แหวน-สอ-สา-ลา-พิน-ทุ-รอ-เรือ-สะ-หระ-อู. | สสุรี, สัสุรี [สะ, สัดสุ] น. แม่ยาย, แม่ผัว. (ป.; ส. ศฺวศฺรู). |
สห มีเครื่องหมายยัติภังค์ท้ายคำ เขียนว่า สอ-เสือ-หอ-หีบ | [สะหะ] เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ด้วยกัน, พร้อม, ร่วม, ร่วมกัน, (ใช้ประกอบหน้าคําอื่น) เช่น สหประชาชาติ สหพันธ์สหรัฐ. ในวงเล็บ มาจากภาษาบาลี และมาจากภาษาสันสกฤต . | สห [สะหะ] ว. ด้วยกัน, พร้อม, ร่วม, ร่วมกัน, (ใช้ประกอบหน้าคําอื่น) เช่น สหประชาชาติ สหพันธ์สหรัฐ. (ป., ส.). |
สหกรณ์ เขียนว่า สอ-เสือ-หอ-หีบ-กอ-ไก่-รอ-เรือ-นอ-เนน-ทัน-ทะ-คาด | เป็นคำนาม หมายถึง งานร่วมมือกัน เช่นทางธุรกิจหรืออุตสาหกรรม เพื่อหากําไรหรือเพื่อประโยชน์อื่น ๆ ในงานนั้น ๆ ร่วมกัน, ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในกฎหมาย หมายถึง คณะบุคคลซึ่งร่วมกันดําเนินกิจการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และได้จดทะเบียนเป็นสหกรณ์ตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ เช่น สหกรณ์ออมทรัพย์. | สหกรณ์ น. งานร่วมมือกัน เช่นทางธุรกิจหรืออุตสาหกรรม เพื่อหากําไรหรือเพื่อประโยชน์อื่น ๆ ในงานนั้น ๆ ร่วมกัน, (กฎ) คณะบุคคลซึ่งร่วมกันดําเนินกิจการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และได้จดทะเบียนเป็นสหกรณ์ตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ เช่น สหกรณ์ออมทรัพย์. |
สหการ เขียนว่า สอ-เสือ-หอ-หีบ-กอ-ไก่-สะ-หระ-อา-รอ-เรือ | เป็นคำนาม หมายถึง การร่วมมือกัน. | สหการ น. การร่วมมือกัน. |
สหจร เขียนว่า สอ-เสือ-หอ-หีบ-จอ-จาน-รอ-เรือ | เป็นคำนาม หมายถึง ผู้ร่วมทาง, เพื่อน, สหาย. ในวงเล็บ มาจากภาษาสันสกฤต . | สหจร น. ผู้ร่วมทาง, เพื่อน, สหาย. (ส.). |
สหชาต, สหชาติ สหชาต เขียนว่า สอ-เสือ-หอ-หีบ-ชอ-ช้าง-สะ-หระ-อา-ตอ-เต่า สหชาติ เขียนว่า สอ-เสือ-หอ-หีบ-ชอ-ช้าง-สะ-หระ-อา-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อิ | เป็นคำนาม หมายถึง ผู้เกิดวันเดือนปีเดียวกัน, ผู้เกิดร่วมปีนักษัตรในรอบเดียวกัน. ในวงเล็บ มาจากภาษาบาลี ; ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในราชาศัพท์ หมายถึง รก. | สหชาต, สหชาติ น. ผู้เกิดวันเดือนปีเดียวกัน, ผู้เกิดร่วมปีนักษัตรในรอบเดียวกัน. (ป.); (ราชา) รก. |
สหธรรม เขียนว่า สอ-เสือ-หอ-หีบ-ทอ-ทง-รอ-เรือ-รอ-เรือ-มอ-ม้า | เป็นคำนาม หมายถึง ธรรมอันเดียวกัน, กฎหรือความเชื่อถืออย่างเดียวกัน. | สหธรรม น. ธรรมอันเดียวกัน, กฎหรือความเชื่อถืออย่างเดียวกัน. |
สหธรรมิก เขียนว่า สอ-เสือ-หอ-หีบ-ทอ-ทง-รอ-เรือ-รอ-เรือ-มอ-ม้า-สะ-หระ-อิ-กอ-ไก่ | [สะหะทํามิก] เป็นคำนาม หมายถึง ผู้มีการประพฤติธรรมร่วมกัน เช่น พระสงฆ์ทั้งปวงเป็นเพื่อนสหธรรมิกกัน อุบาสกอุบาสิกาเป็นสหธรรมิกกัน. ในวงเล็บ มาจากภาษาบาลี สหธมฺมิก เขียนว่า สอ-เสือ-หอ-หีบ-ทอ-ทง-มอ-ม้า-พิน-ทุ-มอ-ม้า-สะ-หระ-อิ-กอ-ไก่. | สหธรรมิก [สะหะทํามิก] น. ผู้มีการประพฤติธรรมร่วมกัน เช่น พระสงฆ์ทั้งปวงเป็นเพื่อนสหธรรมิกกัน อุบาสกอุบาสิกาเป็นสหธรรมิกกัน. (ป. สหธมฺมิก). |
สหบาน เขียนว่า สอ-เสือ-หอ-หีบ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อา-นอ-หนู | เป็นคำนาม หมายถึง การดื่มร่วมกัน. | สหบาน น. การดื่มร่วมกัน. |
สหประชาชาติ เขียนว่า สอ-เสือ-หอ-หีบ-ปอ-ปลา-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ชอ-ช้าง-สะ-หระ-อา-ชอ-ช้าง-สะ-หระ-อา-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อิ | ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในกฎหมาย เป็นคำนาม หมายถึง องค์การระหว่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นเป็นทางการเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๘ (ค.ศ. ๑๙๔๕) ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ แทนสันนิบาตชาติตามมติของที่ประชุมผู้แทนประเทศ ๕๐ ประเทศ ในการประชุมใหญ่ที่นครซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา โดยมีวัตถุประสงค์สําคัญ คือ การป้องกันสงคราม การยืนยันรับรองสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน การเคารพและปฏิบัติตามพันธกรณีที่เกิดจากสนธิสัญญาและกฎหมายระหว่างประเทศ, เรียกชื่อเต็มว่า องค์การสหประชาชาติ (United Nations Organization). | สหประชาชาติ (กฎ) น. องค์การระหว่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นเป็นทางการเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๘ (ค.ศ. ๑๙๔๕) ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ แทนสันนิบาตชาติตามมติของที่ประชุมผู้แทนประเทศ ๕๐ ประเทศ ในการประชุมใหญ่ที่นครซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา โดยมีวัตถุประสงค์สําคัญ คือ การป้องกันสงคราม การยืนยันรับรองสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน การเคารพและปฏิบัติตามพันธกรณีที่เกิดจากสนธิสัญญาและกฎหมายระหว่างประเทศ, เรียกชื่อเต็มว่า องค์การสหประชาชาติ (United Nations Organization). |
สหพันธ์ เขียนว่า สอ-เสือ-หอ-หีบ-พอ-พาน-ไม้-หัน-อา-กาด-นอ-หนู-ทอ-ทง-ทัน-ทะ-คาด | เป็นคำนาม หมายถึง สหภาพหรือสมาคมตั้งแต่ ๒ สหภาพหรือ ๒ สมาคมขึ้นไปที่ร่วมกันดำเนินกิจการ เพื่อให้เกิดประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของสหภาพหรือสมาคมที่เข้าร่วมกันนั้น เช่น สหพันธ์กรรมกร. | สหพันธ์ น. สหภาพหรือสมาคมตั้งแต่ ๒ สหภาพหรือ ๒ สมาคมขึ้นไปที่ร่วมกันดำเนินกิจการ เพื่อให้เกิดประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของสหภาพหรือสมาคมที่เข้าร่วมกันนั้น เช่น สหพันธ์กรรมกร. |
สหพันธรัฐ เขียนว่า สอ-เสือ-หอ-หีบ-พอ-พาน-ไม้-หัน-อา-กาด-นอ-หนู-ทอ-ทง-รอ-เรือ-ไม้-หัน-อา-กาด-ถอ-ถาน | เป็นคำนาม หมายถึง รัฐหลายรัฐที่รวมกันเป็นรัฐรวม โดยมีรัฐบาลกลางเป็นผู้ดําเนินกิจการต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับประโยชน์ส่วนรวมตามที่กําหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ แต่ละรัฐมีอํานาจเฉพาะกิจการภายในรัฐของตนเท่านั้น. ในวงเล็บ มาจากภาษาอังกฤษ federal เขียนว่า เอฟ-อี-ดี-อี-อา-เอ-แอล state เขียนว่า เอส-ที-เอ-ที-อี . | สหพันธรัฐ น. รัฐหลายรัฐที่รวมกันเป็นรัฐรวม โดยมีรัฐบาลกลางเป็นผู้ดําเนินกิจการต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับประโยชน์ส่วนรวมตามที่กําหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ แต่ละรัฐมีอํานาจเฉพาะกิจการภายในรัฐของตนเท่านั้น. (อ. federal state). |
สหภาพ เขียนว่า สอ-เสือ-หอ-หีบ-พอ-สำ-เพา-สะ-หระ-อา-พอ-พาน | เป็นคำนาม หมายถึง การรวมตัวขององค์การตั้งแต่ ๒ องค์การขึ้นไป เพื่อทํากิจการทั่วไปหรือกิจการเฉพาะอย่างตามวัตถุประสงค์ขององค์การที่เข้าร่วมกันนั้น เช่น สหภาพศุลกากร สหภาพรัฐสภา; ชื่อรูปแบบหนึ่งของการรวมตัวของรัฐตั้งแต่ ๒ รัฐขึ้นไป เช่น สหภาพพม่า; องค์การของลูกจ้าง เช่น สหภาพแรงงาน. ในวงเล็บ มาจากภาษาอังกฤษ union เขียนว่า ยู-เอ็น-ไอ-โอ-เอ็น. | สหภาพ น. การรวมตัวขององค์การตั้งแต่ ๒ องค์การขึ้นไป เพื่อทํากิจการทั่วไปหรือกิจการเฉพาะอย่างตามวัตถุประสงค์ขององค์การที่เข้าร่วมกันนั้น เช่น สหภาพศุลกากร สหภาพรัฐสภา; ชื่อรูปแบบหนึ่งของการรวมตัวของรัฐตั้งแต่ ๒ รัฐขึ้นไป เช่น สหภาพพม่า; องค์การของลูกจ้าง เช่น สหภาพแรงงาน. (อ. union). |
สหภาพแรงงาน เขียนว่า สอ-เสือ-หอ-หีบ-พอ-สำ-เพา-สะ-หระ-อา-พอ-พาน-สะ-หระ-แอ-รอ-เรือ-งอ-งู-งอ-งู-สะ-หระ-อา-นอ-หนู | ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในกฎหมาย เป็นคำนาม หมายถึง องค์การของลูกจ้างที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการแสวงหาและคุ้มครองผลประโยชน์เกี่ยวกับสภาพการจ้าง และส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง และระหว่างลูกจ้างด้วยกัน เช่น สหภาพแรงงานการรถไฟแห่งประเทศไทย สหภาพแรงงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิต. | สหภาพแรงงาน (กฎ) น. องค์การของลูกจ้างที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการแสวงหาและคุ้มครองผลประโยชน์เกี่ยวกับสภาพการจ้าง และส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง และระหว่างลูกจ้างด้วยกัน เช่น สหภาพแรงงานการรถไฟแห่งประเทศไทย สหภาพแรงงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิต. |
สหศึกษา เขียนว่า สอ-เสือ-หอ-หีบ-สอ-สา-ลา-สะ-หระ-อึ-กอ-ไก่-สอ-รือ-สี-สะ-หระ-อา | เป็นคำนาม หมายถึง การศึกษาที่ให้นักเรียนชายและหญิงเรียนรวมในสถานศึกษาเดียวกัน. | สหศึกษา น. การศึกษาที่ให้นักเรียนชายและหญิงเรียนรวมในสถานศึกษาเดียวกัน. |
สหัช เขียนว่า สอ-เสือ-หอ-หีบ-ไม้-หัน-อา-กาด-ชอ-ช้าง | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ที่มีมาแต่กําเนิด. ในวงเล็บ มาจากภาษาบาลี และมาจากภาษาสันสกฤต . | สหัช ว. ที่มีมาแต่กําเนิด. (ป., ส.). |
สหาย เขียนว่า สอ-เสือ-หอ-หีบ-สะ-หระ-อา-ยอ-ยัก | เป็นคำนาม หมายถึง เพื่อนร่วมทุกข์ร่วมสุข. ในวงเล็บ มาจากภาษาบาลี และมาจากภาษาสันสกฤต . | สหาย น. เพื่อนร่วมทุกข์ร่วมสุข. (ป., ส.). |
สหัช เขียนว่า สอ-เสือ-หอ-หีบ-ไม้-หัน-อา-กาด-ชอ-ช้าง | ดู สห มีเครื่องหมายยัติภังค์ท้ายคำ เขียนว่า สอ-เสือ-หอ-หีบ. | สหัช ดู สห. |
สหัมบดี เขียนว่า สอ-เสือ-หอ-หีบ-ไม้-หัน-อา-กาด-มอ-ม้า-บอ-ไบ-ไม้-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-อี | [สะหําบอดี] เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อท้าวมหาพรหมองค์หนึ่ง. ในวงเล็บ มาจากภาษาบาลี . | สหัมบดี [สะหําบอดี] น. ชื่อท้าวมหาพรหมองค์หนึ่ง. (ป.). |
สหัส, สหัสสะ สหัส มีเครื่องหมายยัติภังค์ท้ายคำ เขียนว่า สอ-เสือ-หอ-หีบ-ไม้-หัน-อา-กาด-สอ-เสือ สหัสสะ เขียนว่า สอ-เสือ-หอ-หีบ-ไม้-หัน-อา-กาด-สอ-เสือ-สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ | [สะหัดสะ] เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง หนึ่งพัน คือ ๑๐ ร้อย (๑,๐๐๐). ในวงเล็บ มาจากภาษาบาลี และมาจากภาษาสันสกฤต สหสฺร เขียนว่า สอ-เสือ-หอ-หีบ-สอ-เสือ-พิน-ทุ-รอ-เรือ. | สหัส, สหัสสะ [สะหัดสะ] ว. หนึ่งพัน คือ ๑๐ ร้อย (๑,๐๐๐). (ป.; ส. สหสฺร). |
สหัสธารา เขียนว่า สอ-เสือ-หอ-หีบ-ไม้-หัน-อา-กาด-สอ-เสือ-ทอ-ทง-สะ-หระ-อา-รอ-เรือ-สะ-หระ-อา | [สะหัดสะ] เป็นคำนาม หมายถึง เครื่องโปรยนํ้าให้เป็นฝอย (ใช้ในการอภิเษก), โดยปริยายหมายถึงการสรงนํ้าของพระเจ้าแผ่นดิน. ในวงเล็บ มาจากภาษาบาลี สหสฺสธารา เขียนว่า สอ-เสือ-หอ-หีบ-สอ-เสือ-พิน-ทุ-สอ-เสือ-ทอ-ทง-สะ-หระ-อา-รอ-เรือ-สะ-หระ-อา และมาจากภาษาสันสกฤต สหสฺรธารา เขียนว่า สอ-เสือ-หอ-หีบ-สอ-เสือ-พิน-ทุ-รอ-เรือ-ทอ-ทง-สะ-หระ-อา-รอ-เรือ-สะ-หระ-อา. | สหัสธารา [สะหัดสะ] น. เครื่องโปรยนํ้าให้เป็นฝอย (ใช้ในการอภิเษก), โดยปริยายหมายถึงการสรงนํ้าของพระเจ้าแผ่นดิน. (ป. สหสฺสธารา; ส. สหสฺรธารา). |
สหัสนัยน์, สหัสเนตร สหัสนัยน์ เขียนว่า สอ-เสือ-หอ-หีบ-ไม้-หัน-อา-กาด-สอ-เสือ-นอ-หนู-ไม้-หัน-อา-กาด-ยอ-ยัก-นอ-หนู-ทัน-ทะ-คาด สหัสเนตร เขียนว่า สอ-เสือ-หอ-หีบ-ไม้-หัน-อา-กาด-สอ-เสือ-สะ-หระ-เอ-นอ-หนู-ตอ-เต่า-รอ-เรือ | [สะหัดสะ] เป็นคำนาม หมายถึง พันตา หมายถึง พระอินทร์. ในวงเล็บ มาจากภาษาบาลี สหสฺสเนตฺต เขียนว่า สอ-เสือ-หอ-หีบ-สอ-เสือ-พิน-ทุ-สอ-เสือ-สะ-หระ-เอ-นอ-หนู-ตอ-เต่า-พิน-ทุ-ตอ-เต่า สหสฺสนยน เขียนว่า สอ-เสือ-หอ-หีบ-สอ-เสือ-พิน-ทุ-สอ-เสือ-นอ-หนู-ยอ-ยัก-นอ-หนู และมาจากภาษาสันสกฤต สหสฺรเนตฺร เขียนว่า สอ-เสือ-หอ-หีบ-สอ-เสือ-พิน-ทุ-รอ-เรือ-สะ-หระ-เอ-นอ-หนู-ตอ-เต่า-พิน-ทุ-รอ-เรือ สหสฺรนยน เขียนว่า สอ-เสือ-หอ-หีบ-สอ-เสือ-พิน-ทุ-รอ-เรือ-นอ-หนู-ยอ-ยัก-นอ-หนู . | สหัสนัยน์, สหัสเนตร [สะหัดสะ] น. พันตา หมายถึง พระอินทร์. (ป. สหสฺสเนตฺต, สหสฺสนยน; ส. สหสฺรเนตฺร, สหสฺรนยน). |
