ย เขียนว่า ยอ-ยัก | พยัญชนะตัวที่ ๓๔ เป็นพวกอักษรตํ่า เป็นได้ทั้งตัวต้นและตัวสะกดในแม่เกย. | ย พยัญชนะตัวที่ ๓๔ เป็นพวกอักษรตํ่า เป็นได้ทั้งตัวต้นและตัวสะกดในแม่เกย. |
ยก เขียนว่า ยอ-ยัก-กอ-ไก่ ความหมายที่ ๑ | เป็นคำกริยา หมายถึง เอาขึ้นให้สูงจากที่เดิมทั้งโดยตรงและโดยปริยาย; เคลื่อนไป, พากันไป, เช่น ยกทัพ ยกพวก; งดเว้น, เพิกถอน, เช่น ยกโทษ ยกภาษี ยกคําสั่ง; มอบ เช่น ยกลูกสาวให้ ยกสมบัติให้; อ้าง เช่น ยกตัวอย่าง. เป็นคำนาม หมายถึง เรียกผ้าไหมชนิดหนึ่งที่ทอยกเป็นดอกให้เป็นลายเด่นขึ้นว่า ผ้ายก. | ยก ๑ ก. เอาขึ้นให้สูงจากที่เดิมทั้งโดยตรงและโดยปริยาย; เคลื่อนไป, พากันไป, เช่น ยกทัพ ยกพวก; งดเว้น, เพิกถอน, เช่น ยกโทษ ยกภาษี ยกคําสั่ง; มอบ เช่น ยกลูกสาวให้ ยกสมบัติให้; อ้าง เช่น ยกตัวอย่าง. น. เรียกผ้าไหมชนิดหนึ่งที่ทอยกเป็นดอกให้เป็นลายเด่นขึ้นว่า ผ้ายก. |
ยกกระเปาะ เขียนว่า ยอ-ยัก-กอ-ไก่-กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-ปอ-ปลา-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-อะ | เป็นคำกริยา หมายถึง ยกขอบขึ้นเป็นรูปทรงกระบอกขนาดเล็ก เพื่อใช้ฝังเพชรพลอยในงานโลหะรูปพรรณ. | ยกกระเปาะ ก. ยกขอบขึ้นเป็นรูปทรงกระบอกขนาดเล็ก เพื่อใช้ฝังเพชรพลอยในงานโลหะรูปพรรณ. |
ยกกลีบ เขียนว่า ยอ-ยัก-กอ-ไก่-กอ-ไก่-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อี-บอ-ไบ-ไม้ | เป็นคำกริยา หมายถึง ยกกลีบผ้าโจงกระเบนข้างหลังให้โก่งขึ้น, รีดกางเกงตามแนวพับด้านหน้าและด้านหลังขาให้เป็นสันขึ้น. | ยกกลีบ ก. ยกกลีบผ้าโจงกระเบนข้างหลังให้โก่งขึ้น, รีดกางเกงตามแนวพับด้านหน้าและด้านหลังขาให้เป็นสันขึ้น. |
ยกเก็จ เขียนว่า ยอ-ยัก-กอ-ไก่-สะ-หระ-เอ-กอ-ไก่-ไม้-ไต่-คู้-จอ-จาน | เป็นคำกริยา หมายถึง ทำเก็จให้ยื่นออกมาจากฝาผนัง กำแพง ฐาน หรือเชิงกลอน, คู่กับ ย่อเก็จ. | ยกเก็จ ก. ทำเก็จให้ยื่นออกมาจากฝาผนัง กำแพง ฐาน หรือเชิงกลอน, คู่กับ ย่อเก็จ. |
ยกครู เขียนว่า ยอ-ยัก-กอ-ไก่-คอ-ควาย-รอ-เรือ-สะ-หระ-อู | เป็นคำกริยา หมายถึง ทําพิธีบูชาครูเป็นประจําปี กล่าวคือ นําขันล้างหน้า ผ้าขาว เงิน ไปบูชาครูเป็นการคํานับ, ทำพิธีมอบตัวให้เป็นศิษย์ของครู กล่าวคือ นำดอกไม้ ธูป เทียน หญ้าแพรก ดอกมะเขือ ไปบูชาครู. | ยกครู ก. ทําพิธีบูชาครูเป็นประจําปี กล่าวคือ นําขันล้างหน้า ผ้าขาว เงิน ไปบูชาครูเป็นการคํานับ, ทำพิธีมอบตัวให้เป็นศิษย์ของครู กล่าวคือ นำดอกไม้ ธูป เทียน หญ้าแพรก ดอกมะเขือ ไปบูชาครู. |
ยกเครื่อง เขียนว่า ยอ-ยัก-กอ-ไก่-สะ-หระ-เอ-คอ-ควาย-รอ-เรือ-สะ-หระ-อือ-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-งอ-งู | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาปาก เป็นคำกริยา หมายถึง ซ่อมใหญ่เครื่องยนต์ของรถยนต์หรือเรือยนต์เป็นต้น. | ยกเครื่อง (ปาก) ก. ซ่อมใหญ่เครื่องยนต์ของรถยนต์หรือเรือยนต์เป็นต้น. |
ยกเค้า เขียนว่า ยอ-ยัก-กอ-ไก่-สะ-หระ-เอ-คอ-ควาย-ไม้-โท-สะ-หระ-อา | เป็นคำกริยา หมายถึง เอาต้นทุนหรือกองทุนไปหมด (ใช้แก่การพนัน) เช่น แทงยกเค้า; ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาปาก หมายถึง ขโมยทรัพย์สินไปหมด เช่น เขาถูกยกเค้า. | ยกเค้า ก. เอาต้นทุนหรือกองทุนไปหมด (ใช้แก่การพนัน) เช่น แทงยกเค้า; (ปาก) ขโมยทรัพย์สินไปหมด เช่น เขาถูกยกเค้า. |
ยกตนข่มท่าน เขียนว่า ยอ-ยัก-กอ-ไก่-ตอ-เต่า-นอ-หนู-ขอ-ไข่-ไม้-เอก-มอ-ม้า-ทอ-ทะ-หาน-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา-นอ-หนู | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นสำนวน เป็นคำกริยา หมายถึง ยกย่องตัวเองและข่มผู้อื่น, พูดทับถมผู้อื่นแสดงให้เห็นว่าตัวเหนือกว่า. | ยกตนข่มท่าน (สำ) ก. ยกย่องตัวเองและข่มผู้อื่น, พูดทับถมผู้อื่นแสดงให้เห็นว่าตัวเหนือกว่า. |
ยกตัวขึ้นเหนือลม เขียนว่า ยอ-ยัก-กอ-ไก่-ตอ-เต่า-ไม้-หัน-อา-กาด-วอ-แหวน-ขอ-ไข่-สะ-หระ-อึ-ไม้-โท-นอ-หนู-สะ-หระ-เอ-หอ-หีบ-นอ-หนู-สะ-หระ-อือ-ออ-อ่าง-ลอ-ลิง-มอ-ม้า | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นสำนวน เป็นคำกริยา หมายถึง ปัดความผิดให้พ้นตัว, ยกตัวเองให้พ้นผิด, ยกตนเหนือคนอื่น. | ยกตัวขึ้นเหนือลม (สำ) ก. ปัดความผิดให้พ้นตัว, ยกตัวเองให้พ้นผิด, ยกตนเหนือคนอื่น. |
ยกทรง เขียนว่า ยอ-ยัก-กอ-ไก่-ทอ-ทะ-หาน-รอ-เรือ-งอ-งู | เป็นคำนาม หมายถึง เสื้อชั้นในหญิงที่ยกเต้านมเพื่อให้ได้รูปทรง. | ยกทรง น. เสื้อชั้นในหญิงที่ยกเต้านมเพื่อให้ได้รูปทรง. |
ยกธงขาว เขียนว่า ยอ-ยัก-กอ-ไก่-ทอ-ทง-งอ-งู-ขอ-ไข่-สะ-หระ-อา-วอ-แหวน | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาปาก เป็นคำกริยา หมายถึง ยอมแพ้. | ยกธงขาว (ปาก) ก. ยอมแพ้. |
ยกนิ้ว เขียนว่า ยอ-ยัก-กอ-ไก่-นอ-หนู-สะ-หระ-อิ-ไม้-โท-วอ-แหวน | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาปาก เป็นคำกริยา หมายถึง ยอมให้เป็นเยี่ยม. | ยกนิ้ว (ปาก) ก. ยอมให้เป็นเยี่ยม. |
ยกบัตร เขียนว่า ยอ-ยัก-กอ-ไก่-บอ-ไบ-ไม้-ไม้-หัน-อา-กาด-ตอ-เต่า-รอ-เรือ | [ยกกะบัด] ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ เป็นคำนาม หมายถึง ตำแหน่งเจ้าพนักงานเกี่ยวกับอรรถคดี ตรงกับ พนักงานอัยการ หรือ อัยการ ในปัจจุบัน, ยกกระบัตร หรือ พนักงานรักษาพระอัยการ ก็เรียก, เขียนเป็น ยกบัตร์ ก็มี. | ยกบัตร [ยกกะบัด] (โบ) น. ตำแหน่งเจ้าพนักงานเกี่ยวกับอรรถคดี ตรงกับ พนักงานอัยการ หรือ อัยการ ในปัจจุบัน, ยกกระบัตร หรือ พนักงานรักษาพระอัยการ ก็เรียก, เขียนเป็น ยกบัตร์ ก็มี. |
ยกพื้น เขียนว่า ยอ-ยัก-กอ-ไก่-พอ-พาน-สะ-หระ-อือ-ไม้-โท-นอ-หนู | เป็นคำนาม หมายถึง พื้นที่สูงกว่าบริเวณโดยรอบ. เป็นคำกริยา หมายถึง ทําพื้นให้สูงขึ้น. | ยกพื้น น. พื้นที่สูงกว่าบริเวณโดยรอบ. ก. ทําพื้นให้สูงขึ้น. |
ยกฟ้อง เขียนว่า ยอ-ยัก-กอ-ไก่-ฟอ-ฟัน-ไม้-โท-ออ-อ่าง-งอ-งู | ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในกฎหมาย เป็นคำกริยา หมายถึง พิพากษาให้คดีตกไป โดยไม่บังคับให้เป็นไปตามคําฟ้องของโจทก์. | ยกฟ้อง (กฎ) ก. พิพากษาให้คดีตกไป โดยไม่บังคับให้เป็นไปตามคําฟ้องของโจทก์. |
ยกภูเขาออกจากอก เขียนว่า ยอ-ยัก-กอ-ไก่-พอ-สำ-เพา-สะ-หระ-อู-สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-สะ-หระ-อา-ออ-อ่าง-ออ-อ่าง-กอ-ไก่-จอ-จาน-สะ-หระ-อา-กอ-ไก่-ออ-อ่าง-กอ-ไก่ | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นสำนวน เป็นคำกริยา หมายถึง โล่งอก, หมดวิตกกังวล, ปลดเปลื้องภาระที่หนักอกหนักใจให้หมดไป. | ยกภูเขาออกจากอก (สำ) ก. โล่งอก, หมดวิตกกังวล, ปลดเปลื้องภาระที่หนักอกหนักใจให้หมดไป. |
ยกมือ เขียนว่า ยอ-ยัก-กอ-ไก่-มอ-ม้า-สะ-หระ-อือ-ออ-อ่าง | เป็นคำกริยา หมายถึง แสดงว่าเห็นด้วย. | ยกมือ ก. แสดงว่าเห็นด้วย. |
ยกเมฆ เขียนว่า ยอ-ยัก-กอ-ไก่-สะ-หระ-เอ-มอ-ม้า-คอ-ระ-คัง | เป็นคำกริยา หมายถึง เพ่งดูเมฆเมื่อเห็นเป็นรูปอะไรแล้ว ก็ถือเป็นนิมิตเพื่อทำนายว่าดีหรือร้าย เช่นในเวลาจะยกทัพ ถ้าเห็นเมฆเป็นรูปพระนารายณ์ ก็ถือว่าเป็นนิมิตที่ดี ควรยกทัพได้ เช่น ตรงเข้าไปในป่าแล้วปลุกตัว เป่าทั่วด้วยคาถาประกาศิต ขยับยืนยกเมฆดูนิมิต เห็นรูปนารายณ์เรืองฤทธิ์ติดอัมพร. ในวงเล็บ มาจาก หนังสือบทเสภา เรื่องขุนช้างขุนแผน ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๐-๖๑, ถ้าเห็นเมฆเป็นรูปคนหัวขาดหรือแขนขาดขาขาด เป็นนิมิตไม่ดี ไม่ควรยกทัพ แม้ผู้ทรงวิทยาคุณอาจบริกรรมต่อหัวหรือแขนขาให้สมบูรณ์ได้ ถึงกระนั้นก็ไม่ถือว่าเป็นนิมิตที่ดี ไม่ควรยกทัพ เช่น กอดอกยกเมฆดูนิมิต ก็วิปริตเป็นรูปคนหัวหาย จะยกต่อคอแขนไม่ติดกาย เถนสำคัญมั่นหมายไม่คืนมา. ในวงเล็บ มาจาก หนังสือบทเสภา เรื่องขุนช้างขุนแผน ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๐-๖๑; ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นสำนวน หมายถึง เดาเอา, นึกคาดเอาเอง, กุเรื่องขึ้น. | ยกเมฆ ก. เพ่งดูเมฆเมื่อเห็นเป็นรูปอะไรแล้ว ก็ถือเป็นนิมิตเพื่อทำนายว่าดีหรือร้าย เช่นในเวลาจะยกทัพ ถ้าเห็นเมฆเป็นรูปพระนารายณ์ ก็ถือว่าเป็นนิมิตที่ดี ควรยกทัพได้ เช่น ตรงเข้าไปในป่าแล้วปลุกตัว เป่าทั่วด้วยคาถาประกาศิต ขยับยืนยกเมฆดูนิมิต เห็นรูปนารายณ์เรืองฤทธิ์ติดอัมพร. (ขุนช้างขุนแผน), ถ้าเห็นเมฆเป็นรูปคนหัวขาดหรือแขนขาดขาขาด เป็นนิมิตไม่ดี ไม่ควรยกทัพ แม้ผู้ทรงวิทยาคุณอาจบริกรรมต่อหัวหรือแขนขาให้สมบูรณ์ได้ ถึงกระนั้นก็ไม่ถือว่าเป็นนิมิตที่ดี ไม่ควรยกทัพ เช่น กอดอกยกเมฆดูนิมิต ก็วิปริตเป็นรูปคนหัวหาย จะยกต่อคอแขนไม่ติดกาย เถนสำคัญมั่นหมายไม่คืนมา. (ขุนช้างขุนแผน); (สำ) เดาเอา, นึกคาดเอาเอง, กุเรื่องขึ้น. |
ยกยอ เขียนว่า ยอ-ยัก-กอ-ไก่-ยอ-ยัก-ออ-อ่าง | เป็นคำกริยา หมายถึง ยกย่อง, สรรเสริญ, พูดส่งเสริมให้ดีขึ้น; ยกย่องเกินความจริง. | ยกยอ ก. ยกย่อง, สรรเสริญ, พูดส่งเสริมให้ดีขึ้น; ยกย่องเกินความจริง. |
ยกย่อง เขียนว่า ยอ-ยัก-กอ-ไก่-ยอ-ยัก-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-งอ-งู | เป็นคำกริยา หมายถึง เชิดชู. | ยกย่อง ก. เชิดชู. |
ยกยอด เขียนว่า ยอ-ยัก-กอ-ไก่-ยอ-ยัก-ออ-อ่าง-ดอ-เด็ก | เป็นคำกริยา หมายถึง ทําพิธีเอายอดเมรุยอดปราสาทขึ้น; เก็บเอาสิ่งที่ทําค้างไว้ไปทําให้เสร็จในคราวเดียวกัน; เก็บเอาความเจ็บแค้นไว้แก้แค้นในคราวเดียว; โอนจํานวนเงินจากหน้าหนึ่งไปอีกหน้าหนึ่ง. | ยกยอด ก. ทําพิธีเอายอดเมรุยอดปราสาทขึ้น; เก็บเอาสิ่งที่ทําค้างไว้ไปทําให้เสร็จในคราวเดียวกัน; เก็บเอาความเจ็บแค้นไว้แก้แค้นในคราวเดียว; โอนจํานวนเงินจากหน้าหนึ่งไปอีกหน้าหนึ่ง. |
ยกยอปอปั้น เขียนว่า ยอ-ยัก-กอ-ไก่-ยอ-ยัก-ออ-อ่าง-ปอ-ปลา-ออ-อ่าง-ปอ-ปลา-ไม้-หัน-อา-กาด-ไม้-โท-นอ-หนู | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาปาก เป็นคำกริยา หมายถึง ยกให้, มอบให้, เช่น ยกยอปอปั้นลูกสาวให้เขาไป; ยกย่องเกินจริง เช่น ยกยอปอปั้นให้เป็นคุณหญิง. | ยกยอปอปั้น (ปาก) ก. ยกให้, มอบให้, เช่น ยกยอปอปั้นลูกสาวให้เขาไป; ยกย่องเกินจริง เช่น ยกยอปอปั้นให้เป็นคุณหญิง. |
ยกเลิก เขียนว่า ยอ-ยัก-กอ-ไก่-สะ-หระ-เอ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อิ-กอ-ไก่ | เป็นคำกริยา หมายถึง เพิกถอน, ไม่ใช้ต่อไป. | ยกเลิก ก. เพิกถอน, ไม่ใช้ต่อไป. |
ยกเว้น เขียนว่า ยอ-ยัก-กอ-ไก่-สะ-หระ-เอ-วอ-แหวน-ไม้-โท-นอ-หนู | เป็นคำกริยา หมายถึง ไม่เกี่ยวด้วย, กันเอาออก, ยอมให้เป็นพิเศษ. เป็นคำบุรพบท หมายถึง นอกจาก, เว้นแต่, เว้นเสียแต่. | ยกเว้น ก. ไม่เกี่ยวด้วย, กันเอาออก, ยอมให้เป็นพิเศษ. บ. นอกจาก, เว้นแต่, เว้นเสียแต่. |
ยกไว้ เขียนว่า ยอ-ยัก-กอ-ไก่-สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-วอ-แหวน-ไม้-โท | เป็นคำกริยา หมายถึง งดไว้, พักไว้, หยุดไว้. | ยกไว้ ก. งดไว้, พักไว้, หยุดไว้. |
ยกหยิบ เขียนว่า ยอ-ยัก-กอ-ไก่-หอ-หีบ-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อิ-บอ-ไบ-ไม้ | ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำกริยา หมายถึง หยิบยก เช่น จะยกหยิบธิบดีเป็นที่ตั้ง. (นิ. ภูเขาทอง). | ยกหยิบ (กลอน) ก. หยิบยก เช่น จะยกหยิบธิบดีเป็นที่ตั้ง. (นิ. ภูเขาทอง). |
ยกหางตัวเอง เขียนว่า ยอ-ยัก-กอ-ไก่-หอ-หีบ-สะ-หระ-อา-งอ-งู-ตอ-เต่า-ไม้-หัน-อา-กาด-วอ-แหวน-สะ-หระ-เอ-ออ-อ่าง-งอ-งู | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นสำนวน เป็นคำกริยา หมายถึง ยกตนเองว่าดีว่าเก่ง. | ยกหางตัวเอง (สำ) ก. ยกตนเองว่าดีว่าเก่ง. |
ยกเหลี่ยม เขียนว่า ยอ-ยัก-กอ-ไก่-สะ-หระ-เอ-หอ-หีบ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อี-ไม้-เอก-ยอ-ยัก-มอ-ม้า | เป็นคำกริยา หมายถึง ยกหน้ากระดานขึ้นเป็นสันคมไปทางยาว เช่น ยกเหลี่ยมอกเลาของบานประตู. | ยกเหลี่ยม ก. ยกหน้ากระดานขึ้นเป็นสันคมไปทางยาว เช่น ยกเหลี่ยมอกเลาของบานประตู. |
ยกใหญ่ เขียนว่า ยอ-ยัก-กอ-ไก่-สะ-หระ-ไอ-ไม้-ม้วน-หอ-หีบ-ยอ-หยิง-ไม้-เอก | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาปาก เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง มากมาย, เป็นการใหญ่, เช่น ร้องไห้เสียยกใหญ่. | ยกใหญ่ (ปาก) ว. มากมาย, เป็นการใหญ่, เช่น ร้องไห้เสียยกใหญ่. |
ยก เขียนว่า ยอ-ยัก-กอ-ไก่ ความหมายที่ ๒ | เป็นคำนาม หมายถึง มาตราวัดไม้ คือ หน้ากว้าง ๑ ศอก ยาว ๑๖ วา หนา ๑ นิ้ว เป็น ๑ ยก ตามอัตราไม้นิ้ว; กําหนดเวลาระยะหนึ่ง ๆ หรือจํานวนหนึ่ง เช่น มวยยกหนึ่งกำหนด ๒๓ นาที เฆี่ยนยกหนึ่งกำหนด ๓๐ ที; กระดาษแผ่นหนึ่งขนาด ๓๑ x ๔๒ นิ้ว ถ้าพิมพ์ได้ ๔ หน้า เรียกว่า ขนาด ๔ หน้ายก ถ้าพิมพ์ได้ ๘ หน้า ๑๖ หน้า หรือ ๓๒ หน้า เรียกว่า ขนาด ๘ หน้ายก ๑๖ หน้ายก หรือ ๓๒ หน้ายก; กําหนดเวลาที่พระรูปหนึ่ง ๆ เทศน์ ๓ วันบ้าง ๗ วันบ้าง เรียกว่า ยกหนึ่ง เป็นต้น. | ยก ๒ น. มาตราวัดไม้ คือ หน้ากว้าง ๑ ศอก ยาว ๑๖ วา หนา ๑ นิ้ว เป็น ๑ ยก ตามอัตราไม้นิ้ว; กําหนดเวลาระยะหนึ่ง ๆ หรือจํานวนหนึ่ง เช่น มวยยกหนึ่งกำหนด ๒๓ นาที เฆี่ยนยกหนึ่งกำหนด ๓๐ ที; กระดาษแผ่นหนึ่งขนาด ๓๑ x ๔๒ นิ้ว ถ้าพิมพ์ได้ ๔ หน้า เรียกว่า ขนาด ๔ หน้ายก ถ้าพิมพ์ได้ ๘ หน้า ๑๖ หน้า หรือ ๓๒ หน้า เรียกว่า ขนาด ๘ หน้ายก ๑๖ หน้ายก หรือ ๓๒ หน้ายก; กําหนดเวลาที่พระรูปหนึ่ง ๆ เทศน์ ๓ วันบ้าง ๗ วันบ้าง เรียกว่า ยกหนึ่ง เป็นต้น. |
ยกกระบัตร เขียนว่า ยอ-ยัก-กอ-ไก่-กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-ไม้-หัน-อา-กาด-ตอ-เต่า-รอ-เรือ | ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ เป็นคำนาม หมายถึง ตำแหน่งข้าราชการสังกัดกระทรวงวัง มีหน้าที่ออกไปประจำอยู่ตามหัวเมืองเพื่อสอดส่องอรรถคดี; ตำแหน่งเจ้าพนักงานเกี่ยวกับอรรถคดี ตรงกับ พนักงานอัยการ หรือ อัยการ ในปัจจุบัน, ยกบัตร หรือ พนักงานรักษาพระอัยการ ก็เรียก; เจ้าหน้าที่ในการจัดหาเครื่องใช้ของทหาร; เขียนเป็น ยุกกระบัตร ก็มี. | ยกกระบัตร (โบ) น. ตำแหน่งข้าราชการสังกัดกระทรวงวัง มีหน้าที่ออกไปประจำอยู่ตามหัวเมืองเพื่อสอดส่องอรรถคดี; ตำแหน่งเจ้าพนักงานเกี่ยวกับอรรถคดี ตรงกับ พนักงานอัยการ หรือ อัยการ ในปัจจุบัน, ยกบัตร หรือ พนักงานรักษาพระอัยการ ก็เรียก; เจ้าหน้าที่ในการจัดหาเครื่องใช้ของทหาร; เขียนเป็น ยุกกระบัตร ก็มี. |
ยกนะ เขียนว่า ยอ-ยัก-กอ-ไก่-นอ-หนู-สะ-หระ-อะ | [ยะกะนะ] เป็นคำนาม หมายถึง ตับ. ในวงเล็บ มาจากภาษาบาลี และมาจากภาษาสันสกฤต ยกนฺ เขียนว่า ยอ-ยัก-กอ-ไก่-นอ-หนู-พิน-ทุ ยกฺฤต เขียนว่า ยอ-ยัก-กอ-ไก่-พิน-ทุ-รอ-รึ-ตอ-เต่า . | ยกนะ [ยะกะนะ] น. ตับ. (ป.; ส. ยกนฺ, ยกฺฤต). |
ยง เขียนว่า ยอ-ยัก-งอ-งู ความหมายที่ ๑ | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง อร่ามเรือง, มักใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส เช่น โฉมยง ยุพยง. | ยง ๑ ว. อร่ามเรือง, มักใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส เช่น โฉมยง ยุพยง. |
ยง เขียนว่า ยอ-ยัก-งอ-งู ความหมายที่ ๒ | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ยั่งยืน, มั่นคง, คงทน, ยืนนาน, เช่น อยู่ยงคงกระพัน ยืนยง. | ยง ๒ ว. ยั่งยืน, มั่นคง, คงทน, ยืนนาน, เช่น อยู่ยงคงกระพัน ยืนยง. |
ยง เขียนว่า ยอ-ยัก-งอ-งู ความหมายที่ ๓ | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง กล้าหาญ เช่น ยงยุทธ์ เยี่ยมยง, เก่งกล้าสามารถ เช่น ตัวยง. | ยง ๓ ว. กล้าหาญ เช่น ยงยุทธ์ เยี่ยมยง, เก่งกล้าสามารถ เช่น ตัวยง. |
ยงโย่ เขียนว่า ยอ-ยัก-งอ-งู-สะ-หระ-โอ-ยอ-ยัก-ไม้-เอก | เป็นคำกริยา หมายถึง กิริยาที่นั่งยอง ๆ หรือยืนขยับตัวขึ้น ๆ ลง ๆ ก้ม ๆ เงย ๆ ไม่เป็นระเบียบ, โยงโย่ ก็เรียก. | ยงโย่ ก. กิริยาที่นั่งยอง ๆ หรือยืนขยับตัวขึ้น ๆ ลง ๆ ก้ม ๆ เงย ๆ ไม่เป็นระเบียบ, โยงโย่ ก็เรียก. |
ยงโย่ยงหยก เขียนว่า ยอ-ยัก-งอ-งู-สะ-หระ-โอ-ยอ-ยัก-ไม้-เอก-ยอ-ยัก-งอ-งู-หอ-หีบ-ยอ-ยัก-กอ-ไก่ | เป็นคำกริยา หมายถึง กิริยาที่จะยืนก็ไม่ใช่จะนั่งก็ไม่เชิง. | ยงโย่ยงหยก ก. กิริยาที่จะยืนก็ไม่ใช่จะนั่งก็ไม่เชิง. |
ยชุรเวท เขียนว่า ยอ-ยัก-ชอ-ช้าง-สะ-หระ-อุ-รอ-เรือ-สะ-หระ-เอ-วอ-แหวน-ทอ-ทะ-หาน | [ยะชุระ] เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อคัมภีร์ที่ ๒ ของพระเวท กล่าวถึงพิธีบูชาสำคัญหลายพิธี เช่น พิธีราชสูยะ พิธีอัศวเมธ รายละเอียดในการประกอบพิธีและเรื่องเล่าแต่งเป็นร้อยแก้ว ส่วนบทสวดเป็นฉันท์นำมาจากฤคเวท. ในวงเล็บ มาจากภาษาสันสกฤต . ในวงเล็บ ดู เวท, เวท ประกอบ เวท เขียนว่า สะ-หระ-เอ-วอ-แหวน-ทอ-ทะ-หาน เวท ประกอบ เขียนว่า สะ-หระ-เอ-วอ-แหวน-ทอ-ทะ-หาน ปอ-ปลา-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-กอ-ไก่-ออ-อ่าง-บอ-ไบ-ไม้ . | ยชุรเวท [ยะชุระ] น. ชื่อคัมภีร์ที่ ๒ ของพระเวท กล่าวถึงพิธีบูชาสำคัญหลายพิธี เช่น พิธีราชสูยะ พิธีอัศวเมธ รายละเอียดในการประกอบพิธีและเรื่องเล่าแต่งเป็นร้อยแก้ว ส่วนบทสวดเป็นฉันท์นำมาจากฤคเวท. (ส.). (ดู เวท, เวท ประกอบ). |
ยติ เขียนว่า ยอ-ยัก-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อิ ความหมายที่ ๑ | เป็นคำนาม หมายถึง ผู้สํารวมอินทรีย์, พระภิกษุ. ในวงเล็บ มาจากภาษาบาลี และมาจากภาษาสันสกฤต ยติ เขียนว่า ยอ-ยัก-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อิ ยตินฺ เขียนว่า ยอ-ยัก-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อิ-นอ-หนู-พิน-ทุ . | ยติ ๑ น. ผู้สํารวมอินทรีย์, พระภิกษุ. (ป.; ส. ยติ, ยตินฺ). |
ยติ เขียนว่า ยอ-ยัก-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อิ ความหมายที่ ๒ | เป็นคำนาม หมายถึง การหยุดเป็นจังหวะตามกําหนดในการอ่านฉันท์. ในวงเล็บ มาจากภาษาบาลี และมาจากภาษาสันสกฤต . | ยติ ๒ น. การหยุดเป็นจังหวะตามกําหนดในการอ่านฉันท์. (ป., ส.). |
ยติภังค์ เขียนว่า ยอ-ยัก-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อิ-พอ-สำ-เพา-ไม้-หัน-อา-กาด-งอ-งู-คอ-ควาย-ทัน-ทะ-คาด | เป็นคำนาม หมายถึง โทษของฉันท์อย่างหนึ่ง คือ คําไม่หมดตรงที่กําหนดไว้ตามข้อบังคับ แต่เลยไปวรรคหลัง เช่น ปางเมื่อพระองค์ปรมพุท ธวิสุทธศาสดา; เครื่องหมายขีดสั้น ใช้เป็นเครื่องหมายให้รู้ว่าพยางค์หน้ากับพยางค์หลังนั้นติดกันหรือเป็นคําเดียวกัน ตัวที่เขียนแยกนั้นจะอยู่ในบรรทัดเดียวกันหรือคนละบรรทัดก็ได้, เขียนเป็น ยัติภังค์ ก็มี. | ยติภังค์ น. โทษของฉันท์อย่างหนึ่ง คือ คําไม่หมดตรงที่กําหนดไว้ตามข้อบังคับ แต่เลยไปวรรคหลัง เช่น ปางเมื่อพระองค์ปรมพุท ธวิสุทธศาสดา; เครื่องหมายขีดสั้น ใช้เป็นเครื่องหมายให้รู้ว่าพยางค์หน้ากับพยางค์หลังนั้นติดกันหรือเป็นคําเดียวกัน ตัวที่เขียนแยกนั้นจะอยู่ในบรรทัดเดียวกันหรือคนละบรรทัดก็ได้, เขียนเป็น ยัติภังค์ ก็มี. |
ยถากรรม เขียนว่า ยอ-ยัก-ถอ-ถุง-สะ-หระ-อา-กอ-ไก่-รอ-เรือ-รอ-เรือ-มอ-ม้า | [ยะถากํา] เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ตามบุญตามกรรม, ตามแต่จะเป็นไป. ในวงเล็บ มาจากภาษาสันสกฤต และมาจากภาษาบาลี ยถากมฺม เขียนว่า ยอ-ยัก-ถอ-ถุง-สะ-หระ-อา-กอ-ไก่-มอ-ม้า-พิน-ทุ-มอ-ม้า. | ยถากรรม [ยะถากํา] ว. ตามบุญตามกรรม, ตามแต่จะเป็นไป. (ส.; ป. ยถากมฺม). |
ยถาภูตญาณ เขียนว่า ยอ-ยัก-ถอ-ถุง-สะ-หระ-อา-พอ-สำ-เพา-สะ-หระ-อู-ตอ-เต่า-ยอ-หยิง-สะ-หระ-อา-นอ-เนน | [ยะถาพูตะ] เป็นคำนาม หมายถึง ความรู้ตามความเป็นจริง. ในวงเล็บ มาจากภาษาบาลี และมาจากภาษาสันสกฤต ยถาภูต เขียนว่า ยอ-ยัก-ถอ-ถุง-สะ-หระ-อา-พอ-สำ-เพา-สะ-หระ-อู-ตอ-เต่า + ชฺาน เขียนว่า ชอ-ช้าง-พิน-ทุ-ยอ-หยิง-สะ-หระ-อา-นอ-หนู . | ยถาภูตญาณ [ยะถาพูตะ] น. ความรู้ตามความเป็นจริง. (ป.; ส. ยถาภูต + ชฺาน). |
ย่น เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-เอก-นอ-หนู | เป็นคำกริยา หมายถึง ร่นให้สั้นหรือให้เร็วเข้า เช่น ย่นหนทาง ย่นเวลา, หดร่นเข้าไป เช่น คอย่น, ร่นเป็นริ้วรอย เช่น หน้าย่น, ไม่เรียบ เช่น เสื้อผ้าย่น. | ย่น ก. ร่นให้สั้นหรือให้เร็วเข้า เช่น ย่นหนทาง ย่นเวลา, หดร่นเข้าไป เช่น คอย่น, ร่นเป็นริ้วรอย เช่น หน้าย่น, ไม่เรียบ เช่น เสื้อผ้าย่น. |
ย่นย่อ เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-เอก-นอ-หนู-ยอ-ยัก-ไม้-เอก-ออ-อ่าง | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ทําให้สั้น เช่น กล่าวโดยย่นย่อพอได้ความ; ท้อถอย เช่น อย่าได้ย่นย่อ; ย่อย่น ก็ว่า. | ย่นย่อ ว. ทําให้สั้น เช่น กล่าวโดยย่นย่อพอได้ความ; ท้อถอย เช่น อย่าได้ย่นย่อ; ย่อย่น ก็ว่า. |
ยนต์, ยนตร์ ยนต์ เขียนว่า ยอ-ยัก-นอ-หนู-ตอ-เต่า-ทัน-ทะ-คาด ยนตร์ เขียนว่า ยอ-ยัก-นอ-หนู-ตอ-เต่า-รอ-เรือ-ทัน-ทะ-คาด | เป็นคำนาม หมายถึง เครื่องกลไก, เครื่องจักรที่ให้กําเนิดพลังงานหรือทําให้วัตถุเคลื่อนที่. ในวงเล็บ มาจากภาษาบาลี ยนฺต เขียนว่า ยอ-ยัก-นอ-หนู-พิน-ทุ-ตอ-เต่า และมาจากภาษาสันสกฤต ยนฺตฺร เขียนว่า ยอ-ยัก-นอ-หนู-พิน-ทุ-ตอ-เต่า-พิน-ทุ-รอ-เรือ. | ยนต์, ยนตร์ น. เครื่องกลไก, เครื่องจักรที่ให้กําเนิดพลังงานหรือทําให้วัตถุเคลื่อนที่. (ป. ยนฺต; ส. ยนฺตฺร). |
ยม เขียนว่า ยอ-ยัก-มอ-ม้า ความหมายที่ ๑ | เป็นคำกริยา หมายถึง ร้องไห้. ในวงเล็บ มาจากภาษาเขมร . | ยม ๑ ก. ร้องไห้. (ข.). |
ยม ๒, ยม ยม ความหมายที่ ๒ เขียนว่า ยอ-ยัก-มอ-ม้า ยม มีเครื่องหมายยัติภังค์ท้ายคำ เขียนว่า ยอ-ยัก-มอ-ม้า | [ยม, ยมมะ] เป็นคำนาม หมายถึง เทพเจ้าผู้เป็นใหญ่ประจําโลกของคนตาย; ชื่อดาวเคราะห์ดวงที่ ๙ ในระบบสุริยะ มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า อยู่ห่างดวงอาทิตย์ประมาณ ๕,๙๐๐ ล้านกิโลเมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลางอยู่ระหว่าง ๒,๕๘๐ ถึง ๓,๕๓๐ กิโลเมตร ทางโคจรเป็นวงรีมาก ทําให้ส่วนหนึ่งของทางโคจรอยู่ภายในวงโคจรของดาวเนปจูน, ดาวพลูโต ก็เรียก. ในวงเล็บ มาจากภาษาบาลี และมาจากภาษาสันสกฤต . | ยม ๒, ยม [ยม, ยมมะ] น. เทพเจ้าผู้เป็นใหญ่ประจําโลกของคนตาย; ชื่อดาวเคราะห์ดวงที่ ๙ ในระบบสุริยะ มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า อยู่ห่างดวงอาทิตย์ประมาณ ๕,๙๐๐ ล้านกิโลเมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลางอยู่ระหว่าง ๒,๕๘๐ ถึง ๓,๕๓๐ กิโลเมตร ทางโคจรเป็นวงรีมาก ทําให้ส่วนหนึ่งของทางโคจรอยู่ภายในวงโคจรของดาวเนปจูน, ดาวพลูโต ก็เรียก. (ป., ส.). |
ยมขันธ์ เขียนว่า ยอ-ยัก-มอ-ม้า-ขอ-ไข่-ไม้-หัน-อา-กาด-นอ-หนู-ทอ-ทง-ทัน-ทะ-คาด | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อยามที่เป็นอัปมงคล. | ยมขันธ์ น. ชื่อยามที่เป็นอัปมงคล. |
ยมทัณฑ์ เขียนว่า ยอ-ยัก-มอ-ม้า-ทอ-ทะ-หาน-ไม้-หัน-อา-กาด-นอ-เนน-ทอ-มน-โท-ทัน-ทะ-คาด | เป็นคำนาม หมายถึง ไม้อาญาสิทธิ์ของพระยม. ในวงเล็บ มาจากภาษาสันสกฤต . | ยมทัณฑ์ น. ไม้อาญาสิทธิ์ของพระยม. (ส.). |
ยมทูต เขียนว่า ยอ-ยัก-มอ-ม้า-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อู-ตอ-เต่า | เป็นคำนาม หมายถึง ผู้นําคนตายไปยังบัลลังก์พระยมเพื่อรอคําตัดสิน. ในวงเล็บ มาจากภาษาบาลี และมาจากภาษาสันสกฤต . | ยมทูต น. ผู้นําคนตายไปยังบัลลังก์พระยมเพื่อรอคําตัดสิน. (ป., ส.). |
ยมบาล เขียนว่า ยอ-ยัก-มอ-ม้า-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อา-ลอ-ลิง | เป็นคำนาม หมายถึง เจ้าพนักงานเมืองนรก มีหน้าที่ลงโทษทรมานคนที่ตกนรกตามคําสั่งของพญายม. ในวงเล็บ มาจากภาษาบาลี ยมปาล เขียนว่า ยอ-ยัก-มอ-ม้า-ปอ-ปลา-สะ-หระ-อา-ลอ-ลิง ว่า ผู้รักษานรก . | ยมบาล น. เจ้าพนักงานเมืองนรก มีหน้าที่ลงโทษทรมานคนที่ตกนรกตามคําสั่งของพญายม. (ป. ยมปาล ว่า ผู้รักษานรก). |
ยมราช เขียนว่า ยอ-ยัก-มอ-ม้า-รอ-เรือ-สะ-หระ-อา-ชอ-ช้าง | เป็นคำนาม หมายถึง เทพผู้เป็นใหญ่ประจํายมโลก. ในวงเล็บ มาจากภาษาบาลี และมาจากภาษาสันสกฤต . | ยมราช น. เทพผู้เป็นใหญ่ประจํายมโลก. (ป., ส.). |
ยมโลก เขียนว่า ยอ-ยัก-มอ-ม้า-สะ-หระ-โอ-ลอ-ลิง-กอ-ไก่ | เป็นคำนาม หมายถึง โลกของพระยม; โลกของคนตาย. ในวงเล็บ มาจากภาษาบาลี . | ยมโลก น. โลกของพระยม; โลกของคนตาย. (ป.). |
ยม เขียนว่า ยอ-ยัก-มอ-ม้า ความหมายที่ ๓ | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อไม้ต้นหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Meliaceae เช่น ยมหิน (Chukrasia tabularis Juss.) ยมหอม (Toona ciliata M. Roem.). | ยม ๓ น. ชื่อไม้ต้นหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Meliaceae เช่น ยมหิน (Chukrasia tabularis Juss.) ยมหอม (Toona ciliata M. Roem.). |
ยมก เขียนว่า ยอ-ยัก-มอ-ม้า-กอ-ไก่ | [ยะมก] เป็นคำนาม หมายถึง คู่, แฝด, ๒ ชั้น; เรียกเครื่องหมายรูปดังนี้ ๆ ว่า ไม้ยมก สําหรับอ่านซํ้าความหรือซํ้าคําข้างหน้า ๒ หน. ในวงเล็บ มาจากภาษาบาลี และมาจากภาษาสันสกฤต . | ยมก [ยะมก] น. คู่, แฝด, ๒ ชั้น; เรียกเครื่องหมายรูปดังนี้ ๆ ว่า ไม้ยมก สําหรับอ่านซํ้าความหรือซํ้าคําข้างหน้า ๒ หน. (ป., ส.). |
ยมกปาฏิหาริย์ เขียนว่า ยอ-ยัก-มอ-ม้า-กอ-ไก่-ปอ-ปลา-สะ-หระ-อา-ตอ-ปะ-ตัก-สะ-หระ-อิ-หอ-หีบ-สะ-หระ-อา-รอ-เรือ-สะ-หระ-อิ-ยอ-ยัก-ทัน-ทะ-คาด | เป็นคำนาม หมายถึง ปาฏิหาริย์ที่แสดงเป็นคู่ ๆ เป็นปาฏิหาริย์ที่พระพุทธเจ้าทรงกระทําที่ต้นมะม่วงซึ่งเรียกว่าคัณฑามพพฤกษ์ คือ ทรงบันดาลท่อนํ้าท่อไฟออกจากส่วนของพระกายเป็นคู่ ๆ กัน. ในวงเล็บ มาจากภาษาบาลี . | ยมกปาฏิหาริย์ น. ปาฏิหาริย์ที่แสดงเป็นคู่ ๆ เป็นปาฏิหาริย์ที่พระพุทธเจ้าทรงกระทําที่ต้นมะม่วงซึ่งเรียกว่าคัณฑามพพฤกษ์ คือ ทรงบันดาลท่อนํ้าท่อไฟออกจากส่วนของพระกายเป็นคู่ ๆ กัน. (ป.). |
ยมโดย เขียนว่า ยอ-ยัก-มอ-ม้า-สะ-หระ-โอ-ดอ-เด็ก-ยอ-ยัก | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อเฟินอิงอาศัยชนิด Lycopodium squarrosum Forst. ในวงศ์ Lycopodiaceae. | ยมโดย น. ชื่อเฟินอิงอาศัยชนิด Lycopodium squarrosum Forst. ในวงศ์ Lycopodiaceae. |
ยมนา เขียนว่า ยอ-ยัก-มอ-ม้า-นอ-หนู-สะ-หระ-อา | [ยมมะนา] เป็นคำนาม หมายถึง แม่นํ้าใหญ่, ชื่อแม่นํ้าสายหนึ่งในอินเดีย คือ แม่นํ้ายมุนา ซึ่งเรียกเพี้ยนเป็น ชุมนา ก็มี. ในวงเล็บ มาจากภาษาบาลี และมาจากภาษาสันสกฤต ยมุนา เขียนว่า ยอ-ยัก-มอ-ม้า-สะ-หระ-อุ-นอ-หนู-สะ-หระ-อา. | ยมนา [ยมมะนา] น. แม่นํ้าใหญ่, ชื่อแม่นํ้าสายหนึ่งในอินเดีย คือ แม่นํ้ายมุนา ซึ่งเรียกเพี้ยนเป็น ชุมนา ก็มี. (ป., ส. ยมุนา). |
ยมล เขียนว่า ยอ-ยัก-มอ-ม้า-ลอ-ลิง | [ยะมน] เป็นคำนาม หมายถึง คู่. ในวงเล็บ มาจากภาษาบาลี และมาจากภาษาสันสกฤต . | ยมล [ยะมน] น. คู่. (ป., ส.). |
ยมะ เขียนว่า ยอ-ยัก-มอ-ม้า-สะ-หระ-อะ ความหมายที่ ๑ | [ยะมะ] เป็นคำกริยา หมายถึง สํารวม. ในวงเล็บ มาจากภาษาบาลี และมาจากภาษาสันสกฤต . | ยมะ ๑ [ยะมะ] ก. สํารวม. (ป., ส.). |
ยมะ เขียนว่า ยอ-ยัก-มอ-ม้า-สะ-หระ-อะ ความหมายที่ ๒ | [ยะมะ] เป็นคำนาม หมายถึง คู่, แฝด. ในวงเล็บ มาจากภาษาบาลี และมาจากภาษาสันสกฤต . | ยมะ ๒ [ยะมะ] น. คู่, แฝด. (ป., ส.). |
ยรรยง เขียนว่า ยอ-ยัก-รอ-เรือ-รอ-เรือ-ยอ-ยัก-งอ-งู | [ยัน] เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง งามสง่า, กล้าหาญ. | ยรรยง [ยัน] ว. งามสง่า, กล้าหาญ. |
ยล เขียนว่า ยอ-ยัก-ลอ-ลิง | [ยน] เป็นคำกริยา หมายถึง มองดู. | ยล [ยน] ก. มองดู. |
ยวกสา เขียนว่า ยอ-ยัก-วอ-แหวน-กอ-ไก่-สอ-เสือ-สะ-หระ-อา | [ยะวะกะสา] เป็นคำนาม หมายถึง นํ้าประสานดีบุก. | ยวกสา [ยะวะกะสา] น. นํ้าประสานดีบุก. |
ยวง เขียนว่า ยอ-ยัก-วอ-แหวน-งอ-งู | เป็นคำนาม หมายถึง เนื้อในของขนุนที่หุ้มเมล็ด เรียกว่า ยวงขนุน, ลักษณนามเรียกเนื้อในของขนุนว่า ขนุนยวงหนึ่ง ขนุน ๒ ยวง; เรียกลักษณะของเงินบริสุทธิ์ที่ละลายคว้างอยู่ในเบ้า มีสีขาวผ่องเป็นมันปลาบ ว่า เงินยวง, โดยปริยายเรียกสิ่งที่มีลักษณะย้อยยืดลงมาเป็นแนวยาว ๆ เช่น ฝีถอนยวง ขี้มูกเป็นยวง. เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง เรียกสีขาวผ่องเป็นมันปลาบเหมือนสีเงินที่ละลายคว้างอยู่ในเบ้าว่า สีเงินยวง. | ยวง น. เนื้อในของขนุนที่หุ้มเมล็ด เรียกว่า ยวงขนุน, ลักษณนามเรียกเนื้อในของขนุนว่า ขนุนยวงหนึ่ง ขนุน ๒ ยวง; เรียกลักษณะของเงินบริสุทธิ์ที่ละลายคว้างอยู่ในเบ้า มีสีขาวผ่องเป็นมันปลาบ ว่า เงินยวง, โดยปริยายเรียกสิ่งที่มีลักษณะย้อยยืดลงมาเป็นแนวยาว ๆ เช่น ฝีถอนยวง ขี้มูกเป็นยวง. ว. เรียกสีขาวผ่องเป็นมันปลาบเหมือนสีเงินที่ละลายคว้างอยู่ในเบ้าว่า สีเงินยวง. |
ยวด เขียนว่า ยอ-ยัก-วอ-แหวน-ดอ-เด็ก | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง เป็นที่สุด, มักใช้คู่กับคําอื่น เช่น ยวดยง ยวดยิ่ง ยิ่งยวด. | ยวด ว. เป็นที่สุด, มักใช้คู่กับคําอื่น เช่น ยวดยง ยวดยิ่ง ยิ่งยวด. |
ยวดยง เขียนว่า ยอ-ยัก-วอ-แหวน-ดอ-เด็ก-ยอ-ยัก-งอ-งู | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง เชี่ยวชาญที่สุด, เก่งที่สุด. | ยวดยง ว. เชี่ยวชาญที่สุด, เก่งที่สุด. |
ยวดยิ่ง เขียนว่า ยอ-ยัก-วอ-แหวน-ดอ-เด็ก-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อิ-ไม้-เอก-งอ-งู | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง เยี่ยมที่สุด, มากที่สุด, ยิ่งยวด ก็ว่า. | ยวดยิ่ง ว. เยี่ยมที่สุด, มากที่สุด, ยิ่งยวด ก็ว่า. |
ยวดยาน เขียนว่า ยอ-ยัก-วอ-แหวน-ดอ-เด็ก-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-นอ-หนู | เป็นคำนาม หมายถึง เครื่องขับขี่มีรถและเรือเป็นต้น. | ยวดยาน น. เครื่องขับขี่มีรถและเรือเป็นต้น. |
ยวน เขียนว่า ยอ-ยัก-วอ-แหวน-นอ-หนู ความหมายที่ ๑ | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อชนชาติกรีก, ชาวอินเดียเรียกเพี้ยนมาจากคํา Ionia; เรียกชาวไทยทางล้านนาว่า ไทยยวน, เพี้ยนเป็น เยาวนะ โยน หรือ โยนก ก็มี. ในวงเล็บ มาจากภาษาสันสกฤต . | ยวน ๑ น. ชื่อชนชาติกรีก, ชาวอินเดียเรียกเพี้ยนมาจากคํา Ionia; เรียกชาวไทยทางล้านนาว่า ไทยยวน, เพี้ยนเป็น เยาวนะ โยน หรือ โยนก ก็มี. (ส.). |
ยวน เขียนว่า ยอ-ยัก-วอ-แหวน-นอ-หนู ความหมายที่ ๒ | เป็นคำกริยา หมายถึง ยั่ว, ล่อ, ชวนให้เพลิน, ชวนให้ยินดี, เช่น ยวนตา ยวนใจ; ก่อกวนให้เกิดกิเลสหรือโทสะ. | ยวน ๒ ก. ยั่ว, ล่อ, ชวนให้เพลิน, ชวนให้ยินดี, เช่น ยวนตา ยวนใจ; ก่อกวนให้เกิดกิเลสหรือโทสะ. |
ยวนยี เขียนว่า ยอ-ยัก-วอ-แหวน-นอ-หนู-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อี | เป็นคำกริยา หมายถึง เคล้าคลึงชวนให้กําเริบรัก, คลึงเคล้าให้เป็นที่พอใจ; ก่อกวนให้เกิดกิเลสโทสะ, ยียวน ก็ว่า. | ยวนยี ก. เคล้าคลึงชวนให้กําเริบรัก, คลึงเคล้าให้เป็นที่พอใจ; ก่อกวนให้เกิดกิเลสโทสะ, ยียวน ก็ว่า. |
ยวบ เขียนว่า ยอ-ยัก-วอ-แหวน-บอ-ไบ-ไม้ | เป็นคำกริยา หมายถึง อาการที่ไหวจะยุบลง เช่น นอกชานยวบ. | ยวบ ก. อาการที่ไหวจะยุบลง เช่น นอกชานยวบ. |
ยวบ ๆ เขียนว่า ยอ-ยัก-วอ-แหวน-บอ-ไบ-ไม้ ไม้-ยะ-มก | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง อาการเคลื่อนไหวขึ้นลงตามแนวนอน เช่น สะพานยวบ ๆ. | ยวบ ๆ ว. อาการเคลื่อนไหวขึ้นลงตามแนวนอน เช่น สะพานยวบ ๆ. |
