เข้า เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา ความหมายที่ ๑ | เป็นคำกริยา หมายถึง อาการที่เคลื่อนไปข้างในหรือทําให้เคลื่อนไปข้างใน เช่น เข้าบ้าน เข้าถํ้า เอาหนังสือเข้าตู้; เคลื่อนมาสู่ที่, มาถึง, เช่น รถด่วนเข้า ๑๐ โมง; ใส่, บรรจุ, เช่น เข้าหีบ; ประสม, แทรก, เช่น เข้ายาดำ; รวม เช่น เข้าหุ้น เข้าทุน; รวมเป็นพวก เช่น เข้าพรรค เข้าแถว เข้าข้าง; ถูกกัน, ลงรอยกัน, ทําให้ลงรอยกัน, เหมาะเจาะ, เช่น เสียงเข้ากัน สีเข้ากัน เข้าไม้; เคลื่อนมาสู่ เช่น พระศุกร์เข้า; สิง เช่น เจ้าเข้า ผีเข้า; เริ่ม เช่น เข้าเรียน, เริ่มทํางาน เช่น โรงเรียนเข้า; เริ่มอยู่ในภาวะ เช่น เข้าโรงเรียน เข้าทํางาน. เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ตรงข้ามกับ ออก เช่น ทางเข้า ขาเข้า; ใช้ประกอบคําอื่นแสดงความหมายเร่งรัดหรือเน้นความว่า มากขึ้น เช่น เร็วเข้า คิดเข้า หนักเข้า ดึกเข้า นานเข้า. | เข้า ๑ ก. อาการที่เคลื่อนไปข้างในหรือทําให้เคลื่อนไปข้างใน เช่น เข้าบ้าน เข้าถํ้า เอาหนังสือเข้าตู้; เคลื่อนมาสู่ที่, มาถึง, เช่น รถด่วนเข้า ๑๐ โมง; ใส่, บรรจุ, เช่น เข้าหีบ; ประสม, แทรก, เช่น เข้ายาดำ; รวม เช่น เข้าหุ้น เข้าทุน; รวมเป็นพวก เช่น เข้าพรรค เข้าแถว เข้าข้าง; ถูกกัน, ลงรอยกัน, ทําให้ลงรอยกัน, เหมาะเจาะ, เช่น เสียงเข้ากัน สีเข้ากัน เข้าไม้; เคลื่อนมาสู่ เช่น พระศุกร์เข้า; สิง เช่น เจ้าเข้า ผีเข้า; เริ่ม เช่น เข้าเรียน, เริ่มทํางาน เช่น โรงเรียนเข้า; เริ่มอยู่ในภาวะ เช่น เข้าโรงเรียน เข้าทํางาน. ว. ตรงข้ามกับ ออก เช่น ทางเข้า ขาเข้า; ใช้ประกอบคําอื่นแสดงความหมายเร่งรัดหรือเน้นความว่า มากขึ้น เช่น เร็วเข้า คิดเข้า หนักเข้า ดึกเข้า นานเข้า. |
เข้ากรรม เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-กอ-ไก่-รอ-เรือ-รอ-เรือ-มอ-ม้า | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาถิ่นภาคอีสาน เป็นคำกริยา หมายถึง อยู่ไฟ. | เข้ากรรม (ถิ่นอีสาน) ก. อยู่ไฟ. |
เข้ากระโจม เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-โอ-จอ-จาน-มอ-ม้า | เป็นคำกริยา หมายถึง เข้าไปอยู่ในผ้าที่ทําเป็นกระโจมเพื่ออบให้เหงื่อออก, เข้าไปอบควันยาในกระโจม. | เข้ากระโจม ก. เข้าไปอยู่ในผ้าที่ทําเป็นกระโจมเพื่ออบให้เหงื่อออก, เข้าไปอบควันยาในกระโจม. |
เข้ากระดูกดำ เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-อู-กอ-ไก่-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-อำ | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ติดแน่นจนถอนไม่ขึ้นหรือไม่รู้ลืม. | เข้ากระดูกดำ ว. ติดแน่นจนถอนไม่ขึ้นหรือไม่รู้ลืม. |
เข้าเกณฑ์ เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-เอ-กอ-ไก่-นอ-เนน-ทอ-มน-โท-ทัน-ทะ-คาด | เป็นคำกริยา หมายถึง เข้าหลักที่กําหนดไว้ เช่น อายุเข้าเกณฑ์. | เข้าเกณฑ์ ก. เข้าหลักที่กําหนดไว้ เช่น อายุเข้าเกณฑ์. |
เข้าเกียร์ เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-เอ-กอ-ไก่-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก-รอ-เรือ-ทัน-ทะ-คาด | เป็นคำกริยา หมายถึง ผลักคันเกียร์ให้เข้าที่เพื่อเปลี่ยนระดับความเร็วของเครื่องยนต์. | เข้าเกียร์ ก. ผลักคันเกียร์ให้เข้าที่เพื่อเปลี่ยนระดับความเร็วของเครื่องยนต์. |
เข้าโกศ เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-โอ-กอ-ไก่-สอ-สา-ลา | เป็นคำกริยา หมายถึง บรรจุศพลงในโกศ, ลงโกศ ก็ว่า. | เข้าโกศ ก. บรรจุศพลงในโกศ, ลงโกศ ก็ว่า. |
เข้าข้อ เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-ขอ-ไข่-ไม้-โท-ออ-อ่าง | เป็นคำนาม หมายถึง อาการของโรคชนิดหนึ่งให้เมื่อยขัดอยู่ในข้อ; กามโรคที่เรื้อรังมาจนถึงทําให้ปวดตามข้อกระดูก, มักใช้เข้าคู่กับคำ ออกดอก เป็น เข้าข้อออกดอก. | เข้าข้อ น. อาการของโรคชนิดหนึ่งให้เมื่อยขัดอยู่ในข้อ; กามโรคที่เรื้อรังมาจนถึงทําให้ปวดตามข้อกระดูก, มักใช้เข้าคู่กับคำ ออกดอก เป็น เข้าข้อออกดอก. |
เข้าขา เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-ขอ-ไข่-สะ-หระ-อา | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง สอดคล้องกัน, ไปกันได้ดี, เช่น นักเทนนิสคู่นี้เล่นเข้าขากันได้ดี. | เข้าขา ว. สอดคล้องกัน, ไปกันได้ดี, เช่น นักเทนนิสคู่นี้เล่นเข้าขากันได้ดี. |
เข้าข้าง เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-งอ-งู | เป็นคำกริยา หมายถึง เข้าเป็นฝ่าย. | เข้าข้าง ก. เข้าเป็นฝ่าย. |
เข้าคอ เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-คอ-ควาย-ออ-อ่าง | เป็นคำกริยา หมายถึง ประพฤติให้ถูกใจกันได้, มีความประพฤติถูกกัน, ไม่ขัดคอกัน. | เข้าคอ ก. ประพฤติให้ถูกใจกันได้, มีความประพฤติถูกกัน, ไม่ขัดคอกัน. |
เข้าคิว เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-คอ-ควาย-สะ-หระ-อิ-วอ-แหวน | เป็นคำกริยา หมายถึง เข้าแถวตามลําดับมาก่อนมาหลัง. | เข้าคิว ก. เข้าแถวตามลําดับมาก่อนมาหลัง. |
เข้าคู่ เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-คอ-ควาย-สะ-หระ-อู-ไม้-เอก | เป็นคำกริยา หมายถึง เอาไพ่ตอง ๒ ใบที่เหมือนกันมาเข้าชุดกันเป็น ๑ คู่; ไปด้วยกันได้อย่างดี. | เข้าคู่ ก. เอาไพ่ตอง ๒ ใบที่เหมือนกันมาเข้าชุดกันเป็น ๑ คู่; ไปด้วยกันได้อย่างดี. |
เข้าเครื่อง เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-เอ-คอ-ควาย-รอ-เรือ-สะ-หระ-อือ-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-งอ-งู | เป็นคำกริยา หมายถึง สวมใส่เครื่องแต่งตัวโขน ละคร ลิเกตัวสําคัญ ๆ; คําพูดสําหรับว่าว หมายความว่า ผูกเหนียง ผูกติ่ง, ถ้าสายป่านของว่าวปักเป้าตรงช่วงสายเหนียงติดเครื่อง คือ ติดเหนียงและติ่ง เรียกว่า เหนียงเข้าเครื่อง, ถ้าสายป่านของว่าวจุฬาติดจำปา เรียกว่า ป่านเข้าเครื่อง. | เข้าเครื่อง ก. สวมใส่เครื่องแต่งตัวโขน ละคร ลิเกตัวสําคัญ ๆ; คําพูดสําหรับว่าว หมายความว่า ผูกเหนียง ผูกติ่ง, ถ้าสายป่านของว่าวปักเป้าตรงช่วงสายเหนียงติดเครื่อง คือ ติดเหนียงและติ่ง เรียกว่า เหนียงเข้าเครื่อง, ถ้าสายป่านของว่าวจุฬาติดจำปา เรียกว่า ป่านเข้าเครื่อง. |
เข้าเค้า เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-เอ-คอ-ควาย-ไม้-โท-สะ-หระ-อา | เป็นคำกริยา หมายถึง เหมาะกับรูปร่าง เค้าหน้า หรือ กิริยาท่าทาง, เหมาะกับเรื่องราวหรือเหตุผล. | เข้าเค้า ก. เหมาะกับรูปร่าง เค้าหน้า หรือ กิริยาท่าทาง, เหมาะกับเรื่องราวหรือเหตุผล. |
เข้าไคล เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-คอ-ควาย-ลอ-ลิง | เป็นคำกริยา หมายถึง ลักษณะมะม่วงที่แก่มีนวล มีเมล็ดแข็ง, โดยปริยายหมายความว่า จวนจะรู้ผล, ใกล้จะสำเร็จ. | เข้าไคล ก. ลักษณะมะม่วงที่แก่มีนวล มีเมล็ดแข็ง, โดยปริยายหมายความว่า จวนจะรู้ผล, ใกล้จะสำเร็จ. |
เข้าเงียบ เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-เอ-งอ-งู-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก-บอ-ไบ-ไม้ | เป็นคำกริยา หมายถึง ประพฤติสงบจิตใจอยู่ในที่สงัดตามลัทธิคริสต์ศาสนา. | เข้าเงียบ ก. ประพฤติสงบจิตใจอยู่ในที่สงัดตามลัทธิคริสต์ศาสนา. |
เข้าแง่ เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-แอ-งอ-งู-ไม้-เอก | เป็นคำกริยา หมายถึง ถูกที่เหมาะ, ถูกที่สําคัญ. | เข้าแง่ ก. ถูกที่เหมาะ, ถูกที่สําคัญ. |
เข้าเจ้า เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-เอ-จอ-จาน-ไม้-โท-สะ-หระ-อา | เป็นคำกริยา หมายถึง ทําพิธีให้เจ้ามาสิงในกาย, ตัวผู้ทําพิธีให้เจ้ามาสิงนั้น เรียกว่า คนทรง, มักใช้เข้าคู่กับคำ เข้าทรง เป็น เข้าเจ้าเข้าทรง. | เข้าเจ้า ก. ทําพิธีให้เจ้ามาสิงในกาย, ตัวผู้ทําพิธีให้เจ้ามาสิงนั้น เรียกว่า คนทรง, มักใช้เข้าคู่กับคำ เข้าทรง เป็น เข้าเจ้าเข้าทรง. |
เข้าเจ้าเข้านาย เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-เอ-จอ-จาน-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-นอ-หนู-สะ-หระ-อา-ยอ-ยัก | เป็นคำกริยา หมายถึง รู้จักธรรมเนียมเข้าเฝ้าเจ้านาย และเข้าไปหาผู้หลักผู้ใหญ่อย่างเหมาะสม. | เข้าเจ้าเข้านาย ก. รู้จักธรรมเนียมเข้าเฝ้าเจ้านาย และเข้าไปหาผู้หลักผู้ใหญ่อย่างเหมาะสม. |
เข้าใจ เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-ไอ-ไม้-ม้วน-จอ-จาน | เป็นคำกริยา หมายถึง รู้เรื่อง, รู้ความหมาย. | เข้าใจ ก. รู้เรื่อง, รู้ความหมาย. |
เข้าชื่อ เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-ชอ-ช้าง-สะ-หระ-อือ-ไม้-เอก-ออ-อ่าง | เป็นคำกริยา หมายถึง ลงชื่อร่วมกันหลาย ๆ คน เพื่อร้องเรียนหรือแสดงความจํานง. | เข้าชื่อ ก. ลงชื่อร่วมกันหลาย ๆ คน เพื่อร้องเรียนหรือแสดงความจํานง. |
เข้าฌาน เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-ชอ-เชอ-สะ-หระ-อา-นอ-หนู | เป็นคำกริยา หมายถึง ทําใจให้สงบตามหลักทางศาสนา, โดยปริยายหมายถึงนั่งหลับหรือนั่งเหม่อใจลอยไม่รับรู้อะไร. ในวงเล็บ ดู ฌาน เขียนว่า ชอ-เชอ-สะ-หระ-อา-นอ-หนู. | เข้าฌาน ก. ทําใจให้สงบตามหลักทางศาสนา, โดยปริยายหมายถึงนั่งหลับหรือนั่งเหม่อใจลอยไม่รับรู้อะไร. (ดู ฌาน). |
เข้าด้ายเข้าเข็ม เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-ดอ-เด็ก-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-ยอ-ยัก-สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-ไต่-คู้-มอ-ม้า | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นสำนวน เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง จวนจะสำเร็จ ถ้าทำผิดพลาดหรือมีอะไรมาขัดจังหวะแม้เพียงเล็กน้อยก็เสียการ. | เข้าด้ายเข้าเข็ม (สำ) ว. จวนจะสำเร็จ ถ้าทำผิดพลาดหรือมีอะไรมาขัดจังหวะแม้เพียงเล็กน้อยก็เสียการ. |
เข้าเดือย เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-เอ-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-อือ-ออ-อ่าง-ยอ-ยัก | เป็นคำกริยา หมายถึง นําไม้ ๒ อัน โดยอันหนึ่งทําให้เป็นเดือย อีกอันหนึ่งเจาะรูให้พอเหมาะกัน มาประกบให้ประสานกันพอดี. | เข้าเดือย ก. นําไม้ ๒ อัน โดยอันหนึ่งทําให้เป็นเดือย อีกอันหนึ่งเจาะรูให้พอเหมาะกัน มาประกบให้ประสานกันพอดี. |
เข้าตรีทูต เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-ตอ-เต่า-รอ-เรือ-สะ-หระ-อี-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อู-ตอ-เต่า | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง มีอาการหมดความรู้สึกเมื่อใกล้จะตาย, อาการหนักปางตาย. | เข้าตรีทูต ว. มีอาการหมดความรู้สึกเมื่อใกล้จะตาย, อาการหนักปางตาย. |
เข้าตอง เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-ตอ-เต่า-ออ-อ่าง-งอ-งู | เป็นคำกริยา หมายถึง เอาไพ่ตอง ๓ ใบที่เหมือนกันมาเข้าชุดกันเป็น ๑ ตอง. | เข้าตอง ก. เอาไพ่ตอง ๓ ใบที่เหมือนกันมาเข้าชุดกันเป็น ๑ ตอง. |
เข้าตัว เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-ตอ-เต่า-ไม้-หัน-อา-กาด-วอ-แหวน | เป็นคำกริยา หมายถึง อาการที่อาคม ของขลัง หรือถ้อยคําที่ปรารถนาจะกระทําหรือพูดให้ร้ายแก่ผู้อื่นแล้วย้อนกลับมาโดนตัวเอง, ไม่พ้นตัว เช่น พูดเข้าตัว. | เข้าตัว ก. อาการที่อาคม ของขลัง หรือถ้อยคําที่ปรารถนาจะกระทําหรือพูดให้ร้ายแก่ผู้อื่นแล้วย้อนกลับมาโดนตัวเอง, ไม่พ้นตัว เช่น พูดเข้าตัว. |
เข้าตา เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อา | เป็นคำกริยา หมายถึง เห็นว่าดีและพอใจ เช่น เข้าตากรรมการ. | เข้าตา ก. เห็นว่าดีและพอใจ เช่น เข้าตากรรมการ. |
เข้าตาจน เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อา-จอ-จาน-นอ-หนู | เป็นคำกริยา หมายถึง หมดทางไป, หมดทางที่จะแก้ไข, หมดหนทางหากิน. (มาจากภาษาหมากรุก). | เข้าตาจน ก. หมดทางไป, หมดทางที่จะแก้ไข, หมดหนทางหากิน. (มาจากภาษาหมากรุก). |
เข้าตามตรอกออกตามประตู เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อา-มอ-ม้า-ตอ-เต่า-รอ-เรือ-ออ-อ่าง-กอ-ไก่-ออ-อ่าง-ออ-อ่าง-กอ-ไก่-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อา-มอ-ม้า-ปอ-ปลา-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อู | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นสำนวน เป็นคำกริยา หมายถึง ทําตามธรรมเนียมในเรื่องการสู่ขอ. | เข้าตามตรอกออกตามประตู (สำ) ก. ทําตามธรรมเนียมในเรื่องการสู่ขอ. |
เข้าตาร้าย เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อา-รอ-เรือ-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-ยอ-ยัก | เป็นคำกริยา หมายถึง ถึงคราวเดือดร้อน. | เข้าตาร้าย ก. ถึงคราวเดือดร้อน. |
เข้าตำรา เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อำ-รอ-เรือ-สะ-หระ-อา | เป็นคำกริยา หมายถึง ถูกแบบแผน, ตรงตามแบบอย่างที่เคยมีมา, ถูกกับเรื่องราวที่เคยเล่ากันมา. | เข้าตำรา ก. ถูกแบบแผน, ตรงตามแบบอย่างที่เคยมีมา, ถูกกับเรื่องราวที่เคยเล่ากันมา. |
เข้าตู้ เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อู-ไม้-โท | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาปาก เป็นคำกริยา หมายถึง ลืมวิชาความรู้ที่ได้เรียนมา ใช้พูดว่า วิชาเข้าตู้ ซึ่งหมายความว่า วิชาที่เคยจําได้นั้นบัดนี้ลืมหมดแล้ว ยังคงอยู่แต่ในตําราที่เก็บไว้ในตู้. | เข้าตู้ (ปาก) ก. ลืมวิชาความรู้ที่ได้เรียนมา ใช้พูดว่า วิชาเข้าตู้ ซึ่งหมายความว่า วิชาที่เคยจําได้นั้นบัดนี้ลืมหมดแล้ว ยังคงอยู่แต่ในตําราที่เก็บไว้ในตู้. |
เข้าไต้เข้าไฟ เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ตอ-เต่า-ไม้-โท-สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ฟอ-ฟัน | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง เริ่มมืดต้องใช้แสงไฟ, พลบ, ใช้ว่า เวลาเข้าไต้เข้าไฟ. | เข้าไต้เข้าไฟ ว. เริ่มมืดต้องใช้แสงไฟ, พลบ, ใช้ว่า เวลาเข้าไต้เข้าไฟ. |
เข้าถ้ำ เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-ถอ-ถุง-ไม้-โท-สะ-หระ-อำ | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อตะเข็บเย็บผ้าชนิดหนึ่ง ซึ่งเย็บซ่อนตะเข็บไว้ข้างใน. | เข้าถ้ำ น. ชื่อตะเข็บเย็บผ้าชนิดหนึ่ง ซึ่งเย็บซ่อนตะเข็บไว้ข้างใน. |
เข้าถึง เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-ถอ-ถุง-สะ-หระ-อึ-งอ-งู | เป็นคำกริยา หมายถึง เข้าใจอย่างซาบซึ้ง เช่น เข้าถึงบท เข้าถึงวรรณคดี, เข้าใกล้ชิดสนิทสนมเพื่อจะได้รู้ซึ้งถึงชีวิตจิตใจและความต้องการเป็นต้น เช่น เข้าถึงประชาชน. | เข้าถึง ก. เข้าใจอย่างซาบซึ้ง เช่น เข้าถึงบท เข้าถึงวรรณคดี, เข้าใกล้ชิดสนิทสนมเพื่อจะได้รู้ซึ้งถึงชีวิตจิตใจและความต้องการเป็นต้น เช่น เข้าถึงประชาชน. |
เข้าเถื่อนอย่าลืมพร้า เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-เอ-ถอ-ถุง-สะ-หระ-อือ-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-นอ-หนู-ออ-อ่าง-ยอ-ยัก-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อือ-มอ-ม้า-พอ-พาน-รอ-เรือ-ไม้-โท-สะ-หระ-อา | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นสำนวน เป็นคำกริยา หมายถึง ให้มีความรอบคอบอย่าประมาท เช่นเดียวกับเวลาจะเข้าป่าจะต้องหามีดติดตัวไปด้วย. | เข้าเถื่อนอย่าลืมพร้า (สำ) ก. ให้มีความรอบคอบอย่าประมาท เช่นเดียวกับเวลาจะเข้าป่าจะต้องหามีดติดตัวไปด้วย. |
เข้าทรง เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-ทอ-ทะ-หาน-รอ-เรือ-งอ-งู | เป็นคำกริยา หมายถึง อาการที่เจ้าเข้าสิงในตัวคนทรง, มักใช้เข้าคู่กับคำ เข้าเจ้า เป็น เข้าเจ้าเข้าทรง. | เข้าทรง ก. อาการที่เจ้าเข้าสิงในตัวคนทรง, มักใช้เข้าคู่กับคำ เข้าเจ้า เป็น เข้าเจ้าเข้าทรง. |
เข้าท่า เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-ทอ-ทะ-หาน-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา | เป็นคำกริยา หมายถึง มีท่าทางดี, น่าดูไม่ขัดตา, เหมาะสม. | เข้าท่า ก. มีท่าทางดี, น่าดูไม่ขัดตา, เหมาะสม. |
เข้าทาง เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อา-งอ-งู | เป็นคำกริยา หมายถึง ตรงตามที่ต้องการ, ตรงตามที่ถนัด. | เข้าทาง ก. ตรงตามที่ต้องการ, ตรงตามที่ถนัด. |
เข้าที เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อี | เป็นคำกริยา หมายถึง มีท่วงทีดี, มีชั้นเชิงดี, มีท่าทีจะสําเร็จ. | เข้าที ก. มีท่วงทีดี, มีชั้นเชิงดี, มีท่าทีจะสําเร็จ. |
เข้าที่ เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อี-ไม้-เอก | เป็นคำกริยา หมายถึง นั่งภาวนากรรมฐาน (ทางพระศาสนา); กลับเหมือนเดิม เช่น ซ้อมจนเข้าที่; นอน ใช้ในราชาศัพท์ พูดเต็มว่า เข้าที่บรรทม. | เข้าที่ ก. นั่งภาวนากรรมฐาน (ทางพระศาสนา); กลับเหมือนเดิม เช่น ซ้อมจนเข้าที่; นอน ใช้ในราชาศัพท์ พูดเต็มว่า เข้าที่บรรทม. |
เข้าที่เข้าทาง เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อี-ไม้-เอก-สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อา-งอ-งู | เป็นคำกริยา หมายถึง จัดให้เป็นระเบียบ, จัดให้เรียบร้อย, เช่น จัดข้าวของให้เข้าที่เข้าทาง. | เข้าที่เข้าทาง ก. จัดให้เป็นระเบียบ, จัดให้เรียบร้อย, เช่น จัดข้าวของให้เข้าที่เข้าทาง. |
เข้าทุน เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อุ-นอ-หนู | เป็นคำกริยา หมายถึง รวมทุนกันเพื่อทํากิจการอย่างใดอย่างหนึ่ง. | เข้าทุน ก. รวมทุนกันเพื่อทํากิจการอย่างใดอย่างหนึ่ง. |
เข้านอกออกใน เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-นอ-หนู-ออ-อ่าง-กอ-ไก่-ออ-อ่าง-ออ-อ่าง-กอ-ไก่-สะ-หระ-ไอ-ไม้-ม้วน-นอ-หนู | เป็นคำกริยา หมายถึง สนิทสนมกับเจ้าของสถานที่เป็นพิเศษ จนสามารถเข้าไปถึงข้างในได้ตลอดเวลา. | เข้านอกออกใน ก. สนิทสนมกับเจ้าของสถานที่เป็นพิเศษ จนสามารถเข้าไปถึงข้างในได้ตลอดเวลา. |
เข้าเนื้อ เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-เอ-นอ-หนู-สะ-หระ-อือ-ไม้-โท-ออ-อ่าง | เป็นคำกริยา หมายถึง ขาดทุน, เสียทรัพย์ไป; เสียหาย, เสียเปรียบ, เช่น พูดให้เข้าเนื้อ; เข้าเลือด หรือ เข้าเลือดเข้าเนื้อ ก็ว่า. | เข้าเนื้อ ก. ขาดทุน, เสียทรัพย์ไป; เสียหาย, เสียเปรียบ, เช่น พูดให้เข้าเนื้อ; เข้าเลือด หรือ เข้าเลือดเข้าเนื้อ ก็ว่า. |