สหัสรังสี เขียนว่า สอ-เสือ-หอ-หีบ-ไม้-หัน-อา-กาด-สอ-เสือ-รอ-เรือ-ไม้-หัน-อา-กาด-งอ-งู-สอ-เสือ-สะ-หระ-อี | [สะหัดสะ] เป็นคำนาม หมายถึง พันแสง หมายถึง พระอาทิตย์. ในวงเล็บ มาจากภาษาบาลี สหสฺสรํสิ เขียนว่า สอ-เสือ-หอ-หีบ-สอ-เสือ-พิน-ทุ-สอ-เสือ-รอ-เรือ-นิก-คะ-หิด-สอ-เสือ-สะ-หระ-อิ. | สหัสรังสี [สะหัดสะ] น. พันแสง หมายถึง พระอาทิตย์. (ป. สหสฺสรํสิ). |
สหัสา เขียนว่า สอ-เสือ-หอ-หีบ-ไม้-หัน-อา-กาด-สอ-เสือ-สะ-หระ-อา | [สะหัดสา] เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง โดยเร็ว, ทันใด, โดยตรง; ยิ่งนัก. ในวงเล็บ มาจากภาษาบาลี และมาจากภาษาสันสกฤต สหสา เขียนว่า สอ-เสือ-หอ-หีบ-สอ-เสือ-สะ-หระ-อา. | สหัสา [สะหัดสา] ว. โดยเร็ว, ทันใด, โดยตรง; ยิ่งนัก. (ป., ส. สหสา). |
สหาย เขียนว่า สอ-เสือ-หอ-หีบ-สะ-หระ-อา-ยอ-ยัก | ดู สห มีเครื่องหมายยัติภังค์ท้ายคำ เขียนว่า สอ-เสือ-หอ-หีบ. | สหาย ดู สห. |
สอ เขียนว่า สอ-เสือ-ออ-อ่าง ความหมายที่ ๑ | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ขาว เช่น ดินสอพอง. ในวงเล็บ เทียบ ภาษาเขมร ส เขียนว่า สอ-เสือ ว่า ขาว . | สอ ๑ ว. ขาว เช่น ดินสอพอง. (เทียบเขมร ส ว่า ขาว). |
สอปูน เขียนว่า สอ-เสือ-ออ-อ่าง-ปอ-ปลา-สะ-หระ-อู-นอ-หนู | เป็นคำกริยา หมายถึง นําปูนสอมาเชื่อมอิฐหรือหินให้ติดกัน. | สอปูน ก. นําปูนสอมาเชื่อมอิฐหรือหินให้ติดกัน. |
สอ เขียนว่า สอ-เสือ-ออ-อ่าง ความหมายที่ ๒ | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ประดังกัน เช่น วิ่งสอกันมารับหน้า, หลั่งออกมาออ ในคำว่า น้ำลายสอ. | สอ ๒ ว. ประดังกัน เช่น วิ่งสอกันมารับหน้า, หลั่งออกมาออ ในคำว่า น้ำลายสอ. |
สอ เขียนว่า สอ-เสือ-ออ-อ่าง ความหมายที่ ๓ | เป็นคำนาม หมายถึง คอ. ในวงเล็บ มาจากภาษาเขมร . | สอ ๓ น. คอ. (ข.). |
สอ เขียนว่า สอ-เสือ-ออ-อ่าง ความหมายที่ ๔ | เป็นคำนาม หมายถึง โกฐสอ. ในวงเล็บ ดู โกฐสอ เขียนว่า สะ-หระ-โอ-กอ-ไก่-ถอ-ถาน-สอ-เสือ-ออ-อ่าง ที่ โกฐ เขียนว่า สะ-หระ-โอ-กอ-ไก่-ถอ-ถาน. | สอ ๔ น. โกฐสอ. (ดู โกฐสอ ที่ โกฐ). |
ส่อ เขียนว่า สอ-เสือ-ไม้-เอก-ออ-อ่าง | เป็นคำกริยา หมายถึง แสดงให้รู้เป็นนัย ๆ (ส่วนมากใช้ไปในทางที่ไม่ดี) เช่น สำเนียงส่อภาษา กิริยาส่อสกุล ส่อเจตนาทุจริต ส่อพิรุธ; ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ หมายถึง ฟ้อง. | ส่อ ก. แสดงให้รู้เป็นนัย ๆ (ส่วนมากใช้ไปในทางที่ไม่ดี) เช่น สำเนียงส่อภาษา กิริยาส่อสกุล ส่อเจตนาทุจริต ส่อพิรุธ; (โบ) ฟ้อง. |
ส่อเสียด เขียนว่า สอ-เสือ-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-สะ-หระ-เอ-สอ-เสือ-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก-ดอ-เด็ก | เป็นคำกริยา หมายถึง อาการที่พูดยุยงให้ผู้อื่นแตกแยกกัน. | ส่อเสียด ก. อาการที่พูดยุยงให้ผู้อื่นแตกแยกกัน. |
สอง เขียนว่า สอ-เสือ-ออ-อ่าง-งอ-งู | เป็นคำนาม หมายถึง จํานวนหนึ่งบวกหนึ่ง; เดือน ๒ ทางจันทรคติ เรียกว่า เดือนยี่ ตกในราวเดือนมกราคม. | สอง น. จํานวนหนึ่งบวกหนึ่ง; เดือน ๒ ทางจันทรคติ เรียกว่า เดือนยี่ ตกในราวเดือนมกราคม. |
สองเกลอ เขียนว่า สอ-เสือ-ออ-อ่าง-งอ-งู-สะ-หระ-เอ-กอ-ไก่-ลอ-ลิง-ออ-อ่าง | เป็นคำนาม หมายถึง เครื่องมือสำหรับตอกกระทุ้งเสาเข็ม ลักษณะเป็นไม้ท่อนกลม มีที่จับสำหรับยก ๒ ที่. | สองเกลอ น. เครื่องมือสำหรับตอกกระทุ้งเสาเข็ม ลักษณะเป็นไม้ท่อนกลม มีที่จับสำหรับยก ๒ ที่. |
สองแง่สองง่าม เขียนว่า สอ-เสือ-ออ-อ่าง-งอ-งู-สะ-หระ-แอ-งอ-งู-ไม้-เอก-สอ-เสือ-ออ-อ่าง-งอ-งู-งอ-งู-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา-มอ-ม้า | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง มีความหมายตีได้เป็น ๒ นัย ทั้งความหมายธรรมดาและความหมายที่ส่อไปในทางหยาบโลน (มักใช้ในปริศนาคำทาย) เช่นนอนสูงให้นอนคว่ำ นอนต่ำให้นอนหงาย. | สองแง่สองง่าม ว. มีความหมายตีได้เป็น ๒ นัย ทั้งความหมายธรรมดาและความหมายที่ส่อไปในทางหยาบโลน (มักใช้ในปริศนาคำทาย) เช่นนอนสูงให้นอนคว่ำ นอนต่ำให้นอนหงาย. |
สองแง่สองมุม เขียนว่า สอ-เสือ-ออ-อ่าง-งอ-งู-สะ-หระ-แอ-งอ-งู-ไม้-เอก-สอ-เสือ-ออ-อ่าง-งอ-งู-มอ-ม้า-สะ-หระ-อุ-มอ-ม้า | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง มีความหมายตีได้เป็น ๒ นัย เช่นสาบานขอให้ตายใน ๗ วัน. | สองแง่สองมุม ว. มีความหมายตีได้เป็น ๒ นัย เช่นสาบานขอให้ตายใน ๗ วัน. |
สองจิตสองใจ เขียนว่า สอ-เสือ-ออ-อ่าง-งอ-งู-จอ-จาน-สะ-หระ-อิ-ตอ-เต่า-สอ-เสือ-ออ-อ่าง-งอ-งู-สะ-หระ-ไอ-ไม้-ม้วน-จอ-จาน | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ลังเล, ตัดสินใจไม่ได้, เช่น จะไปเชียงใหม่ดีหรือไม่ไปดี ยังสองจิตสองใจอยู่. | สองจิตสองใจ ว. ลังเล, ตัดสินใจไม่ได้, เช่น จะไปเชียงใหม่ดีหรือไม่ไปดี ยังสองจิตสองใจอยู่. |
สองใจ เขียนว่า สอ-เสือ-ออ-อ่าง-งอ-งู-สะ-หระ-ไอ-ไม้-ม้วน-จอ-จาน | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง มีจิตใจไม่แน่นอนในเรื่องชู้สาว (มักใช้แก่ผู้หญิง). | สองใจ ว. มีจิตใจไม่แน่นอนในเรื่องชู้สาว (มักใช้แก่ผู้หญิง). |
สองชั้น เขียนว่า สอ-เสือ-ออ-อ่าง-งอ-งู-ชอ-ช้าง-ไม้-หัน-อา-กาด-ไม้-โท-นอ-หนู | เป็นคำนาม หมายถึง จังหวะของดนตรีไทยที่มีระดับปานกลางคือช้ากว่าชั้นเดียวเท่าตัว หรือเร็วกว่าสามชั้นเท่าตัว เรียกเต็มว่า อัตราสองชั้น, เรียกหน้าทับและเพลงที่มีจังหวะเช่นนี้ว่า หน้าทับสองชั้น เพลงสองชั้น. | สองชั้น น. จังหวะของดนตรีไทยที่มีระดับปานกลางคือช้ากว่าชั้นเดียวเท่าตัว หรือเร็วกว่าสามชั้นเท่าตัว เรียกเต็มว่า อัตราสองชั้น, เรียกหน้าทับและเพลงที่มีจังหวะเช่นนี้ว่า หน้าทับสองชั้น เพลงสองชั้น. |
สองต่อสอง เขียนว่า สอ-เสือ-ออ-อ่าง-งอ-งู-ตอ-เต่า-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-สอ-เสือ-ออ-อ่าง-งอ-งู | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง แต่ลําพัง ๒ คน โดยเฉพาะในที่ลับหูลับตาคนอื่น (มักใช้แก่ชายหนึ่งและหญิงหนึ่งที่อยู่ด้วยกันตามลําพัง). | สองต่อสอง ว. แต่ลําพัง ๒ คน โดยเฉพาะในที่ลับหูลับตาคนอื่น (มักใช้แก่ชายหนึ่งและหญิงหนึ่งที่อยู่ด้วยกันตามลําพัง). |
สองตาก็ไม่แล, สองตาก็ไม่อยากแล สองตาก็ไม่แล เขียนว่า สอ-เสือ-ออ-อ่าง-งอ-งู-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อา-กอ-ไก่-ไม้-ไต่-คู้-สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-มอ-ม้า-ไม้-เอก-สะ-หระ-แอ-ลอ-ลิง สองตาก็ไม่อยากแล เขียนว่า สอ-เสือ-ออ-อ่าง-งอ-งู-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อา-กอ-ไก่-ไม้-ไต่-คู้-สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-มอ-ม้า-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-กอ-ไก่-สะ-หระ-แอ-ลอ-ลิง | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นสำนวน หมายถึง คำที่แสดงอาการว่าไม่แยแสหรือตัดรอนไม่เป็นมิตรไมตรีกันอีกต่อไป. | สองตาก็ไม่แล, สองตาก็ไม่อยากแล (สำ) คำที่แสดงอาการว่าไม่แยแสหรือตัดรอนไม่เป็นมิตรไมตรีกันอีกต่อไป. |
สองผม เขียนว่า สอ-เสือ-ออ-อ่าง-งอ-งู-ผอ-ผึ้ง-มอ-ม้า | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง มีอายุแล้ว หมายถึงคนที่มีผมหงอกบ้างแล้ว เช่นพูดว่า คนสองผม. | สองผม ว. มีอายุแล้ว หมายถึงคนที่มีผมหงอกบ้างแล้ว เช่นพูดว่า คนสองผม. |
สองฝักสองฝ่าย เขียนว่า สอ-เสือ-ออ-อ่าง-งอ-งู-ฝอ-ฝา-ไม้-หัน-อา-กาด-กอ-ไก่-สอ-เสือ-ออ-อ่าง-งอ-งู-ฝอ-ฝา-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา-ยอ-ยัก | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นสำนวน เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ที่ทําตัวเข้าด้วยทั้ง ๒ ข้าง ซึ่งมักไม่เป็นมิตรกัน โดยหวังประโยชน์เพื่อตน เช่น ประเทศเล็กที่ช่วยตัวเองไม่ได้ มักต้องทําตัวสองฝักสองฝ่ายกับประเทศใหญ่เพื่อความอยู่รอดของตน. | สองฝักสองฝ่าย (สำ) ว. ที่ทําตัวเข้าด้วยทั้ง ๒ ข้าง ซึ่งมักไม่เป็นมิตรกัน โดยหวังประโยชน์เพื่อตน เช่น ประเทศเล็กที่ช่วยตัวเองไม่ได้ มักต้องทําตัวสองฝักสองฝ่ายกับประเทศใหญ่เพื่อความอยู่รอดของตน. |
สองไม้ เขียนว่า สอ-เสือ-ออ-อ่าง-งอ-งู-สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-มอ-ม้า-ไม้-โท | เป็นคำนาม หมายถึง ทํานองเพลงที่ใช้หน้าทับทําจังหวะ. | สองไม้ น. ทํานองเพลงที่ใช้หน้าทับทําจังหวะ. |
สองสลึงเฟื้อง เขียนว่า สอ-เสือ-ออ-อ่าง-งอ-งู-สอ-เสือ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อึ-งอ-งู-สะ-หระ-เอ-ฟอ-ฟัน-สะ-หระ-อือ-ไม้-โท-ออ-อ่าง-งอ-งู | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาปาก เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง บ้า ๆ บอ ๆ, มีสติไม่สมบูรณ์, มีจิตใจใกล้ไปทางบ้า ๆ บอ ๆ, สามสลึงเฟื้อง ไม่เต็มเต็ง หรือ ไม่เต็มบาท ก็ว่า. | สองสลึงเฟื้อง (ปาก) ว. บ้า ๆ บอ ๆ, มีสติไม่สมบูรณ์, มีจิตใจใกล้ไปทางบ้า ๆ บอ ๆ, สามสลึงเฟื้อง ไม่เต็มเต็ง หรือ ไม่เต็มบาท ก็ว่า. |
สองหน้า เขียนว่า สอ-เสือ-ออ-อ่าง-งอ-งู-หอ-หีบ-นอ-หนู-ไม้-โท-สะ-หระ-อา | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อกลองชนิดหนึ่ง รูปคล้ายเปิงมางแต่ใหญ่กว่า ใช้ตีทั้ง ๒ ข้าง. ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นสำนวน เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ที่ทําตัวให้ทั้ง ๒ ฝ่ายต่างเข้าใจผิดกัน โดยหวังประโยชน์เพื่อตน เช่น เขาเป็นคนสองหน้า อย่าไว้ใจเขานักนะ. | สองหน้า น. ชื่อกลองชนิดหนึ่ง รูปคล้ายเปิงมางแต่ใหญ่กว่า ใช้ตีทั้ง ๒ ข้าง. (สำ) ว. ที่ทําตัวให้ทั้ง ๒ ฝ่ายต่างเข้าใจผิดกัน โดยหวังประโยชน์เพื่อตน เช่น เขาเป็นคนสองหน้า อย่าไว้ใจเขานักนะ. |
ส่อง เขียนว่า สอ-เสือ-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-งอ-งู | เป็นคำกริยา หมายถึง ฉายแสง เช่น แดดส่อง ไฟส่อง ส่องไฟ แสงจันทร์ส่อง ตะวันส่องหน้า, ฉายแสงดู เช่น ส่องสัตว์ในป่า ส่องทาง ส่องกบ; เพ่งมอง เช่น ส่องกล้อง, เล็ง เช่น ส่องปืน; ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาปาก หมายถึง ยิง เช่น ถูกส่องด้วยปืนลูกซอง. | ส่อง ก. ฉายแสง เช่น แดดส่อง ไฟส่อง ส่องไฟ แสงจันทร์ส่อง ตะวันส่องหน้า, ฉายแสงดู เช่น ส่องสัตว์ในป่า ส่องทาง ส่องกบ; เพ่งมอง เช่น ส่องกล้อง, เล็ง เช่น ส่องปืน; (ปาก) ยิง เช่น ถูกส่องด้วยปืนลูกซอง. |
ส่องกระจก เขียนว่า สอ-เสือ-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-งอ-งู-กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-จอ-จาน-กอ-ไก่ | เป็นคำกริยา หมายถึง ดูภาพตนเองในกระจกเงา, โดยปริยายหมายความว่า ให้สำรวจดูฐานะหรือข้อบกพร่องของตน (มักใช้ในอาการที่ดูหมิ่น) เช่น กลับไปส่องกระจกดูเงาตัวเองเสียบ้าง. | ส่องกระจก ก. ดูภาพตนเองในกระจกเงา, โดยปริยายหมายความว่า ให้สำรวจดูฐานะหรือข้อบกพร่องของตน (มักใช้ในอาการที่ดูหมิ่น) เช่น กลับไปส่องกระจกดูเงาตัวเองเสียบ้าง. |
ส้อง เขียนว่า สอ-เสือ-ไม้-โท-ออ-อ่าง-งอ-งู | ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำนาม หมายถึง ซ่อง, ประชุม. | ส้อง (กลอน) น. ซ่อง, ประชุม. |
สองฤดู เขียนว่า สอ-เสือ-ออ-อ่าง-งอ-งู-รอ-รึ-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-อู | ดู คริสต์มาส เขียนว่า คอ-ควาย-รอ-เรือ-สะ-หระ-อิ-สอ-เสือ-ตอ-เต่า-ทัน-ทะ-คาด-มอ-ม้า-สะ-หระ-อา-สอ-เสือ ความหมายที่ ๒. | สองฤดู ดู คริสต์มาส ๒. |