ยวบยาบ เขียนว่า ยอ-ยัก-วอ-แหวน-บอ-ไบ-ไม้-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-บอ-ไบ-ไม้ | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง อาการเดินหนัก ๆ ช้า ๆ ทําให้พื้นไหวเยือก ๆ, อาการที่พื้นยุบขึ้นยุบลง เช่น เดินบนพื้นฟากยวบยาบ. | ยวบยาบ ว. อาการเดินหนัก ๆ ช้า ๆ ทําให้พื้นไหวเยือก ๆ, อาการที่พื้นยุบขึ้นยุบลง เช่น เดินบนพื้นฟากยวบยาบ. |
ย้วย เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-โท-วอ-แหวน-ยอ-ยัก | เป็นคำกริยา หมายถึง เบี่ยงหรือเลี่ยงจากแนวปรกติ ทําให้ยาวยื่นเกินไป เช่น กระโปรงย้วย ผ้าย้วย, ให้บิดไปบิดมา โค้งไปโค้งมา เสี้ยวไป เฉไปเฉมา เช่น แถวย้วย แม่น้ำย้วย. | ย้วย ก. เบี่ยงหรือเลี่ยงจากแนวปรกติ ทําให้ยาวยื่นเกินไป เช่น กระโปรงย้วย ผ้าย้วย, ให้บิดไปบิดมา โค้งไปโค้งมา เสี้ยวไป เฉไปเฉมา เช่น แถวย้วย แม่น้ำย้วย. |
ยวรยาตร เขียนว่า ยอ-ยัก-วอ-แหวน-รอ-เรือ-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-ตอ-เต่า-รอ-เรือ | [ยวนระยาด] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำกริยา หมายถึง ยุรยาตร. | ยวรยาตร [ยวนระยาด] (กลอน) ก. ยุรยาตร. |
ยวะ, ยวา ยวะ เขียนว่า ยอ-ยัก-วอ-แหวน-สะ-หระ-อะ ยวา เขียนว่า ยอ-ยัก-วอ-แหวน-สะ-หระ-อา | [ยะวะ, ยะวา] เป็นคำนาม หมายถึง ข้าว, ข้าวเหนียว. ในวงเล็บ มาจากภาษาบาลี และมาจากภาษาสันสกฤต ยว เขียนว่า ยอ-ยัก-วอ-แหวน ว่า ข้าวบาร์เลย์ เมล็ดคล้ายลูกเดือย . | ยวะ, ยวา [ยะวะ, ยะวา] น. ข้าว, ข้าวเหนียว. (ป., ส. ยว ว่า ข้าวบาร์เลย์ เมล็ดคล้ายลูกเดือย). |
ยวาคุ เขียนว่า ยอ-ยัก-วอ-แหวน-สะ-หระ-อา-คอ-ควาย-สะ-หระ-อุ | [ยะวา] เป็นคำนาม หมายถึง ยาคู. ในวงเล็บ มาจากภาษาสันสกฤต . | ยวาคุ [ยะวา] น. ยาคู. (ส.). |
ยศ เขียนว่า ยอ-ยัก-สอ-สา-ลา | [ยด] เป็นคำนาม หมายถึง ความยกย่องนับถือเกียรติของตน, เกียรติคุณ, ฐานันดรที่พระมหากษัตริย์โปรดเกล้าฯ พระราชทานแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง มีสูงต่ำตามลำดับกันไป; เครื่องหมายพิเศษที่พระมหากษัตริย์โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อพระราชทานแก่ผู้มีฐานันดร มีสูงต่ำตามลำดับกันไป, เครื่องกําหนดหมายฐานะหรือชั้นของบุคคล. เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ที่แสดงฐานะหรือชั้น เช่น พัดยศ. ในวงเล็บ มาจากภาษาสันสกฤต และมาจากภาษาบาลี ยส เขียนว่า ยอ-ยัก-สอ-เสือ. | ยศ [ยด] น. ความยกย่องนับถือเกียรติของตน, เกียรติคุณ, ฐานันดรที่พระมหากษัตริย์โปรดเกล้าฯ พระราชทานแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง มีสูงต่ำตามลำดับกันไป; เครื่องหมายพิเศษที่พระมหากษัตริย์โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อพระราชทานแก่ผู้มีฐานันดร มีสูงต่ำตามลำดับกันไป, เครื่องกําหนดหมายฐานะหรือชั้นของบุคคล. ว. ที่แสดงฐานะหรือชั้น เช่น พัดยศ. (ส.; ป. ยส). |
ยศช้างขุนนางพระ เขียนว่า ยอ-ยัก-สอ-สา-ลา-ชอ-ช้าง-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-งอ-งู-ขอ-ไข่-สะ-หระ-อุ-นอ-หนู-นอ-หนู-สะ-หระ-อา-งอ-งู-พอ-พาน-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นสำนวน เป็นคำนาม หมายถึง ยศที่ไม่สำคัญ ไม่จริงจัง และไม่สามารถให้คุณให้โทษแก่ใครได้. | ยศช้างขุนนางพระ (สำ) น. ยศที่ไม่สำคัญ ไม่จริงจัง และไม่สามารถให้คุณให้โทษแก่ใครได้. |
ยศอย่าง เขียนว่า ยอ-ยัก-สอ-สา-ลา-ออ-อ่าง-ยอ-ยัก-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา-งอ-งู | เป็นคำนาม หมายถึง การทําตามแบบอย่างผู้มียศ, การถือยศ ถือศักดิ์. | ยศอย่าง น. การทําตามแบบอย่างผู้มียศ, การถือยศ ถือศักดิ์. |
ยโส เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-โอ-สอ-เสือ | เป็นคำกริยา หมายถึง เย่อหยิ่งเพราะถือตัวว่ามียศ มีปัญญา มีความรู้ มีกําลัง มีทรัพย์ ฯลฯ. | ยโส ก. เย่อหยิ่งเพราะถือตัวว่ามียศ มีปัญญา มีความรู้ มีกําลัง มีทรัพย์ ฯลฯ. |
ยอ เขียนว่า ยอ-ยัก-ออ-อ่าง ความหมายที่ ๑ | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อไม้ต้นชนิด Morinda citrifolia L. ในวงศ์ Rubiaceae แก่นและรากใช้ย้อมผ้า ผลและใบกินได้. | ยอ ๑ น. ชื่อไม้ต้นชนิด Morinda citrifolia L. ในวงศ์ Rubiaceae แก่นและรากใช้ย้อมผ้า ผลและใบกินได้. |
ยอ เขียนว่า ยอ-ยัก-ออ-อ่าง ความหมายที่ ๒ | เป็นคำกริยา หมายถึง กล่าวคําเพื่อเชิดชู เช่น ยอพระเกียรติ หรือเพื่อให้ชอบใจ เช่น เด็กชอบให้ยอ; ยก เช่น ยอกร, ยกเพื่อกระแทก เช่น ยอด้วยเข่า; บอกให้หยุด (ใช้แก่วัวควาย); ให้หยุด, หยุด, เช่น ยอทัพ, โดยปริยายหมายความว่า เหนี่ยวรั้งไม่ไหว เช่น ยอไม่หยุด. | ยอ ๒ ก. กล่าวคําเพื่อเชิดชู เช่น ยอพระเกียรติ หรือเพื่อให้ชอบใจ เช่น เด็กชอบให้ยอ; ยก เช่น ยอกร, ยกเพื่อกระแทก เช่น ยอด้วยเข่า; บอกให้หยุด (ใช้แก่วัวควาย); ให้หยุด, หยุด, เช่น ยอทัพ, โดยปริยายหมายความว่า เหนี่ยวรั้งไม่ไหว เช่น ยอไม่หยุด. |
ยอขึ้น เขียนว่า ยอ-ยัก-ออ-อ่าง-ขอ-ไข่-สะ-หระ-อึ-ไม้-โท-นอ-หนู | เป็นคำกริยา หมายถึง ชอบให้ยกย่องแล้วจึงจะตั้งใจทำ เช่น เด็กคนนี้ยอขึ้น. | ยอขึ้น ก. ชอบให้ยกย่องแล้วจึงจะตั้งใจทำ เช่น เด็กคนนี้ยอขึ้น. |
ยอแสง เขียนว่า ยอ-ยัก-ออ-อ่าง-สะ-หระ-แอ-สอ-เสือ-งอ-งู | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ปรากฏการณ์ที่ดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า แต่ยังเห็นแสงตะวันจับขอบฟ้าเป็นสีแดงเข้ม, มักใช้ว่า ตะวันยอแสง. | ยอแสง ว. ปรากฏการณ์ที่ดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า แต่ยังเห็นแสงตะวันจับขอบฟ้าเป็นสีแดงเข้ม, มักใช้ว่า ตะวันยอแสง. |
ยอ เขียนว่า ยอ-ยัก-ออ-อ่าง ความหมายที่ ๓ | เป็นคำนาม หมายถึง เครื่องจับปลาชนิดหนึ่ง เป็นร่างแหสี่เหลี่ยมมีคันสําหรับยก. | ยอ ๓ น. เครื่องจับปลาชนิดหนึ่ง เป็นร่างแหสี่เหลี่ยมมีคันสําหรับยก. |
ย่อ เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-เอก-ออ-อ่าง | เป็นคำกริยา หมายถึง ยอบลง เช่น ย่อตัว ย่อเข่า, ลดให้สั้นหรือเล็กลง เช่น ย่อความ ย่อส่วน; ทำให้ยุบเข้าไป, ทำให้จมลึกเข้าไป, เช่น ย่อเก็จ ย่อมุม. | ย่อ ก. ยอบลง เช่น ย่อตัว ย่อเข่า, ลดให้สั้นหรือเล็กลง เช่น ย่อความ ย่อส่วน; ทำให้ยุบเข้าไป, ทำให้จมลึกเข้าไป, เช่น ย่อเก็จ ย่อมุม. |
ย่อเก็จ เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-สะ-หระ-เอ-กอ-ไก่-ไม้-ไต่-คู้-จอ-จาน | เป็นคำกริยา หมายถึง ทำเก็จให้ลึกเข้าไปในฝาผนัง กำแพง ฐาน หรือเชิงกลอน, คู่กับ ยกเก็จ. | ย่อเก็จ ก. ทำเก็จให้ลึกเข้าไปในฝาผนัง กำแพง ฐาน หรือเชิงกลอน, คู่กับ ยกเก็จ. |
ย่อท้อ เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-ทอ-ทะ-หาน-ไม้-โท-ออ-อ่าง | เป็นคำกริยา หมายถึง ไม่คิดสู้เพราะขาดกําลังใจ. | ย่อท้อ ก. ไม่คิดสู้เพราะขาดกําลังใจ. |
ย่อพล เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-พอ-พาน-ลอ-ลิง | เป็นคำกริยา หมายถึง ย่นหรือย่อแนวกําลังทหารให้สั้นเข้า. | ย่อพล ก. ย่นหรือย่อแนวกําลังทหารให้สั้นเข้า. |
ย่อมุม เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-มอ-ม้า-สะ-หระ-อุ-มอ-ม้า | เป็นคำกริยา หมายถึง ทําให้มุมของผังพื้นหรือวัตถุ เช่น แท่น ฐาน เสา ลึกเข้าไปทางด้านในเป็นมุม ๙๐ องศา. | ย่อมุม ก. ทําให้มุมของผังพื้นหรือวัตถุ เช่น แท่น ฐาน เสา ลึกเข้าไปทางด้านในเป็นมุม ๙๐ องศา. |
ย่อย่น เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-ยอ-ยัก-ไม้-เอก-นอ-หนู | เป็นคำกริยา หมายถึง ทําให้สั้น; ท้อถอย; ย่นย่อ ก็ว่า. | ย่อย่น ก. ทําให้สั้น; ท้อถอย; ย่นย่อ ก็ว่า. |
ย่อแย่ เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-สะ-หระ-แอ-ยอ-ยัก-ไม้-เอก | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง อ่อนแอ. | ย่อแย่ ว. อ่อนแอ. |
ย่อส่วน เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-สอ-เสือ-ไม้-เอก-วอ-แหวน-นอ-หนู | เป็นคำกริยา หมายถึง จำลองแบบให้มีรูปทรง ขนาด เล็กลงกว่าต้นแบบตามส่วน เช่น จงย่อส่วนแผนที่นี้. เป็นคำนาม หมายถึง แบบที่จำลองให้มีรูปทรง ขนาด เล็กลงกว่าต้นแบบตามส่วนอย่างหุ่นจำลอง เช่น นี่เป็นย่อส่วนของแผนที่ฉบับนั้น. | ย่อส่วน ก. จำลองแบบให้มีรูปทรง ขนาด เล็กลงกว่าต้นแบบตามส่วน เช่น จงย่อส่วนแผนที่นี้. น. แบบที่จำลองให้มีรูปทรง ขนาด เล็กลงกว่าต้นแบบตามส่วนอย่างหุ่นจำลอง เช่น นี่เป็นย่อส่วนของแผนที่ฉบับนั้น. |
ย่อหน้า เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-หอ-หีบ-นอ-หนู-ไม้-โท-สะ-หระ-อา | เป็นคำกริยา หมายถึง เขียนหรือพิมพ์หนังสือขึ้นบรรทัดใหม่และร่นจากแนวซ้ายสุดเข้าไปพอสมควร เพื่อแสดงว่าขึ้นความตอนใหม่. เป็นคำนาม หมายถึง ข้อความตอนย่อย ๆ ที่แยกออกจากกันด้วยวิธีเขียนย่อหน้า; ในกฎหมายเรียกย่อหน้าว่า วรรค เช่น มาตรา ๕ วรรค ๒. | ย่อหน้า ก. เขียนหรือพิมพ์หนังสือขึ้นบรรทัดใหม่และร่นจากแนวซ้ายสุดเข้าไปพอสมควร เพื่อแสดงว่าขึ้นความตอนใหม่. น. ข้อความตอนย่อย ๆ ที่แยกออกจากกันด้วยวิธีเขียนย่อหน้า; ในกฎหมายเรียกย่อหน้าว่า วรรค เช่น มาตรา ๕ วรรค ๒. |
ย่อหย่อน เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-หอ-หีบ-ยอ-ยัก-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-นอ-หนู | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ไม่เคร่งครัด เช่น ระเบียบวินัยย่อหย่อน, ลดน้อยถอยลง เช่น กำลังย่อหย่อน. | ย่อหย่อน ว. ไม่เคร่งครัด เช่น ระเบียบวินัยย่อหย่อน, ลดน้อยถอยลง เช่น กำลังย่อหย่อน. |
ย่อเหลี่ยม เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-สะ-หระ-เอ-หอ-หีบ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อี-ไม้-เอก-ยอ-ยัก-มอ-ม้า | เป็นคำกริยา หมายถึง ทำให้มุมของเสาหรือภาชนะเช่นผอบ ตะลุ่ม ลึกเข้าไปทางด้านในเป็นมุม ๙๐ องศา. | ย่อเหลี่ยม ก. ทำให้มุมของเสาหรือภาชนะเช่นผอบ ตะลุ่ม ลึกเข้าไปทางด้านในเป็นมุม ๙๐ องศา. |
ย่อแหยง เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-สะ-หระ-แอ-หอ-หีบ-ยอ-ยัก-งอ-งู | [แหฺยง] เป็นคำกริยา หมายถึง เกรงกลัว. | ย่อแหยง [แหฺยง] ก. เกรงกลัว. |
ยอก เขียนว่า ยอ-ยัก-ออ-อ่าง-กอ-ไก่ | เป็นคำกริยา หมายถึง ตำฝังอยู่ในเนื้อ เช่น หนามยอกเอาหนามบ่ง, รู้สึกเจ็บแปลบคล้ายมีอะไรมาเสียดแทง เช่น รู้สึกยอกอก, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น หนามยอกอก. | ยอก ก. ตำฝังอยู่ในเนื้อ เช่น หนามยอกเอาหนามบ่ง, รู้สึกเจ็บแปลบคล้ายมีอะไรมาเสียดแทง เช่น รู้สึกยอกอก, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น หนามยอกอก. |
ยอกย้อน เขียนว่า ยอ-ยัก-ออ-อ่าง-กอ-ไก่-ยอ-ยัก-ไม้-โท-ออ-อ่าง-นอ-หนู | เป็นคำกริยา หมายถึง ซับซ้อนซ่อนเงื่อน เช่น ทำกลอุบายยอกย้อน, กลับไปกลับมาอย่างมีเงื่อนงำ เช่น พยานให้การยอกย้อน, ยุ่งยากซับซ้อนสะสางยาก เช่น คดียอกย้อน. เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ย้อนให้เจ็บอกเจ็บใจ เช่น พูดจายอกย้อน, ย้อนยอก ก็ว่า. | ยอกย้อน ก. ซับซ้อนซ่อนเงื่อน เช่น ทำกลอุบายยอกย้อน, กลับไปกลับมาอย่างมีเงื่อนงำ เช่น พยานให้การยอกย้อน, ยุ่งยากซับซ้อนสะสางยาก เช่น คดียอกย้อน. ว. ย้อนให้เจ็บอกเจ็บใจ เช่น พูดจายอกย้อน, ย้อนยอก ก็ว่า. |
ย็อกแย็ก, ย็อกแย็ก ๆ, ย็อก ๆ แย็ก ๆ ย็อกแย็ก เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-ไต่-คู้-ออ-อ่าง-กอ-ไก่-สะ-หระ-แอ-ยอ-ยัก-ไม้-ไต่-คู้-กอ-ไก่ ย็อกแย็ก ๆ เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-ไต่-คู้-ออ-อ่าง-กอ-ไก่-สะ-หระ-แอ-ยอ-ยัก-ไม้-ไต่-คู้-กอ-ไก่ ไม้-ยะ-มก ย็อก ๆ แย็ก ๆ เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-ไต่-คู้-ออ-อ่าง-กอ-ไก่ ไม้-ยะ-มก สะ-หระ-แอ-ยอ-ยัก-ไม้-ไต่-คู้-กอ-ไก่ ไม้-ยะ-มก | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง อาการที่ทำอย่างไม่เอาจริงเอาจัง ไม่เข้าท่าเข้าทาง ไม่ถูกแบบถูกแผน หรือไม่ได้เรื่องได้ราว เป็นต้น เช่น ทำงานย็อกแย็ก เต้นย็อกแย็ก ๆ ทำย็อก ๆ แย็ก ๆ. | ย็อกแย็ก, ย็อกแย็ก ๆ, ย็อก ๆ แย็ก ๆ ว. อาการที่ทำอย่างไม่เอาจริงเอาจัง ไม่เข้าท่าเข้าทาง ไม่ถูกแบบถูกแผน หรือไม่ได้เรื่องได้ราว เป็นต้น เช่น ทำงานย็อกแย็ก เต้นย็อกแย็ก ๆ ทำย็อก ๆ แย็ก ๆ. |
ยอง ๑, ยอง ๆ ยอง ความหมายที่ ๑ เขียนว่า ยอ-ยัก-ออ-อ่าง-งอ-งู ยอง ๆ เขียนว่า ยอ-ยัก-ออ-อ่าง-งอ-งู ไม้-ยะ-มก | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง อาการที่นั่งชันเข่าทั้ง ๒ โดยก้นไม่ถึงพื้น เช่น นั่งยองอยู่ในท้องแม่. ในวงเล็บ มาจาก หนังสือไตรภูมิพระร่วง ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ ร.ศ. ๑๓๑, หย่อง ก็ว่า. | ยอง ๑, ยอง ๆ ว. อาการที่นั่งชันเข่าทั้ง ๒ โดยก้นไม่ถึงพื้น เช่น นั่งยองอยู่ในท้องแม่. (ไตรภูมิ), หย่อง ก็ว่า. |
ยอง เขียนว่า ยอ-ยัก-ออ-อ่าง-งอ-งู ความหมายที่ ๒ | ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำนาม หมายถึง สัตว์ในจําพวกอีเก้ง. | ยอง ๒ (กลอน) น. สัตว์ในจําพวกอีเก้ง. |
ยอง เขียนว่า ยอ-ยัก-ออ-อ่าง-งอ-งู ความหมายที่ ๓ | เป็นคำนาม หมายถึง เส้น, ใย, มักใช้เข้าคู่กับคำ ใย เป็น ยองใย. เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง สุกใส, ยะยอง หรือ ยรรยอง ก็ใช้ แต่มักแปลว่า สุกใส. | ยอง ๓ น. เส้น, ใย, มักใช้เข้าคู่กับคำ ใย เป็น ยองใย. ว. สุกใส, ยะยอง หรือ ยรรยอง ก็ใช้ แต่มักแปลว่า สุกใส. |
ยองใย เขียนว่า ยอ-ยัก-ออ-อ่าง-งอ-งู-สะ-หระ-ไอ-ไม้-ม้วน-ยอ-ยัก | เป็นคำนาม หมายถึง เส้นใย (แห่งแมงมุม). เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ผุดผ่องเป็นนํ้านวล เช่น ผิวนวลเป็นยองใย; ใช้เป็นคําเปรียบเทียบว่ามีขนาดเล็กเท่าใยแมงมุม เช่น ไม่มีความผิดแม้เท่ายองใย. | ยองใย น. เส้นใย (แห่งแมงมุม). ว. ผุดผ่องเป็นนํ้านวล เช่น ผิวนวลเป็นยองใย; ใช้เป็นคําเปรียบเทียบว่ามีขนาดเล็กเท่าใยแมงมุม เช่น ไม่มีความผิดแม้เท่ายองใย. |
ยองไย่ เขียนว่า ยอ-ยัก-ออ-อ่าง-งอ-งู-สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ยอ-ยัก-ไม้-เอก | เป็นคำนาม หมายถึง ใยแมงมุม. | ยองไย่ น. ใยแมงมุม. |
ย่อง เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-งอ-งู ความหมายที่ ๑ | เป็นคำกริยา หมายถึง เดินอย่างใช้ปลายเท้าจดลงเบา ๆ. | ย่อง ๑ ก. เดินอย่างใช้ปลายเท้าจดลงเบา ๆ. |
ย่องกริบ เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-งอ-งู-กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อิ-บอ-ไบ-ไม้ | เป็นคำกริยา หมายถึง เดินเข้าไปอย่างเงียบกริบ. | ย่องกริบ ก. เดินเข้าไปอย่างเงียบกริบ. |
ย่องเบา เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-งอ-งู-สะ-หระ-เอ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อา | เป็นคำกริยา หมายถึง อาการที่ย่องเข้าไปลักสิ่งของของเขาเพื่อไม่ให้เจ้าของรู้ตัว. | ย่องเบา ก. อาการที่ย่องเข้าไปลักสิ่งของของเขาเพื่อไม่ให้เจ้าของรู้ตัว. |
ย่องแย่ง เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-งอ-งู-สะ-หระ-แอ-ยอ-ยัก-ไม้-เอก-งอ-งู | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ไม่ถนัด, ไม่แข็งแรง, (ใช้แก่อาการเดินที่เหยียบไม่ถนัด), กระย่องกระแย่ง ก็ว่า. | ย่องแย่ง ว. ไม่ถนัด, ไม่แข็งแรง, (ใช้แก่อาการเดินที่เหยียบไม่ถนัด), กระย่องกระแย่ง ก็ว่า. |
ย่อง เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-งอ-งู ความหมายที่ ๒ | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ที่ลอยเหนือขึ้นมา เช่น แกงมันย่อง, มีเงางาม เช่น ขัดพื้นเป็นมันย่อง. | ย่อง ๒ ว. ที่ลอยเหนือขึ้นมา เช่น แกงมันย่อง, มีเงางาม เช่น ขัดพื้นเป็นมันย่อง. |
ย้อง เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-โท-ออ-อ่าง-งอ-งู | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง งาม, สวย. | ย้อง ว. งาม, สวย. |
ย่องเหง็ด เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-งอ-งู-สะ-หระ-เอ-หอ-หีบ-งอ-งู-ไม้-ไต่-คู้-ดอ-เด็ก | เป็นคำนาม หมายถึง จ้องหน่อง. ในวงเล็บ มาจากภาษาชวา . | ย่องเหง็ด น. จ้องหน่อง. (ช.). |
ยอด เขียนว่า ยอ-ยัก-ออ-อ่าง-ดอ-เด็ก | เป็นคำนาม หมายถึง ส่วนสูงสุด, ส่วนเหนือสุด, เช่น ยอดปราสาท ยอดเจดีย์ ยอดเขา, ส่วนปลายสุดของพรรณไม้หรือที่แตกใหม่ เช่น ยอดผัก ยอดตำลึง ยอดกระถิน; เรียกคนหรือสัตว์ที่มีคุณสมบัติยิ่งยวดเหนือผู้อื่น เช่น ยอดคน ยอดหญิง ยอดสุนัข; จํานวนรวม เช่น ยอดเงิน; ฝี (ใช้ในราชาศัพท์ว่า พระยอด). ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาปาก เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ที่สุด เช่น ยอดเยี่ยม ยอดรัก. | ยอด น. ส่วนสูงสุด, ส่วนเหนือสุด, เช่น ยอดปราสาท ยอดเจดีย์ ยอดเขา, ส่วนปลายสุดของพรรณไม้หรือที่แตกใหม่ เช่น ยอดผัก ยอดตำลึง ยอดกระถิน; เรียกคนหรือสัตว์ที่มีคุณสมบัติยิ่งยวดเหนือผู้อื่น เช่น ยอดคน ยอดหญิง ยอดสุนัข; จํานวนรวม เช่น ยอดเงิน; ฝี (ใช้ในราชาศัพท์ว่า พระยอด). (ปาก) ว. ที่สุด เช่น ยอดเยี่ยม ยอดรัก. |
ยอดด้วน เขียนว่า ยอ-ยัก-ออ-อ่าง-ดอ-เด็ก-ดอ-เด็ก-ไม้-โท-วอ-แหวน-นอ-หนู | เป็นคำนาม หมายถึง เถาหัวด้วน. | ยอดด้วน น. เถาหัวด้วน. |
ยอดดี เขียนว่า ยอ-ยัก-ออ-อ่าง-ดอ-เด็ก-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-อี | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ดีที่สุด เช่น รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี. | ยอดดี ว. ดีที่สุด เช่น รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี. |
ยอดน้ำ เขียนว่า ยอ-ยัก-ออ-อ่าง-ดอ-เด็ก-นอ-หนู-ไม้-โท-สะ-หระ-อำ | ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในภูมิศาสตร์ เป็นคำนาม หมายถึง แหล่งที่เกิดของลํานํ้า, ต้นนํ้า ก็เรียก. | ยอดน้ำ (ภูมิ) น. แหล่งที่เกิดของลํานํ้า, ต้นนํ้า ก็เรียก. |
ยอดเยี่ยม เขียนว่า ยอ-ยัก-ออ-อ่าง-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-เอ-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อี-ไม้-เอก-ยอ-ยัก-มอ-ม้า | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ดีที่สุด, เลิศที่สุด, เยี่ยมยอด ก็ว่า. | ยอดเยี่ยม ว. ดีที่สุด, เลิศที่สุด, เยี่ยมยอด ก็ว่า. |
ยอดสร้อย เขียนว่า ยอ-ยัก-ออ-อ่าง-ดอ-เด็ก-สอ-เสือ-รอ-เรือ-ไม้-โท-ออ-อ่าง-ยอ-ยัก | เป็นคำนาม หมายถึง นางผู้เป็นที่รักยิ่ง. | ยอดสร้อย น. นางผู้เป็นที่รักยิ่ง. |
ยอดอก เขียนว่า ยอ-ยัก-ออ-อ่าง-ดอ-เด็ก-ออ-อ่าง-กอ-ไก่ | เป็นคำนาม หมายถึง บริเวณเหนือลิ้นปี่. | ยอดอก น. บริเวณเหนือลิ้นปี่. |
ยอดจาก เขียนว่า ยอ-ยัก-ออ-อ่าง-ดอ-เด็ก-จอ-จาน-สะ-หระ-อา-กอ-ไก่ | ดู มังกร เขียนว่า มอ-ม้า-ไม้-หัน-อา-กาด-งอ-งู-กอ-ไก่-รอ-เรือ ความหมายที่ ๒. | ยอดจาก ดู มังกร ๒. |
ยอดม่วง เขียนว่า ยอ-ยัก-ออ-อ่าง-ดอ-เด็ก-มอ-ม้า-ไม้-เอก-วอ-แหวน-งอ-งู | ดู ตาเดียว เขียนว่า ตอ-เต่า-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-เอ-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก-วอ-แหวน ความหมายที่ ๑. | ยอดม่วง ดู ตาเดียว ๑. |
ยอน เขียนว่า ยอ-ยัก-ออ-อ่าง-นอ-หนู | เป็นคำกริยา หมายถึง แยง เช่น เอาขนไก่ยอนหู. | ยอน ก. แยง เช่น เอาขนไก่ยอนหู. |
ย้อน เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-โท-ออ-อ่าง-นอ-หนู | เป็นคำกริยา หมายถึง หวนกลับ เช่น ย้อนไป ย้อนมา ย้อนกลับบ้าน, ทวนกลับ เช่น ย้อนเกล็ด ย้อนหลัง, พูดสวนตอบ (มักใช้ในทางไม่ดี) เช่น เด็กย้อนผู้ใหญ่ ลูกย้อนแม่. | ย้อน ก. หวนกลับ เช่น ย้อนไป ย้อนมา ย้อนกลับบ้าน, ทวนกลับ เช่น ย้อนเกล็ด ย้อนหลัง, พูดสวนตอบ (มักใช้ในทางไม่ดี) เช่น เด็กย้อนผู้ใหญ่ ลูกย้อนแม่. |
ย้อนคำ เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-โท-ออ-อ่าง-นอ-หนู-คอ-ควาย-สะ-หระ-อำ | เป็นคำกริยา หมายถึง ว่าสวนตอบตามคำที่เขาว่ามา เช่น ฝ่ายหนึ่งพูดว่า เธอโง่จริง อีกฝ่ายหนึ่งก็ย้อนคำว่า แล้วเธอไม่โง่หรือ. | ย้อนคำ ก. ว่าสวนตอบตามคำที่เขาว่ามา เช่น ฝ่ายหนึ่งพูดว่า เธอโง่จริง อีกฝ่ายหนึ่งก็ย้อนคำว่า แล้วเธอไม่โง่หรือ. |
ย้อนต้น เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-โท-ออ-อ่าง-นอ-หนู-ตอ-เต่า-ไม้-โท-นอ-หนู | เป็นคำกริยา หมายถึง กลับถอยหลังไปที่ตอนต้น, หวนไปข้างต้น, เช่น อ่านหนังสือย้อนต้น. | ย้อนต้น ก. กลับถอยหลังไปที่ตอนต้น, หวนไปข้างต้น, เช่น อ่านหนังสือย้อนต้น. |
ย้อนเนื้อ เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-โท-ออ-อ่าง-นอ-หนู-สะ-หระ-เอ-นอ-หนู-สะ-หระ-อือ-ไม้-โท-ออ-อ่าง | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ลักษณะไม้ที่ไม่มีตา แต่เนื้อทวนไปทวนมา เลื่อยหรือไสกบได้ยาก มักเป็นไม้เนื้ออ่อน เช่น งิ้ว เรียกว่า ไม้ย้อนเนื้อ. | ย้อนเนื้อ ว. ลักษณะไม้ที่ไม่มีตา แต่เนื้อทวนไปทวนมา เลื่อยหรือไสกบได้ยาก มักเป็นไม้เนื้ออ่อน เช่น งิ้ว เรียกว่า ไม้ย้อนเนื้อ. |
ย้อนยอก เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-โท-ออ-อ่าง-นอ-หนู-ยอ-ยัก-ออ-อ่าง-กอ-ไก่ | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ย้อนให้เจ็บอกเจ็บใจ เช่น พูดจาย้อนยอก, ยอกย้อน ก็ว่า. | ย้อนยอก ว. ย้อนให้เจ็บอกเจ็บใจ เช่น พูดจาย้อนยอก, ยอกย้อน ก็ว่า. |
ย้อนรอย เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-โท-ออ-อ่าง-นอ-หนู-รอ-เรือ-ออ-อ่าง-ยอ-ยัก | เป็นคำกริยา หมายถึง ทวนกลับตามรอยเดิม เช่น ตำรวจย้อนรอยผู้ร้าย. | ย้อนรอย ก. ทวนกลับตามรอยเดิม เช่น ตำรวจย้อนรอยผู้ร้าย. |
ย้อนศร เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-โท-ออ-อ่าง-นอ-หนู-สอ-สา-ลา-รอ-เรือ | เป็นคำกริยา หมายถึง ไปทวนเครื่องหมายลูกศร เช่น ขับรถย้อนศร. | ย้อนศร ก. ไปทวนเครื่องหมายลูกศร เช่น ขับรถย้อนศร. |
ย้อนแสง เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-โท-ออ-อ่าง-นอ-หนู-สะ-หระ-แอ-สอ-เสือ-งอ-งู | เป็นคำกริยา หมายถึง ทวนแสง เช่น ถ่ายรูปย้อนแสง. | ย้อนแสง ก. ทวนแสง เช่น ถ่ายรูปย้อนแสง. |
ย้อนหลัง เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-โท-ออ-อ่าง-นอ-หนู-หอ-หีบ-ลอ-ลิง-ไม้-หัน-อา-กาด-งอ-งู | เป็นคำกริยา หมายถึง ถอยกลับไปหาอดีต เช่น ให้ผลย้อนหลัง มีผลย้อนหลัง. | ย้อนหลัง ก. ถอยกลับไปหาอดีต เช่น ให้ผลย้อนหลัง มีผลย้อนหลัง. |
ยอบ เขียนว่า ยอ-ยัก-ออ-อ่าง-บอ-ไบ-ไม้ | เป็นคำกริยา หมายถึง ทรุดลง, ย่อลง, หมอบ, ฟุบ, เช่น ยอบกาย ยอบตัวลง. เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง พร่อง. | ยอบ ก. ทรุดลง, ย่อลง, หมอบ, ฟุบ, เช่น ยอบกาย ยอบตัวลง. ว. พร่อง. |
ยอบแยบ เขียนว่า ยอ-ยัก-ออ-อ่าง-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-แอ-ยอ-ยัก-บอ-ไบ-ไม้ | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง จวนหมด, เกือบจะไม่พอ, เช่น เงินทองยอบแยบ เสบียงอาหารยอบแยบ. | ยอบแยบ ว. จวนหมด, เกือบจะไม่พอ, เช่น เงินทองยอบแยบ เสบียงอาหารยอบแยบ. |
ยอม เขียนว่า ยอ-ยัก-ออ-อ่าง-มอ-ม้า | เป็นคำกริยา หมายถึง อาการที่แสดงออกบอกให้รู้ว่าเห็นด้วย ไม่ขัด ตกลงปลงใจ เช่น ยอมตามที่สั่ง ยอมนั่ง ยอมตาย, ผ่อนผันให้ เช่น ยอมให้ทําได้ ยอมให้ไป, ไม่สู้ เช่น เรื่องนี้ผมยอมเขา. | ยอม ก. อาการที่แสดงออกบอกให้รู้ว่าเห็นด้วย ไม่ขัด ตกลงปลงใจ เช่น ยอมตามที่สั่ง ยอมนั่ง ยอมตาย, ผ่อนผันให้ เช่น ยอมให้ทําได้ ยอมให้ไป, ไม่สู้ เช่น เรื่องนี้ผมยอมเขา. |
ยอมความ เขียนว่า ยอ-ยัก-ออ-อ่าง-มอ-ม้า-คอ-ควาย-วอ-แหวน-สะ-หระ-อา-มอ-ม้า | ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในกฎหมาย เป็นคำกริยา หมายถึง ตกลงระงับคดีอาญาที่เป็นความผิดต่อส่วนตัวก่อนคดีถึงที่สุด. | ยอมความ (กฎ) ก. ตกลงระงับคดีอาญาที่เป็นความผิดต่อส่วนตัวก่อนคดีถึงที่สุด. |
ย่อม เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-มอ-ม้า ความหมายที่ ๑ | คําช่วยกริยา แสดงว่าเป็นไปตามปรกติ ตามธรรมดา หรือ เป็นสามัญทั่ว ๆ ไป เช่น สัตว์ทั้งหลายเกิดมาแล้วย่อมตาย. | ย่อม ๑ คําช่วยกริยา แสดงว่าเป็นไปตามปรกติ ตามธรรมดา หรือ เป็นสามัญทั่ว ๆ ไป เช่น สัตว์ทั้งหลายเกิดมาแล้วย่อมตาย. |
ย่อม เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-มอ-ม้า ความหมายที่ ๒ | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง มีขนาดค่อนข้างเล็กเมื่อเปรียบเทียบกับสิ่งที่ใหญ่กว่า เช่น นี่ขนาดใหญ่ นั่นขนาดย่อม, เบา (ใช้แก่ราคา); ลดลง, หย่อน. | ย่อม ๒ ว. มีขนาดค่อนข้างเล็กเมื่อเปรียบเทียบกับสิ่งที่ใหญ่กว่า เช่น นี่ขนาดใหญ่ นั่นขนาดย่อม, เบา (ใช้แก่ราคา); ลดลง, หย่อน. |
ย่อมเยา เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-มอ-ม้า-สะ-หระ-เอ-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง มีราคาถูก, มีราคาพอสมควร. | ย่อมเยา ว. มีราคาถูก, มีราคาพอสมควร. |
ย้อม เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-โท-ออ-อ่าง-มอ-ม้า | เป็นคำกริยา หมายถึง ชุบด้วยสี, อาบด้วยสี, ทำให้ด้าย ไหม หรือผ้าเป็นต้นเป็นสีต่าง ๆ ด้วยการชุบลงไปในน้ำสี. | ย้อม ก. ชุบด้วยสี, อาบด้วยสี, ทำให้ด้าย ไหม หรือผ้าเป็นต้นเป็นสีต่าง ๆ ด้วยการชุบลงไปในน้ำสี. |
ย้อมใจ เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-โท-ออ-อ่าง-มอ-ม้า-สะ-หระ-ไอ-ไม้-ม้วน-จอ-จาน | เป็นคำกริยา หมายถึง ชุบใจ, ทําให้ใจชุ่มชื่น, ปลุกใจให้กล้า เช่น กินเหล้าย้อมใจ. | ย้อมใจ ก. ชุบใจ, ทําให้ใจชุ่มชื่น, ปลุกใจให้กล้า เช่น กินเหล้าย้อมใจ. |
ย้อมผม เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-โท-ออ-อ่าง-มอ-ม้า-ผอ-ผึ้ง-มอ-ม้า | เป็นคำกริยา หมายถึง ใช้ครีมหรือน้ำสีเป็นต้น ฉีดหรือพ่นให้ผมเป็นสีต่าง ๆ เช่น สีดำ สีทอง สีเงิน. | ย้อมผม ก. ใช้ครีมหรือน้ำสีเป็นต้น ฉีดหรือพ่นให้ผมเป็นสีต่าง ๆ เช่น สีดำ สีทอง สีเงิน. |
ย้อมแมวขาย เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-โท-ออ-อ่าง-มอ-ม้า-สะ-หระ-แอ-มอ-ม้า-วอ-แหวน-ขอ-ไข่-สะ-หระ-อา-ยอ-ยัก | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาปาก เป็นคำกริยา หมายถึง ตกแต่งคนหรือของที่ไม่ดีโดยมีเจตนาจะหลอกลวงให้ผู้อื่นเชื่อว่าดี. | ย้อมแมวขาย (ปาก) ก. ตกแต่งคนหรือของที่ไม่ดีโดยมีเจตนาจะหลอกลวงให้ผู้อื่นเชื่อว่าดี. |
ย่อย เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-ยอ-ยัก | เป็นคำกริยา หมายถึง ทําเป็นส่วนเล็กส่วนน้อยโดยแยกจากส่วนใหญ่ เช่น ย่อยหิน; ทำให้ละลายจนซึมซาบได้ เช่น ย่อยอาหาร. เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง เรียกส่วนน้อยที่แยกจากส่วนใหญ่ เช่น ส่วนย่อย กลุ่มย่อย, เบ็ดเตล็ด, ไม่สำคัญ, เช่น ข่าวย่อย, เรียกละครเรื่องสั้น ๆ ว่า ละครย่อย; เรียกธนบัตรที่ราคาน้อยกว่าฉบับที่มีราคามากว่า ธนบัตรย่อย หรือ แบงก์ย่อย. | ย่อย ก. ทําเป็นส่วนเล็กส่วนน้อยโดยแยกจากส่วนใหญ่ เช่น ย่อยหิน; ทำให้ละลายจนซึมซาบได้ เช่น ย่อยอาหาร. ว. เรียกส่วนน้อยที่แยกจากส่วนใหญ่ เช่น ส่วนย่อย กลุ่มย่อย, เบ็ดเตล็ด, ไม่สำคัญ, เช่น ข่าวย่อย, เรียกละครเรื่องสั้น ๆ ว่า ละครย่อย; เรียกธนบัตรที่ราคาน้อยกว่าฉบับที่มีราคามากว่า ธนบัตรย่อย หรือ แบงก์ย่อย. |
ย่อยข่าว เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-ยอ-ยัก-ขอ-ไข่-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา-วอ-แหวน | เป็นคำกริยา หมายถึง หยิบยกเฉพาะประเด็นสำคัญของข่าวมากล่าว. | ย่อยข่าว ก. หยิบยกเฉพาะประเด็นสำคัญของข่าวมากล่าว. |
ย่อยยับ เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-ยอ-ยัก-ยอ-ยัก-ไม้-หัน-อา-กาด-บอ-ไบ-ไม้ | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ป่นปี้, เช่น เสียการพนันย่อยยับ เสียหายย่อยยับ, ยับย่อย หรือ ยับเยิน ก็ว่า. เป็นคำกริยา หมายถึง ถูกทำลาย, เสียหาย, เช่น เขาเล่นการพนันจนทรัพย์สมบัติของพ่อแม่ย่อยยับหมด, ยับย่อย หรือ ยับเยิน ก็ว่า. | ย่อยยับ ว. ป่นปี้, เช่น เสียการพนันย่อยยับ เสียหายย่อยยับ, ยับย่อย หรือ ยับเยิน ก็ว่า. ก. ถูกทำลาย, เสียหาย, เช่น เขาเล่นการพนันจนทรัพย์สมบัติของพ่อแม่ย่อยยับหมด, ยับย่อย หรือ ยับเยิน ก็ว่า. |
ย้อย เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-โท-ออ-อ่าง-ยอ-ยัก | เป็นคำกริยา หมายถึง ห้อยเป็นทางลงมา เช่น รากไทรย้อยลงมา พวงมะไฟห้อยย้อย, ห้อยลงมา เช่น รวงผึ้งย้อยลงมา ผมย้อยลงปรกหน้า, ไหลเป็นทางยืดลงมา เช่น น้ำมูกย้อย น้ำตาลย้อย, หยาดห้อยลงมาจวนจะหยด เช่น น้ำหมากย้อย น้ำตาย้อย; คราบหินปูนที่ย้อยลงมาจากเพดานถ้ำหินปูน มีลักษณะเป็นท่อน เป็นกรวย หรือเป็นแผ่นม่าน เรียกว่า หินย้อย. | ย้อย ก. ห้อยเป็นทางลงมา เช่น รากไทรย้อยลงมา พวงมะไฟห้อยย้อย, ห้อยลงมา เช่น รวงผึ้งย้อยลงมา ผมย้อยลงปรกหน้า, ไหลเป็นทางยืดลงมา เช่น น้ำมูกย้อย น้ำตาลย้อย, หยาดห้อยลงมาจวนจะหยด เช่น น้ำหมากย้อย น้ำตาย้อย; คราบหินปูนที่ย้อยลงมาจากเพดานถ้ำหินปูน มีลักษณะเป็นท่อน เป็นกรวย หรือเป็นแผ่นม่าน เรียกว่า หินย้อย. |
ย้อแย้ เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-โท-ออ-อ่าง-สะ-หระ-แอ-ยอ-ยัก-ไม้-โท | เป็นคำกริยา หมายถึง เดินป้อแป้อย่างเป็ด. | ย้อแย้ ก. เดินป้อแป้อย่างเป็ด. |
ยะ เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อะ ความหมายที่ ๑ | คําประกอบข้างหน้าคําที่ตั้งต้นด้วย ย ในบทกลอน มีความแปลอย่างเดียวกับคําเดิมนั้น เช่น ยะยอง ยะยั่ง ยะยัด ยะย้อย ยะย้าย. | ยะ ๑ คําประกอบข้างหน้าคําที่ตั้งต้นด้วย ย ในบทกลอน มีความแปลอย่างเดียวกับคําเดิมนั้น เช่น ยะยอง ยะยั่ง ยะยัด ยะย้อย ยะย้าย. |
ยะ เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อะ ความหมายที่ ๒ | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง คําออกเสียงลงท้ายวลีหรือประโยค ถือว่าไม่สุภาพ เช่น ของกินนะยะ ของถวายพระนะยะ จะรีบไปไหนยะ. | ยะ ๒ ว. คําออกเสียงลงท้ายวลีหรือประโยค ถือว่าไม่สุภาพ เช่น ของกินนะยะ ของถวายพระนะยะ จะรีบไปไหนยะ. |
ย่ะ เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-เอก-สะ-หระ-อะ | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง คํารับ (ถือเป็นคําไม่สุภาพ). | ย่ะ ว. คํารับ (ถือเป็นคําไม่สุภาพ). |
ยะงันจะคับ เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อะ-งอ-งู-ไม้-หัน-อา-กาด-นอ-หนู-จอ-จาน-สะ-หระ-อะ-คอ-ควาย-ไม้-หัน-อา-กาด-บอ-ไบ-ไม้ | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง พูดไม่ได้. ในวงเล็บ มาจากภาษาชวา . | ยะงันจะคับ ว. พูดไม่ได้. (ช.). |