เข้าแบบ, เข้าแบบเข้าแผน เข้าแบบ เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-แอ-บอ-ไบ-ไม้-บอ-ไบ-ไม้ เข้าแบบเข้าแผน เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-แอ-บอ-ไบ-ไม้-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-แอ-ผอ-ผึ้ง-นอ-หนู | เป็นคำกริยา หมายถึง ถูกต้องตามแบบแผน, เป็นไปตามแบบ เช่น ตัวละครเข้าแบบ. | เข้าแบบ, เข้าแบบเข้าแผน ก. ถูกต้องตามแบบแผน, เป็นไปตามแบบ เช่น ตัวละครเข้าแบบ. |
เข้าปก เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-ปอ-ปลา-กอ-ไก่ | เป็นคำกริยา หมายถึง เย็บปกหนังสือ. | เข้าปก ก. เย็บปกหนังสือ. |
เข้าปริวาส, เข้าปริวาสกรรม เข้าปริวาส เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-ปอ-ปลา-รอ-เรือ-สะ-หระ-อิ-วอ-แหวน-สะ-หระ-อา-สอ-เสือ เข้าปริวาสกรรม เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-ปอ-ปลา-รอ-เรือ-สะ-หระ-อิ-วอ-แหวน-สะ-หระ-อา-สอ-เสือ-กอ-ไก่-รอ-เรือ-รอ-เรือ-มอ-ม้า | เป็นคำกริยา หมายถึง เข้าปฏิบัติปริวาสกรรมให้ครบตามวันที่กำหนด (ใช้แก่ภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส), อยู่กรรม หรือ อยู่ปริวาส ก็ว่า. | เข้าปริวาส, เข้าปริวาสกรรม ก. เข้าปฏิบัติปริวาสกรรมให้ครบตามวันที่กำหนด (ใช้แก่ภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส), อยู่กรรม หรือ อยู่ปริวาส ก็ว่า. |
เข้าปากไม้ เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-ปอ-ปลา-สะ-หระ-อา-กอ-ไก่-สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-มอ-ม้า-ไม้-โท | เป็นคำกริยา หมายถึง นำไม้ตั้งแต่ ๒ ชิ้นมาบากหรือเจาะตรงปลายแล้วประกอบเข้าด้วยกัน ใช้ลูกสลักไม้หรือปลิงเหล็กยึดปลายนั้นให้แน่น. | เข้าปากไม้ ก. นำไม้ตั้งแต่ ๒ ชิ้นมาบากหรือเจาะตรงปลายแล้วประกอบเข้าด้วยกัน ใช้ลูกสลักไม้หรือปลิงเหล็กยึดปลายนั้นให้แน่น. |
เข้าปิ้ง เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-ปอ-ปลา-สะ-หระ-อิ-ไม้-โท-งอ-งู | เป็นคำกริยา หมายถึง อาการที่ว่าวปักเป้าติดสายป่านว่าวจุฬาแล้วกระดิกไม่ไหว; อยู่ในความลําบากแก้ไขยาก, ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาปาก หมายถึง ถูกจับกุมคุมขัง, เข้าข่ายมีความผิดไปด้วย. | เข้าปิ้ง ก. อาการที่ว่าวปักเป้าติดสายป่านว่าวจุฬาแล้วกระดิกไม่ไหว; อยู่ในความลําบากแก้ไขยาก, (ปาก) ถูกจับกุมคุมขัง, เข้าข่ายมีความผิดไปด้วย. |
เข้าปีก เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-ปอ-ปลา-สะ-หระ-อี-กอ-ไก่ | เป็นคำกริยา หมายถึง อาการที่เอาต้นแขนของคนเมาเป็นต้นขึ้นพาดบ่าพยุงไป. | เข้าปีก ก. อาการที่เอาต้นแขนของคนเมาเป็นต้นขึ้นพาดบ่าพยุงไป. |
เข้าไป เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ปอ-ปลา | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ใช้ประกอบกิริยาแสดงการหนุนให้ทํา เช่น เตะเข้าไป กินเข้าไป. | เข้าไป ว. ใช้ประกอบกิริยาแสดงการหนุนให้ทํา เช่น เตะเข้าไป กินเข้าไป. |
เข้าผี เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-ผอ-ผึ้ง-สะ-หระ-อี | เป็นคำกริยา หมายถึง ทําพิธีให้ผีเข้าสิงในตัว. | เข้าผี ก. ทําพิธีให้ผีเข้าสิงในตัว. |
เข้าผู้เข้าคน เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-ผอ-ผึ้ง-สะ-หระ-อู-ไม้-โท-สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-คอ-ควาย-นอ-หนู | เป็นคำกริยา หมายถึง ติดต่อกับคนอื่น ๆ ได้ดี. | เข้าผู้เข้าคน ก. ติดต่อกับคนอื่น ๆ ได้ดี. |
เข้าฝัก เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-ฝอ-ฝา-ไม้-หัน-อา-กาด-กอ-ไก่ | เป็นคำกริยา หมายถึง ชํานาญจนอยู่ตัวแล้ว. | เข้าฝัก ก. ชํานาญจนอยู่ตัวแล้ว. |
เข้าฝัน เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-ฝอ-ฝา-ไม้-หัน-อา-กาด-นอ-หนู | เป็นคำกริยา หมายถึง มาบันดาลให้ฝันเห็น. | เข้าฝัน ก. มาบันดาลให้ฝันเห็น. |
เข้าเฝ้า เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-เอ-ฝอ-ฝา-ไม้-โท-สะ-หระ-อา | เป็นคำกริยา หมายถึง ไปหาเจ้านาย. | เข้าเฝ้า ก. ไปหาเจ้านาย. |
เข้าเฝือก เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-เอ-ฝอ-ฝา-สะ-หระ-อือ-ออ-อ่าง-กอ-ไก่ | เป็นคำกริยา หมายถึง เอาเฝือกประกับแขนหรือขาเป็นต้นที่เดาะหักเพื่อให้ปรกติ. | เข้าเฝือก ก. เอาเฝือกประกับแขนหรือขาเป็นต้นที่เดาะหักเพื่อให้ปรกติ. |
เข้าพกเข้าห่อ เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-พอ-พาน-กอ-ไก่-สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-หอ-หีบ-ไม้-เอก-ออ-อ่าง | เป็นคำกริยา หมายถึง เอาไว้เป็นส่วนของตัว, รู้จักเก็บไว้บ้าง, รู้จักเก็บไม่ใช้สุรุ่ยสุร่าย. | เข้าพกเข้าห่อ ก. เอาไว้เป็นส่วนของตัว, รู้จักเก็บไว้บ้าง, รู้จักเก็บไม่ใช้สุรุ่ยสุร่าย. |
เข้าพรรษา เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-พอ-พาน-รอ-เรือ-รอ-เรือ-สอ-รือ-สี-สะ-หระ-อา | เป็นคำนาม หมายถึง เรียกวันที่พระสงฆ์เริ่มเข้าจําพรรษา คือ วันแรม ๑ คํ่า เดือน ๘ ว่า วันเข้าพรรษา. เป็นคำกริยา หมายถึง เข้าอยู่ประจําที่ ๓ เดือนในฤดูฝน (ใช้แก่พระสงฆ์). | เข้าพรรษา น. เรียกวันที่พระสงฆ์เริ่มเข้าจําพรรษา คือ วันแรม ๑ คํ่า เดือน ๘ ว่า วันเข้าพรรษา. ก. เข้าอยู่ประจําที่ ๓ เดือนในฤดูฝน (ใช้แก่พระสงฆ์). |
เข้าพระเข้านาง เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-พอ-พาน-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-นอ-หนู-สะ-หระ-อา-งอ-งู | เป็นคำกริยา หมายถึง แสดงบทเกี้ยวพาราสี. | เข้าพระเข้านาง ก. แสดงบทเกี้ยวพาราสี. |
เข้าพุง เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-พอ-พาน-สะ-หระ-อุ-งอ-งู | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาปาก เป็นคำกริยา หมายถึง (โบ) จําได้แม่นยําจนไม่ต้องอาศัยตําราสอบทาน; ใช้ในความว่า ลืมความรู้ที่ได้เล่าเรียนมาหมด ก็มี. | เข้าพุง (ปาก) ก. (โบ) จําได้แม่นยําจนไม่ต้องอาศัยตําราสอบทาน; ใช้ในความว่า ลืมความรู้ที่ได้เล่าเรียนมาหมด ก็มี. |
เข้าม่าน เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-มอ-ม้า-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา-นอ-หนู | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง. | เข้าม่าน น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง. |
เข้ามุม เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-มอ-ม้า-สะ-หระ-อุ-มอ-ม้า | เป็นคำกริยา หมายถึง นำไม้ ๒ ชิ้นมาประกอบเป็นมุม โดยตกแต่งอันหนึ่งให้เป็นเดือยรูปสามเหลี่ยม ๒ เดือย ส่วนอีกอันหนึ่งเจาะให้เป็นช่องรูปสามเหลี่ยม ๒ ช่อง มีขนาดพอที่จะสวมกันได้สนิท. | เข้ามุม ก. นำไม้ ๒ ชิ้นมาประกอบเป็นมุม โดยตกแต่งอันหนึ่งให้เป็นเดือยรูปสามเหลี่ยม ๒ เดือย ส่วนอีกอันหนึ่งเจาะให้เป็นช่องรูปสามเหลี่ยม ๒ ช่อง มีขนาดพอที่จะสวมกันได้สนิท. |
เข้าเมืองตาหลิ่วต้องหลิ่วตาตาม เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-เอ-มอ-ม้า-สะ-หระ-อือ-ออ-อ่าง-งอ-งู-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อา-หอ-หีบ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อิ-ไม้-เอก-วอ-แหวน-ตอ-เต่า-ไม้-โท-ออ-อ่าง-งอ-งู-หอ-หีบ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อิ-ไม้-เอก-วอ-แหวน-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อา-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อา-มอ-ม้า | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นสำนวน เป็นคำกริยา หมายถึง ประพฤติตนตามที่คนส่วนใหญ่ประพฤติกัน. | เข้าเมืองตาหลิ่วต้องหลิ่วตาตาม (สำ) ก. ประพฤติตนตามที่คนส่วนใหญ่ประพฤติกัน. |
เข้าไม้ เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-มอ-ม้า-ไม้-โท | เป็นคำกริยา หมายถึง นําไม้ตั้งแต่ ๒ ชิ้นขึ้นไปมาบากรับแล้วประกอบเข้าด้วยกัน ยึดไม้นั้นให้แน่นอยู่ในรูปแบบที่ต้องการด้วยการตอกตะปูหรือตอกอัดด้วยลูกสลักไม้ การต่อหรือประกอบอาจทำได้หลายวิธี. | เข้าไม้ ก. นําไม้ตั้งแต่ ๒ ชิ้นขึ้นไปมาบากรับแล้วประกอบเข้าด้วยกัน ยึดไม้นั้นให้แน่นอยู่ในรูปแบบที่ต้องการด้วยการตอกตะปูหรือตอกอัดด้วยลูกสลักไม้ การต่อหรือประกอบอาจทำได้หลายวิธี. |
เข้ายา เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา | เป็นคำกริยา หมายถึง เป็นประโยชน์, ใช้การได้, เปรียบกับวัตถุหรือพืชที่ทํายาได้. | เข้ายา ก. เป็นประโยชน์, ใช้การได้, เปรียบกับวัตถุหรือพืชที่ทํายาได้. |
เข้ารกเข้าพง เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-รอ-เรือ-กอ-ไก่-สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-พอ-พาน-งอ-งู | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นสำนวน เป็นคำกริยา หมายถึง พูดหรือทําไม่ถูกต้องกับเรื่อง เพราะขาดความชํานาญในเรื่องนั้น. | เข้ารกเข้าพง (สำ) ก. พูดหรือทําไม่ถูกต้องกับเรื่อง เพราะขาดความชํานาญในเรื่องนั้น. |
เข้ารหัส เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-รอ-เรือ-หอ-หีบ-ไม้-หัน-อา-กาด-สอ-เสือ | เป็นคำกริยา หมายถึง เปลี่ยนสารธรรมดาให้เป็นสารลับด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง เช่น เปลี่ยนตัวอักษรอื่นแทนอักษรที่ต้องการจะใช้ หรือสลับตําแหน่งอักษรของข้อความนั้น หรือใช้สัญลักษณ์แทนซึ่งรู้กันเฉพาะผู้ที่รู้กุญแจรหัสเท่านั้น. | เข้ารหัส ก. เปลี่ยนสารธรรมดาให้เป็นสารลับด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง เช่น เปลี่ยนตัวอักษรอื่นแทนอักษรที่ต้องการจะใช้ หรือสลับตําแหน่งอักษรของข้อความนั้น หรือใช้สัญลักษณ์แทนซึ่งรู้กันเฉพาะผู้ที่รู้กุญแจรหัสเท่านั้น. |
เข้าร่องเข้ารอย, เข้ารอย เข้าร่องเข้ารอย เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-รอ-เรือ-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-งอ-งู-สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-รอ-เรือ-ออ-อ่าง-ยอ-ยัก เข้ารอย เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-รอ-เรือ-ออ-อ่าง-ยอ-ยัก | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ถูกทาง. | เข้าร่องเข้ารอย, เข้ารอย ว. ถูกทาง. |
เข้ารอบ เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-รอ-เรือ-ออ-อ่าง-บอ-ไบ-ไม้ | เป็นคำกริยา หมายถึง เข้าเกณฑ์ที่กําหนดไว้, ได้รับคัดเลือกไว้. | เข้ารอบ ก. เข้าเกณฑ์ที่กําหนดไว้, ได้รับคัดเลือกไว้. |
เข้ารางลิ้น เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-รอ-เรือ-สะ-หระ-อา-งอ-งู-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อิ-ไม้-โท-นอ-หนู | เป็นคำกริยา หมายถึง นำไม้อันหนึ่งที่ทำให้เป็นร่องยาวมาประกบกับไม้อีกอันหนึ่งที่ทำให้เป็นลิ้นยาวไปตามตัวไม้ให้เข้ากันสนิทพอดี, พูดสั้น ๆ ว่า เข้าลิ้น. | เข้ารางลิ้น ก. นำไม้อันหนึ่งที่ทำให้เป็นร่องยาวมาประกบกับไม้อีกอันหนึ่งที่ทำให้เป็นลิ้นยาวไปตามตัวไม้ให้เข้ากันสนิทพอดี, พูดสั้น ๆ ว่า เข้าลิ้น. |
เข้าร้าย เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-รอ-เรือ-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-ยอ-ยัก | ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ เป็นคำกริยา หมายถึง ตกอยู่ในฐานะไม่ดี. | เข้าร้าย (โบ) ก. ตกอยู่ในฐานะไม่ดี. |
เข้ารีต เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-รอ-เรือ-สะ-หระ-อี-ตอ-เต่า | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง เปลี่ยนไปถือศาสนาอื่น. เป็นคำนาม หมายถึง เรียกผู้เปลี่ยนไปถือคริสต์ศาสนาส่วนใหญ่เป็นนิกายโรมันคาทอลิกว่า ผู้เข้ารีต เช่น ญวนเข้ารีต. | เข้ารีต ว. เปลี่ยนไปถือศาสนาอื่น. น. เรียกผู้เปลี่ยนไปถือคริสต์ศาสนาส่วนใหญ่เป็นนิกายโรมันคาทอลิกว่า ผู้เข้ารีต เช่น ญวนเข้ารีต. |
เข้ารูป เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-รอ-เรือ-สะ-หระ-อู-ปอ-ปลา | เป็นคำกริยา หมายถึง พอเหมาะ, พอดีตัว, เช่น เสื้อเข้ารูป. | เข้ารูป ก. พอเหมาะ, พอดีตัว, เช่น เสื้อเข้ารูป. |
เข้ารูปเข้ารอย เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-รอ-เรือ-สะ-หระ-อู-ปอ-ปลา-สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-รอ-เรือ-ออ-อ่าง-ยอ-ยัก | เป็นคำกริยา หมายถึง ถูกกับแบบแผน. | เข้ารูปเข้ารอย ก. ถูกกับแบบแผน. |
เข้าเรื่อง เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-เอ-รอ-เรือ-สะ-หระ-อือ-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-งอ-งู | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ตรงประเด็นของเรื่อง; มีสาระ, ได้เรื่องได้ราว; มักใช้ในความปฏิเสธ เช่น พูดไม่เข้าเรื่อง ทำไม่เข้าเรื่อง. | เข้าเรื่อง ว. ตรงประเด็นของเรื่อง; มีสาระ, ได้เรื่องได้ราว; มักใช้ในความปฏิเสธ เช่น พูดไม่เข้าเรื่อง ทำไม่เข้าเรื่อง. |
เข้าโรง เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-โอ-รอ-เรือ-งอ-งู | เป็นคำกริยา หมายถึง กลับเข้าไปหลังฉากเมื่อตัวละครแสดงจบบทแล้ว. | เข้าโรง ก. กลับเข้าไปหลังฉากเมื่อตัวละครแสดงจบบทแล้ว. |
เข้าล็อก เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-ลอ-ลิง-ไม้-ไต่-คู้-ออ-อ่าง-กอ-ไก่ | เป็นคำกริยา หมายถึง เป็นไปตามที่คาดหมาย. | เข้าล็อก ก. เป็นไปตามที่คาดหมาย. |
เข้าลิ้น เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อิ-ไม้-โท-นอ-หนู | เป็นคำกริยา หมายถึง นำไม้อันหนึ่งที่ทำให้เป็นร่องยาวมาประกบกับไม้อีกอันหนึ่งที่ทำให้เป็นลิ้นยาวไปตามตัวไม้ให้เข้ากันสนิทพอดี, พูดเต็มว่า เข้ารางลิ้น. | เข้าลิ้น ก. นำไม้อันหนึ่งที่ทำให้เป็นร่องยาวมาประกบกับไม้อีกอันหนึ่งที่ทำให้เป็นลิ้นยาวไปตามตัวไม้ให้เข้ากันสนิทพอดี, พูดเต็มว่า เข้ารางลิ้น. |
เข้าลิลิต เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อิ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อิ-ตอ-เต่า | เป็นคำกริยา หมายถึง สัมผัสคำระหว่างบทตามแบบการแต่งลิลิตที่กำหนดไว้ในตำราฉันทลักษณ์ เช่นคำ สม กับ สนม ในตัวอย่างต่อไปนี้ จำใจจรจากสร้อย อยู่แม่อย่าละห้อย สามสนมสนองนารถไท้ ทูลสาร | เข้าลิลิต ก. สัมผัสคำระหว่างบทตามแบบการแต่งลิลิตที่กำหนดไว้ในตำราฉันทลักษณ์ เช่นคำ สม กับ สนม ในตัวอย่างต่อไปนี้ จำใจจรจากสร้อย อยู่แม่อย่าละห้อย สามสนมสนองนารถไท้ ทูลสาร |
เข้าเล่ม เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-เอ-ลอ-ลิง-ไม้-เอก-มอ-ม้า | เป็นคำกริยา หมายถึง เรียงหน้าหนังสือให้เป็นลําดับเพื่อเย็บเป็นเล่ม เรียกว่า เข้าเล่มหนังสือ. | เข้าเล่ม ก. เรียงหน้าหนังสือให้เป็นลําดับเพื่อเย็บเป็นเล่ม เรียกว่า เข้าเล่มหนังสือ. |
เข้าเลือด, เข้าเลือดเข้าเนื้อ เข้าเลือด เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-เอ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อือ-ออ-อ่าง-ดอ-เด็ก เข้าเลือดเข้าเนื้อ เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-เอ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อือ-ออ-อ่าง-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-เอ-นอ-หนู-สะ-หระ-อือ-ไม้-โท-ออ-อ่าง | เป็นคำกริยา หมายถึง เข้าเนื้อ. | เข้าเลือด, เข้าเลือดเข้าเนื้อ ก. เข้าเนื้อ. |
เข้าโลง เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-โอ-ลอ-ลิง-งอ-งู | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาปาก เป็นคำกริยา หมายถึง ตาย. | เข้าโลง (ปาก) ก. ตาย. |
เข้าวัดเข้าวา เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-วอ-แหวน-ไม้-หัน-อา-กาด-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-วอ-แหวน-สะ-หระ-อา | เป็นคำกริยา หมายถึง ไปวัดเพื่อฟังเทศน์ฟังธรรม, ไปอยู่ที่วัดเพื่อปฏิบัติธรรม, ประพฤติตนอยู่ในศีลในธรรม. | เข้าวัดเข้าวา ก. ไปวัดเพื่อฟังเทศน์ฟังธรรม, ไปอยู่ที่วัดเพื่อปฏิบัติธรรม, ประพฤติตนอยู่ในศีลในธรรม. |
เข้าว่า เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-วอ-แหวน-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง เป็นสำคัญ เช่น เอามากเข้าว่า. | เข้าว่า ว. เป็นสำคัญ เช่น เอามากเข้าว่า. |
เข้าเวร เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-เอ-วอ-แหวน-รอ-เรือ | เป็นคำกริยา หมายถึง เข้าอยู่รักษาหน้าที่ตามเวลาที่กะกันไว้. | เข้าเวร ก. เข้าอยู่รักษาหน้าที่ตามเวลาที่กะกันไว้. |
เข้าแว่น เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-แอ-วอ-แหวน-ไม้-เอก-นอ-หนู | เป็นคำกริยา หมายถึง ถึงวัยหรือเวลาที่ต้องสวมแว่นตา. | เข้าแว่น ก. ถึงวัยหรือเวลาที่ต้องสวมแว่นตา. |
เข้าเศียร เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-เอ-สอ-สา-ลา-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก-รอ-เรือ | เป็นคำกริยา หมายถึง เอาไพ่ตอง ๓ ใบพวกเดียวกันแต่ไม่เหมือนกันมาเข้าชุดกันเป็น ๑ เศียร. | เข้าเศียร ก. เอาไพ่ตอง ๓ ใบพวกเดียวกันแต่ไม่เหมือนกันมาเข้าชุดกันเป็น ๑ เศียร. |
เข้าสมาธิ เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-สอ-เสือ-มอ-ม้า-สะ-หระ-อา-ทอ-ทง-สะ-หระ-อิ | [สะมาทิ] เป็นคำกริยา หมายถึง ทําจิตให้แน่วแน่อย่างเข้าฌาน. | เข้าสมาธิ [สะมาทิ] ก. ทําจิตให้แน่วแน่อย่างเข้าฌาน. |
เข้าสิง เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-สอ-เสือ-สะ-หระ-อิ-งอ-งู | เป็นคำกริยา หมายถึง อาการที่เชื่อกันว่าผีเข้าแทรกอยู่ในตัวคน เช่น เขาถูกผีเข้าสิง, โดยปริยายหมายความว่า ครอบงำ เช่น เขาถูกผีการพนันเข้าสิง. | เข้าสิง ก. อาการที่เชื่อกันว่าผีเข้าแทรกอยู่ในตัวคน เช่น เขาถูกผีเข้าสิง, โดยปริยายหมายความว่า ครอบงำ เช่น เขาถูกผีการพนันเข้าสิง. |
เข้าสุหนัต เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-สอ-เสือ-สะ-หระ-อุ-หอ-หีบ-นอ-หนู-ไม้-หัน-อา-กาด-ตอ-เต่า | เป็นคำกริยา หมายถึง เข้าพิธีขริบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายตามข้อกำหนดในศาสนาอิสลาม. | เข้าสุหนัต ก. เข้าพิธีขริบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายตามข้อกำหนดในศาสนาอิสลาม. |
เข้าใส่ เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-ไอ-ไม้-ม้วน-สอ-เสือ-ไม้-เอก | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ตรงเข้าไปโดยเร็ว เช่น กรากเข้าใส่ รี่เข้าใส่. | เข้าใส่ ว. ตรงเข้าไปโดยเร็ว เช่น กรากเข้าใส่ รี่เข้าใส่. |