สอด เขียนว่า สอ-เสือ-ออ-อ่าง-ดอ-เด็ก | เป็นคำกริยา หมายถึง เสือกหรือใส่เข้าไปในช่องหรือในระหว่างที่แคบ ๆ เช่น สอดจดหมายเข้าไปใต้ประตู สอดขาเข้าไปในกางเกง, ใส่ เช่น สอดสนับเพลา, แทรกเข้าไประหว่างกลาง เช่น เอาธนบัตรสอดไว้ในหนังสือ, แทรกเข้าในระหว่าง (มักใช้ในเชิงตำหนิ) เช่น ขณะที่ผู้ใหญ่กำลังพูดอยู่ เด็กไม่ควรพูดสอดขึ้น. | สอด ก. เสือกหรือใส่เข้าไปในช่องหรือในระหว่างที่แคบ ๆ เช่น สอดจดหมายเข้าไปใต้ประตู สอดขาเข้าไปในกางเกง, ใส่ เช่น สอดสนับเพลา, แทรกเข้าไประหว่างกลาง เช่น เอาธนบัตรสอดไว้ในหนังสือ, แทรกเข้าในระหว่าง (มักใช้ในเชิงตำหนิ) เช่น ขณะที่ผู้ใหญ่กำลังพูดอยู่ เด็กไม่ควรพูดสอดขึ้น. |
สอดคล้อง เขียนว่า สอ-เสือ-ออ-อ่าง-ดอ-เด็ก-คอ-ควาย-ลอ-ลิง-ไม้-โท-ออ-อ่าง-งอ-งู | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง พ้อง, ประสาน, ไม่ขัดกัน, เช่น มีความเห็นสอดคล้องกัน ทำงานสอดคล้องกัน ความคิดกับการกระทำสอดคล้องกัน. | สอดคล้อง ว. พ้อง, ประสาน, ไม่ขัดกัน, เช่น มีความเห็นสอดคล้องกัน ทำงานสอดคล้องกัน ความคิดกับการกระทำสอดคล้องกัน. |
สอดแคล้ว เขียนว่า สอ-เสือ-ออ-อ่าง-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-แอ-คอ-ควาย-ลอ-ลิง-ไม้-โท-วอ-แหวน | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง สงสัย, กินแหนง. | สอดแคล้ว ว. สงสัย, กินแหนง. |
สอดแทรก เขียนว่า สอ-เสือ-ออ-อ่าง-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-แอ-ทอ-ทะ-หาน-รอ-เรือ-กอ-ไก่ | เป็นคำกริยา หมายถึง เข้าไปยุ่งในเรื่องที่มิใช่หน้าที่ของตน เช่น เขาชอบไปสอดแทรกในเรื่องส่วนตัวของคนอื่น. | สอดแทรก ก. เข้าไปยุ่งในเรื่องที่มิใช่หน้าที่ของตน เช่น เขาชอบไปสอดแทรกในเรื่องส่วนตัวของคนอื่น. |
สอดแนม เขียนว่า สอ-เสือ-ออ-อ่าง-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-แอ-นอ-หนู-มอ-ม้า | เป็นคำกริยา หมายถึง ลอบเข้าไปสืบความ เช่น ส่งทหารไปสอดแนมข้าศึก. | สอดแนม ก. ลอบเข้าไปสืบความ เช่น ส่งทหารไปสอดแนมข้าศึก. |
สอดรู้, สอดรู้สอดเห็น สอดรู้ เขียนว่า สอ-เสือ-ออ-อ่าง-ดอ-เด็ก-รอ-เรือ-สะ-หระ-อู-ไม้-โท สอดรู้สอดเห็น เขียนว่า สอ-เสือ-ออ-อ่าง-ดอ-เด็ก-รอ-เรือ-สะ-หระ-อู-ไม้-โท-สอ-เสือ-ออ-อ่าง-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-เอ-หอ-หีบ-ไม้-ไต่-คู้-นอ-หนู | เป็นคำกริยา หมายถึง เที่ยวเข้าไปรู้ในเรื่องของคนอื่น (มักใช้ในทางไม่ดี) เช่น ใครเขาจะทำอะไรกันที่ไหน ก็เที่ยวไปสอดรู้เขาหมด เขาเป็นคนช่างสอดรู้สอดเห็น มีเรื่องของชาวบ้านมาเล่าเสมอ. | สอดรู้, สอดรู้สอดเห็น ก. เที่ยวเข้าไปรู้ในเรื่องของคนอื่น (มักใช้ในทางไม่ดี) เช่น ใครเขาจะทำอะไรกันที่ไหน ก็เที่ยวไปสอดรู้เขาหมด เขาเป็นคนช่างสอดรู้สอดเห็น มีเรื่องของชาวบ้านมาเล่าเสมอ. |
สอดส่อง เขียนว่า สอ-เสือ-ออ-อ่าง-ดอ-เด็ก-สอ-เสือ-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-งอ-งู | เป็นคำกริยา หมายถึง ตรวจดูทั่ว ๆ ไป, เอาใจใส่ดูแล, เช่น รัฐบาลที่ดีจะต้องสอดส่องดูแลทุกข์สุขของราษฎร. | สอดส่อง ก. ตรวจดูทั่ว ๆ ไป, เอาใจใส่ดูแล, เช่น รัฐบาลที่ดีจะต้องสอดส่องดูแลทุกข์สุขของราษฎร. |
สอดส่าย เขียนว่า สอ-เสือ-ออ-อ่าง-ดอ-เด็ก-สอ-เสือ-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา-ยอ-ยัก | เป็นคำกริยา หมายถึง ส่ายตาค้นหา ในคำว่า สอดส่ายสายตา เช่น สอดส่ายสายตาหาเพื่อนที่นัดไว้ ตำรวจสอดส่ายสายตาหาคนร้าย, โดยปริยายหมายถึงส่ายตามองหาช่องทางหรือโอกาสที่จะลักขโมยเป็นต้น. | สอดส่าย ก. ส่ายตาค้นหา ในคำว่า สอดส่ายสายตา เช่น สอดส่ายสายตาหาเพื่อนที่นัดไว้ ตำรวจสอดส่ายสายตาหาคนร้าย, โดยปริยายหมายถึงส่ายตามองหาช่องทางหรือโอกาสที่จะลักขโมยเป็นต้น. |
สอดสี เขียนว่า สอ-เสือ-ออ-อ่าง-ดอ-เด็ก-สอ-เสือ-สะ-หระ-อี | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ลักษณะการพิมพ์ให้เป็นสีตั้งแต่ ๒ สีขึ้นไป เรียกว่า พิมพ์สอดสี. | สอดสี ว. ลักษณะการพิมพ์ให้เป็นสีตั้งแต่ ๒ สีขึ้นไป เรียกว่า พิมพ์สอดสี. |
สอดใส่ เขียนว่า สอ-เสือ-ออ-อ่าง-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-ไอ-ไม้-ม้วน-สอ-เสือ-ไม้-เอก | เป็นคำกริยา หมายถึง ใส่โดยวิธีสอดเข้าไป. | สอดใส่ ก. ใส่โดยวิธีสอดเข้าไป. |
สอดไส้ เขียนว่า สอ-เสือ-ออ-อ่าง-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-สอ-เสือ-ไม้-โท | เป็นคำกริยา หมายถึง ใส่ไส้ไว้ข้างใน, โดยปริยายหมายความว่า แอบสอดสิ่งแปลกปลอมปนเข้าไปโดยมีเจตนาไม่บริสุทธิ์ เช่น สอดไส้ธนบัตรปลอมไว้ในปึกธนบัตรจริง สอดไส้เอกสารที่เป็นประโยชน์แก่ตนปะปนเข้าไปพร้อมกับเอกสารในแฟ้มเสนอเซ็น. เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง เรียกขนมชนิดหนึ่ง มีไส้หน้ากระฉีก ปั้นเป็นก้อนหุ้มด้วยแป้งข้าวเหนียวดำ แล้วหยอดด้วยแป้งข้าวเจ้า กะทิ และเกลือ ซึ่งกวนสุกแล้ว ห่อด้วยใบตองหรือใส่กระทงนึ่งให้สุก ว่า ขนมสอดไส้, ขนมใส่ไส้ ก็เรียก. | สอดไส้ ก. ใส่ไส้ไว้ข้างใน, โดยปริยายหมายความว่า แอบสอดสิ่งแปลกปลอมปนเข้าไปโดยมีเจตนาไม่บริสุทธิ์ เช่น สอดไส้ธนบัตรปลอมไว้ในปึกธนบัตรจริง สอดไส้เอกสารที่เป็นประโยชน์แก่ตนปะปนเข้าไปพร้อมกับเอกสารในแฟ้มเสนอเซ็น. ว. เรียกขนมชนิดหนึ่ง มีไส้หน้ากระฉีก ปั้นเป็นก้อนหุ้มด้วยแป้งข้าวเหนียวดำ แล้วหยอดด้วยแป้งข้าวเจ้า กะทิ และเกลือ ซึ่งกวนสุกแล้ว ห่อด้วยใบตองหรือใส่กระทงนึ่งให้สุก ว่า ขนมสอดไส้, ขนมใส่ไส้ ก็เรียก. |
สอดหมุด เขียนว่า สอ-เสือ-ออ-อ่าง-ดอ-เด็ก-หอ-หีบ-มอ-ม้า-สะ-หระ-อุ-ดอ-เด็ก | เป็นคำกริยา หมายถึง สอดผ้ากอซเข้าไปในโพรงฝีเป็นต้นเพื่อซับของเหลวภายใน. | สอดหมุด ก. สอดผ้ากอซเข้าไปในโพรงฝีเป็นต้นเพื่อซับของเหลวภายใน. |
สอน เขียนว่า สอ-เสือ-ออ-อ่าง-นอ-หนู | เป็นคำกริยา หมายถึง บอกวิชาความรู้ให้ เช่น ครูสอนหนังสือนักเรียน, แสดงให้เข้าใจโดยวิธีบอกหรือทําให้เห็นเป็นตัวอย่างเพื่อให้รู้ดีชั่วเป็นต้น เช่น สอนแม่ไม้มวยไทย สอนเย็บปักถักร้อย สอนเท่าไรไม่รู้จักจํา; เริ่มฝึกหัด เช่น เด็กสอนพูด ผู้เป็นอัมพาตต้องมาสอนเดินใหม่ ไก่สอนขัน, เริ่มมีผล เช่น ต้นไม้สอนเป็น. | สอน ก. บอกวิชาความรู้ให้ เช่น ครูสอนหนังสือนักเรียน, แสดงให้เข้าใจโดยวิธีบอกหรือทําให้เห็นเป็นตัวอย่างเพื่อให้รู้ดีชั่วเป็นต้น เช่น สอนแม่ไม้มวยไทย สอนเย็บปักถักร้อย สอนเท่าไรไม่รู้จักจํา; เริ่มฝึกหัด เช่น เด็กสอนพูด ผู้เป็นอัมพาตต้องมาสอนเดินใหม่ ไก่สอนขัน, เริ่มมีผล เช่น ต้นไม้สอนเป็น. |
สอนขัน เขียนว่า สอ-เสือ-ออ-อ่าง-นอ-หนู-ขอ-ไข่-ไม้-หัน-อา-กาด-นอ-หนู | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง เรียกไก่อ่อนที่เพิ่งหัดขันว่า ไก่อ่อนสอนขัน หรือ ไก่สอนขัน, โดยปริยายหมายถึงมีประสบการณ์น้อยยังรู้ไม่ทันเล่ห์เหลี่ยมของคน. | สอนขัน ว. เรียกไก่อ่อนที่เพิ่งหัดขันว่า ไก่อ่อนสอนขัน หรือ ไก่สอนขัน, โดยปริยายหมายถึงมีประสบการณ์น้อยยังรู้ไม่ทันเล่ห์เหลี่ยมของคน. |
สอนจระเข้ให้ว่ายน้ำ เขียนว่า สอ-เสือ-ออ-อ่าง-นอ-หนู-จอ-จาน-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-ไอ-ไม้-ม้วน-หอ-หีบ-ไม้-โท-วอ-แหวน-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา-ยอ-ยัก-นอ-หนู-ไม้-โท-สะ-หระ-อำ | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นสำนวน เป็นคำกริยา หมายถึง สอนสิ่งที่เขารู้ดีหรือที่เขาถนัดอยู่แล้ว. | สอนจระเข้ให้ว่ายน้ำ (สำ) ก. สอนสิ่งที่เขารู้ดีหรือที่เขาถนัดอยู่แล้ว. |
สอนใจ เขียนว่า สอ-เสือ-ออ-อ่าง-นอ-หนู-สะ-หระ-ไอ-ไม้-ม้วน-จอ-จาน | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ที่เตือนสติตนเอง เช่น สุภาษิตสอนใจ หนังสือสอนใจ. | สอนใจ ว. ที่เตือนสติตนเอง เช่น สุภาษิตสอนใจ หนังสือสอนใจ. |
สอนเดิน เขียนว่า สอ-เสือ-ออ-อ่าง-นอ-หนู-สะ-หระ-เอ-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-อิ-นอ-หนู | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง เรียกเด็กที่เริ่มหัดเดินเตาะแตะว่า เด็กสอนเดิน. เป็นคำกริยา หมายถึง ฝึกหัดเดิน เช่น เขานอนป่วยอยู่หลายเดือน เมื่อหายป่วยแล้วต้องสอนเดินใหม่. | สอนเดิน ว. เรียกเด็กที่เริ่มหัดเดินเตาะแตะว่า เด็กสอนเดิน. ก. ฝึกหัดเดิน เช่น เขานอนป่วยอยู่หลายเดือน เมื่อหายป่วยแล้วต้องสอนเดินใหม่. |
สอนนาค เขียนว่า สอ-เสือ-ออ-อ่าง-นอ-หนู-นอ-หนู-สะ-หระ-อา-คอ-ควาย | เป็นคำกริยา หมายถึง กล่าวคำทำขวัญนาคเพื่อสอนกุลบุตรที่จะอุปสมบทให้รู้สึกซาบซึ้งถึงพระคุณของพ่อแม่ และให้เห็นว่าการบวชนั้นเป็นการตอบสนองพระคุณพ่อแม่อย่างหนึ่ง. | สอนนาค ก. กล่าวคำทำขวัญนาคเพื่อสอนกุลบุตรที่จะอุปสมบทให้รู้สึกซาบซึ้งถึงพระคุณของพ่อแม่ และให้เห็นว่าการบวชนั้นเป็นการตอบสนองพระคุณพ่อแม่อย่างหนึ่ง. |
สอนพูด เขียนว่า สอ-เสือ-ออ-อ่าง-นอ-หนู-พอ-พาน-สะ-หระ-อู-ดอ-เด็ก | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง เรียกเด็กที่เริ่มหัดพูดว่า เด็กสอนพูด. | สอนพูด ว. เรียกเด็กที่เริ่มหัดพูดว่า เด็กสอนพูด. |
สอนยาก เขียนว่า สอ-เสือ-ออ-อ่าง-นอ-หนู-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-กอ-ไก่ | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ดื้อดึง, ไม่อยู่ในโอวาท, เช่น เขาเป็นเด็กสอนยาก, มักใช้เข้าคู่กับคำ ว่ายาก เป็น ว่ายากสอนยาก. | สอนยาก ว. ดื้อดึง, ไม่อยู่ในโอวาท, เช่น เขาเป็นเด็กสอนยาก, มักใช้เข้าคู่กับคำ ว่ายาก เป็น ว่ายากสอนยาก. |
สอนยืน เขียนว่า สอ-เสือ-ออ-อ่าง-นอ-หนู-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อือ-นอ-หนู | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง เรียกเด็กที่เริ่มตั้งไข่ว่า เด็กสอนยืน. | สอนยืน ว. เรียกเด็กที่เริ่มตั้งไข่ว่า เด็กสอนยืน. |
สอนลูกให้เป็นโจร เขียนว่า สอ-เสือ-ออ-อ่าง-นอ-หนู-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อู-กอ-ไก่-สะ-หระ-ไอ-ไม้-ม้วน-หอ-หีบ-ไม้-โท-สะ-หระ-เอ-ปอ-ปลา-ไม้-ไต่-คู้-นอ-หนู-สะ-หระ-โอ-จอ-จาน-รอ-เรือ | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นสำนวน เป็นคำกริยา หมายถึง ไม่ว่ากล่าวอบรมสั่งสอนลูกให้เป็นคนดี เมื่อลูกไปลักขโมยของใครมาได้กลับชมเชยว่าเก่ง ในที่สุดลูกก็กลายเป็นโจร. | สอนลูกให้เป็นโจร (สำ) ก. ไม่ว่ากล่าวอบรมสั่งสอนลูกให้เป็นคนดี เมื่อลูกไปลักขโมยของใครมาได้กลับชมเชยว่าเก่ง ในที่สุดลูกก็กลายเป็นโจร. |
สอนสั่ง เขียนว่า สอ-เสือ-ออ-อ่าง-นอ-หนู-สอ-เสือ-ไม้-หัน-อา-กาด-ไม้-เอก-งอ-งู | เป็นคำกริยา หมายถึง ชี้แจงให้เข้าใจและบอกให้ทำ, สั่งสอน ก็ว่า. | สอนสั่ง ก. ชี้แจงให้เข้าใจและบอกให้ทำ, สั่งสอน ก็ว่า. |
สอนหนังสือสังฆราช, บอกหนังสือสังฆราช สอนหนังสือสังฆราช เขียนว่า สอ-เสือ-ออ-อ่าง-นอ-หนู-หอ-หีบ-นอ-หนู-ไม้-หัน-อา-กาด-งอ-งู-สอ-เสือ-สะ-หระ-อือ-ออ-อ่าง-สอ-เสือ-ไม้-หัน-อา-กาด-งอ-งู-คอ-ระ-คัง-รอ-เรือ-สะ-หระ-อา-ชอ-ช้าง บอกหนังสือสังฆราช เขียนว่า บอ-ไบ-ไม้-ออ-อ่าง-กอ-ไก่-หอ-หีบ-นอ-หนู-ไม้-หัน-อา-กาด-งอ-งู-สอ-เสือ-สะ-หระ-อือ-ออ-อ่าง-สอ-เสือ-ไม้-หัน-อา-กาด-งอ-งู-คอ-ระ-คัง-รอ-เรือ-สะ-หระ-อา-ชอ-ช้าง | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นสำนวน เป็นคำกริยา หมายถึง สอนสิ่งที่เขารู้ดีอยู่แล้ว. | สอนหนังสือสังฆราช, บอกหนังสือสังฆราช (สำ) ก. สอนสิ่งที่เขารู้ดีอยู่แล้ว. |