ยะยอบ เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อะ-ยอ-ยัก-ออ-อ่าง-บอ-ไบ-ไม้ | ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำกริยา หมายถึง ยอบ, นอบ. | ยะยอบ (กลอน) ก. ยอบ, นอบ. |
ยะยัน เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อะ-ยอ-ยัก-ไม้-หัน-อา-กาด-นอ-หนู | ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง แวววาว. | ยะยัน (กลอน) ว. แวววาว. |
ยะยับ เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อะ-ยอ-ยัก-ไม้-หัน-อา-กาด-บอ-ไบ-ไม้ | ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ระยับ, ยิบ ๆ, วาบวับ. | ยะยับ (กลอน) ว. ระยับ, ยิบ ๆ, วาบวับ. |
ยะยาน เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อะ-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-นอ-หนู | ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ไหว ๆ. | ยะยาน (กลอน) ว. ไหว ๆ. |
ยะย้าย เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อะ-ยอ-ยัก-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-ยอ-ยัก | ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำกริยา หมายถึง ยักย้าย, ย้ายไปมา. | ยะย้าย (กลอน) ก. ยักย้าย, ย้ายไปมา. |
ยะย้าว เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อะ-ยอ-ยัก-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-วอ-แหวน | ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำกริยา หมายถึง ร่าเริง, ยินดี. | ยะย้าว (กลอน) ก. ร่าเริง, ยินดี. |
ยะแย้ง เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-แอ-ยอ-ยัก-ไม้-โท-งอ-งู | ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำกริยา หมายถึง ยื้อแย่ง. | ยะแย้ง (กลอน) ก. ยื้อแย่ง. |
ยะวา เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อะ-วอ-แหวน-สะ-หระ-อา | ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ เป็นคำนาม หมายถึง ชวา. | ยะวา (โบ) น. ชวา. |
ยะหิทา เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อะ-หอ-หีบ-สะ-หระ-อิ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อา | เป็นคำกริยา หมายถึง เย็บ. ในวงเล็บ มาจากภาษาชวา . | ยะหิทา ก. เย็บ. (ช.). |
ยัก เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-หัน-อา-กาด-กอ-ไก่ ความหมายที่ ๑ | เป็นคำกริยา หมายถึง อาการที่คิ้ว ไหล่ หรือก้น เป็นต้น ยกขึ้นยกลง, ทําให้คิ้ว ไหล่ หรือก้น เป็นต้น ยกขึ้นยกลง, เช่น ยักคิ้ว ยักไหล่ เดินก้นยักไปยักมา; อาการที่ของบางอย่างเยื้องไม่ได้ระดับกัน เช่น สวมเสื้อไหล่ยักไปข้างหนึ่ง; ย้ายข้างไปมา เช่น ยักเอว ว่าวปักเป้ายักไปยักมา; แว้งแทงด้วยเงี่ยง เช่น ปลาดุกยัก; แยกหรือกันเอาไว้เสียเอง เช่น ยักเงิน; ย้ายที่จากที่เขาแทงไว้เดิมไปลงที่ใหม่ (ใช้ในการแทงถั่วโปเป็นต้น) เช่น ยัก ๒ ไป ๓ ยัก ๓ ไป ๔ ซึ่งเรียกว่า ยัก ๓ ไปครบ; เอาทรัพย์ของผู้อื่นที่อยู่ในความดูแลรักษาของตนไปโดยทุจริต, ยักยอก ก็ว่า. | ยัก ๑ ก. อาการที่คิ้ว ไหล่ หรือก้น เป็นต้น ยกขึ้นยกลง, ทําให้คิ้ว ไหล่ หรือก้น เป็นต้น ยกขึ้นยกลง, เช่น ยักคิ้ว ยักไหล่ เดินก้นยักไปยักมา; อาการที่ของบางอย่างเยื้องไม่ได้ระดับกัน เช่น สวมเสื้อไหล่ยักไปข้างหนึ่ง; ย้ายข้างไปมา เช่น ยักเอว ว่าวปักเป้ายักไปยักมา; แว้งแทงด้วยเงี่ยง เช่น ปลาดุกยัก; แยกหรือกันเอาไว้เสียเอง เช่น ยักเงิน; ย้ายที่จากที่เขาแทงไว้เดิมไปลงที่ใหม่ (ใช้ในการแทงถั่วโปเป็นต้น) เช่น ยัก ๒ ไป ๓ ยัก ๓ ไป ๔ ซึ่งเรียกว่า ยัก ๓ ไปครบ; เอาทรัพย์ของผู้อื่นที่อยู่ในความดูแลรักษาของตนไปโดยทุจริต, ยักยอก ก็ว่า. |
ยักกระสาย เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-หัน-อา-กาด-กอ-ไก่-กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สอ-เสือ-สะ-หระ-อา-ยอ-ยัก | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาปาก เป็นคำกริยา หมายถึง เปลี่ยนน้ำกระสายยาไปตามอาการของโรค, โดยปริยายหมายความว่า เปลี่ยนไปใช้อย่างอื่นหรือวิธีอื่นแทน. | ยักกระสาย (ปาก) ก. เปลี่ยนน้ำกระสายยาไปตามอาการของโรค, โดยปริยายหมายความว่า เปลี่ยนไปใช้อย่างอื่นหรือวิธีอื่นแทน. |
ยักคอ เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-หัน-อา-กาด-กอ-ไก่-คอ-ควาย-ออ-อ่าง | เป็นคำกริยา หมายถึง เอียงคอไปในทางตรงกันข้ามกับยักเอว เป็นท่าประกอบการรำไทยอย่างหนึ่ง. | ยักคอ ก. เอียงคอไปในทางตรงกันข้ามกับยักเอว เป็นท่าประกอบการรำไทยอย่างหนึ่ง. |
ยักคิ้ว เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-หัน-อา-กาด-กอ-ไก่-คอ-ควาย-สะ-หระ-อิ-ไม้-โท-วอ-แหวน | เป็นคำกริยา หมายถึง ลักษณะของสิ่งซึ่ง ๒ ข้างไม่เท่ากันอย่างนุ่งผ้าโจงกระเบนสูงข้างต่ำข้าง เรียกว่า นุ่งผ้ายักคิ้ว. | ยักคิ้ว ก. ลักษณะของสิ่งซึ่ง ๒ ข้างไม่เท่ากันอย่างนุ่งผ้าโจงกระเบนสูงข้างต่ำข้าง เรียกว่า นุ่งผ้ายักคิ้ว. |
ยักเงี่ยง เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-หัน-อา-กาด-กอ-ไก่-สะ-หระ-เอ-งอ-งู-สะ-หระ-อี-ไม้-เอก-ยอ-ยัก-งอ-งู | เป็นคำกริยา หมายถึง หมอบลงและขยับศอกไปมา เป็นท่าหนึ่งของการเล่นเสือข้ามห้วย. | ยักเงี่ยง ก. หมอบลงและขยับศอกไปมา เป็นท่าหนึ่งของการเล่นเสือข้ามห้วย. |
ยักท่า เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-หัน-อา-กาด-กอ-ไก่-ทอ-ทะ-หาน-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา | เป็นคำกริยา หมายถึง ไม่ปฏิบัติตามที่ตกลงกันไว้ เป็นการเล่นแง่เพื่อดูท่วงทีของอีกฝ่ายหนึ่ง. | ยักท่า ก. ไม่ปฏิบัติตามที่ตกลงกันไว้ เป็นการเล่นแง่เพื่อดูท่วงทีของอีกฝ่ายหนึ่ง. |
ยักยอก เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-หัน-อา-กาด-กอ-ไก่-ยอ-ยัก-ออ-อ่าง-กอ-ไก่ | เป็นคำกริยา หมายถึง เอาทรัพย์ของผู้อื่นที่อยู่ในความดูแลรักษาของตนไปโดยทุจริต, ใช้เพียง ยัก คําเดียว ก็มี. ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในกฎหมาย เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อความผิดอาญาฐานเบียดบังเอาทรัพย์ของผู้อื่น หรือซึ่งผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย ที่อยู่ในความครอบครองมาเป็นของตนหรือของบุคคลที่สามโดยทุจริต เรียกว่า ความผิดฐานยักยอก. | ยักยอก ก. เอาทรัพย์ของผู้อื่นที่อยู่ในความดูแลรักษาของตนไปโดยทุจริต, ใช้เพียง ยัก คําเดียว ก็มี. (กฎ) น. ชื่อความผิดอาญาฐานเบียดบังเอาทรัพย์ของผู้อื่น หรือซึ่งผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย ที่อยู่ในความครอบครองมาเป็นของตนหรือของบุคคลที่สามโดยทุจริต เรียกว่า ความผิดฐานยักยอก. |
ยักย้าย เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-หัน-อา-กาด-กอ-ไก่-ยอ-ยัก-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-ยอ-ยัก | เป็นคำกริยา หมายถึง เปลี่ยนที่เสีย หรือนําไปไว้เสียที่อื่น, ยักย้ายถ่ายเท ก็ว่า, ใช้เพียง ยัก คําเดียว ก็มี. | ยักย้าย ก. เปลี่ยนที่เสีย หรือนําไปไว้เสียที่อื่น, ยักย้ายถ่ายเท ก็ว่า, ใช้เพียง ยัก คําเดียว ก็มี. |
ยักยิ้ม เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-หัน-อา-กาด-กอ-ไก่-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อิ-ไม้-โท-มอ-ม้า | เป็นคำนาม หมายถึง ลักยิ้ม. | ยักยิ้ม น. ลักยิ้ม. |
ยักเยื้อง เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-หัน-อา-กาด-กอ-ไก่-สะ-หระ-เอ-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อือ-ไม้-โท-ออ-อ่าง-งอ-งู | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง เลี่ยงไป, ไม่ตรงไปตรงมา, เช่น ถามเรื่องหนึ่ง แต่พูดยักเยื้องไปตอบอีกเรื่องหนึ่ง, ดัดแปลง เช่น ทํายักเยื้อง, เยื้องยัก ก็ว่า. | ยักเยื้อง ว. เลี่ยงไป, ไม่ตรงไปตรงมา, เช่น ถามเรื่องหนึ่ง แต่พูดยักเยื้องไปตอบอีกเรื่องหนึ่ง, ดัดแปลง เช่น ทํายักเยื้อง, เยื้องยัก ก็ว่า. |
ยักหล่ม เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-หัน-อา-กาด-กอ-ไก่-หอ-หีบ-ลอ-ลิง-ไม้-เอก-มอ-ม้า | เป็นคำนาม หมายถึง รอยบุ๋มที่สะบักทั้ง ๒ ข้าง ถือว่าเป็นลักษณะไม่ดีสําหรับหญิง ๑ ใน ๓ อย่าง คือ สีจัก ยักหล่ม ถ่มร้าย, มักใช้เข้าคู่กับ ถ่มร้าย เป็น ยักหล่มถ่มร้าย. | ยักหล่ม น. รอยบุ๋มที่สะบักทั้ง ๒ ข้าง ถือว่าเป็นลักษณะไม่ดีสําหรับหญิง ๑ ใน ๓ อย่าง คือ สีจัก ยักหล่ม ถ่มร้าย, มักใช้เข้าคู่กับ ถ่มร้าย เป็น ยักหล่มถ่มร้าย. |
ยักเอว เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-หัน-อา-กาด-กอ-ไก่-สะ-หระ-เอ-ออ-อ่าง-วอ-แหวน | เป็นคำกริยา หมายถึง เอียงตัวท่อนบนไปข้างใดข้างหนึ่ง ส่วนลำตัวท่อนล่างตั้งตรง เป็นท่าประกอบการรำไทยท่าหนึ่ง. | ยักเอว ก. เอียงตัวท่อนบนไปข้างใดข้างหนึ่ง ส่วนลำตัวท่อนล่างตั้งตรง เป็นท่าประกอบการรำไทยท่าหนึ่ง. |
ยัก เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-หัน-อา-กาด-กอ-ไก่ ความหมายที่ ๒ | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาปาก เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง คําประกอบกริยาในประโยคปฏิเสธแสดงความผิดคาด เช่น ไม่ยักจริง ว่าจะมาแล้วไม่ยักมา. | ยัก ๒ (ปาก) ว. คําประกอบกริยาในประโยคปฏิเสธแสดงความผิดคาด เช่น ไม่ยักจริง ว่าจะมาแล้วไม่ยักมา. |
ยักข์ เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-หัน-อา-กาด-กอ-ไก่-ขอ-ไข่-ทัน-ทะ-คาด | เป็นคำนาม หมายถึง ยักษ์. ในวงเล็บ มาจากภาษาบาลี และมาจากภาษาสันสกฤต ยกฺษ เขียนว่า ยอ-ยัก-กอ-ไก่-พิน-ทุ-สอ-รือ-สี. | ยักข์ น. ยักษ์. (ป.; ส. ยกฺษ). |
ยักขินี เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-หัน-อา-กาด-กอ-ไก่-ขอ-ไข่-สะ-หระ-อิ-นอ-หนู-สะ-หระ-อี | เป็นคำนาม หมายถึง นางยักษ์. ในวงเล็บ มาจากภาษาบาลี และมาจากภาษาสันสกฤต ยกฺษิณี เขียนว่า ยอ-ยัก-กอ-ไก่-พิน-ทุ-สอ-รือ-สี-สะ-หระ-อิ-นอ-เนน-สะ-หระ-อี. | ยักขินี น. นางยักษ์. (ป.; ส. ยกฺษิณี). |
ยักเพรีย เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-หัน-อา-กาด-กอ-ไก่-สะ-หระ-เอ-พอ-พาน-รอ-เรือ-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก | ดู ครอบจักรวาล เขียนว่า คอ-ควาย-รอ-เรือ-ออ-อ่าง-บอ-ไบ-ไม้-จอ-จาน-ไม้-หัน-อา-กาด-กอ-ไก่-รอ-เรือ-วอ-แหวน-สะ-หระ-อา-ลอ-ลิง ความหมายที่ ๕. | ยักเพรีย ดู ครอบจักรวาล ๕. |
ยักยี่ยักยัน เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-หัน-อา-กาด-กอ-ไก่-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อี-ไม้-เอก-ยอ-ยัก-ไม้-หัน-อา-กาด-กอ-ไก่-ยอ-ยัก-ไม้-หัน-อา-กาด-นอ-หนู | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ขะยิก ๆ, เขยก ๆ, ทําท่าขยับบ่อย ๆ. | ยักยี่ยักยัน ว. ขะยิก ๆ, เขยก ๆ, ทําท่าขยับบ่อย ๆ. |
ยักยี่ยักเหยา เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-หัน-อา-กาด-กอ-ไก่-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อี-ไม้-เอก-ยอ-ยัก-ไม้-หัน-อา-กาด-กอ-ไก่-สะ-หระ-เอ-หอ-หีบ-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา | [เหฺยา] เป็นคำกริยา หมายถึง พูดเซ้าซี้จะเอาให้ได้. | ยักยี่ยักเหยา [เหฺยา] ก. พูดเซ้าซี้จะเอาให้ได้. |
ยักแย่ยักยัน เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-หัน-อา-กาด-กอ-ไก่-สะ-หระ-แอ-ยอ-ยัก-ไม้-เอก-ยอ-ยัก-ไม้-หัน-อา-กาด-กอ-ไก่-ยอ-ยัก-ไม้-หัน-อา-กาด-นอ-หนู | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง เขย้อแขย่ง, มีท่าทางเก้กัง. | ยักแย่ยักยัน ว. เขย้อแขย่ง, มีท่าทางเก้กัง. |
ยักษ์ เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-หัน-อา-กาด-กอ-ไก่-สอ-รือ-สี-ทัน-ทะ-คาด | เป็นคำนาม หมายถึง อมนุษย์พวกหนึ่ง ถือกันว่ามีรูปร่างใหญ่โตน่ากลัว มีเขี้ยวงอก ใจดําอํามหิต ชอบกินมนุษย์ กินสัตว์ โดยมากมีฤทธิ์เหาะได้จําแลงตัวได้, บางทีใช้ปะปนกับคําว่า อสูร รากษส และมาร ก็มี; เทวดาพวกหนึ่งในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกและชั้นปรนิมมิตวสวัตดี; ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์ศตภิษัช มี ๔ ดวง, ดาวพิมพ์ทอง หรือ ดาวสตะภิสชะ ก็เรียก. เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง โดยปริยายหมายความว่า มีลักษณะหรืออาการอย่างยักษ์ เช่น ใจยักษ์ หน้ายักษ์, มีลักษณะใหญ่เป็นพิเศษในพวก เช่น ปลาหมึกยักษ์. ในวงเล็บ มาจากภาษาสันสกฤต ยกฺษ เขียนว่า ยอ-ยัก-กอ-ไก่-พิน-ทุ-สอ-รือ-สี ว่า อมนุษย์พวกหนึ่ง บริวารท้าวเวสวัณ และมาจากภาษาบาลี ยกฺข เขียนว่า ยอ-ยัก-กอ-ไก่-พิน-ทุ-ขอ-ไข่. | ยักษ์ น. อมนุษย์พวกหนึ่ง ถือกันว่ามีรูปร่างใหญ่โตน่ากลัว มีเขี้ยวงอก ใจดําอํามหิต ชอบกินมนุษย์ กินสัตว์ โดยมากมีฤทธิ์เหาะได้จําแลงตัวได้, บางทีใช้ปะปนกับคําว่า อสูร รากษส และมาร ก็มี; เทวดาพวกหนึ่งในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกและชั้นปรนิมมิตวสวัตดี; ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์ศตภิษัช มี ๔ ดวง, ดาวพิมพ์ทอง หรือ ดาวสตะภิสชะ ก็เรียก. ว. โดยปริยายหมายความว่า มีลักษณะหรืออาการอย่างยักษ์ เช่น ใจยักษ์ หน้ายักษ์, มีลักษณะใหญ่เป็นพิเศษในพวก เช่น ปลาหมึกยักษ์. (ส. ยกฺษ ว่า อมนุษย์พวกหนึ่ง บริวารท้าวเวสวัณ; ป. ยกฺข). |
ยักษ์ปักหลั่น เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-หัน-อา-กาด-กอ-ไก่-สอ-รือ-สี-ทัน-ทะ-คาด-ปอ-ปลา-ไม้-หัน-อา-กาด-กอ-ไก่-หอ-หีบ-ลอ-ลิง-ไม้-หัน-อา-กาด-ไม้-เอก-นอ-หนู | [ปัก] ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นสำนวน เป็นคำนาม หมายถึง ผู้มีรูปร่างใหญ่โต. | ยักษ์ปักหลั่น [ปัก] (สำ) น. ผู้มีรูปร่างใหญ่โต. |
ยักษ์มักกะสัน เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-หัน-อา-กาด-กอ-ไก่-สอ-รือ-สี-ทัน-ทะ-คาด-มอ-ม้า-ไม้-หัน-อา-กาด-กอ-ไก่-กอ-ไก่-สะ-หระ-อะ-สอ-เสือ-ไม้-หัน-อา-กาด-นอ-หนู | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นสำนวน เป็นคำนาม หมายถึง ผู้มีใจคอดุร้าย. | ยักษ์มักกะสัน (สำ) น. ผู้มีใจคอดุร้าย. |
ยักษา เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-หัน-อา-กาด-กอ-ไก่-สอ-รือ-สี-สะ-หระ-อา | ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำนาม หมายถึง ยักษ์. ในวงเล็บ มาจากภาษาสันสกฤต . | ยักษา (กลอน) น. ยักษ์. (ส.). |
ยักษิณี เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-หัน-อา-กาด-กอ-ไก่-สอ-รือ-สี-สะ-หระ-อิ-นอ-เนน-สะ-หระ-อี | เป็นคำนาม หมายถึง นางยักษ์. ในวงเล็บ มาจากภาษาสันสกฤต และมาจากภาษาบาลี ยกฺขินี เขียนว่า ยอ-ยัก-กอ-ไก่-พิน-ทุ-ขอ-ไข่-สะ-หระ-อิ-นอ-หนู-สะ-หระ-อี. | ยักษิณี น. นางยักษ์. (ส.; ป. ยกฺขินี). |
ยักษี เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-หัน-อา-กาด-กอ-ไก่-สอ-รือ-สี-สะ-หระ-อี | ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำนาม หมายถึง ยักษ์. ในวงเล็บ มาจากภาษาสันสกฤต . | ยักษี (กลอน) น. ยักษ์. (ส.). |
ยักหยาว เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-หัน-อา-กาด-กอ-ไก่-หอ-หีบ-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-วอ-แหวน | เป็นคำกริยา หมายถึง ยั่วเย้าให้โกรธ. | ยักหยาว ก. ยั่วเย้าให้โกรธ. |
ยัง เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-หัน-อา-กาด-งอ-งู | คำช่วยกริยาในประโยคคำถามปฏิเสธหรือประโยคปฏิเสธ โดยละกริยานั้นไว้ให้เข้าใจเอาเอง เช่น ถามว่า จะไปหรือยัง ตอบว่า ยัง, ถ้าใช้นำหน้าคำกริยาเข้าคู่กับคำ อยู่ หมายความว่า กริยานั้นกำลังกระทำอยู่ เช่น เขายังกินอยู่ เขายังนอนอยู่, ถ้าใช้นำหน้าคำวิเศษณ์เข้าคู่กับคำ อยู่ หมายความว่า ยังอยู่ในภาวะนั้น เช่น ยังเด็กอยู่ ยังสาวอยู่ ยังเช้าอยู่, ใช้ประกอบคำกริยาเชิงปฏิเสธที่เริ่มหรือกำหนดไว้แล้ว แต่ยังไม่เสร็จสิ้นลงไป เช่น ป่านนี้ยังไม่มา ทั้ง ๆ ที่น่าจะมาแล้ว, ใช้เข้าคู่กับคำอื่นเพื่อเชื่อมประโยคหน้ากับประโยคหลังที่มีข้อความในลักษณะคล้ายคลึงกันให้เนื่องกัน เช่น นอกจากโง่แล้วยังหยิ่งอีกด้วย นอกจากสวยแล้วยังรวยอีกด้วย. เป็นคำกริยา หมายถึง คงอยู่, มีอยู่, เช่น ถามว่า หมดแล้วหรือ ตอบว่า ยังมีอีก; กระทำให้ เช่น ยังชีวิตให้เป็นไป ยังใจให้ชุ่มชื่น. เป็นคำบุรพบท หมายถึง ถึง เช่น แจ้งความมายังท่านทั้งหลาย, สู่ เช่น ไปยังบ้าน, ตลอด, ตลอดถึง, เช่น วันยังค่ำ คืนยังรุ่ง. | ยัง คำช่วยกริยาในประโยคคำถามปฏิเสธหรือประโยคปฏิเสธ โดยละกริยานั้นไว้ให้เข้าใจเอาเอง เช่น ถามว่า จะไปหรือยัง ตอบว่า ยัง, ถ้าใช้นำหน้าคำกริยาเข้าคู่กับคำ อยู่ หมายความว่า กริยานั้นกำลังกระทำอยู่ เช่น เขายังกินอยู่ เขายังนอนอยู่, ถ้าใช้นำหน้าคำวิเศษณ์เข้าคู่กับคำ อยู่ หมายความว่า ยังอยู่ในภาวะนั้น เช่น ยังเด็กอยู่ ยังสาวอยู่ ยังเช้าอยู่, ใช้ประกอบคำกริยาเชิงปฏิเสธที่เริ่มหรือกำหนดไว้แล้ว แต่ยังไม่เสร็จสิ้นลงไป เช่น ป่านนี้ยังไม่มา ทั้ง ๆ ที่น่าจะมาแล้ว, ใช้เข้าคู่กับคำอื่นเพื่อเชื่อมประโยคหน้ากับประโยคหลังที่มีข้อความในลักษณะคล้ายคลึงกันให้เนื่องกัน เช่น นอกจากโง่แล้วยังหยิ่งอีกด้วย นอกจากสวยแล้วยังรวยอีกด้วย. ก. คงอยู่, มีอยู่, เช่น ถามว่า หมดแล้วหรือ ตอบว่า ยังมีอีก; กระทำให้ เช่น ยังชีวิตให้เป็นไป ยังใจให้ชุ่มชื่น. บ. ถึง เช่น แจ้งความมายังท่านทั้งหลาย, สู่ เช่น ไปยังบ้าน, ตลอด, ตลอดถึง, เช่น วันยังค่ำ คืนยังรุ่ง. |
ยังก่อน เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-หัน-อา-กาด-งอ-งู-กอ-ไก่-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-นอ-หนู | คำขอร้องให้รั้งรอไว้ก่อน เช่น ยังก่อน อย่าเพิ่งกิน. | ยังก่อน คำขอร้องให้รั้งรอไว้ก่อน เช่น ยังก่อน อย่าเพิ่งกิน. |
ยังกับ เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-หัน-อา-กาด-งอ-งู-กอ-ไก่-ไม้-หัน-อา-กาด-บอ-ไบ-ไม้ | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง อย่างกับ, เหมือนกับ, ราวกับ, เช่น สวยยังกับนางสาวไทย เหมือนกันยังกับโขกมาจากพิมพ์เดียวกัน. | ยังกับ ว. อย่างกับ, เหมือนกับ, ราวกับ, เช่น สวยยังกับนางสาวไทย เหมือนกันยังกับโขกมาจากพิมพ์เดียวกัน. |
ยังชั่ว เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-หัน-อา-กาด-งอ-งู-ชอ-ช้าง-ไม้-หัน-อา-กาด-ไม้-เอก-วอ-แหวน | เป็นคำกริยา หมายถึง ค่อยดีขึ้น. | ยังชั่ว ก. ค่อยดีขึ้น. |
ยังเป็นอยู่ เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-หัน-อา-กาด-งอ-งู-สะ-หระ-เอ-ปอ-ปลา-ไม้-ไต่-คู้-นอ-หนู-ออ-อ่าง-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อู-ไม้-เอก | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ยังมีชีวิตอยู่ เช่น ปลายังเป็นอยู่. | ยังเป็นอยู่ ว. ยังมีชีวิตอยู่ เช่น ปลายังเป็นอยู่. |
ยังมี เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-หัน-อา-กาด-งอ-งู-มอ-ม้า-สะ-หระ-อี | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง มี (มักใช้ในบทนิทานหรือในวรรณคดี) เช่น แต่ปางหลังยังมีกรุงกษัตริย์. | ยังมี ว. มี (มักใช้ในบทนิทานหรือในวรรณคดี) เช่น แต่ปางหลังยังมีกรุงกษัตริย์. |
ยังเลย เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-หัน-อา-กาด-งอ-งู-สะ-หระ-เอ-ลอ-ลิง-ยอ-ยัก | ใช้เป็นคำปฏิเสธกริยาที่ถูกถามอย่างสิ้นเชิง เช่น ถามว่า อ่านหรือยัง ตอบว่า ยังเลย. | ยังเลย ใช้เป็นคำปฏิเสธกริยาที่ถูกถามอย่างสิ้นเชิง เช่น ถามว่า อ่านหรือยัง ตอบว่า ยังเลย. |
ยังแล้ว เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-หัน-อา-กาด-งอ-งู-สะ-หระ-แอ-ลอ-ลิง-ไม้-โท-วอ-แหวน | ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง อยู่แล้ว, ให้เสร็จไป. | ยังแล้ว (กลอน) ว. อยู่แล้ว, ให้เสร็จไป. |
ยังไหว เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-หัน-อา-กาด-งอ-งู-สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-หอ-หีบ-วอ-แหวน | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ยังพอสู้ได้, ยังพอทำได้, เช่น ยังทำไหวไหม ถ้ายังไหวก็จะไม่พัก. | ยังไหว ว. ยังพอสู้ได้, ยังพอทำได้, เช่น ยังทำไหวไหม ถ้ายังไหวก็จะไม่พัก. |
ยังอยู่ เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-หัน-อา-กาด-งอ-งู-ออ-อ่าง-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อู-ไม้-เอก | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ยังมีชีวิตอยู่, ยังไม่ตาย, เช่น พ่อยังอยู่ แม่ตายแล้ว. | ยังอยู่ ว. ยังมีชีวิตอยู่, ยังไม่ตาย, เช่น พ่อยังอยู่ แม่ตายแล้ว. |
ยังอีก เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-หัน-อา-กาด-งอ-งู-ออ-อ่าง-สะ-หระ-อี-กอ-ไก่ | ใช้ประกอบคำกริยาหรือคำวิเศษณ์ หมายความว่า ที่ยังไม่ได้ทำ ยังมีอยู่ เช่น งานที่ยังไม่ได้ทำ ยังอีกเยอะเลย; คำที่ผู้ใหญ่ใช้ขู่เด็กที่ไม่ทำตามสั่ง เช่น เมื่อบอกให้เด็กออกมา เด็กไม่ออกมา ก็จะพูดว่า ยังอีก. | ยังอีก ใช้ประกอบคำกริยาหรือคำวิเศษณ์ หมายความว่า ที่ยังไม่ได้ทำ ยังมีอยู่ เช่น งานที่ยังไม่ได้ทำ ยังอีกเยอะเลย; คำที่ผู้ใหญ่ใช้ขู่เด็กที่ไม่ทำตามสั่ง เช่น เมื่อบอกให้เด็กออกมา เด็กไม่ออกมา ก็จะพูดว่า ยังอีก. |
ยั้ง เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-หัน-อา-กาด-ไม้-โท-งอ-งู | เป็นคำกริยา หมายถึง หยุด เช่น ตีไม่ยั้ง กินไม่ยั้ง ยั้งไม่ทัน ลื่นยั้งไม่อยู่, หยุดพักชั่วคราว เช่น ยั้งทัพอยู่ที่นครสวรรค์ ๓ คืน แล้วจึงเดินทัพต่อไป, ชะงักชั่วคราว เช่น ยั้งคิด ยั้งมือ, รั้ง เช่น ยั้งไม่หยุด, ขยัก เช่น อย่าใช้เงินจนหมด ยั้งไว้บ้าง. | ยั้ง ก. หยุด เช่น ตีไม่ยั้ง กินไม่ยั้ง ยั้งไม่ทัน ลื่นยั้งไม่อยู่, หยุดพักชั่วคราว เช่น ยั้งทัพอยู่ที่นครสวรรค์ ๓ คืน แล้วจึงเดินทัพต่อไป, ชะงักชั่วคราว เช่น ยั้งคิด ยั้งมือ, รั้ง เช่น ยั้งไม่หยุด, ขยัก เช่น อย่าใช้เงินจนหมด ยั้งไว้บ้าง. |
ยังกาหลา เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-หัน-อา-กาด-งอ-งู-กอ-ไก่-สะ-หระ-อา-หอ-หีบ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อา | เป็นคำนาม หมายถึง ต้นมะตาด. ในวงเล็บ มาจากภาษาชวา . | ยังกาหลา น. ต้นมะตาด. (ช.). |
ยั่งยืน เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-หัน-อา-กาด-ไม้-เอก-งอ-งู-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อือ-นอ-หนู | เป็นคำกริยา หมายถึง ยืนยง, อยู่นาน, เช่น ขอให้มีความสุขยั่งยืน, คงทน เช่น สังขารไม่จีรังยั่งยืน เจดีย์นี้มีอายุยั่งยืนมาได้ ๗๐๐ ปีแล้ว. | ยั่งยืน ก. ยืนยง, อยู่นาน, เช่น ขอให้มีความสุขยั่งยืน, คงทน เช่น สังขารไม่จีรังยั่งยืน เจดีย์นี้มีอายุยั่งยืนมาได้ ๗๐๐ ปีแล้ว. |
ยังหยัง เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-หัน-อา-กาด-งอ-งู-หอ-หีบ-ยอ-ยัก-ไม้-หัน-อา-กาด-งอ-งู | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง รูปงาม. ในวงเล็บ มาจากภาษาชวา . | ยังหยัง ว. รูปงาม. (ช.). |
ยัชโญปวีต เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-หัน-อา-กาด-ชอ-ช้าง-สะ-หระ-โอ-ยอ-หยิง-ปอ-ปลา-วอ-แหวน-สะ-หระ-อี-ตอ-เต่า | [ยัดโยปะวีด] เป็นคำนาม หมายถึง สายเครื่องหมายวรรณะพราหมณ์ กษัตริย์ และแพศย์ สวมจากซ้ายไปขวา, สายมงคล สายธุรํา หรือ สายธุหรํ่าของพราหมณ์ ก็เรียก, เพี้ยนเป็น ยัชโญปิวีต ก็มี. ในวงเล็บ มาจากภาษาสันสกฤต . | ยัชโญปวีต [ยัดโยปะวีด] น. สายเครื่องหมายวรรณะพราหมณ์ กษัตริย์ และแพศย์ สวมจากซ้ายไปขวา, สายมงคล สายธุรํา หรือ สายธุหรํ่าของพราหมณ์ ก็เรียก, เพี้ยนเป็น ยัชโญปิวีต ก็มี. (ส.). |
ยัชนะ เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-หัน-อา-กาด-ชอ-ช้าง-นอ-หนู-สะ-หระ-อะ | [ยัดชะนะ] เป็นคำนาม หมายถึง พิธีจําพวกหนึ่งสําหรับบูชาเทวดาโดยสวดมนตร์และถวายเครื่องเซ่นสังเวย. ในวงเล็บ มาจากภาษาบาลี และมาจากภาษาสันสกฤต . | ยัชนะ [ยัดชะนะ] น. พิธีจําพวกหนึ่งสําหรับบูชาเทวดาโดยสวดมนตร์และถวายเครื่องเซ่นสังเวย. (ป., ส.). |
ยัชมาน เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-หัน-อา-กาด-ชอ-ช้าง-มอ-ม้า-สะ-หระ-อา-นอ-หนู | [ยัดชะ] เป็นคำนาม หมายถึง เจ้าภาพ. ในวงเล็บ มาจากภาษาสันสกฤต . | ยัชมาน [ยัดชะ] น. เจ้าภาพ. (ส.). |
ยัญ, ยัญ, ยัญญะ ยัญ เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-หัน-อา-กาด-ยอ-หยิง ยัญ มีเครื่องหมายยัติภังค์ท้ายคำ เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-หัน-อา-กาด-ยอ-หยิง ยัญญะ เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-หัน-อา-กาด-ยอ-หยิง-ยอ-หยิง-สะ-หระ-อะ | [ยันยะ] เป็นคำนาม หมายถึง การเซ่น, การบูชา, การเซ่นสรวงโดยมีการฆ่าสัตว์หรือคนเป็นเครื่องบูชาเรียกว่า บูชายัญ. ในวงเล็บ มาจากภาษาบาลี ยฺ เขียนว่า ยอ-ยัก-ยอ-หยิง-พิน-ทุ-ยอ-หยิง และมาจากภาษาสันสกฤต ยชฺ เขียนว่า ยอ-ยัก-ชอ-ช้าง-พิน-ทุ-ยอ-หยิง. | ยัญ, ยัญ, ยัญญะ [ยันยะ] น. การเซ่น, การบูชา, การเซ่นสรวงโดยมีการฆ่าสัตว์หรือคนเป็นเครื่องบูชาเรียกว่า บูชายัญ. (ป. ยฺ; ส. ยชฺ). |
ยัญกรรม เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-หัน-อา-กาด-ยอ-หยิง-กอ-ไก่-รอ-เรือ-รอ-เรือ-มอ-ม้า | เป็นคำนาม หมายถึง การเซ่นสรวงบูชาของพราหมณ์. | ยัญกรรม น. การเซ่นสรวงบูชาของพราหมณ์. |
ยัญพิธี เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-หัน-อา-กาด-ยอ-หยิง-พอ-พาน-สะ-หระ-อิ-ทอ-ทง-สะ-หระ-อี | เป็นคำนาม หมายถึง พิธีเซ่นสรวงบูชาของพราหมณ์. | ยัญพิธี น. พิธีเซ่นสรวงบูชาของพราหมณ์. |
ยัญญังค์ เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-หัน-อา-กาด-ยอ-หยิง-ยอ-หยิง-ไม้-หัน-อา-กาด-งอ-งู-คอ-ควาย-ทัน-ทะ-คาด | เป็นคำนาม หมายถึง มะเดื่อชุมพร. ในวงเล็บ มาจากภาษาบาลี . | ยัญญังค์ น. มะเดื่อชุมพร. (ป.). |
ยัฐิิ เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-หัน-อา-กาด-ถอ-ถาน-สะ-หระ-อิ-สะ-หระ-อิ ความหมายที่ ๑ | [ยัดถิ] เป็นคำนาม หมายถึง ไม้เท้า. ในวงเล็บ มาจากภาษาบาลี ยฏิ เขียนว่า ยอ-ยัก-ตอ-ปะ-ตัก-ถอ-ถาน-สะ-หระ-อิ และมาจากภาษาสันสกฤต ยษฺฏิ เขียนว่า ยอ-ยัก-สอ-รือ-สี-พิน-ทุ-ตอ-ปะ-ตัก-สะ-หระ-อิ. | ยัฐิิ ๑ [ยัดถิ] น. ไม้เท้า. (ป. ยฏิ; ส. ยษฺฏิ). |
ยัฐิ เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-หัน-อา-กาด-ถอ-ถาน-สะ-หระ-อิ ความหมายที่ ๒ | [ยัดถิ] เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อมาตราวัดความยาวของอินเดียโบราณ เท่ากับ ๑ วา ๑ ศอก, ๒๐ ยัฐิ เป็น ๑ อุสภ. | ยัฐิ ๒ [ยัดถิ] น. ชื่อมาตราวัดความยาวของอินเดียโบราณ เท่ากับ ๑ วา ๑ ศอก, ๒๐ ยัฐิ เป็น ๑ อุสภ. |
ยัฐิมธุกา เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-หัน-อา-กาด-ถอ-ถาน-สะ-หระ-อิ-มอ-ม้า-ทอ-ทง-สะ-หระ-อุ-กอ-ไก่-สะ-หระ-อา | [ยัดถิมะทุกา] เป็นคำนาม หมายถึง ชะเอมเครือ. ในวงเล็บ มาจากภาษาบาลี ยฏฺิมธุกา เขียนว่า ยอ-ยัก-ตอ-ปะ-ตัก-พิน-ทุ-ถอ-ถาน-สะ-หระ-อิ-มอ-ม้า-ทอ-ทง-สะ-หระ-อุ-กอ-ไก่-สะ-หระ-อา. | ยัฐิมธุกา [ยัดถิมะทุกา] น. ชะเอมเครือ. (ป. ยฏฺิมธุกา). |
ยัด เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-หัน-อา-กาด-ดอ-เด็ก | เป็นคำกริยา หมายถึง บรรจุหรือใส่สิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยอัดดันหรือผลักดันเข้าไป เช่น ยัดที่นอน, บรรจุหรือใส่สิ่งที่ระบุไว้ด้วยอาการเช่นนั้น เช่น ยัดนุ่น ยัดกระสอบ ยัดเข้าห้องขัง, โดยปริยายหมายถึงบรรจุ ใส่ หรือ ให้ โดยอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เอาเงินยัดให้เป็นสินบน ยัดความรู้ที่ให้โทษเข้าไปในสมอง; ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาปาก หมายถึง ใช้แทนคําว่า กิน (ใช้ในลักษณะกินอย่างตะกรุมตะกราม ถือว่าเป็นคำหยาบ). | ยัด ก. บรรจุหรือใส่สิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยอัดดันหรือผลักดันเข้าไป เช่น ยัดที่นอน, บรรจุหรือใส่สิ่งที่ระบุไว้ด้วยอาการเช่นนั้น เช่น ยัดนุ่น ยัดกระสอบ ยัดเข้าห้องขัง, โดยปริยายหมายถึงบรรจุ ใส่ หรือ ให้ โดยอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เอาเงินยัดให้เป็นสินบน ยัดความรู้ที่ให้โทษเข้าไปในสมอง; (ปาก) ใช้แทนคําว่า กิน (ใช้ในลักษณะกินอย่างตะกรุมตะกราม ถือว่าเป็นคำหยาบ). |
ยัดข้อหา เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-หัน-อา-กาด-ดอ-เด็ก-ขอ-ไข่-ไม้-โท-ออ-อ่าง-หอ-หีบ-สะ-หระ-อา | เป็นคำกริยา หมายถึง ยัดความผิดให้แล้วตั้งข้อหา. | ยัดข้อหา ก. ยัดความผิดให้แล้วตั้งข้อหา. |
ยัดทะนาน เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-หัน-อา-กาด-ดอ-เด็ก-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อะ-นอ-หนู-สะ-หระ-อา-นอ-หนู | เป็นคำกริยา หมายถึง เบียดกันแน่น, อัดกันแน่น, เช่น คนแน่นเหมือนแป้งยัดทะนาน. | ยัดทะนาน ก. เบียดกันแน่น, อัดกันแน่น, เช่น คนแน่นเหมือนแป้งยัดทะนาน. |
ยัดปาก เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-หัน-อา-กาด-ดอ-เด็ก-ปอ-ปลา-สะ-หระ-อา-กอ-ไก่ | เป็นคำกริยา หมายถึง อ้างว่าเป็นคำพูดของผู้ใดผู้หนึ่ง ทั้ง ๆ ที่ไม่ใช่. | ยัดปาก ก. อ้างว่าเป็นคำพูดของผู้ใดผู้หนึ่ง ทั้ง ๆ ที่ไม่ใช่. |
ยัดพลุ เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-หัน-อา-กาด-ดอ-เด็ก-พอ-พาน-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อุ | เป็นคำกริยา หมายถึง ใส่ดินพลุลงในกระบอกพลุแล้วตอกให้แน่น. | ยัดพลุ ก. ใส่ดินพลุลงในกระบอกพลุแล้วตอกให้แน่น. |
ยัดเยียด เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-หัน-อา-กาด-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-เอ-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก-ดอ-เด็ก | เป็นคำกริยา หมายถึง เบียดกันแน่น, แออัดกันแน่น, เช่น คนเบียดเสียดยัดเยียดกัน; ขืนหรือแค่นให้โดยผู้รับไม่เต็มใจรับ เช่น ยัดเยียดขายให้, เยียดยัด ก็ว่า, ใช้เพียง ยัด คําเดียวก็มี. | ยัดเยียด ก. เบียดกันแน่น, แออัดกันแน่น, เช่น คนเบียดเสียดยัดเยียดกัน; ขืนหรือแค่นให้โดยผู้รับไม่เต็มใจรับ เช่น ยัดเยียดขายให้, เยียดยัด ก็ว่า, ใช้เพียง ยัด คําเดียวก็มี. |
ยัดไส้ เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-หัน-อา-กาด-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-สอ-เสือ-ไม้-โท | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ที่มีสิ่งอื่นบรรจุอยู่ข้างใน เช่น เป็ดยัดไส้. เป็นคำกริยา หมายถึง สอดของปลอมไว้ข้างใน เช่น ธนบัตรยัดไส้. | ยัดไส้ ว. ที่มีสิ่งอื่นบรรจุอยู่ข้างใน เช่น เป็ดยัดไส้. ก. สอดของปลอมไว้ข้างใน เช่น ธนบัตรยัดไส้. |