เข้าไส้ เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-สอ-เสือ-ไม้-โท | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาปาก เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ถึงอกถึงใจ เช่น นักมวยคู่นี้ชกกันมันเข้าไส้; มากที่สุด เช่น เกลียดเข้าไส้. | เข้าไส้ (ปาก) ว. ถึงอกถึงใจ เช่น นักมวยคู่นี้ชกกันมันเข้าไส้; มากที่สุด เช่น เกลียดเข้าไส้. |
เข้าหน้า เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-หอ-หีบ-นอ-หนู-ไม้-โท-สะ-หระ-อา | เป็นคำกริยา หมายถึง เผชิญหน้า เช่น ไม่กล้าเข้าหน้า. | เข้าหน้า ก. เผชิญหน้า เช่น ไม่กล้าเข้าหน้า. |
เข้าหม้อ เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-หอ-หีบ-มอ-ม้า-ไม้-โท-ออ-อ่าง | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาปาก เป็นคำกริยา หมายถึง ลืมวิชาความรู้ที่ได้เรียนมา. | เข้าหม้อ (ปาก) ก. ลืมวิชาความรู้ที่ได้เรียนมา. |
เข้าหลัก เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-หอ-หีบ-ลอ-ลิง-ไม้-หัน-อา-กาด-กอ-ไก่ | เป็นคำกริยา หมายถึง ถูกแบบ, ถูกตํารา, บางทีใช้ว่า เข้าหลักเข้าเกณฑ์. | เข้าหลัก ก. ถูกแบบ, ถูกตํารา, บางทีใช้ว่า เข้าหลักเข้าเกณฑ์. |
เข้าหา เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-หอ-หีบ-สะ-หระ-อา | เป็นคำกริยา หมายถึง ไปให้เห็นหน้า, ไปอ่อนน้อม เช่น เรื่องนี้ต้องเข้าหาผู้ใหญ่; ลอบเข้าห้องหญิงเพื่อการชู้สาว. | เข้าหา ก. ไปให้เห็นหน้า, ไปอ่อนน้อม เช่น เรื่องนี้ต้องเข้าหาผู้ใหญ่; ลอบเข้าห้องหญิงเพื่อการชู้สาว. |
เข้าหุ้น เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-หอ-หีบ-สะ-หระ-อุ-ไม้-โท-นอ-หนู | เป็นคำกริยา หมายถึง รวมทุนเข้าด้วยกันเพื่อหาผลประโยชน์. | เข้าหุ้น ก. รวมทุนเข้าด้วยกันเพื่อหาผลประโยชน์. |
เข้าหู เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-หอ-หีบ-สะ-หระ-อู | เป็นคำกริยา หมายถึง มาให้ได้ยิน (ใช้สําหรับเรื่องราวหรือข่าวคราว) เช่น เรื่องนี้เข้าหูฉันบ่อย ๆ. เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง น่าฟัง (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น พูดไม่เข้าหู. | เข้าหู ก. มาให้ได้ยิน (ใช้สําหรับเรื่องราวหรือข่าวคราว) เช่น เรื่องนี้เข้าหูฉันบ่อย ๆ. ว. น่าฟัง (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น พูดไม่เข้าหู. |
เข้าหูซ้ายทะลุหูขวา เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-หอ-หีบ-สะ-หระ-อู-ซอ-โซ่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-ยอ-ยัก-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อะ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อุ-หอ-หีบ-สะ-หระ-อู-ขอ-ไข่-วอ-แหวน-สะ-หระ-อา | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นสำนวน เป็นคำกริยา หมายถึง บอกหรือสอนไม่ได้ผล. | เข้าหูซ้ายทะลุหูขวา (สำ) ก. บอกหรือสอนไม่ได้ผล. |
เข้าให้ เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-ไอ-ไม้-ม้วน-หอ-หีบ-ไม้-โท | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง เน้นความเพื่อแสดงกริยาข้างหน้าให้มีนํ้าหนักขึ้นและเฉพาะเจาะจง เช่น ด่าเข้าให้ ชกเข้าให้. | เข้าให้ ว. เน้นความเพื่อแสดงกริยาข้างหน้าให้มีนํ้าหนักขึ้นและเฉพาะเจาะจง เช่น ด่าเข้าให้ ชกเข้าให้. |
เข้าไหนเข้าได้ เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-หอ-หีบ-นอ-หนู-สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ดอ-เด็ก-ไม้-โท | เป็นคำกริยา หมายถึง สามารถติดต่อหรือคบหาสมาคมกับใคร ๆ ได้. | เข้าไหนเข้าได้ ก. สามารถติดต่อหรือคบหาสมาคมกับใคร ๆ ได้. |
เข้า เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา ความหมายที่ ๒ | ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ เป็นคำนาม หมายถึง ข้าว; ขวบปี. | เข้า ๒ (โบ) น. ข้าว; ขวบปี. |
เขากวาง เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-สะ-หระ-อา-กอ-ไก่-วอ-แหวน-สะ-หระ-อา-งอ-งู ความหมายที่ ๑ | ดูใน เขา เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-สะ-หระ-อา ความหมายที่ ๒. | เขากวาง ๑ ดูใน เขา ๒. |
เขากวาง เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-สะ-หระ-อา-กอ-ไก่-วอ-แหวน-สะ-หระ-อา-งอ-งู ความหมายที่ ๒ | ดู ปะการัง เขียนว่า ปอ-ปลา-สะ-หระ-อะ-กอ-ไก่-สะ-หระ-อา-รอ-เรือ-ไม้-หัน-อา-กาด-งอ-งู. | เขากวาง ๒ ดู ปะการัง. |
เขาแกะ เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-แอ-กอ-ไก่-สะ-หระ-อะ | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อกล้วยไม้ชนิด Rhynchostylis coelestis Rchb.f. ในวงศ์ Orchidaceae ใบโค้ง ๆ คล้ายเขาแกะ ดอกสีฟ้าอมม่วง. | เขาแกะ น. ชื่อกล้วยไม้ชนิด Rhynchostylis coelestis Rchb.f. ในวงศ์ Orchidaceae ใบโค้ง ๆ คล้ายเขาแกะ ดอกสีฟ้าอมม่วง. |
เข้าหมิ้น เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-หอ-หีบ-มอ-ม้า-สะ-หระ-อิ-ไม้-โท-นอ-หนู | ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ เป็นคำนาม หมายถึง ขมิ้น. | เข้าหมิ้น (โบ) น. ขมิ้น. |
เขิง เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-สะ-หระ-อิ-งอ-งู | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาถิ่นภาคอีสาน เป็นคำนาม หมายถึง เครื่องสานสําหรับร่อนสิ่งของหรือช้อนกุ้งปลาเป็นต้น มีลักษณะเป็นรูปกลม ก้นลึก ช่องตาถี่, ภาคกลางเรียกว่า ตะแกรง. | เขิง (ถิ่นอีสาน) น. เครื่องสานสําหรับร่อนสิ่งของหรือช้อนกุ้งปลาเป็นต้น มีลักษณะเป็นรูปกลม ก้นลึก ช่องตาถี่, ภาคกลางเรียกว่า ตะแกรง. |
เขิน เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-สะ-หระ-อิ-นอ-หนู ความหมายที่ ๑ | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อคนไทยใหญ่เผ่าหนึ่ง ส่วนมากอยู่ในแคว้นฉาน ประเทศพม่า; เครื่องสานที่ทำจากผิวไม้ไผ่ซึ่งนำมาเรียดแล้วทำเป็นโครง ฉาบด้วยรักสมุกหรือรักชาดเพื่อกันน้ำรั่วซึม ไทยได้รับวิธีการทำมาจากไทยเขินซึ่งอยู่ในยูนนานตอนใต้ จึงเรียกว่า เครื่องเขิน. | เขิน ๑ น. ชื่อคนไทยใหญ่เผ่าหนึ่ง ส่วนมากอยู่ในแคว้นฉาน ประเทศพม่า; เครื่องสานที่ทำจากผิวไม้ไผ่ซึ่งนำมาเรียดแล้วทำเป็นโครง ฉาบด้วยรักสมุกหรือรักชาดเพื่อกันน้ำรั่วซึม ไทยได้รับวิธีการทำมาจากไทยเขินซึ่งอยู่ในยูนนานตอนใต้ จึงเรียกว่า เครื่องเขิน. |
เขิน เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-สะ-หระ-อิ-นอ-หนู ความหมายที่ ๒ | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ตื้นสูงเป็นเนินขึ้นมา (ใช้แก่พื้นที่ในแม่นํ้า ลําคลอง หนอง บึง เป็นต้น), มักใช้ว่า ตื้นเขิน เช่น แม่นํ้าตื้นเขิน; สั้นหรือสูงเกินไปจนดูขัดตา เช่น นุ่งผ้าเขิน. | เขิน ๒ ว. ตื้นสูงเป็นเนินขึ้นมา (ใช้แก่พื้นที่ในแม่นํ้า ลําคลอง หนอง บึง เป็นต้น), มักใช้ว่า ตื้นเขิน เช่น แม่นํ้าตื้นเขิน; สั้นหรือสูงเกินไปจนดูขัดตา เช่น นุ่งผ้าเขิน. |
เขิน ๓, เขิน ๆ เขิน ความหมายที่ ๓ เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-สะ-หระ-อิ-นอ-หนู เขิน ๆ เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-สะ-หระ-อิ-นอ-หนู ไม้-ยะ-มก | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง วางหน้าไม่สนิท, รู้สึกกระดากอาย; เข้ากันไม่สนิท เช่น ข้อความตอนนี้ฟังเขิน ๆ อยู่. | เขิน ๓, เขิน ๆ ว. วางหน้าไม่สนิท, รู้สึกกระดากอาย; เข้ากันไม่สนิท เช่น ข้อความตอนนี้ฟังเขิน ๆ อยู่. |
เขิบ เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-สะ-หระ-อิ-บอ-ไบ-ไม้ | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาเฉพาะถิ่น เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ดอน, เขิน. | เขิบ (ถิ่น) ว. ดอน, เขิน. |
เขี่ย เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-สะ-หระ-อี-ไม้-เอก-ยอ-ยัก | เป็นคำกริยา หมายถึง ใช้ไม้หรือสิ่งอื่น ๆ ทําให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งเคลื่อนที่ไป เช่น เขี่ยฟุตบอล เขี่ยสวะ; ค่อย ๆ สะกิดออก เช่น เขี่ยผงที่ลูกตา เอาก้านพลูเขี่ยตา; สะกิด เช่น เอานิ้วเขี่ยหลัง; คุ้ยเขี่ยให้ไฟกลับลุกขึ้นอีก เช่น เขี่ยขี้ไต้ เขี่ยขี้เถ้า, เอานิ้วเคาะหรือดีดบุหรี่หรือเอาบุหรี่เคาะที่สิ่งอื่นเพื่อให้ขี้บุหรี่ร่วง เรียกว่า เขี่ยบุหรี่; ขีดไปขีดมาหรือปัดไปปัดมาเพื่อให้กระจายออก เช่น เขี่ยดินเพื่อหาของที่ตกอยู่ในดิน ไก่เขี่ยดินหาอาหาร; ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาปาก หมายถึง เขียนหรือวาดอย่างหวัด ๆ เช่น ช่วยเขี่ย ๆ ประวัติเรื่องนี้ให้หน่อยเถอะ ลายมือเป็นไก่เขี่ย; ปัดไปให้พ้น เช่น ถูกเขี่ยออกไป. | เขี่ย ก. ใช้ไม้หรือสิ่งอื่น ๆ ทําให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งเคลื่อนที่ไป เช่น เขี่ยฟุตบอล เขี่ยสวะ; ค่อย ๆ สะกิดออก เช่น เขี่ยผงที่ลูกตา เอาก้านพลูเขี่ยตา; สะกิด เช่น เอานิ้วเขี่ยหลัง; คุ้ยเขี่ยให้ไฟกลับลุกขึ้นอีก เช่น เขี่ยขี้ไต้ เขี่ยขี้เถ้า, เอานิ้วเคาะหรือดีดบุหรี่หรือเอาบุหรี่เคาะที่สิ่งอื่นเพื่อให้ขี้บุหรี่ร่วง เรียกว่า เขี่ยบุหรี่; ขีดไปขีดมาหรือปัดไปปัดมาเพื่อให้กระจายออก เช่น เขี่ยดินเพื่อหาของที่ตกอยู่ในดิน ไก่เขี่ยดินหาอาหาร; (ปาก) เขียนหรือวาดอย่างหวัด ๆ เช่น ช่วยเขี่ย ๆ ประวัติเรื่องนี้ให้หน่อยเถอะ ลายมือเป็นไก่เขี่ย; ปัดไปให้พ้น เช่น ถูกเขี่ยออกไป. |
เขียง เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก-งอ-งู | เป็นคำนาม หมายถึง ไม้รองรับการสับ หั่น มักเป็นแผ่นกลม ๆ; กระทงจำลองสร้างไว้บนบกสำหรับฝึกฝีพายที่พายเรือพระราชพิธี. | เขียง น. ไม้รองรับการสับ หั่น มักเป็นแผ่นกลม ๆ; กระทงจำลองสร้างไว้บนบกสำหรับฝึกฝีพายที่พายเรือพระราชพิธี. |
เขียงเท้า เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก-งอ-งู-สะ-หระ-เอ-ทอ-ทะ-หาน-ไม้-โท-สะ-หระ-อา | เป็นคำนาม หมายถึง รองเท้าไม้. | เขียงเท้า น. รองเท้าไม้. |
เขียงพระนางอี่, เขียงพร้า เขียงพระนางอี่ เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก-งอ-งู-พอ-พาน-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-นอ-หนู-สะ-หระ-อา-งอ-งู-ออ-อ่าง-สะ-หระ-อี-ไม้-เอก เขียงพร้า เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก-งอ-งู-พอ-พาน-รอ-เรือ-ไม้-โท-สะ-หระ-อา | ดู เฉียงพร้านางแอ เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ฉอ-ฉิ่ง-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก-งอ-งู-พอ-พาน-รอ-เรือ-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-นอ-หนู-สะ-หระ-อา-งอ-งู-สะ-หระ-แอ-ออ-อ่าง. | เขียงพระนางอี่, เขียงพร้า ดู เฉียงพร้านางแอ. |
เขียด เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก-ดอ-เด็ก | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อสัตว์สี่เท้าสะเทินนํ้าสะเทินบกในวงศ์ Ranidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับกบแต่มักมีขนาดเล็กกว่า ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น เขียดอ๋อง (Rana nigrovittata) เขียดหลังขาว (R. limnocharis). | เขียด น. ชื่อสัตว์สี่เท้าสะเทินนํ้าสะเทินบกในวงศ์ Ranidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับกบแต่มักมีขนาดเล็กกว่า ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น เขียดอ๋อง (Rana nigrovittata) เขียดหลังขาว (R. limnocharis). |
เขียดตะปาด เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก-ดอ-เด็ก-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อะ-ปอ-ปลา-สะ-หระ-อา-ดอ-เด็ก | ดู ปาด เขียนว่า ปอ-ปลา-สะ-หระ-อา-ดอ-เด็ก ความหมายที่ ๒. | เขียดตะปาด ดู ปาด ๒. |
เขียน เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก-นอ-หนู | เป็นคำกริยา หมายถึง ขีดให้เป็นตัวหนังสือหรือเลข, ขีดให้เป็นเส้นหรือรูปต่าง ๆ, วาด, แต่งหนังสือ. | เขียน ก. ขีดให้เป็นตัวหนังสือหรือเลข, ขีดให้เป็นเส้นหรือรูปต่าง ๆ, วาด, แต่งหนังสือ. |
เขียนด้วยมือลบด้วยตีน เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก-นอ-หนู-ดอ-เด็ก-ไม้-โท-วอ-แหวน-ยอ-ยัก-มอ-ม้า-สะ-หระ-อือ-ออ-อ่าง-ลอ-ลิง-บอ-ไบ-ไม้-ดอ-เด็ก-ไม้-โท-วอ-แหวน-ยอ-ยัก-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อี-นอ-หนู | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นสำนวน เป็นคำกริยา หมายถึง ยกย่องแล้วกลับทําลายในภายหลัง. | เขียนด้วยมือลบด้วยตีน (สำ) ก. ยกย่องแล้วกลับทําลายในภายหลัง. |
เขียนทอง เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก-นอ-หนู-ทอ-ทะ-หาน-ออ-อ่าง-งอ-งู | เป็นคำนาม หมายถึง เรียกผ้าลายแต้มทองสําหรับพระเจ้าแผ่นดินและเจ้านายทรง. | เขียนทอง น. เรียกผ้าลายแต้มทองสําหรับพระเจ้าแผ่นดินและเจ้านายทรง. |
เขียนไทย เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก-นอ-หนู-สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ทอ-ทะ-หาน-ยอ-ยัก | เป็นคำนาม หมายถึง วิชาเขียนภาษาไทยตามคําบอกของครู เพื่อฝึกเขียนตัวสะกดการันต์ให้ถูกต้อง, เขียนตามคำบอก ก็ว่า. | เขียนไทย น. วิชาเขียนภาษาไทยตามคําบอกของครู เพื่อฝึกเขียนตัวสะกดการันต์ให้ถูกต้อง, เขียนตามคำบอก ก็ว่า. |
เขียนเสือให้วัวกลัว เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก-นอ-หนู-สะ-หระ-เอ-สอ-เสือ-สะ-หระ-อือ-ออ-อ่าง-สะ-หระ-ไอ-ไม้-ม้วน-หอ-หีบ-ไม้-โท-วอ-แหวน-ไม้-หัน-อา-กาด-วอ-แหวน-กอ-ไก่-ลอ-ลิง-ไม้-หัน-อา-กาด-วอ-แหวน | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นสำนวน เป็นคำกริยา หมายถึง ทําอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อให้อีกฝ่ายหนึ่งเสียขวัญหรือเกรงขาม. | เขียนเสือให้วัวกลัว (สำ) ก. ทําอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อให้อีกฝ่ายหนึ่งเสียขวัญหรือเกรงขาม. |
เขี่ยน เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-สะ-หระ-อี-ไม้-เอก-ยอ-ยัก-นอ-หนู | เป็นคำกริยา หมายถึง ข่วน, ขีด, เช่น ถูกหนามเขี่ยน. | เขี่ยน ก. ข่วน, ขีด, เช่น ถูกหนามเขี่ยน. |
เขียม เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก-มอ-ม้า | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาปาก เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ประหยัด, กระเหม็ดกระแหม่. ในวงเล็บ มาจากภาษาจีน . | เขียม (ปาก) ว. ประหยัด, กระเหม็ดกระแหม่. (จ.). |
เขียว เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก-วอ-แหวน ความหมายที่ ๑ | ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ เป็นคำกริยา หมายถึง รีบไป, รีบมา, เคียว หรือ เครียว ก็ใช้. | เขียว ๑ (โบ) ก. รีบไป, รีบมา, เคียว หรือ เครียว ก็ใช้. |
เขียว เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก-วอ-แหวน ความหมายที่ ๒ | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง มีสีอย่างสีใบไม้สด, บางทีหมายถึงเขียวครามด้วย เช่น สุดหล้าฟ้าเขียว โกรธจนหน้าเขียว; กลิ่นเหม็นอย่างกลิ่นใบไม้สดบางชนิด เรียกว่า เหม็นเขียว. | เขียว ๒ ว. มีสีอย่างสีใบไม้สด, บางทีหมายถึงเขียวครามด้วย เช่น สุดหล้าฟ้าเขียว โกรธจนหน้าเขียว; กลิ่นเหม็นอย่างกลิ่นใบไม้สดบางชนิด เรียกว่า เหม็นเขียว. |
เขียวขี้ม้า เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก-วอ-แหวน-ขอ-ไข่-สะ-หระ-อี-ไม้-โท-มอ-ม้า-ไม้-โท-สะ-หระ-อา | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง สีกากีแกมเขียว. | เขียวขี้ม้า ว. สีกากีแกมเขียว. |
เขียวไข่กา เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก-วอ-แหวน-สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ขอ-ไข่-ไม้-เอก-กอ-ไก่-สะ-หระ-อา | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อชามสมัยก่อน สีเขียวปนครามอ่อน ๆ รูปก้นสอบ ปากผาย. เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง มีสีอย่างสีเขียวปนครามอ่อน ๆ. | เขียวไข่กา น. ชื่อชามสมัยก่อน สีเขียวปนครามอ่อน ๆ รูปก้นสอบ ปากผาย. ว. มีสีอย่างสีเขียวปนครามอ่อน ๆ. |
เขียว ๆ แดง ๆ เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก-วอ-แหวน ไม้-ยะ-มก สะ-หระ-แอ-ดอ-เด็ก-งอ-งู ไม้-ยะ-มก | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นสำนวน เป็นคำนาม หมายถึง กลุ่มผู้หญิงที่แต่งตัวหลากสี เช่น ไปดูเขียว ๆ แดง ๆ นอกบ้านเสียบ้าง. | เขียว ๆ แดง ๆ (สำ) น. กลุ่มผู้หญิงที่แต่งตัวหลากสี เช่น ไปดูเขียว ๆ แดง ๆ นอกบ้านเสียบ้าง. |
เขียวหวาน เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก-วอ-แหวน-หอ-หีบ-วอ-แหวน-สะ-หระ-อา-นอ-หนู ความหมายที่ ๑ | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อแกงเผ็ดที่ใช้พริกขี้หนูสดแทนพริกแห้ง. | เขียวหวาน ๑ น. ชื่อแกงเผ็ดที่ใช้พริกขี้หนูสดแทนพริกแห้ง. |
เขียว เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก-วอ-แหวน ความหมายที่ ๓ | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่องูสีเขียวหลายชนิดและหลายวงศ์ เช่น เขียวพระอินทร์ (Chrysopelea ornata) ในวงศ์ Colubridae ลําตัวเรียวยาว อาศัยตามต้นไม้และชายคาบ้านเรือน ออกหากินเวลากลางวัน มีพิษอ่อนมาก, เขียวหางไหม้ท้องเหลือง (Trimeresurus albolabris) ในวงศ์ Viperidae ลําตัวอ้วนสั้น หางแดง ออกหากินเวลากลางคืน มีพิษอ่อนแต่เป็นอันตราย. | เขียว ๓ น. ชื่องูสีเขียวหลายชนิดและหลายวงศ์ เช่น เขียวพระอินทร์ (Chrysopelea ornata) ในวงศ์ Colubridae ลําตัวเรียวยาว อาศัยตามต้นไม้และชายคาบ้านเรือน ออกหากินเวลากลางวัน มีพิษอ่อนมาก, เขียวหางไหม้ท้องเหลือง (Trimeresurus albolabris) ในวงศ์ Viperidae ลําตัวอ้วนสั้น หางแดง ออกหากินเวลากลางคืน มีพิษอ่อนแต่เป็นอันตราย. |