ส่อน เขียนว่า สอ-เสือ-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-นอ-หนู | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง เรียกตาที่มีตาดําอยู่ไม่ตรงที่ตามปรกติว่า ตาส่อน. | ส่อน ว. เรียกตาที่มีตาดําอยู่ไม่ตรงที่ตามปรกติว่า ตาส่อน. |
สอบ เขียนว่า สอ-เสือ-ออ-อ่าง-บอ-ไบ-ไม้ ความหมายที่ ๑ | เป็นคำกริยา หมายถึง ตรวจ ทดลอง เปรียบเทียบ หรือไล่เลียง เพื่อหาข้อเท็จจริง หรือวัดให้รู้ว่ามีความรู้หรือความสามารถแค่ไหน เช่น สอบตาชั่งให้ได้มาตรฐาน สอบราคาสินค้า สอบปากคำผู้ต้องหา สอบพิมพ์ดีด. | สอบ ๑ ก. ตรวจ ทดลอง เปรียบเทียบ หรือไล่เลียง เพื่อหาข้อเท็จจริง หรือวัดให้รู้ว่ามีความรู้หรือความสามารถแค่ไหน เช่น สอบตาชั่งให้ได้มาตรฐาน สอบราคาสินค้า สอบปากคำผู้ต้องหา สอบพิมพ์ดีด. |
สอบข้อเขียน เขียนว่า สอ-เสือ-ออ-อ่าง-บอ-ไบ-ไม้-ขอ-ไข่-ไม้-โท-ออ-อ่าง-สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก-นอ-หนู | เป็นคำกริยา หมายถึง สอบความรู้โดยให้ผู้สอบเขียนคำตอบลงในกระดาษ. | สอบข้อเขียน ก. สอบความรู้โดยให้ผู้สอบเขียนคำตอบลงในกระดาษ. |
สอบเขตที่ดิน เขียนว่า สอ-เสือ-ออ-อ่าง-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ตอ-เต่า-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อี-ไม้-เอก-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-อิ-นอ-หนู | เป็นคำกริยา หมายถึง ตรวจสอบที่ดินโดยพนักงานที่ดินและบุคคลที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ทราบเนื้อที่และแนวเขตที่แน่นอน. | สอบเขตที่ดิน ก. ตรวจสอบที่ดินโดยพนักงานที่ดินและบุคคลที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ทราบเนื้อที่และแนวเขตที่แน่นอน. |
สอบแข่งขัน เขียนว่า สอ-เสือ-ออ-อ่าง-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-แอ-ขอ-ไข่-ไม้-เอก-งอ-งู-ขอ-ไข่-ไม้-หัน-อา-กาด-นอ-หนู | เป็นคำกริยา หมายถึง สอบเพื่อพิจารณาคัดเลือกบุคคลที่สมควรได้รับทุนหรือบรรจุในตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งเป็นต้น. | สอบแข่งขัน ก. สอบเพื่อพิจารณาคัดเลือกบุคคลที่สมควรได้รับทุนหรือบรรจุในตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งเป็นต้น. |
สอบความถนัด เขียนว่า สอ-เสือ-ออ-อ่าง-บอ-ไบ-ไม้-คอ-ควาย-วอ-แหวน-สะ-หระ-อา-มอ-ม้า-ถอ-ถุง-นอ-หนู-ไม้-หัน-อา-กาด-ดอ-เด็ก | เป็นคำกริยา หมายถึง ทดสอบดูว่ามีความถนัดหรือความสามารถในทางใดบ้าง, ทดสอบดูว่ามีความถนัดในสาขาวิชาที่ต้องการเข้าศึกษาหรือในงานที่จะต้องทำหรือไม่. | สอบความถนัด ก. ทดสอบดูว่ามีความถนัดหรือความสามารถในทางใดบ้าง, ทดสอบดูว่ามีความถนัดในสาขาวิชาที่ต้องการเข้าศึกษาหรือในงานที่จะต้องทำหรือไม่. |
สอบซ่อม เขียนว่า สอ-เสือ-ออ-อ่าง-บอ-ไบ-ไม้-ซอ-โซ่-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-มอ-ม้า | เป็นคำกริยา หมายถึง สอบเพื่อให้ผ่านวิชาที่เคยสอบตก. | สอบซ่อม ก. สอบเพื่อให้ผ่านวิชาที่เคยสอบตก. |
สอบซ้อม เขียนว่า สอ-เสือ-ออ-อ่าง-บอ-ไบ-ไม้-ซอ-โซ่-ไม้-โท-ออ-อ่าง-มอ-ม้า | เป็นคำกริยา หมายถึง ทดสอบความรู้ก่อนสอบไล่ (ใช้ในโรงเรียน). | สอบซ้อม ก. ทดสอบความรู้ก่อนสอบไล่ (ใช้ในโรงเรียน). |
สอบถาม เขียนว่า สอ-เสือ-ออ-อ่าง-บอ-ไบ-ไม้-ถอ-ถุง-สะ-หระ-อา-มอ-ม้า | เป็นคำกริยา หมายถึง ถามเพื่อขอทราบข้อมูลที่ต้องการ เช่น สอบถามเวลาเดินรถ. | สอบถาม ก. ถามเพื่อขอทราบข้อมูลที่ต้องการ เช่น สอบถามเวลาเดินรถ. |
สอบทาน เขียนว่า สอ-เสือ-ออ-อ่าง-บอ-ไบ-ไม้-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อา-นอ-หนู | เป็นคำกริยา หมายถึง ตรวจสอบหนังสือ ข้อความ หรือตัวเลข ให้ตรงกับต้นฉบับหรือถ้อยคำที่บอกเป็นต้น. | สอบทาน ก. ตรวจสอบหนังสือ ข้อความ หรือตัวเลข ให้ตรงกับต้นฉบับหรือถ้อยคำที่บอกเป็นต้น. |
สอบเทียบ, สอบเทียบความรู้ สอบเทียบ เขียนว่า สอ-เสือ-ออ-อ่าง-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-เอ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก-บอ-ไบ-ไม้ สอบเทียบความรู้ เขียนว่า สอ-เสือ-ออ-อ่าง-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-เอ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก-บอ-ไบ-ไม้-คอ-ควาย-วอ-แหวน-สะ-หระ-อา-มอ-ม้า-รอ-เรือ-สะ-หระ-อู-ไม้-โท | เป็นคำกริยา หมายถึง สอบเพื่อเทียบว่ามีความรู้เข้าเกณฑ์มาตรฐานที่ทางราชการกำหนดหรือไม่. | สอบเทียบ, สอบเทียบความรู้ ก. สอบเพื่อเทียบว่ามีความรู้เข้าเกณฑ์มาตรฐานที่ทางราชการกำหนดหรือไม่. |
สอบใบขับขี่ เขียนว่า สอ-เสือ-ออ-อ่าง-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-ไอ-ไม้-ม้วน-บอ-ไบ-ไม้-ขอ-ไข่-ไม้-หัน-อา-กาด-บอ-ไบ-ไม้-ขอ-ไข่-สะ-หระ-อี-ไม้-เอก | เป็นคำกริยา หมายถึง สอบเพื่อแสดงว่ามีความรู้ในกฎจราจรและสามารถขับขี่ยานยนต์ได้. | สอบใบขับขี่ ก. สอบเพื่อแสดงว่ามีความรู้ในกฎจราจรและสามารถขับขี่ยานยนต์ได้. |
สอบประวัติส่วนบุคคล เขียนว่า สอ-เสือ-ออ-อ่าง-บอ-ไบ-ไม้-ปอ-ปลา-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-วอ-แหวน-ไม้-หัน-อา-กาด-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อิ-สอ-เสือ-ไม้-เอก-วอ-แหวน-นอ-หนู-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อุ-คอ-ควาย-คอ-ควาย-ลอ-ลิง | เป็นคำกริยา หมายถึง ขอให้เจ้าพนักงานตำรวจท้องที่ที่บุคคลซึ่งจะบรรจุเข้ารับราชการเป็นต้นอาศัยอยู่ สอบประวัติย่อ ภูมิลำเนาครั้งสุดท้าย และลายพิมพ์นิ้วมือเป็นต้นของบุคคลนั้น. | สอบประวัติส่วนบุคคล ก. ขอให้เจ้าพนักงานตำรวจท้องที่ที่บุคคลซึ่งจะบรรจุเข้ารับราชการเป็นต้นอาศัยอยู่ สอบประวัติย่อ ภูมิลำเนาครั้งสุดท้าย และลายพิมพ์นิ้วมือเป็นต้นของบุคคลนั้น. |
สอบปากคำ เขียนว่า สอ-เสือ-ออ-อ่าง-บอ-ไบ-ไม้-ปอ-ปลา-สะ-หระ-อา-กอ-ไก่-คอ-ควาย-สะ-หระ-อำ | เป็นคำกริยา หมายถึง ซักถามเพื่อให้บุคคลให้การโดยพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการ เช่น สอบปากคําพยาน สอบปากคําผู้ต้องหา, กฎหมายใช้ว่า ถามปากคํา. | สอบปากคำ ก. ซักถามเพื่อให้บุคคลให้การโดยพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการ เช่น สอบปากคําพยาน สอบปากคําผู้ต้องหา, กฎหมายใช้ว่า ถามปากคํา. |
สอบปากเปล่า เขียนว่า สอ-เสือ-ออ-อ่าง-บอ-ไบ-ไม้-ปอ-ปลา-สะ-หระ-อา-กอ-ไก่-สะ-หระ-เอ-ปอ-ปลา-ลอ-ลิง-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา | เป็นคำกริยา หมายถึง สอบโดยวิธีซักถามให้ตอบด้วยวาจา. | สอบปากเปล่า ก. สอบโดยวิธีซักถามให้ตอบด้วยวาจา. |
สอบพยาน เขียนว่า สอ-เสือ-ออ-อ่าง-บอ-ไบ-ไม้-พอ-พาน-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-นอ-หนู | เป็นคำกริยา หมายถึง ซักถามพยานเพื่อหาข้อเท็จจริง. | สอบพยาน ก. ซักถามพยานเพื่อหาข้อเท็จจริง. |
สอบราคา เขียนว่า สอ-เสือ-ออ-อ่าง-บอ-ไบ-ไม้-รอ-เรือ-สะ-หระ-อา-คอ-ควาย-สะ-หระ-อา | เป็นคำกริยา หมายถึง สอบดูราคาสิ่งของตามร้านค้าต่าง ๆ ว่าแตกต่างกันอย่างไร, ตรวจสอบราคาที่ขายว่าถูกต้องตามที่ทางราชการกำหนดไว้หรือไม่, สอบถามราคาในการพิมพ์หรือการซื้อเป็นต้นจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อหาราคาต่ำสุด. | สอบราคา ก. สอบดูราคาสิ่งของตามร้านค้าต่าง ๆ ว่าแตกต่างกันอย่างไร, ตรวจสอบราคาที่ขายว่าถูกต้องตามที่ทางราชการกำหนดไว้หรือไม่, สอบถามราคาในการพิมพ์หรือการซื้อเป็นต้นจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อหาราคาต่ำสุด. |
สอบไล่ เขียนว่า สอ-เสือ-ออ-อ่าง-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ลอ-ลิง-ไม้-เอก | เป็นคำกริยา หมายถึง สอบความรู้ที่เล่าเรียนมาว่าได้ตามมาตรฐานของหลักสูตรแต่ละขั้นหรือทั้งหมด. | สอบไล่ ก. สอบความรู้ที่เล่าเรียนมาว่าได้ตามมาตรฐานของหลักสูตรแต่ละขั้นหรือทั้งหมด. |
สอบสวน เขียนว่า สอ-เสือ-ออ-อ่าง-บอ-ไบ-ไม้-สอ-เสือ-วอ-แหวน-นอ-หนู | ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในกฎหมาย เป็นคำกริยา หมายถึง รวบรวมพยานหลักฐานและดําเนินการอย่างอื่นซึ่งพนักงานสอบสวนได้ทําไปเกี่ยวกับความผิดที่กล่าวหา เพื่อที่จะทราบข้อเท็จจริงหรือพิสูจน์ความผิด และเพื่อจะเอาตัวผู้กระทําผิดมาฟ้องลงโทษ. | สอบสวน (กฎ) ก. รวบรวมพยานหลักฐานและดําเนินการอย่างอื่นซึ่งพนักงานสอบสวนได้ทําไปเกี่ยวกับความผิดที่กล่าวหา เพื่อที่จะทราบข้อเท็จจริงหรือพิสูจน์ความผิด และเพื่อจะเอาตัวผู้กระทําผิดมาฟ้องลงโทษ. |
สอบสวนทวนพยาน เขียนว่า สอ-เสือ-ออ-อ่าง-บอ-ไบ-ไม้-สอ-เสือ-วอ-แหวน-นอ-หนู-ทอ-ทะ-หาน-วอ-แหวน-นอ-หนู-พอ-พาน-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-นอ-หนู | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นสำนวน เป็นคำกริยา หมายถึง สอบพยาน. | สอบสวนทวนพยาน (สำ) ก. สอบพยาน. |
สอบสัมภาษณ์ เขียนว่า สอ-เสือ-ออ-อ่าง-บอ-ไบ-ไม้-สอ-เสือ-ไม้-หัน-อา-กาด-มอ-ม้า-พอ-สำ-เพา-สะ-หระ-อา-สอ-รือ-สี-นอ-เนน-ทัน-ทะ-คาด | เป็นคำกริยา หมายถึง สอบท่วงทีวาจาและไหวพริบพิจารณาดูชั้นเชิงและความสามารถของผู้เข้าสอบ ว่าจะเป็นผู้เหมาะสมตามที่ต้องการหรือไม่. | สอบสัมภาษณ์ ก. สอบท่วงทีวาจาและไหวพริบพิจารณาดูชั้นเชิงและความสามารถของผู้เข้าสอบ ว่าจะเป็นผู้เหมาะสมตามที่ต้องการหรือไม่. |
สอบอารมณ์ เขียนว่า สอ-เสือ-ออ-อ่าง-บอ-ไบ-ไม้-ออ-อ่าง-สะ-หระ-อา-รอ-เรือ-มอ-ม้า-นอ-เนน-ทัน-ทะ-คาด | เป็นคำกริยา หมายถึง สอบถามประสบการณ์ทางจิตของผู้ที่เจริญวิปัสสนากรรมฐานว่าก้าวหน้าไปถึงขั้นใดแล้ว. | สอบอารมณ์ ก. สอบถามประสบการณ์ทางจิตของผู้ที่เจริญวิปัสสนากรรมฐานว่าก้าวหน้าไปถึงขั้นใดแล้ว. |
สอบ เขียนว่า สอ-เสือ-ออ-อ่าง-บอ-ไบ-ไม้ ความหมายที่ ๒ | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง มีลักษณะเรียวลงด้านใดด้านหนึ่งหรือทั้ง ๒ ด้าน (ใช้แก่รูปทรงของภาชนะหรือสิ่งที่มีลักษณะกลวง) เช่น พ้อมก้นสอบปากสอบ เสื้อแขนสอบ กางเกงขาสอบ. | สอบ ๒ ว. มีลักษณะเรียวลงด้านใดด้านหนึ่งหรือทั้ง ๒ ด้าน (ใช้แก่รูปทรงของภาชนะหรือสิ่งที่มีลักษณะกลวง) เช่น พ้อมก้นสอบปากสอบ เสื้อแขนสอบ กางเกงขาสอบ. |
สอพลอ เขียนว่า สอ-เสือ-ออ-อ่าง-พอ-พาน-ลอ-ลิง-ออ-อ่าง | [สอพฺลอ] เป็นคำกริยา หมายถึง กล่าวร้ายป้ายสีผู้อื่นเพื่อให้ผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีฐานะสูงกว่าเกลียดชังผู้นั้นเพื่อประโยชน์ของตน. | สอพลอ [สอพฺลอ] ก. กล่าวร้ายป้ายสีผู้อื่นเพื่อให้ผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีฐานะสูงกว่าเกลียดชังผู้นั้นเพื่อประโยชน์ของตน. |
ส้อม เขียนว่า สอ-เสือ-ไม้-โท-ออ-อ่าง-มอ-ม้า | เป็นคำนาม หมายถึง เหล็ก ๒ ง่าม ปลายแหลม ใช้แทงปลาเป็นต้น; เครื่องใช้จิ้มอาหารกิน, คู่กับ ช้อน; ไม้ไผ่ที่จักให้เป็นซี่ ๆ ทำปลายซี่ให้แหลมสำหรับเสียบอ้อยที่ควั่นเป็นข้อ ๆ, เรียกอ้อยควั่นที่เสียบซี่ไม้ไผ่ปลายแหลมดังกล่าวว่า อ้อยส้อม. เป็นคำกริยา หมายถึง ปาด เหลา หรือเจียน เช่น ส้อมงวงมะพร้าว. | ส้อม น. เหล็ก ๒ ง่าม ปลายแหลม ใช้แทงปลาเป็นต้น; เครื่องใช้จิ้มอาหารกิน, คู่กับ ช้อน; ไม้ไผ่ที่จักให้เป็นซี่ ๆ ทำปลายซี่ให้แหลมสำหรับเสียบอ้อยที่ควั่นเป็นข้อ ๆ, เรียกอ้อยควั่นที่เสียบซี่ไม้ไผ่ปลายแหลมดังกล่าวว่า อ้อยส้อม. ก. ปาด เหลา หรือเจียน เช่น ส้อมงวงมะพร้าว. |
ส้อมเสียง เขียนว่า สอ-เสือ-ไม้-โท-ออ-อ่าง-มอ-ม้า-สะ-หระ-เอ-สอ-เสือ-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก-งอ-งู | เป็นคำนาม หมายถึง อุปกรณ์ทำด้วยโลหะเป็นรูปอักษร U มีก้านสำหรับจับยึด เมื่อเคาะจะเกิดเสียงที่มีความถี่คงที่ เป็นเวลานาน ใช้เป็นความถี่อ้างอิง เช่นใช้เทียบเสียงเครื่องดนตรี. | ส้อมเสียง น. อุปกรณ์ทำด้วยโลหะเป็นรูปอักษร U มีก้านสำหรับจับยึด เมื่อเคาะจะเกิดเสียงที่มีความถี่คงที่ เป็นเวลานาน ใช้เป็นความถี่อ้างอิง เช่นใช้เทียบเสียงเครื่องดนตรี. |