ยัติภังค์ เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-หัน-อา-กาด-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อิ-พอ-สำ-เพา-ไม้-หัน-อา-กาด-งอ-งู-คอ-ควาย-ทัน-ทะ-คาด | [ยัดติ]ดู ยติภังค์ เขียนว่า ยอ-ยัก-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อิ-พอ-สำ-เพา-ไม้-หัน-อา-กาด-งอ-งู-คอ-ควาย-ทัน-ทะ-คาด ที่ ยติ เขียนว่า ยอ-ยัก-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อิ ความหมายที่ ๒. | ยัติภังค์ [ยัดติ] ดู ยติภังค์ ที่ ยติ ๒. |
ยัน เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-หัน-อา-กาด-นอ-หนู ความหมายที่ ๑ | เป็นคำกริยา หมายถึง ต้านไว้, ทานไว้, ดันไว้, เช่น ยันประตูไว้ไม่ให้ล้ม, ค้ำไว้ เช่น ถือไม้เท้ายันกาย, ดันตัวขึ้น เช่น เอามือยันตัวลุกขึ้นจากพื้น; จด เช่น เอาหลังยันกัน นอนหัวยันฝา โตจนตัวยันเปล; ประจัน เช่น ตั้งกองทัพยันกัน; ยืนยัน เช่น เขายันว่าเขาไม่ได้ทำผิด; ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาปาก หมายถึง ถีบ เช่น เดี๋ยวยันเปรี้ยงเข้าให้. ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาปาก เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง เสมอ, ตลอด, เช่น โกหกยันเลย นอนยันเลย. เป็นคำสันธาน หมายถึง จนถึง, กระทั่งถึง, เช่น เที่ยวยันสว่าง. | ยัน ๑ ก. ต้านไว้, ทานไว้, ดันไว้, เช่น ยันประตูไว้ไม่ให้ล้ม, ค้ำไว้ เช่น ถือไม้เท้ายันกาย, ดันตัวขึ้น เช่น เอามือยันตัวลุกขึ้นจากพื้น; จด เช่น เอาหลังยันกัน นอนหัวยันฝา โตจนตัวยันเปล; ประจัน เช่น ตั้งกองทัพยันกัน; ยืนยัน เช่น เขายันว่าเขาไม่ได้ทำผิด; (ปาก) ถีบ เช่น เดี๋ยวยันเปรี้ยงเข้าให้. (ปาก) ว. เสมอ, ตลอด, เช่น โกหกยันเลย นอนยันเลย. สัน. จนถึง, กระทั่งถึง, เช่น เที่ยวยันสว่าง. |
ยันกัน เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-หัน-อา-กาด-นอ-หนู-กอ-ไก่-ไม้-หัน-อา-กาด-นอ-หนู | เป็นคำกริยา หมายถึง พิสูจน์ต่อหน้าให้รู้ข้อเท็จจริง เช่น เอาพยานมายันกัน, สอบข้อมูลหรือรายการให้ตรงกัน เช่น เอาบัญชีมายันกัน. | ยันกัน ก. พิสูจน์ต่อหน้าให้รู้ข้อเท็จจริง เช่น เอาพยานมายันกัน, สอบข้อมูลหรือรายการให้ตรงกัน เช่น เอาบัญชีมายันกัน. |
ยันป้าย เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-หัน-อา-กาด-นอ-หนู-ปอ-ปลา-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-ยอ-ยัก | เป็นคำกริยา หมายถึง ถึงที่สุด เช่น เที่ยวยันป้าย. | ยันป้าย ก. ถึงที่สุด เช่น เที่ยวยันป้าย. |
ยัน เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-หัน-อา-กาด-นอ-หนู ความหมายที่ ๒ | เป็นคำกริยา หมายถึง เมา (ใช้แก่หมาก) เช่น ยันหมาก เอาหมากที่ยันไปแช่น้ำจะหายยัน. เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ที่ทำให้เมา ในคำว่า หมากยัน. | ยัน ๒ ก. เมา (ใช้แก่หมาก) เช่น ยันหมาก เอาหมากที่ยันไปแช่น้ำจะหายยัน. ว. ที่ทำให้เมา ในคำว่า หมากยัน. |
ยั่น เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-หัน-อา-กาด-ไม้-เอก-นอ-หนู | เป็นคำกริยา หมายถึง ครั่นคร้าม, ท้อถอย. | ยั่น ก. ครั่นคร้าม, ท้อถอย. |
ยันต์ เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-หัน-อา-กาด-นอ-หนู-ตอ-เต่า-ทัน-ทะ-คาด | เป็นคำนาม หมายถึง ตารางหรือลายเส้นเป็นตัวเลข อักขระหรือรูปภาพที่เขียน สัก หรือแกะสลักลงบนแผ่นผ้า ผิวหนัง ไม้ โลหะ เป็นต้น ถือว่าเป็นของขลัง เช่น ยันต์ตรีนิสิงเห ยันต์พระเจ้า ๕ พระองค์, เรียกเสื้อหรือผ้าเป็นต้นที่มีลวดลายเช่นนั้นว่า เสื้อยันต์ ผ้ายันต์, เรียกกิริยาที่ทำเช่นนั้นว่า ลงเลข ลงยันต์. | ยันต์ น. ตารางหรือลายเส้นเป็นตัวเลข อักขระหรือรูปภาพที่เขียน สัก หรือแกะสลักลงบนแผ่นผ้า ผิวหนัง ไม้ โลหะ เป็นต้น ถือว่าเป็นของขลัง เช่น ยันต์ตรีนิสิงเห ยันต์พระเจ้า ๕ พระองค์, เรียกเสื้อหรือผ้าเป็นต้นที่มีลวดลายเช่นนั้นว่า เสื้อยันต์ ผ้ายันต์, เรียกกิริยาที่ทำเช่นนั้นว่า ลงเลข ลงยันต์. |
ยันตร, ยันตร์ ยันตร มีเครื่องหมายยัติภังค์ท้ายคำ เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-หัน-อา-กาด-นอ-หนู-ตอ-เต่า-รอ-เรือ ยันตร์ เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-หัน-อา-กาด-นอ-หนู-ตอ-เต่า-รอ-เรือ-ทัน-ทะ-คาด | [ยันตฺระ, ยัน] เป็นคำนาม หมายถึง ยนตร์. ในวงเล็บ มาจากภาษาสันสกฤต และมาจากภาษาบาลี ยนฺต เขียนว่า ยอ-ยัก-นอ-หนู-พิน-ทุ-ตอ-เต่า. | ยันตร, ยันตร์ [ยันตฺระ, ยัน] น. ยนตร์. (ส.; ป. ยนฺต). |
ยันตรกรรม เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-หัน-อา-กาด-นอ-หนู-ตอ-เต่า-รอ-เรือ-กอ-ไก่-รอ-เรือ-รอ-เรือ-มอ-ม้า | เป็นคำนาม หมายถึง วิชาเครื่องกล. | ยันตรกรรม น. วิชาเครื่องกล. |
ยั่นตะนี เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-หัน-อา-กาด-ไม้-เอก-นอ-หนู-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อะ-นอ-หนู-สะ-หระ-อี | เป็นคำนาม หมายถึง ผ้ามัสลินพิมพ์ดอก. ในวงเล็บ เทียบ ภาษาฮินูดสตานี jamdani เขียนว่า เจ-เอ-เอ็ม-ดี-เอ-เอ็น-ไอ. | ยั่นตะนี น. ผ้ามัสลินพิมพ์ดอก. (เทียบฮินดูสตานี jamdani). |
ยันเย้า เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-หัน-อา-กาด-นอ-หนู-สะ-หระ-เอ-ยอ-ยัก-ไม้-โท-สะ-หระ-อา | เป็นคำกริยา หมายถึง ปลํ้า; หยอก. | ยันเย้า ก. ปลํ้า; หยอก. |
ยับ เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-หัน-อา-กาด-บอ-ไบ-ไม้ ความหมายที่ ๑ | เป็นคำกริยา หมายถึง เก็บ. เป็นคำนาม หมายถึง เรียกผลหมากสุกที่เก็บไว้กินนาน ๆ โดยทำเป็นหมากหลุมหรือหมากไหว่า หมากยับ. | ยับ ๑ ก. เก็บ. น. เรียกผลหมากสุกที่เก็บไว้กินนาน ๆ โดยทำเป็นหมากหลุมหรือหมากไหว่า หมากยับ. |
ยับ เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-หัน-อา-กาด-บอ-ไบ-ไม้ ความหมายที่ ๒ | เป็นคำกริยา หมายถึง ย่น, ยู่ยี่, เช่น ผ้ายับ เสื้อยับ กระดาษยับ, อาการซึ่งแสดงความเสียหายมาก หรือเสียรูปจนถึงชํ้าชอก พังทลาย ป่นปี้ ปู้ยี่ปู้ยํา ยู่ยี่ เป็นต้น เช่น รถถูกชนยับ บ้านพังยับ. | ยับ ๒ ก. ย่น, ยู่ยี่, เช่น ผ้ายับ เสื้อยับ กระดาษยับ, อาการซึ่งแสดงความเสียหายมาก หรือเสียรูปจนถึงชํ้าชอก พังทลาย ป่นปี้ ปู้ยี่ปู้ยํา ยู่ยี่ เป็นต้น เช่น รถถูกชนยับ บ้านพังยับ. |
ยับย่อย, ยับเยิน ยับย่อย เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-หัน-อา-กาด-บอ-ไบ-ไม้-ยอ-ยัก-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-ยอ-ยัก ยับเยิน เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-หัน-อา-กาด-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-เอ-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อิ-นอ-หนู | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ป่นปี้ เช่น เสียการพนันยับย่อย เสียหายยับเยิน, ย่อยยับ ก็ว่า. เป็นคำกริยา หมายถึง ถูกทำลาย, เสียหาย, เช่น เขาเล่นการพนันจนทรัพย์สมบัติของพ่อแม่ยับย่อยหมด หนังสือยับเยินหมดทั้งเล่ม, ย่อยยับ ก็ว่า. | ยับย่อย, ยับเยิน ว. ป่นปี้ เช่น เสียการพนันยับย่อย เสียหายยับเยิน, ย่อยยับ ก็ว่า. ก. ถูกทำลาย, เสียหาย, เช่น เขาเล่นการพนันจนทรัพย์สมบัติของพ่อแม่ยับย่อยหมด หนังสือยับเยินหมดทั้งเล่ม, ย่อยยับ ก็ว่า. |
ยับ เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-หัน-อา-กาด-บอ-ไบ-ไม้ ความหมายที่ ๓ | เป็นคำกริยา หมายถึง ขยํ้า. | ยับ ๓ ก. ขยํ้า. |
ยับ ๔, ยับ ๆ ยับ ความหมายที่ ๔ เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-หัน-อา-กาด-บอ-ไบ-ไม้ ยับ ๆ เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-หัน-อา-กาด-บอ-ไบ-ไม้ ไม้-ยะ-มก | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง มีแสงแวบ ๆ, ยิบ ๆ. | ยับ ๔, ยับ ๆ ว. มีแสงแวบ ๆ, ยิบ ๆ. |
ยับยง เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-หัน-อา-กาด-บอ-ไบ-ไม้-ยอ-ยัก-งอ-งู | ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง งามเป็นแสงวาววับ. | ยับยง (โบ) ว. งามเป็นแสงวาววับ. |
ยับยาน เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-หัน-อา-กาด-บอ-ไบ-ไม้-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-นอ-หนู | ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ เป็นคำกริยา หมายถึง หวั่นไหว. | ยับยาน (โบ) ก. หวั่นไหว. |
ยับยาบ เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-หัน-อา-กาด-บอ-ไบ-ไม้-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-บอ-ไบ-ไม้ | เป็นคำกริยา หมายถึง โบกหรือกระพือขึ้นลงไปมาช้า ๆ, ยาบ ๆ ก็ใช้. | ยับยาบ ก. โบกหรือกระพือขึ้นลงไปมาช้า ๆ, ยาบ ๆ ก็ใช้. |
ยับยั้ง เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-หัน-อา-กาด-บอ-ไบ-ไม้-ยอ-ยัก-ไม้-หัน-อา-กาด-ไม้-โท-งอ-งู | เป็นคำกริยา หมายถึง หยุดไว้, รั้งรอไว้, เช่น ยับยั้งใบลาไว้; พักอยู่. | ยับยั้ง ก. หยุดไว้, รั้งรอไว้, เช่น ยับยั้งใบลาไว้; พักอยู่. |
ยับยั้งชั่งใจ เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-หัน-อา-กาด-บอ-ไบ-ไม้-ยอ-ยัก-ไม้-หัน-อา-กาด-ไม้-โท-งอ-งู-ชอ-ช้าง-ไม้-หัน-อา-กาด-ไม้-เอก-งอ-งู-สะ-หระ-ไอ-ไม้-ม้วน-จอ-จาน | เป็นคำกริยา หมายถึง คิดทบทวนดูผลดีผลเสียให้รอบคอบก่อนที่จะทำอะไรลงไป. | ยับยั้งชั่งใจ ก. คิดทบทวนดูผลดีผลเสียให้รอบคอบก่อนที่จะทำอะไรลงไป. |
ยั่ว เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-หัน-อา-กาด-ไม้-เอก-วอ-แหวน | ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ เป็นคำนาม หมายถึง ยาน, เครื่องพาตัวไป, เช่น วอ เสลี่ยง รถ, บางทีใช้ควบกับคํา ยาน เป็น ยั่วยาน, ต่อมาใช้เลือนเป็น ยวดยาน. เป็นคำกริยา หมายถึง พูดหรือทําให้เกิดอารมณ์ในทางใดทางหนึ่งรุนแรงขึ้น เช่น ยั่วราคะ ยั่วโทสะ ยั่วโมโห ยั่วกิเลส. | ยั่ว (โบ) น. ยาน, เครื่องพาตัวไป, เช่น วอ เสลี่ยง รถ, บางทีใช้ควบกับคํา ยาน เป็น ยั่วยาน, ต่อมาใช้เลือนเป็น ยวดยาน. ก. พูดหรือทําให้เกิดอารมณ์ในทางใดทางหนึ่งรุนแรงขึ้น เช่น ยั่วราคะ ยั่วโทสะ ยั่วโมโห ยั่วกิเลส. |
ยั่วยวน เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-หัน-อา-กาด-ไม้-เอก-วอ-แหวน-ยอ-ยัก-วอ-แหวน-นอ-หนู | เป็นคำกริยา หมายถึง ทําให้อีกฝ่ายหนึ่งกำเริบรักหรือเกิดความใคร่. | ยั่วยวน ก. ทําให้อีกฝ่ายหนึ่งกำเริบรักหรือเกิดความใคร่. |
ยั่วยุ เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-หัน-อา-กาด-ไม้-เอก-วอ-แหวน-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อุ | เป็นคำกริยา หมายถึง ยุให้เกิดอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง. | ยั่วยุ ก. ยุให้เกิดอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง. |
ยั่วเย้า เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-หัน-อา-กาด-ไม้-เอก-วอ-แหวน-สะ-หระ-เอ-ยอ-ยัก-ไม้-โท-สะ-หระ-อา | เป็นคำกริยา หมายถึง พูดหยอกล้อ, กระเซ้า. | ยั่วเย้า ก. พูดหยอกล้อ, กระเซ้า. |
ยั้ว, ยั้วเยี้ย ยั้ว เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-หัน-อา-กาด-ไม้-โท-วอ-แหวน ยั้วเยี้ย เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-หัน-อา-กาด-ไม้-โท-วอ-แหวน-สะ-หระ-เอ-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อี-ไม้-โท-ยอ-ยัก | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง อาการที่คนหรือสัตว์จํานวนมากเคลื่อนไหวขวักไขว่ไปมา เช่น ลูกเต้ายั้วเยี้ยไปหมด หนอนไต่กันยั้วเยี้ย ฝูงลิงไต่ยั้วเยี้ยอยู่บนยอดไม้. | ยั้ว, ยั้วเยี้ย ว. อาการที่คนหรือสัตว์จํานวนมากเคลื่อนไหวขวักไขว่ไปมา เช่น ลูกเต้ายั้วเยี้ยไปหมด หนอนไต่กันยั้วเยี้ย ฝูงลิงไต่ยั้วเยี้ยอยู่บนยอดไม้. |
ยัวรยาตร เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-หัน-อา-กาด-วอ-แหวน-รอ-เรือ-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-ตอ-เต่า-รอ-เรือ | [ยัวระยาด] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำกริยา หมายถึง ยุรยาตร. | ยัวรยาตร [ยัวระยาด] (กลอน) ก. ยุรยาตร. |
ยัวะ เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-หัน-อา-กาด-วอ-แหวน-สะ-หระ-อะ | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาปาก เป็นคำกริยา หมายถึง เดือดดาล เช่น ชักยัวะแล้วนะ. เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ที่ทำให้ผู้พบเห็นเกิดความรุ่มร้อนใจ เช่น แต่งตัวยัวะ รูปร่างยัวะ. | ยัวะ (ปาก) ก. เดือดดาล เช่น ชักยัวะแล้วนะ. ว. ที่ทำให้ผู้พบเห็นเกิดความรุ่มร้อนใจ เช่น แต่งตัวยัวะ รูปร่างยัวะ. |
ยัษฏิ เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-หัน-อา-กาด-สอ-รือ-สี-ตอ-ปะ-ตัก-สะ-หระ-อิ | [ยัดสะติ] เป็นคำนาม หมายถึง ไม้เท้า. ในวงเล็บ มาจากภาษาสันสกฤต และมาจากภาษาบาลี ยฏฺิ เขียนว่า ยอ-ยัก-ตอ-ปะ-ตัก-พิน-ทุ-ถอ-ถาน-สะ-หระ-อิ. | ยัษฏิ [ยัดสะติ] น. ไม้เท้า. (ส.; ป. ยฏฺิ). |
ยา เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา | เป็นคำนาม หมายถึง สิ่งที่ใช้แก้หรือป้องกันโรค หรือบํารุงร่างกาย เรียกชื่อต่าง ๆ กัน คือ เรียกตามลักษณะก็มี เช่น ยาผง ยาเม็ด ยานํ้า เรียกตามสีก็มี เช่น ยาแดง ยาเขียว ยาเหลือง ยาดํา เรียกตามรสหรือกลิ่นก็มี เช่น ยาขม ยาหอม เรียกตามวิธีทําก็มี เช่น ยาต้ม ยากลั่น ยาดอง เรียกตามกิริยาที่ใช้ก็มี เช่น ยากวาด ยากิน ยาฉีด ยาดม ยาอม; เรียกยาฝิ่นว่า ยา ก็มี เช่น โรงยา; สารเคมีสําหรับเคลือบเงินทองให้มีสีต่าง ๆ; ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในกฎหมาย หมายถึง วัตถุที่รับรองไว้ในตำรายาที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศ, วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้ในการวินิจฉัย บำบัด บรรเทา รักษา หรือป้องกันโรคหรือความเจ็บป่วยของมนุษย์หรือสัตว์, วัตถุที่เป็นเภสัชเคมีภัณฑ์หรือเภสัชเคมีภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูป หรือวัตถุที่มุ่งหมายสำหรับให้เกิดผลแก่สุขภาพ โครงสร้างหรือการกระทำหน้าที่ใด ๆ ของร่างกายของมนุษย์หรือสัตว์. เป็นคำกริยา หมายถึง ทําให้หายโรค, รักษาให้หาย, ในคําว่า เยียวยา; ทําให้หายรั่ว เช่น ยาเรือ. เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ใช้ประกอบคํา พี่ น้อง ลูก ว่า พี่ยา น้องยา ลูกยา, ใช้ในราชาศัพท์หมายความว่า เพศชาย เช่น พระเจ้าลูกยาเธอ. | ยา น. สิ่งที่ใช้แก้หรือป้องกันโรค หรือบํารุงร่างกาย เรียกชื่อต่าง ๆ กัน คือ เรียกตามลักษณะก็มี เช่น ยาผง ยาเม็ด ยานํ้า เรียกตามสีก็มี เช่น ยาแดง ยาเขียว ยาเหลือง ยาดํา เรียกตามรสหรือกลิ่นก็มี เช่น ยาขม ยาหอม เรียกตามวิธีทําก็มี เช่น ยาต้ม ยากลั่น ยาดอง เรียกตามกิริยาที่ใช้ก็มี เช่น ยากวาด ยากิน ยาฉีด ยาดม ยาอม; เรียกยาฝิ่นว่า ยา ก็มี เช่น โรงยา; สารเคมีสําหรับเคลือบเงินทองให้มีสีต่าง ๆ; (กฎ) วัตถุที่รับรองไว้ในตำรายาที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศ, วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้ในการวินิจฉัย บำบัด บรรเทา รักษา หรือป้องกันโรคหรือความเจ็บป่วยของมนุษย์หรือสัตว์, วัตถุที่เป็นเภสัชเคมีภัณฑ์หรือเภสัชเคมีภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูป หรือวัตถุที่มุ่งหมายสำหรับให้เกิดผลแก่สุขภาพ โครงสร้างหรือการกระทำหน้าที่ใด ๆ ของร่างกายของมนุษย์หรือสัตว์. ก. ทําให้หายโรค, รักษาให้หาย, ในคําว่า เยียวยา; ทําให้หายรั่ว เช่น ยาเรือ. ว. ใช้ประกอบคํา พี่ น้อง ลูก ว่า พี่ยา น้องยา ลูกยา, ใช้ในราชาศัพท์หมายความว่า เพศชาย เช่น พระเจ้าลูกยาเธอ. |
ยากวาด เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-กอ-ไก่-วอ-แหวน-สะ-หระ-อา-ดอ-เด็ก | เป็นคำนาม หมายถึง ยาที่ใช้ป้ายในลำคอเด็กเล็ก ๆ แก้หละ ละออง ซาง. | ยากวาด น. ยาที่ใช้ป้ายในลำคอเด็กเล็ก ๆ แก้หละ ละออง ซาง. |
ยากันยุง เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-กอ-ไก่-ไม้-หัน-อา-กาด-นอ-หนู-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อุ-งอ-งู | เป็นคำนาม หมายถึง ยาที่จุดหรือทากันไม่ให้ยุงกัด. | ยากันยุง น. ยาที่จุดหรือทากันไม่ให้ยุงกัด. |
ยาขัด เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-ขอ-ไข่-ไม้-หัน-อา-กาด-ดอ-เด็ก | เป็นคำนาม หมายถึง สิ่งที่ใช้ขัดโลหะ หนัง หรือกระเบื้อง เป็นต้น. | ยาขัด น. สิ่งที่ใช้ขัดโลหะ หนัง หรือกระเบื้อง เป็นต้น. |
ยาขับเลือด เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-ขอ-ไข่-ไม้-หัน-อา-กาด-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-เอ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อือ-ออ-อ่าง-ดอ-เด็ก | เป็นคำนาม หมายถึง ยากินเพื่อขับระดู. | ยาขับเลือด น. ยากินเพื่อขับระดู. |
ยาขี้ผึ้ง เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-ขอ-ไข่-สะ-หระ-อี-ไม้-โท-ผอ-ผึ้ง-สะ-หระ-อึ-ไม้-โท-งอ-งู | เป็นคำนาม หมายถึง ยาที่มีลักษณะเป็นขี้ผึ้งหรือครีม ใช้ทาแก้โรคผิวหนังเป็นต้น. | ยาขี้ผึ้ง น. ยาที่มีลักษณะเป็นขี้ผึ้งหรือครีม ใช้ทาแก้โรคผิวหนังเป็นต้น. |
ยาเขียว เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก-วอ-แหวน ความหมายที่ ๑ | เป็นคำนาม หมายถึง ยาแก้ไข้ ทําด้วยใบไม้ล้วน มีหลายชนิด เช่น ยาเขียวใหญ่ ยาเขียวเล็ก ยาเขียวมหาอุดม. | ยาเขียว ๑ น. ยาแก้ไข้ ทําด้วยใบไม้ล้วน มีหลายชนิด เช่น ยาเขียวใหญ่ ยาเขียวเล็ก ยาเขียวมหาอุดม. |
ยาเคี้ยว เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-เอ-คอ-ควาย-สะ-หระ-อี-ไม้-โท-ยอ-ยัก-วอ-แหวน | ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในกฎหมาย เป็นคำนาม หมายถึง ส่วนใดส่วนหนึ่งของใบยาแห้ง นอกจากใบยาแห้งพันธุ์ยาสูบพื้นเมือง ซึ่งได้ปรุงหรือปนด้วยวัตถุอื่นนอกจากน้ำเพื่ออมหรือเคี้ยว. | ยาเคี้ยว (กฎ) น. ส่วนใดส่วนหนึ่งของใบยาแห้ง นอกจากใบยาแห้งพันธุ์ยาสูบพื้นเมือง ซึ่งได้ปรุงหรือปนด้วยวัตถุอื่นนอกจากน้ำเพื่ออมหรือเคี้ยว. |
ยาจืด เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-จอ-จาน-สะ-หระ-อือ-ดอ-เด็ก | เป็นคำนาม หมายถึง ยาเส้นพื้นเมืองชนิดหนึ่ง เป็นเส้นละเอียด มีรสจืด สีเหลืองนวล ใช้เช็ดปากเช็ดฟันในเวลากินหมากแล้วม้วนเป็นก้อนเล็ก ๆ จุกไว้ที่มุมปาก, ยาฝอย ก็เรียก. | ยาจืด น. ยาเส้นพื้นเมืองชนิดหนึ่ง เป็นเส้นละเอียด มีรสจืด สีเหลืองนวล ใช้เช็ดปากเช็ดฟันในเวลากินหมากแล้วม้วนเป็นก้อนเล็ก ๆ จุกไว้ที่มุมปาก, ยาฝอย ก็เรียก. |
ยาใจ เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-ไอ-ไม้-ม้วน-จอ-จาน | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง เป็นที่บํารุงหัวใจ, เป็นที่ชื่นใจ. | ยาใจ ว. เป็นที่บํารุงหัวใจ, เป็นที่ชื่นใจ. |
ยาฉุน เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-ฉอ-ฉิ่ง-สะ-หระ-อุ-นอ-หนู | เป็นคำนาม หมายถึง ยาเส้นพื้นเมืองชนิดหนึ่ง เป็นเส้นหยาบ ๆ มีรสฉุน สีนํ้าตาลแก่ ใช้ใบตองหรือใบจากเป็นต้นมวนสูบ. | ยาฉุน น. ยาเส้นพื้นเมืองชนิดหนึ่ง เป็นเส้นหยาบ ๆ มีรสฉุน สีนํ้าตาลแก่ ใช้ใบตองหรือใบจากเป็นต้นมวนสูบ. |
ยาชา เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-ชอ-ช้าง-สะ-หระ-อา | เป็นคำนาม หมายถึง ยาที่ทาหรือฉีดให้ประสาทชา มักใช้ในการผ่าตัดหรือถอนฟัน เป็นต้น. | ยาชา น. ยาที่ทาหรือฉีดให้ประสาทชา มักใช้ในการผ่าตัดหรือถอนฟัน เป็นต้น. |
ยาซัด เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-ซอ-โซ่-ไม้-หัน-อา-กาด-ดอ-เด็ก | เป็นคำนาม หมายถึง เรียกสิ่งที่ใส่ลงในเบ้าที่หลอมโลหะในการเล่นแร่แปรธาตุ เช่น กำมะถัน ว่า ยาซัด, เรียกอาการเช่นนั้นว่า ซัดยา. | ยาซัด น. เรียกสิ่งที่ใส่ลงในเบ้าที่หลอมโลหะในการเล่นแร่แปรธาตุ เช่น กำมะถัน ว่า ยาซัด, เรียกอาการเช่นนั้นว่า ซัดยา. |
ยาซับ เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-ซอ-โซ่-ไม้-หัน-อา-กาด-บอ-ไบ-ไม้ | เป็นคำนาม หมายถึง สิ่งที่รองในกระเปาะหัวแหวนหรือเครื่องประดับเพื่อหนุนเพชรพลอยให้มีสีสันงามขึ้น. | ยาซับ น. สิ่งที่รองในกระเปาะหัวแหวนหรือเครื่องประดับเพื่อหนุนเพชรพลอยให้มีสีสันงามขึ้น. |
ยาดอง เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-ดอ-เด็ก-ออ-อ่าง-งอ-งู | เป็นคำนาม หมายถึง ยาที่ใช้เครื่องสมุนไพรห่อแช่เหล้าเป็นต้น กินบำรุงร่างกายหรือแก้โรค. | ยาดอง น. ยาที่ใช้เครื่องสมุนไพรห่อแช่เหล้าเป็นต้น กินบำรุงร่างกายหรือแก้โรค. |
ยาดำ เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-อำ | เป็นคำนาม หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่เตรียมจากนํ้ายางซึ่งได้จากการกรีดโคนใบตามขวางของพืชหลายชนิดในสกุล Aloe วงศ์ Liliaceae นําไปเคี่ยวให้งวดแล้วทิ้งไว้ให้แข็งตัวเป็นก้อน มีสีนํ้าตาลเข้ม กลิ่นไม่ชวนดม รสขม ใช้เป็นยาได้ ส่วนมากได้จากชนิด A. barbadensis Miller; โดยปริยายหมายความว่า แทรกปนอยู่ทั่วไป. | ยาดำ น. ผลิตภัณฑ์ที่เตรียมจากนํ้ายางซึ่งได้จากการกรีดโคนใบตามขวางของพืชหลายชนิดในสกุล Aloe วงศ์ Liliaceae นําไปเคี่ยวให้งวดแล้วทิ้งไว้ให้แข็งตัวเป็นก้อน มีสีนํ้าตาลเข้ม กลิ่นไม่ชวนดม รสขม ใช้เป็นยาได้ ส่วนมากได้จากชนิด A. barbadensis Miller; โดยปริยายหมายความว่า แทรกปนอยู่ทั่วไป. |
ยาแดง เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-แอ-ดอ-เด็ก-งอ-งู | เป็นคำนาม หมายถึง ยาสูบชนิดหนึ่งของจีน เส้นแดง; ยาผงชนิดหนึ่งสีแดงใช้ชงกินแก้ร้อนใน; ยาน้ำชนิดหนึ่งสีแดง สําหรับใส่แผลสด. | ยาแดง น. ยาสูบชนิดหนึ่งของจีน เส้นแดง; ยาผงชนิดหนึ่งสีแดงใช้ชงกินแก้ร้อนใน; ยาน้ำชนิดหนึ่งสีแดง สําหรับใส่แผลสด. |
ยาตั้ง เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-ตอ-เต่า-ไม้-หัน-อา-กาด-ไม้-โท-งอ-งู | เป็นคำนาม หมายถึง ยาเส้นพื้นเมืองชนิดหนึ่ง ที่ทําเป็นตั้ง. | ยาตั้ง น. ยาเส้นพื้นเมืองชนิดหนึ่ง ที่ทําเป็นตั้ง. |
ยาถ่าย เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-ถอ-ถุง-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา-ยอ-ยัก | เป็นคำนาม หมายถึง ยาที่กินเพื่อให้ถ่ายอุจจาระ. | ยาถ่าย น. ยาที่กินเพื่อให้ถ่ายอุจจาระ. |
ยาธาตุ เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-ทอ-ทง-สะ-หระ-อา-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อุ | เป็นคำนาม หมายถึง ยาคุมให้ท้องเป็นปรกติ. | ยาธาตุ น. ยาคุมให้ท้องเป็นปรกติ. |
ยานัตถุ์ เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-นอ-หนู-ไม้-หัน-อา-กาด-ตอ-เต่า-ถอ-ถุง-สะ-หระ-อุ-ทัน-ทะ-คาด | เป็นคำนาม หมายถึง ผงละเอียดที่ปรุงขึ้นจากใบยาสูบหรือวัตถุใด ๆ สําหรับนัดโดยเป่าหรือสูดเข้าจมูก, เรียกกิริยาเช่นนั้นว่า นัดยานัตถุ์. | ยานัตถุ์ น. ผงละเอียดที่ปรุงขึ้นจากใบยาสูบหรือวัตถุใด ๆ สําหรับนัดโดยเป่าหรือสูดเข้าจมูก, เรียกกิริยาเช่นนั้นว่า นัดยานัตถุ์. |
ยาบำรุงเลือด เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อำ-รอ-เรือ-สะ-หระ-อุ-งอ-งู-สะ-หระ-เอ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อือ-ออ-อ่าง-ดอ-เด็ก | เป็นคำนาม หมายถึง ยาบำรุงให้เลือดงาม. | ยาบำรุงเลือด น. ยาบำรุงให้เลือดงาม. |
ยาเบื่อ เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-เอ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อือ-ไม้-เอก-ออ-อ่าง | เป็นคำนาม หมายถึง ยาพิษเป็นต้นที่กินแล้วทำให้เมาหรือตาย. | ยาเบื่อ น. ยาพิษเป็นต้นที่กินแล้วทำให้เมาหรือตาย. |
ยาประสะ เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-ปอ-ปลา-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ | เป็นคำนาม หมายถึง ยาประเภทหนึ่งซึ่งตามปรกติเข้าเครื่องยาสิ่งหนึ่งซึ่งเป็นตัวหลัก มีปริมาณเท่ากับเครื่องยาอื่น ๆ อีกหลายอย่างรวมกัน เรียกชื่อตามเครื่องยาที่เป็นหลัก เช่น ยาประสะขิง คือ เข้าขิงครึ่งหนึ่งกับเครื่องยาอื่น ๆ อีกครึ่งหนึ่ง แต่มีบางชนิดเครื่องยาที่เป็นตัวหลักมีปริมาณไม่ถึงครึ่งหนึ่งของเครื่องยาทั้งหมด เช่น ยาประสะกานพลู. | ยาประสะ น. ยาประเภทหนึ่งซึ่งตามปรกติเข้าเครื่องยาสิ่งหนึ่งซึ่งเป็นตัวหลัก มีปริมาณเท่ากับเครื่องยาอื่น ๆ อีกหลายอย่างรวมกัน เรียกชื่อตามเครื่องยาที่เป็นหลัก เช่น ยาประสะขิง คือ เข้าขิงครึ่งหนึ่งกับเครื่องยาอื่น ๆ อีกครึ่งหนึ่ง แต่มีบางชนิดเครื่องยาที่เป็นตัวหลักมีปริมาณไม่ถึงครึ่งหนึ่งของเครื่องยาทั้งหมด เช่น ยาประสะกานพลู. |
ยาประสะน้ำนม เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-ปอ-ปลา-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ-นอ-หนู-ไม้-โท-สะ-หระ-อำ-นอ-หนู-มอ-ม้า | เป็นคำนาม หมายถึง ยาบำรุงแม่ลูกอ่อนให้มีน้ำนมมาก. | ยาประสะน้ำนม น. ยาบำรุงแม่ลูกอ่อนให้มีน้ำนมมาก. |
ยาเป่า เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-เอ-ปอ-ปลา-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา | เป็นคำนาม หมายถึง ยาผงใช้เป่าเข้าลำคอ แก้เจ็บคอ. | ยาเป่า น. ยาผงใช้เป่าเข้าลำคอ แก้เจ็บคอ. |
ยาโป๊ เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-โอ-ปอ-ปลา-ไม้-ตรี | เป็นคำนาม หมายถึง ยาชูกำลังให้กระชุ่มกระชวยเหมือนเป็นหนุ่มสาวขึ้น. | ยาโป๊ น. ยาชูกำลังให้กระชุ่มกระชวยเหมือนเป็นหนุ่มสาวขึ้น. |
ยาแผนโบราณ เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-แอ-ผอ-ผึ้ง-นอ-หนู-สะ-หระ-โอ-บอ-ไบ-ไม้-รอ-เรือ-สะ-หระ-อา-นอ-เนน | ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในกฎหมาย เป็นคำนาม หมายถึง ยาที่มุ่งหมายสำหรับใช้ในการประกอบโรคศิลปะแผนโบราณ หรือการบำบัดโรคสัตว์ ซึ่งอยู่ในตำรายาแผนโบราณที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศ หรือยาที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศเป็นยาแผนโบราณ หรือยาที่ได้รับอนุญาตให้ขึ้นทะเบียนตำรับยาเป็นยาแผนโบราณ. | ยาแผนโบราณ (กฎ) น. ยาที่มุ่งหมายสำหรับใช้ในการประกอบโรคศิลปะแผนโบราณ หรือการบำบัดโรคสัตว์ ซึ่งอยู่ในตำรายาแผนโบราณที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศ หรือยาที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศเป็นยาแผนโบราณ หรือยาที่ได้รับอนุญาตให้ขึ้นทะเบียนตำรับยาเป็นยาแผนโบราณ. |
ยาแผนปัจจุบัน เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-แอ-ผอ-ผึ้ง-นอ-หนู-ปอ-ปลา-ไม้-หัน-อา-กาด-จอ-จาน-จอ-จาน-สะ-หระ-อุ-บอ-ไบ-ไม้-ไม้-หัน-อา-กาด-นอ-หนู | ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในกฎหมาย เป็นคำนาม หมายถึง ยาที่มุ่งหมายสำหรับใช้ในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม การประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบัน หรือการบำบัดโรคสัตว์. | ยาแผนปัจจุบัน (กฎ) น. ยาที่มุ่งหมายสำหรับใช้ในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม การประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบัน หรือการบำบัดโรคสัตว์. |
ยาฝอย เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-ฝอ-ฝา-ออ-อ่าง-ยอ-ยัก | ดู ยาจืด เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-จอ-จาน-สะ-หระ-อือ-ดอ-เด็ก. | ยาฝอย ดู ยาจืด. |
ยาฝิ่น เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-ฝอ-ฝา-สะ-หระ-อิ-ไม้-เอก-นอ-หนู | เป็นคำนาม หมายถึง ยาเสพติดชนิดหนึ่งทำจากยางฝิ่น. | ยาฝิ่น น. ยาเสพติดชนิดหนึ่งทำจากยางฝิ่น. |
ยาแฝด เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-แอ-ฝอ-ฝา-ดอ-เด็ก | เป็นคำนาม หมายถึง ยาหรือสิ่งที่ผู้หญิงให้ผัวกินเพื่อให้หลงรักตัวคนเดียว. | ยาแฝด น. ยาหรือสิ่งที่ผู้หญิงให้ผัวกินเพื่อให้หลงรักตัวคนเดียว. |
ยาพิษ เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-พอ-พาน-สะ-หระ-อิ-สอ-รือ-สี | เป็นคำนาม หมายถึง สิ่งที่มีพิษมาก กินหรือฉีดเข้าร่างกายเป็นต้นแล้วอาจทำให้ถึงตายได้. | ยาพิษ น. สิ่งที่มีพิษมาก กินหรือฉีดเข้าร่างกายเป็นต้นแล้วอาจทำให้ถึงตายได้. |
ยาเยีย เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-เอ-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก | เป็นคำกริยา หมายถึง รักษา, บํารุง. | ยาเยีย ก. รักษา, บํารุง. |
ยาระบาย เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อา-ยอ-ยัก | เป็นคำนาม หมายถึง ยาถ่ายอย่างอ่อน. | ยาระบาย น. ยาถ่ายอย่างอ่อน. |
ยารุ เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-รอ-เรือ-สะ-หระ-อุ | เป็นคำนาม หมายถึง ยาถ่ายอย่างแรง. | ยารุ น. ยาถ่ายอย่างแรง. |
ยาลูกกลอน เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อู-กอ-ไก่-กอ-ไก่-ลอ-ลิง-ออ-อ่าง-นอ-หนู | เป็นคำนาม หมายถึง ยาที่ปั้นเป็นก้อนกลมเพื่อกลืนกิน. | ยาลูกกลอน น. ยาที่ปั้นเป็นก้อนกลมเพื่อกลืนกิน. |
ยาสมุนไพร เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-สอ-เสือ-มอ-ม้า-สะ-หระ-อุ-นอ-หนู-สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-พอ-พาน-รอ-เรือ | ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในกฎหมาย เป็นคำนาม หมายถึง ยาที่ได้จากพฤกษชาติ สัตว์ หรือแร่ ซึ่งมิได้ผสม ปรุง หรือแปรสภาพ. | ยาสมุนไพร (กฎ) น. ยาที่ได้จากพฤกษชาติ สัตว์ หรือแร่ ซึ่งมิได้ผสม ปรุง หรือแปรสภาพ. |
ยาสลบ เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-สอ-เสือ-ลอ-ลิง-บอ-ไบ-ไม้ | เป็นคำนาม หมายถึง สารเคมีที่ใช้ในการแพทย์เพื่อทําให้สลบ. | ยาสลบ น. สารเคมีที่ใช้ในการแพทย์เพื่อทําให้สลบ. |
ยาสั่ง เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-สอ-เสือ-ไม้-หัน-อา-กาด-ไม้-เอก-งอ-งู | เป็นคำนาม หมายถึง ยาพิษจําพวกหนึ่งที่เชื่อกันว่า ถ้าผู้ใดกินเข้าไปแล้วจะต้องตาย เมื่อไปกินอาหารที่กําหนดหรือตามเวลาที่กําหนดไว้. | ยาสั่ง น. ยาพิษจําพวกหนึ่งที่เชื่อกันว่า ถ้าผู้ใดกินเข้าไปแล้วจะต้องตาย เมื่อไปกินอาหารที่กําหนดหรือตามเวลาที่กําหนดไว้. |
ยาสามัญประจำบ้าน เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-สอ-เสือ-สะ-หระ-อา-มอ-ม้า-ไม้-หัน-อา-กาด-ยอ-หยิง-ปอ-ปลา-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-จอ-จาน-สะ-หระ-อำ-บอ-ไบ-ไม้-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-นอ-หนู | ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในกฎหมาย เป็นคำนาม หมายถึง ยาแผนปัจจุบันหรือยาแผนโบราณ ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศเป็นยาสามัญประจำบ้าน. | ยาสามัญประจำบ้าน (กฎ) น. ยาแผนปัจจุบันหรือยาแผนโบราณ ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศเป็นยาสามัญประจำบ้าน. |