เขียวหางไหม้ เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก-วอ-แหวน-หอ-หีบ-สะ-หระ-อา-งอ-งู-สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-หอ-หีบ-มอ-ม้า-ไม้-โท | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่องูเขียวหลายชนิดในวงศ์ Viperidae ลําตัวอ้วนสั้น หัวโต คอเล็ก หลายชนิดปลายหางสีแดงหรือสีน้ำตาล ทุกชนิดออกหากินเวลากลางคืน มักมีนิสัยดุ มีพิษอ่อนแต่เป็นอันตราย เช่น เขียวหางไหม้ท้องเขียว (Trimeresurus popeorum). | เขียวหางไหม้ น. ชื่องูเขียวหลายชนิดในวงศ์ Viperidae ลําตัวอ้วนสั้น หัวโต คอเล็ก หลายชนิดปลายหางสีแดงหรือสีน้ำตาล ทุกชนิดออกหากินเวลากลางคืน มักมีนิสัยดุ มีพิษอ่อนแต่เป็นอันตราย เช่น เขียวหางไหม้ท้องเขียว (Trimeresurus popeorum). |
เขี้ยว เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-สะ-หระ-อี-ไม้-โท-ยอ-ยัก-วอ-แหวน | เป็นคำนาม หมายถึง ฟันแหลมคมสําหรับฉีกเนื้อและอาหาร อยู่ระหว่างฟันหน้ากับกราม, ราชาศัพท์ว่า พระทาฐะ หรือ พระทาฒะ, ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาถิ่นภาคพายัพ หมายถึง ฟัน. | เขี้ยว น. ฟันแหลมคมสําหรับฉีกเนื้อและอาหาร อยู่ระหว่างฟันหน้ากับกราม, ราชาศัพท์ว่า พระทาฐะ หรือ พระทาฒะ, (ถิ่นพายัพ) ฟัน. |
เขี้ยวแก้ว เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-สะ-หระ-อี-ไม้-โท-ยอ-ยัก-วอ-แหวน-สะ-หระ-แอ-กอ-ไก่-ไม้-โท-วอ-แหวน | เป็นคำนาม หมายถึง เขี้ยวของพระพุทธเจ้า เรียกว่า พระเขี้ยวแก้ว; เขี้ยวของงูพิษ อยู่บริเวณส่วนหน้าของขากรรไกรบน มีขนาดใหญ่และยาว เช่น งูจงอาง งูเห่า งูเขียวหางไหม้, ถ้าอยู่บริเวณท้ายขากรรไกรบน เรียกว่า เขี้ยวแก้วใน หรือ เขี้ยวแก้วใต้ตา เช่น งูปล้องทอง งูเขียวหัวจิ้งจก; เขี้ยวที่งอกอยู่กลางเพดานปากของหนุมาน. | เขี้ยวแก้ว น. เขี้ยวของพระพุทธเจ้า เรียกว่า พระเขี้ยวแก้ว; เขี้ยวของงูพิษ อยู่บริเวณส่วนหน้าของขากรรไกรบน มีขนาดใหญ่และยาว เช่น งูจงอาง งูเห่า งูเขียวหางไหม้, ถ้าอยู่บริเวณท้ายขากรรไกรบน เรียกว่า เขี้ยวแก้วใน หรือ เขี้ยวแก้วใต้ตา เช่น งูปล้องทอง งูเขียวหัวจิ้งจก; เขี้ยวที่งอกอยู่กลางเพดานปากของหนุมาน. |
เขี้ยวตะขาบ เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-สะ-หระ-อี-ไม้-โท-ยอ-ยัก-วอ-แหวน-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อะ-ขอ-ไข่-สะ-หระ-อา-บอ-ไบ-ไม้ | เป็นคำนาม หมายถึง เหล็กที่ทําเป็นหมุดแหลมโค้งอย่างเขี้ยวของตะขาบสําหรับตอกเพลาะกระดานยึดให้แน่นสนิท, ตะปลิง ตัวปลิง หรือ ปลิง ก็เรียก; ชายผ้าสังฆาฏิของพระพุทธรูปในสมัยเชียงแสนและสุโขทัย มีลักษณะปลายผ้าย้อยต่ำแหลมลงมา ๒ ด้าน ปลายขมวดเข้าหากันคล้ายเขี้ยวของตะขาบ มีช่องตอนกลางยกสูง. | เขี้ยวตะขาบ น. เหล็กที่ทําเป็นหมุดแหลมโค้งอย่างเขี้ยวของตะขาบสําหรับตอกเพลาะกระดานยึดให้แน่นสนิท, ตะปลิง ตัวปลิง หรือ ปลิง ก็เรียก; ชายผ้าสังฆาฏิของพระพุทธรูปในสมัยเชียงแสนและสุโขทัย มีลักษณะปลายผ้าย้อยต่ำแหลมลงมา ๒ ด้าน ปลายขมวดเข้าหากันคล้ายเขี้ยวของตะขาบ มีช่องตอนกลางยกสูง. |
เขี้ยวลากดิน เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-สะ-หระ-อี-ไม้-โท-ยอ-ยัก-วอ-แหวน-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อา-กอ-ไก่-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-อิ-นอ-หนู | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง มีเล่ห์เหลี่ยมมาก, มีประสบการณ์มาก. | เขี้ยวลากดิน ว. มีเล่ห์เหลี่ยมมาก, มีประสบการณ์มาก. |
เขี้ยวเล็บ เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-สะ-หระ-อี-ไม้-โท-ยอ-ยัก-วอ-แหวน-สะ-หระ-เอ-ลอ-ลิง-ไม้-ไต่-คู้-บอ-ไบ-ไม้ | เป็นคำนาม หมายถึง กําลัง, อํานาจ, ความเก่ง, เช่น ถอดเขี้ยวเล็บ หมดเขี้ยวเล็บ กองทัพต้องมีเขี้ยวเล็บ. | เขี้ยวเล็บ น. กําลัง, อํานาจ, ความเก่ง, เช่น ถอดเขี้ยวเล็บ หมดเขี้ยวเล็บ กองทัพต้องมีเขี้ยวเล็บ. |
เขี้ยวหนุมาน เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-สะ-หระ-อี-ไม้-โท-ยอ-ยัก-วอ-แหวน-หอ-หีบ-นอ-หนู-สะ-หระ-อุ-มอ-ม้า-สะ-หระ-อา-นอ-หนู | เป็นคำนาม หมายถึง แร่ประกอบหินชนิดหนึ่ง มีรูปเป็นผลึกหกเหลี่ยม หัวท้ายแต่ละเหลี่ยมมีด้านสามเหลี่ยมเอนเข้าไปบรรจบกันเป็นยอดแหลมดูคล้ายฟันลิง แร่นี้มีแทบทุกสี ตั้งแต่ใสเหมือนกระจกจนขาวขุ่น ชมพู เขียว ม่วง ตลอดจนดํา. | เขี้ยวหนุมาน น. แร่ประกอบหินชนิดหนึ่ง มีรูปเป็นผลึกหกเหลี่ยม หัวท้ายแต่ละเหลี่ยมมีด้านสามเหลี่ยมเอนเข้าไปบรรจบกันเป็นยอดแหลมดูคล้ายฟันลิง แร่นี้มีแทบทุกสี ตั้งแต่ใสเหมือนกระจกจนขาวขุ่น ชมพู เขียว ม่วง ตลอดจนดํา. |
เขี้ยวหมา เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-สะ-หระ-อี-ไม้-โท-ยอ-ยัก-วอ-แหวน-หอ-หีบ-มอ-ม้า-สะ-หระ-อา | เป็นคำนาม หมายถึง ไม้หรือเหล็กทําคล้ายเดือยสําหรับเพลาะกระดาน ๒ แผ่นให้สนิท. | เขี้ยวหมา น. ไม้หรือเหล็กทําคล้ายเดือยสําหรับเพลาะกระดาน ๒ แผ่นให้สนิท. |
เขี้ยวกระแต เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-สะ-หระ-อี-ไม้-โท-ยอ-ยัก-วอ-แหวน-กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-แอ-ตอ-เต่า | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อไม้พุ่มชนิด Coffea bengalensis Heyne ex Roem. et Schult. ในวงศ์ Rubiaceae ดอกสีขาว กลิ่นหอมแรงคล้ายพุทธชาด. | เขี้ยวกระแต น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Coffea bengalensis Heyne ex Roem. et Schult. ในวงศ์ Rubiaceae ดอกสีขาว กลิ่นหอมแรงคล้ายพุทธชาด. |
เขี้ยวงู เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-สะ-หระ-อี-ไม้-โท-ยอ-ยัก-วอ-แหวน-งอ-งู-สะ-หระ-อู | เป็นคำนาม หมายถึง (๑) ชื่อไม้เถาหลายชนิดในสกุล Jasminum วงศ์ Oleaceae ดอกสีขาว ออกที่ปลายกิ่ง กลิ่นหอม. (๒) ชื่อไม้เถาเนื้อแข็งชนิด Strychnos axillaris Colebr. ในวงศ์ Strychnaceae ดอกสีขาว ออกตามง่ามใบ. | เขี้ยวงู น. (๑) ชื่อไม้เถาหลายชนิดในสกุล Jasminum วงศ์ Oleaceae ดอกสีขาว ออกที่ปลายกิ่ง กลิ่นหอม. (๒) ชื่อไม้เถาเนื้อแข็งชนิด Strychnos axillaris Colebr. ในวงศ์ Strychnaceae ดอกสีขาว ออกตามง่ามใบ. |
เขี้ยวเนื้อ เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-สะ-หระ-อี-ไม้-โท-ยอ-ยัก-วอ-แหวน-สะ-หระ-เอ-นอ-หนู-สะ-หระ-อือ-ไม้-โท-ออ-อ่าง | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Lagerstroemia undulata Koehne var. subangulata Craib ในวงศ์ Lythraceae ช่อดอกเรียวแหลม ดอกเล็ก สีชมพูคล้ำ. | เขี้ยวเนื้อ น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Lagerstroemia undulata Koehne var. subangulata Craib ในวงศ์ Lythraceae ช่อดอกเรียวแหลม ดอกเล็ก สีชมพูคล้ำ. |
เขียวพระอินทร์ เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก-วอ-แหวน-พอ-พาน-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ออ-อ่าง-สะ-หระ-อิ-นอ-หนู-ทอ-ทะ-หาน-รอ-เรือ-ทัน-ทะ-คาด ความหมายที่ ๑ | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อปลาทะเลชนิด Thalassoma lunare ในวงศ์ Labridae ลําตัวยาวรี แบนข้าง สีเขียว และมีริ้วสีนํ้าเงินพาดขวางตลอดตัว บริเวณหัวมีแถบลวดลายสีม่วงแดง ครีบหางใหญ่สีเหลือง ปลายขอบบนและล่างสีแดง พบอาศัยอยู่ตามแนวหินปะการัง เมื่อขนาดยังเล็ก มีพื้นสีนํ้าตาลแดงที่บริเวณกลางครีบหลังและโคน ครีบหางมีจุดใหญ่สีดํา. | เขียวพระอินทร์ ๑ น. ชื่อปลาทะเลชนิด Thalassoma lunare ในวงศ์ Labridae ลําตัวยาวรี แบนข้าง สีเขียว และมีริ้วสีนํ้าเงินพาดขวางตลอดตัว บริเวณหัวมีแถบลวดลายสีม่วงแดง ครีบหางใหญ่สีเหลือง ปลายขอบบนและล่างสีแดง พบอาศัยอยู่ตามแนวหินปะการัง เมื่อขนาดยังเล็ก มีพื้นสีนํ้าตาลแดงที่บริเวณกลางครีบหลังและโคน ครีบหางมีจุดใหญ่สีดํา. |
เขียวพระอินทร์ เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก-วอ-แหวน-พอ-พาน-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ออ-อ่าง-สะ-หระ-อิ-นอ-หนู-ทอ-ทะ-หาน-รอ-เรือ-ทัน-ทะ-คาด ความหมายที่ ๒ | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่องูเขียวชนิดหนึ่ง. ในวงเล็บ ดู เขียว เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก-วอ-แหวน ความหมายที่ ๓. | เขียวพระอินทร์ ๒ น. ชื่องูเขียวชนิดหนึ่ง. (ดู เขียว ๓). |
เขียวเสวย เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก-วอ-แหวน-สะ-หระ-เอ-สอ-เสือ-วอ-แหวน-ยอ-ยัก | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อมะม่วงพันธุ์หนึ่งของชนิด Mangifera indica L. ผลสีเขียว รสมัน. | เขียวเสวย น. ชื่อมะม่วงพันธุ์หนึ่งของชนิด Mangifera indica L. ผลสีเขียว รสมัน. |
เขียวหวาน เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก-วอ-แหวน-หอ-หีบ-วอ-แหวน-สะ-หระ-อา-นอ-หนู ความหมายที่ ๑ | ดูใน เขียว เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก-วอ-แหวน ความหมายที่ ๒. | เขียวหวาน ๑ ดูใน เขียว ๒. |
เขียวหวาน เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก-วอ-แหวน-หอ-หีบ-วอ-แหวน-สะ-หระ-อา-นอ-หนู ความหมายที่ ๒ | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อส้มพันธุ์หนึ่งของชนิด Citrus reticulata Blanco เปลือกบาง ผลเขียว รสหวาน. | เขียวหวาน ๒ น. ชื่อส้มพันธุ์หนึ่งของชนิด Citrus reticulata Blanco เปลือกบาง ผลเขียว รสหวาน. |
เขียะ เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อะ | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาถิ่นภาคพายัพ เป็นคำนาม หมายถึง ต้นกระบองเพชร. ในวงเล็บ ดู กระบองเพชร เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-ออ-อ่าง-งอ-งู-สะ-หระ-เอ-พอ-พาน-ชอ-ช้าง-รอ-เรือ ความหมายที่ ๒. | เขียะ (ถิ่นพายัพ) น. ต้นกระบองเพชร. (ดู กระบองเพชร ๒). |
เขือ เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-สะ-หระ-อือ-ออ-อ่าง ความหมายที่ ๑ | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อปลาในสกุล Taenioides และ Brachyamblyopus วงศ์ Gobioididae ลําตัวยาวเรียว แบนข้าง และเป็นสีชมพูโดยตลอด ตาเล็กมากอยู่ในรูบริเวณปากแม่น้ำที่มีพื้นเป็นเลน. | เขือ ๑ น. ชื่อปลาในสกุล Taenioides และ Brachyamblyopus วงศ์ Gobioididae ลําตัวยาวเรียว แบนข้าง และเป็นสีชมพูโดยตลอด ตาเล็กมากอยู่ในรูบริเวณปากแม่น้ำที่มีพื้นเป็นเลน. |
เขือ เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-สะ-หระ-อือ-ออ-อ่าง ความหมายที่ ๒ | ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำนาม หมายถึง เพื่อน. | เขือ ๒ (กลอน) น. เพื่อน. |
เขือ เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-สะ-หระ-อือ-ออ-อ่าง ความหมายที่ ๓ | ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำสรรพนาม หมายถึง คําใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒ เช่น สองเขือพี่หลับใหล ลืมตื่น ฤๅพี่. ในวงเล็บ มาจาก ลิลิตพระลอ แบบเรียน. | เขือ ๓ (กลอน) ส. คําใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒ เช่น สองเขือพี่หลับใหล ลืมตื่น ฤๅพี่. (ลอ). |
เขือง เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-สะ-หระ-อือ-ออ-อ่าง-งอ-งู | เป็นคำนาม หมายถึง (๑) ชื่อไม้เถาหลายชนิดในสกุล Smilax วงศ์ Smilacaceae เถามีหนาม เหง้าแข็ง เช่น เขืองสร้อย (S. davidiana A. DC.) ดอกสีขาวอมเขียว ผลกลม สุกสีแดง. (๒) ดู กะตังใบ เขียนว่า กอ-ไก่-สะ-หระ-อะ-ตอ-เต่า-ไม้-หัน-อา-กาด-งอ-งู-สะ-หระ-ไอ-ไม้-ม้วน-บอ-ไบ-ไม้. | เขือง น. (๑) ชื่อไม้เถาหลายชนิดในสกุล Smilax วงศ์ Smilacaceae เถามีหนาม เหง้าแข็ง เช่น เขืองสร้อย (S. davidiana A. DC.) ดอกสีขาวอมเขียว ผลกลม สุกสีแดง. (๒) ดู กะตังใบ. |
เขื่อง เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-สะ-หระ-อือ-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-งอ-งู ความหมายที่ ๑ | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ค่อนข้างใหญ่, ค่อนข้างโต. | เขื่อง ๑ ว. ค่อนข้างใหญ่, ค่อนข้างโต. |
เขื่อง เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-สะ-หระ-อือ-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-งอ-งู ความหมายที่ ๒ | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาถิ่นภาคอีสาน เป็นคำนาม หมายถึง ที่ซึ่งปลาช่อนปลาดุกอาศัยอยู่เวลาไข่. | เขื่อง ๒ (ถิ่นอีสาน) น. ที่ซึ่งปลาช่อนปลาดุกอาศัยอยู่เวลาไข่. |
เขื่อน เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-สะ-หระ-อือ-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-นอ-หนู | เป็นคำนาม หมายถึง เครื่องป้องกันไม่ให้ดินริมนํ้าพัง, สิ่งที่สร้างขึ้นขวางกั้นลํานํ้า เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ประโยชน์ในทางชลประทานเป็นต้น เช่น เขื่อนเจ้าพระยา, โดยปริยายใช้เรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น กำแพงดินหรืออิฐที่ล้อมรอบต้นโพธิ์; ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ หมายถึง รั้ว, กำแพง, คันดินกันตลิ่งพัง, เช่น ปิดประตูเมืองลง เขื่อนขว้าง. ในวงเล็บ มาจาก ลิลิตยวนพ่าย ฉบับโรงพิมพ์ ไท พ.ศ. ๒๔๖๐. | เขื่อน น. เครื่องป้องกันไม่ให้ดินริมนํ้าพัง, สิ่งที่สร้างขึ้นขวางกั้นลํานํ้า เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ประโยชน์ในทางชลประทานเป็นต้น เช่น เขื่อนเจ้าพระยา, โดยปริยายใช้เรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น กำแพงดินหรืออิฐที่ล้อมรอบต้นโพธิ์; (โบ) รั้ว, กำแพง, คันดินกันตลิ่งพัง, เช่น ปิดประตูเมืองลง เขื่อนขว้าง. (ยวนพ่าย). |
เขื่อนเพชร เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-สะ-หระ-อือ-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-นอ-หนู-สะ-หระ-เอ-พอ-พาน-ชอ-ช้าง-รอ-เรือ | เป็นคำนาม หมายถึง ตึกแถวมีผนังหลังตันหันออกมาข้างนอกในพระราชฐานเฉพาะตรงที่แบ่งข้างหน้ากับข้างในต่อกัน. | เขื่อนเพชร น. ตึกแถวมีผนังหลังตันหันออกมาข้างนอกในพระราชฐานเฉพาะตรงที่แบ่งข้างหน้ากับข้างในต่อกัน. |
เขือม เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-สะ-หระ-อือ-ออ-อ่าง-มอ-ม้า | เป็นคำกริยา หมายถึง เข้มแข็ง เช่น ทั้งอกไหล่ก็ผายผึ่งผงาดเงื้อมเขือมขยัน. ในวงเล็บ มาจาก มหาเวสสันดรชาดก ในวงเล็บ แบบเรียน กัณฑ์ชูชก. | เขือม ก. เข้มแข็ง เช่น ทั้งอกไหล่ก็ผายผึ่งผงาดเงื้อมเขือมขยัน. (ม. ร่ายยาว ชูชก). |
แข เขียนว่า สะ-หระ-แอ-ขอ-ไข่ | เป็นคำนาม หมายถึง ดวงเดือน, พระจันทร์. ในวงเล็บ มาจากภาษาเขมร . | แข น. ดวงเดือน, พระจันทร์. (ข.). |
แข้ เขียนว่า สะ-หระ-แอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาถิ่นภาคอีสาน เป็นคำนาม หมายถึง จระเข้ (ดู จระเข้). | แข้ (ถิ่นอีสาน) น. จระเข้ (ดู จระเข้). |
แขก เขียนว่า สะ-หระ-แอ-ขอ-ไข่-กอ-ไก่ ความหมายที่ ๑ | เป็นคำนาม หมายถึง ผู้มาหา, ผู้มาแต่อื่น, ผู้ที่มาร่วมงานพิธีของเจ้าภาพ, บางทีเรียกว่า แขกเหรื่อ; คนบ้านอื่นที่มาช่วยทํางาน. | แขก ๑ น. ผู้มาหา, ผู้มาแต่อื่น, ผู้ที่มาร่วมงานพิธีของเจ้าภาพ, บางทีเรียกว่า แขกเหรื่อ; คนบ้านอื่นที่มาช่วยทํางาน. |
แขกเมือง เขียนว่า สะ-หระ-แอ-ขอ-ไข่-กอ-ไก่-สะ-หระ-เอ-มอ-ม้า-สะ-หระ-อือ-ออ-อ่าง-งอ-งู | เป็นคำนาม หมายถึง แขกของบ้านเมือง. | แขกเมือง น. แขกของบ้านเมือง. |
แขกไม่ได้รับเชิญ เขียนว่า สะ-หระ-แอ-ขอ-ไข่-กอ-ไก่-สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-มอ-ม้า-ไม้-เอก-สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ดอ-เด็ก-ไม้-โท-รอ-เรือ-ไม้-หัน-อา-กาด-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-เอ-ชอ-ช้าง-สะ-หระ-อิ-ยอ-หยิง | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นสำนวน เป็นคำนาม หมายถึง คนหรือสัตว์ที่ไม่พึงปรารถนาซึ่งเข้ามาทำให้เกิดความเสียหาย หรือเดือดร้อนรำคาญ มักหมายถึง ขโมยหรือสัตว์บางชนิด เช่น ก่อนนอนอย่าลืมปิดประตูหน้าต่าง มิฉะนั้นแขกไม่ได้รับเชิญจะขนของไปหมด กางเต็นท์นอนในป่าระวังแขกไม่ได้รับเชิญจะเข้ามา. | แขกไม่ได้รับเชิญ (สำ) น. คนหรือสัตว์ที่ไม่พึงปรารถนาซึ่งเข้ามาทำให้เกิดความเสียหาย หรือเดือดร้อนรำคาญ มักหมายถึง ขโมยหรือสัตว์บางชนิด เช่น ก่อนนอนอย่าลืมปิดประตูหน้าต่าง มิฉะนั้นแขกไม่ได้รับเชิญจะขนของไปหมด กางเต็นท์นอนในป่าระวังแขกไม่ได้รับเชิญจะเข้ามา. |
แขก เขียนว่า สะ-หระ-แอ-ขอ-ไข่-กอ-ไก่ ความหมายที่ ๒ | เป็นคำนาม หมายถึง คําเรียกชาวอินเดีย ศรีลังกา ปากีสถาน บังกลาเทศ อัฟกานิสถาน เนปาล ชวา มลายู ชาวเอเชียตะวันออกกลางและตะวันออกใกล้ ยกเว้นชาวยิว แอฟริกาเหนือ และ นิโกร. | แขก ๒ น. คําเรียกชาวอินเดีย ศรีลังกา ปากีสถาน บังกลาเทศ อัฟกานิสถาน เนปาล ชวา มลายู ชาวเอเชียตะวันออกกลางและตะวันออกใกล้ ยกเว้นชาวยิว แอฟริกาเหนือ และ นิโกร. |
แขก เขียนว่า สะ-หระ-แอ-ขอ-ไข่-กอ-ไก่ ความหมายที่ ๓ | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อเพลงไทยจำพวกหนึ่ง มีชื่อขึ้นต้นด้วยคำว่า แขก เช่น แขกสาหร่าย แขกบรเทศ แขกกุลิต. | แขก ๓ น. ชื่อเพลงไทยจำพวกหนึ่ง มีชื่อขึ้นต้นด้วยคำว่า แขก เช่น แขกสาหร่าย แขกบรเทศ แขกกุลิต. |
แขกเต้า เขียนว่า สะ-หระ-แอ-ขอ-ไข่-กอ-ไก่-สะ-หระ-เอ-ตอ-เต่า-ไม้-โท-สะ-หระ-อา | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อนกปากงุ้มเป็นขอชนิด Psittacula alexandri ในวงศ์ Psittacidae ที่หน้าผากมีเส้นสีดําลากผ่านไปจดหัวตาทั้ง ๒ ข้าง และมีแถบสีดําลากจากโคนปากลงไปทั้ง ๒ ข้างของคอคล้ายเคราตัวผู้ปากสีแดง ตัวเมียปากสีดํา อยู่เป็นฝูงใหญ่ กินผลไม้ ร้องเลียนเสียงคนหรือเสียงอื่น ๆ บางอย่างได้. | แขกเต้า น. ชื่อนกปากงุ้มเป็นขอชนิด Psittacula alexandri ในวงศ์ Psittacidae ที่หน้าผากมีเส้นสีดําลากผ่านไปจดหัวตาทั้ง ๒ ข้าง และมีแถบสีดําลากจากโคนปากลงไปทั้ง ๒ ข้างของคอคล้ายเคราตัวผู้ปากสีแดง ตัวเมียปากสีดํา อยู่เป็นฝูงใหญ่ กินผลไม้ ร้องเลียนเสียงคนหรือเสียงอื่น ๆ บางอย่างได้. |
แขกเต้าเข้ารัง เขียนว่า สะ-หระ-แอ-ขอ-ไข่-กอ-ไก่-สะ-หระ-เอ-ตอ-เต่า-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-รอ-เรือ-ไม้-หัน-อา-กาด-งอ-งู | เป็นคำนาม หมายถึง ท่ารําท่าหนึ่ง. | แขกเต้าเข้ารัง น. ท่ารําท่าหนึ่ง. |