สอย เขียนว่า สอ-เสือ-ออ-อ่าง-ยอ-ยัก ความหมายที่ ๑ | เป็นคำกริยา หมายถึง เอาไม้มีขอหรือมีง่ามหรือไม้จำปาเกี่ยว ดึงดัน หรือบิดเอาดอกไม้ลูกไม้เป็นต้นลงมา; แทงด้วยเข็มหรือสิ่งที่แหลมอย่างเข็มเย็บผ้าให้เป็นตะเข็บ. | สอย ๑ ก. เอาไม้มีขอหรือมีง่ามหรือไม้จำปาเกี่ยว ดึงดัน หรือบิดเอาดอกไม้ลูกไม้เป็นต้นลงมา; แทงด้วยเข็มหรือสิ่งที่แหลมอย่างเข็มเย็บผ้าให้เป็นตะเข็บ. |
สอยดอกฟ้า เขียนว่า สอ-เสือ-ออ-อ่าง-ยอ-ยัก-ดอ-เด็ก-ออ-อ่าง-กอ-ไก่-ฟอ-ฟัน-ไม้-โท-สะ-หระ-อา | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นสำนวน เป็นคำกริยา หมายถึง หมายปองที่จะได้หญิงผู้สูงศักดิ์กว่าตนมาเป็นคู่ครอง. | สอยดอกฟ้า (สำ) ก. หมายปองที่จะได้หญิงผู้สูงศักดิ์กว่าตนมาเป็นคู่ครอง. |
สอยดาว เขียนว่า สอ-เสือ-ออ-อ่าง-ยอ-ยัก-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-อา-วอ-แหวน | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง เรียกอาการที่เดินหงายหน้าว่า เดินสอยดาว; เรียกหมัดที่ชกตวัดขึ้นสู่ปลายคางของคู่ต่อสู้ว่า หมัดสอยดาว. | สอยดาว ว. เรียกอาการที่เดินหงายหน้าว่า เดินสอยดาว; เรียกหมัดที่ชกตวัดขึ้นสู่ปลายคางของคู่ต่อสู้ว่า หมัดสอยดาว. |
สอยผม เขียนว่า สอ-เสือ-ออ-อ่าง-ยอ-ยัก-ผอ-ผึ้ง-มอ-ม้า | เป็นคำกริยา หมายถึง เอาไม้แหลมเล็ก ๆ เป็นต้นแทงผมให้เรียบเรียงเส้น. | สอยผม ก. เอาไม้แหลมเล็ก ๆ เป็นต้นแทงผมให้เรียบเรียงเส้น. |
สอยไร เขียนว่า สอ-เสือ-ออ-อ่าง-ยอ-ยัก-สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-รอ-เรือ | เป็นคำกริยา หมายถึง เอาไม้แหลมเล็ก ๆ เป็นต้นแทงผมให้เห็นรอยไร. | สอยไร ก. เอาไม้แหลมเล็ก ๆ เป็นต้นแทงผมให้เห็นรอยไร. |
สอย เขียนว่า สอ-เสือ-ออ-อ่าง-ยอ-ยัก ความหมายที่ ๒ | เป็นคำกริยา หมายถึง ใช้, ใช้เข้าคู่กันเป็น ใช้สอย. | สอย ๒ ก. ใช้, ใช้เข้าคู่กันเป็น ใช้สอย. |
ส่อเสียด เขียนว่า สอ-เสือ-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-สะ-หระ-เอ-สอ-เสือ-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก-ดอ-เด็ก | เป็นคำกริยา หมายถึง อาการที่พูดยุยงให้ผู้อื่นแตกแยกกัน. | ส่อเสียด ก. อาการที่พูดยุยงให้ผู้อื่นแตกแยกกัน. |
สะ ๑, สะสวย สะ ความหมายที่ ๑ เขียนว่า สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ สะสวย เขียนว่า สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ-สอ-เสือ-วอ-แหวน-ยอ-ยัก | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง สวย. | สะ ๑, สะสวย ว. สวย. |
สะ เขียนว่า สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ ความหมายที่ ๒ | เป็นคำกริยา หมายถึง ใส่หรือสุมเพื่อกันไว้ เช่น เอาหนามสะ. | สะ ๒ ก. ใส่หรือสุมเพื่อกันไว้ เช่น เอาหนามสะ. |
สะกด เขียนว่า สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ-กอ-ไก่-ดอ-เด็ก | เป็นคำกริยา หมายถึง กลั้นไว้, ข่มไว้, เช่น เมื่อเกิดความไม่พอใจ ก็รู้จักสะกดอารมณ์ไว้บ้าง; เขียนหรือบอกตัวอักษรที่ประกอบกันเป็นคํา, เรียกพยัญชนะที่บังคับตัวอักษรข้างหน้าให้เป็นมาตราต่าง ๆ เช่น แม่กน น สะกด แม่กด ด สะกด. เป็นคำนาม หมายถึง เรียกลูกประคําที่เป็นลูกคั่นว่า ลูกสะกด. ในวงเล็บ เทียบ ภาษาเขมร สงฺกด เขียนว่า สอ-เสือ-งอ-งู-พิน-ทุ-กอ-ไก่-ดอ-เด็ก. | สะกด ก. กลั้นไว้, ข่มไว้, เช่น เมื่อเกิดความไม่พอใจ ก็รู้จักสะกดอารมณ์ไว้บ้าง; เขียนหรือบอกตัวอักษรที่ประกอบกันเป็นคํา, เรียกพยัญชนะที่บังคับตัวอักษรข้างหน้าให้เป็นมาตราต่าง ๆ เช่น แม่กน น สะกด แม่กด ด สะกด. น. เรียกลูกประคําที่เป็นลูกคั่นว่า ลูกสะกด. (เทียบ ข. สงฺกด). |
สะกดจิต เขียนว่า สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ-กอ-ไก่-ดอ-เด็ก-จอ-จาน-สะ-หระ-อิ-ตอ-เต่า | เป็นคำกริยา หมายถึง ใช้อำนาจจิตเป็นสื่อสะกดให้หลับแล้วบังคับให้กระทําตามความต้องการของตน. | สะกดจิต ก. ใช้อำนาจจิตเป็นสื่อสะกดให้หลับแล้วบังคับให้กระทําตามความต้องการของตน. |
สะกดทัพ เขียนว่า สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ-กอ-ไก่-ดอ-เด็ก-ทอ-ทะ-หาน-ไม้-หัน-อา-กาด-พอ-พาน | เป็นคำกริยา หมายถึง ใช้อำนาจเวทมนตร์บังคับให้ทหารในกองทัพของฝ่ายตรงข้ามหลับ. | สะกดทัพ ก. ใช้อำนาจเวทมนตร์บังคับให้ทหารในกองทัพของฝ่ายตรงข้ามหลับ. |
สะกดผี เขียนว่า สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ-กอ-ไก่-ดอ-เด็ก-ผอ-ผึ้ง-สะ-หระ-อี | เป็นคำกริยา หมายถึง ใช้เวทมนตร์สะกดไม่ให้ผีอาละวาดหรือให้อยู่ในอำนาจเป็นต้น. | สะกดผี ก. ใช้เวทมนตร์สะกดไม่ให้ผีอาละวาดหรือให้อยู่ในอำนาจเป็นต้น. |
สะกดรอย เขียนว่า สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ-กอ-ไก่-ดอ-เด็ก-รอ-เรือ-ออ-อ่าง-ยอ-ยัก | เป็นคำกริยา หมายถึง ตามไปติด ๆ โดยไม่ให้อีกฝ่ายหนึ่งรู้ตัว. | สะกดรอย ก. ตามไปติด ๆ โดยไม่ให้อีกฝ่ายหนึ่งรู้ตัว. |
สะกดอกสะกดใจ, สะกดอารมณ์ สะกดอกสะกดใจ เขียนว่า สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ-กอ-ไก่-ดอ-เด็ก-ออ-อ่าง-กอ-ไก่-สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ-กอ-ไก่-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-ไอ-ไม้-ม้วน-จอ-จาน สะกดอารมณ์ เขียนว่า สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ-กอ-ไก่-ดอ-เด็ก-ออ-อ่าง-สะ-หระ-อา-รอ-เรือ-มอ-ม้า-นอ-เนน-ทัน-ทะ-คาด | เป็นคำกริยา หมายถึง ข่มอารมณ์มิให้หวั่นไหวต่อเหตุการณ์ที่ผ่านไปแล้วหรือที่กำลังประสบ. | สะกดอกสะกดใจ, สะกดอารมณ์ ก. ข่มอารมณ์มิให้หวั่นไหวต่อเหตุการณ์ที่ผ่านไปแล้วหรือที่กำลังประสบ. |
สะกอ เขียนว่า สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ-กอ-ไก่-ออ-อ่าง | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ตะกอ, หนุ่ม, รุ่น, ในคำว่า หนุ่มสะกอ รุ่นสะกอ; รวมอยู่เป็นพวก ๆ. ในวงเล็บ มาจากภาษาเขมร สรกอ เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-กอ-ไก่-ออ-อ่าง ว่า รุ่นราวคราวเดียวกัน . | สะกอ ว. ตะกอ, หนุ่ม, รุ่น, ในคำว่า หนุ่มสะกอ รุ่นสะกอ; รวมอยู่เป็นพวก ๆ. (ข. สรกอ ว่า รุ่นราวคราวเดียวกัน). |
สะกาง เขียนว่า สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ-กอ-ไก่-สะ-หระ-อา-งอ-งู | เป็นคำนาม หมายถึง เครื่องดักจระเข้อย่างหนึ่ง มีเงี่ยง ๒ ข้าง สําหรับผูกเหยื่อลอยนํ้าไว้; เครื่องล่อใจ เช่น สินสะกาง; ตะกาง ก็เรียก. | สะกาง น. เครื่องดักจระเข้อย่างหนึ่ง มีเงี่ยง ๒ ข้าง สําหรับผูกเหยื่อลอยนํ้าไว้; เครื่องล่อใจ เช่น สินสะกาง; ตะกาง ก็เรียก. |
สะการะ เขียนว่า สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ-กอ-ไก่-สะ-หระ-อา-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ | เป็นคำนาม หมายถึง ดอกไม้. ในวงเล็บ มาจากภาษาชวา . | สะการะ น. ดอกไม้. (ช.). |
สะการะตาหรา เขียนว่า สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ-กอ-ไก่-สะ-หระ-อา-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อา-หอ-หีบ-รอ-เรือ-สะ-หระ-อา | เป็นคำนาม หมายถึง ดอกกรรณิการ์. ในวงเล็บ มาจากภาษาชวา . | สะการะตาหรา น. ดอกกรรณิการ์. (ช.). |
สะกิด เขียนว่า สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ-กอ-ไก่-สะ-หระ-อิ-ดอ-เด็ก | เป็นคำกริยา หมายถึง เอาปลายเล็บหรือสิ่งที่คล้ายคลึงกันเขี่ยหรือแคะแต่เบา ๆ เพื่อให้รู้ตัวหรือเพื่อให้หลุดหรือให้แตกออกเป็นต้น เช่น เอามือสะกิดสีข้าง ใช้เข็มสะกิดฝีให้หนองออก; โดยปริยายหมายความว่า เตือนให้นึกถึง. | สะกิด ก. เอาปลายเล็บหรือสิ่งที่คล้ายคลึงกันเขี่ยหรือแคะแต่เบา ๆ เพื่อให้รู้ตัวหรือเพื่อให้หลุดหรือให้แตกออกเป็นต้น เช่น เอามือสะกิดสีข้าง ใช้เข็มสะกิดฝีให้หนองออก; โดยปริยายหมายความว่า เตือนให้นึกถึง. |
สะกิดใจ เขียนว่า สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ-กอ-ไก่-สะ-หระ-อิ-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-ไอ-ไม้-ม้วน-จอ-จาน | เป็นคำกริยา หมายถึง ฉุกคิดถึงเหตุการณ์หรือถ้อยคำที่เคยได้เห็นหรือได้ยินมา เช่น คำพูดของเขาสะกิดใจฉัน เมื่อได้ยินเขาพูดเรื่องเงิน ก็รู้สึกสะกิดใจว่าเขาจะมาทวงหนี้. | สะกิดใจ ก. ฉุกคิดถึงเหตุการณ์หรือถ้อยคำที่เคยได้เห็นหรือได้ยินมา เช่น คำพูดของเขาสะกิดใจฉัน เมื่อได้ยินเขาพูดเรื่องเงิน ก็รู้สึกสะกิดใจว่าเขาจะมาทวงหนี้. |
สะกิดสะเกา เขียนว่า สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ-กอ-ไก่-สะ-หระ-อิ-ดอ-เด็ก-สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-กอ-ไก่-สะ-หระ-อา | เป็นคำกริยา หมายถึง สะกิดบ่อย ๆ, โดยปริยายหมายถึงพูดหรือทำให้กระทบใจบ่อย ๆ เช่น เรื่องนี้จบไปแล้วจะสะกิดสะเกาขึ้นมาทำไม. | สะกิดสะเกา ก. สะกิดบ่อย ๆ, โดยปริยายหมายถึงพูดหรือทำให้กระทบใจบ่อย ๆ เช่น เรื่องนี้จบไปแล้วจะสะกิดสะเกาขึ้นมาทำไม. |
สะเก็ด เขียนว่า สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-กอ-ไก่-ไม้-ไต่-คู้-ดอ-เด็ก | เป็นคำนาม หมายถึง ชิ้นย่อยของไม้หรือหินเป็นต้นที่ตัดหรือแยกออกจากส่วนใหญ่ เช่น สะเก็ดไม้; เลือดและนํ้าเหลืองซึ่งแห้งติดกรังอยู่ที่ปากแผล เช่น สะเก็ดแผล; โดยปริยายหมายความว่า เศษเล็กเศษน้อยซึ่งมีค่าตํ่ากว่ามาตรฐาน, เลว, เช่น คนสะเก็ดอย่างนั้น ใครจะคบด้วย. | สะเก็ด น. ชิ้นย่อยของไม้หรือหินเป็นต้นที่ตัดหรือแยกออกจากส่วนใหญ่ เช่น สะเก็ดไม้; เลือดและนํ้าเหลืองซึ่งแห้งติดกรังอยู่ที่ปากแผล เช่น สะเก็ดแผล; โดยปริยายหมายความว่า เศษเล็กเศษน้อยซึ่งมีค่าตํ่ากว่ามาตรฐาน, เลว, เช่น คนสะเก็ดอย่างนั้น ใครจะคบด้วย. |
สะเก็ดตีนเมรุ เขียนว่า สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-กอ-ไก่-ไม้-ไต่-คู้-ดอ-เด็ก-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อี-นอ-หนู-สะ-หระ-เอ-มอ-ม้า-รอ-เรือ-สะ-หระ-อุ | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาปาก เป็นคำกริยา หมายถึง เลวมาก, ไม่มีค่า, เช่น เขาเป็นพวกสะเก็ดตีนเมรุ จะอบรมสั่งสอนอย่างไรก็ไม่ได้ดี. | สะเก็ดตีนเมรุ (ปาก) ก. เลวมาก, ไม่มีค่า, เช่น เขาเป็นพวกสะเก็ดตีนเมรุ จะอบรมสั่งสอนอย่างไรก็ไม่ได้ดี. |
สะแก เขียนว่า สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-แอ-กอ-ไก่ ความหมายที่ ๑ | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อไม้ต้นชนิด Combretum quadrangulare Kurz ในวงศ์ Combretaceae นิยมใช้ทําฟืน เมล็ดใช้ทํายาได้. | สะแก ๑ น. ชื่อไม้ต้นชนิด Combretum quadrangulare Kurz ในวงศ์ Combretaceae นิยมใช้ทําฟืน เมล็ดใช้ทํายาได้. |
สะแกวัลย์ เขียนว่า สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-แอ-กอ-ไก่-วอ-แหวน-ไม้-หัน-อา-กาด-ลอ-ลิง-ยอ-ยัก-ทัน-ทะ-คาด | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อไม้เถาเนื้อแข็งชนิด Combretum punctatum Blume ในวงศ์ Combretaceae. | สะแกวัลย์ น. ชื่อไม้เถาเนื้อแข็งชนิด Combretum punctatum Blume ในวงศ์ Combretaceae. |
สะแก เขียนว่า สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-แอ-กอ-ไก่ ความหมายที่ ๒ | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อการพนันชนิดหนึ่งคล้ายสกา. | สะแก ๒ น. ชื่อการพนันชนิดหนึ่งคล้ายสกา. |
สะแกแสง เขียนว่า สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-แอ-กอ-ไก่-สะ-หระ-แอ-สอ-เสือ-งอ-งู | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อไม้ต้นชนิด Cananga latifolia Finet et Gagnep. ในวงศ์ Annonaceae ใช้ทํายาได้. | สะแกแสง น. ชื่อไม้ต้นชนิด Cananga latifolia Finet et Gagnep. ในวงศ์ Annonaceae ใช้ทํายาได้. |