ยาสีฟัน เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-สอ-เสือ-สะ-หระ-อี-ฟอ-ฟัน-ไม้-หัน-อา-กาด-นอ-หนู | เป็นคำนาม หมายถึง สิ่งที่เป็นผงหรือครีมเป็นต้นใช้สีฟันเพื่อรักษาฟันให้สะอาดและแข็งแรง. | ยาสีฟัน น. สิ่งที่เป็นผงหรือครีมเป็นต้นใช้สีฟันเพื่อรักษาฟันให้สะอาดและแข็งแรง. |
ยาสุมหัว เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-สอ-เสือ-สะ-หระ-อุ-มอ-ม้า-หอ-หีบ-ไม้-หัน-อา-กาด-วอ-แหวน | เป็นคำนาม หมายถึง ยาที่ใช้สมุนไพร เช่น ว่านเปราะ หัวหอม โขลกพอกกระหม่อมเด็กแก้หวัด. | ยาสุมหัว น. ยาที่ใช้สมุนไพร เช่น ว่านเปราะ หัวหอม โขลกพอกกระหม่อมเด็กแก้หวัด. |
ยาสูบ เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-สอ-เสือ-สะ-หระ-อู-บอ-ไบ-ไม้ | เป็นคำนาม หมายถึง ยาสำหรับสูบ มีทั้งที่เป็นมวนและที่เป็นเส้นสำหรับสูบกล้อง; ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในกฎหมาย หมายถึง บุหรี่ซิกาแรต บุหรี่ซิการ์ บุหรี่อื่น ยาเส้นปรุง รวมตลอดถึงยาเคี้ยวด้วย. | ยาสูบ น. ยาสำหรับสูบ มีทั้งที่เป็นมวนและที่เป็นเส้นสำหรับสูบกล้อง; (กฎ) บุหรี่ซิกาแรต บุหรี่ซิการ์ บุหรี่อื่น ยาเส้นปรุง รวมตลอดถึงยาเคี้ยวด้วย. |
ยาเส้น เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-เอ-สอ-เสือ-ไม้-โท-นอ-หนู | เป็นคำนาม หมายถึง ยาสูบชนิดหนึ่งที่หั่นใบยาเป็นเส้น ๆ หรือเป็นชิ้นเล็ก ๆ สําหรับมวนสูบหรือใส่กล้องสูบ; ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในกฎหมาย หมายถึง ใบของต้นยาสูบหรือยาอัดซึ่งได้หั่นเป็นเส้นและแห้งแล้ว. | ยาเส้น น. ยาสูบชนิดหนึ่งที่หั่นใบยาเป็นเส้น ๆ หรือเป็นชิ้นเล็ก ๆ สําหรับมวนสูบหรือใส่กล้องสูบ; (กฎ) ใบของต้นยาสูบหรือยาอัดซึ่งได้หั่นเป็นเส้นและแห้งแล้ว. |
ยาเส้นปรุง เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-เอ-สอ-เสือ-ไม้-โท-นอ-หนู-ปอ-ปลา-รอ-เรือ-สะ-หระ-อุ-งอ-งู | ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในกฎหมาย เป็นคำนาม หมายถึง ใบยาซึ่งมิใช่ใบยาพันธุ์ยาสูบพื้นเมืองหรือยาอัด ซึ่งได้หั่นเป็นเส้นและปรุงหรือปนด้วยวัตถุอื่นนอกจากน้ำ. | ยาเส้นปรุง (กฎ) น. ใบยาซึ่งมิใช่ใบยาพันธุ์ยาสูบพื้นเมืองหรือยาอัด ซึ่งได้หั่นเป็นเส้นและปรุงหรือปนด้วยวัตถุอื่นนอกจากน้ำ. |
ยาเสพติด เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-เอ-สอ-เสือ-พอ-พาน-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อิ-ดอ-เด็ก | เป็นคำนาม หมายถึง ยาหรือสารเคมีซึ่งเมื่อเสพหรือฉีดเข้าสู่ร่างกายติดต่อกันชั่วระยะเวลาหนึ่งก็จะติด ก่อให้เกิดพิษเรื้อรัง ทําให้ร่างกายและจิตใจเสื่อมโทรม เช่น ฝิ่น กัญชา เฮโรอีน ยานอนหลับ สุรา. | ยาเสพติด น. ยาหรือสารเคมีซึ่งเมื่อเสพหรือฉีดเข้าสู่ร่างกายติดต่อกันชั่วระยะเวลาหนึ่งก็จะติด ก่อให้เกิดพิษเรื้อรัง ทําให้ร่างกายและจิตใจเสื่อมโทรม เช่น ฝิ่น กัญชา เฮโรอีน ยานอนหลับ สุรา. |
ยาเสพติดให้โทษ เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-เอ-สอ-เสือ-พอ-พาน-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อิ-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-ไอ-ไม้-ม้วน-หอ-หีบ-ไม้-โท-สะ-หระ-โอ-ทอ-ทะ-หาน-สอ-รือ-สี | ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในกฎหมาย เป็นคำนาม หมายถึง สารเคมีหรือวัตถุชนิดใด ๆ ซึ่งเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะโดยรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยประการใด ๆ แล้วทําให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจในลักษณะสําคัญ เช่นต้องเพิ่มขนาดการเสพขึ้นเป็นลําดับ มีอาการถอนยาเมื่อขาดยา มีความต้องการเสพทั้งทางร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรงตลอดเวลา และสุขภาพโดยทั่วไปจะทรุดโทรมลง กับรวมตลอดถึงพืชหรือส่วนของพืชที่เป็นหรือให้ผลผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษ หรืออาจใช้ผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษและสารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษด้วย ทั้งนี้ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศในราชกิจจานุเบกษา แต่ไม่หมายความถึงยาสามัญประจำบ้านบางตำรับตามกฎหมายว่าด้วยยาที่มียาเสพติดให้โทษผสมอยู่. | ยาเสพติดให้โทษ (กฎ) น. สารเคมีหรือวัตถุชนิดใด ๆ ซึ่งเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะโดยรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยประการใด ๆ แล้วทําให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจในลักษณะสําคัญ เช่นต้องเพิ่มขนาดการเสพขึ้นเป็นลําดับ มีอาการถอนยาเมื่อขาดยา มีความต้องการเสพทั้งทางร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรงตลอดเวลา และสุขภาพโดยทั่วไปจะทรุดโทรมลง กับรวมตลอดถึงพืชหรือส่วนของพืชที่เป็นหรือให้ผลผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษ หรืออาจใช้ผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษและสารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษด้วย ทั้งนี้ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศในราชกิจจานุเบกษา แต่ไม่หมายความถึงยาสามัญประจำบ้านบางตำรับตามกฎหมายว่าด้วยยาที่มียาเสพติดให้โทษผสมอยู่. |
ยาไส้ เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-สอ-เสือ-ไม้-โท | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาปาก เป็นคำกริยา หมายถึง ประทังความหิว. | ยาไส้ (ปาก) ก. ประทังความหิว. |
ยาหม้อ เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-หอ-หีบ-มอ-ม้า-ไม้-โท-ออ-อ่าง | เป็นคำนาม หมายถึง ยาไทยที่ประกอบด้วยสมุนไพร กระดูกสัตว์ และเครื่องยาอื่น ๆ ใส่หม้อต้มแล้วกินน้ำที่เคี่ยวจนงวดเพื่อบำบัดโรค. | ยาหม้อ น. ยาไทยที่ประกอบด้วยสมุนไพร กระดูกสัตว์ และเครื่องยาอื่น ๆ ใส่หม้อต้มแล้วกินน้ำที่เคี่ยวจนงวดเพื่อบำบัดโรค. |
ยาหม้อใหญ่ เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-หอ-หีบ-มอ-ม้า-ไม้-โท-ออ-อ่าง-สะ-หระ-ไอ-ไม้-ม้วน-หอ-หีบ-ยอ-หยิง-ไม้-เอก | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นสำนวน เป็นคำนาม หมายถึง สิ่งที่น่าเบื่อ เช่น วิชาคำนวณเป็นยาหม้อใหญ่. | ยาหม้อใหญ่ (สำ) น. สิ่งที่น่าเบื่อ เช่น วิชาคำนวณเป็นยาหม้อใหญ่. |
ยาหม่อง เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-หอ-หีบ-มอ-ม้า-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-งอ-งู | เป็นคำนาม หมายถึง ยาขี้ผึ้งชนิดหนึ่ง ใช้ทา นวด เป็นต้น. | ยาหม่อง น. ยาขี้ผึ้งชนิดหนึ่ง ใช้ทา นวด เป็นต้น. |
ยาหมู่ เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-หอ-หีบ-มอ-ม้า-สะ-หระ-อู-ไม้-เอก | เป็นคำนาม หมายถึง ยาที่ประกอบด้วยสิ่งต่าง ๆ ที่เป็นของแข็ง มีแก่นไม้ เขี้ยวงา กระดูก เป็นต้น ใช้ฝนกินแก้ร้อนในและผิดสำแลง. | ยาหมู่ น. ยาที่ประกอบด้วยสิ่งต่าง ๆ ที่เป็นของแข็ง มีแก่นไม้ เขี้ยวงา กระดูก เป็นต้น ใช้ฝนกินแก้ร้อนในและผิดสำแลง. |
ยาเหน็บ เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-เอ-หอ-หีบ-นอ-หนู-ไม้-ไต่-คู้-บอ-ไบ-ไม้ | เป็นคำนาม หมายถึง ยาที่ใช้สอดเข้าไปในช่องทวารหนักเพื่อให้อุจจาระออก. | ยาเหน็บ น. ยาที่ใช้สอดเข้าไปในช่องทวารหนักเพื่อให้อุจจาระออก. |
ยาเหลือง เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-เอ-หอ-หีบ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อือ-ออ-อ่าง-งอ-งู | เป็นคำนาม หมายถึง ยาน้ำชนิดหนึ่งสีเหลือง สำหรับใส่แผลเรื้อรัง. | ยาเหลือง น. ยาน้ำชนิดหนึ่งสีเหลือง สำหรับใส่แผลเรื้อรัง. |
ยาอัด เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-ออ-อ่าง-ไม้-หัน-อา-กาด-ดอ-เด็ก | ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในกฎหมาย เป็นคำนาม หมายถึง ส่วนใดส่วนหนึ่งของต้นยาสูบซึ่งได้ป่นหรือย่อยและทําเป็นแผ่นโดยมีวัตถุอื่นเจือปนด้วยหรือไม่ก็ตาม. | ยาอัด (กฎ) น. ส่วนใดส่วนหนึ่งของต้นยาสูบซึ่งได้ป่นหรือย่อยและทําเป็นแผ่นโดยมีวัตถุอื่นเจือปนด้วยหรือไม่ก็ตาม. |
ยาอุทัย เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-ออ-อ่าง-สะ-หระ-อุ-ทอ-ทะ-หาน-ไม้-หัน-อา-กาด-ยอ-ยัก | เป็นคำนาม หมายถึง ยาสำหรับหยดลงน้ำ มีสีชมพูทำให้น้ำมีกลิ่นหอมชื่นใจ. | ยาอุทัย น. ยาสำหรับหยดลงน้ำ มีสีชมพูทำให้น้ำมีกลิ่นหอมชื่นใจ. |
ย่า เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา | เป็นคำนาม หมายถึง แม่ของพ่อ, เมียของปู่, ญาติผู้หญิงที่เป็นชั้นเดียวกันกับแม่ของพ่อ. | ย่า น. แม่ของพ่อ, เมียของปู่, ญาติผู้หญิงที่เป็นชั้นเดียวกันกับแม่ของพ่อ. |
ย่าทวด เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา-ทอ-ทะ-หาน-วอ-แหวน-ดอ-เด็ก | เป็นคำนาม หมายถึง แม่ของปู่หรือของย่า. | ย่าทวด น. แม่ของปู่หรือของย่า. |
ย่านาง เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา-นอ-หนู-สะ-หระ-อา-งอ-งู ความหมายที่ ๑ | เป็นคำนาม หมายถึง ผีผู้หญิงที่ประจํารักษาเรือ เรียกว่า แม่ย่านางเรือ. | ย่านาง ๑ น. ผีผู้หญิงที่ประจํารักษาเรือ เรียกว่า แม่ย่านางเรือ. |
ยาก เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-กอ-ไก่ | เป็นคำนาม หมายถึง ความลําบาก. เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ลําบาก เช่น พูดยาก, ไม่สะดวก เช่น ไปยาก มายาก, ไม่ง่าย เช่น ตอบยาก ทำยาก; จน เช่น คนยาก, นิยมใช้เข้าคู่กันเป็น ยากจน; ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ หมายถึง ขายตัวเป็นทาส. | ยาก น. ความลําบาก. ว. ลําบาก เช่น พูดยาก, ไม่สะดวก เช่น ไปยาก มายาก, ไม่ง่าย เช่น ตอบยาก ทำยาก; จน เช่น คนยาก, นิยมใช้เข้าคู่กันเป็น ยากจน; (โบ) ขายตัวเป็นทาส. |
ยากแค้น เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-กอ-ไก่-สะ-หระ-แอ-คอ-ควาย-ไม้-โท-นอ-หนู | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง อัตคัดขัดสน. | ยากแค้น ว. อัตคัดขัดสน. |
ยากจน เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-กอ-ไก่-จอ-จาน-นอ-หนู | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง เข็ญใจ, ไร้ทรัพย์. | ยากจน ว. เข็ญใจ, ไร้ทรัพย์. |
ยากนาน เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-กอ-ไก่-นอ-หนู-สะ-หระ-อา-นอ-หนู | เป็นคำกริยา หมายถึง ลําบากมาก. | ยากนาน ก. ลําบากมาก. |
ยากเย็น เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-กอ-ไก่-สะ-หระ-เอ-ยอ-ยัก-ไม้-ไต่-คู้-นอ-หนู | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ลําบากมาก เช่น ได้มาด้วยความยากเย็น. | ยากเย็น ว. ลําบากมาก เช่น ได้มาด้วยความยากเย็น. |
ยากไร้ เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-กอ-ไก่-สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-รอ-เรือ-ไม้-โท | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ยากจน, ขาดแคลนไปทุกสิ่งทุกอย่าง เช่น คนยากไร้. | ยากไร้ ว. ยากจน, ขาดแคลนไปทุกสิ่งทุกอย่าง เช่น คนยากไร้. |
ยาเขียว เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก-วอ-แหวน ความหมายที่ ๑ | ดูใน ยา เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา. | ยาเขียว ๑ ดูใน ยา. |
ยาเขียว เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก-วอ-แหวน ความหมายที่ ๒ | ดู รางจืด เขียนว่า รอ-เรือ-สะ-หระ-อา-งอ-งู-จอ-จาน-สะ-หระ-อือ-ดอ-เด็ก (๑). | ยาเขียว ๒ ดู รางจืด (๑). |
ยาคะ เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-คอ-ควาย-สะ-หระ-อะ | เป็นคำนาม หมายถึง ยัญพิธี. ในวงเล็บ มาจากภาษาบาลี และมาจากภาษาสันสกฤต . | ยาคะ น. ยัญพิธี. (ป., ส.). |
ยาคุ, ยาคู ยาคุ เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-คอ-ควาย-สะ-หระ-อุ ยาคู เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-คอ-ควาย-สะ-หระ-อู | เป็นคำนาม หมายถึง ข้าวต้ม; เรียกขนมชนิดหนึ่งทําด้วยข้าวอ่อนว่า ข้าวยาคุ หรือ ข้าวยาคู. ในวงเล็บ มาจากภาษาบาลี . | ยาคุ, ยาคู น. ข้าวต้ม; เรียกขนมชนิดหนึ่งทําด้วยข้าวอ่อนว่า ข้าวยาคุ หรือ ข้าวยาคู. (ป.). |
ยาง เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-งอ-งู ความหมายที่ ๑ | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อนกในวงศ์ Ardeidae ปากแหลม ขายาว ตัวสีขาว บางชนิดตัวสีดํา นํ้าตาล หรือเขียว หากินตามชายนํ้าและทุ่งนา กินปลา แมลง และสัตว์นํ้าขนาดเล็ก มีหลายชนิด เช่น ยางกรอกพันธุ์จีน (Ardeola bacchus) ยางควาย (Bubulcus ibis) ยางโทน ซึ่งมี ๒ ชนิด คือ ยางโทนน้อย (Egretta intermedia) และ ยางโทนใหญ่ (E. alba) ยางเปีย (E. garzetta) ซึ่งในฤดูผสมพันธุ์จะมีขนฟูยาวขึ้นที่ท้ายทอยเป็นเปียสีขาว ๒๓ เส้น, กระยาง ก็เรียก. | ยาง ๑ น. ชื่อนกในวงศ์ Ardeidae ปากแหลม ขายาว ตัวสีขาว บางชนิดตัวสีดํา นํ้าตาล หรือเขียว หากินตามชายนํ้าและทุ่งนา กินปลา แมลง และสัตว์นํ้าขนาดเล็ก มีหลายชนิด เช่น ยางกรอกพันธุ์จีน (Ardeola bacchus) ยางควาย (Bubulcus ibis) ยางโทน ซึ่งมี ๒ ชนิด คือ ยางโทนน้อย (Egretta intermedia) และ ยางโทนใหญ่ (E. alba) ยางเปีย (E. garzetta) ซึ่งในฤดูผสมพันธุ์จะมีขนฟูยาวขึ้นที่ท้ายทอยเป็นเปียสีขาว ๒๓ เส้น, กระยาง ก็เรียก. |
ยาง เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-งอ-งู ความหมายที่ ๒ | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่หลายชนิดในสกุล Dipterocarpus วงศ์ Dipterocarpaceae เช่น ยางนา (D. alatus Roxb.) ยางแดง (D. turbinatus C.E. Gaertn.), ยางที่เจาะเผาจากลําต้นใช้ประสมชันยาเรือ เรียกว่า นํ้ามันยาง. | ยาง ๒ น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่หลายชนิดในสกุล Dipterocarpus วงศ์ Dipterocarpaceae เช่น ยางนา (D. alatus Roxb.) ยางแดง (D. turbinatus C.E. Gaertn.), ยางที่เจาะเผาจากลําต้นใช้ประสมชันยาเรือ เรียกว่า นํ้ามันยาง. |
ยาง เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-งอ-งู ความหมายที่ ๓ | เป็นคำนาม หมายถึง ของเหลวและเหนียวไหลออกจากแผลต้นไม้หรือผลไม้บางอย่าง เช่น ยางสน ยางกล้วย ยางมะละกอ; เรียกสิ่งบางอย่างที่ทําจากยางพาราเป็นต้น เช่น ยางรถ ยางลบ, โดยปริยายเรียกของเหลวที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น แกงบูดเป็นยาง. | ยาง ๓ น. ของเหลวและเหนียวไหลออกจากแผลต้นไม้หรือผลไม้บางอย่าง เช่น ยางสน ยางกล้วย ยางมะละกอ; เรียกสิ่งบางอย่างที่ทําจากยางพาราเป็นต้น เช่น ยางรถ ยางลบ, โดยปริยายเรียกของเหลวที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น แกงบูดเป็นยาง. |
ยางตัน เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-งอ-งู-ตอ-เต่า-ไม้-หัน-อา-กาด-นอ-หนู | เป็นคำนาม หมายถึง ยางที่หุ้มล้อรถจักรยานหรือรถยนต์เป็นต้น มีลักษณะตัน ไม่ต้องใช้ลม. | ยางตัน น. ยางที่หุ้มล้อรถจักรยานหรือรถยนต์เป็นต้น มีลักษณะตัน ไม่ต้องใช้ลม. |
ยางนอก เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-งอ-งู-นอ-หนู-ออ-อ่าง-กอ-ไก่ | เป็นคำนาม หมายถึง ยางชั้นนอกที่หุ้มล้อรถจักรยานหรือรถยนต์เป็นต้น มีดอกหล่อเป็นลวดลายต่าง ๆ เพื่อให้เกาะถนน ข้างในกลวงสำหรับใส่ยางใน. | ยางนอก น. ยางชั้นนอกที่หุ้มล้อรถจักรยานหรือรถยนต์เป็นต้น มีดอกหล่อเป็นลวดลายต่าง ๆ เพื่อให้เกาะถนน ข้างในกลวงสำหรับใส่ยางใน. |
ยางน่อง เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-งอ-งู-นอ-หนู-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-งอ-งู | เป็นคำนาม หมายถึง ยางไม้ที่ได้จากพรรณไม้หลายชนิด เช่น ต้นน่อง (Antiaris toxicaria Leschen.) มีพิษมาก พวกชาวป่าใช้ทาลูกดอกหรือลูกหน้าไม้ยิงสัตว์. | ยางน่อง น. ยางไม้ที่ได้จากพรรณไม้หลายชนิด เช่น ต้นน่อง (Antiaris toxicaria Leschen.) มีพิษมาก พวกชาวป่าใช้ทาลูกดอกหรือลูกหน้าไม้ยิงสัตว์. |
ยางใน เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-งอ-งู-สะ-หระ-ไอ-ไม้-ม้วน-นอ-หนู | เป็นคำนาม หมายถึง ยางที่อยู่ชั้นในของยางนอกรถจักรยานหรือรถยนต์เป็นต้น ผิวเรียบมีลักษณะเป็นหลอดกลวง กลม มีจุ๊บสำหรับสูบลมให้พอง. | ยางใน น. ยางที่อยู่ชั้นในของยางนอกรถจักรยานหรือรถยนต์เป็นต้น ผิวเรียบมีลักษณะเป็นหลอดกลวง กลม มีจุ๊บสำหรับสูบลมให้พอง. |
ยางบอน เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-งอ-งู-บอ-ไบ-ไม้-ออ-อ่าง-นอ-หนู | เป็นคำนาม หมายถึง เรียกเลือดที่ออกซึม ๆ ที่ผิวหนังตรงที่ถูกของมีคม. | ยางบอน น. เรียกเลือดที่ออกซึม ๆ ที่ผิวหนังตรงที่ถูกของมีคม. |
ยางมะตอย เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-งอ-งู-มอ-ม้า-สะ-หระ-อะ-ตอ-เต่า-ออ-อ่าง-ยอ-ยัก | เป็นคำนาม หมายถึง สารผสมประกอบด้วยสารไฮโดรคาร์บอนมากชนิด และสารอินทรีย์อื่น ๆ ซึ่งเรียกรวม ๆ กันว่า สารบิทูเมน ลักษณะเป็นของเหลวข้นหนืด หรือเป็นกึ่งของแข็ง สีดํา หรือสีนํ้าตาลแก่แกมดํา เกิดตามธรรมชาติ และเป็นผลพลอยได้จากการกลั่นนํ้ามันปิโตรเลียม ใช้ประโยชน์ราดทําผิวถนนหรือใช้ผสมกับหินขนาดเล็กทําพื้นถนนได้, แอสฟัลต์ ก็เรียก. | ยางมะตอย น. สารผสมประกอบด้วยสารไฮโดรคาร์บอนมากชนิด และสารอินทรีย์อื่น ๆ ซึ่งเรียกรวม ๆ กันว่า สารบิทูเมน ลักษณะเป็นของเหลวข้นหนืด หรือเป็นกึ่งของแข็ง สีดํา หรือสีนํ้าตาลแก่แกมดํา เกิดตามธรรมชาติ และเป็นผลพลอยได้จากการกลั่นนํ้ามันปิโตรเลียม ใช้ประโยชน์ราดทําผิวถนนหรือใช้ผสมกับหินขนาดเล็กทําพื้นถนนได้, แอสฟัลต์ ก็เรียก. |
ยางมะตูม เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-งอ-งู-มอ-ม้า-สะ-หระ-อะ-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อู-มอ-ม้า | เป็นคำนาม หมายถึง เรียกไข่ที่ต้มหรือทอดยังไม่สุกดี ไข่แดงมีลักษณะเป็นยางเหนียว ๆ คล้ายยางมะตูม (ยางที่หล่อเม็ด). | ยางมะตูม น. เรียกไข่ที่ต้มหรือทอดยังไม่สุกดี ไข่แดงมีลักษณะเป็นยางเหนียว ๆ คล้ายยางมะตูม (ยางที่หล่อเม็ด). |
ยางรัด เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-งอ-งู-รอ-เรือ-ไม้-หัน-อา-กาด-ดอ-เด็ก | เป็นคำนาม หมายถึง ยางเส้นเล็ก ๆ เป็นวง ยืดหดได้ ใช้รัดถุงพลาสติกเป็นต้น. | ยางรัด น. ยางเส้นเล็ก ๆ เป็นวง ยืดหดได้ ใช้รัดถุงพลาสติกเป็นต้น. |
ยางลบ เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-งอ-งู-ลอ-ลิง-บอ-ไบ-ไม้ | เป็นคำนาม หมายถึง ยางไม้หรือพลาสติกบางประเภทที่ทําเป็นแท่งหรือเป็นก้อน ใช้ลบรอยดินสอรอยหมึกเป็นต้น. | ยางลบ น. ยางไม้หรือพลาสติกบางประเภทที่ทําเป็นแท่งหรือเป็นก้อน ใช้ลบรอยดินสอรอยหมึกเป็นต้น. |
ยางสน เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-งอ-งู-สอ-เสือ-นอ-หนู | เป็นคำนาม หมายถึง ยางไม้ที่ได้จากต้นสนเขาในสกุล Pinus วงศ์ Pinaceae เป็นของแข็งมีลักษณะโปร่งแสง สีคล้ายอำพัน, ชันสน ก็เรียก. | ยางสน น. ยางไม้ที่ได้จากต้นสนเขาในสกุล Pinus วงศ์ Pinaceae เป็นของแข็งมีลักษณะโปร่งแสง สีคล้ายอำพัน, ชันสน ก็เรียก. |
ยางหนังสติ๊ก เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-งอ-งู-หอ-หีบ-นอ-หนู-ไม้-หัน-อา-กาด-งอ-งู-สอ-เสือ-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อิ-ไม้-ตรี-กอ-ไก่ | เป็นคำนาม หมายถึง แถบยางยาว ๆ มักทำจากยางในรถจักรยาน เวลานำมาผูกกับง่ามหนังสติ๊กจะใช้ยางเพียง ๒ เส้น โดยผูกปลายด้านหนึ่งของแต่ละเส้นกับปลายสิ่งที่เป็นง่าม ซึ่งมักเป็นไม้ แล้วเอาปลายอีกด้านหนึ่งของแต่ละเส้นผูกกับแผ่นหนังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าชิ้นเล็ก ๆ ที่อยู่ตรงกลางสำหรับรองรับลูกกระสุนที่ใช้ยิง. | ยางหนังสติ๊ก น. แถบยางยาว ๆ มักทำจากยางในรถจักรยาน เวลานำมาผูกกับง่ามหนังสติ๊กจะใช้ยางเพียง ๒ เส้น โดยผูกปลายด้านหนึ่งของแต่ละเส้นกับปลายสิ่งที่เป็นง่าม ซึ่งมักเป็นไม้ แล้วเอาปลายอีกด้านหนึ่งของแต่ละเส้นผูกกับแผ่นหนังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าชิ้นเล็ก ๆ ที่อยู่ตรงกลางสำหรับรองรับลูกกระสุนที่ใช้ยิง. |
ยางหัวล้าน เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-งอ-งู-หอ-หีบ-ไม้-หัน-อา-กาด-วอ-แหวน-ลอ-ลิง-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-นอ-หนู | เป็นคำนาม หมายถึง ยางนอกที่สึกจนไม่มีดอก. | ยางหัวล้าน น. ยางนอกที่สึกจนไม่มีดอก. |
ยางอาย เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-งอ-งู-ออ-อ่าง-สะ-หระ-อา-ยอ-ยัก | เป็นคำนาม หมายถึง ความกระดาก, ความละอายใจ, มักใช้ในประโยคปฏิเสธว่า ไม่มียางอาย. | ยางอาย น. ความกระดาก, ความละอายใจ, มักใช้ในประโยคปฏิเสธว่า ไม่มียางอาย. |
ยาง เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-งอ-งู ความหมายที่ ๔ | เป็นคำนาม หมายถึง ชนชาติกะเหรี่ยง. | ยาง ๔ น. ชนชาติกะเหรี่ยง. |
ย่าง เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา-งอ-งู ความหมายที่ ๑ | เป็นคำกริยา หมายถึง ทําให้สุกด้วยการวางไว้เหนือไฟ เพื่อให้สุกระอุทั่วกัน หรือให้แห้ง มักใช้แก่ของสด โดยปรกติใช้เวลานานกว่าปิ้ง เช่น ย่างไก่ ย่างหมู. เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ที่ทําให้สุกด้วยวิธีเช่นนั้น เช่น ไก่ย่าง หมูย่าง. | ย่าง ๑ ก. ทําให้สุกด้วยการวางไว้เหนือไฟ เพื่อให้สุกระอุทั่วกัน หรือให้แห้ง มักใช้แก่ของสด โดยปรกติใช้เวลานานกว่าปิ้ง เช่น ย่างไก่ ย่างหมู. ว. ที่ทําให้สุกด้วยวิธีเช่นนั้น เช่น ไก่ย่าง หมูย่าง. |
ย่าง เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา-งอ-งู ความหมายที่ ๒ | เป็นคำกริยา หมายถึง ยกเท้าก้าวไป, เดิน, ย่างตีน หรือ ย่างเท้า ก็ว่า; เคลื่อนเข้าสู่ เช่น ย่างเข้าหน้าหนาว อายุย่าง ๒๐ ปี. | ย่าง ๒ ก. ยกเท้าก้าวไป, เดิน, ย่างตีน หรือ ย่างเท้า ก็ว่า; เคลื่อนเข้าสู่ เช่น ย่างเข้าหน้าหนาว อายุย่าง ๒๐ ปี. |
ย่างกราย เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา-งอ-งู-กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อา-ยอ-ยัก | เป็นคำกริยา หมายถึง เหยียบย่าง (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น ไม่ได้ย่างกรายไปไหนเลย เขาไม่ได้ย่างกรายมาเลย. | ย่างกราย ก. เหยียบย่าง (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น ไม่ได้ย่างกรายไปไหนเลย เขาไม่ได้ย่างกรายมาเลย. |
ย่างตีน, ย่างเท้า ย่างตีน เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา-งอ-งู-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อี-นอ-หนู ย่างเท้า เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา-งอ-งู-สะ-หระ-เอ-ทอ-ทะ-หาน-ไม้-โท-สะ-หระ-อา | เป็นคำกริยา หมายถึง ยกเท้าก้าวไป, เดิน, ย่าง ก็ว่า. | ย่างตีน, ย่างเท้า ก. ยกเท้าก้าวไป, เดิน, ย่าง ก็ว่า. |
ย่างเยื้อง เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา-งอ-งู-สะ-หระ-เอ-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อือ-ไม้-โท-ออ-อ่าง-งอ-งู | เป็นคำกริยา หมายถึง เดินอย่างมีลีลา, เดินอย่างมีท่างาม, ใช้ในความประชดก็มี, เยื้องย่าง ก็ว่า. | ย่างเยื้อง ก. เดินอย่างมีลีลา, เดินอย่างมีท่างาม, ใช้ในความประชดก็มี, เยื้องย่าง ก็ว่า. |
ย่างสด เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา-งอ-งู-สอ-เสือ-ดอ-เด็ก | เป็นคำกริยา หมายถึง เผาทั้งเป็น เช่น ถูกย่างสดในกองไฟ. | ย่างสด ก. เผาทั้งเป็น เช่น ถูกย่างสดในกองไฟ. |
ย่างสามขุม เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา-งอ-งู-สอ-เสือ-สะ-หระ-อา-มอ-ม้า-ขอ-ไข่-สะ-หระ-อุ-มอ-ม้า | เป็นคำนาม หมายถึง ท่าเดินเข้าหาคู่ต่อสู้หรือถอยจากคู่ต่อสู้ของนักมวยนักกระบี่กระบองเป็นต้น โดยเดินก้าวย่างเป็นสลับฟันปลา มีตำแหน่งวางเท้าเป็น ๓ เส้า. | ย่างสามขุม น. ท่าเดินเข้าหาคู่ต่อสู้หรือถอยจากคู่ต่อสู้ของนักมวยนักกระบี่กระบองเป็นต้น โดยเดินก้าวย่างเป็นสลับฟันปลา มีตำแหน่งวางเท้าเป็น ๓ เส้า. |
ย่างเหยียบ เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา-งอ-งู-สะ-หระ-เอ-หอ-หีบ-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก-บอ-ไบ-ไม้ | เป็นคำกริยา หมายถึง เข้าไปสู่, เดินเข้าไป, ย่างเข้าสู่, เหยียบย่าง ก็ว่า. | ย่างเหยียบ ก. เข้าไปสู่, เดินเข้าไป, ย่างเข้าสู่, เหยียบย่าง ก็ว่า. |
ยางกราด เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-งอ-งู-กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อา-ดอ-เด็ก | ดู กราด เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อา-ดอ-เด็ก ความหมายที่ ๔. | ยางกราด ดู กราด ๔. |
ย่างทราย เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา-งอ-งู-ทอ-ทะ-หาน-รอ-เรือ-สะ-หระ-อา-ยอ-ยัก | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อเถาวัลย์ป่าชนิดหนึ่ง มีใบใหญ่, ย่านทราย ก็เรียก. ในวงเล็บ มาจาก พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๔๙๓. | ย่างทราย น. ชื่อเถาวัลย์ป่าชนิดหนึ่ง มีใบใหญ่, ย่านทราย ก็เรียก. (พจน. ๒๔๙๓). |
ยางพารา เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-งอ-งู-พอ-พาน-สะ-หระ-อา-รอ-เรือ-สะ-หระ-อา | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อไม้ต้นชนิด Hevea brasiliensis (A. Juss.) Muell. Arg. ในวงศ์ Euphorbiaceae เมื่อกรีดลําต้นได้นํ้ายางสีขาว ใช้ทําผลิตภัณฑ์หลายชนิด เช่น ยางรถ พื้นรองเท้า. | ยางพารา น. ชื่อไม้ต้นชนิด Hevea brasiliensis (A. Juss.) Muell. Arg. ในวงศ์ Euphorbiaceae เมื่อกรีดลําต้นได้นํ้ายางสีขาว ใช้ทําผลิตภัณฑ์หลายชนิด เช่น ยางรถ พื้นรองเท้า. |
ยาจก, ยาจนก ยาจก เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-จอ-จาน-กอ-ไก่ ยาจนก เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-จอ-จาน-นอ-หนู-กอ-ไก่ | [จก, จะนก] เป็นคำนาม หมายถึง คนขอทาน. ในวงเล็บ มาจากภาษาบาลี และมาจากภาษาสันสกฤต . | ยาจก, ยาจนก [จก, จะนก] น. คนขอทาน. (ป., ส.). |
ยาจนะ, ยาจนา ยาจนะ เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-จอ-จาน-นอ-หนู-สะ-หระ-อะ ยาจนา เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-จอ-จาน-นอ-หนู-สะ-หระ-อา | [ยาจะนะ, ยาจะนา] เป็นคำนาม หมายถึง การขอ, การขอร้อง, การวิงวอน. ในวงเล็บ มาจากภาษาบาลี และมาจากภาษาสันสกฤต . | ยาจนะ, ยาจนา [ยาจะนะ, ยาจะนา] น. การขอ, การขอร้อง, การวิงวอน. (ป., ส.). |
ยาไฉน เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ฉอ-ฉิ่ง-นอ-หนู | [ฉะไหฺน] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำกริยา หมายถึง อย่าได้สงสัย, ไม่ต้องสงสัย, เช่น พิศบ่พรรับโอ้อ้า เทพไสร้ยาไฉน. ในวงเล็บ มาจาก ลิลิตพระลอ แบบเรียน. | ยาไฉน [ฉะไหฺน] (กลอน) ก. อย่าได้สงสัย, ไม่ต้องสงสัย, เช่น พิศบ่พรรับโอ้อ้า เทพไสร้ยาไฉน. (ลอ). |
ยาชกะ เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-ชอ-ช้าง-กอ-ไก่-สะ-หระ-อะ | [ชะกะ] เป็นคำนาม หมายถึง ผู้ที่ทําพิธีบูชาหรือพิธีบวงสรวงแทนผู้อื่น. ในวงเล็บ มาจากภาษาบาลี และมาจากภาษาสันสกฤต . | ยาชกะ [ชะกะ] น. ผู้ที่ทําพิธีบูชาหรือพิธีบวงสรวงแทนผู้อื่น. (ป., ส.). |
ยาด เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-ดอ-เด็ก | ดู เวียน เขียนว่า สะ-หระ-เอ-วอ-แหวน-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก-นอ-หนู ความหมายที่ ๒. | ยาด ดู เวียน ๒. |
ยาดา เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-อา | เป็นคำนาม หมายถึง หญิงที่เป็นสะใภ้ด้วยกัน เช่น หนึ่งคือนางศิริมหามายา ยาดานารถบพิตรก็ดี. ในวงเล็บ มาจาก มหาชาติคำหลวง ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๐ กัณฑ์ทศพร ในวงเล็บ มาจากภาษาสันสกฤต ยาตา เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อา. | ยาดา น. หญิงที่เป็นสะใภ้ด้วยกัน เช่น หนึ่งคือนางศิริมหามายา ยาดานารถบพิตรก็ดี. (ม. คำหลวง ทศพร). (ส. ยาตา). |
ยาตนา เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-ตอ-เต่า-นอ-หนู-สะ-หระ-อา | [ตะนา] เป็นคำนาม หมายถึง ความเจ็บปวด, การทรมาน. ในวงเล็บ มาจากภาษาบาลี และมาจากภาษาสันสกฤต . | ยาตนา [ตะนา] น. ความเจ็บปวด, การทรมาน. (ป., ส.). |
ยาตร, ยาตรา ยาตร เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-ตอ-เต่า-รอ-เรือ ยาตรา เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-ตอ-เต่า-รอ-เรือ-สะ-หระ-อา | [ยาด, ยาดตฺรา] เป็นคำกริยา หมายถึง เดิน, เดินเป็นกระบวน. ในวงเล็บ มาจากภาษาบาลี และมาจากภาษาสันสกฤต . | ยาตร, ยาตรา [ยาด, ยาดตฺรา] ก. เดิน, เดินเป็นกระบวน. (ป., ส.). |
ยาน เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-นอ-หนู ความหมายที่ ๑ | เป็นคำนาม หมายถึง เครื่องนําไป, พาหนะต่าง ๆ เช่น รถ เกวียน เรือ, มักใช้เข้าคู่กับคำ พาหนะ เป็น ยานพาหนะ. ในวงเล็บ มาจากภาษาบาลี และมาจากภาษาสันสกฤต . | ยาน ๑ น. เครื่องนําไป, พาหนะต่าง ๆ เช่น รถ เกวียน เรือ, มักใช้เข้าคู่กับคำ พาหนะ เป็น ยานพาหนะ. (ป., ส.). |
ยานเกราะ เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-นอ-หนู-สะ-หระ-เอ-กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-อะ | เป็นคำนาม หมายถึง พาหนะล้อหรือสายพานที่สร้างขึ้นด้วยวัสดุที่สามารถป้องกันตนเองจากอาวุธยิงเล็งตรงหรืออาวุธยิงเล็งจำลอง และป้องกันอันตรายจากวัตถุระเบิดหรือป้องกันอันตรายจากนิวเคลียร์ ชีวะ เคมี ในระดับหนึ่ง. | ยานเกราะ น. พาหนะล้อหรือสายพานที่สร้างขึ้นด้วยวัสดุที่สามารถป้องกันตนเองจากอาวุธยิงเล็งตรงหรืออาวุธยิงเล็งจำลอง และป้องกันอันตรายจากวัตถุระเบิดหรือป้องกันอันตรายจากนิวเคลียร์ ชีวะ เคมี ในระดับหนึ่ง. |
ยานพาหนะ เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-นอ-หนู-พอ-พาน-สะ-หระ-อา-หอ-หีบ-นอ-หนู-สะ-หระ-อะ | เป็นคำนาม หมายถึง ยานต่าง ๆ มีรถและเรือเป็นต้น. | ยานพาหนะ น. ยานต่าง ๆ มีรถและเรือเป็นต้น. |
ยานอวกาศ เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-นอ-หนู-ออ-อ่าง-วอ-แหวน-กอ-ไก่-สะ-หระ-อา-สอ-สา-ลา | เป็นคำนาม หมายถึง ยานที่ส่งขึ้นไปเดินทางในอวกาศ. | ยานอวกาศ น. ยานที่ส่งขึ้นไปเดินทางในอวกาศ. |
ยาน เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-นอ-หนู ความหมายที่ ๒ | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง อาการที่หย่อนลงหรือห้อยลงกว่าระดับที่ควรมีควรเป็นตามปรกติ. | ยาน ๒ ว. อาการที่หย่อนลงหรือห้อยลงกว่าระดับที่ควรมีควรเป็นตามปรกติ. |