แข็ง เขียนว่า สะ-หระ-แอ-ขอ-ไข่-ไม้-ไต่-คู้-งอ-งู | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง กระด้าง เช่น ลิ้นแข็ง; ไม่อ่อน, ไม่นิ่ม, เช่น เนื้อแข็ง ของแข็ง; กล้า เช่น แดดแข็ง; ไม่ยอมง่าย ๆ, ไม่รู้สึกสงสาร, เช่น ใจแข็ง; แรง เช่น วันแข็ง ชะตาแข็ง, เข้มแข็ง, ทนทาน, เก่ง, เช่น ทํางานแข็ง วิ่งแข็ง; ว่ายาก เช่น เด็กคนนี้แข็ง; นิ่งไม่ไหวติง, ไม่กระดิกกระเดี้ย, เช่น ขาแข็ง ตัวแข็ง. | แข็ง ว. กระด้าง เช่น ลิ้นแข็ง; ไม่อ่อน, ไม่นิ่ม, เช่น เนื้อแข็ง ของแข็ง; กล้า เช่น แดดแข็ง; ไม่ยอมง่าย ๆ, ไม่รู้สึกสงสาร, เช่น ใจแข็ง; แรง เช่น วันแข็ง ชะตาแข็ง, เข้มแข็ง, ทนทาน, เก่ง, เช่น ทํางานแข็ง วิ่งแข็ง; ว่ายาก เช่น เด็กคนนี้แข็ง; นิ่งไม่ไหวติง, ไม่กระดิกกระเดี้ย, เช่น ขาแข็ง ตัวแข็ง. |
แข็งกร้าว เขียนว่า สะ-หระ-แอ-ขอ-ไข่-ไม้-ไต่-คู้-งอ-งู-กอ-ไก่-รอ-เรือ-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-วอ-แหวน | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง แข็งกระด้าง, ไม่นุ่มนวล. | แข็งกร้าว ว. แข็งกระด้าง, ไม่นุ่มนวล. |
แข็งกล้า เขียนว่า สะ-หระ-แอ-ขอ-ไข่-ไม้-ไต่-คู้-งอ-งู-กอ-ไก่-ลอ-ลิง-ไม้-โท-สะ-หระ-อา | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง กล้ายิ่งนัก. | แข็งกล้า ว. กล้ายิ่งนัก. |
แข็งแกร่ง เขียนว่า สะ-หระ-แอ-ขอ-ไข่-ไม้-ไต่-คู้-งอ-งู-สะ-หระ-แอ-กอ-ไก่-รอ-เรือ-ไม้-เอก-งอ-งู | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง อดทนไม่ท้อถอย. | แข็งแกร่ง ว. อดทนไม่ท้อถอย. |
แข็งข้อ เขียนว่า สะ-หระ-แอ-ขอ-ไข่-ไม้-ไต่-คู้-งอ-งู-ขอ-ไข่-ไม้-โท-ออ-อ่าง | เป็นคำกริยา หมายถึง ไม่ยอมตาม, ตั้งข้อสู้. | แข็งข้อ ก. ไม่ยอมตาม, ตั้งข้อสู้. |
แข็งขัน เขียนว่า สะ-หระ-แอ-ขอ-ไข่-ไม้-ไต่-คู้-งอ-งู-ขอ-ไข่-ไม้-หัน-อา-กาด-นอ-หนู | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ขยันไม่ย่อท้อ, เอาจริงเอาจัง, มีกําลังมาก. | แข็งขัน ว. ขยันไม่ย่อท้อ, เอาจริงเอาจัง, มีกําลังมาก. |
แข็งใจ เขียนว่า สะ-หระ-แอ-ขอ-ไข่-ไม้-ไต่-คู้-งอ-งู-สะ-หระ-ไอ-ไม้-ม้วน-จอ-จาน | เป็นคำกริยา หมายถึง ทําใจให้กล้า, ทําใจให้เข้มแข็ง. | แข็งใจ ก. ทําใจให้กล้า, ทําใจให้เข้มแข็ง. |
แข็งตัว เขียนว่า สะ-หระ-แอ-ขอ-ไข่-ไม้-ไต่-คู้-งอ-งู-ตอ-เต่า-ไม้-หัน-อา-กาด-วอ-แหวน | เป็นคำกริยา หมายถึง เปลี่ยนสภาพไปมีลักษณะแข็ง. | แข็งตัว ก. เปลี่ยนสภาพไปมีลักษณะแข็ง. |
แข็งมือ เขียนว่า สะ-หระ-แอ-ขอ-ไข่-ไม้-ไต่-คู้-งอ-งู-มอ-ม้า-สะ-หระ-อือ-ออ-อ่าง | เป็นคำกริยา หมายถึง ทําเต็มกําลังไม่ย่อท้อ. | แข็งมือ ก. ทําเต็มกําลังไม่ย่อท้อ. |
แข็งเมือง เขียนว่า สะ-หระ-แอ-ขอ-ไข่-ไม้-ไต่-คู้-งอ-งู-สะ-หระ-เอ-มอ-ม้า-สะ-หระ-อือ-ออ-อ่าง-งอ-งู | เป็นคำกริยา หมายถึง กลับตั้งเป็นอิสระ, ไม่ยอมเป็นเมืองขึ้นอีกต่อไป. | แข็งเมือง ก. กลับตั้งเป็นอิสระ, ไม่ยอมเป็นเมืองขึ้นอีกต่อไป. |
แข็งแรง เขียนว่า สะ-หระ-แอ-ขอ-ไข่-ไม้-ไต่-คู้-งอ-งู-สะ-หระ-แอ-รอ-เรือ-งอ-งู | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง มีกําลังมาก, ลํ่าสัน, มั่นคง, คงทน, อย่างเต็มกําลัง เช่น ทํางานแข็งแรง. | แข็งแรง ว. มีกําลังมาก, ลํ่าสัน, มั่นคง, คงทน, อย่างเต็มกําลัง เช่น ทํางานแข็งแรง. |
แข่ง เขียนว่า สะ-หระ-แอ-ขอ-ไข่-ไม้-เอก-งอ-งู | เป็นคำกริยา หมายถึง ชิงเอาชนะกัน, ชิงดี, ชิงขึ้นหน้า. | แข่ง ก. ชิงเอาชนะกัน, ชิงดี, ชิงขึ้นหน้า. |
แข่งกับเวลา เขียนว่า สะ-หระ-แอ-ขอ-ไข่-ไม้-เอก-งอ-งู-กอ-ไก่-ไม้-หัน-อา-กาด-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-เอ-วอ-แหวน-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อา | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นสำนวน เป็นคำกริยา หมายถึง ทำอย่างรวดเร็ว เช่น ทำงานแข่งกับเวลา. | แข่งกับเวลา (สำ) ก. ทำอย่างรวดเร็ว เช่น ทำงานแข่งกับเวลา. |
แข่งขัน เขียนว่า สะ-หระ-แอ-ขอ-ไข่-ไม้-เอก-งอ-งู-ขอ-ไข่-ไม้-หัน-อา-กาด-นอ-หนู | เป็นคำกริยา หมายถึง ชิงเอาชนะเพื่อรางวัล, ขันสู้เอาชนะกัน. | แข่งขัน ก. ชิงเอาชนะเพื่อรางวัล, ขันสู้เอาชนะกัน. |
แข่งเกมวิบาก เขียนว่า สะ-หระ-แอ-ขอ-ไข่-ไม้-เอก-งอ-งู-สะ-หระ-เอ-กอ-ไก่-มอ-ม้า-วอ-แหวน-สะ-หระ-อิ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อา-กอ-ไก่ | เป็นคำนาม หมายถึง การเล่นชนิดหนึ่ง ผู้เล่นต้องวิ่งข้ามสิ่งกีดขวางหรือทำกิจกรรมที่ยาก ๆ เช่น ใช้ปากควานหาสตางค์ในแป้ง สนเข็ม เป่าลูกโป่งให้แตก ใครทำเสร็จและวิ่งถึงเส้นชัยก่อนเป็นผู้ชนะ. | แข่งเกมวิบาก น. การเล่นชนิดหนึ่ง ผู้เล่นต้องวิ่งข้ามสิ่งกีดขวางหรือทำกิจกรรมที่ยาก ๆ เช่น ใช้ปากควานหาสตางค์ในแป้ง สนเข็ม เป่าลูกโป่งให้แตก ใครทำเสร็จและวิ่งถึงเส้นชัยก่อนเป็นผู้ชนะ. |
แข่งดี เขียนว่า สะ-หระ-แอ-ขอ-ไข่-ไม้-เอก-งอ-งู-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-อี | เป็นคำกริยา หมายถึง มุ่งเอาชนะชิงดีชิงเด่นโดยไม่ยอมลดราวาศอกให้แก่กัน, มุ่งเอาชนะชิงดีชิงเด่นโดยไม่ยอมผ่อนปรนให้แก่กัน. | แข่งดี ก. มุ่งเอาชนะชิงดีชิงเด่นโดยไม่ยอมลดราวาศอกให้แก่กัน, มุ่งเอาชนะชิงดีชิงเด่นโดยไม่ยอมผ่อนปรนให้แก่กัน. |
แข่งเรือแข่งแพแข่งได้ แข่งบุญแข่งวาสนาแข่งไม่ได้ เขียนว่า สะ-หระ-แอ-ขอ-ไข่-ไม้-เอก-งอ-งู-สะ-หระ-เอ-รอ-เรือ-สะ-หระ-อือ-ออ-อ่าง-สะ-หระ-แอ-ขอ-ไข่-ไม้-เอก-งอ-งู-สะ-หระ-แอ-พอ-พาน-สะ-หระ-แอ-ขอ-ไข่-ไม้-เอก-งอ-งู-สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ดอ-เด็ก-ไม้-โท สะ-หระ-แอ-ขอ-ไข่-ไม้-เอก-งอ-งู-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อุ-ยอ-หยิง-สะ-หระ-แอ-ขอ-ไข่-ไม้-เอก-งอ-งู-วอ-แหวน-สะ-หระ-อา-สอ-เสือ-นอ-หนู-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-แอ-ขอ-ไข่-ไม้-เอก-งอ-งู-สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-มอ-ม้า-ไม้-เอก-สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ดอ-เด็ก-ไม้-โท | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นสำนวน เป็นคำกริยา หมายถึง รู้ประมาณความสามารถของตนไม่อาจเอื้อมเกินตัว. | แข่งเรือแข่งแพแข่งได้ แข่งบุญแข่งวาสนาแข่งไม่ได้ (สำ) ก. รู้ประมาณความสามารถของตนไม่อาจเอื้อมเกินตัว. |
แข้ง เขียนว่า สะ-หระ-แอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-งอ-งู | เป็นคำนาม หมายถึง ส่วนหน้าของขา ใต้เข่าลงไปถึงข้อเท้า, หน้าแข้งก็ว่า, ราชาศัพท์ว่า พระชงฆ์. | แข้ง น. ส่วนหน้าของขา ใต้เข่าลงไปถึงข้อเท้า, หน้าแข้งก็ว่า, ราชาศัพท์ว่า พระชงฆ์. |
แข้งสิงห์ เขียนว่า สะ-หระ-แอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-งอ-งู-สอ-เสือ-สะ-หระ-อิ-งอ-งู-หอ-หีบ-ทัน-ทะ-คาด | เป็นคำนาม หมายถึง ส่วนหน้าของขาสิงห์ตรงที่เป็นสัน; เรียกการพันกระดาษซึ่งซอยให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ ที่ด้ามธงว่า พันแข้งสิงห์. | แข้งสิงห์ น. ส่วนหน้าของขาสิงห์ตรงที่เป็นสัน; เรียกการพันกระดาษซึ่งซอยให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ ที่ด้ามธงว่า พันแข้งสิงห์. |
แข้งไก่ เขียนว่า สะ-หระ-แอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-งอ-งู-สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-กอ-ไก่-ไม้-เอก | ดู หางแข็ง เขียนว่า หอ-หีบ-สะ-หระ-อา-งอ-งู-สะ-หระ-แอ-ขอ-ไข่-ไม้-ไต่-คู้-งอ-งู. | แข้งไก่ ดู หางแข็ง. |
แขน เขียนว่า สะ-หระ-แอ-ขอ-ไข่-นอ-หนู ความหมายที่ ๑ | เป็นคำนาม หมายถึง อวัยวะที่ต่อจากไหล่ทั้ง ๒ ข้าง, ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในราชาศัพท์ หมายถึง เรียกอวัยวะตั้งแต่ศอกไปถึงไหล่ว่า พระพาหา ตั้งแต่ศอกไปถึงมือว่า พระกร; เรียกสิ่งที่ยื่นออกไปจากส่วนใหญ่เหมือนรูปแขน เช่น แขนเสื้อ ไม้เท้าแขน. | แขน ๑ น. อวัยวะที่ต่อจากไหล่ทั้ง ๒ ข้าง, (ราชา) เรียกอวัยวะตั้งแต่ศอกไปถึงไหล่ว่า พระพาหา ตั้งแต่ศอกไปถึงมือว่า พระกร; เรียกสิ่งที่ยื่นออกไปจากส่วนใหญ่เหมือนรูปแขน เช่น แขนเสื้อ ไม้เท้าแขน. |
แขนขวา เขียนว่า สะ-หระ-แอ-ขอ-ไข่-นอ-หนู-ขอ-ไข่-วอ-แหวน-สะ-หระ-อา | เป็นคำนาม หมายถึง บริวารหรือผู้ใต้บังคับบัญชาที่เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงเปรียบเสมือนแขนข้างขวา. | แขนขวา น. บริวารหรือผู้ใต้บังคับบัญชาที่เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงเปรียบเสมือนแขนข้างขวา. |
แขนคู้ เขียนว่า สะ-หระ-แอ-ขอ-ไข่-นอ-หนู-คอ-ควาย-สะ-หระ-อู-ไม้-โท | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อดาวฤกษ์อาศเลษา. | แขนคู้ น. ชื่อดาวฤกษ์อาศเลษา. |
แขนซ้ายแขนขวา เขียนว่า สะ-หระ-แอ-ขอ-ไข่-นอ-หนู-ซอ-โซ่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-ยอ-ยัก-สะ-หระ-แอ-ขอ-ไข่-นอ-หนู-ขอ-ไข่-วอ-แหวน-สะ-หระ-อา | เป็นคำนาม หมายถึง บริวารหรือผู้ใต้บังคับบัญชาที่เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงเปรียบเสมือนแขนซ้ายแขนขวา. | แขนซ้ายแขนขวา น. บริวารหรือผู้ใต้บังคับบัญชาที่เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงเปรียบเสมือนแขนซ้ายแขนขวา. |
แขนทุกข์ เขียนว่า สะ-หระ-แอ-ขอ-ไข่-นอ-หนู-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อุ-กอ-ไก่-ขอ-ไข่-ทัน-ทะ-คาด | เป็นคำนาม หมายถึง ปลอกแขนสีดําสําหรับสวมติดแขนเสื้อข้างซ้ายเป็นการแสดงความไว้อาลัยต่อคนตาย. | แขนทุกข์ น. ปลอกแขนสีดําสําหรับสวมติดแขนเสื้อข้างซ้ายเป็นการแสดงความไว้อาลัยต่อคนตาย. |
แขนนาง เขียนว่า สะ-หระ-แอ-ขอ-ไข่-นอ-หนู-นอ-หนู-สะ-หระ-อา-งอ-งู ความหมายที่ ๑ | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อดาวฤกษ์วิศาขา. | แขนนาง ๑ น. ชื่อดาวฤกษ์วิศาขา. |
แขนนาง เขียนว่า สะ-หระ-แอ-ขอ-ไข่-นอ-หนู-นอ-หนู-สะ-หระ-อา-งอ-งู ความหมายที่ ๒ | เป็นคำนาม หมายถึง เครื่องค้ำยันชายคาเรือนเครื่องสับ ทำด้วยไม้หรือเหล็ก. | แขนนาง ๒ น. เครื่องค้ำยันชายคาเรือนเครื่องสับ ทำด้วยไม้หรือเหล็ก. |
แขนพับ เขียนว่า สะ-หระ-แอ-ขอ-ไข่-นอ-หนู-พอ-พาน-ไม้-หัน-อา-กาด-บอ-ไบ-ไม้ | เป็นคำนาม หมายถึง ส่วนของแขนตรงที่พับได้. | แขนพับ น. ส่วนของแขนตรงที่พับได้. |
แขน เขียนว่า สะ-หระ-แอ-ขอ-ไข่-นอ-หนู ความหมายที่ ๒ | เป็นคำนาม หมายถึง เรียกสายเสื้อชั้นในของผู้หญิง. | แขน ๒ น. เรียกสายเสื้อชั้นในของผู้หญิง. |
แข่น, แข้น แข่น เขียนว่า สะ-หระ-แอ-ขอ-ไข่-ไม้-เอก-นอ-หนู แข้น เขียนว่า สะ-หระ-แอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-นอ-หนู | เป็นคำกริยา หมายถึง ข้นจวนแห้งจวนแข็ง เช่น เลือดแข้น. เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง แข็ง เช่น อาหารแข้น. | แข่น, แข้น ก. ข้นจวนแห้งจวนแข็ง เช่น เลือดแข้น. ว. แข็ง เช่น อาหารแข้น. |
แขนง เขียนว่า สะ-หระ-แอ-ขอ-ไข่-นอ-หนู-งอ-งู ความหมายที่ ๑ | [ขะแหฺนง] เป็นคำนาม หมายถึง กิ่งไม้เล็ก ๆ ที่แตกใหม่จากลําของไม้พวกไม้ไผ่, กิ่งไม้เล็ก ๆ ที่แยกออกจากกิ่งใหญ่, โดยปริยายหมายถึงส่วนย่อยที่แยกจากส่วนใหญ่ เช่น วิชาฟิสิกส์เป็นแขนงหนึ่งของวิชาวิทยาศาสตร์. | แขนง ๑ [ขะแหฺนง] น. กิ่งไม้เล็ก ๆ ที่แตกใหม่จากลําของไม้พวกไม้ไผ่, กิ่งไม้เล็ก ๆ ที่แยกออกจากกิ่งใหญ่, โดยปริยายหมายถึงส่วนย่อยที่แยกจากส่วนใหญ่ เช่น วิชาฟิสิกส์เป็นแขนงหนึ่งของวิชาวิทยาศาสตร์. |
แขนง เขียนว่า สะ-หระ-แอ-ขอ-ไข่-นอ-หนู-งอ-งู ความหมายที่ ๒ | [ขะแหฺนง] เป็นคำกริยา หมายถึง แหนง, แคลง, เช่น และแขนงหฤทัยนาง. ในวงเล็บ มาจาก มหาชาติคำหลวง ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๐ กัณฑ์มัทรี; ใช้ในการต่อของให้ราคาตํ่า ถือเป็นลางบอกว่าจะขายไม่ได้ราคาดีต่อไป. | แขนง ๒ [ขะแหฺนง] ก. แหนง, แคลง, เช่น และแขนงหฤทัยนาง. (ม. คำหลวง มัทรี); ใช้ในการต่อของให้ราคาตํ่า ถือเป็นลางบอกว่าจะขายไม่ได้ราคาดีต่อไป. |
แขนง เขียนว่า สะ-หระ-แอ-ขอ-ไข่-นอ-หนู-งอ-งู ความหมายที่ ๓ | ดู เต่าเหลือง เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ตอ-เต่า-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-เอ-หอ-หีบ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อือ-ออ-อ่าง-งอ-งู ที่ เต่า เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ตอ-เต่า-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา ความหมายที่ ๑. | แขนง ๓ ดู เต่าเหลือง ที่ เต่า ๑. |
แขนะ เขียนว่า สะ-หระ-แอ-ขอ-ไข่-นอ-หนู-สะ-หระ-อะ | [ขะแหฺนะ] ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ เป็นคำกริยา หมายถึง แกะ, สลัก, เจาะ. เป็นคำนาม หมายถึง กรรมวิธีในการสร้างงานประติมากรรมตกแต่ง หรือวิธีการทางช่างจุลศิลป์ประเภทหนึ่ง โดยใช้สมุกปั้นเป็นลวดลายหรือรูปภาพติดเข้ากับพื้นไม้หรือพื้นกระดาษ เช่น ปั้นหน้ายักษ์หน้าลิงติดลงบนกะโหลกปิดกระดาษทำเป็นหัวโขน, กระแหนะ ก็ว่า. | แขนะ [ขะแหฺนะ] (โบ) ก. แกะ, สลัก, เจาะ. น. กรรมวิธีในการสร้างงานประติมากรรมตกแต่ง หรือวิธีการทางช่างจุลศิลป์ประเภทหนึ่ง โดยใช้สมุกปั้นเป็นลวดลายหรือรูปภาพติดเข้ากับพื้นไม้หรือพื้นกระดาษ เช่น ปั้นหน้ายักษ์หน้าลิงติดลงบนกะโหลกปิดกระดาษทำเป็นหัวโขน, กระแหนะ ก็ว่า. |
แขม เขียนว่า สะ-หระ-แอ-ขอ-ไข่-มอ-ม้า ความหมายที่ ๑ | [แขมฺ] เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Saccharum arundinaceum Retz. ในวงศ์ Gramineae มักขึ้นตามชายนํ้า ชายป่า และชายเขาที่ชุ่มชื้น, พง ก็เรียก. | แขม ๑ [แขมฺ] น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Saccharum arundinaceum Retz. ในวงศ์ Gramineae มักขึ้นตามชายนํ้า ชายป่า และชายเขาที่ชุ่มชื้น, พง ก็เรียก. |
แขม เขียนว่า สะ-หระ-แอ-ขอ-ไข่-มอ-ม้า ความหมายที่ ๒ | [ขะแม] เป็นคำนาม หมายถึง คนเขมร, เขียนเป็น แขมร์ ก็มี. | แขม ๒ [ขะแม] น. คนเขมร, เขียนเป็น แขมร์ ก็มี. |
แขม็บ, แขม็บ ๆ แขม็บ เขียนว่า สะ-หระ-แอ-ขอ-ไข่-มอ-ม้า-ไม้-ไต่-คู้-บอ-ไบ-ไม้ แขม็บ ๆ เขียนว่า สะ-หระ-แอ-ขอ-ไข่-มอ-ม้า-ไม้-ไต่-คู้-บอ-ไบ-ไม้ ไม้-ยะ-มก | [ขะแหฺม็บ] เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง หายใจแผ่ว ๆ แสดงว่าจวนจะหมดกําลัง, กระแหม็บ หรือ กระแหม็บ ๆ ก็ว่า. | แขม็บ, แขม็บ ๆ [ขะแหฺม็บ] ว. หายใจแผ่ว ๆ แสดงว่าจวนจะหมดกําลัง, กระแหม็บ หรือ กระแหม็บ ๆ ก็ว่า. |
แขม่ว เขียนว่า สะ-หระ-แอ-ขอ-ไข่-มอ-ม้า-ไม้-เอก-วอ-แหวน | [ขะแหฺม่ว] เป็นคำกริยา หมายถึง ผ่อนลมหายใจให้ท้องยุบลง, บังคับกล้ามเนื้อท้องให้ท้องยุบลง, กระแหม่ว ก็ว่า. | แขม่ว [ขะแหฺม่ว] ก. ผ่อนลมหายใจให้ท้องยุบลง, บังคับกล้ามเนื้อท้องให้ท้องยุบลง, กระแหม่ว ก็ว่า. |
แขย็ก ๆ เขียนว่า สะ-หระ-แอ-ขอ-ไข่-ยอ-ยัก-ไม้-ไต่-คู้-กอ-ไก่ ไม้-ยะ-มก | [ขะแหฺย็ก] เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง อาการที่ปีนขยับขึ้นไปทีละน้อย ๆ ขึ้นไปได้ไม่สะดวก เช่น ปีนต้นไม้แขย็ก ๆ, อาการที่ขยับไปทีละน้อย ๆ เพราะไปไม่ถนัด เช่น ถีบจักรยานแขย็ก ๆ เดินแขย็ก ๆ. | แขย็ก ๆ [ขะแหฺย็ก] ว. อาการที่ปีนขยับขึ้นไปทีละน้อย ๆ ขึ้นไปได้ไม่สะดวก เช่น ปีนต้นไม้แขย็ก ๆ, อาการที่ขยับไปทีละน้อย ๆ เพราะไปไม่ถนัด เช่น ถีบจักรยานแขย็ก ๆ เดินแขย็ก ๆ. |
แขยง เขียนว่า สะ-หระ-แอ-ขอ-ไข่-ยอ-ยัก-งอ-งู ความหมายที่ ๑ | [ขะแหฺยง] เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อปลานํ้าจืดแทบทุกชนิดในวงศ์ Bagridae ไม่มีเกล็ด มีหนวดยาว ๔ คู่ ครีบหลังตอนแรกมีก้านครีบแข็ง หยักเป็นหนามคมเช่นเดียวกับครีบอก ตอนที่ ๒ เป็นครีบไขมันลักษณะเป็นแผ่นเนื้อขนาดเล็กหรือใหญ่ขึ้นกับชนิดของปลา ครีบก้นสั้น รูปร่างคล้ายปลากดแต่มีขนาดเล็กกว่า เช่น แขยงหิน (Leiocassis siamensis) แขยงใบข้าว (Mystus cavasius) แขยงธง หรือ แขยงหมู (Heterobagrus bocourti) แขยงวัง หรือ แขยงหนู (Bagroides macropterus). | แขยง ๑ [ขะแหฺยง] น. ชื่อปลานํ้าจืดแทบทุกชนิดในวงศ์ Bagridae ไม่มีเกล็ด มีหนวดยาว ๔ คู่ ครีบหลังตอนแรกมีก้านครีบแข็ง หยักเป็นหนามคมเช่นเดียวกับครีบอก ตอนที่ ๒ เป็นครีบไขมันลักษณะเป็นแผ่นเนื้อขนาดเล็กหรือใหญ่ขึ้นกับชนิดของปลา ครีบก้นสั้น รูปร่างคล้ายปลากดแต่มีขนาดเล็กกว่า เช่น แขยงหิน (Leiocassis siamensis) แขยงใบข้าว (Mystus cavasius) แขยงธง หรือ แขยงหมู (Heterobagrus bocourti) แขยงวัง หรือ แขยงหนู (Bagroides macropterus). |
แขยง เขียนว่า สะ-หระ-แอ-ขอ-ไข่-ยอ-ยัก-งอ-งู ความหมายที่ ๒ | [ขะแหฺยง] เป็นคำกริยา หมายถึง เกลียดเมื่อได้เห็นหรือถูกต้องสิ่งที่สกปรก น่ารังเกียจ หรือน่าเกลียดน่ากลัว หรือเมื่อนึกถึงสิ่งนั้น, ขยะแขยง ก็ว่า. | แขยง ๒ [ขะแหฺยง] ก. เกลียดเมื่อได้เห็นหรือถูกต้องสิ่งที่สกปรก น่ารังเกียจ หรือน่าเกลียดน่ากลัว หรือเมื่อนึกถึงสิ่งนั้น, ขยะแขยง ก็ว่า. |
แขยงแขงขน เขียนว่า สะ-หระ-แอ-ขอ-ไข่-ยอ-ยัก-งอ-งู-สะ-หระ-แอ-ขอ-ไข่-งอ-งู-ขอ-ไข่-นอ-หนู | เป็นคำกริยา หมายถึง สะอิดสะเอียนจนขนลุก. | แขยงแขงขน ก. สะอิดสะเอียนจนขนลุก. |
แขย่ง เขียนว่า สะ-หระ-แอ-ขอ-ไข่-ยอ-ยัก-ไม้-เอก-งอ-งู | [ขะแหฺย่ง] เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง แขย็ก ๆ, อาการที่ปีนขยับขึ้นไปทีละน้อย ๆ ขึ้นไปได้ไม่สะดวก, เช่น ผ้าคาดพุงผูกพันขยันตะแบง แขย่งเข่นฆ่าพร้าขัดเอว. ในวงเล็บ มาจาก มหาเวสสันดรชาดก ในวงเล็บ แบบเรียน กัณฑ์ชูชก, มักใช้พูดเข้าคู่กับคํา เขย้อ เป็น เขย้อแขย่ง. | แขย่ง [ขะแหฺย่ง] ว. แขย็ก ๆ, อาการที่ปีนขยับขึ้นไปทีละน้อย ๆ ขึ้นไปได้ไม่สะดวก, เช่น ผ้าคาดพุงผูกพันขยันตะแบง แขย่งเข่นฆ่าพร้าขัดเอว. (ม. ร่ายยาว ชูชก), มักใช้พูดเข้าคู่กับคํา เขย้อ เป็น เขย้อแขย่ง. |
แขยงหนู เขียนว่า สะ-หระ-แอ-ขอ-ไข่-ยอ-ยัก-งอ-งู-หอ-หีบ-นอ-หนู-สะ-หระ-อู | [ขะแหฺยง] เป็นคำนาม หมายถึง (๑) ชื่อปลาแขยงชนิดหนึ่ง, แขยงวัง ก็เรียก. ในวงเล็บ ดู แขยง เขียนว่า สะ-หระ-แอ-ขอ-ไข่-ยอ-ยัก-งอ-งู ความหมายที่ ๑. (๒) ดู มังกง เขียนว่า มอ-ม้า-ไม้-หัน-อา-กาด-งอ-งู-กอ-ไก่-งอ-งู. | แขยงหนู [ขะแหฺยง] น. (๑) ชื่อปลาแขยงชนิดหนึ่ง, แขยงวัง ก็เรียก. (ดู แขยง ๑). (๒) ดู มังกง. |
แขละ เขียนว่า สะ-หระ-แอ-ขอ-ไข่-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อะ | [แขฺละ] เป็นคำนาม หมายถึง ลายเกลียวเส้นลวดเล็ก ๆ ส่วนมากนิยมทำไว้ตรงโคนกระเปาะที่ฝังหัวแหวนแบบโบราณชนิดเม้มหรือล้มขอบ. | แขละ [แขฺละ] น. ลายเกลียวเส้นลวดเล็ก ๆ ส่วนมากนิยมทำไว้ตรงโคนกระเปาะที่ฝังหัวแหวนแบบโบราณชนิดเม้มหรือล้มขอบ. |