สะคร้อ เขียนว่า สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ-คอ-ควาย-รอ-เรือ-ไม้-โท-ออ-อ่าง | ดู ตะคร้อ เขียนว่า ตอ-เต่า-สะ-หระ-อะ-คอ-ควาย-รอ-เรือ-ไม้-โท-ออ-อ่าง. | สะคร้อ ดู ตะคร้อ. |
สะคราญ เขียนว่า สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ-คอ-ควาย-รอ-เรือ-สะ-หระ-อา-ยอ-หยิง | เป็นคำนาม หมายถึง หญิงงาม เช่น โฉมสะคราญ. เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง งาม, สวย, เช่น สะคราญตา สะคราญใจ. | สะคราญ น. หญิงงาม เช่น โฉมสะคราญ. ว. งาม, สวย, เช่น สะคราญตา สะคราญใจ. |
สะค้าน เขียนว่า สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ-คอ-ควาย-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-นอ-หนู | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อไม้เถาชนิดหนึ่งในสกุล Piper วงศ์ Piperaceae ใช้ทํายาได้, ตะค้าน ก็เรียก. | สะค้าน น. ชื่อไม้เถาชนิดหนึ่งในสกุล Piper วงศ์ Piperaceae ใช้ทํายาได้, ตะค้าน ก็เรียก. |
สะเงาะสะแงะ เขียนว่า สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-งอ-งู-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-อะ-สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-แอ-งอ-งู-สะ-หระ-อะ | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง เปะปะอย่างคนเมา เช่น เดินสะเงาะสะแงะ พูดจาสะเงาะสะแงะ. | สะเงาะสะแงะ ว. เปะปะอย่างคนเมา เช่น เดินสะเงาะสะแงะ พูดจาสะเงาะสะแงะ. |
สะใจ เขียนว่า สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-ไอ-ไม้-ม้วน-จอ-จาน | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง หนําใจ, สาแก่ใจ, สมใจอยาก, เช่น อยากกินหูฉลามมานานแล้ว วันนี้ต้องกินให้สะใจเสียที เขาโมโหน้องมาก เลยตีเสียสะใจ. | สะใจ ว. หนําใจ, สาแก่ใจ, สมใจอยาก, เช่น อยากกินหูฉลามมานานแล้ว วันนี้ต้องกินให้สะใจเสียที เขาโมโหน้องมาก เลยตีเสียสะใจ. |
สะดม เขียนว่า สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ-ดอ-เด็ก-มอ-ม้า | เป็นคำกริยา หมายถึง ปล้นโดยใช้วิธีรมยาให้เจ้าของทรัพย์หลับสนิทไม่รู้สึกตัว, ใช้เข้าคู่กับคำ ปล้น เป็น ปล้นสะดม. ในวงเล็บ มาจากภาษาเขมร สณฺฎํ เขียนว่า สอ-เสือ-นอ-เนน-พิน-ทุ-ดอ-ชะ-ดา-นิก-คะ-หิด. | สะดม ก. ปล้นโดยใช้วิธีรมยาให้เจ้าของทรัพย์หลับสนิทไม่รู้สึกตัว, ใช้เข้าคู่กับคำ ปล้น เป็น ปล้นสะดม. (ข. สณฺฎํ). |
สะดวก เขียนว่า สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ-ดอ-เด็ก-วอ-แหวน-กอ-ไก่ | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง คล่อง, ไม่ติดขัด, เช่น ทางสะดวก การเดินทางสมัยนี้สะดวกกว่าสมัยก่อน, มักใช้เข้าคู่กับคำ สบาย เป็น สะดวกสบาย. | สะดวก ว. คล่อง, ไม่ติดขัด, เช่น ทางสะดวก การเดินทางสมัยนี้สะดวกกว่าสมัยก่อน, มักใช้เข้าคู่กับคำ สบาย เป็น สะดวกสบาย. |
สะดัก, สังดัก สะดัก เขียนว่า สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ-ดอ-เด็ก-ไม้-หัน-อา-กาด-กอ-ไก่ สังดัก เขียนว่า สอ-เสือ-ไม้-หัน-อา-กาด-งอ-งู-ดอ-เด็ก-ไม้-หัน-อา-กาด-กอ-ไก่ | เป็นคำกริยา หมายถึง คอย, กั้นไว้. | สะดัก, สังดัก ก. คอย, กั้นไว้. |
สะดิ้ง เขียนว่า สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-อิ-ไม้-โท-งอ-งู | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาปาก เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ดัดจริตดีดดิ้น เช่น ทำเป็นสะดิ้งไปได้ อย่าสะดิ้งให้มากนัก, สะดุ้งสะดิ้ง ก็ว่า. | สะดิ้ง (ปาก) ว. ดัดจริตดีดดิ้น เช่น ทำเป็นสะดิ้งไปได้ อย่าสะดิ้งให้มากนัก, สะดุ้งสะดิ้ง ก็ว่า. |
สะดึง เขียนว่า สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-อึ-งอ-งู | เป็นคำนาม หมายถึง กรอบไม้สําหรับขึงผ้าที่จะเย็บเป็นจีวร, กรอบไม้หรือไม้แบบสําหรับขึงผ้าในเวลาปักดิ้นหรือไหมเป็นต้น, ขอบไม้สําหรับขึงเปล มี ๔ ด้าน. | สะดึง น. กรอบไม้สําหรับขึงผ้าที่จะเย็บเป็นจีวร, กรอบไม้หรือไม้แบบสําหรับขึงผ้าในเวลาปักดิ้นหรือไหมเป็นต้น, ขอบไม้สําหรับขึงเปล มี ๔ ด้าน. |
สะดือ เขียนว่า สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-อือ-ออ-อ่าง | เป็นคำนาม หมายถึง ส่วนของร่างกายอยู่ตรงกลางพื้นท้องเป็นรูหวําเข้าไป. | สะดือ น. ส่วนของร่างกายอยู่ตรงกลางพื้นท้องเป็นรูหวําเข้าไป. |
สะดือจุ่น เขียนว่า สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-อือ-ออ-อ่าง-จอ-จาน-สะ-หระ-อุ-ไม้-เอก-นอ-หนู | เป็นคำนาม หมายถึง สะดือที่มีลักษณะโปนออกมา. | สะดือจุ่น น. สะดือที่มีลักษณะโปนออกมา. |
สะดือทะเล เขียนว่า สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-อือ-ออ-อ่าง-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-ลอ-ลิง | เป็นคำนาม หมายถึง บริเวณทะเลตอนที่มีน้ำไหลวนเป็นเกลียวลึกลงไปซึ่งถือกันว่าเป็นศูนย์กลางของทะเล. | สะดือทะเล น. บริเวณทะเลตอนที่มีน้ำไหลวนเป็นเกลียวลึกลงไปซึ่งถือกันว่าเป็นศูนย์กลางของทะเล. |
สะดืออ่าง เขียนว่า สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-อือ-ออ-อ่าง-ออ-อ่าง-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา-งอ-งู | เป็นคำนาม หมายถึง รูเหนือท่อน้ำทิ้งที่อ่างล้างหน้าหรืออ่างอาบน้ำเป็นต้น สำหรับให้น้ำไหลลงสู่ท่อน้ำทิ้ง. | สะดืออ่าง น. รูเหนือท่อน้ำทิ้งที่อ่างล้างหน้าหรืออ่างอาบน้ำเป็นต้น สำหรับให้น้ำไหลลงสู่ท่อน้ำทิ้ง. |
สะดุ้ง เขียนว่า สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-อุ-ไม้-โท-งอ-งู ความหมายที่ ๑ | เป็นคำกริยา หมายถึง ไหวตัวขึ้นทันทีด้วยความตกใจ เพราะไม่ทันรู้ตัวหรือไม่ได้นึกคาดหมายไว้เป็นต้น เช่น เมื่อได้ยินเสียงระเบิดก็สะดุ้งสุดตัว. | สะดุ้ง ๑ ก. ไหวตัวขึ้นทันทีด้วยความตกใจ เพราะไม่ทันรู้ตัวหรือไม่ได้นึกคาดหมายไว้เป็นต้น เช่น เมื่อได้ยินเสียงระเบิดก็สะดุ้งสุดตัว. |
สะดุ้งมาร เขียนว่า สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-อุ-ไม้-โท-งอ-งู-มอ-ม้า-สะ-หระ-อา-รอ-เรือ | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาปาก เป็นคำนาม หมายถึง เรียกพระพุทธรูปปางมารวิชัย คือ ปางชนะมาร ว่า พระสะดุ้งมาร. | สะดุ้งมาร (ปาก) น. เรียกพระพุทธรูปปางมารวิชัย คือ ปางชนะมาร ว่า พระสะดุ้งมาร. |
สะดุ้งสะเทือน เขียนว่า สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-อุ-ไม้-โท-งอ-งู-สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อือ-ออ-อ่าง-นอ-หนู | เป็นคำกริยา หมายถึง หวั่นไหว, เดือดร้อน, กังวลใจ, มักใช้ในความปฏิเสธ เช่น ใครจะนินทาว่าร้ายอย่างไรก็ไม่สะดุ้งสะเทือน มหาเศรษฐีเสียเงินล้านสองล้านไม่สะดุ้งสะเทือนหรอก. | สะดุ้งสะเทือน ก. หวั่นไหว, เดือดร้อน, กังวลใจ, มักใช้ในความปฏิเสธ เช่น ใครจะนินทาว่าร้ายอย่างไรก็ไม่สะดุ้งสะเทือน มหาเศรษฐีเสียเงินล้านสองล้านไม่สะดุ้งสะเทือนหรอก. |
สะดุ้ง เขียนว่า สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-อุ-ไม้-โท-งอ-งู ความหมายที่ ๒ | เป็นคำนาม หมายถึง เครื่องมือจับสัตว์นํ้าชนิดหนึ่ง รูปร่างคล้ายยอยก, อีสานเรียก กะดุ้ง. | สะดุ้ง ๒ น. เครื่องมือจับสัตว์นํ้าชนิดหนึ่ง รูปร่างคล้ายยอยก, อีสานเรียก กะดุ้ง. |
สะดุ้งสะดิ้ง เขียนว่า สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-อุ-ไม้-โท-งอ-งู-สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-อิ-ไม้-โท-งอ-งู | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ดัดจริตดีดดิ้น, สะดิ้ง ก็ว่า. | สะดุ้งสะดิ้ง ว. ดัดจริตดีดดิ้น, สะดิ้ง ก็ว่า. |
สะดุด เขียนว่า สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-อุ-ดอ-เด็ก ความหมายที่ ๑ | เป็นคำกริยา หมายถึง อาการที่เดินหรือวิ่ง ปลายเท้าไปกระทบสิ่งที่ขวางหน้า ทําให้ก้าวผิดจังหวะ เซ ถลา หรือหกล้ม เป็นต้น เช่น เขาสะดุดก้อนหินล้มลง เด็กวิ่งไปสะดุดตอไม้. | สะดุด ๑ ก. อาการที่เดินหรือวิ่ง ปลายเท้าไปกระทบสิ่งที่ขวางหน้า ทําให้ก้าวผิดจังหวะ เซ ถลา หรือหกล้ม เป็นต้น เช่น เขาสะดุดก้อนหินล้มลง เด็กวิ่งไปสะดุดตอไม้. |
สะดุดขาตัวเอง เขียนว่า สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-อุ-ดอ-เด็ก-ขอ-ไข่-สะ-หระ-อา-ตอ-เต่า-ไม้-หัน-อา-กาด-วอ-แหวน-สะ-หระ-เอ-ออ-อ่าง-งอ-งู | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นสำนวน เป็นคำกริยา หมายถึง ทำผิดหลักเกณฑ์ที่ตนกำหนดไว้เอง. | สะดุดขาตัวเอง (สำ) ก. ทำผิดหลักเกณฑ์ที่ตนกำหนดไว้เอง. |
สะดุดใจ เขียนว่า สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-อุ-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-ไอ-ไม้-ม้วน-จอ-จาน | เป็นคำกริยา หมายถึง ฉุกคิดขึ้นมาได้, ฉุกใจได้คิดเมื่อมีบางสิ่งบางอย่างมากระทบใจทำให้รู้สึกสงสัยตงิด ๆ. | สะดุดใจ ก. ฉุกคิดขึ้นมาได้, ฉุกใจได้คิดเมื่อมีบางสิ่งบางอย่างมากระทบใจทำให้รู้สึกสงสัยตงิด ๆ. |
สะดุดตา เขียนว่า สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-อุ-ดอ-เด็ก-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อา | เป็นคำกริยา หมายถึง กระทบตาชวนให้มอง เช่น ผู้หญิงคนนี้สวยสะดุดตาจริง ๆ วันนี้เขาใส่เสื้อสีสะดุดตา, ชวนให้สนใจ เช่น เขามีบุคลิกลักษณะเด่นกว่าคนอื่น ๆ เห็นแล้วรู้สึกสะดุดตาทีเดียว, ที่เห็นเด่นชัด เช่น ร้านอาหารร้านนี้ทาสีแดง สะดุดตาแต่ไกล. | สะดุดตา ก. กระทบตาชวนให้มอง เช่น ผู้หญิงคนนี้สวยสะดุดตาจริง ๆ วันนี้เขาใส่เสื้อสีสะดุดตา, ชวนให้สนใจ เช่น เขามีบุคลิกลักษณะเด่นกว่าคนอื่น ๆ เห็นแล้วรู้สึกสะดุดตาทีเดียว, ที่เห็นเด่นชัด เช่น ร้านอาหารร้านนี้ทาสีแดง สะดุดตาแต่ไกล. |
สะดุดหู เขียนว่า สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-อุ-ดอ-เด็ก-หอ-หีบ-สะ-หระ-อู | เป็นคำกริยา หมายถึง กระทบหูชวนให้อยากฟัง หรือรู้สึกเคลือบแคลงใจเป็นต้น เช่น ได้ยินเสียงเพลงเขมรไทรโยค รู้สึกสะดุดหูทำให้นึกถึงความหลัง ได้ยินเสียงคนพาลพูดแขวะ รู้สึกสะดุดหูทันที. | สะดุดหู ก. กระทบหูชวนให้อยากฟัง หรือรู้สึกเคลือบแคลงใจเป็นต้น เช่น ได้ยินเสียงเพลงเขมรไทรโยค รู้สึกสะดุดหูทำให้นึกถึงความหลัง ได้ยินเสียงคนพาลพูดแขวะ รู้สึกสะดุดหูทันที. |
สะดุด ๒, สะดุด ๆ สะดุด ความหมายที่ ๒ เขียนว่า สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-อุ-ดอ-เด็ก สะดุด ๆ เขียนว่า สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-อุ-ดอ-เด็ก ไม้-ยะ-มก | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ไม่ราบเรียบ (ใช้แก่ภาษาหนังสือทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง) เช่น เรียงความสำนวนนี้อ่านสะดุด ๆ, ตะกุกตะกัก เช่น เด็กคนนี้ยังอ่านหนังสือสะดุดมาก, ไม่สม่ำเสมอ เช่น เครื่องจักรเดินสะดุด ๆ. | สะดุด ๒, สะดุด ๆ ว. ไม่ราบเรียบ (ใช้แก่ภาษาหนังสือทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง) เช่น เรียงความสำนวนนี้อ่านสะดุด ๆ, ตะกุกตะกัก เช่น เด็กคนนี้ยังอ่านหนังสือสะดุดมาก, ไม่สม่ำเสมอ เช่น เครื่องจักรเดินสะดุด ๆ. |
สะเด็ด ๑, สะเด็ดน้ำ สะเด็ด ความหมายที่ ๑ เขียนว่า สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-ดอ-เด็ก-ไม้-ไต่-คู้-ดอ-เด็ก สะเด็ดน้ำ เขียนว่า สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-ดอ-เด็ก-ไม้-ไต่-คู้-ดอ-เด็ก-นอ-หนู-ไม้-โท-สะ-หระ-อำ | เป็นคำกริยา หมายถึง ทำให้น้ำหยุดหยดหรือหยุดไหลโดยวิธีรินหรือสงเป็นต้น เช่น เช็ดน้ำข้าวให้สะเด็ดน้ำ สงถั่วงอกให้สะเด็ดน้ำ. | สะเด็ด ๑, สะเด็ดน้ำ ก. ทำให้น้ำหยุดหยดหรือหยุดไหลโดยวิธีรินหรือสงเป็นต้น เช่น เช็ดน้ำข้าวให้สะเด็ดน้ำ สงถั่วงอกให้สะเด็ดน้ำ. |