ยานคาง เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-นอ-หนู-คอ-ควาย-สะ-หระ-อา-งอ-งู | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง อาการที่พูดลากเสียง. | ยานคาง ว. อาการที่พูดลากเสียง. |
ย่าน เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา-นอ-หนู ความหมายที่ ๑ | เป็นคำนาม หมายถึง แถว, ถิ่น, เช่น เขาเป็นคนย่านนี้, บริเวณ เช่น ย่านบางลำพู ย่านสำเพ็ง, ระยะทางตามกว้างหรือยาวจากตําบลหนึ่งไปยังอีกตําบลหนึ่ง; ของที่ตรงและยาว. | ย่าน ๑ น. แถว, ถิ่น, เช่น เขาเป็นคนย่านนี้, บริเวณ เช่น ย่านบางลำพู ย่านสำเพ็ง, ระยะทางตามกว้างหรือยาวจากตําบลหนึ่งไปยังอีกตําบลหนึ่ง; ของที่ตรงและยาว. |
ย่านซื่อ เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา-นอ-หนู-ซอ-โซ่-สะ-หระ-อือ-ไม้-เอก-ออ-อ่าง | เป็นคำนาม หมายถึง ระยะที่นํ้าไหลพุ่งตรง. | ย่านซื่อ น. ระยะที่นํ้าไหลพุ่งตรง. |
ย่านยาว เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา-นอ-หนู-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-วอ-แหวน | เป็นคำนาม หมายถึง แถบแม่นํ้าที่ยาวตรงไปไกล. | ย่านยาว น. แถบแม่นํ้าที่ยาวตรงไปไกล. |
ย่าน เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา-นอ-หนู ความหมายที่ ๒ | เป็นคำนาม หมายถึง เครือเถา เช่น ย่านวันยอ ย่านลิเภา, เรียกรากไทรที่ห้อยย้อยลงมาว่า ย่านไทร. | ย่าน ๒ น. เครือเถา เช่น ย่านวันยอ ย่านลิเภา, เรียกรากไทรที่ห้อยย้อยลงมาว่า ย่านไทร. |
ย่าน เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา-นอ-หนู ความหมายที่ ๓ | เป็นคำกริยา หมายถึง ยั่น. | ย่าน ๓ ก. ยั่น. |
ย่านกอบนาง เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา-นอ-หนู-กอ-ไก่-ออ-อ่าง-บอ-ไบ-ไม้-นอ-หนู-สะ-หระ-อา-งอ-งู | ดู กอบนาง เขียนว่า กอ-ไก่-ออ-อ่าง-บอ-ไบ-ไม้-นอ-หนู-สะ-หระ-อา-งอ-งู. | ย่านกอบนาง ดู กอบนาง. |
ยานกะ เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-นอ-หนู-กอ-ไก่-สะ-หระ-อะ | [นะกะ] เป็นคำนาม หมายถึง ยานพาหนะเล็ก ๆ. ในวงเล็บ มาจากภาษาบาลี และมาจากภาษาสันสกฤต . | ยานกะ [นะกะ] น. ยานพาหนะเล็ก ๆ. (ป., ส.). |
ย่านทราย เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา-นอ-หนู-ทอ-ทะ-หาน-รอ-เรือ-สะ-หระ-อา-ยอ-ยัก | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อเถาวัลย์ป่าชนิดหนึ่ง มีใบใหญ่, ย่างทราย ก็เรียก. ในวงเล็บ มาจาก พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๔๙๓. | ย่านทราย น. ชื่อเถาวัลย์ป่าชนิดหนึ่ง มีใบใหญ่, ย่างทราย ก็เรียก. (พจน. ๒๔๙๓). |
ย่านนมควาย เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา-นอ-หนู-นอ-หนู-มอ-ม้า-คอ-ควาย-วอ-แหวน-สะ-หระ-อา-ยอ-ยัก | ดู กล้วยหมูสัง เขียนว่า กอ-ไก่-ลอ-ลิง-ไม้-โท-วอ-แหวน-ยอ-ยัก-หอ-หีบ-มอ-ม้า-สะ-หระ-อู-สอ-เสือ-ไม้-หัน-อา-กาด-งอ-งู. | ย่านนมควาย ดู กล้วยหมูสัง. |
ย่านพาโหม เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา-นอ-หนู-พอ-พาน-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-โอ-หอ-หีบ-มอ-ม้า | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อไม้เถาหลายชนิดในสกุล Paederia วงศ์ Rubiaceae ลำต้นมีขน กลิ่นเหม็น เช่น ชนิด P. linearis Hook.f. ใช้แต่งกลิ่นอาหารและทำยาได้, ตดหมูตดหมา ก็เรียก. | ย่านพาโหม น. ชื่อไม้เถาหลายชนิดในสกุล Paederia วงศ์ Rubiaceae ลำต้นมีขน กลิ่นเหม็น เช่น ชนิด P. linearis Hook.f. ใช้แต่งกลิ่นอาหารและทำยาได้, ตดหมูตดหมา ก็เรียก. |
ยานมาศ, ยานุมาศ ยานมาศ เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-นอ-หนู-มอ-ม้า-สะ-หระ-อา-สอ-สา-ลา ยานุมาศ เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-นอ-หนู-สะ-หระ-อุ-มอ-ม้า-สะ-หระ-อา-สอ-สา-ลา | [ยานนะมาด, ยานุมาด] เป็นคำนาม หมายถึง พระราชยานคานหามสําหรับพระมหากษัตริย์ มีลักษณะเป็นพระแท่นราชบัลลังก์ทรงสูง หรือ พระแท่นราชบัลลังก์ทรงราบ มีทั้งที่มีพนักกงและไม่มีพนักกง ปิดทองทั้งองค์ ประกอบเข้ากับคานหาม ใช้หามหรือหิ้วถวายเป็นพระที่นั่งราชยานในโอกาสเสด็จพระราชดําเนินโดยกระบวนพยุหยาตราทางบก. | ยานมาศ, ยานุมาศ [ยานนะมาด, ยานุมาด] น. พระราชยานคานหามสําหรับพระมหากษัตริย์ มีลักษณะเป็นพระแท่นราชบัลลังก์ทรงสูง หรือ พระแท่นราชบัลลังก์ทรงราบ มีทั้งที่มีพนักกงและไม่มีพนักกง ปิดทองทั้งองค์ ประกอบเข้ากับคานหาม ใช้หามหรือหิ้วถวายเป็นพระที่นั่งราชยานในโอกาสเสด็จพระราชดําเนินโดยกระบวนพยุหยาตราทางบก. |
ย่านลิเภา เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา-นอ-หนู-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อิ-สะ-หระ-เอ-พอ-สำ-เพา-สะ-หระ-อา | ดู ลิเภา เขียนว่า ลอ-ลิง-สะ-หระ-อิ-สะ-หระ-เอ-พอ-สำ-เพา-สะ-หระ-อา. | ย่านลิเภา ดู ลิเภา. |
ย่านาง เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา-นอ-หนู-สะ-หระ-อา-งอ-งู ความหมายที่ ๑ | ดูใน ย่า เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา. | ย่านาง ๑ ดูใน ย่า. |
ย่านาง เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา-นอ-หนู-สะ-หระ-อา-งอ-งู ความหมายที่ ๒ | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อไม้เถาชนิด Tiliacora triandra (Colebr.) Diels ในวงศ์ Menispermaceae ใช้ต้มหน่อไม้แก้รสขื่น รากใช้ทํายาได้, เถาวัลย์เขียว ก็เรียก. | ย่านาง ๒ น. ชื่อไม้เถาชนิด Tiliacora triandra (Colebr.) Diels ในวงศ์ Menispermaceae ใช้ต้มหน่อไม้แก้รสขื่น รากใช้ทํายาได้, เถาวัลย์เขียว ก็เรียก. |
ย่านางช้าง เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา-นอ-หนู-สะ-หระ-อา-งอ-งู-ชอ-ช้าง-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-งอ-งู | ดู โพกพาย เขียนว่า สะ-หระ-โอ-พอ-พาน-กอ-ไก่-พอ-พาน-สะ-หระ-อา-ยอ-ยัก. | ย่านางช้าง ดู โพกพาย. |
ยานี เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-นอ-หนู-สะ-หระ-อี | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อกาพย์ชนิดหนึ่ง มี ๑๑ คํา จัดเป็น ๒ วรรค วรรคต้น ๕ คํา วรรคหลัง ๖ คํา; ชื่อเพลงหน้าพาทย์. | ยานี น. ชื่อกาพย์ชนิดหนึ่ง มี ๑๑ คํา จัดเป็น ๒ วรรค วรรคต้น ๕ คํา วรรคหลัง ๖ คํา; ชื่อเพลงหน้าพาทย์. |
ยาบ เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-บอ-ไบ-ไม้ ความหมายที่ ๑ | เป็นคำนาม หมายถึง เส้นปอ, เปลือกของต้นไม้บางชนิดที่มีปอหรือเส้นใย ใช้ปูรองขากูบกันไม่ให้กัดหนังช้างเป็นต้น. | ยาบ ๑ น. เส้นปอ, เปลือกของต้นไม้บางชนิดที่มีปอหรือเส้นใย ใช้ปูรองขากูบกันไม่ให้กัดหนังช้างเป็นต้น. |
ยาบ ๒, ยาบ ๆ ยาบ ความหมายที่ ๒ เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-บอ-ไบ-ไม้ ยาบ ๆ เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-บอ-ไบ-ไม้ ไม้-ยะ-มก | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง อาการที่โบกหรือกระพือขึ้นลงช้า ๆ, อาการที่สูงขึ้นและยุบลงช้า ๆ, ใช้ว่า เยิบยาบ ก็มี. | ยาบ ๒, ยาบ ๆ ว. อาการที่โบกหรือกระพือขึ้นลงช้า ๆ, อาการที่สูงขึ้นและยุบลงช้า ๆ, ใช้ว่า เยิบยาบ ก็มี. |
ยาปน มีเครื่องหมายยัติภังค์ท้ายคำ เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-ปอ-ปลา-นอ-หนู | [ปะนะ] เป็นคำนาม หมายถึง การยังชีวิตให้เป็นไป. ในวงเล็บ มาจากภาษาบาลี และมาจากภาษาสันสกฤต ยาปน เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-ปอ-ปลา-นอ-หนู ว่า การยัง...ให้เป็นไป . | ยาปน [ปะนะ] น. การยังชีวิตให้เป็นไป. (ป., ส. ยาปน ว่า การยัง...ให้เป็นไป). |
ยาปนมัต เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-ปอ-ปลา-นอ-หนู-มอ-ม้า-ไม้-หัน-อา-กาด-ตอ-เต่า | เป็นคำนาม หมายถึง อาหารที่พอจะให้ร่างกายดํารงอยู่ได้. เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง สักว่ายังชีวิตให้เป็นไป, พอเลี้ยงชีพ, พอเยียวยาชีวิต, ภาษาตลาดมักพูดว่า ยาปรมัดไส้. ในวงเล็บ มาจากภาษาบาลี ยาปนมตฺต เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-ปอ-ปลา-นอ-หนู-มอ-ม้า-ตอ-เต่า-พิน-ทุ-ตอ-เต่า. | ยาปนมัต น. อาหารที่พอจะให้ร่างกายดํารงอยู่ได้. ว. สักว่ายังชีวิตให้เป็นไป, พอเลี้ยงชีพ, พอเยียวยาชีวิต, ภาษาตลาดมักพูดว่า ยาปรมัดไส้. (ป. ยาปนมตฺต). |
ยาม, ยาม ยาม เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-มอ-ม้า ยาม มีเครื่องหมายยัติภังค์ท้ายคำ เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-มอ-ม้า | [ยาม, ยามะ] เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อส่วนแห่งวัน ยามหนึ่งมี ๓ ชั่วโมง รวมวันหนึ่งมี ๘ ยาม; ในบาลีแบ่งกลางคืนเป็น ๓ ยาม ยามหนึ่งมี ๔ ชั่วโมง เรียกว่า ปฐมยาม มัชฌิมยาม และปัจฉิมยาม; ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในโหราศาสตร์ หมายถึง ช่วงแห่งวัน เป็นเวลายามละชั่วโมงครึ่ง กลางวันมี ๘ ยามตามลำดับคือ สุริยะ ศุกระ พุธะ จันเทา เสารี ครู ภุมมะ สุริยะ กลางคืนมี ๘ ยามตามลำดับคือ รวิ ชีโว ศศิ ศุโกร ภุมโม โสโร พุโธ รวิ; คราว, เวลา, เช่น ยามสุข ยามทุกข์ ยามเช้า ยามกิน; คนเฝ้าสถานที่หรือระวังเหตุการณ์ตามกําหนดเวลา เช่น แขกยาม ไทยยาม คนยาม, เรียกอาการที่อยู่เฝ้าสถานที่หรือระวังเหตุการณ์เช่นนั้นว่า อยู่ยาม หรือ เฝ้ายาม. ในวงเล็บ มาจากภาษาบาลี . | ยาม, ยาม [ยาม, ยามะ] น. ชื่อส่วนแห่งวัน ยามหนึ่งมี ๓ ชั่วโมง รวมวันหนึ่งมี ๘ ยาม; ในบาลีแบ่งกลางคืนเป็น ๓ ยาม ยามหนึ่งมี ๔ ชั่วโมง เรียกว่า ปฐมยาม มัชฌิมยาม และปัจฉิมยาม; (โหร) ช่วงแห่งวัน เป็นเวลายามละชั่วโมงครึ่ง กลางวันมี ๘ ยามตามลำดับคือ สุริยะ ศุกระ พุธะ จันเทา เสารี ครู ภุมมะ สุริยะ กลางคืนมี ๘ ยามตามลำดับคือ รวิ ชีโว ศศิ ศุโกร ภุมโม โสโร พุโธ รวิ; คราว, เวลา, เช่น ยามสุข ยามทุกข์ ยามเช้า ยามกิน; คนเฝ้าสถานที่หรือระวังเหตุการณ์ตามกําหนดเวลา เช่น แขกยาม ไทยยาม คนยาม, เรียกอาการที่อยู่เฝ้าสถานที่หรือระวังเหตุการณ์เช่นนั้นว่า อยู่ยาม หรือ เฝ้ายาม. (ป.). |
ยามกาลิก เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-มอ-ม้า-กอ-ไก่-สะ-หระ-อา-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อิ-กอ-ไก่ | [ยามะ] เป็นคำนาม หมายถึง ของที่พระสงฆ์เก็บไว้ฉันได้ชั่วคราวเพียงวันหนึ่งกับคืนหนึ่ง ได้แก่ นํ้าอัฐบาน. ในวงเล็บ มาจากภาษาบาลี . ในวงเล็บ ดู กาลิก เขียนว่า กอ-ไก่-สะ-หระ-อา-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อิ-กอ-ไก่. | ยามกาลิก [ยามะ] น. ของที่พระสงฆ์เก็บไว้ฉันได้ชั่วคราวเพียงวันหนึ่งกับคืนหนึ่ง ได้แก่ นํ้าอัฐบาน. (ป.). (ดู กาลิก). |
ยามตูดชาย เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-มอ-ม้า-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อู-ดอ-เด็ก-ชอ-ช้าง-สะ-หระ-อา-ยอ-ยัก | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาเฉพาะถิ่น เป็นคำนาม หมายถึง เวลาบ่าย. | ยามตูดชาย (ถิ่น) น. เวลาบ่าย. |
ยามพาด เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-มอ-ม้า-พอ-พาน-สะ-หระ-อา-ดอ-เด็ก | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาเฉพาะถิ่น เป็นคำนาม หมายถึง เวลาเช้า. | ยามพาด (ถิ่น) น. เวลาเช้า. |
ยามโยค เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-มอ-ม้า-สะ-หระ-โอ-ยอ-ยัก-คอ-ควาย | เป็นคำนาม หมายถึง เวลาที่ประกอบด้วยฤกษ์. | ยามโยค น. เวลาที่ประกอบด้วยฤกษ์. |
ยามสามตา เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-มอ-ม้า-สอ-เสือ-สะ-หระ-อา-มอ-ม้า-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อา | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อวิธีจับยามของหมอดู ใช้นับตามหลัก ๓ หลัก คือ อาทิตย์ จันทร์ และอังคาร เวียนกันไป โดยนับขึ้นต้นที่อาทิตย์ ถ้าวันจับยามเป็นวันข้างขึ้น ให้นับเวียนขวาจากอาทิตย์ไปยังจันทร์และอังคาร ถ้าวันจับยามเป็นวันข้างแรม ให้นับเวียนซ้ายจากอาทิตย์ไปยังอังคารและจันทร์ แล้วทำนายตามตำรายามสามตาหรือตรีเนตร. | ยามสามตา น. ชื่อวิธีจับยามของหมอดู ใช้นับตามหลัก ๓ หลัก คือ อาทิตย์ จันทร์ และอังคาร เวียนกันไป โดยนับขึ้นต้นที่อาทิตย์ ถ้าวันจับยามเป็นวันข้างขึ้น ให้นับเวียนขวาจากอาทิตย์ไปยังจันทร์และอังคาร ถ้าวันจับยามเป็นวันข้างแรม ให้นับเวียนซ้ายจากอาทิตย์ไปยังอังคารและจันทร์ แล้วทำนายตามตำรายามสามตาหรือตรีเนตร. |
ย่าม เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา-มอ-ม้า ความหมายที่ ๑ | เป็นคำนาม หมายถึง เครื่องใช้สําหรับใส่สิ่งของเล็ก ๆ น้อย ๆ ทําด้วยผ้า มีหูหรือสายในตัวสําหรับสะพาย, ถุงย่าม ก็ว่า. | ย่าม ๑ น. เครื่องใช้สําหรับใส่สิ่งของเล็ก ๆ น้อย ๆ ทําด้วยผ้า มีหูหรือสายในตัวสําหรับสะพาย, ถุงย่าม ก็ว่า. |
ย่าม เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา-มอ-ม้า ความหมายที่ ๒ | เป็นคำกริยา หมายถึง เหิม, ทะยาน, ได้ใจ, เช่น ย่ามใจ. | ย่าม ๒ ก. เหิม, ทะยาน, ได้ใจ, เช่น ย่ามใจ. |
ยามเกา เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-มอ-ม้า-สะ-หระ-เอ-กอ-ไก่-สะ-หระ-อา | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์ปุนัพสุ มี ๓ ดวง, ดาวตาเรือชัย ดาวหัวสําเภา ดาวสะเภา ดาวสําเภาทอง หรือ ดาวปุนัพพสู ก็เรียก. | ยามเกา น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์ปุนัพสุ มี ๓ ดวง, ดาวตาเรือชัย ดาวหัวสําเภา ดาวสะเภา ดาวสําเภาทอง หรือ ดาวปุนัพพสู ก็เรียก. |
ยามะ เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-มอ-ม้า-สะ-หระ-อะ | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อสวรรค์ชั้นที่ ๓, เทวดาในชั้นนี้เรียกว่า ยามเทวบุตร. ในวงเล็บ มาจากภาษาบาลี . | ยามะ น. ชื่อสวรรค์ชั้นที่ ๓, เทวดาในชั้นนี้เรียกว่า ยามเทวบุตร. (ป.). |
ยามักการ เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-มอ-ม้า-ไม้-หัน-อา-กาด-กอ-ไก่-กอ-ไก่-สะ-หระ-อา-รอ-เรือ | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อเครื่องหมายบังคับให้อ่านพยัญชนะควบ มีรูปดังนี้ ๎ ใช้ในหนังสือบาลีรุ่นเก่า เช่น กต๎วา ทิส๎วา ในปัจจุบันใช้เครื่องหมายพินทุแทน เป็น กตฺวา ทิสฺวา. | ยามักการ น. ชื่อเครื่องหมายบังคับให้อ่านพยัญชนะควบ มีรูปดังนี้ ๎ ใช้ในหนังสือบาลีรุ่นเก่า เช่น กต๎วา ทิส๎วา ในปัจจุบันใช้เครื่องหมายพินทุแทน เป็น กตฺวา ทิสฺวา. |
ยามา เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-มอ-ม้า-สะ-หระ-อา | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อสวรรค์ชั้นที่ ๓ แห่งสวรรค์ ๖ ชั้น ได้แก่ จาตุมหาราชหรือจาตุมหาราชิกหรือจาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี และปรนิมมิตวสวัตดี, มีท้าวสุยามเป็นผู้ครอง. | ยามา น. ชื่อสวรรค์ชั้นที่ ๓ แห่งสวรรค์ ๖ ชั้น ได้แก่ จาตุมหาราชหรือจาตุมหาราชิกหรือจาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี และปรนิมมิตวสวัตดี, มีท้าวสุยามเป็นผู้ครอง. |
ยามิก เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-มอ-ม้า-สะ-หระ-อิ-กอ-ไก่ | เป็นคำนาม หมายถึง คนเฝ้ายาม, คนเฝ้ายามเวลากลางคืน. ในวงเล็บ มาจากภาษาสันสกฤต . | ยามิก น. คนเฝ้ายาม, คนเฝ้ายามเวลากลางคืน. (ส.). |
ยาย เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-ยอ-ยัก | เป็นคำนาม หมายถึง แม่ของแม่, เมียของตา, หญิงที่เป็นญาติชั้นเดียวกับแม่ของแม่หรือที่อายุรุ่นราวคราวเดียวกับยาย, ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาปาก หมายถึง คําเรียกหญิงสูงอายุอย่างไม่ค่อยเคารพนับถือ เช่น ยายป้า ยายแก่ ยายคุณหญิง หรือเรียกหญิงรุ่นราวคราวเดียวกันอย่างเป็นกันเอง เช่น ยายปุก ยายกุ้ง หรือเรียกเด็กหญิงที่ตนเอ็นดูรักใคร่ เช่น ยายหนู. | ยาย น. แม่ของแม่, เมียของตา, หญิงที่เป็นญาติชั้นเดียวกับแม่ของแม่หรือที่อายุรุ่นราวคราวเดียวกับยาย, (ปาก) คําเรียกหญิงสูงอายุอย่างไม่ค่อยเคารพนับถือ เช่น ยายป้า ยายแก่ ยายคุณหญิง หรือเรียกหญิงรุ่นราวคราวเดียวกันอย่างเป็นกันเอง เช่น ยายปุก ยายกุ้ง หรือเรียกเด็กหญิงที่ตนเอ็นดูรักใคร่ เช่น ยายหนู. |
ยายทวด เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-ยอ-ยัก-ทอ-ทะ-หาน-วอ-แหวน-ดอ-เด็ก | เป็นคำนาม หมายถึง แม่ของตาหรือของยาย. | ยายทวด น. แม่ของตาหรือของยาย. |
ย้าย เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-ยอ-ยัก | เป็นคำกริยา หมายถึง เปลี่ยนที่ เช่น ย้ายเก้าอี้ไปไว้มุมห้อง. เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง อาการที่ร่างกายบางส่วนเช่น พุง เอว เคลื่อนไหวไปมาข้างโน้นทีข้างนี้ทีตามจังหวะขณะเดินเป็นต้น (มักใช้แก่คนอ้วน) เช่น เดินย้ายพุง เดินย้ายเอว. | ย้าย ก. เปลี่ยนที่ เช่น ย้ายเก้าอี้ไปไว้มุมห้อง. ว. อาการที่ร่างกายบางส่วนเช่น พุง เอว เคลื่อนไหวไปมาข้างโน้นทีข้างนี้ทีตามจังหวะขณะเดินเป็นต้น (มักใช้แก่คนอ้วน) เช่น เดินย้ายพุง เดินย้ายเอว. |
ยายี เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อี | เป็นคำกริยา หมายถึง เบียดเบียน, รบกวน. | ยายี ก. เบียดเบียน, รบกวน. |
ยาว เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-วอ-แหวน | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ลักษณะของสิ่งใด ๆ มีกําหนดระยะจากจุดหนึ่งถึงอีกจุดหนึ่งที่ขยายออกไปไม่ได้แล้ว เช่น ถนนยาว ๓๐ กิโลเมตร เชือกยาว ๒ เมตร, ลักษณะส่วนหนึ่งของสิ่งใด ๆ มีกําหนดระยะยืดหรือยืนเป็นเส้นตรงจากจุดหนึ่งไปถึงอีกจุดหนึ่งมากกว่าอีกสิ่งหนึ่ง เมื่อมีการเปรียบเทียบกัน, ไม่สั้น เช่น เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว กระโปรงยาว, นาน (ใช้แก่เวลา) เช่น หน้าร้อนกลางวันยาวกว่ากลางคืน. | ยาว ว. ลักษณะของสิ่งใด ๆ มีกําหนดระยะจากจุดหนึ่งถึงอีกจุดหนึ่งที่ขยายออกไปไม่ได้แล้ว เช่น ถนนยาว ๓๐ กิโลเมตร เชือกยาว ๒ เมตร, ลักษณะส่วนหนึ่งของสิ่งใด ๆ มีกําหนดระยะยืดหรือยืนเป็นเส้นตรงจากจุดหนึ่งไปถึงอีกจุดหนึ่งมากกว่าอีกสิ่งหนึ่ง เมื่อมีการเปรียบเทียบกัน, ไม่สั้น เช่น เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว กระโปรงยาว, นาน (ใช้แก่เวลา) เช่น หน้าร้อนกลางวันยาวกว่ากลางคืน. |
ยาวความ เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-วอ-แหวน-คอ-ควาย-วอ-แหวน-สะ-หระ-อา-มอ-ม้า | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ต่อความให้ยืดยาวออกไปโดยไม่จำเป็น เช่น อย่าพูดให้ยาวความ. | ยาวความ ว. ต่อความให้ยืดยาวออกไปโดยไม่จำเป็น เช่น อย่าพูดให้ยาวความ. |
ยาวบั่น สั้นต่อ เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-วอ-แหวน-บอ-ไบ-ไม้-ไม้-หัน-อา-กาด-ไม้-เอก-นอ-หนู สอ-เสือ-ไม้-หัน-อา-กาด-ไม้-โท-นอ-หนู-ตอ-เต่า-ไม้-เอก-ออ-อ่าง | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นสำนวน เป็นคำกริยา หมายถึง รักจะอยู่ด้วยกันนาน ๆ ให้ตัดความคิดอาฆาตพยาบาทออกไป รักจะอยู่กันสั้น ๆ ให้คิดอาฆาตพยาบาทเข้าไว้, รักยาวให้บั่น รักสั้นให้ต่อ ก็ว่า. | ยาวบั่น สั้นต่อ (สำ) ก. รักจะอยู่ด้วยกันนาน ๆ ให้ตัดความคิดอาฆาตพยาบาทออกไป รักจะอยู่กันสั้น ๆ ให้คิดอาฆาตพยาบาทเข้าไว้, รักยาวให้บั่น รักสั้นให้ต่อ ก็ว่า. |
ยาวเฟื้อย เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-วอ-แหวน-สะ-หระ-เอ-ฟอ-ฟัน-สะ-หระ-อือ-ไม้-โท-ออ-อ่าง-ยอ-ยัก | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ยาวมาก (มักใช้แก่สิ่งที่เป็นเส้นอย่างผมหรือหางไก่เป็นต้น) เช่น ผมยาวเฟื้อย ไก่ฟ้าหางยาวเฟื้อย. | ยาวเฟื้อย ว. ยาวมาก (มักใช้แก่สิ่งที่เป็นเส้นอย่างผมหรือหางไก่เป็นต้น) เช่น ผมยาวเฟื้อย ไก่ฟ้าหางยาวเฟื้อย. |
ยาวยืด เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-วอ-แหวน-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อือ-ดอ-เด็ก | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง อาการที่ของเหลวและเหนียวไหลย้อยยาวลงมา, ยาวมากไม่รู้จักจบ (มักใช้แก่ข้อความหรือเรื่องราวที่ยาวเกินไป) เช่น เรื่องนี้ยาวยืดเล่าไม่รู้จักจบ. | ยาวยืด ว. อาการที่ของเหลวและเหนียวไหลย้อยยาวลงมา, ยาวมากไม่รู้จักจบ (มักใช้แก่ข้อความหรือเรื่องราวที่ยาวเกินไป) เช่น เรื่องนี้ยาวยืดเล่าไม่รู้จักจบ. |
ยาวรี เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-วอ-แหวน-รอ-เรือ-สะ-หระ-อี | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง กลมยาวเรียวและมีหัวท้ายเหมือนเมล็ดข้าวสาร, ยาวเรียวไปอย่างใบข้าว คือ โคนโตปลายเรียวเล็ก. | ยาวรี ว. กลมยาวเรียวและมีหัวท้ายเหมือนเมล็ดข้าวสาร, ยาวเรียวไปอย่างใบข้าว คือ โคนโตปลายเรียวเล็ก. |
ยาวเหยียด เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-วอ-แหวน-สะ-หระ-เอ-หอ-หีบ-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก-ดอ-เด็ก | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ทอดตรงออกไปเต็มเหยียด เช่น นอนยาวเหยียด, ยาวเป็นแถวเป็นแนวไปไกล เช่น ขบวนยาวเหยียด, ยาวมากเกินไป เช่น พรรณนาสรรพคุณเสียยาวเหยียด. | ยาวเหยียด ว. ทอดตรงออกไปเต็มเหยียด เช่น นอนยาวเหยียด, ยาวเป็นแถวเป็นแนวไปไกล เช่น ขบวนยาวเหยียด, ยาวมากเกินไป เช่น พรรณนาสรรพคุณเสียยาวเหยียด. |
ย้าว เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-วอ-แหวน | ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ เป็นคำนาม หมายถึง เหย้า. | ย้าว (โบ) น. เหย้า. |
ยาวกาลิก เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-วอ-แหวน-กอ-ไก่-สะ-หระ-อา-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อิ-กอ-ไก่ | [ยาวะ] เป็นคำนาม หมายถึง ของที่พระสงฆ์เก็บไว้ฉันได้ชั่วคราวตั้งแต่เช้าถึงเที่ยงวัน ได้แก่ ข้าวปลาอาหาร. (ดู กาลิก). ในวงเล็บ มาจากภาษาบาลี . | ยาวกาลิก [ยาวะ] น. ของที่พระสงฆ์เก็บไว้ฉันได้ชั่วคราวตั้งแต่เช้าถึงเที่ยงวัน ได้แก่ ข้าวปลาอาหาร. (ดู กาลิก). (ป.). |
ยาวชีวิก เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-วอ-แหวน-ชอ-ช้าง-สะ-หระ-อี-วอ-แหวน-สะ-หระ-อิ-กอ-ไก่ | [ยาวะ] เป็นคำนาม หมายถึง ของที่พระสงฆ์เก็บไว้ฉันได้เสมอไป ไม่มีจํากัดกาล, ตามวินัยบัญญัติได้แก่ของที่ใช้ประกอบเป็นยาสงเคราะห์เข้าในคิลานปัจจัย. ในวงเล็บ ดู กาลิก เขียนว่า กอ-ไก่-สะ-หระ-อา-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อิ-กอ-ไก่. ในวงเล็บ มาจากภาษาบาลี . | ยาวชีวิก [ยาวะ] น. ของที่พระสงฆ์เก็บไว้ฉันได้เสมอไป ไม่มีจํากัดกาล, ตามวินัยบัญญัติได้แก่ของที่ใช้ประกอบเป็นยาสงเคราะห์เข้าในคิลานปัจจัย. (ดู กาลิก). (ป.). |
ยาวัส เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-วอ-แหวน-ไม้-หัน-อา-กาด-สอ-เสือ | เป็นคำนาม หมายถึง ฟ่อนหญ้า, หญ้าหรืออาหารสําหรับสัตว์. ในวงเล็บ มาจากภาษาสันสกฤต . | ยาวัส น. ฟ่อนหญ้า, หญ้าหรืออาหารสําหรับสัตว์. (ส.). |
ยาสูบ เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-สอ-เสือ-สะ-หระ-อู-บอ-ไบ-ไม้ ความหมายที่ ๑ | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Nicotiana tabacum L. ในวงศ์ Solanaceae ใบหั่นเป็นเส้นใช้กินกับหมากหรือมวนสูบ ทําเป็นผงใช้เป่าหรือสูดดม. | ยาสูบ ๑ น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Nicotiana tabacum L. ในวงศ์ Solanaceae ใบหั่นเป็นเส้นใช้กินกับหมากหรือมวนสูบ ทําเป็นผงใช้เป่าหรือสูดดม. |
ยาสูบ เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-สอ-เสือ-สะ-หระ-อู-บอ-ไบ-ไม้ ความหมายที่ ๒ | เป็นคำนาม หมายถึง ใบของต้นยาสูบ (Nicotiana tabacum L.) ที่หั่นเป็นเส้นใช้ใบตองหรือใบจากเป็นต้นมวนสูบ. | ยาสูบ ๒ น. ใบของต้นยาสูบ (Nicotiana tabacum L.) ที่หั่นเป็นเส้นใช้ใบตองหรือใบจากเป็นต้นมวนสูบ. |
ยาไส้ เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-สอ-เสือ-ไม้-โท | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาปาก เป็นคำกริยา หมายถึง ประทังความหิว เช่น หากินไม่พอยาไส้. | ยาไส้ (ปาก) ก. ประทังความหิว เช่น หากินไม่พอยาไส้. |
ยาหยัง เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-หอ-หีบ-ยอ-ยัก-ไม้-หัน-อา-กาด-งอ-งู | [หฺยัง] เป็นคำกริยา หมายถึง ชนะศัตรู. ในวงเล็บ มาจากภาษาชวา . | ยาหยัง [หฺยัง] ก. ชนะศัตรู. (ช.). |
ย่าหยา เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา-หอ-หีบ-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา | [หฺยา] เป็นคำนาม หมายถึง เรียกหญิงลูกครึ่งจีนกับมลายูที่เกิดในมลายูและอินโดนีเซียว่า ย่าหยา, คู่กับ บ้าบ๋า. | ย่าหยา [หฺยา] น. เรียกหญิงลูกครึ่งจีนกับมลายูที่เกิดในมลายูและอินโดนีเซียว่า ย่าหยา, คู่กับ บ้าบ๋า. |
ยาหยี เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-หอ-หีบ-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อี | [หฺยี] เป็นคำนาม หมายถึง น้องรัก. ในวงเล็บ มาจากภาษาชวา . | ยาหยี [หฺยี] น. น้องรัก. (ช.). |
ยาหัด เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-หอ-หีบ-ไม้-หัน-อา-กาด-ดอ-เด็ก | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ชั่ว, ไม่ดี, หยาบ, ไม่งาม. ในวงเล็บ มาจากภาษาชวา . | ยาหัด ว. ชั่ว, ไม่ดี, หยาบ, ไม่งาม. (ช.). |
ยำ เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อำ ความหมายที่ ๑ | เป็นคำกริยา หมายถึง เคล้าคละ, ปะปน. เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อกับข้าวอย่างหนึ่งที่ปรุงโดยเอาผักและเนื้อสัตว์เป็นต้นมาเคล้าเข้าด้วยกัน เช่น ยำเนื้อ ยำเล็บมือนาง ยำปลากรอบ. | ยำ ๑ ก. เคล้าคละ, ปะปน. น. ชื่อกับข้าวอย่างหนึ่งที่ปรุงโดยเอาผักและเนื้อสัตว์เป็นต้นมาเคล้าเข้าด้วยกัน เช่น ยำเนื้อ ยำเล็บมือนาง ยำปลากรอบ. |
ยำขโมย เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อำ-ขอ-ไข่-สะ-หระ-โอ-มอ-ม้า-ยอ-ยัก | เป็นคำนาม หมายถึง ยำเนื้อย่างใส่แตงกวา ปรุงรสเปรี้ยว เค็ม เผ็ด. | ยำขโมย น. ยำเนื้อย่างใส่แตงกวา ปรุงรสเปรี้ยว เค็ม เผ็ด. |
ยำทวาย เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อำ-ทอ-ทะ-หาน-วอ-แหวน-สะ-หระ-อา-ยอ-ยัก | เป็นคำนาม หมายถึง ยำชนิดหนึ่ง มีผักลวกเช่นผักบุ้ง กะหล่ำปลี ถั่วงอก ราดด้วยหัวกะทิและน้ำพริกซึ่งปรุงรสเปรี้ยว เค็ม หวาน และโรยงาคั่ว. | ยำทวาย น. ยำชนิดหนึ่ง มีผักลวกเช่นผักบุ้ง กะหล่ำปลี ถั่วงอก ราดด้วยหัวกะทิและน้ำพริกซึ่งปรุงรสเปรี้ยว เค็ม หวาน และโรยงาคั่ว. |
ยำสลัด เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อำ-สอ-เสือ-ลอ-ลิง-ไม้-หัน-อา-กาด-ดอ-เด็ก | เป็นคำนาม หมายถึง ยำชนิดหนึ่งตามแบบตะวันตก ประกอบด้วยผักสดหลายชนิด เช่น ผักกาดหอม หอมหัวใหญ่ มะเขือเทศ แตงกวา เป็นหลัก และอาจมีเนื้อสัตว์หรือไข่ด้วย ราดด้วยน้ำปรุงรสที่เรียกว่า น้ำสลัด. | ยำสลัด น. ยำชนิดหนึ่งตามแบบตะวันตก ประกอบด้วยผักสดหลายชนิด เช่น ผักกาดหอม หอมหัวใหญ่ มะเขือเทศ แตงกวา เป็นหลัก และอาจมีเนื้อสัตว์หรือไข่ด้วย ราดด้วยน้ำปรุงรสที่เรียกว่า น้ำสลัด. |
ยำใหญ่ เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อำ-สะ-หระ-ไอ-ไม้-ม้วน-หอ-หีบ-ยอ-หยิง-ไม้-เอก | เป็นคำนาม หมายถึง ยำที่ใส่แตงกวา ไข่ต้ม กุ้งต้ม หมูต้ม หนังหมู เห็ดหูหนู หัวผักกาดขาว ใบสะระแหน่ ใบโหระพา ปรุงให้มีรสเปรี้ยว เค็ม หรือหวานด้วยก็ได้. | ยำใหญ่ น. ยำที่ใส่แตงกวา ไข่ต้ม กุ้งต้ม หมูต้ม หนังหมู เห็ดหูหนู หัวผักกาดขาว ใบสะระแหน่ ใบโหระพา ปรุงให้มีรสเปรี้ยว เค็ม หรือหวานด้วยก็ได้. |
ยำ เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อำ ความหมายที่ ๒ | เป็นคำกริยา หมายถึง เคารพ, นับถือ. | ยำ ๒ ก. เคารพ, นับถือ. |
ยำเกรง เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อำ-สะ-หระ-เอ-กอ-ไก่-รอ-เรือ-งอ-งู | เป็นคำกริยา หมายถึง เกรงกลัวเพราะความเคารพนับถือ, ยําเยง ก็ว่า. | ยำเกรง ก. เกรงกลัวเพราะความเคารพนับถือ, ยําเยง ก็ว่า. |
ยำเยง เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อำ-สะ-หระ-เอ-ยอ-ยัก-งอ-งู | ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้เฉพาะในหนังสือ ไม่ใช่คำพูดทั่วไป เป็นคำกริยา หมายถึง ยําเกรง. | ยำเยง (แบบ) ก. ยําเกรง. |
ย่ำ เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-เอก-สะ-หระ-อำ | เป็นคำกริยา หมายถึง เหยียบหนัก ๆ ซํ้า ๆ, ถ้าเหยียบในลักษณะเช่นนั้นอยู่กับที่เรียกว่า ยํ่าเท้า, เดินในลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น; ตีกลองหรือฆ้องถี่ ๆ หลายครั้งเพื่อบอกเวลาสําหรับเปลี่ยนยาม เรียกว่า ยํ่ากลอง ยํ่าฆ้อง, ยํ่ายาม ก็เรียก, ถ้ากระทําในเวลาเช้า เรียกว่า ยํ่ารุ่ง (ราว ๖ น.), ถ้ากระทําในเวลาคํ่า เรียกว่า ยํ่าคํ่า (ราว ๑๘ น.). | ย่ำ ก. เหยียบหนัก ๆ ซํ้า ๆ, ถ้าเหยียบในลักษณะเช่นนั้นอยู่กับที่เรียกว่า ยํ่าเท้า, เดินในลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น; ตีกลองหรือฆ้องถี่ ๆ หลายครั้งเพื่อบอกเวลาสําหรับเปลี่ยนยาม เรียกว่า ยํ่ากลอง ยํ่าฆ้อง, ยํ่ายาม ก็เรียก, ถ้ากระทําในเวลาเช้า เรียกว่า ยํ่ารุ่ง (ราว ๖ น.), ถ้ากระทําในเวลาคํ่า เรียกว่า ยํ่าคํ่า (ราว ๑๘ น.). |
ย่ำต๊อก เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-เอก-สะ-หระ-อำ-ตอ-เต่า-ไม้-ตรี-ออ-อ่าง-กอ-ไก่ | เป็นคำกริยา หมายถึง เดินย่ำไปเรื่อย ๆ เพราะไม่มีรถหรือค่ารถเป็นต้น. | ย่ำต๊อก ก. เดินย่ำไปเรื่อย ๆ เพราะไม่มีรถหรือค่ารถเป็นต้น. |
ย่ำเทือก เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-เอก-สะ-หระ-อำ-สะ-หระ-เอ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อือ-ออ-อ่าง-กอ-ไก่ | เป็นคำกริยา หมายถึง ยํ่าดินโคลนพื้นนาที่จะตกกล้าให้อ่อนเหลว, ย่ำขี้เทือก ก็เรียก. | ย่ำเทือก ก. ยํ่าดินโคลนพื้นนาที่จะตกกล้าให้อ่อนเหลว, ย่ำขี้เทือก ก็เรียก. |
ย่ำเป็นเทือก เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-เอก-สะ-หระ-อำ-สะ-หระ-เอ-ปอ-ปลา-ไม้-ไต่-คู้-นอ-หนู-สะ-หระ-เอ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อือ-ออ-อ่าง-กอ-ไก่ | เป็นคำกริยา หมายถึง ย่ำกันไปมาจนเปื้อนเปรอะเลอะเทอะเหมือนเปรอะด้วยขี้เทือก. | ย่ำเป็นเทือก ก. ย่ำกันไปมาจนเปื้อนเปรอะเลอะเทอะเหมือนเปรอะด้วยขี้เทือก. |
ย่ำยี เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-เอก-สะ-หระ-อำ-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อี | เป็นคำกริยา หมายถึง เบียดเบียน เช่น ย่ำยีศาสนา, บีบคั้น, ข่มเหง, เช่น ย่ำยีจิตใจ, บดขยี้ เช่น ยกกองทัพไปย่ำยีประเทศอื่น. | ย่ำยี ก. เบียดเบียน เช่น ย่ำยีศาสนา, บีบคั้น, ข่มเหง, เช่น ย่ำยีจิตใจ, บดขยี้ เช่น ยกกองทัพไปย่ำยีประเทศอื่น. |