แขวก เขียนว่า สะ-หระ-แอ-ขอ-ไข่-วอ-แหวน-กอ-ไก่ | [แขฺวก] เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อนกชนิด Nycticorax nycticorax ในวงศ์ Ardeidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับนกยาง หัวค่อนข้างโต คอสั้น ขาสั้นกว่านกยางชนิดอื่น ลําตัวส่วนบนสีเขียวอมเทา ท้ายทอยมีเปียสีขาว ๒๓ เส้น ลําตัวส่วนล่างสีขาว อยู่เป็นฝูง กินปลาและสัตว์เล็ก ๆ หากินในเวลากลางคืน. | แขวก [แขฺวก] น. ชื่อนกชนิด Nycticorax nycticorax ในวงศ์ Ardeidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับนกยาง หัวค่อนข้างโต คอสั้น ขาสั้นกว่านกยางชนิดอื่น ลําตัวส่วนบนสีเขียวอมเทา ท้ายทอยมีเปียสีขาว ๒๓ เส้น ลําตัวส่วนล่างสีขาว อยู่เป็นฝูง กินปลาและสัตว์เล็ก ๆ หากินในเวลากลางคืน. |
แขวง เขียนว่า สะ-หระ-แอ-ขอ-ไข่-วอ-แหวน-งอ-งู | [แขฺวง] เป็นคำนาม หมายถึง เขต, แดน, ส่วน, ฝ่าย, อาณาบริเวณที่กําหนดไว้เพื่อสะดวกในการปฏิบัติราชการอย่างใดอย่างหนึ่ง. | แขวง [แขฺวง] น. เขต, แดน, ส่วน, ฝ่าย, อาณาบริเวณที่กําหนดไว้เพื่อสะดวกในการปฏิบัติราชการอย่างใดอย่างหนึ่ง. |
แขวน เขียนว่า สะ-หระ-แอ-ขอ-ไข่-วอ-แหวน-นอ-หนู ความหมายที่ ๑ | [แขฺวน] เป็นคำกริยา หมายถึง เกี่ยวห้อยอยู่. | แขวน ๑ [แขฺวน] ก. เกี่ยวห้อยอยู่. |
แขวนคอ เขียนว่า สะ-หระ-แอ-ขอ-ไข่-วอ-แหวน-นอ-หนู-คอ-ควาย-ออ-อ่าง | เป็นคำกริยา หมายถึง เอาเชือกหรือผ้าเป็นต้นผูกคอห้อยไว้บนที่สูงเช่นบนต้นไม้ ไม่ให้เท้าถึงพื้นเพื่อให้ตาย เป็นการประหารชีวิตนักโทษแบบหนึ่งของชาวตะวันตกบางประเทศ. | แขวนคอ ก. เอาเชือกหรือผ้าเป็นต้นผูกคอห้อยไว้บนที่สูงเช่นบนต้นไม้ ไม่ให้เท้าถึงพื้นเพื่อให้ตาย เป็นการประหารชีวิตนักโทษแบบหนึ่งของชาวตะวันตกบางประเทศ. |
แขวนนวม เขียนว่า สะ-หระ-แอ-ขอ-ไข่-วอ-แหวน-นอ-หนู-นอ-หนู-วอ-แหวน-มอ-ม้า | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นสำนวน เป็นคำกริยา หมายถึง เลิกชกมวย, โดยปริยายหมายถึง เลิก, หยุด. | แขวนนวม (สำ) ก. เลิกชกมวย, โดยปริยายหมายถึง เลิก, หยุด. |
แขวน เขียนว่า สะ-หระ-แอ-ขอ-ไข่-วอ-แหวน-นอ-หนู ความหมายที่ ๒ | [แขฺวน] เป็นคำนาม หมายถึง ตัวไม้โครงหลังคา เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวระหว่างเต้ากับจันทันระเบียง, ค้างคาว หรือ โตงเตง ก็เรียก. | แขวน ๒ [แขฺวน] น. ตัวไม้โครงหลังคา เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวระหว่างเต้ากับจันทันระเบียง, ค้างคาว หรือ โตงเตง ก็เรียก. |
แขวนลอย เขียนว่า สะ-หระ-แอ-ขอ-ไข่-วอ-แหวน-นอ-หนู-ลอ-ลิง-ออ-อ่าง-ยอ-ยัก | ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในเคมี เป็นคำนาม หมายถึง ภาวะที่อนุภาคซึ่งมีขนาดจํากัดแผ่กระจายอยู่ในของไหลหรือของแข็งโดยไม่ละลายหรือสลายตัวรวมเป็นเนื้อเดียวกับของไหลหรือของแข็งนั้น, สารที่อยู่ในภาวะเช่นนี้เรียกว่า สารแขวนลอย เช่น ฝุ่นในอากาศ หยดนํ้าเล็ก ๆ ในแก๊ส. ในวงเล็บ มาจากภาษาอังกฤษ suspension เขียนว่า เอส-ยู-เอส-พี-อี-เอ็น-เอส-ไอ-โอ-เอ็น. | แขวนลอย (เคมี) น. ภาวะที่อนุภาคซึ่งมีขนาดจํากัดแผ่กระจายอยู่ในของไหลหรือของแข็งโดยไม่ละลายหรือสลายตัวรวมเป็นเนื้อเดียวกับของไหลหรือของแข็งนั้น, สารที่อยู่ในภาวะเช่นนี้เรียกว่า สารแขวนลอย เช่น ฝุ่นในอากาศ หยดนํ้าเล็ก ๆ ในแก๊ส. (อ. suspension). |
แขวะ เขียนว่า สะ-หระ-แอ-ขอ-ไข่-วอ-แหวน-สะ-หระ-อะ | [แขฺวะ] เป็นคำกริยา หมายถึง เอาสิ่งมีคมแหวะคว้านให้กว้าง; พูดชวนวิวาท. | แขวะ [แขฺวะ] ก. เอาสิ่งมีคมแหวะคว้านให้กว้าง; พูดชวนวิวาท. |
แขสร์ เขียนว่า สะ-หระ-แอ-ขอ-ไข่-สอ-เสือ-รอ-เรือ-ทัน-ทะ-คาด | [ขะแส] เป็นคำนาม หมายถึง กระแส; เส้นเชือก. ในวงเล็บ มาจากภาษาเขมร . | แขสร์ [ขะแส] น. กระแส; เส้นเชือก. (ข.). |
โข เขียนว่า สะ-หระ-โอ-ขอ-ไข่ | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาปาก เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง มาก. (กร่อนมาจาก อักโข ซึ่งตัดมาจาก อักโขภิณี). | โข (ปาก) ว. มาก. (กร่อนมาจาก อักโข ซึ่งตัดมาจาก อักโขภิณี). |
โขก เขียนว่า สะ-หระ-โอ-ขอ-ไข่-กอ-ไก่ | เป็นคำกริยา หมายถึง ควํ่าภาชนะเป็นต้นแล้วเคาะลงที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยแรง, กิริยาที่ควํ่าหน้าลงแล้วเอาหน้าผากกระแทกพื้นเป็นต้น เช่น เอาหน้าผากโขกพื้น. | โขก ก. ควํ่าภาชนะเป็นต้นแล้วเคาะลงที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยแรง, กิริยาที่ควํ่าหน้าลงแล้วเอาหน้าผากกระแทกพื้นเป็นต้น เช่น เอาหน้าผากโขกพื้น. |
โขกสับ เขียนว่า สะ-หระ-โอ-ขอ-ไข่-กอ-ไก่-สอ-เสือ-ไม้-หัน-อา-กาด-บอ-ไบ-ไม้ | เป็นคำกริยา หมายถึง ด่าว่าข่มขี่. | โขกสับ ก. ด่าว่าข่มขี่. |
โขง เขียนว่า สะ-หระ-โอ-ขอ-ไข่-งอ-งู | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง กลิ่นเหม็นอย่างเนื้อเน่าที่ค้างหลายวัน, โขลง ก็ว่า. | โขง ว. กลิ่นเหม็นอย่างเนื้อเน่าที่ค้างหลายวัน, โขลง ก็ว่า. |
โข่ง เขียนว่า สะ-หระ-โอ-ขอ-ไข่-ไม้-เอก-งอ-งู ความหมายที่ ๑ | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อหอยนํ้าจืดกาบเดี่ยวในวงศ์ Ampullariidae เปลือกสีเขียวคลํ้า มีขนาดเท่าหัวแม่มือจนถึงกําปั้น เวียนเป็นวง ยอดสั้น วงสุดท้ายค่อนข้างกลม มีหลายชนิดในสกุล Pila เช่น ชนิด P. ampullacea, P. polita. | โข่ง ๑ น. ชื่อหอยนํ้าจืดกาบเดี่ยวในวงศ์ Ampullariidae เปลือกสีเขียวคลํ้า มีขนาดเท่าหัวแม่มือจนถึงกําปั้น เวียนเป็นวง ยอดสั้น วงสุดท้ายค่อนข้างกลม มีหลายชนิดในสกุล Pila เช่น ชนิด P. ampullacea, P. polita. |
โข่ง เขียนว่า สะ-หระ-โอ-ขอ-ไข่-ไม้-เอก-งอ-งู ความหมายที่ ๒ | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาปาก เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง เปิ่น, ไม่เข้าท่า; โค่ง. | โข่ง ๒ (ปาก) ว. เปิ่น, ไม่เข้าท่า; โค่ง. |
โข่งทะเล เขียนว่า สะ-หระ-โอ-ขอ-ไข่-ไม้-เอก-งอ-งู-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-ลอ-ลิง | ดู เป๋าฮื้อ เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ปอ-ปลา-ไม้-จัด-ตะ-วา-สะ-หระ-อา-ฮอ-นก-ฮูก-สะ-หระ-อือ-ไม้-โท-ออ-อ่าง ความหมายที่ ๑. | โข่งทะเล ดู เป๋าฮื้อ ๑. |
โขด เขียนว่า สะ-หระ-โอ-ขอ-ไข่-ดอ-เด็ก | เป็นคำนาม หมายถึง ดินหรือหินที่สูงขึ้นเป็นโคกเป็นเนิน, ดิน หิน หรือทรายที่เป็นจอมสูงขึ้นพ้นนํ้าบ้าง อยู่ใต้นํ้าบ้าง. | โขด น. ดินหรือหินที่สูงขึ้นเป็นโคกเป็นเนิน, ดิน หิน หรือทรายที่เป็นจอมสูงขึ้นพ้นนํ้าบ้าง อยู่ใต้นํ้าบ้าง. |
โขดง เขียนว่า สะ-หระ-โอ-ขอ-ไข่-ดอ-เด็ก-งอ-งู | [ขะโดง] เป็นคำนาม หมายถึง กระโดง; ใบเรือ. ในวงเล็บ มาจากภาษาเขมร . | โขดง [ขะโดง] น. กระโดง; ใบเรือ. (ข.). |
โขน เขียนว่า สะ-หระ-โอ-ขอ-ไข่-นอ-หนู ความหมายที่ ๑ | เป็นคำนาม หมายถึง การเล่นอย่างหนึ่งคล้ายละครรํา มักเล่นเรื่องรามเกียรติ์ โดยผู้แสดงสวมหัวจําลองต่าง ๆ ที่เรียกว่า หัวโขน. | โขน ๑ น. การเล่นอย่างหนึ่งคล้ายละครรํา มักเล่นเรื่องรามเกียรติ์ โดยผู้แสดงสวมหัวจําลองต่าง ๆ ที่เรียกว่า หัวโขน. |
โขน เขียนว่า สะ-หระ-โอ-ขอ-ไข่-นอ-หนู ความหมายที่ ๒ | เป็นคำนาม หมายถึง ไม้ที่ต่อเสริมหัวเรือท้ายเรือให้งอนเชิดขึ้นไป เรียกว่า โขนเรือ; เรียกเรือชนิดหนึ่งที่มีโขนว่า เรือโขน เช่น เรือโขนขนาดใหญ่น้อย เหลือหลาย. ในวงเล็บ มาจาก ลิลิตพยุหยาตรา ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ; ส่วนสุดทั้ง ๒ ข้างของรางระนาดหรือฆ้องวงที่งอนขึ้น. | โขน ๒ น. ไม้ที่ต่อเสริมหัวเรือท้ายเรือให้งอนเชิดขึ้นไป เรียกว่า โขนเรือ; เรียกเรือชนิดหนึ่งที่มีโขนว่า เรือโขน เช่น เรือโขนขนาดใหญ่น้อย เหลือหลาย. (ลิลิตพยุหยาตรา); ส่วนสุดทั้ง ๒ ข้างของรางระนาดหรือฆ้องวงที่งอนขึ้น. |
โขนง เขียนว่า สะ-หระ-โอ-ขอ-ไข่-นอ-หนู-งอ-งู | [ขะโหฺนง] เป็นคำนาม หมายถึง ขนง, คิ้ว. | โขนง [ขะโหฺนง] น. ขนง, คิ้ว. |
โขม เขียนว่า สะ-หระ-โอ-ขอ-ไข่-มอ-ม้า | เป็นคำนาม หมายถึง ผักโขม. ในวงเล็บ ดู ขม เขียนว่า ขอ-ไข่-มอ-ม้า ความหมายที่ ๒ (๑). | โขม น. ผักโขม. [ดู ขม ๒ (๑)]. |
โขม มีเครื่องหมายยัติภังค์ท้ายคำ เขียนว่า สะ-หระ-โอ-ขอ-ไข่-มอ-ม้า | [โขมะ] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้เฉพาะในหนังสือ ไม่ใช่คำพูดทั่วไป เป็นคำนาม หมายถึง โกษม, ผ้าใยไหม (ผ้าลินิน), ผ้าขาว, ผ้าป่าน, ใช้เป็นศัพท์ประกอบว่า โขมพัตถ์ โขมพัสตร์ และแผลงเป็น โขษมพัสตร์ ก็มี. ในวงเล็บ มาจากภาษาบาลี และมาจากภาษาสันสกฤต เกฺษาม เขียนว่า สะ-หระ-เอ-กอ-ไก่-พิน-ทุ-สอ-รือ-สี-สะ-หระ-อา-มอ-ม้า. | โขม [โขมะ] (แบบ) น. โกษม, ผ้าใยไหม (ผ้าลินิน), ผ้าขาว, ผ้าป่าน, ใช้เป็นศัพท์ประกอบว่า โขมพัตถ์ โขมพัสตร์ และแผลงเป็น โขษมพัสตร์ ก็มี. (ป.; ส. เกฺษาม). |
โขมง เขียนว่า สะ-หระ-โอ-ขอ-ไข่-มอ-ม้า-งอ-งู | [ขะโหฺมง] เป็นคำกริยา หมายถึง พลุ่งออกมาพร้อมกันมาก ๆ เช่น ควันโขมง. เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ฟุ้ง, เอ็ดอึง, เช่น คุยโขมง. | โขมง [ขะโหฺมง] ก. พลุ่งออกมาพร้อมกันมาก ๆ เช่น ควันโขมง. ว. ฟุ้ง, เอ็ดอึง, เช่น คุยโขมง. |
โขมด เขียนว่า สะ-หระ-โอ-ขอ-ไข่-มอ-ม้า-ดอ-เด็ก ความหมายที่ ๑ | [ขะโหฺมด] เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อผีชนิดหนึ่งในพวกผีกระสือหรือผีโพง เห็นเป็นแสงเรืองวาวในเวลากลางคืน ทําให้หลงผิดนึกว่ามีคนถือไฟหรือจุดไฟอยู่ข้างหน้า พอเข้าไปใกล้ก็หายไป ทางวิทยาศาสตร์อธิบายว่า ได้แก่แก๊สมีเทน (methane) ที่เกิดจากการเน่าเปื่อยผุพังของสารอินทรีย์แล้วติดไฟในอากาศ เป็นแสงวอบแวบในที่มืด. ในวงเล็บ มาจากภาษาเขมร โขฺมจ เขียนว่า สะ-หระ-โอ-ขอ-ไข่-พิน-ทุ-มอ-ม้า-จอ-จาน ว่า ผี . | โขมด ๑ [ขะโหฺมด] น. ชื่อผีชนิดหนึ่งในพวกผีกระสือหรือผีโพง เห็นเป็นแสงเรืองวาวในเวลากลางคืน ทําให้หลงผิดนึกว่ามีคนถือไฟหรือจุดไฟอยู่ข้างหน้า พอเข้าไปใกล้ก็หายไป ทางวิทยาศาสตร์อธิบายว่า ได้แก่แก๊สมีเทน (methane) ที่เกิดจากการเน่าเปื่อยผุพังของสารอินทรีย์แล้วติดไฟในอากาศ เป็นแสงวอบแวบในที่มืด. (ข. โขฺมจ ว่า ผี). |
โขมด เขียนว่า สะ-หระ-โอ-ขอ-ไข่-มอ-ม้า-ดอ-เด็ก ความหมายที่ ๒ | [ขะโหฺมด] เป็นคำนาม หมายถึง กระหมวด; จอมประสาทหัวช้าง. | โขมด ๒ [ขะโหฺมด] น. กระหมวด; จอมประสาทหัวช้าง. |
โขมดยา เขียนว่า สะ-หระ-โอ-ขอ-ไข่-มอ-ม้า-ดอ-เด็ก-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา | [ขะโหฺมด] เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อเรือที่ขุดขึ้นจากซุงทั้งต้นใหญ่กว่าเรือกราบ รูปร่างค่อนข้างเพรียว หัวและท้ายเรือเสริมไม้ต่อเป็นโขนงอนเชิดขึ้น ด้านข้างหัวเรือเขียนลวดลายด้วยนํ้ายาสีต่าง ๆ วางกระทงขวางลําสําหรับคนนั่งพายได้ประมาณ ๕๐ คน เป็นเรือตามเสด็จในการเสด็จพระราชดําเนินโดยกระบวนพยุหยาตราทางชลมารคหรือเสด็จพระราชดําเนินลําลองทางชลมารค ใช้เป็นเรือกันหรือเรือพิฆาตได้, ขมวดยา ก็ว่า. | โขมดยา [ขะโหฺมด] น. ชื่อเรือที่ขุดขึ้นจากซุงทั้งต้นใหญ่กว่าเรือกราบ รูปร่างค่อนข้างเพรียว หัวและท้ายเรือเสริมไม้ต่อเป็นโขนงอนเชิดขึ้น ด้านข้างหัวเรือเขียนลวดลายด้วยนํ้ายาสีต่าง ๆ วางกระทงขวางลําสําหรับคนนั่งพายได้ประมาณ ๕๐ คน เป็นเรือตามเสด็จในการเสด็จพระราชดําเนินโดยกระบวนพยุหยาตราทางชลมารคหรือเสด็จพระราชดําเนินลําลองทางชลมารค ใช้เป็นเรือกันหรือเรือพิฆาตได้, ขมวดยา ก็ว่า. |
โขยก เขียนว่า สะ-หระ-โอ-ขอ-ไข่-ยอ-ยัก-กอ-ไก่ | [ขะโหฺยก] เป็นคำกริยา หมายถึง เดินหรือวิ่งด้วยอาการคล้ายกระโดด. | โขยก [ขะโหฺยก] ก. เดินหรือวิ่งด้วยอาการคล้ายกระโดด. |
โขยกเขยก เขียนว่า สะ-หระ-โอ-ขอ-ไข่-ยอ-ยัก-กอ-ไก่-สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ยอ-ยัก-กอ-ไก่ | [ขะเหฺยก] เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง กะโผลกกะเผลก. | โขยกเขยก [ขะเหฺยก] ว. กะโผลกกะเผลก. |
โขยง เขียนว่า สะ-หระ-โอ-ขอ-ไข่-ยอ-ยัก-งอ-งู | [ขะโหฺยง] เป็นคำนาม หมายถึง พวก, หมู่, ฝูง. เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง หมดด้วยกัน. | โขยง [ขะโหฺยง] น. พวก, หมู่, ฝูง. ว. หมดด้วยกัน. |
โขย่ง เขียนว่า สะ-หระ-โอ-ขอ-ไข่-ยอ-ยัก-ไม้-เอก-งอ-งู | [ขะโหฺย่ง] เป็นคำกริยา หมายถึง กระโหย่ง, ทําให้สูงขึ้น. | โขย่ง [ขะโหฺย่ง] ก. กระโหย่ง, ทําให้สูงขึ้น. |
โขยด เขียนว่า สะ-หระ-โอ-ขอ-ไข่-ยอ-ยัก-ดอ-เด็ก | [ขะโหฺยด] เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง วิ่งอย่างกระโดด เช่น ทั้งพระยากาสรตัวกล้าก็ลับเขาโขยดโลดลองเชิง. ในวงเล็บ มาจาก มหาเวสสันดรชาดก ในวงเล็บ แบบเรียน กัณฑ์กุมาร. | โขยด [ขะโหฺยด] ว. วิ่งอย่างกระโดด เช่น ทั้งพระยากาสรตัวกล้าก็ลับเขาโขยดโลดลองเชิง. (ม. ร่ายยาว กุมาร). |
โขยม เขียนว่า สะ-หระ-โอ-ขอ-ไข่-ยอ-ยัก-มอ-ม้า | [ขะโหฺยม] ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ เป็นคำนาม หมายถึง ขยม, ข้า, บ่าว, เช่น ไว้โขยมวัดสามครัว. ในวงเล็บ มาจาก พงศาวดารโยนก ของ พระยาประชากิจกรจักร์ (แช่ม บุนนาค) ฉบับโรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร พ.ศ. ๒๔๗๘ ในวงเล็บ มาจากภาษาเขมร ขฺญุํ เขียนว่า ขอ-ไข่-พิน-ทุ-ยอ-หยิง-สะ-หระ-อุ-นิค-คะ-หิด. | โขยม [ขะโหฺยม] (โบ) น. ขยม, ข้า, บ่าว, เช่น ไว้โขยมวัดสามครัว. (พงศ. โยนก). (ข. ขฺญุํ). |
โขลก, โขลก ๆ โขลก เขียนว่า สะ-หระ-โอ-ขอ-ไข่-ลอ-ลิง-กอ-ไก่ โขลก ๆ เขียนว่า สะ-หระ-โอ-ขอ-ไข่-ลอ-ลิง-กอ-ไก่ ไม้-ยะ-มก | [โขฺลก] เป็นคำกริยา หมายถึง ตําให้เข้ากัน หรือให้เหนียว หรือให้แหลก. เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง เสียงดังเช่นนั้น เช่น เสียงไอโขลก ๆ. | โขลก, โขลก ๆ [โขฺลก] ก. ตําให้เข้ากัน หรือให้เหนียว หรือให้แหลก. ว. เสียงดังเช่นนั้น เช่น เสียงไอโขลก ๆ. |
โขลง เขียนว่า สะ-หระ-โอ-ขอ-ไข่-ลอ-ลิง-งอ-งู ความหมายที่ ๑ | [โขฺลง] เป็นคำนาม หมายถึง ฝูง (ใช้เฉพาะช้าง). | โขลง ๑ [โขฺลง] น. ฝูง (ใช้เฉพาะช้าง). |
โขลง เขียนว่า สะ-หระ-โอ-ขอ-ไข่-ลอ-ลิง-งอ-งู ความหมายที่ ๒ | [โขฺลง] เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง มีกลิ่นเหม็นอย่างเนื้อเน่าที่ค้างหลายวัน, โขง ก็ว่า. | โขลง ๒ [โขฺลง] ว. มีกลิ่นเหม็นอย่างเนื้อเน่าที่ค้างหลายวัน, โขง ก็ว่า. |
โขลน เขียนว่า สะ-หระ-โอ-ขอ-ไข่-ลอ-ลิง-นอ-หนู | [โขฺลน] ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อกรมซึ่งมีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยในพระราชฐานชั้นใน, เจ้าพนักงานหญิงในกรมโขลน มีหน้าที่คล้ายตํารวจ; ตําแหน่งราชการฝ่ายทหาร. ในวงเล็บ มาจาก ประชุมจารึกสยาม ภาคที่ จารึกสุโขทัย, ศาสตราจารย์ ยอช เซเดส์ ชำระและแปล ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๗. | โขลน [โขฺลน] (โบ) น. ชื่อกรมซึ่งมีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยในพระราชฐานชั้นใน, เจ้าพนักงานหญิงในกรมโขลน มีหน้าที่คล้ายตํารวจ; ตําแหน่งราชการฝ่ายทหาร. (จารึกสยาม). |
โขลนทวาร เขียนว่า สะ-หระ-โอ-ขอ-ไข่-ลอ-ลิง-นอ-หนู-ทอ-ทะ-หาน-วอ-แหวน-สะ-หระ-อา-รอ-เรือ | [โขฺลนทะวาน] เป็นคำนาม หมายถึง ประตูป่า, ประตูป่าที่ทําตามตําราพราหมณ์ คือทําเป็นประตูสะด้วยใบไม้ให้ทหารผู้ไปทัพนั้นลอดไป มีพราหมณ์คู่หนึ่งนั่งบนร้านสูง ๒ ข้างประตูคอยประนํ้าเทพมนตร์ เพื่อเป็นชัยมงคลแก่กองทัพที่ยกไป. ในวงเล็บ มาจากภาษาเขมร โขฺลงทฺวาร เขียนว่า สะ-หระ-โอ-ขอ-ไข่-พิน-ทุ-ลอ-ลิง-งอ-งู-ทอ-ทะ-หาน-พิน-ทุ-วอ-แหวน-สะ-หระ-อา-รอ-เรือ ว่า ประตูใหญ่ที่มีเสาปัก ๒ ข้าง และมีไม้ขวางข้างบน . | โขลนทวาร [โขฺลนทะวาน] น. ประตูป่า, ประตูป่าที่ทําตามตําราพราหมณ์ คือทําเป็นประตูสะด้วยใบไม้ให้ทหารผู้ไปทัพนั้นลอดไป มีพราหมณ์คู่หนึ่งนั่งบนร้านสูง ๒ ข้างประตูคอยประนํ้าเทพมนตร์ เพื่อเป็นชัยมงคลแก่กองทัพที่ยกไป. (ข. โขฺลงทฺวาร ว่า ประตูใหญ่ที่มีเสาปัก ๒ ข้าง และมีไม้ขวางข้างบน). |
โขษม เขียนว่า สะ-หระ-โอ-ขอ-ไข่-สอ-รือ-สี-มอ-ม้า | [ขะโสม] เป็นคำนาม หมายถึง ผ้าใยไหม (ผ้าลินิน), ผ้าขาว, ผ้าป่าน. ในวงเล็บ มาจากภาษาบาลี โขม เขียนว่า สะ-หระ-โอ-ขอ-ไข่-มอ-ม้า และมาจากภาษาสันสกฤต เกฺษาม เขียนว่า สะ-หระ-เอ-กอ-ไก่-พิน-ทุ-สอ-รือ-สี-สะ-หระ-อา-มอ-ม้า. (แผลงมาจาก โขม). | โขษม [ขะโสม] น. ผ้าใยไหม (ผ้าลินิน), ผ้าขาว, ผ้าป่าน. (ป. โขม; ส. เกฺษาม). (แผลงมาจาก โขม). |
ไข เขียนว่า สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ขอ-ไข่ ความหมายที่ ๑ | เป็นคำนาม หมายถึง มันข้น, นํ้ามันที่ได้จากสัตว์ พืช หรือแร่ ที่แข็งตัวในอุณหภูมิปรกติ; น้ำมันที่มีสถานะเป็นของแข็งเนื่องจากอยู่ในอุณหภูมิต่ำ. ในวงเล็บ มาจากภาษาอังกฤษ wax เขียนว่า ดับเบิลยู-เอ-เอ็กซ์. | ไข ๑ น. มันข้น, นํ้ามันที่ได้จากสัตว์ พืช หรือแร่ ที่แข็งตัวในอุณหภูมิปรกติ; น้ำมันที่มีสถานะเป็นของแข็งเนื่องจากอยู่ในอุณหภูมิต่ำ. (อ. wax). |
ไขกระดูก เขียนว่า สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ขอ-ไข่-กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-อู-กอ-ไก่ | เป็นคำนาม หมายถึง เนื้อส่วนในของกระดูก บางแห่งเป็นที่สร้างเม็ดเลือดชนิดต่าง ๆ ของร่างกาย. | ไขกระดูก น. เนื้อส่วนในของกระดูก บางแห่งเป็นที่สร้างเม็ดเลือดชนิดต่าง ๆ ของร่างกาย. |
ไขข้อ เขียนว่า สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ขอ-ไข่-ขอ-ไข่-ไม้-โท-ออ-อ่าง | เป็นคำนาม หมายถึง นํ้าหล่อลื่นข้อของร่างกาย. | ไขข้อ น. นํ้าหล่อลื่นข้อของร่างกาย. |
ไขมัน เขียนว่า สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ขอ-ไข่-มอ-ม้า-ไม้-หัน-อา-กาด-นอ-หนู | เป็นคำนาม หมายถึง สารประกอบอินทรีย์จำพวกหนึ่งมีทั้งในสัตว์และพืช ไม่ละลายน้ำ, ถ้าเป็นของเหลวในอุณหภูมิปรกติเรียก น้ำมัน, ถ้าเป็นของแข็งในอุณหภูมิปรกติเรียก ไข. ในวงเล็บ มาจากภาษาอังกฤษ fat เขียนว่า เอฟ-เอ-ที; ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาปาก หมายถึง เรียกเนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดหนึ่งในคนและสัตว์บางชนิดซึ่งสะสมสารประกอบอินทรีย์ดังกล่าวไว้มากโดยเฉพาะบริเวณหน้าท้องหรือในผนังหน้าท้อง มีลักษณะนุ่ม ๆ หยุ่น ๆ, มัน ก็ว่า. | ไขมัน น. สารประกอบอินทรีย์จำพวกหนึ่งมีทั้งในสัตว์และพืช ไม่ละลายน้ำ, ถ้าเป็นของเหลวในอุณหภูมิปรกติเรียก น้ำมัน, ถ้าเป็นของแข็งในอุณหภูมิปรกติเรียก ไข. (อ. fat); (ปาก) เรียกเนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดหนึ่งในคนและสัตว์บางชนิดซึ่งสะสมสารประกอบอินทรีย์ดังกล่าวไว้มากโดยเฉพาะบริเวณหน้าท้องหรือในผนังหน้าท้อง มีลักษณะนุ่ม ๆ หยุ่น ๆ, มัน ก็ว่า. |