สะเด็ด เขียนว่า สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-ดอ-เด็ก-ไม้-ไต่-คู้-ดอ-เด็ก ความหมายที่ ๒ | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาปาก เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง อย่างยิ่ง เช่น กับข้าววันนี้อร่อยสะเด็ด. | สะเด็ด ๒ (ปาก) ว. อย่างยิ่ง เช่น กับข้าววันนี้อร่อยสะเด็ด. |
สะเด็ดยาด เขียนว่า สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-ดอ-เด็ก-ไม้-ไต่-คู้-ดอ-เด็ก-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-ดอ-เด็ก | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาปาก เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง อย่างที่สุด เช่น ผู้หญิงคนนั้นสวยสะเด็ดยาด. | สะเด็ดยาด (ปาก) ว. อย่างที่สุด เช่น ผู้หญิงคนนั้นสวยสะเด็ดยาด. |
สะเด็ด เขียนว่า สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-ดอ-เด็ก-ไม้-ไต่-คู้-ดอ-เด็ก ความหมายที่ ๓ | ดู หมอ เขียนว่า หอ-หีบ-มอ-ม้า-ออ-อ่าง ความหมายที่ ๒. | สะเด็ด ๓ ดู หมอ ๒. |
สะเดา เขียนว่า สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-อา | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อไม้ต้นชนิด Azadirachta indica Juss. var. siamensis Valeton ในวงศ์ Meliaceae ใบมีรสขม ใบอ่อนและช่อดอกกินได้และใช้ทํายาได้. | สะเดา น. ชื่อไม้ต้นชนิด Azadirachta indica Juss. var. siamensis Valeton ในวงศ์ Meliaceae ใบมีรสขม ใบอ่อนและช่อดอกกินได้และใช้ทํายาได้. |
สะเดาอินเดีย เขียนว่า สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-อา-ออ-อ่าง-สะ-หระ-อิ-นอ-หนู-สะ-หระ-เอ-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อไม้ต้นชนิด Azadirachta indica Juss. var. indica Juss. ในวงศ์ Meliaceae ใบมีรสขม ใบอ่อนและช่อดอกกินได้และใช้ทํายาได้, ชาวบ้านเข้าใจว่าเป็นชนิดเดียวกับต้นซิงโคนาที่ใช้เปลือกสกัดเป็นยาควินิน. | สะเดาอินเดีย น. ชื่อไม้ต้นชนิด Azadirachta indica Juss. var. indica Juss. ในวงศ์ Meliaceae ใบมีรสขม ใบอ่อนและช่อดอกกินได้และใช้ทํายาได้, ชาวบ้านเข้าใจว่าเป็นชนิดเดียวกับต้นซิงโคนาที่ใช้เปลือกสกัดเป็นยาควินิน. |
สะเดาดิน เขียนว่า สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-อา-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-อิ-นอ-หนู | เป็นคำนาม หมายถึง (๑) ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Hydrolea zeylanica (L.) Vahl ในวงศ์ Hydrophyllaceae ขึ้นในนา ใบยาวคล้ายหญ้า. (๒) ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Lobelia alsinoides Lam. ในวงศ์ Campanulaceae ต้นเล็กกว่าชนิดแรก ใบค่อนข้างป้อม. (๓) ดู ขวง เขียนว่า ขอ-ไข่-วอ-แหวน-งอ-งู ความหมายที่ ๑. | สะเดาดิน น. (๑) ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Hydrolea zeylanica (L.) Vahl ในวงศ์ Hydrophyllaceae ขึ้นในนา ใบยาวคล้ายหญ้า. (๒) ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Lobelia alsinoides Lam. ในวงศ์ Campanulaceae ต้นเล็กกว่าชนิดแรก ใบค่อนข้างป้อม. (๓) ดู ขวง ๑. |
สะเดาะ เขียนว่า สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-อะ | เป็นคำกริยา หมายถึง ทําให้หลุดออกมาด้วยคาถาอาคม เช่น สะเดาะโซ่ตรวน สะเดาะกุญแจ; ทำให้หมดสิ้นไปหรือเบาบางลง เช่น ทำบุญสะเดาะเคราะห์ ปล่อยนกปล่อยปลาสะเดาะเคราะห์. | สะเดาะ ก. ทําให้หลุดออกมาด้วยคาถาอาคม เช่น สะเดาะโซ่ตรวน สะเดาะกุญแจ; ทำให้หมดสิ้นไปหรือเบาบางลง เช่น ทำบุญสะเดาะเคราะห์ ปล่อยนกปล่อยปลาสะเดาะเคราะห์. |
สะตอ เขียนว่า สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ-ตอ-เต่า-ออ-อ่าง | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อไม้ต้นชนิด Parkia speciosa Hassk. ในวงศ์ Leguminosae ฝักแบน เมล็ดในกินได้ มีมากทางภาคใต้. | สะตอ น. ชื่อไม้ต้นชนิด Parkia speciosa Hassk. ในวงศ์ Leguminosae ฝักแบน เมล็ดในกินได้ มีมากทางภาคใต้. |
สะตอเบา เขียนว่า สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ-ตอ-เต่า-ออ-อ่าง-สะ-หระ-เอ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อา | ดู กระถิน เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ถอ-ถุง-สะ-หระ-อิ-นอ-หนู. | สะตอเบา ดู กระถิน. |
สะตาหมัน เขียนว่า สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อา-หอ-หีบ-มอ-ม้า-ไม้-หัน-อา-กาด-นอ-หนู | เป็นคำนาม หมายถึง สวน. ในวงเล็บ มาจากภาษาชวา สะ เขียนว่า สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ ว่า หนึ่ง, ตาหมัน ว่า สวน . | สะตาหมัน น. สวน. (ช. สะ ว่า หนึ่ง, ตาหมัน ว่า สวน). |
สะตึ, สะตึ ๆ สะตึ เขียนว่า สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อึ สะตึ ๆ เขียนว่า สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อึ ไม้-ยะ-มก | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาปาก เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ไม่มีอะไรดี, ไม่ได้เรื่อง, ไม่มีค่า, เช่น หนังเรื่องนี้สะตึดูแล้วเสียดายเงิน ของสะตึ ๆ อย่างนี้ไม่ซื้อหรอก. | สะตึ, สะตึ ๆ (ปาก) ว. ไม่มีอะไรดี, ไม่ได้เรื่อง, ไม่มีค่า, เช่น หนังเรื่องนี้สะตึดูแล้วเสียดายเงิน ของสะตึ ๆ อย่างนี้ไม่ซื้อหรอก. |
สะตือ เขียนว่า สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อือ-ออ-อ่าง ความหมายที่ ๑ | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อไม้ต้นชนิด Crudia chrysantha Schum. ในวงศ์ Leguminosae ฝักแบนกลม ใช้ทํายาได้. | สะตือ ๑ น. ชื่อไม้ต้นชนิด Crudia chrysantha Schum. ในวงศ์ Leguminosae ฝักแบนกลม ใช้ทํายาได้. |
สะตือ เขียนว่า สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อือ-ออ-อ่าง ความหมายที่ ๒ | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Notopterus borneensis ในวงศ์ Notopteridae รูปร่างคล้ายปลากราย แต่ไม่มีจุดดําเด่น มีจุดสีนํ้าตาลกระจายอยู่ทั่วตัว. | สะตือ ๒ น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Notopterus borneensis ในวงศ์ Notopteridae รูปร่างคล้ายปลากราย แต่ไม่มีจุดดําเด่น มีจุดสีนํ้าตาลกระจายอยู่ทั่วตัว. |
สะตุ เขียนว่า สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อุ | เป็นคำกริยา หมายถึง แปรรูปลักษณะของบางอย่าง เช่นเกลือ สารส้ม จุนสี ให้เป็นผงบริสุทธิ์โดยวิธีทําให้ร้อนจัดด้วยไฟ เพื่อให้สิ่งที่ไม่ต้องการสลายกลายเป็นควันไป. | สะตุ ก. แปรรูปลักษณะของบางอย่าง เช่นเกลือ สารส้ม จุนสี ให้เป็นผงบริสุทธิ์โดยวิธีทําให้ร้อนจัดด้วยไฟ เพื่อให้สิ่งที่ไม่ต้องการสลายกลายเป็นควันไป. |
สะเต๊ะ เขียนว่า สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-ตอ-เต่า-ไม้-ตรี-สะ-หระ-อะ | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง ใช้เนื้อหมูหรือเนื้อวัวเป็นต้นที่ปรุงรสแล้วเสียบไม้ย่างไฟ กินกับนํ้าจิ้มและอาจาด. | สะเต๊ะ น. ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง ใช้เนื้อหมูหรือเนื้อวัวเป็นต้นที่ปรุงรสแล้วเสียบไม้ย่างไฟ กินกับนํ้าจิ้มและอาจาด. |
สะโตก เขียนว่า สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-โอ-ตอ-เต่า-กอ-ไก่ | เป็นคำนาม หมายถึง ขันโตก. | สะโตก น. ขันโตก. |
สะทกสะท้าน เขียนว่า สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-กอ-ไก่-สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-นอ-หนู | เป็นคำกริยา หมายถึง รู้สึกเกรงกลัว, รู้สึกเกรงกลัวจนตัวสั่น, เช่น เขาข่มขู่ฉันเสียจนสะทกสะท้านพูดไม่ถูก เธอตอบคำถามผู้บังคับบัญชาอย่างไม่สะทกสะท้าน. | สะทกสะท้าน ก. รู้สึกเกรงกลัว, รู้สึกเกรงกลัวจนตัวสั่น, เช่น เขาข่มขู่ฉันเสียจนสะทกสะท้านพูดไม่ถูก เธอตอบคำถามผู้บังคับบัญชาอย่างไม่สะทกสะท้าน. |
สะทน เขียนว่า สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-นอ-หนู | เป็นคำกริยา หมายถึง สะท้อน, หวั่นไหว. | สะทน ก. สะท้อน, หวั่นไหว. |
สะท้อน เขียนว่า สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-ไม้-โท-ออ-อ่าง-นอ-หนู ความหมายที่ ๑ | เป็นคำกริยา หมายถึง วกกลับ, ย้อนกลับ, เช่น แสงสะท้อน เสียงสะท้อน, โดยปริยายหมายความว่า แสดงให้เห็นภาพหรือลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น นวนิยายสะท้อนภาพสังคม ละครสะท้อนชีวิตจริง. | สะท้อน ๑ ก. วกกลับ, ย้อนกลับ, เช่น แสงสะท้อน เสียงสะท้อน, โดยปริยายหมายความว่า แสดงให้เห็นภาพหรือลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น นวนิยายสะท้อนภาพสังคม ละครสะท้อนชีวิตจริง. |
สะท้อนใจ เขียนว่า สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-ไม้-โท-ออ-อ่าง-นอ-หนู-สะ-หระ-ไอ-ไม้-ม้วน-จอ-จาน | เป็นคำกริยา หมายถึง อาการที่หายใจแรงขึ้น ๆ ลง ๆ เพราะอารมณ์สะเทือนใจเป็นต้น. | สะท้อนใจ ก. อาการที่หายใจแรงขึ้น ๆ ลง ๆ เพราะอารมณ์สะเทือนใจเป็นต้น. |
สะท้อน เขียนว่า สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-ไม้-โท-ออ-อ่าง-นอ-หนู ความหมายที่ ๒ | ดู กระท้อน เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-ไม้-โท-ออ-อ่าง-นอ-หนู ความหมายที่ ๑. | สะท้อน ๒ ดู กระท้อน ๑. |
สะท้าน เขียนว่า สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-นอ-หนู | เป็นคำกริยา หมายถึง รู้สึกเย็นเยือกเข้าหัวใจ ทําให้ครั่นคร้าม หรือหวั่นกลัวจนตัวสั่น เช่น เห็นไฟไหม้แล้วสะท้าน, หนาวสั่น เช่น หนาวสะท้านเหมือนจะเป็นไข้ หนาวสะท้านเพราะเดินกรำฝนมาหลายชั่วโมง, มักใช้เข้าคู่กับคำ สะทก เป็น สะทกสะท้าน; ดังลั่น, ดังก้อง, สั่นสะเทือน, เช่น เสียงปืนใหญ่ดังสะท้านก้องไปทั้งกรุง. | สะท้าน ก. รู้สึกเย็นเยือกเข้าหัวใจ ทําให้ครั่นคร้าม หรือหวั่นกลัวจนตัวสั่น เช่น เห็นไฟไหม้แล้วสะท้าน, หนาวสั่น เช่น หนาวสะท้านเหมือนจะเป็นไข้ หนาวสะท้านเพราะเดินกรำฝนมาหลายชั่วโมง, มักใช้เข้าคู่กับคำ สะทก เป็น สะทกสะท้าน; ดังลั่น, ดังก้อง, สั่นสะเทือน, เช่น เสียงปืนใหญ่ดังสะท้านก้องไปทั้งกรุง. |
สะทึก เขียนว่า สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อึ-กอ-ไก่ | เป็นคำกริยา หมายถึง ใจเต้นตึก ๆ. | สะทึก ก. ใจเต้นตึก ๆ. |
สะทึน, สะทึ่น สะทึน เขียนว่า สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อึ-นอ-หนู สะทึ่น เขียนว่า สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อึ-ไม้-เอก-นอ-หนู | ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ใจผิดปรกติ, ใจเป็นทุกข์, เช่น พระทองผทมตื่นขึ้น สะทึ่นเที้ยรสระอื้น. ในวงเล็บ มาจาก ลิลิตพระลอ แบบเรียน. | สะทึน, สะทึ่น (กลอน) ว. ใจผิดปรกติ, ใจเป็นทุกข์, เช่น พระทองผทมตื่นขึ้น สะทึ่นเที้ยรสระอื้น. (ลอ). |
สะเทิน เขียนว่า สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อิ-นอ-หนู ความหมายที่ ๑ | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ครึ่ง ๆ กลาง ๆ, กํ้ากึ่ง, เช่น สาวสะเทิน คือ เพิ่งจะขึ้นสาว หรืออยู่ในระหว่างสาวกับเด็กกํ้ากึ่งกัน. | สะเทิน ๑ ว. ครึ่ง ๆ กลาง ๆ, กํ้ากึ่ง, เช่น สาวสะเทิน คือ เพิ่งจะขึ้นสาว หรืออยู่ในระหว่างสาวกับเด็กกํ้ากึ่งกัน. |