ย่ำแย่ เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-เอก-สะ-หระ-อำ-สะ-หระ-แอ-ยอ-ยัก-ไม้-เอก | เป็นคำกริยา หมายถึง เหน็ดเหนื่อยมาก, ลำบากมาก, เช่น ทำงานย่ำแย่ ถูกใช้เสียย่ำแย่. | ย่ำแย่ ก. เหน็ดเหนื่อยมาก, ลำบากมาก, เช่น ทำงานย่ำแย่ ถูกใช้เสียย่ำแย่. |
ย้ำ, ย้ำ ๆ ย้ำ เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-โท-สะ-หระ-อำ ย้ำ ๆ เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-โท-สะ-หระ-อำ ไม้-ยะ-มก | เป็นคำกริยา หมายถึง พูดหรือทําซํ้า ๆ (เพื่อเน้นให้แน่น ให้กระชับ ให้มั่นคง) เช่น พูดยํ้า ยํ้าหัวตะปู. เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง อาการที่กัดเบา ๆ เพียงให้บุบหรือเป็นรอยช้ำ เช่น หมากัดย้ำ แต่ไม่เข้า เคี้ยวพอย้ำ ๆ. | ย้ำ, ย้ำ ๆ ก. พูดหรือทําซํ้า ๆ (เพื่อเน้นให้แน่น ให้กระชับ ให้มั่นคง) เช่น พูดยํ้า ยํ้าหัวตะปู. ว. อาการที่กัดเบา ๆ เพียงให้บุบหรือเป็นรอยช้ำ เช่น หมากัดย้ำ แต่ไม่เข้า เคี้ยวพอย้ำ ๆ. |
ย้ำหัวเห็ด เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-โท-สะ-หระ-อำ-หอ-หีบ-ไม้-หัน-อา-กาด-วอ-แหวน-สะ-หระ-เอ-หอ-หีบ-ไม้-ไต่-คู้-ดอ-เด็ก | เป็นคำกริยา หมายถึง สอดนอตที่ปลายข้างหนึ่งบานลงในรูแผ่นโลหะ ๒ แผ่นที่ซ้อนให้รูตรงกัน ทำให้นอตร้อนจัดแล้วตอกย้ำให้ปลายบานอย่างดอกเห็ด ซึ่งเมื่อปล่อยให้เย็น นอตจะหดตัวรัดโลหะ ๒ แผ่นนี้ให้แนบกันสนิท. | ย้ำหัวเห็ด ก. สอดนอตที่ปลายข้างหนึ่งบานลงในรูแผ่นโลหะ ๒ แผ่นที่ซ้อนให้รูตรงกัน ทำให้นอตร้อนจัดแล้วตอกย้ำให้ปลายบานอย่างดอกเห็ด ซึ่งเมื่อปล่อยให้เย็น นอตจะหดตัวรัดโลหะ ๒ แผ่นนี้ให้แนบกันสนิท. |
ยำยาม เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อำ-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-มอ-ม้า | เป็นคำกริยา หมายถึง ชมเชย. | ยำยาม ก. ชมเชย. |
ยำเยีย เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อำ-สะ-หระ-เอ-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก | เป็นคำกริยา หมายถึง ถูกกระทําในทางร้ายโดยวิธีใช้เวทมนตร์ต่าง ๆ, มักใช้ว่า ถูกกระทํายําเยีย. | ยำเยีย ก. ถูกกระทําในทางร้ายโดยวิธีใช้เวทมนตร์ต่าง ๆ, มักใช้ว่า ถูกกระทํายําเยีย. |
ย่ำแย่ เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-เอก-สะ-หระ-อำ-สะ-หระ-แอ-ยอ-ยัก-ไม้-เอก | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง เหลือทน. | ย่ำแย่ ว. เหลือทน. |
ย้ำเหยอ เขียนว่า ยอ-ยัก-ไม้-โท-สะ-หระ-อำ-สะ-หระ-เอ-หอ-หีบ-ยอ-ยัก-ออ-อ่าง | [เหฺยอ] เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง เลอะเทอะ, หลงลืม. | ย้ำเหยอ [เหฺยอ] ว. เลอะเทอะ, หลงลืม. |
ยิก, ยิก ๆ ยิก เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อิ-กอ-ไก่ ยิก ๆ เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อิ-กอ-ไก่ ไม้-ยะ-มก | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง อาการที่ทำติดต่อกันถี่ ๆ บ่อย ๆ เช่น ท้ายิกเลย เกาหัวยิก ๆ ชวนยิก ๆ, ขยิก ก็ใช้. | ยิก, ยิก ๆ ว. อาการที่ทำติดต่อกันถี่ ๆ บ่อย ๆ เช่น ท้ายิกเลย เกาหัวยิก ๆ ชวนยิก ๆ, ขยิก ก็ใช้. |
ยิง เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อิ-งอ-งู | เป็นคำกริยา หมายถึง ทําให้อาวุธเช่นลูกศรหรือลูกปืนแล่นออกไปโดยแรงด้วยกําลังส่ง เช่น ยิงธนู ยิงปืน. | ยิง ก. ทําให้อาวุธเช่นลูกศรหรือลูกปืนแล่นออกไปโดยแรงด้วยกําลังส่ง เช่น ยิงธนู ยิงปืน. |
ยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อิ-งอ-งู-ปอ-ปลา-สะ-หระ-อือ-นอ-หนู-นอ-หนู-ไม้-หัน-อา-กาด-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-เอ-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก-วอ-แหวน-สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ดอ-เด็ก-ไม้-โท-นอ-หนู-กอ-ไก่-สอ-เสือ-ออ-อ่าง-งอ-งู-ตอ-เต่า-ไม้-หัน-อา-กาด-วอ-แหวน | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นสำนวน เป็นคำกริยา หมายถึง ทําอย่างเดียวได้ผล ๒ อย่าง, ลงทุนครั้งเดียวได้ผลกําไร ๒ ทาง. | ยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว (สำ) ก. ทําอย่างเดียวได้ผล ๒ อย่าง, ลงทุนครั้งเดียวได้ผลกําไร ๒ ทาง. |
ยิงเป้า เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อิ-งอ-งู-สะ-หระ-เอ-ปอ-ปลา-ไม้-โท-สะ-หระ-อา | เป็นคำกริยา หมายถึง ต้องโทษโดยยิงให้ตายเพราะความผิดร้ายแรง. | ยิงเป้า ก. ต้องโทษโดยยิงให้ตายเพราะความผิดร้ายแรง. |
ยิ่ง เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อิ-ไม้-เอก-งอ-งู | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ถ้าอยู่ข้างหลัง หมายความว่า เป็นยอด, ที่สุด, เช่น งามยิ่ง ดียิ่ง, ถ้าอยู่ข้างหน้า ใช้ในเชิงเปรียบเทียบหมายความว่า เกิน, ลํ้า, เพิ่มขึ้น, เจริญขึ้น, มากขึ้น, ฯลฯ เช่น ยิ่งงาม ยิ่งดี, ถ้าประกอบหน้าคำอื่นมักมาเป็นคู่กันเสมอ เช่น ยิ่งมากยิ่งดี ยิ่งตียิ่งกัด ยิ่งแก่ยิ่งโง่ ยิ่งโตยิ่งเซ่อ. | ยิ่ง ว. ถ้าอยู่ข้างหลัง หมายความว่า เป็นยอด, ที่สุด, เช่น งามยิ่ง ดียิ่ง, ถ้าอยู่ข้างหน้า ใช้ในเชิงเปรียบเทียบหมายความว่า เกิน, ลํ้า, เพิ่มขึ้น, เจริญขึ้น, มากขึ้น, ฯลฯ เช่น ยิ่งงาม ยิ่งดี, ถ้าประกอบหน้าคำอื่นมักมาเป็นคู่กันเสมอ เช่น ยิ่งมากยิ่งดี ยิ่งตียิ่งกัด ยิ่งแก่ยิ่งโง่ ยิ่งโตยิ่งเซ่อ. |
ยิ่งกว่านั้น เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อิ-ไม้-เอก-งอ-งู-กอ-ไก่-วอ-แหวน-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา-นอ-หนู-ไม้-หัน-อา-กาด-ไม้-โท-นอ-หนู | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง มากกว่านั้น. | ยิ่งกว่านั้น ว. มากกว่านั้น. |
ยิ่งนัก เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อิ-ไม้-เอก-งอ-งู-นอ-หนู-ไม้-หัน-อา-กาด-กอ-ไก่ | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง อย่างยิ่ง. | ยิ่งนัก ว. อย่างยิ่ง. |
ยิ่งยวด เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อิ-ไม้-เอก-งอ-งู-ยอ-ยัก-วอ-แหวน-ดอ-เด็ก | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง เยี่ยมที่สุด เช่น มีความสามารถอย่างยิ่งยวด, มากที่สุด เช่น ใช้ความพยายามอย่างยิ่งยวด, ยวดยิ่ง ก็ว่า. | ยิ่งยวด ว. เยี่ยมที่สุด เช่น มีความสามารถอย่างยิ่งยวด, มากที่สุด เช่น ใช้ความพยายามอย่างยิ่งยวด, ยวดยิ่ง ก็ว่า. |
ยิ่งใหญ่ เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อิ-ไม้-เอก-งอ-งู-สะ-หระ-ไอ-ไม้-ม้วน-หอ-หีบ-ยอ-หยิง-ไม้-เอก | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง มีอำนาจมาก เช่น นักการเมืองผู้ยิ่งใหญ่, มีสติปัญญาความสามารถสูง เช่น กวีผู้ยิ่งใหญ่, สำคัญ เช่น ลดราคาครั้งยิ่งใหญ่. | ยิ่งใหญ่ ว. มีอำนาจมาก เช่น นักการเมืองผู้ยิ่งใหญ่, มีสติปัญญาความสามารถสูง เช่น กวีผู้ยิ่งใหญ่, สำคัญ เช่น ลดราคาครั้งยิ่งใหญ่. |
ยิงฟัน เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อิ-งอ-งู-ฟอ-ฟัน-ไม้-หัน-อา-กาด-นอ-หนู | เป็นคำกริยา หมายถึง แยกริมฝีปากให้เห็นฟันขบกัน, บางทีใช้เข้าคู่กับคำ แยกเขี้ยว เป็น แยกเขี้ยวยิงฟัน. | ยิงฟัน ก. แยกริมฝีปากให้เห็นฟันขบกัน, บางทีใช้เข้าคู่กับคำ แยกเขี้ยว เป็น แยกเขี้ยวยิงฟัน. |
ยิงลม เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อิ-งอ-งู-ลอ-ลิง-มอ-ม้า | เป็นคำนาม หมายถึง เรียกตัวไม้ประกอบเครื่องบนหลังคาเรือน ทำหน้าที่ยันอยู่ข้างหลังจั่ว ตั้งทแยงปลายข้างหนึ่งยันกับขื่อเพื่อเสริมให้จั่วมั่นคง. | ยิงลม น. เรียกตัวไม้ประกอบเครื่องบนหลังคาเรือน ทำหน้าที่ยันอยู่ข้างหลังจั่ว ตั้งทแยงปลายข้างหนึ่งยันกับขื่อเพื่อเสริมให้จั่วมั่นคง. |
ยิฏฐะ, ยิฐะ ยิฏฐะ เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อิ-ตอ-ปะ-ตัก-ถอ-ถาน-สะ-หระ-อะ ยิฐะ เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อิ-ถอ-ถาน-สะ-หระ-อะ | [ยิดถะ] เป็นคำนาม หมายถึง การบูชา, การเซ่นสรวง. ในวงเล็บ มาจากภาษาบาลี ยิฏฺ เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อิ-ตอ-ปะ-ตัก-พิน-ทุ-ถอ-ถาน และมาจากภาษาสันสกฤต อิษฺฏ เขียนว่า ออ-อ่าง-สะ-หระ-อิ-สอ-รือ-สี-พิน-ทุ-ตอ-ปะ-ตัก. | ยิฏฐะ, ยิฐะ [ยิดถะ] น. การบูชา, การเซ่นสรวง. (ป. ยิฏฺ; ส. อิษฺฏ). |
ยิน เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อิ-นอ-หนู ความหมายที่ ๑ | เป็นคำกริยา หมายถึง รู้เสียงด้วยหู (มักใช้ว่า ได้ยิน), ฟัง, ใช้ประกอบกับคําอื่นหมายความว่า รู้สึก, ชอบ, ยอม ก็มี. | ยิน ๑ ก. รู้เสียงด้วยหู (มักใช้ว่า ได้ยิน), ฟัง, ใช้ประกอบกับคําอื่นหมายความว่า รู้สึก, ชอบ, ยอม ก็มี. |
ยินแคลน เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อิ-นอ-หนู-สะ-หระ-แอ-คอ-ควาย-ลอ-ลิง-นอ-หนู | เป็นคำกริยา หมายถึง รู้สึกลําบาก. | ยินแคลน ก. รู้สึกลําบาก. |
ยินใจ เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อิ-นอ-หนู-สะ-หระ-ไอ-ไม้-ม้วน-จอ-จาน | เป็นคำกริยา หมายถึง พอใจ, ตามใจ. | ยินใจ ก. พอใจ, ตามใจ. |
ยินดี เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อิ-นอ-หนู-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-อี | เป็นคำกริยา หมายถึง ชอบใจ, ดีใจ. | ยินดี ก. ชอบใจ, ดีใจ. |
ยินมลาก เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อิ-นอ-หนู-มอ-ม้า-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อา-กอ-ไก่ | [มะลาก] เป็นคำกริยา หมายถึง ดีใจมาก, ชอบใจมาก. | ยินมลาก [มะลาก] ก. ดีใจมาก, ชอบใจมาก. |
ยินยอม เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อิ-นอ-หนู-ยอ-ยัก-ออ-อ่าง-มอ-ม้า | เป็นคำกริยา หมายถึง ยอม, ไม่ขัด, ตกลง, ชอบใจ, ตาม. | ยินยอม ก. ยอม, ไม่ขัด, ตกลง, ชอบใจ, ตาม. |
ยินยอมพร้อมใจ เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อิ-นอ-หนู-ยอ-ยัก-ออ-อ่าง-มอ-ม้า-พอ-พาน-รอ-เรือ-ไม้-โท-ออ-อ่าง-มอ-ม้า-สะ-หระ-ไอ-ไม้-ม้วน-จอ-จาน | เป็นคำกริยา หมายถึง เห็นด้วยร่วมกัน. | ยินยอมพร้อมใจ ก. เห็นด้วยร่วมกัน. |
ยินร้าย เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อิ-นอ-หนู-รอ-เรือ-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-ยอ-ยัก | เป็นคำกริยา หมายถึง ไม่พอใจ, ไม่ชอบใจ. | ยินร้าย ก. ไม่พอใจ, ไม่ชอบใจ. |
ยินลากขากดี เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อิ-นอ-หนู-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อา-กอ-ไก่-ขอ-ไข่-สะ-หระ-อา-กอ-ไก่-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-อี | เป็นคำกริยา หมายถึง พอใจและภูมิใจมาก เช่น จะยินลากขากดีด้วยนาง. ในวงเล็บ มาจาก บทดอกสร้อยสวรรค์ครั้งกรุงเก่า พระนิพนธ์ ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงอดิศรอุดมเดช ฉบับโรงพิมพ์ โสภณพิพรรฒธนากร พ.ศ. ๒๔๖๓. | ยินลากขากดี ก. พอใจและภูมิใจมาก เช่น จะยินลากขากดีด้วยนาง. (ดอกสร้อยสวรรค์ครั้งกรุงเก่า). |
ยิน เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อิ-นอ-หนู ความหมายที่ ๒ | เป็นคำนาม หมายถึง ส่วนหนึ่งของขอช้างที่ยื่นออกจากตัวขออีกข้างหนึ่ง. | ยิน ๒ น. ส่วนหนึ่งของขอช้างที่ยื่นออกจากตัวขออีกข้างหนึ่ง. |
ยิบ เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อิ-บอ-ไบ-ไม้ ความหมายที่ ๑ | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ยิ่ง, มักใช้ประกอบคํา ถี่ หรือ ละเอียด เป็น ถี่ยิบ ละเอียดยิบ. | ยิบ ๑ ว. ยิ่ง, มักใช้ประกอบคํา ถี่ หรือ ละเอียด เป็น ถี่ยิบ ละเอียดยิบ. |
ยิบ ๆ เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อิ-บอ-ไบ-ไม้ ไม้-ยะ-มก | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง อาการที่รู้สึกคันทั่วไปตามผิวหนังเพราะเป็นผดหรือถูกละอองเป็นต้น เช่น คันผดยิบ ๆ; อาการกะพริบตาถี่ ๆ เช่น ทำตายิบ ๆ; เป็นประกายอย่างเปลวแดด เช่น เห็นแดดยิบ ๆ. | ยิบ ๆ ว. อาการที่รู้สึกคันทั่วไปตามผิวหนังเพราะเป็นผดหรือถูกละอองเป็นต้น เช่น คันผดยิบ ๆ; อาการกะพริบตาถี่ ๆ เช่น ทำตายิบ ๆ; เป็นประกายอย่างเปลวแดด เช่น เห็นแดดยิบ ๆ. |
ยิบหยี เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อิ-บอ-ไบ-ไม้-หอ-หีบ-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อี | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ทำตาหยีพร้อมกับทำตายิบ ๆ ด้วย เช่น ทำตายิบหยี. | ยิบหยี ว. ทำตาหยีพร้อมกับทำตายิบ ๆ ด้วย เช่น ทำตายิบหยี. |
ยิบ เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อิ-บอ-ไบ-ไม้ ความหมายที่ ๒ | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาปาก เป็นคำกริยา หมายถึง ยักเอาไว้, ริบไว้, เช่น ไม่รู้ว่าใครเอาของมาลืมทิ้งไว้ เลยยิบเอาไปเสียเลย. | ยิบ ๒ (ปาก) ก. ยักเอาไว้, ริบไว้, เช่น ไม่รู้ว่าใครเอาของมาลืมทิ้งไว้ เลยยิบเอาไปเสียเลย. |
ยิปซัม เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อิ-ปอ-ปลา-ซอ-โซ่-ไม้-หัน-อา-กาด-มอ-ม้า | เป็นคำนาม หมายถึง แร่ชนิดหนึ่ง ชื่อไฮเดรเตดแคลเซียมซัลเฟต (hydrated calcium sulphate) มีสูตร CaSO4·2H2O เมื่อนํามาเผาให้ร้อนถึง ๑๒๐°๑๓๐°ซ. จะได้ผงสีขาว เรียกว่า ปูนปลาสเตอร์, หินฟองเต้าหู้ หรือ เกลือจืด ก็เรียก. ในวงเล็บ มาจากภาษาอังกฤษ gypsum เขียนว่า จี-วาย-พี-เอส-ยู-เอ็ม. | ยิปซัม น. แร่ชนิดหนึ่ง ชื่อไฮเดรเตดแคลเซียมซัลเฟต (hydrated calcium sulphate) มีสูตร CaSO4·2H2O เมื่อนํามาเผาให้ร้อนถึง ๑๒๐°๑๓๐°ซ. จะได้ผงสีขาว เรียกว่า ปูนปลาสเตอร์, หินฟองเต้าหู้ หรือ เกลือจืด ก็เรียก. (อ. gypsum). |
ยิปซี เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อิ-ปอ-ปลา-ซอ-โซ่-สะ-หระ-อี | เป็นคำนาม หมายถึง ชนเผ่าเร่ร่อน เชื้อสายคอเคซอยด์ ผิวคลํ้า เดิมอาศัยอยู่ในอินเดีย เข้าไปเร่ร่อนในยุโรปประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๙๒๐ ดํารงชีพด้วยการเล่นดนตรี ค้าม้า ทํานายโชคชะตา เป็นต้น. ในวงเล็บ มาจากภาษาอังกฤษ gypsy เขียนว่า จี-วาย-พี-เอส-วาย gipsy เขียนว่า จี-ไอ-พี-เอส-วาย . | ยิปซี น. ชนเผ่าเร่ร่อน เชื้อสายคอเคซอยด์ ผิวคลํ้า เดิมอาศัยอยู่ในอินเดีย เข้าไปเร่ร่อนในยุโรปประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๙๒๐ ดํารงชีพด้วยการเล่นดนตรี ค้าม้า ทํานายโชคชะตา เป็นต้น. (อ. gypsy, gipsy). |
ยิ้ม เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อิ-ไม้-โท-มอ-ม้า | เป็นคำกริยา หมายถึง แสดงให้ปรากฏว่าชอบใจ เยาะเย้ย หรือเกลียดชัง เป็นต้น ด้วยริมฝีปากและใบหน้า. | ยิ้ม ก. แสดงให้ปรากฏว่าชอบใจ เยาะเย้ย หรือเกลียดชัง เป็นต้น ด้วยริมฝีปากและใบหน้า. |
ยิ้มกริ่ม เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อิ-ไม้-โท-มอ-ม้า-กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อิ-ไม้-เอก-มอ-ม้า | เป็นคำกริยา หมายถึง ยิ้มน้อย ๆ ด้วยความกระหยิ่มใจหรือพอใจ, กระหยิ่มยิ้มย่อง. | ยิ้มกริ่ม ก. ยิ้มน้อย ๆ ด้วยความกระหยิ่มใจหรือพอใจ, กระหยิ่มยิ้มย่อง. |
ยิ้มเก้อ, ยิ้มค้าง ยิ้มเก้อ เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อิ-ไม้-โท-มอ-ม้า-สะ-หระ-เอ-กอ-ไก่-ไม้-โท-ออ-อ่าง ยิ้มค้าง เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อิ-ไม้-โท-มอ-ม้า-คอ-ควาย-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-งอ-งู | เป็นคำกริยา หมายถึง อาการที่ยิ้มให้เขาแล้วเขาไม่ยิ้มตอบ ทำให้รู้สึกเก้อเขิน. | ยิ้มเก้อ, ยิ้มค้าง ก. อาการที่ยิ้มให้เขาแล้วเขาไม่ยิ้มตอบ ทำให้รู้สึกเก้อเขิน. |
ยิ้มแก้เก้อ, ยิ้มแก้ขวย ยิ้มแก้เก้อ เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อิ-ไม้-โท-มอ-ม้า-สะ-หระ-แอ-กอ-ไก่-ไม้-โท-สะ-หระ-เอ-กอ-ไก่-ไม้-โท-ออ-อ่าง ยิ้มแก้ขวย เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อิ-ไม้-โท-มอ-ม้า-สะ-หระ-แอ-กอ-ไก่-ไม้-โท-ขอ-ไข่-วอ-แหวน-ยอ-ยัก | เป็นคำกริยา หมายถึง อาการที่รู้สึกเก้อหรือขวยแล้วไม่รู้จะทำอย่างไร ก็ฝืนยิ้มออกมา. | ยิ้มแก้เก้อ, ยิ้มแก้ขวย ก. อาการที่รู้สึกเก้อหรือขวยแล้วไม่รู้จะทำอย่างไร ก็ฝืนยิ้มออกมา. |
ยิ้มเจื่อน เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อิ-ไม้-โท-มอ-ม้า-สะ-หระ-เอ-จอ-จาน-สะ-หระ-อือ-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-นอ-หนู | เป็นคำกริยา หมายถึง ยิ้มวางหน้าไม่สนิท. | ยิ้มเจื่อน ก. ยิ้มวางหน้าไม่สนิท. |
ยิ้มแฉ่ง เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อิ-ไม้-โท-มอ-ม้า-สะ-หระ-แอ-ฉอ-ฉิ่ง-ไม้-เอก-งอ-งู | เป็นคำกริยา หมายถึง ยิ้มอย่างร่าเริงเบิกบาน. | ยิ้มแฉ่ง ก. ยิ้มอย่างร่าเริงเบิกบาน. |
ยิ้มด้วยปาก ถากด้วยตา เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อิ-ไม้-โท-มอ-ม้า-ดอ-เด็ก-ไม้-โท-วอ-แหวน-ยอ-ยัก-ปอ-ปลา-สะ-หระ-อา-กอ-ไก่ ถอ-ถุง-สะ-หระ-อา-กอ-ไก่-ดอ-เด็ก-ไม้-โท-วอ-แหวน-ยอ-ยัก-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อา | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นสำนวน เป็นคำกริยา หมายถึง เยาะเย้ยด้วยกิริยาท่าทาง. | ยิ้มด้วยปาก ถากด้วยตา (สำ) ก. เยาะเย้ยด้วยกิริยาท่าทาง. |
ยิ้มแต้ เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อิ-ไม้-โท-มอ-ม้า-สะ-หระ-แอ-ตอ-เต่า-ไม้-โท | เป็นคำกริยา หมายถึง ยิ้มอย่างเปิดเผยด้วยความยินดีหรือดีใจมาก. | ยิ้มแต้ ก. ยิ้มอย่างเปิดเผยด้วยความยินดีหรือดีใจมาก. |
ยิ้มน้อยยิ้มใหญ่ เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อิ-ไม้-โท-มอ-ม้า-นอ-หนู-ไม้-โท-ออ-อ่าง-ยอ-ยัก-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อิ-ไม้-โท-มอ-ม้า-สะ-หระ-ไอ-ไม้-ม้วน-หอ-หีบ-ยอ-หยิง-ไม้-เอก | เป็นคำกริยา หมายถึง ยิ้มแล้วยิ้มอีกด้วยความดีใจหรืออิ่มเอิบใจ. | ยิ้มน้อยยิ้มใหญ่ ก. ยิ้มแล้วยิ้มอีกด้วยความดีใจหรืออิ่มเอิบใจ. |
ยิ้มในหน้า เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อิ-ไม้-โท-มอ-ม้า-สะ-หระ-ไอ-ไม้-ม้วน-นอ-หนู-หอ-หีบ-นอ-หนู-ไม้-โท-สะ-หระ-อา | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง อมยิ้ม. | ยิ้มในหน้า ว. อมยิ้ม. |
ยิ้มแป้น เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อิ-ไม้-โท-มอ-ม้า-สะ-หระ-แอ-ปอ-ปลา-ไม้-โท-นอ-หนู | เป็นคำกริยา หมายถึง ยิ้มทําแก้มแป้น. | ยิ้มแป้น ก. ยิ้มทําแก้มแป้น. |
ยิ้มเผล่ เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อิ-ไม้-โท-มอ-ม้า-สะ-หระ-เอ-ผอ-ผึ้ง-ลอ-ลิง-ไม้-เอก | เป็นคำกริยา หมายถึง ยิ้มอย่างกระหยิ่มอิ่มใจ. | ยิ้มเผล่ ก. ยิ้มอย่างกระหยิ่มอิ่มใจ. |
ยิ้มเฝื่อน เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อิ-ไม้-โท-มอ-ม้า-สะ-หระ-เอ-ฝอ-ฝา-สะ-หระ-อือ-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-นอ-หนู | เป็นคำกริยา หมายถึง ยิ้มวางหน้าไม่สนิทคล้ายกินของมีรสเฝื่อน. | ยิ้มเฝื่อน ก. ยิ้มวางหน้าไม่สนิทคล้ายกินของมีรสเฝื่อน. |
ยิ้มมุมปาก เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อิ-ไม้-โท-มอ-ม้า-มอ-ม้า-สะ-หระ-อุ-มอ-ม้า-ปอ-ปลา-สะ-หระ-อา-กอ-ไก่ | เป็นคำกริยา หมายถึง ยิ้มที่มุมปากข้างใดข้างหนึ่งโดยไม่เปิดปาก. | ยิ้มมุมปาก ก. ยิ้มที่มุมปากข้างใดข้างหนึ่งโดยไม่เปิดปาก. |
ยิ้มย่อง, ยิ้มย่องผ่องใส ยิ้มย่อง เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อิ-ไม้-โท-มอ-ม้า-ยอ-ยัก-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-งอ-งู ยิ้มย่องผ่องใส เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อิ-ไม้-โท-มอ-ม้า-ยอ-ยัก-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-งอ-งู-ผอ-ผึ้ง-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-งอ-งู-สะ-หระ-ไอ-ไม้-ม้วน-สอ-เสือ | เป็นคำกริยา หมายถึง ยิ้มด้วยความอิ่มใจ, กระยิ้มกระย่อง ก็ว่า. | ยิ้มย่อง, ยิ้มย่องผ่องใส ก. ยิ้มด้วยความอิ่มใจ, กระยิ้มกระย่อง ก็ว่า. |
ยิ้มยียวน เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อิ-ไม้-โท-มอ-ม้า-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก-วอ-แหวน-นอ-หนู | เป็นคำกริยา หมายถึง ยิ้มกวนให้เกิดโทสะหรือชวนให้หมั่นไส้. | ยิ้มยียวน ก. ยิ้มกวนให้เกิดโทสะหรือชวนให้หมั่นไส้. |
ยิ้มเยาะ เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อิ-ไม้-โท-มอ-ม้า-สะ-หระ-เอ-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-อะ | เป็นคำกริยา หมายถึง ยิ้มเป็นเชิงเย้ยหยัน. | ยิ้มเยาะ ก. ยิ้มเป็นเชิงเย้ยหยัน. |
ยิ้มแย้ม, ยิ้มแย้มแจ่มใส ยิ้มแย้ม เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อิ-ไม้-โท-มอ-ม้า-สะ-หระ-แอ-ยอ-ยัก-ไม้-โท-มอ-ม้า ยิ้มแย้มแจ่มใส เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อิ-ไม้-โท-มอ-ม้า-สะ-หระ-แอ-ยอ-ยัก-ไม้-โท-มอ-ม้า-สะ-หระ-แอ-จอ-จาน-ไม้-เอก-มอ-ม้า-สะ-หระ-ไอ-ไม้-ม้วน-สอ-เสือ | เป็นคำกริยา หมายถึง ยิ้มอย่างชื่นบาน, แย้มยิ้ม ก็ว่า. | ยิ้มแย้ม, ยิ้มแย้มแจ่มใส ก. ยิ้มอย่างชื่นบาน, แย้มยิ้ม ก็ว่า. |
ยิ้มละไม เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อิ-ไม้-โท-มอ-ม้า-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-มอ-ม้า | เป็นคำกริยา หมายถึง ยิ้มน้อย ๆ อยู่ในหน้า. | ยิ้มละไม ก. ยิ้มน้อย ๆ อยู่ในหน้า. |
ยิ้มสู้ เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อิ-ไม้-โท-มอ-ม้า-สอ-เสือ-สะ-หระ-อู-ไม้-โท | เป็นคำกริยา หมายถึง ยิ้มพร้อมที่จะสู้กับอุปสรรคอันตรายใด ๆ โดยไม่ยอมถอย. | ยิ้มสู้ ก. ยิ้มพร้อมที่จะสู้กับอุปสรรคอันตรายใด ๆ โดยไม่ยอมถอย. |
ยิ้มแสยะ เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อิ-ไม้-โท-มอ-ม้า-สะ-หระ-แอ-สอ-เสือ-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อะ | เป็นคำกริยา หมายถึง ยิ้มแบะปากแยกเขี้ยวเป็นการขู่ขวัญให้เกรงกลัวหรือขู่ว่าจะทำร้าย. | ยิ้มแสยะ ก. ยิ้มแบะปากแยกเขี้ยวเป็นการขู่ขวัญให้เกรงกลัวหรือขู่ว่าจะทำร้าย. |
ยิ้มหัว เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อิ-ไม้-โท-มอ-ม้า-หอ-หีบ-ไม้-หัน-อา-กาด-วอ-แหวน | เป็นคำกริยา หมายถึง ยิ้มแกมหัวเราะ, ยิ้มแย้มหยอกล้อกัน. | ยิ้มหัว ก. ยิ้มแกมหัวเราะ, ยิ้มแย้มหยอกล้อกัน. |
ยิ้มเหย เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อิ-ไม้-โท-มอ-ม้า-สะ-หระ-เอ-หอ-หีบ-ยอ-ยัก | [เหฺย] เป็นคำกริยา หมายถึง ยิ้มหน้าเบ้, ฝืนยิ้ม. | ยิ้มเหย [เหฺย] ก. ยิ้มหน้าเบ้, ฝืนยิ้ม. |
ยิ้มแห้ง เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อิ-ไม้-โท-มอ-ม้า-สะ-หระ-แอ-หอ-หีบ-ไม้-โท-งอ-งู | เป็นคำกริยา หมายถึง จำใจยิ้ม. | ยิ้มแห้ง ก. จำใจยิ้ม. |
ยิ้มแหย เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อิ-ไม้-โท-มอ-ม้า-สะ-หระ-แอ-หอ-หีบ-ยอ-ยัก | [แหฺย] เป็นคำกริยา หมายถึง ยิ้มอย่างเก้ออาย. | ยิ้มแหย [แหฺย] ก. ยิ้มอย่างเก้ออาย. |
ยิมนาสติก เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อิ-มอ-ม้า-นอ-หนู-สะ-หระ-อา-สอ-เสือ-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อิ-กอ-ไก่ | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อกีฬาชนิดหนึ่ง แข่งขันกันโดยผู้เล่นต้องแสดงท่าต่าง ๆ ที่มีทั้งท่าบังคับและท่าสมัครให้เข้ากับอุปกรณ์การเล่นแต่ละอย่าง เช่น บาร์เดี่ยว บาร์คู่ ห่วงนิ่ง. ในวงเล็บ มาจากภาษาอังกฤษ gymnastic เขียนว่า จี-วาย-เอ็ม-เอ็น-เอ-เอส-ที-ไอ-ซี. | ยิมนาสติก น. ชื่อกีฬาชนิดหนึ่ง แข่งขันกันโดยผู้เล่นต้องแสดงท่าต่าง ๆ ที่มีทั้งท่าบังคับและท่าสมัครให้เข้ากับอุปกรณ์การเล่นแต่ละอย่าง เช่น บาร์เดี่ยว บาร์คู่ ห่วงนิ่ง. (อ. gymnastic). |
ยิหวา เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อิ-หอ-หีบ-วอ-แหวน-สะ-หระ-อา | [หฺวา] เป็นคำนาม หมายถึง ดวงชีวิต, ดวงใจ. ในวงเล็บ มาจากภาษาชวา . | ยิหวา [หฺวา] น. ดวงชีวิต, ดวงใจ. (ช.). |
ยี เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อี | เป็นคำกริยา หมายถึง ขยี้ เช่น ยีลูกตาล, ขยี้ให้ฟู เช่น ยีแป้งขนมขี้หนู, ทำให้ฟู เช่น ยีผม, ละเลง เช่น ตักอาหารมามาก ๆ กินไม่หมดจะเอายีหัว. | ยี ก. ขยี้ เช่น ยีลูกตาล, ขยี้ให้ฟู เช่น ยีแป้งขนมขี้หนู, ทำให้ฟู เช่น ยีผม, ละเลง เช่น ตักอาหารมามาก ๆ กินไม่หมดจะเอายีหัว. |
ยียวน เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก-วอ-แหวน-นอ-หนู | เป็นคำกริยา หมายถึง เคล้าคลึงชวนให้กําเริบรัก, คลึงเคล้าให้เป็นที่พอใจ; ก่อกวนให้เกิดโทสะ, ยวนยี ก็ว่า. | ยียวน ก. เคล้าคลึงชวนให้กําเริบรัก, คลึงเคล้าให้เป็นที่พอใจ; ก่อกวนให้เกิดโทสะ, ยวนยี ก็ว่า. |
ยี่ เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อี-ไม้-เอก ความหมายที่ ๑ | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง สอง ในคำว่า ยี่สิบ, ที่สอง เช่น เดือนยี่ (คือ เดือนที่ ๒ นับทางจันทรคติ), โบราณใช้ว่า ญี่ ก็มี. | ยี่ ๑ ว. สอง ในคำว่า ยี่สิบ, ที่สอง เช่น เดือนยี่ (คือ เดือนที่ ๒ นับทางจันทรคติ), โบราณใช้ว่า ญี่ ก็มี. |
ยี่ เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อี-ไม้-เอก ความหมายที่ ๒ | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาถิ่นภาคพายัพ เป็นคำนาม หมายถึง ปีขาล. | ยี่ ๒ (ถิ่นพายัพ) น. ปีขาล. |
ยี้ เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อี-ไม้-โท | เป็นคำอุทาน หมายถึง คําที่เปล่งออกมาแสดงอาการรังเกียจสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นต้น เช่น ยี้! เสื้อสกปรกอย่างนี้ยังจะเอามาให้อีก, อี๊ ก็ว่า. | ยี้ อ. คําที่เปล่งออกมาแสดงอาการรังเกียจสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นต้น เช่น ยี้! เสื้อสกปรกอย่างนี้ยังจะเอามาให้อีก, อี๊ ก็ว่า. |
ยี่ก่า เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อี-ไม้-เอก-กอ-ไก่-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา | เป็นคำนาม หมายถึง ขนนกที่ปักหมวก. | ยี่ก่า น. ขนนกที่ปักหมวก. |
ยี่เก เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อี-ไม้-เอก-สะ-หระ-เอ-กอ-ไก่ | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาปาก เป็นคำนาม หมายถึง ลิเก. | ยี่เก (ปาก) น. ลิเก. |
ยี่เข่ง เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อี-ไม้-เอก-สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-เอก-งอ-งู | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อไม้ต้นชนิด Lagerstroemia indica L. ในวงศ์ Lythraceae ดอกสีม่วงแดง ชมพู หรือขาว ออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง. | ยี่เข่ง น. ชื่อไม้ต้นชนิด Lagerstroemia indica L. ในวงศ์ Lythraceae ดอกสีม่วงแดง ชมพู หรือขาว ออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง. |
ยี่โถ เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อี-ไม้-เอก-สะ-หระ-โอ-ถอ-ถุง | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อไม้พุ่มชนิด Nerium oleander L. ในวงศ์ Apocynaceae ดอกสีชมพู ขาว แดง หรือเหลือง มีทั้งกลิ่นหอมและไม่มีกลิ่นหอม ยางเป็นพิษ. | ยี่โถ น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Nerium oleander L. ในวงศ์ Apocynaceae ดอกสีชมพู ขาว แดง หรือเหลือง มีทั้งกลิ่นหอมและไม่มีกลิ่นหอม ยางเป็นพิษ. |
ยี่โถฝรั่ง เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อี-ไม้-เอก-สะ-หระ-โอ-ถอ-ถุง-ฝอ-ฝา-รอ-เรือ-ไม้-หัน-อา-กาด-ไม้-เอก-งอ-งู | ดู รําเพย เขียนว่า รอ-เรือ-นิก-คะ-หิด-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-เอ-พอ-พาน-ยอ-ยัก ความหมายที่ ๒. | ยี่โถฝรั่ง ดู รําเพย ๒. |
ยีน เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อี-นอ-หนู | เป็นคำนาม หมายถึง ผ้าฝ้ายเนื้อหนาหยาบ มักย้อมสีน้ำเงิน. ในวงเล็บ มาจากภาษาอังกฤษ jean เขียนว่า เจ-อี-เอ-เอ็น. | ยีน น. ผ้าฝ้ายเนื้อหนาหยาบ มักย้อมสีน้ำเงิน. (อ. jean). |
ยี่โป้ เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อี-ไม้-เอก-สะ-หระ-โอ-ปอ-ปลา-ไม้-โท | เป็นคำนาม หมายถึง ผ้าสำหรับพาดไหล่ หรือคาดพุง. | ยี่โป้ น. ผ้าสำหรับพาดไหล่ หรือคาดพุง. |
ยี่ภู่ เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อี-ไม้-เอก-พอ-สำ-เพา-สะ-หระ-อู-ไม้-เอก | เป็นคำนาม หมายถึง ที่นอน, ฟูก, (ราชาศัพท์ใช้ว่า พระยี่ภู่). | ยี่ภู่ น. ที่นอน, ฟูก, (ราชาศัพท์ใช้ว่า พระยี่ภู่). |
ยีราฟ เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อี-รอ-เรือ-สะ-หระ-อา-ฟอ-ฟัน | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Giraffidae เป็นสัตว์เคี้ยวเอื้อง คอยาวมาก มีเขา ๑ คู่ ตัวสีน้ำตาลอมเหลืองมีลายสีน้ำตาลเข้มลักษณะเป็นดอกหรือเป็นตาราง อยู่รวมกันเป็นฝูง มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา มีหลายชนิด เช่น ชนิด Giraffa camelopardalis. | ยีราฟ น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Giraffidae เป็นสัตว์เคี้ยวเอื้อง คอยาวมาก มีเขา ๑ คู่ ตัวสีน้ำตาลอมเหลืองมีลายสีน้ำตาลเข้มลักษณะเป็นดอกหรือเป็นตาราง อยู่รวมกันเป็นฝูง มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา มีหลายชนิด เช่น ชนิด Giraffa camelopardalis. |
ยี่สก เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อี-ไม้-เอก-สอ-เสือ-กอ-ไก่ | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Probarbus jullieni ในวงศ์ Cyprinidae ลําตัวยาวเพรียว แบนข้าง มีหนวดสั้นที่มุมปากข้างละ ๑ เส้น มีแถบสีดําเด่นพาดตามยาวเฉพาะบนลําตัว ๗๘ แถบ ขนาดยาวกว่า ๙๐ เซนติเมตร, ยี่สกทอง ก็เรียก. | ยี่สก น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Probarbus jullieni ในวงศ์ Cyprinidae ลําตัวยาวเพรียว แบนข้าง มีหนวดสั้นที่มุมปากข้างละ ๑ เส้น มีแถบสีดําเด่นพาดตามยาวเฉพาะบนลําตัว ๗๘ แถบ ขนาดยาวกว่า ๙๐ เซนติเมตร, ยี่สกทอง ก็เรียก. |
ยี่สกทอง เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อี-ไม้-เอก-สอ-เสือ-กอ-ไก่-ทอ-ทะ-หาน-ออ-อ่าง-งอ-งู | ดู ยี่สก เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อี-ไม้-เอก-สอ-เสือ-กอ-ไก่. | ยี่สกทอง ดู ยี่สก. |