ไขสันหลัง เขียนว่า สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ขอ-ไข่-สอ-เสือ-ไม้-หัน-อา-กาด-นอ-หนู-หอ-หีบ-ลอ-ลิง-ไม้-หัน-อา-กาด-งอ-งู | เป็นคำนาม หมายถึง ประสาทส่วนกลางที่ต่อเนื่องจากประสาทส่วนปลาย มีความยาวจากระดับต้นคอถึงระดับเอว. | ไขสันหลัง น. ประสาทส่วนกลางที่ต่อเนื่องจากประสาทส่วนปลาย มีความยาวจากระดับต้นคอถึงระดับเอว. |
ไขสันหลังอักเสบ เขียนว่า สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ขอ-ไข่-สอ-เสือ-ไม้-หัน-อา-กาด-นอ-หนู-หอ-หีบ-ลอ-ลิง-ไม้-หัน-อา-กาด-งอ-งู-ออ-อ่าง-ไม้-หัน-อา-กาด-กอ-ไก่-สะ-หระ-เอ-สอ-เสือ-บอ-ไบ-ไม้ | เป็นคำนาม หมายถึง โรคโปลิโอ. | ไขสันหลังอักเสบ น. โรคโปลิโอ. |
ไข เขียนว่า สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ขอ-ไข่ ความหมายที่ ๒ | เป็นคำกริยา หมายถึง กวดสิ่งที่ยังหลวมอยู่ให้แน่นหรือทําสิ่งที่แน่นอยู่ให้หลวม เช่น ไขตะปูควง ไขนอต, หมุน เช่น ไขลาน ไขกระจก; บอก, อธิบาย, ขยาย, เช่น ไขความ ไขข่าว ไขปัญหา. | ไข ๒ ก. กวดสิ่งที่ยังหลวมอยู่ให้แน่นหรือทําสิ่งที่แน่นอยู่ให้หลวม เช่น ไขตะปูควง ไขนอต, หมุน เช่น ไขลาน ไขกระจก; บอก, อธิบาย, ขยาย, เช่น ไขความ ไขข่าว ไขปัญหา. |
ไขควง เขียนว่า สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ขอ-ไข่-คอ-ควาย-วอ-แหวน-งอ-งู | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อเหล็กเครื่องมือมีด้าม ทางปลายแบนหรือเป็นแฉก ๆ สําหรับไขตะปูควง. | ไขควง น. ชื่อเหล็กเครื่องมือมีด้าม ทางปลายแบนหรือเป็นแฉก ๆ สําหรับไขตะปูควง. |
ไขดาล เขียนว่า สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ขอ-ไข่-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-อา-ลอ-ลิง | เป็นคำกริยา หมายถึง ทำให้ลูกดาลที่ลงไว้เปิดออก. | ไขดาล ก. ทำให้ลูกดาลที่ลงไว้เปิดออก. |
ไขน้ำ เขียนว่า สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ขอ-ไข่-นอ-หนู-ไม้-โท-สะ-หระ-อำ | เป็นคำกริยา หมายถึง ปล่อยนํ้าที่ขังอยู่ให้ไหล เช่น ไขนํ้าเข้านา. | ไขน้ำ ก. ปล่อยนํ้าที่ขังอยู่ให้ไหล เช่น ไขนํ้าเข้านา. |
ไขพระวิสูตร เขียนว่า สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ขอ-ไข่-พอ-พาน-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-วอ-แหวน-สะ-หระ-อิ-สอ-เสือ-สะ-หระ-อู-ตอ-เต่า-รอ-เรือ | ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในราชาศัพท์ เป็นคำกริยา หมายถึง เปิดม่าน, คู่กับ ปิดพระวิสูตร หมายความว่า ปิดม่าน. | ไขพระวิสูตร (ราชา) ก. เปิดม่าน, คู่กับ ปิดพระวิสูตร หมายความว่า ปิดม่าน. |
ไขย่น เขียนว่า สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ขอ-ไข่-ยอ-ยัก-ไม้-เอก-นอ-หนู | เป็นคำนาม หมายถึง ม่านจีบ. ในวงเล็บ มาจาก ประชุมพงศาวดาร ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ, เลขบอกภาค. | ไขย่น น. ม่านจีบ. (ประชุมพงศ.). |
ไขลาน เขียนว่า สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ขอ-ไข่-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อา-นอ-หนู | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาปาก เป็นคำกริยา หมายถึง สั่ง, บอกให้ทํา, เช่น ต้องไขลานกันอยู่เรื่อย ไม่อย่างนั้นไม่ทํา; หมดกําลัง, หมดแรง, เช่น พอขึ้นชกยกที่ ๕ นักมวยก็เริ่มไขลานแล้ว. | ไขลาน (ปาก) ก. สั่ง, บอกให้ทํา, เช่น ต้องไขลานกันอยู่เรื่อย ไม่อย่างนั้นไม่ทํา; หมดกําลัง, หมดแรง, เช่น พอขึ้นชกยกที่ ๕ นักมวยก็เริ่มไขลานแล้ว. |
ไขสือ เขียนว่า สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ขอ-ไข่-สอ-เสือ-สะ-หระ-อือ-ออ-อ่าง | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง รู้แล้วทำเป็นไม่รู้. | ไขสือ ว. รู้แล้วทำเป็นไม่รู้. |
ไขแสง เขียนว่า สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ขอ-ไข่-สะ-หระ-แอ-สอ-เสือ-งอ-งู | เป็นคำกริยา หมายถึง เริ่มส่องแสง เช่น พระอาทิตย์ไขแสง. | ไขแสง ก. เริ่มส่องแสง เช่น พระอาทิตย์ไขแสง. |
ไขหู เขียนว่า สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ขอ-ไข่-หอ-หีบ-สะ-หระ-อู | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ทำเป็นว่าไม่ได้ยิน. | ไขหู ว. ทำเป็นว่าไม่ได้ยิน. |
ไขหูไขตา เขียนว่า สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ขอ-ไข่-หอ-หีบ-สะ-หระ-อู-สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ขอ-ไข่-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อา | เป็นคำกริยา หมายถึง ได้ยินได้เห็นแล้วรู้สึกอายไม่อยากฟังไม่อยากเห็น, ขายหูขายตา ก็ว่า. | ไขหูไขตา ก. ได้ยินได้เห็นแล้วรู้สึกอายไม่อยากฟังไม่อยากเห็น, ขายหูขายตา ก็ว่า. |
ไข่ เขียนว่า สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ขอ-ไข่-ไม้-เอก ความหมายที่ ๑ | เป็นคำนาม หมายถึง ตัวสืบพันธุ์ประกอบด้วยเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย อาหาร และสิ่งห่อหุ้มซึ่งอาจจะเป็นไข่ขาว วุ้น เยื่อถุงไข่ หรือเปลือก ส่วนมากมีรูปร่างกลม จะมีตัวอ่อนภายในหรือไม่ก็ได้, ฟอง ก็เรียก, ลักษณนามเรียก ฟอง ลูก หรือ ใบ; เรียกสิ่งที่เป็นเม็ดกลม ๆ เล็ก ๆ ที่มีอยู่ตามใบไม้บางชนิด เช่น ไข่ชะอม ไข่ปรง; ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาปาก หมายถึง ลูกอัณฑะ. เป็นคำกริยา หมายถึง ตกฟอง เช่น แม่ไก่ไข่ออกมา ๓ ฟอง. | ไข่ ๑ น. ตัวสืบพันธุ์ประกอบด้วยเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย อาหาร และสิ่งห่อหุ้มซึ่งอาจจะเป็นไข่ขาว วุ้น เยื่อถุงไข่ หรือเปลือก ส่วนมากมีรูปร่างกลม จะมีตัวอ่อนภายในหรือไม่ก็ได้, ฟอง ก็เรียก, ลักษณนามเรียก ฟอง ลูก หรือ ใบ; เรียกสิ่งที่เป็นเม็ดกลม ๆ เล็ก ๆ ที่มีอยู่ตามใบไม้บางชนิด เช่น ไข่ชะอม ไข่ปรง; (ปาก) ลูกอัณฑะ. ก. ตกฟอง เช่น แม่ไก่ไข่ออกมา ๓ ฟอง. |
ไข่กบ เขียนว่า สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ขอ-ไข่-ไม้-เอก-กอ-ไก่-บอ-ไบ-ไม้ | ดูใน กินสี่ถ้วย เขียนว่า กอ-ไก่-สะ-หระ-อิ-นอ-หนู-สอ-เสือ-สะ-หระ-อี-ไม้-เอก-ถอ-ถุง-ไม้-โท-วอ-แหวน-ยอ-ยัก. | ไข่กบ ดูใน กินสี่ถ้วย. |
ไข่ไก่ เขียนว่า สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ขอ-ไข่-ไม้-เอก-สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-กอ-ไก่-ไม้-เอก | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง มีสีเหลืองอมแดงน้อย ๆ ดังเปลือกไข่ไก่ เรียกว่า สีไข่ไก่. | ไข่ไก่ ว. มีสีเหลืองอมแดงน้อย ๆ ดังเปลือกไข่ไก่ เรียกว่า สีไข่ไก่. |
ไข่ขวัญ เขียนว่า สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ขอ-ไข่-ไม้-เอก-ขอ-ไข่-วอ-แหวน-ไม้-หัน-อา-กาด-ยอ-หยิง | เป็นคำนาม หมายถึง ไข่ปอกที่เสียบไม้ปักไว้บนยอดบายศรี, ไข่ข้าว ก็เรียก. ในวงเล็บ ดู ขวัญ เขียนว่า ขอ-ไข่-วอ-แหวน-ไม้-หัน-อา-กาด-ยอ-หยิง; ไข่งูที่อยู่บนยอดกลางกองไข่, ไข่ลูกยอด ก็เรียก. | ไข่ขวัญ น. ไข่ปอกที่เสียบไม้ปักไว้บนยอดบายศรี, ไข่ข้าว ก็เรียก. (ดู ขวัญ); ไข่งูที่อยู่บนยอดกลางกองไข่, ไข่ลูกยอด ก็เรียก. |
ไข่ขาง เขียนว่า สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ขอ-ไข่-ไม้-เอก-ขอ-ไข่-สะ-หระ-อา-งอ-งู | เป็นคำนาม หมายถึง ไข่แมลงวัน. (ดู ขาง). | ไข่ขาง น. ไข่แมลงวัน. (ดู ขาง). |
ไข่ขาว เขียนว่า สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ขอ-ไข่-ไม้-เอก-ขอ-ไข่-สะ-หระ-อา-วอ-แหวน | เป็นคำนาม หมายถึง ส่วนของไข่สัตว์ เช่น ไข่ของนก ไข่ของสัตว์เลื้อยคลาน มีสีขาวใสอยู่รอบ ๆ ไข่แดง เป็นสารโปรตีนทําหน้าที่ป้องกันส่วนที่เป็นเซลล์ของไข่ เวลาเซลล์ของไข่แบ่งตัวเจริญเป็นตัวอ่อน ไข่ขาวจะเป็นอาหารของตัวอ่อนด้วย; ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในเคมี หมายถึง กลุ่มของโปรตีน ซึ่งมีนํ้าหนักโมเลกุลประมาณ ๖๕,๐๐๐ ถึง ๗๐,๐๐๐. | ไข่ขาว น. ส่วนของไข่สัตว์ เช่น ไข่ของนก ไข่ของสัตว์เลื้อยคลาน มีสีขาวใสอยู่รอบ ๆ ไข่แดง เป็นสารโปรตีนทําหน้าที่ป้องกันส่วนที่เป็นเซลล์ของไข่ เวลาเซลล์ของไข่แบ่งตัวเจริญเป็นตัวอ่อน ไข่ขาวจะเป็นอาหารของตัวอ่อนด้วย; (เคมี) กลุ่มของโปรตีน ซึ่งมีนํ้าหนักโมเลกุลประมาณ ๖๕,๐๐๐ ถึง ๗๐,๐๐๐. |
ไข่ข้าว เขียนว่า สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ขอ-ไข่-ไม้-เอก-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-วอ-แหวน | เป็นคำนาม หมายถึง ไข่ที่ฟักไม่เป็นตัวต้มแล้วแข็งและเหนียวผิดปรกติ; ไข่ปอกที่เสียบไม้ปักไว้บนยอดบายศรี, ไข่ขวัญ ก็เรียก. ในวงเล็บ ดู ขวัญ เขียนว่า ขอ-ไข่-วอ-แหวน-ไม้-หัน-อา-กาด-ยอ-หยิง. | ไข่ข้าว น. ไข่ที่ฟักไม่เป็นตัวต้มแล้วแข็งและเหนียวผิดปรกติ; ไข่ปอกที่เสียบไม้ปักไว้บนยอดบายศรี, ไข่ขวัญ ก็เรียก. (ดู ขวัญ). |
ไข่เค็ม เขียนว่า สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ขอ-ไข่-ไม้-เอก-สะ-หระ-เอ-คอ-ควาย-ไม้-ไต่-คู้-มอ-ม้า | เป็นคำนาม หมายถึง ไข่ที่ดองนํ้าเกลือ, ไข่ที่พอกด้วยขี้เถ้าหรือแกลบผสมเกลือ มักทําจากไข่เป็ด มีรสเค็ม, ไข่พอก ก็เรียก. | ไข่เค็ม น. ไข่ที่ดองนํ้าเกลือ, ไข่ที่พอกด้วยขี้เถ้าหรือแกลบผสมเกลือ มักทําจากไข่เป็ด มีรสเค็ม, ไข่พอก ก็เรียก. |
ไข่จระเข้ เขียนว่า สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ขอ-ไข่-ไม้-เอก-จอ-จาน-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง เรียกของที่มีลักษณะคล้ายไข่จระเข้ เช่น โถไข่จระเข้. | ไข่จระเข้ ว. เรียกของที่มีลักษณะคล้ายไข่จระเข้ เช่น โถไข่จระเข้. |
ไข่จิ้งจก เขียนว่า สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ขอ-ไข่-ไม้-เอก-จอ-จาน-สะ-หระ-อิ-ไม้-โท-งอ-งู-จอ-จาน-กอ-ไก่ | เป็นคำนาม หมายถึง ถั่วลิสงเคลือบนํ้าตาลหรือลูกกวาดสีต่าง ๆ ทําเม็ดเล็ก ๆ ขนาดไข่จิ้งจก. | ไข่จิ้งจก น. ถั่วลิสงเคลือบนํ้าตาลหรือลูกกวาดสีต่าง ๆ ทําเม็ดเล็ก ๆ ขนาดไข่จิ้งจก. |
ไข่จิ้งหรีด เขียนว่า สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ขอ-ไข่-ไม้-เอก-จอ-จาน-สะ-หระ-อิ-ไม้-โท-งอ-งู-หอ-หีบ-รอ-เรือ-สะ-หระ-อี-ดอ-เด็ก | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อขนมอย่างหนึ่งทําด้วยข้าวตากคั่วจนพองเหลืองกวนกับนํ้าตาลปีบที่เคี่ยวเหนียว บางทีโรยมะพร้าวขูดด้วย. | ไข่จิ้งหรีด น. ชื่อขนมอย่างหนึ่งทําด้วยข้าวตากคั่วจนพองเหลืองกวนกับนํ้าตาลปีบที่เคี่ยวเหนียว บางทีโรยมะพร้าวขูดด้วย. |
ไข่เจียว เขียนว่า สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ขอ-ไข่-ไม้-เอก-สะ-หระ-เอ-จอ-จาน-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก-วอ-แหวน | เป็นคำนาม หมายถึง ไข่ที่ตีไข่แดงกับไข่ขาวให้เข้ากันแล้วทอดนํ้ามัน, ถ้านํ้ามันมากจนไข่ที่เจียวฟู เรียก ไข่ฟู, ถ้ามีเนื้อหมูสับผสมด้วย เรียก ไข่เจียวหมูสับ. | ไข่เจียว น. ไข่ที่ตีไข่แดงกับไข่ขาวให้เข้ากันแล้วทอดนํ้ามัน, ถ้านํ้ามันมากจนไข่ที่เจียวฟู เรียก ไข่ฟู, ถ้ามีเนื้อหมูสับผสมด้วย เรียก ไข่เจียวหมูสับ. |
ไข่ญี่ปุ่น เขียนว่า สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ขอ-ไข่-ไม้-เอก-ยอ-หยิง-สะ-หระ-อี-ไม้-เอก-ปอ-ปลา-สะ-หระ-อุ-ไม้-เอก-นอ-หนู | ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ เป็นคำนาม หมายถึง ไข่ลูกเขย. | ไข่ญี่ปุ่น (โบ) น. ไข่ลูกเขย. |
ไข่ดาว เขียนว่า สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ขอ-ไข่-ไม้-เอก-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-อา-วอ-แหวน | เป็นคำนาม หมายถึง ไข่ทอดทั้งลูกโดยไม่ต้องตีไข่แดงกับไข่ขาวให้เข้ากัน. | ไข่ดาว น. ไข่ทอดทั้งลูกโดยไม่ต้องตีไข่แดงกับไข่ขาวให้เข้ากัน. |
ไข่แดง เขียนว่า สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ขอ-ไข่-ไม้-เอก-สะ-หระ-แอ-ดอ-เด็ก-งอ-งู | เป็นคำนาม หมายถึง ส่วนของไข่สัตว์ เช่น ไข่ของนก ไข่ของสัตว์เลื้อยคลาน อยู่รอบส่วนที่จะเจริญเป็นตัวอ่อน มักมีสีเหลืองหรือแดง เป็นสารประเภทไขมันที่สะสมไว้สําหรับเลี้ยงตัวอ่อนขณะที่เติบโต. | ไข่แดง น. ส่วนของไข่สัตว์ เช่น ไข่ของนก ไข่ของสัตว์เลื้อยคลาน อยู่รอบส่วนที่จะเจริญเป็นตัวอ่อน มักมีสีเหลืองหรือแดง เป็นสารประเภทไขมันที่สะสมไว้สําหรับเลี้ยงตัวอ่อนขณะที่เติบโต. |
ไข่ตายโคม เขียนว่า สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ขอ-ไข่-ไม้-เอก-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อา-ยอ-ยัก-สะ-หระ-โอ-คอ-ควาย-มอ-ม้า | เป็นคำนาม หมายถึง ไข่ที่ตัวตายในระหว่างฟัก. | ไข่ตายโคม น. ไข่ที่ตัวตายในระหว่างฟัก. |
ไข่ตุ๋น เขียนว่า สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ขอ-ไข่-ไม้-เอก-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อุ-ไม้-จัด-ตะ-วา-นอ-หนู | เป็นคำนาม หมายถึง ไข่ที่ตีไข่แดงกับไข่ขาวให้เข้ากันแล้วนึ่ง. | ไข่ตุ๋น น. ไข่ที่ตีไข่แดงกับไข่ขาวให้เข้ากันแล้วนึ่ง. |
ไข่เต่า เขียนว่า สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ขอ-ไข่-ไม้-เอก-สะ-หระ-เอ-ตอ-เต่า-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา ความหมายที่ ๑ | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อขนมอย่างหนึ่งทําด้วยแป้งต้มกับกะทิ มีสีขาวรสมันเค็ม มักกินผสมกับขนมปลากริม. | ไข่เต่า ๑ น. ชื่อขนมอย่างหนึ่งทําด้วยแป้งต้มกับกะทิ มีสีขาวรสมันเค็ม มักกินผสมกับขนมปลากริม. |
ไข่นกกระสา เขียนว่า สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ขอ-ไข่-ไม้-เอก-นอ-หนู-กอ-ไก่-กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สอ-เสือ-สะ-หระ-อา | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อขนมอย่างหนึ่งทําด้วยสาคูเม็ดเล็กผสมนํ้าตาลปีบ ปั้นเป็นก้อน นึ่ง มีไส้ทําด้วยถั่วเขียวนึ่งผัดกับพริกไทย. | ไข่นกกระสา น. ชื่อขนมอย่างหนึ่งทําด้วยสาคูเม็ดเล็กผสมนํ้าตาลปีบ ปั้นเป็นก้อน นึ่ง มีไส้ทําด้วยถั่วเขียวนึ่งผัดกับพริกไทย. |
ไข่น้ำค้าง เขียนว่า สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ขอ-ไข่-ไม้-เอก-นอ-หนู-ไม้-โท-สะ-หระ-อำ-คอ-ควาย-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-งอ-งู | เป็นคำนาม หมายถึง ไข่ขาวส่วนที่เป็นนํ้าใส ๆ ที่ติดอยู่กับเปลือกด้านป้าน. | ไข่น้ำค้าง น. ไข่ขาวส่วนที่เป็นนํ้าใส ๆ ที่ติดอยู่กับเปลือกด้านป้าน. |
ไข่ในหิน เขียนว่า สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ขอ-ไข่-ไม้-เอก-สะ-หระ-ไอ-ไม้-ม้วน-นอ-หนู-หอ-หีบ-สะ-หระ-อิ-นอ-หนู | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นสำนวน เป็นคำนาม หมายถึง ของที่ต้องระมัดระวังทะนุถนอมอย่างยิ่ง. | ไข่ในหิน (สำ) น. ของที่ต้องระมัดระวังทะนุถนอมอย่างยิ่ง. |
ไข่ปลา เขียนว่า สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ขอ-ไข่-ไม้-เอก-ปอ-ปลา-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อา | เป็นคำนาม หมายถึง จุดที่เรียงกันเป็นเส้น, ลายที่มีจุดเล็ก ๆ เป็นเส้นหรือเป็นกลุ่ม. | ไข่ปลา น. จุดที่เรียงกันเป็นเส้น, ลายที่มีจุดเล็ก ๆ เป็นเส้นหรือเป็นกลุ่ม. |
ไข่พอก เขียนว่า สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ขอ-ไข่-ไม้-เอก-พอ-พาน-ออ-อ่าง-กอ-ไก่ | เป็นคำนาม หมายถึง ไข่เค็ม. | ไข่พอก น. ไข่เค็ม. |
ไข่แมงดา เขียนว่า สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ขอ-ไข่-ไม้-เอก-สะ-หระ-แอ-มอ-ม้า-งอ-งู-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-อา | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อขนมอย่างหนึ่งลักษณะอย่างทองหยอดเม็ดเล็ก ๆ ใช้โรยหน้าข้าวเหนียวกระทงหรือข้าวเหนียวตัด. | ไข่แมงดา น. ชื่อขนมอย่างหนึ่งลักษณะอย่างทองหยอดเม็ดเล็ก ๆ ใช้โรยหน้าข้าวเหนียวกระทงหรือข้าวเหนียวตัด. |
ไข่ยัดไส้ เขียนว่า สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ขอ-ไข่-ไม้-เอก-ยอ-ยัก-ไม้-หัน-อา-กาด-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-สอ-เสือ-ไม้-โท | เป็นคำนาม หมายถึง ไข่กรอกในกระทะให้บาง แล้วห่อไส้หมูสับผัดน้ำมันให้สุก ปรุงรสเค็มหวาน. | ไข่ยัดไส้ น. ไข่กรอกในกระทะให้บาง แล้วห่อไส้หมูสับผัดน้ำมันให้สุก ปรุงรสเค็มหวาน. |
ไข่เยี่ยวม้า เขียนว่า สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ขอ-ไข่-ไม้-เอก-สะ-หระ-เอ-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อี-ไม้-เอก-ยอ-ยัก-วอ-แหวน-มอ-ม้า-ไม้-โท-สะ-หระ-อา | เป็นคำนาม หมายถึง ไข่แช่นํ้าด่าง, ไข่สําเภา ก็เรียก. | ไข่เยี่ยวม้า น. ไข่แช่นํ้าด่าง, ไข่สําเภา ก็เรียก. |
ไข่ลม เขียนว่า สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ขอ-ไข่-ไม้-เอก-ลอ-ลิง-มอ-ม้า | เป็นคำนาม หมายถึง ไข่ที่ไม่มีเชื้อตัวผู้ผสม. | ไข่ลม น. ไข่ที่ไม่มีเชื้อตัวผู้ผสม. |
ไข่ลูกเขย เขียนว่า สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ขอ-ไข่-ไม้-เอก-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อู-กอ-ไก่-สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ยอ-ยัก | เป็นคำนาม หมายถึง อาหารของคาวทําด้วยไข่ต้มทั้งลูก ปอกเปลือกแล้วทอดนํ้ามัน เคล้ากับนํ้าตาลนํ้าปลาที่เคี่ยวจนงวด, ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ หมายถึง ไข่ญี่ปุ่น. | ไข่ลูกเขย น. อาหารของคาวทําด้วยไข่ต้มทั้งลูก ปอกเปลือกแล้วทอดนํ้ามัน เคล้ากับนํ้าตาลนํ้าปลาที่เคี่ยวจนงวด, (โบ) ไข่ญี่ปุ่น. |
ไข่ลูกยอด เขียนว่า สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ขอ-ไข่-ไม้-เอก-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อู-กอ-ไก่-ยอ-ยัก-ออ-อ่าง-ดอ-เด็ก | เป็นคำนาม หมายถึง ไข่งูที่อยู่บนยอดกลางกองไข่, ไข่ขวัญ ก็เรียก. | ไข่ลูกยอด น. ไข่งูที่อยู่บนยอดกลางกองไข่, ไข่ขวัญ ก็เรียก. |
ไข่สำเภา เขียนว่า สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ขอ-ไข่-ไม้-เอก-สอ-เสือ-สะ-หระ-อำ-สะ-หระ-เอ-พอ-สำ-เพา-สะ-หระ-อา | เป็นคำนาม หมายถึง ไข่แช่นํ้าด่าง, สามัญเรียกว่า ไข่เยี่ยวม้า. | ไข่สำเภา น. ไข่แช่นํ้าด่าง, สามัญเรียกว่า ไข่เยี่ยวม้า. |