สะเทินน้ำสะเทินบก เขียนว่า สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อิ-นอ-หนู-นอ-หนู-ไม้-โท-สะ-หระ-อำ-สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อิ-นอ-หนู-บอ-ไบ-ไม้-กอ-ไก่ | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ที่อยู่ได้หรือปฏิบัติการได้ทั้งในนํ้าและบนบก เช่น การรบสะเทินนํ้าสะเทินบก เรือสะเทินนํ้าสะเทินบก เครื่องบินสะเทินนํ้าสะเทินบก, เรียกสัตว์จําพวกที่อยู่ได้ทั้งในนํ้าและบนบก เช่น กบ คางคก อึ่งอ่าง ว่า สัตว์สะเทินนํ้าสะเทินบก. | สะเทินน้ำสะเทินบก ว. ที่อยู่ได้หรือปฏิบัติการได้ทั้งในนํ้าและบนบก เช่น การรบสะเทินนํ้าสะเทินบก เรือสะเทินนํ้าสะเทินบก เครื่องบินสะเทินนํ้าสะเทินบก, เรียกสัตว์จําพวกที่อยู่ได้ทั้งในนํ้าและบนบก เช่น กบ คางคก อึ่งอ่าง ว่า สัตว์สะเทินนํ้าสะเทินบก. |
สะเทิน เขียนว่า สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อิ-นอ-หนู ความหมายที่ ๒ | ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในเคมี เป็นคำกริยา หมายถึง ทำให้เป็นกลาง เช่น สามารถสะเทินด่างได้. | สะเทิน ๒ (เคมี) ก. ทำให้เป็นกลาง เช่น สามารถสะเทินด่างได้. |
สะเทิน เขียนว่า สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อิ-นอ-หนู ความหมายที่ ๓ | เป็นคำกริยา หมายถึง ไหว, โคลง, เช่น ช้างตัวนี้เดินไม่สะเทิน. | สะเทิน ๓ ก. ไหว, โคลง, เช่น ช้างตัวนี้เดินไม่สะเทิน. |
สะเทิ้น, สะเทิ้นอาย สะเทิ้น เขียนว่า สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อิ-ไม้-โท-นอ-หนู สะเทิ้นอาย เขียนว่า สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อิ-ไม้-โท-นอ-หนู-ออ-อ่าง-สะ-หระ-อา-ยอ-ยัก | เป็นคำกริยา หมายถึง แสดงกิริยาวาจาอย่างขัด ๆ เขิน ๆ เพราะรู้สึกขวยอาย (มักใช้แก่หญิงสาว) เช่น หญิงสาวพอมีผู้ชายชมว่าสวยก็รู้สึกสะเทิ้น หญิงสาวพอมีชายหนุ่มมาจ้องมองก็สะเทิ้นอาย. | สะเทิ้น, สะเทิ้นอาย ก. แสดงกิริยาวาจาอย่างขัด ๆ เขิน ๆ เพราะรู้สึกขวยอาย (มักใช้แก่หญิงสาว) เช่น หญิงสาวพอมีผู้ชายชมว่าสวยก็รู้สึกสะเทิ้น หญิงสาวพอมีชายหนุ่มมาจ้องมองก็สะเทิ้นอาย. |
สะเทือน, สะเทื้อน สะเทือน เขียนว่า สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อือ-ออ-อ่าง-นอ-หนู สะเทื้อน เขียนว่า สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อือ-ไม้-โท-ออ-อ่าง-นอ-หนู | เป็นคำกริยา หมายถึง มีอาการเหมือนไหวหรือสั่นเพราะถูกกระทบกระทั่ง เช่น นั่งรถที่แล่นไปตามทางขรุขระก็รู้สึกสะเทือน เสียงระเบิดทำให้บ้านสะเทือน, โดยปริยายหมายความว่า รู้สึกหวั่นไหว เช่น เขาว่าลูกก็สะเทือนไปถึงแม่ ใครจะว่าอย่างไร ๆ ก็ไม่สะเทือน, กระเทือน ก็ว่า. | สะเทือน, สะเทื้อน ก. มีอาการเหมือนไหวหรือสั่นเพราะถูกกระทบกระทั่ง เช่น นั่งรถที่แล่นไปตามทางขรุขระก็รู้สึกสะเทือน เสียงระเบิดทำให้บ้านสะเทือน, โดยปริยายหมายความว่า รู้สึกหวั่นไหว เช่น เขาว่าลูกก็สะเทือนไปถึงแม่ ใครจะว่าอย่างไร ๆ ก็ไม่สะเทือน, กระเทือน ก็ว่า. |
สะเทือนใจ เขียนว่า สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อือ-ออ-อ่าง-นอ-หนู-สะ-หระ-ไอ-ไม้-ม้วน-จอ-จาน | เป็นคำกริยา หมายถึง มีจิตใจหวั่นไหวอย่างแรงในเมื่อได้ประสบกับสิ่งที่ไม่น่าพอใจ เช่น เห็นภาพแม่กอดศพลูกร้องไห้แล้วรู้สึกสะเทือนใจ. | สะเทือนใจ ก. มีจิตใจหวั่นไหวอย่างแรงในเมื่อได้ประสบกับสิ่งที่ไม่น่าพอใจ เช่น เห็นภาพแม่กอดศพลูกร้องไห้แล้วรู้สึกสะเทือนใจ. |
สะเทือนอารมณ์ เขียนว่า สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อือ-ออ-อ่าง-นอ-หนู-ออ-อ่าง-สะ-หระ-อา-รอ-เรือ-มอ-ม้า-นอ-เนน-ทัน-ทะ-คาด | เป็นคำกริยา หมายถึง มีจิตใจหวั่นไหวอย่างแรงเพราะมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากระทบทำให้รู้สึกเศร้าหมอง เช่น นวนิยายสะเทือนอารมณ์ อ่านเรื่องเศร้าแล้วสะเทือนอารมณ์. | สะเทือนอารมณ์ ก. มีจิตใจหวั่นไหวอย่างแรงเพราะมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากระทบทำให้รู้สึกเศร้าหมอง เช่น นวนิยายสะเทือนอารมณ์ อ่านเรื่องเศร้าแล้วสะเทือนอารมณ์. |
สะบะ เขียนว่า สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อะ | เป็นคำนาม หมายถึง ตะกร้อ. ในวงเล็บ มาจากภาษาชวา . | สะบะ น. ตะกร้อ. (ช.). |
สะบัก เขียนว่า สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-ไม้-หัน-อา-กาด-กอ-ไก่ | เป็นคำนาม หมายถึง กระดูกส่วนที่เป็นฐานรองรับต้นแขน อยู่ถัดบ่าลงไปข้างหลัง ปลายด้านนอกเป็นที่หัวกระดูกต้นแขนเกาะยึด. ในวงเล็บ รูปภาพ สะบัก. | สะบัก น. กระดูกส่วนที่เป็นฐานรองรับต้นแขน อยู่ถัดบ่าลงไปข้างหลัง ปลายด้านนอกเป็นที่หัวกระดูกต้นแขนเกาะยึด. (รูปภาพ สะบัก). |
สะบักจม เขียนว่า สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-ไม้-หัน-อา-กาด-กอ-ไก่-จอ-จาน-มอ-ม้า | เป็นคำกริยา หมายถึง อาการที่ปวดเมื่อยบริเวณสะบักเพราะเลือดเดินไม่สะดวก. | สะบักจม ก. อาการที่ปวดเมื่อยบริเวณสะบักเพราะเลือดเดินไม่สะดวก. |
สะบักสะบอม เขียนว่า สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-ไม้-หัน-อา-กาด-กอ-ไก่-สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-ออ-อ่าง-มอ-ม้า | เป็นคำกริยา หมายถึง บอบชํ้าเต็มที เช่น ถูกชกเสียสะบักสะบอม. | สะบักสะบอม ก. บอบชํ้าเต็มที เช่น ถูกชกเสียสะบักสะบอม. |
สะบัด เขียนว่า สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-ไม้-หัน-อา-กาด-ดอ-เด็ก | เป็นคำกริยา หมายถึง เคลื่อนไหวหรือทําให้เคลื่อนไหวไปมาอย่างเร็วและแรง เพื่อให้สิ่งที่ติดอยู่หลุดไป เช่น หมาสะบัดขนเพื่อให้นํ้าที่ติดอยู่หลุดกระเซ็นไป หรือเพื่อให้หมดทางต่อสู้ดิ้นรน เช่น แมวคาบหนูสะบัดไปมา หรือเพื่อให้เข้าที่ ให้กลับเข้ารูปเดิม เป็นต้น เช่น เขาชอบสะบัดผม สะบัดแขนเสื้อ, เอาใบมีดโกนปัดไปปัดมาบนแผ่นหนังเป็นต้นเพื่อลับให้คม เรียกว่า สะบัดมีดโกน หรือ สะบัดมีด, เรียกอาการของสิ่งเช่นธงเมื่อถูกลมพัดกระพือหรือถูกโบกไปมาเป็นต้นให้ปลิวพลิ้วเกิดเป็นริ้ว ๆ ว่า ธงสะบัด, สลัด ปัด หรือ ฟัด ก็ใช้โดยอนุโลม; โดยปริยายหมายความว่า อย่างมาก, อย่างยิ่ง, เช่น สวยสะบัด โกงสะบัด; ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ หมายถึง ฉ้อโกง, กระบัด ประบัด หรือ ตระบัด ก็ใช้. | สะบัด ก. เคลื่อนไหวหรือทําให้เคลื่อนไหวไปมาอย่างเร็วและแรง เพื่อให้สิ่งที่ติดอยู่หลุดไป เช่น หมาสะบัดขนเพื่อให้นํ้าที่ติดอยู่หลุดกระเซ็นไป หรือเพื่อให้หมดทางต่อสู้ดิ้นรน เช่น แมวคาบหนูสะบัดไปมา หรือเพื่อให้เข้าที่ ให้กลับเข้ารูปเดิม เป็นต้น เช่น เขาชอบสะบัดผม สะบัดแขนเสื้อ, เอาใบมีดโกนปัดไปปัดมาบนแผ่นหนังเป็นต้นเพื่อลับให้คม เรียกว่า สะบัดมีดโกน หรือ สะบัดมีด, เรียกอาการของสิ่งเช่นธงเมื่อถูกลมพัดกระพือหรือถูกโบกไปมาเป็นต้นให้ปลิวพลิ้วเกิดเป็นริ้ว ๆ ว่า ธงสะบัด, สลัด ปัด หรือ ฟัด ก็ใช้โดยอนุโลม; โดยปริยายหมายความว่า อย่างมาก, อย่างยิ่ง, เช่น สวยสะบัด โกงสะบัด; (โบ) ฉ้อโกง, กระบัด ประบัด หรือ ตระบัด ก็ใช้. |
สะบัด ๆ เขียนว่า สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-ไม้-หัน-อา-กาด-ดอ-เด็ก ไม้-ยะ-มก | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง อาการที่พูดห้วน ๆ ไม่มีหางเสียง แสดงความไม่พอใจ เช่น แม่ค้าไม่พอใจที่ลูกค้าต่อราคามากไป จึงพูดสะบัด ๆ. | สะบัด ๆ ว. อาการที่พูดห้วน ๆ ไม่มีหางเสียง แสดงความไม่พอใจ เช่น แม่ค้าไม่พอใจที่ลูกค้าต่อราคามากไป จึงพูดสะบัด ๆ. |
สะบัดก้น เขียนว่า สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-ไม้-หัน-อา-กาด-ดอ-เด็ก-กอ-ไก่-ไม้-โท-นอ-หนู | เป็นคำกริยา หมายถึง อาการที่ลุกผละไปทันทีด้วยความไม่พอใจเป็นต้น เช่น กินแล้วก็สะบัดก้นไป พูดยังไม่ทันรู้เรื่องก็โกรธสะบัดก้นไปแล้ว. | สะบัดก้น ก. อาการที่ลุกผละไปทันทีด้วยความไม่พอใจเป็นต้น เช่น กินแล้วก็สะบัดก้นไป พูดยังไม่ทันรู้เรื่องก็โกรธสะบัดก้นไปแล้ว. |
สะบัดช่อ เขียนว่า สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-ไม้-หัน-อา-กาด-ดอ-เด็ก-ชอ-ช้าง-ไม้-เอก-ออ-อ่าง | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาปาก เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง อย่างที่สุด เช่น สวยสะบัดช่อ. | สะบัดช่อ (ปาก) ว. อย่างที่สุด เช่น สวยสะบัดช่อ. |
สะบัดมือ เขียนว่า สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-ไม้-หัน-อา-กาด-ดอ-เด็ก-มอ-ม้า-สะ-หระ-อือ-ออ-อ่าง | เป็นคำกริยา หมายถึง ลุกไปทันทีเป็นเชิงเอาเปรียบหรือรู้มาก เช่น งานยังไม่ทันเสร็จก็สะบัดมือไปแล้ว กินอิ่มแล้วก็สะบัดมือไป. | สะบัดมือ ก. ลุกไปทันทีเป็นเชิงเอาเปรียบหรือรู้มาก เช่น งานยังไม่ทันเสร็จก็สะบัดมือไปแล้ว กินอิ่มแล้วก็สะบัดมือไป. |
สะบัดย่าง เขียนว่า สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-ไม้-หัน-อา-กาด-ดอ-เด็ก-ยอ-ยัก-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา-งอ-งู | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง อาการที่ม้าเดินเหยาะย่างอย่างสง่างามพร้อมกับสะบัดหางด้วย ในความว่า ม้าเดินสะบัดย่าง. | สะบัดย่าง ว. อาการที่ม้าเดินเหยาะย่างอย่างสง่างามพร้อมกับสะบัดหางด้วย ในความว่า ม้าเดินสะบัดย่าง. |
สะบัดร้อนสะบัดหนาว เขียนว่า สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-ไม้-หัน-อา-กาด-ดอ-เด็ก-รอ-เรือ-ไม้-โท-ออ-อ่าง-นอ-หนู-สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-ไม้-หัน-อา-กาด-ดอ-เด็ก-หอ-หีบ-นอ-หนู-สะ-หระ-อา-วอ-แหวน | เป็นคำกริยา หมายถึง ครั่นเนื้อครั่นตัว, มีอาการคล้ายจะเป็นไข้เพราะเดี๋ยวร้อนเดี๋ยวหนาว, โดยปริยายหมายความว่า มีความเร่าร้อนใจกลัวว่าจะถูกลงโทษหรือถูกตำหนิเป็นต้น เช่น ผู้ที่ทำความผิดไว้ พอเห็นผู้บังคับบัญชามาก็รู้สึกสะบัดร้อนสะบัดหนาว, ร้อน ๆ หนาว ๆ หรือ หนาว ๆ ร้อน ๆ ก็ว่า. | สะบัดร้อนสะบัดหนาว ก. ครั่นเนื้อครั่นตัว, มีอาการคล้ายจะเป็นไข้เพราะเดี๋ยวร้อนเดี๋ยวหนาว, โดยปริยายหมายความว่า มีความเร่าร้อนใจกลัวว่าจะถูกลงโทษหรือถูกตำหนิเป็นต้น เช่น ผู้ที่ทำความผิดไว้ พอเห็นผู้บังคับบัญชามาก็รู้สึกสะบัดร้อนสะบัดหนาว, ร้อน ๆ หนาว ๆ หรือ หนาว ๆ ร้อน ๆ ก็ว่า. |
สะบัดลุกสะบัดนั่ง เขียนว่า สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-ไม้-หัน-อา-กาด-ดอ-เด็ก-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อุ-กอ-ไก่-สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-ไม้-หัน-อา-กาด-ดอ-เด็ก-นอ-หนู-ไม้-หัน-อา-กาด-ไม้-เอก-งอ-งู | เป็นคำกริยา หมายถึง ผุดลุกผุดนั่ง, มีอาการคล้ายกระวนกระวายใจเพราะเดี๋ยวลุกเดี๋ยวนั่ง. | สะบัดลุกสะบัดนั่ง ก. ผุดลุกผุดนั่ง, มีอาการคล้ายกระวนกระวายใจเพราะเดี๋ยวลุกเดี๋ยวนั่ง. |
สะบัดสะบิ้ง เขียนว่า สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-ไม้-หัน-อา-กาด-ดอ-เด็ก-สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อิ-ไม้-โท-งอ-งู | เป็นคำกริยา หมายถึง แสดงอาการกะบึงกะบอนแสนงอน เช่น เวลางอนก็ทำกิริยาสะบัดสะบิ้ง. เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อกลบทแบบหนึ่ง. | สะบัดสะบิ้ง ก. แสดงอาการกะบึงกะบอนแสนงอน เช่น เวลางอนก็ทำกิริยาสะบัดสะบิ้ง. น. ชื่อกลบทแบบหนึ่ง. |
สะบัดหน้า เขียนว่า สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-ไม้-หัน-อา-กาด-ดอ-เด็ก-หอ-หีบ-นอ-หนู-ไม้-โท-สะ-หระ-อา | เป็นคำกริยา หมายถึง ไม่พอใจโดยผินหรือเบือนหน้าไปทันที เช่น สะบัดหน้าหนี. | สะบัดหน้า ก. ไม่พอใจโดยผินหรือเบือนหน้าไปทันที เช่น สะบัดหน้าหนี. |