ยี่สง เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อี-ไม้-เอก-สอ-เสือ-งอ-งู | เป็นคำนาม หมายถึง ถั่วยี่สง. ในวงเล็บ ดู ถั่วลิสง เขียนว่า ถอ-ถุง-ไม้-หัน-อา-กาด-ไม้-เอก-วอ-แหวน-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อิ-สอ-เสือ-งอ-งู ที่ ถั่ว เขียนว่า ถอ-ถุง-ไม้-หัน-อา-กาด-ไม้-เอก-วอ-แหวน ความหมายที่ ๑. | ยี่สง น. ถั่วยี่สง. (ดู ถั่วลิสง ที่ ถั่ว ๑). |
ยี่สน เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อี-ไม้-เอก-สอ-เสือ-นอ-หนู | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อปลากระเบนทะเลชนิด Aetobatus narinari ในวงศ์ Myliobatidae ผิวหนังเรียบ ใกล้โคนหางด้านบนมีเงี่ยง ๑๔ เงี่ยง เรียงอยู่ชิดกัน ด้านหลังสีดำมีจุดสีขาวกระจายอยู่ส่วนท้าย ด้านท้องสีขาว ขนาดกว้างได้ถึง ๑.๕ เมตร, กระเบนเนื้อดำ ก็เรียก. | ยี่สน น. ชื่อปลากระเบนทะเลชนิด Aetobatus narinari ในวงศ์ Myliobatidae ผิวหนังเรียบ ใกล้โคนหางด้านบนมีเงี่ยง ๑๔ เงี่ยง เรียงอยู่ชิดกัน ด้านหลังสีดำมีจุดสีขาวกระจายอยู่ส่วนท้าย ด้านท้องสีขาว ขนาดกว้างได้ถึง ๑.๕ เมตร, กระเบนเนื้อดำ ก็เรียก. |
ยี่สาน, ยี่ส่าน ยี่สาน เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อี-ไม้-เอก-สอ-เสือ-สะ-หระ-อา-นอ-หนู ยี่ส่าน เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อี-ไม้-เอก-สอ-เสือ-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา-นอ-หนู | เป็นคำนาม หมายถึง ตลาดของแห้ง, ที่ขายของแห้ง. ในวงเล็บ เทียบ ภาษาเปอร์เซีย bazaar เขียนว่า บี-เอ-แซด-เอ-เอ-อา. | ยี่สาน, ยี่ส่าน น. ตลาดของแห้ง, ที่ขายของแห้ง. (เทียบเปอร์เซีย bazaar). |
ยี่สิบ เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อี-ไม้-เอก-สอ-เสือ-สะ-หระ-อิ-บอ-ไบ-ไม้ | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง จํานวน ๑๐ สองหนรวมกัน. | ยี่สิบ ว. จํานวน ๑๐ สองหนรวมกัน. |
ยี่สุ่น เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อี-ไม้-เอก-สอ-เสือ-สะ-หระ-อุ-ไม้-เอก-นอ-หนู | ดู กุหลาบ เขียนว่า กอ-ไก่-สะ-หระ-อุ-หอ-หีบ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อา-บอ-ไบ-ไม้ (๑). | ยี่สุ่น ดู กุหลาบ (๑). |
ยี่หระ เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อี-ไม้-เอก-หอ-หีบ-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาปาก เป็นคำกริยา หมายถึง สะทกสะท้าน, ไยดี, มักใช้ในความปฏิเสธ เช่น ไม่เห็นยี่หระ. | ยี่หระ (ปาก) ก. สะทกสะท้าน, ไยดี, มักใช้ในความปฏิเสธ เช่น ไม่เห็นยี่หระ. |
ยี่หร่า เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อี-ไม้-เอก-หอ-หีบ-รอ-เรือ-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา | [หฺร่า]ดู เทียนขาว เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก-นอ-หนู-ขอ-ไข่-สะ-หระ-อา-วอ-แหวน ที่ เทียน เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก-นอ-หนู ความหมายที่ ๔. ในวงเล็บ เทียบ ภาษาสันสกฤต ชีรก; เขียนว่า ชอ-ช้าง-สะ-หระ-อี-รอ-เรือ-กอ-ไก่-??59?? ภาษาทมิฬ ชีรา เขียนว่า ชอ-ช้าง-สะ-หระ-อี-รอ-เรือ-สะ-หระ-อา และมาจากภาษาฮินูดสตานี zira เขียนว่า แซด-ไอ-อา-เอ. | ยี่หร่า [หฺร่า] ดู เทียนขาว ที่ เทียน ๔.(เทียบ ส. ชีรก; ทมิฬ ชีรา; ฮินดูสตานี zira). |
ยี่หร่าหวาน เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อี-ไม้-เอก-หอ-หีบ-รอ-เรือ-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา-หอ-หีบ-วอ-แหวน-สะ-หระ-อา-นอ-หนู | ดู เทียนข้าวเปลือก เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก-นอ-หนู-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-วอ-แหวน-สะ-หระ-เอ-ปอ-ปลา-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อือ-ออ-อ่าง-กอ-ไก่ ที่ เทียน เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก-นอ-หนู ความหมายที่ ๔. | ยี่หร่าหวาน ดู เทียนข้าวเปลือก ที่ เทียน ๔. |
ยี่ห้อ เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อี-ไม้-เอก-หอ-หีบ-ไม้-โท-ออ-อ่าง | เป็นคำนาม หมายถึง เครื่องหมายสําหรับร้านค้าหรือการค้า, ชื่อร้านค้า; เครื่องหมาย เช่น สินค้ายี่ห้อนี้รับประกันได้; ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาปาก หมายถึง ลักษณะ เช่น เด็กคนนี้หน้าตาบอกยี่ห้อโกง; ชื่อเสียง เช่น ต้องรักษายี่ห้อให้ดี อย่าทำให้เสียยี่ห้อ. ในวงเล็บ มาจากภาษาจีน . | ยี่ห้อ น. เครื่องหมายสําหรับร้านค้าหรือการค้า, ชื่อร้านค้า; เครื่องหมาย เช่น สินค้ายี่ห้อนี้รับประกันได้; (ปาก) ลักษณะ เช่น เด็กคนนี้หน้าตาบอกยี่ห้อโกง; ชื่อเสียง เช่น ต้องรักษายี่ห้อให้ดี อย่าทำให้เสียยี่ห้อ. (จ.). |
ยี่หุบ เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อี-ไม้-เอก-หอ-หีบ-สะ-หระ-อุ-บอ-ไบ-ไม้ | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อไม้พุ่มชนิด Magnolia coco DC. ในวงศ์ Magnoliaceae ดอกสีขาว ลักษณะคล้ายดอกมณฑาแต่เล็กกว่า. | ยี่หุบ น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Magnolia coco DC. ในวงศ์ Magnoliaceae ดอกสีขาว ลักษณะคล้ายดอกมณฑาแต่เล็กกว่า. |
ยึกยัก เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อึ-กอ-ไก่-ยอ-ยัก-ไม้-หัน-อา-กาด-กอ-ไก่ | เป็นคำกริยา หมายถึง ขยุกขยิก, ยักไปยักมา, เช่น นั่งทำตัวยึกยัก. เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง อาการที่ลังเลไม่กล้าตัดสินใจ, กระยึกกระยัก ก็ว่า. | ยึกยัก ก. ขยุกขยิก, ยักไปยักมา, เช่น นั่งทำตัวยึกยัก. ว. อาการที่ลังเลไม่กล้าตัดสินใจ, กระยึกกระยัก ก็ว่า. |
ยึกยือ เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อึ-กอ-ไก่-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อือ-ออ-อ่าง | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง หยิกไปหยิกมา, ไม่ตรง, ไม่เป็นระเบียบ, เช่น เขียนหนังสือเป็นตัวยึกยือ, กระยึกกระยือ ก็ว่า. | ยึกยือ ว. หยิกไปหยิกมา, ไม่ตรง, ไม่เป็นระเบียบ, เช่น เขียนหนังสือเป็นตัวยึกยือ, กระยึกกระยือ ก็ว่า. |
ยึด เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อึ-ดอ-เด็ก | เป็นคำกริยา หมายถึง ถือเอาไว้ เช่น ยึดราวบันไดไว้ให้ดี, เหนี่ยว, รั้ง, เช่น หนุมานยึดรถพระอาทิตย์; เข้าครอบครอง เช่น ยึดพื้นที่, ใช้อำนาจกฎหมายรับสิ่งใดสิ่งหนึ่งมา เช่น ยึดใบขับขี่ ยึดทรัพย์. | ยึด ก. ถือเอาไว้ เช่น ยึดราวบันไดไว้ให้ดี, เหนี่ยว, รั้ง, เช่น หนุมานยึดรถพระอาทิตย์; เข้าครอบครอง เช่น ยึดพื้นที่, ใช้อำนาจกฎหมายรับสิ่งใดสิ่งหนึ่งมา เช่น ยึดใบขับขี่ ยึดทรัพย์. |
ยึดครอง เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อึ-ดอ-เด็ก-คอ-ควาย-รอ-เรือ-ออ-อ่าง-งอ-งู | เป็นคำกริยา หมายถึง เข้าถือสิทธิครอบครอง. | ยึดครอง ก. เข้าถือสิทธิครอบครอง. |
ยึดถือ เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อึ-ดอ-เด็ก-ถอ-ถุง-สะ-หระ-อือ-ออ-อ่าง | เป็นคำกริยา หมายถึง จับถือ, เอามารักษา, นับถือ เช่น ยึดถือพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง. | ยึดถือ ก. จับถือ, เอามารักษา, นับถือ เช่น ยึดถือพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง. |
ยึดทรัพย์ เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อึ-ดอ-เด็ก-ทอ-ทะ-หาน-รอ-เรือ-ไม้-หัน-อา-กาด-พอ-พาน-ยอ-ยัก-ทัน-ทะ-คาด | ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในกฎหมาย เป็นคำกริยา หมายถึง การที่เจ้าพนักงานเอาทรัพย์สินไปจากการครอบครองของบุคคล เพราะเหตุที่กระทําการฝ่าฝืนกฎหมายหรือเพื่อบังคับคดี. | ยึดทรัพย์ (กฎ) ก. การที่เจ้าพนักงานเอาทรัพย์สินไปจากการครอบครองของบุคคล เพราะเหตุที่กระทําการฝ่าฝืนกฎหมายหรือเพื่อบังคับคดี. |
ยึดมั่น เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อึ-ดอ-เด็ก-มอ-ม้า-ไม้-หัน-อา-กาด-ไม้-เอก-นอ-หนู | เป็นคำกริยา หมายถึง ยึดถืออย่างมั่นคง ไม่เปลี่ยนแปลงง่าย ๆ เช่น ยึดมั่นในหลักการ ยึดมั่นในตัวบุคคล. | ยึดมั่น ก. ยึดถืออย่างมั่นคง ไม่เปลี่ยนแปลงง่าย ๆ เช่น ยึดมั่นในหลักการ ยึดมั่นในตัวบุคคล. |
ยึดหัวหาด เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อึ-ดอ-เด็ก-หอ-หีบ-ไม้-หัน-อา-กาด-วอ-แหวน-หอ-หีบ-สะ-หระ-อา-ดอ-เด็ก | เป็นคำกริยา หมายถึง ยึดชายฝั่งทะเลซึ่งอยู่ในความครอบครองของข้าศึกเพื่อสะดวกในการยกพลขึ้นบก, โดยปริยายหมายถึงยึดจุดสำคัญหรือบุคคลสำคัญเป็นต้นเพื่อที่จะทำให้แผนการขั้นต่อไปประสบความสำเร็จ เช่น ต้องยึดหัวหาดในพรรคให้ได้ก่อน. | ยึดหัวหาด ก. ยึดชายฝั่งทะเลซึ่งอยู่ในความครอบครองของข้าศึกเพื่อสะดวกในการยกพลขึ้นบก, โดยปริยายหมายถึงยึดจุดสำคัญหรือบุคคลสำคัญเป็นต้นเพื่อที่จะทำให้แผนการขั้นต่อไปประสบความสำเร็จ เช่น ต้องยึดหัวหาดในพรรคให้ได้ก่อน. |
ยึดเหนี่ยว เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อึ-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-เอ-หอ-หีบ-นอ-หนู-สะ-หระ-อี-ไม้-เอก-ยอ-ยัก-วอ-แหวน | เป็นคำกริยา หมายถึง อาศัยเป็นที่พึ่ง. | ยึดเหนี่ยว ก. อาศัยเป็นที่พึ่ง. |
ยึดอำนาจ เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อึ-ดอ-เด็ก-ออ-อ่าง-สะ-หระ-อำ-นอ-หนู-สะ-หระ-อา-จอ-จาน | เป็นคำกริยา หมายถึง ใช้กำลังเข้าแย่งอำนาจในการบริหารบ้านเมือง. | ยึดอำนาจ ก. ใช้กำลังเข้าแย่งอำนาจในการบริหารบ้านเมือง. |
ยืด เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อือ-ดอ-เด็ก | เป็นคำกริยา หมายถึง ขยายตัวให้ยาวออกไปได้ เช่น ยางยืด ผ้ายืดออกไป, ขยายเวลาให้นานออกไป เช่น ยืดเวลา. เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง เรียกสิ่งที่ขยายตัวให้ยาวหรือกว้างออกไปเช่นนั้น เช่น เสื้อยืด กางเกงยืด; ยาว เช่น น้ำลายไหลยืด; นาน, ยืนนาน, เช่น อยู่กันยืด. | ยืด ก. ขยายตัวให้ยาวออกไปได้ เช่น ยางยืด ผ้ายืดออกไป, ขยายเวลาให้นานออกไป เช่น ยืดเวลา. ว. เรียกสิ่งที่ขยายตัวให้ยาวหรือกว้างออกไปเช่นนั้น เช่น เสื้อยืด กางเกงยืด; ยาว เช่น น้ำลายไหลยืด; นาน, ยืนนาน, เช่น อยู่กันยืด. |
ยืดแข้งยืดขา, ยืดเส้นยืดสาย ยืดแข้งยืดขา เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อือ-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-แอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-งอ-งู-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อือ-ดอ-เด็ก-ขอ-ไข่-สะ-หระ-อา ยืดเส้นยืดสาย เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อือ-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-เอ-สอ-เสือ-ไม้-โท-นอ-หนู-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อือ-ดอ-เด็ก-สอ-เสือ-สะ-หระ-อา-ยอ-ยัก | เป็นคำกริยา หมายถึง อาการที่ออกกำลังโดยเดินหรือวิ่งเป็นต้นเพื่อให้หายเมื่อยขบ. | ยืดแข้งยืดขา, ยืดเส้นยืดสาย ก. อาการที่ออกกำลังโดยเดินหรือวิ่งเป็นต้นเพื่อให้หายเมื่อยขบ. |
ยืดตัว เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อือ-ดอ-เด็ก-ตอ-เต่า-ไม้-หัน-อา-กาด-วอ-แหวน | เป็นคำกริยา หมายถึง เจริญเติบโต (ใช้แก่เด็กเล็ก ๆ) เช่น เด็กกำลังยืดตัว. | ยืดตัว ก. เจริญเติบโต (ใช้แก่เด็กเล็ก ๆ) เช่น เด็กกำลังยืดตัว. |
ยืดยาด เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อือ-ดอ-เด็ก-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-ดอ-เด็ก | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง เสียเวลานาน, ชักช้า, เช่น ทำงานยืดยาด แต่งตัวยืดยาด. | ยืดยาด ว. เสียเวลานาน, ชักช้า, เช่น ทำงานยืดยาด แต่งตัวยืดยาด. |
ยืดยาว เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อือ-ดอ-เด็ก-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-วอ-แหวน | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ยาวมาก เช่น พูดเสียยืดยาว พรรณนาสรรพคุณเสียยืดยาว. | ยืดยาว ว. ยาวมาก เช่น พูดเสียยืดยาว พรรณนาสรรพคุณเสียยืดยาว. |
ยืดเยื้อ เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อือ-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-เอ-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อือ-ไม้-โท-ออ-อ่าง | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ยาวนาน, ไม่ใคร่จะจบสิ้นง่าย ๆ, เช่น คดียืดเยื้อ. | ยืดเยื้อ ว. ยาวนาน, ไม่ใคร่จะจบสิ้นง่าย ๆ, เช่น คดียืดเยื้อ. |
ยืดหยุ่น เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อือ-ดอ-เด็ก-หอ-หีบ-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อุ-ไม้-เอก-นอ-หนู | ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในวิทยาศาสตร์ เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ลักษณะที่วัตถุสามารถกลับคืนสู่รูปทรงเดิมได้หลังจากแรงที่มากระทําต่อวัตถุนั้นหยุดกระทํา; โดยปริยายหมายความว่า รู้จักผ่อนสั้นผ่อนยาว, ไม่ตายตัว, อะลุ่มอล่วย, เปลี่ยนแปลงได้. | ยืดหยุ่น (วิทยา) ว. ลักษณะที่วัตถุสามารถกลับคืนสู่รูปทรงเดิมได้หลังจากแรงที่มากระทําต่อวัตถุนั้นหยุดกระทํา; โดยปริยายหมายความว่า รู้จักผ่อนสั้นผ่อนยาว, ไม่ตายตัว, อะลุ่มอล่วย, เปลี่ยนแปลงได้. |
ยืดอก เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อือ-ดอ-เด็ก-ออ-อ่าง-กอ-ไก่ | เป็นคำกริยา หมายถึง เบ่งอกแสดงให้เห็นความสง่าผ่าเผยเป็นต้น. | ยืดอก ก. เบ่งอกแสดงให้เห็นความสง่าผ่าเผยเป็นต้น. |
ยืน เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อือ-นอ-หนู | เป็นคำกริยา หมายถึง ตั้งอยู่ เช่น เสายืนเรียงเป็นแถว, เอาเท้าเหยียบพื้นแล้วตั้งตัวให้ตรงขึ้นไป. เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง นาน, ยาว เช่น อายุยืน, ยืด เช่น คบกันยืนนาน; คงอยู่, อยู่กับที่ไม่เปลี่ยนแปลง เช่น ยืนคํา; คงเดิม เช่น พิพากษายืน; ยาวเป็นแนวตรงเข้าไป เช่น ที่ดินยืนเข้าไป ๓ เส้น. | ยืน ก. ตั้งอยู่ เช่น เสายืนเรียงเป็นแถว, เอาเท้าเหยียบพื้นแล้วตั้งตัวให้ตรงขึ้นไป. ว. นาน, ยาว เช่น อายุยืน, ยืด เช่น คบกันยืนนาน; คงอยู่, อยู่กับที่ไม่เปลี่ยนแปลง เช่น ยืนคํา; คงเดิม เช่น พิพากษายืน; ยาวเป็นแนวตรงเข้าไป เช่น ที่ดินยืนเข้าไป ๓ เส้น. |
ยืนกระต่ายสามขา เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อือ-นอ-หนู-กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ตอ-เต่า-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา-ยอ-ยัก-สอ-เสือ-สะ-หระ-อา-มอ-ม้า-ขอ-ไข่-สะ-หระ-อา | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นสำนวน เป็นคำกริยา หมายถึง พูดยืนยันอยู่คําเดียว โดยไม่เปลี่ยนความคิดเดิม, มักพูดว่า ยืนกระต่ายขาเดียว. | ยืนกระต่ายสามขา (สำ) ก. พูดยืนยันอยู่คําเดียว โดยไม่เปลี่ยนความคิดเดิม, มักพูดว่า ยืนกระต่ายขาเดียว. |
ยืนกราน เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อือ-นอ-หนู-กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อา-นอ-หนู | เป็นคำกริยา หมายถึง ยืนคําอยู่อย่างใดก็อย่างนั้น (ไม่ยอมถอนหรือเปลี่ยนความเห็นเป็นอื่น). | ยืนกราน ก. ยืนคําอยู่อย่างใดก็อย่างนั้น (ไม่ยอมถอนหรือเปลี่ยนความเห็นเป็นอื่น). |
ยืนคำ เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อือ-นอ-หนู-คอ-ควาย-สะ-หระ-อำ | เป็นคำกริยา หมายถึง ยืนยันคำพูดที่พูดไปแล้วโดยไม่เปลี่ยนแปลง. | ยืนคำ ก. ยืนยันคำพูดที่พูดไปแล้วโดยไม่เปลี่ยนแปลง. |
ยืนค้ำหัว เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อือ-นอ-หนู-คอ-ควาย-ไม้-โท-สะ-หระ-อำ-หอ-หีบ-ไม้-หัน-อา-กาด-วอ-แหวน | เป็นคำกริยา หมายถึง ยืนชิดอยู่ข้างหลังผู้ใหญ่ที่นั่งอยู่ ถือว่าแสดงอาการไม่เคารพ เช่น อย่ายืนค้ำหัวผู้ใหญ่. | ยืนค้ำหัว ก. ยืนชิดอยู่ข้างหลังผู้ใหญ่ที่นั่งอยู่ ถือว่าแสดงอาการไม่เคารพ เช่น อย่ายืนค้ำหัวผู้ใหญ่. |
ยืนเครื่อง เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อือ-นอ-หนู-สะ-หระ-เอ-คอ-ควาย-รอ-เรือ-สะ-หระ-อือ-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-งอ-งู | เป็นคำนาม หมายถึง ตัวพระนางที่แต่งเครื่องกษัตริย์. | ยืนเครื่อง น. ตัวพระนางที่แต่งเครื่องกษัตริย์. |
ยืนชิงช้า เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อือ-นอ-หนู-ชอ-ช้าง-สะ-หระ-อิ-งอ-งู-ชอ-ช้าง-ไม้-โท-สะ-หระ-อา | ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ เป็นคำนาม หมายถึง เรียกข้าราชการที่เป็นประธานในพิธีโล้ชิงช้าแทนพระเจ้าแผ่นดินว่า พระยายืนชิงช้า. | ยืนชิงช้า (โบ) น. เรียกข้าราชการที่เป็นประธานในพิธีโล้ชิงช้าแทนพระเจ้าแผ่นดินว่า พระยายืนชิงช้า. |
ยืนต้น เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อือ-นอ-หนู-ตอ-เต่า-ไม้-โท-นอ-หนู | เป็นคำนาม หมายถึง เรียกต้นไม้ใหญ่ที่มีผลและมีอายุยืนนาน. | ยืนต้น น. เรียกต้นไม้ใหญ่ที่มีผลและมีอายุยืนนาน. |
ยืนต้นตาย เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อือ-นอ-หนู-ตอ-เต่า-ไม้-โท-นอ-หนู-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อา-ยอ-ยัก | เป็นคำกริยา หมายถึง อาการที่ต้นไม้บางชนิดเช่นต้นตาล ต้นลาน ตายแล้วแต่ยังไม่ล้ม, อาการที่ไม้ยืนต้นเช่นต้นสัก ต้นยาง ตายเองหรือถูกกานคือ ควั่นเปลือกและกระพี้โดยรอบออกแล้วตาย แต่ยังไม่ล้ม. | ยืนต้นตาย ก. อาการที่ต้นไม้บางชนิดเช่นต้นตาล ต้นลาน ตายแล้วแต่ยังไม่ล้ม, อาการที่ไม้ยืนต้นเช่นต้นสัก ต้นยาง ตายเองหรือถูกกานคือ ควั่นเปลือกและกระพี้โดยรอบออกแล้วตาย แต่ยังไม่ล้ม. |
ยืนแท่น เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อือ-นอ-หนู-สะ-หระ-แอ-ทอ-ทะ-หาน-ไม้-เอก-นอ-หนู | เป็นคำนาม หมายถึง เรียกช้างสำคัญที่ผูกเครื่องพระคชาธารยืนบนแท่นในงานพระราชพิธีว่า ช้างยืนแท่น, เรียกรูปเทวดาที่วาดหรือปั้นในท่ายืนอยู่บนแท่นว่า เทวดายืนแท่น. | ยืนแท่น น. เรียกช้างสำคัญที่ผูกเครื่องพระคชาธารยืนบนแท่นในงานพระราชพิธีว่า ช้างยืนแท่น, เรียกรูปเทวดาที่วาดหรือปั้นในท่ายืนอยู่บนแท่นว่า เทวดายืนแท่น. |
ยืนพื้น เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อือ-นอ-หนู-พอ-พาน-สะ-หระ-อือ-ไม้-โท-นอ-หนู | เป็นคำกริยา หมายถึง คงที่อยู่เสมอ, คงยึดหลักหรือแบบเสมอ, เช่น กับข้าวไทยมีน้ำพริกยืนพื้น. | ยืนพื้น ก. คงที่อยู่เสมอ, คงยึดหลักหรือแบบเสมอ, เช่น กับข้าวไทยมีน้ำพริกยืนพื้น. |
ยืนยง เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อือ-นอ-หนู-ยอ-ยัก-งอ-งู | เป็นคำกริยา หมายถึง คงอยู่นาน. | ยืนยง ก. คงอยู่นาน. |
ยืนยัน เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อือ-นอ-หนู-ยอ-ยัก-ไม้-หัน-อา-กาด-นอ-หนู | เป็นคำกริยา หมายถึง พูดคงคําโดยแน่นแฟ้น, พูดรับว่ารู้เห็นหรือทำเป็นต้นโดยแน่นอน, เช่น เขายืนยันว่าเขาเห็นขโมยแน่, ยํ้าหรือแจ้งความจำนงโดยไม่เปลี่ยนแปลง เช่น เขายืนยันการเดินทางในเที่ยวหน้า, ใช้ว่า ยัน คําเดียวก็มี. | ยืนยัน ก. พูดคงคําโดยแน่นแฟ้น, พูดรับว่ารู้เห็นหรือทำเป็นต้นโดยแน่นอน, เช่น เขายืนยันว่าเขาเห็นขโมยแน่, ยํ้าหรือแจ้งความจำนงโดยไม่เปลี่ยนแปลง เช่น เขายืนยันการเดินทางในเที่ยวหน้า, ใช้ว่า ยัน คําเดียวก็มี. |
ยืนยาม เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อือ-นอ-หนู-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-มอ-ม้า | เป็นคำกริยา หมายถึง ยืนเฝ้ายาม. | ยืนยาม ก. ยืนเฝ้ายาม. |
ยืนโรง เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อือ-นอ-หนู-สะ-หระ-โอ-รอ-เรือ-งอ-งู | เป็นคำนาม หมายถึง เรียกผู้แสดงเป็นตัวละครหรือลิเกเป็นต้นตัวใดตัวหนึ่งประจํา เช่น พระเอกยืนโรง ตัวตลกยืนโรง, เรียกผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ใดหน้าที่หนึ่งเป็นประจำ เช่น เขาเป็นตัวยืนโรงในการประชุม; เรียกช้างหรือสัตว์เลี้ยงที่ปรนปรือเป็นพิเศษอยู่ประจําโรง เช่น ช้างยืนโรง ม้ายืนโรง. เป็นคำกริยา หมายถึง ทำหน้าที่ใดหน้าที่หนึ่งเป็นประจำ เช่น เขาต้องยืนโรงตอบปัญหาตลอดรายการ; ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ หมายถึง ออกซํ้า ๆ เช่น ถั่วออก ๓ ยืนโรง (มักใช้แก่การพนันบางอย่าง). | ยืนโรง น. เรียกผู้แสดงเป็นตัวละครหรือลิเกเป็นต้นตัวใดตัวหนึ่งประจํา เช่น พระเอกยืนโรง ตัวตลกยืนโรง, เรียกผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ใดหน้าที่หนึ่งเป็นประจำ เช่น เขาเป็นตัวยืนโรงในการประชุม; เรียกช้างหรือสัตว์เลี้ยงที่ปรนปรือเป็นพิเศษอยู่ประจําโรง เช่น ช้างยืนโรง ม้ายืนโรง. ก. ทำหน้าที่ใดหน้าที่หนึ่งเป็นประจำ เช่น เขาต้องยืนโรงตอบปัญหาตลอดรายการ; (โบ) ออกซํ้า ๆ เช่น ถั่วออก ๓ ยืนโรง (มักใช้แก่การพนันบางอย่าง). |
ยืนหยัด เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อือ-นอ-หนู-หอ-หีบ-ยอ-ยัก-ไม้-หัน-อา-กาด-ดอ-เด็ก | เป็นคำกริยา หมายถึง สู้ไม่ยอมถอย เช่น เขายืนหยัดสู้ได้ตลอด ๕ ยก. | ยืนหยัด ก. สู้ไม่ยอมถอย เช่น เขายืนหยัดสู้ได้ตลอด ๕ ยก. |
ยื่น เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อือ-ไม้-เอก-นอ-หนู | เป็นคำกริยา หมายถึง กิริยาหรืออาการที่เหยียดหรือเหลื่อมลํ้าออกไป เช่น ยื่นมือ ยื่นซอง มุขยื่นออกจากตัวอาคาร; เสนอ, ส่ง, มอบ, เช่น ยื่นเรื่องราว ยื่นบัญชี ยื่นฟ้อง; โดยปริยายหมายถึงกิริยาของผู้ที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับเรื่องที่เขาไม่ต้องการให้พูดให้ทําว่า ยื่นปาก ยื่นหน้า. เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง เรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น คางยื่น พุงยื่น. | ยื่น ก. กิริยาหรืออาการที่เหยียดหรือเหลื่อมลํ้าออกไป เช่น ยื่นมือ ยื่นซอง มุขยื่นออกจากตัวอาคาร; เสนอ, ส่ง, มอบ, เช่น ยื่นเรื่องราว ยื่นบัญชี ยื่นฟ้อง; โดยปริยายหมายถึงกิริยาของผู้ที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับเรื่องที่เขาไม่ต้องการให้พูดให้ทําว่า ยื่นปาก ยื่นหน้า. ว. เรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น คางยื่น พุงยื่น. |
ยื่นแก้วให้วานร เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อือ-ไม้-เอก-นอ-หนู-สะ-หระ-แอ-กอ-ไก่-ไม้-โท-วอ-แหวน-สะ-หระ-ไอ-ไม้-ม้วน-หอ-หีบ-ไม้-โท-วอ-แหวน-สะ-หระ-อา-นอ-หนู-รอ-เรือ | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นสำนวน เป็นคำกริยา หมายถึง เอาของมีค่าให้แก่คนที่ไม่รู้จักค่าของสิ่งนั้น. | ยื่นแก้วให้วานร (สำ) ก. เอาของมีค่าให้แก่คนที่ไม่รู้จักค่าของสิ่งนั้น. |
ยื่นจมูก เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อือ-ไม้-เอก-นอ-หนู-จอ-จาน-มอ-ม้า-สะ-หระ-อู-กอ-ไก่ | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นสำนวน เป็นคำกริยา หมายถึง เข้าไปสอดแทรกในเรื่องที่ไม่ใช่ธุระของตน, เสือก. | ยื่นจมูก (สำ) ก. เข้าไปสอดแทรกในเรื่องที่ไม่ใช่ธุระของตน, เสือก. |
ยื่นมือ เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อือ-ไม้-เอก-นอ-หนู-มอ-ม้า-สะ-หระ-อือ-ออ-อ่าง | เป็นคำกริยา หมายถึง เข้าไปเกี่ยวข้องด้วย, เข้าไปเพื่อช่วยเหลือเป็นต้น. | ยื่นมือ ก. เข้าไปเกี่ยวข้องด้วย, เข้าไปเพื่อช่วยเหลือเป็นต้น. |
ยื่นหมูยื่นแมว เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อือ-ไม้-เอก-นอ-หนู-หอ-หีบ-มอ-ม้า-สะ-หระ-อู-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อือ-ไม้-เอก-นอ-หนู-สะ-หระ-แอ-มอ-ม้า-วอ-แหวน | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นสำนวน เป็นคำกริยา หมายถึง แลกกันโดยต่างฝ่ายต่างให้และรับในเวลาเดียวกัน. | ยื่นหมูยื่นแมว (สำ) ก. แลกกันโดยต่างฝ่ายต่างให้และรับในเวลาเดียวกัน. |
ยืม เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อือ-มอ-ม้า | เป็นคำกริยา หมายถึง ขอสิ่งของ เงิน เป็นต้น มาใช้ชั่วระยะเวลาหนึ่งแล้วคืนให้หรือใช้คืน, นําของของผู้อื่นมาใช้เป็นของตน เช่น ยืมคําในภาษาบาลีมาใช้ ยืมวัฒนธรรมตะวันตกมาใช้ ยืมความคิด; ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในคณิตศาสตร์ หมายถึง ในการลบเลข ถ้าเลขตัวตั้งในหลักใดน้อยกว่าเลขที่จะนํามาลบ ให้นําเลขจากหลักสูงถัดไปมาเพิ่มเลขตัวตั้งเพื่อให้มากพอที่จะลบได้ เช่น ๔๓ - ๕ ในที่นี้ ๕ ลบจาก ๓ ไม่ได้ ๓ ต้องยืม ๔ ซึ่งเป็นหลักสิบมา ๑ รวมเป็น ๑๓ แล้วลบออกเสีย ๕ เหลือ ๘ ๔ เมื่อถูกยืมไป ๑ ก็เหลือ ๓ ผลลัพธ์ ๓๘, ขอยืม ก็ว่า. | ยืม ก. ขอสิ่งของ เงิน เป็นต้น มาใช้ชั่วระยะเวลาหนึ่งแล้วคืนให้หรือใช้คืน, นําของของผู้อื่นมาใช้เป็นของตน เช่น ยืมคําในภาษาบาลีมาใช้ ยืมวัฒนธรรมตะวันตกมาใช้ ยืมความคิด; (คณิต) ในการลบเลข ถ้าเลขตัวตั้งในหลักใดน้อยกว่าเลขที่จะนํามาลบ ให้นําเลขจากหลักสูงถัดไปมาเพิ่มเลขตัวตั้งเพื่อให้มากพอที่จะลบได้ เช่น ๔๓ - ๕ ในที่นี้ ๕ ลบจาก ๓ ไม่ได้ ๓ ต้องยืม ๔ ซึ่งเป็นหลักสิบมา ๑ รวมเป็น ๑๓ แล้วลบออกเสีย ๕ เหลือ ๘ ๔ เมื่อถูกยืมไป ๑ ก็เหลือ ๓ ผลลัพธ์ ๓๘, ขอยืม ก็ว่า. |
ยืมจมูกคนอื่นหายใจ เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อือ-มอ-ม้า-จอ-จาน-มอ-ม้า-สะ-หระ-อู-กอ-ไก่-คอ-ควาย-นอ-หนู-ออ-อ่าง-สะ-หระ-อือ-ไม้-เอก-นอ-หนู-หอ-หีบ-สะ-หระ-อา-ยอ-ยัก-สะ-หระ-ไอ-ไม้-ม้วน-จอ-จาน | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นสำนวน เป็นคำกริยา หมายถึง อาศัยผู้อื่นทำงานให้มักไม่สะดวกเหมือนทำด้วยตนเอง, พึ่งจมูกคนอื่นหายใจ หรือ เอาจมูกผู้อื่นมาหายใจ ก็ว่า. | ยืมจมูกคนอื่นหายใจ (สำ) ก. อาศัยผู้อื่นทำงานให้มักไม่สะดวกเหมือนทำด้วยตนเอง, พึ่งจมูกคนอื่นหายใจ หรือ เอาจมูกผู้อื่นมาหายใจ ก็ว่า. |
ยืมชื่อ เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อือ-มอ-ม้า-ชอ-ช้าง-สะ-หระ-อือ-ไม้-เอก-ออ-อ่าง | เป็นคำกริยา หมายถึง อาศัยชื่อผู้อื่นไปเป็นประโยชน์ตน เช่น ยืมชื่อคนมีชื่อเสียงไปอ้างเพื่อให้คนเชื่อถือ. | ยืมชื่อ ก. อาศัยชื่อผู้อื่นไปเป็นประโยชน์ตน เช่น ยืมชื่อคนมีชื่อเสียงไปอ้างเพื่อให้คนเชื่อถือ. |
ยืมปาก เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อือ-มอ-ม้า-ปอ-ปลา-สะ-หระ-อา-กอ-ไก่ | เป็นคำกริยา หมายถึง อาศัยผู้อื่นพูดแทน เช่น ยืมปากครูขออนุญาตพ่อแม่ไปทัศนาจร. | ยืมปาก ก. อาศัยผู้อื่นพูดแทน เช่น ยืมปากครูขออนุญาตพ่อแม่ไปทัศนาจร. |
ยืมมือ เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อือ-มอ-ม้า-มอ-ม้า-สะ-หระ-อือ-ออ-อ่าง | เป็นคำกริยา หมายถึง อาศัยผู้อื่นทำการแทน เช่น ยืมมือเขาไปล้างแค้น. | ยืมมือ ก. อาศัยผู้อื่นทำการแทน เช่น ยืมมือเขาไปล้างแค้น. |
ยื้อ เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อือ-ไม้-โท-ออ-อ่าง | เป็นคำกริยา หมายถึง แย่งด้วยอาการเช่นฉุด ยุด ดึงไปมา เช่น ยื้อข้อมือ, มักใช้เข้าคู่กับคํา แย่ง เป็น ยื้อแย่ง เช่น หมายื้อแย่งกระดูกกัน. | ยื้อ ก. แย่งด้วยอาการเช่นฉุด ยุด ดึงไปมา เช่น ยื้อข้อมือ, มักใช้เข้าคู่กับคํา แย่ง เป็น ยื้อแย่ง เช่น หมายื้อแย่งกระดูกกัน. |
ยื้อยุด เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อือ-ไม้-โท-ออ-อ่าง-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อุ-ดอ-เด็ก | เป็นคำกริยา หมายถึง ฉุดรั้งไว้. | ยื้อยุด ก. ฉุดรั้งไว้. |
ยุ เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อุ | เป็นคำกริยา หมายถึง กล่าวชักชวน ส่งเสริม หนุน หรือเป็นใจให้ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง (มักใช้ในทางที่ไม่สมควร) เช่น ยุให้เขาทะเลาะกัน ยุให้โกรธ ยุให้กําเริบ. | ยุ ก. กล่าวชักชวน ส่งเสริม หนุน หรือเป็นใจให้ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง (มักใช้ในทางที่ไม่สมควร) เช่น ยุให้เขาทะเลาะกัน ยุให้โกรธ ยุให้กําเริบ. |
ยุขึ้น เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อุ-ขอ-ไข่-สะ-หระ-อึ-ไม้-โท-นอ-หนู | เป็นคำกริยา หมายถึง หนุนให้ทำอะไรก็ทำตาม. | ยุขึ้น ก. หนุนให้ทำอะไรก็ทำตาม. |
ยุไม่ขึ้น เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อุ-สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-มอ-ม้า-ไม้-เอก-ขอ-ไข่-สะ-หระ-อึ-ไม้-โท-นอ-หนู | เป็นคำกริยา หมายถึง หนุนเท่าไร ๆ ก็ไม่ยอมทำตาม. | ยุไม่ขึ้น ก. หนุนเท่าไร ๆ ก็ไม่ยอมทำตาม. |
ยุยง เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อุ-ยอ-ยัก-งอ-งู | เป็นคำกริยา หมายถึง ยุหรือส่งเสริมให้ทำในสิ่งที่ไม่ดีหนักขึ้น เช่น ยุยงให้หนีโรงเรียน ยุยงให้เล่นการพนัน. | ยุยง ก. ยุหรือส่งเสริมให้ทำในสิ่งที่ไม่ดีหนักขึ้น เช่น ยุยงให้หนีโรงเรียน ยุยงให้เล่นการพนัน. |
ยุแยง, ยุแหย่ ยุแยง เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อุ-สะ-หระ-แอ-ยอ-ยัก-งอ-งู ยุแหย่ เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อุ-สะ-หระ-แอ-หอ-หีบ-ยอ-ยัก-ไม้-เอก | เป็นคำกริยา หมายถึง ยุให้ทั้ง ๒ ฝ่ายแตกกัน. | ยุแยง, ยุแหย่ ก. ยุให้ทั้ง ๒ ฝ่ายแตกกัน. |
ยุแยงตะแคงแซะ, ยุแยงตะแคงรั่ว, ยุแยงตะแคงแส่ ยุแยงตะแคงแซะ เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อุ-สะ-หระ-แอ-ยอ-ยัก-งอ-งู-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-แอ-คอ-ควาย-งอ-งู-สะ-หระ-แอ-ซอ-โซ่-สะ-หระ-อะ ยุแยงตะแคงรั่ว เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อุ-สะ-หระ-แอ-ยอ-ยัก-งอ-งู-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-แอ-คอ-ควาย-งอ-งู-รอ-เรือ-ไม้-หัน-อา-กาด-ไม้-เอก-วอ-แหวน ยุแยงตะแคงแส่ เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อุ-สะ-หระ-แอ-ยอ-ยัก-งอ-งู-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-แอ-คอ-ควาย-งอ-งู-สะ-หระ-แอ-สอ-เสือ-ไม้-เอก | เป็นคำกริยา หมายถึง ยุให้ทั้ง ๒ ฝ่ายแตกกัน. | ยุแยงตะแคงแซะ, ยุแยงตะแคงรั่ว, ยุแยงตะแคงแส่ ก. ยุให้ทั้ง ๒ ฝ่ายแตกกัน. |
ยุส่ง เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อุ-สอ-เสือ-ไม้-เอก-งอ-งู | เป็นคำกริยา หมายถึง หนุนให้ทำโดยไม่ห้ามปราม. | ยุส่ง ก. หนุนให้ทำโดยไม่ห้ามปราม. |
ยุแหย่ เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อุ-สะ-หระ-แอ-หอ-หีบ-ยอ-ยัก-ไม้-เอก | เป็นคำกริยา หมายถึง ยุให้เขาแตกกัน เช่น ยุแหย่ให้เขาแตกสามัคคี. | ยุแหย่ ก. ยุให้เขาแตกกัน เช่น ยุแหย่ให้เขาแตกสามัคคี. |
ยุให้รำตำให้รั่ว เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อุ-สะ-หระ-ไอ-ไม้-ม้วน-หอ-หีบ-ไม้-โท-รอ-เรือ-สะ-หระ-อำ-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อำ-สะ-หระ-ไอ-ไม้-ม้วน-หอ-หีบ-ไม้-โท-รอ-เรือ-ไม้-หัน-อา-กาด-ไม้-เอก-วอ-แหวน | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นสำนวน เป็นคำกริยา หมายถึง ยุให้แตกกัน, ยุให้ผิดใจกัน. | ยุให้รำตำให้รั่ว (สำ) ก. ยุให้แตกกัน, ยุให้ผิดใจกัน. |