ไข่หงส์ เขียนว่า สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ขอ-ไข่-ไม้-เอก-หอ-หีบ-งอ-งู-สอ-เสือ-ทัน-ทะ-คาด | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อขนมอย่างหนึ่งทำด้วยแป้งทอด มีไส้ทำด้วยถั่วเขียวนึ่งผัดกับพริกไทย เกลือกน้ำตาลจนแห้ง ลักษณะกลม, ไข่เหี้ย ก็ว่า. | ไข่หงส์ น. ชื่อขนมอย่างหนึ่งทำด้วยแป้งทอด มีไส้ทำด้วยถั่วเขียวนึ่งผัดกับพริกไทย เกลือกน้ำตาลจนแห้ง ลักษณะกลม, ไข่เหี้ย ก็ว่า. |
ไข่หวาน เขียนว่า สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ขอ-ไข่-ไม้-เอก-หอ-หีบ-วอ-แหวน-สะ-หระ-อา-นอ-หนู | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อขนมอย่างหนึ่งทําโดยต่อยไข่ใส่ลงในนํ้าเชื่อมร้อน ๆ แล้วต้มให้สุก มักใส่ขิงด้วย. | ไข่หวาน น. ชื่อขนมอย่างหนึ่งทําโดยต่อยไข่ใส่ลงในนํ้าเชื่อมร้อน ๆ แล้วต้มให้สุก มักใส่ขิงด้วย. |
ไข่หำ เขียนว่า สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ขอ-ไข่-ไม้-เอก-หอ-หีบ-สะ-หระ-อำ | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาถิ่นภาคอีสาน เป็นคำนาม หมายถึง ลูกอัณฑะ. | ไข่หำ (ถิ่นอีสาน) น. ลูกอัณฑะ. |
ไข่หิน เขียนว่า สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ขอ-ไข่-ไม้-เอก-หอ-หีบ-สะ-หระ-อิ-นอ-หนู ความหมายที่ ๑ | เป็นคำนาม หมายถึง ไข่ที่แข็งคล้ายหิน. | ไข่หิน ๑ น. ไข่ที่แข็งคล้ายหิน. |
ไข่เหา เขียนว่า สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ขอ-ไข่-ไม้-เอก-สะ-หระ-เอ-หอ-หีบ-สะ-หระ-อา | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อมาตราวัดโบราณ, ๘ เส้นผม เท่ากับ ๑ ไข่เหา ๘ ไข่เหา เท่ากับ ๑ ตัวเหา. | ไข่เหา น. ชื่อมาตราวัดโบราณ, ๘ เส้นผม เท่ากับ ๑ ไข่เหา ๘ ไข่เหา เท่ากับ ๑ ตัวเหา. |
ไข่เหี้ย เขียนว่า สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ขอ-ไข่-ไม้-เอก-สะ-หระ-เอ-หอ-หีบ-สะ-หระ-อี-ไม้-โท-ยอ-ยัก | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อขนมอย่างหนึ่งทําด้วยแป้งทอด มีไส้ทำด้วยถั่วเขียวนึ่งผัดกับพริกไทย เกลือกนํ้าตาลจนแห้งลักษณะกลมอย่างไข่เหี้ย, ไข่หงส์ ก็ว่า. | ไข่เหี้ย น. ชื่อขนมอย่างหนึ่งทําด้วยแป้งทอด มีไส้ทำด้วยถั่วเขียวนึ่งผัดกับพริกไทย เกลือกนํ้าตาลจนแห้งลักษณะกลมอย่างไข่เหี้ย, ไข่หงส์ ก็ว่า. |
ไข่ เขียนว่า สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ขอ-ไข่-ไม้-เอก ความหมายที่ ๒ | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อกล้วยพันธุ์หนึ่งซึ่งกลายมาจากกล้วยป่า (Musa acuminata Colla) ผลเล็ก เปลือกบาง ไม่มีเมล็ด บางพันธุ์มีกระที่เปลือก. | ไข่ ๒ น. ชื่อกล้วยพันธุ์หนึ่งซึ่งกลายมาจากกล้วยป่า (Musa acuminata Colla) ผลเล็ก เปลือกบาง ไม่มีเมล็ด บางพันธุ์มีกระที่เปลือก. |
ไข้ เขียนว่า สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ขอ-ไข่-ไม้-โท | เป็นคำนาม หมายถึง ความเจ็บป่วย เช่น ไข้จับสั่น ไข้ทรพิษ ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่; อาการที่มีอุณหภูมิของร่างกายผิดจากระดับปรกติเนื่องจากความเจ็บป่วย. ในวงเล็บ มาจากภาษาอังกฤษ fever เขียนว่า เอฟ-อี-วี-อี-อา pyrexia เขียนว่า พี-วาย-อา-อี-เอ็กซ์-ไอ-เอ pyrexy เขียนว่า พี-วาย-อา-อี-เอ็กซ์-วาย . | ไข้ น. ความเจ็บป่วย เช่น ไข้จับสั่น ไข้ทรพิษ ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่; อาการที่มีอุณหภูมิของร่างกายผิดจากระดับปรกติเนื่องจากความเจ็บป่วย. (อ. fever, pyrexia, pyrexy). |
ไข้กาฬ เขียนว่า สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ขอ-ไข่-ไม้-โท-กอ-ไก่-สะ-หระ-อา-ลอ-จุ-ลา | ดู ไข้ผื่น เขียนว่า สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ขอ-ไข่-ไม้-โท-ผอ-ผึ้ง-สะ-หระ-อือ-ไม้-เอก-นอ-หนู. | ไข้กาฬ ดู ไข้ผื่น. |
ไข้กาฬนกนางแอ่น, ไข้กาฬหลังแอ่น ไข้กาฬนกนางแอ่น เขียนว่า สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ขอ-ไข่-ไม้-โท-กอ-ไก่-สะ-หระ-อา-ลอ-จุ-ลา-นอ-หนู-กอ-ไก่-นอ-หนู-สะ-หระ-อา-งอ-งู-สะ-หระ-แอ-ออ-อ่าง-ไม้-เอก-นอ-หนู ไข้กาฬหลังแอ่น เขียนว่า สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ขอ-ไข่-ไม้-โท-กอ-ไก่-สะ-หระ-อา-ลอ-จุ-ลา-หอ-หีบ-ลอ-ลิง-ไม้-หัน-อา-กาด-งอ-งู-สะ-หระ-แอ-ออ-อ่าง-ไม้-เอก-นอ-หนู | เป็นคำนาม หมายถึง ไข้ติดเชื้อเฉียบพลันของเยื่อหุ้มสมอง มีอาการไข้ ซึม คอแข็ง หลังแอ่น และมีผื่นชนิดตกเลือดใต้ผิวหนัง ต่อมาสีของผื่นจะเปลี่ยนเป็นคลํ้า. ในวงเล็บ มาจากภาษาอังกฤษ meningococcal เขียนว่า เอ็ม-อี-เอ็น-ไอ-เอ็น-จี-โอ-ซี-โอ-ซี-ซี-เอ-แอล meningitis เขียนว่า เอ็ม-อี-เอ็น-ไอ-เอ็น-จี-ไอ-ที-ไอ-เอส . | ไข้กาฬนกนางแอ่น, ไข้กาฬหลังแอ่น น. ไข้ติดเชื้อเฉียบพลันของเยื่อหุ้มสมอง มีอาการไข้ ซึม คอแข็ง หลังแอ่น และมีผื่นชนิดตกเลือดใต้ผิวหนัง ต่อมาสีของผื่นจะเปลี่ยนเป็นคลํ้า. (อ. meningococcal meningitis). |
ไข้กำเดา เขียนว่า สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ขอ-ไข่-ไม้-โท-กอ-ไก่-สะ-หระ-อำ-สะ-หระ-เอ-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-อา | ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ เป็นคำนาม หมายถึง ไข้ชนิดหนึ่งที่เกิดจากหวัด. | ไข้กำเดา (โบ) น. ไข้ชนิดหนึ่งที่เกิดจากหวัด. |
ไข้ความร้อน, ไข้แดด ไข้ความร้อน เขียนว่า สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ขอ-ไข่-ไม้-โท-คอ-ควาย-วอ-แหวน-สะ-หระ-อา-มอ-ม้า-รอ-เรือ-ไม้-โท-ออ-อ่าง-นอ-หนู ไข้แดด เขียนว่า สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-แอ-ดอ-เด็ก-ดอ-เด็ก | เป็นคำนาม หมายถึง ไข้ที่ขึ้นเร็วและสูงเพราะถูกความร้อนจัด อาจมีอาการปวดศีรษะ เวียนศีรษะ ชัก และต่อไปอาจสลบโดยไม่มีเหตุอื่นร่วม. ในวงเล็บ มาจากภาษาอังกฤษ heat เขียนว่า เอช-อี-เอ-ที stroke เขียนว่า เอส-ที-อา-โอ-เค-อี . | ไข้ความร้อน, ไข้แดด น. ไข้ที่ขึ้นเร็วและสูงเพราะถูกความร้อนจัด อาจมีอาการปวดศีรษะ เวียนศีรษะ ชัก และต่อไปอาจสลบโดยไม่มีเหตุอื่นร่วม. (อ. heat stroke). |
ไข้จับสั่น เขียนว่า สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ขอ-ไข่-ไม้-โท-จอ-จาน-ไม้-หัน-อา-กาด-บอ-ไบ-ไม้-สอ-เสือ-ไม้-หัน-อา-กาด-ไม้-เอก-นอ-หนู | เป็นคำนาม หมายถึง ไข้ที่เกิดเพราะถูกยุงก้นปล่องที่มีเชื้อมาลาเรียกัด มีอาการหนาวและสั่น, ไข้มาลาเรีย ก็ว่า. ในวงเล็บ มาจากภาษาอังกฤษ malarial เขียนว่า เอ็ม-เอ-แอล-เอ-อา-ไอ-เอ-แอล fever เขียนว่า เอฟ-อี-วี-อี-อา malaria เขียนว่า เอ็ม-เอ-แอล-เอ-อา-ไอ-เอ paludism เขียนว่า พี-เอ-แอล-ยู-ดี-ไอ-เอส-เอ็ม . | ไข้จับสั่น น. ไข้ที่เกิดเพราะถูกยุงก้นปล่องที่มีเชื้อมาลาเรียกัด มีอาการหนาวและสั่น, ไข้มาลาเรีย ก็ว่า. (อ. malarial fever, malaria, paludism). |
ไข้ใจ เขียนว่า สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-ไอ-ไม้-ม้วน-จอ-จาน | เป็นคำนาม หมายถึง ความระทมใจเนื่องจากผิดหวังในความรักเป็นต้น. | ไข้ใจ น. ความระทมใจเนื่องจากผิดหวังในความรักเป็นต้น. |
ไข้แดด เขียนว่า สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-แอ-ดอ-เด็ก-ดอ-เด็ก | เป็นคำนาม หมายถึง ไข้ที่ขึ้นเร็วและสูงเพราะถูกแดดจัด อาจมีอาการปวดศีรษะ เวียนศีรษะ ชัก และต่อไปอาจสลบโดยไม่มีเหตุอื่นร่วม. ในวงเล็บ มาจากภาษาอังกฤษ solar เขียนว่า เอส-โอ-แอล-เอ-อา fever เขียนว่า เอฟ-อี-วี-อี-อา sunstroke เขียนว่า เอส-ยู-เอ็น-เอส-ที-อา-โอ-เค-อี . | ไข้แดด น. ไข้ที่ขึ้นเร็วและสูงเพราะถูกแดดจัด อาจมีอาการปวดศีรษะ เวียนศีรษะ ชัก และต่อไปอาจสลบโดยไม่มีเหตุอื่นร่วม. (อ. solar fever, sunstroke). |
ไข้ทรพิษ เขียนว่า สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ขอ-ไข่-ไม้-โท-ทอ-ทะ-หาน-รอ-เรือ-พอ-พาน-สะ-หระ-อิ-สอ-รือ-สี | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อโรคระบาดชนิดหนึ่ง เกิดจากเชื้อไวรัส มีอาการไข้สูงแล้วมีผื่นขึ้นดาษตามใบหน้าและลำตัว ต่อมาผื่นจะกลายเป็นตุ่ม ตุ่มใส ตุ่มหนอง และตกสะเก็ด ตามลำดับ เมื่อหายแล้วมีแผลเป็นเป็นรอยบุ๋ม, ฝีดาษ ก็เรียก, โบราณเรียก ไข้หัว. ในวงเล็บ มาจากภาษาอังกฤษ smallpox เขียนว่า เอส-เอ็ม-เอ-แอล-แอล-พี-โอ-เอ็กซ์ variola เขียนว่า วี-เอ-อา-ไอ-โอ-แอล-เอ . | ไข้ทรพิษ น. ชื่อโรคระบาดชนิดหนึ่ง เกิดจากเชื้อไวรัส มีอาการไข้สูงแล้วมีผื่นขึ้นดาษตามใบหน้าและลำตัว ต่อมาผื่นจะกลายเป็นตุ่ม ตุ่มใส ตุ่มหนอง และตกสะเก็ด ตามลำดับ เมื่อหายแล้วมีแผลเป็นเป็นรอยบุ๋ม, ฝีดาษ ก็เรียก, โบราณเรียก ไข้หัว. (อ. smallpox, variola). |
ไข้ทับระดู เขียนว่า สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ขอ-ไข่-ไม้-โท-ทอ-ทะ-หาน-ไม้-หัน-อา-กาด-บอ-ไบ-ไม้-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-อู | เป็นคำนาม หมายถึง ไข้ขณะที่กําลังมีระดูหรือระดูเพิ่งหยุด. | ไข้ทับระดู น. ไข้ขณะที่กําลังมีระดูหรือระดูเพิ่งหยุด. |
ไข้ป่า เขียนว่า สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ขอ-ไข่-ไม้-โท-ปอ-ปลา-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา | เป็นคำนาม หมายถึง ไข้ที่รับจากป่าหรือดงดิบ เกิดเพราะถูกอายพิษดิน พิษแร่ หรือว่านยา หรือเชื้อไข้มาลาเรีย. ในวงเล็บ มาจากภาษาอังกฤษ jungle เขียนว่า เจ-ยู-เอ็น-จี-แอล-อี fever เขียนว่า เอฟ-อี-วี-อี-อา . | ไข้ป่า น. ไข้ที่รับจากป่าหรือดงดิบ เกิดเพราะถูกอายพิษดิน พิษแร่ หรือว่านยา หรือเชื้อไข้มาลาเรีย. (อ. jungle fever). |
ไข้ผื่น เขียนว่า สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ขอ-ไข่-ไม้-โท-ผอ-ผึ้ง-สะ-หระ-อือ-ไม้-เอก-นอ-หนู | เป็นคำนาม หมายถึง ไข้ที่มีผื่นและการเปลี่ยนแปลงอย่างอื่นทางผิวหนัง มีลักษณะอาการและความรุนแรงต่าง ๆ กัน ตั้งแต่เป็นเม็ดเล็ก ๆ เหมือนหัวเข็มหมุด จนถึงปื้นใหญ่ ๆ ในรายที่รุนแรงมากอาจมีเลือดออกใต้ผิวหนังบริเวณผื่นหรือปื้น และผิวหนังจะเปลี่ยนเป็นสีคล้ำ, ไข้กาฬ หรือ ไข้ส่า ก็เรียก. ในวงเล็บ มาจากภาษาอังกฤษ exanthematous เขียนว่า อี-เอ็กซ์-เอ-เอ็น-ที-เอช-อี-เอ็ม-เอ-ที-โอ-ยู-เอส fever เขียนว่า เอฟ-อี-วี-อี-อา . | ไข้ผื่น น. ไข้ที่มีผื่นและการเปลี่ยนแปลงอย่างอื่นทางผิวหนัง มีลักษณะอาการและความรุนแรงต่าง ๆ กัน ตั้งแต่เป็นเม็ดเล็ก ๆ เหมือนหัวเข็มหมุด จนถึงปื้นใหญ่ ๆ ในรายที่รุนแรงมากอาจมีเลือดออกใต้ผิวหนังบริเวณผื่นหรือปื้น และผิวหนังจะเปลี่ยนเป็นสีคล้ำ, ไข้กาฬ หรือ ไข้ส่า ก็เรียก. (อ. exanthematous fever). |
ไข้พิษ เขียนว่า สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ขอ-ไข่-ไม้-โท-พอ-พาน-สะ-หระ-อิ-สอ-รือ-สี | เป็นคำนาม หมายถึง ไข้ที่มีพิษกล้าทําให้เชื่อมซึมไปไม่มีเวลาสร่าง. | ไข้พิษ น. ไข้ที่มีพิษกล้าทําให้เชื่อมซึมไปไม่มีเวลาสร่าง. |
ไข้มาลาเรีย เขียนว่า สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ขอ-ไข่-ไม้-โท-มอ-ม้า-สะ-หระ-อา-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-เอ-รอ-เรือ-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก | ดู ไข้จับสั่น เขียนว่า สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ขอ-ไข่-ไม้-โท-จอ-จาน-ไม้-หัน-อา-กาด-บอ-ไบ-ไม้-สอ-เสือ-ไม้-หัน-อา-กาด-ไม้-เอก-นอ-หนู. | ไข้มาลาเรีย ดู ไข้จับสั่น. |
ไข้เลือดออก เขียนว่า สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-เอ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อือ-ออ-อ่าง-ดอ-เด็ก-ออ-อ่าง-ออ-อ่าง-กอ-ไก่ | เป็นคำนาม หมายถึง ไข้ที่เกิดเพราะถูกยุงลายที่มีเชื้อไข้เลือดออกกัด มักเกิดแก่เด็ก มีอาการเลือดออกใต้ผิวหนังเป็นจํ้า ๆ. ในวงเล็บ มาจากภาษาอังกฤษ haemorrhagic เขียนว่า เอช-เอ-อี-เอ็ม-โอ-อา-อา-เอช-เอ-จี-ไอ-ซี fever เขียนว่า เอฟ-อี-วี-อี-อา . | ไข้เลือดออก น. ไข้ที่เกิดเพราะถูกยุงลายที่มีเชื้อไข้เลือดออกกัด มักเกิดแก่เด็ก มีอาการเลือดออกใต้ผิวหนังเป็นจํ้า ๆ. (อ. haemorrhagic fever). |
ไข้สันนิบาต เขียนว่า สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สอ-เสือ-ไม้-หัน-อา-กาด-นอ-หนู-นอ-หนู-สะ-หระ-อิ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อา-ตอ-เต่า | ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ เป็นคำนาม หมายถึง ไข้ที่มีอาการสั่นเทิ้มชักกระตุกและเพ้อ เช่น ไข้สันนิบาตลูกนก ไข้สันนิบาตหน้าเพลิง. | ไข้สันนิบาต (โบ) น. ไข้ที่มีอาการสั่นเทิ้มชักกระตุกและเพ้อ เช่น ไข้สันนิบาตลูกนก ไข้สันนิบาตหน้าเพลิง. |
ไข้ส่า เขียนว่า สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สอ-เสือ-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา | ดู ไข้ผื่น เขียนว่า สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ขอ-ไข่-ไม้-โท-ผอ-ผึ้ง-สะ-หระ-อือ-ไม้-เอก-นอ-หนู. | ไข้ส่า ดู ไข้ผื่น. |
ไข้หวัด เขียนว่า สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ขอ-ไข่-ไม้-โท-หอ-หีบ-วอ-แหวน-ไม้-หัน-อา-กาด-ดอ-เด็ก | เป็นคำนาม หมายถึง ไข้ที่เป็นในขณะที่เป็นหวัด มีนํ้ามูกและเสมหะมาก บางทีก็ไอด้วย. ในวงเล็บ มาจากภาษาอังกฤษ common เขียนว่า ซี-โอ-เอ็ม-เอ็ม-โอ-เอ็น cold เขียนว่า ซี-โอ-แอล-ดี coryza เขียนว่า ซี-โอ-อา-วาย-แซด-เอ acute เขียนว่า เอ-ซี-ยู-ที-อี catarrhal เขียนว่า ซี-เอ-ที-เอ-อา-อา-เอช-เอ-แอล rhinitis เขียนว่า อา-เอช-ไอ-เอ็น-ไอ-ที-ไอ-เอส . | ไข้หวัด น. ไข้ที่เป็นในขณะที่เป็นหวัด มีนํ้ามูกและเสมหะมาก บางทีก็ไอด้วย. (อ. common cold, coryza, acute catarrhal rhinitis). |
ไข้หวัดใหญ่ เขียนว่า สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ขอ-ไข่-ไม้-โท-หอ-หีบ-วอ-แหวน-ไม้-หัน-อา-กาด-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-ไอ-ไม้-ม้วน-หอ-หีบ-ยอ-หยิง-ไม้-เอก | เป็นคำนาม หมายถึง โรคติดต่อเฉียบพลันของระบบทางเดินหายใจ เกิดจากเชื้อไวรัส ผู้ป่วยมีไข้สูงมาก มีอาการหนาวสั่น ปวดกล้ามเนื้อและอ่อนเพลีย. ในวงเล็บ มาจากภาษาอังกฤษ influenza เขียนว่า ไอ-เอ็น-เอฟ-แอล-ยู-อี-เอ็น-แซด-เอ. | ไข้หวัดใหญ่ น. โรคติดต่อเฉียบพลันของระบบทางเดินหายใจ เกิดจากเชื้อไวรัส ผู้ป่วยมีไข้สูงมาก มีอาการหนาวสั่น ปวดกล้ามเนื้อและอ่อนเพลีย. (อ. influenza). |
ไข้หัว เขียนว่า สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ขอ-ไข่-ไม้-โท-หอ-หีบ-ไม้-หัน-อา-กาด-วอ-แหวน | ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ เป็นคำนาม หมายถึง ไข้ทรพิษ, ฝีดาษ. | ไข้หัว (โบ) น. ไข้ทรพิษ, ฝีดาษ. |
ไข้หัวลม เขียนว่า สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ขอ-ไข่-ไม้-โท-หอ-หีบ-ไม้-หัน-อา-กาด-วอ-แหวน-ลอ-ลิง-มอ-ม้า | เป็นคำนาม หมายถึง ไข้ที่มักเกิดเพราะถูกอากาศเย็นต้นฤดูหนาว. | ไข้หัวลม น. ไข้ที่มักเกิดเพราะถูกอากาศเย็นต้นฤดูหนาว. |
ไข้เหลือง เขียนว่า สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-เอ-หอ-หีบ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อือ-ออ-อ่าง-งอ-งู | เป็นคำนาม หมายถึง โรคติดต่อร้ายแรงชนิดหนึ่ง เกิดจากเชื้อไวรัส มียุงเป็นพาหะ ผู้ป่วยมักมีอาการเวียนศีรษะ คลื่นเหียน อาเจียน ปวดศีรษะ และปวดหลัง ไข้ขึ้นสูงอย่างรวดเร็ว ชีพจรเต้นช้าลง ผิวและตาเหลือง อาจมีอันตรายถึงแก่ชีวิตภายใน ๖๗ วัน. ในวงเล็บ มาจากภาษาอังกฤษ yellow เขียนว่า วาย-อี-แอล-แอล-โอ-ดับเบิลยู fever เขียนว่า เอฟ-อี-วี-อี-อา . | ไข้เหลือง น. โรคติดต่อร้ายแรงชนิดหนึ่ง เกิดจากเชื้อไวรัส มียุงเป็นพาหะ ผู้ป่วยมักมีอาการเวียนศีรษะ คลื่นเหียน อาเจียน ปวดศีรษะ และปวดหลัง ไข้ขึ้นสูงอย่างรวดเร็ว ชีพจรเต้นช้าลง ผิวและตาเหลือง อาจมีอันตรายถึงแก่ชีวิตภายใน ๖๗ วัน. (อ. yellow fever). |
ไข่ดัน เขียนว่า สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ขอ-ไข่-ไม้-เอก-ดอ-เด็ก-ไม้-หัน-อา-กาด-นอ-หนู | เป็นคำนาม หมายถึง ต่อมนํ้าเหลืองที่อยู่ใต้ผิวหนังของบริเวณขาหนีบ ซึ่งเป็นแนวต่อระหว่างลำตัวกับต้นขา มีหน้าที่กักและทําลายเชื้อโรคที่อาจผ่านเข้าในร่างกายท่อนบน. | ไข่ดัน น. ต่อมนํ้าเหลืองที่อยู่ใต้ผิวหนังของบริเวณขาหนีบ ซึ่งเป็นแนวต่อระหว่างลำตัวกับต้นขา มีหน้าที่กักและทําลายเชื้อโรคที่อาจผ่านเข้าในร่างกายท่อนบน. |
ไข่ดันหมู เขียนว่า สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ขอ-ไข่-ไม้-เอก-ดอ-เด็ก-ไม้-หัน-อา-กาด-นอ-หนู-หอ-หีบ-มอ-ม้า-สะ-หระ-อู | เป็นคำนาม หมายถึง ไตหมู. | ไข่ดันหมู น. ไตหมู. |
ไข่เต่า เขียนว่า สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ขอ-ไข่-ไม้-เอก-สะ-หระ-เอ-ตอ-เต่า-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา ความหมายที่ ๑ | ดูใน ไข่ เขียนว่า สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ขอ-ไข่-ไม้-เอก ความหมายที่ ๑. | ไข่เต่า ๑ ดูใน ไข่ ๑. |
ไข่เต่า เขียนว่า สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ขอ-ไข่-ไม้-เอก-สะ-หระ-เอ-ตอ-เต่า-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา ความหมายที่ ๒ | เป็นคำนาม หมายถึง (๑) ชื่อมะเขือขื่นพันธุ์หนึ่ง สีขาว เนื้อกรอบ. (๒) ชื่อไม้พุ่มชนิด Polyalthia debilis (Pierre) Finet et Gagnep. ในวงศ์ Annonaceae ขึ้นตามป่าโปร่งดินทราย ผลเป็นข้อ ๆ. | ไข่เต่า ๒ น. (๑) ชื่อมะเขือขื่นพันธุ์หนึ่ง สีขาว เนื้อกรอบ. (๒) ชื่อไม้พุ่มชนิด Polyalthia debilis (Pierre) Finet et Gagnep. ในวงศ์ Annonaceae ขึ้นตามป่าโปร่งดินทราย ผลเป็นข้อ ๆ. |
ไข่น้ำ เขียนว่า สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ขอ-ไข่-ไม้-เอก-นอ-หนู-ไม้-โท-สะ-หระ-อำ | ดู ไข่แหน เขียนว่า สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ขอ-ไข่-ไม้-เอก-สะ-หระ-แอ-หอ-หีบ-นอ-หนู. | ไข่น้ำ ดู ไข่แหน. |
ไข่เน่า เขียนว่า สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ขอ-ไข่-ไม้-เอก-สะ-หระ-เอ-นอ-หนู-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา ความหมายที่ ๑ | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Vitex glabrata R. Br. ในวงศ์ Labiatae ขึ้นตามป่าดิบและที่ราบลุ่มทั่ว ๆ ไป สูง ๘๑๒ เมตร ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อย ๕ ใบ ดอกเล็ก สีม่วงอ่อน ผลรูปไข่ขนาดหัวแม่มือ สุกสีดํา กินได้ มีรสหวานเล็กน้อย เปลือกและรากใช้ทํายาได้. | ไข่เน่า ๑ น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Vitex glabrata R. Br. ในวงศ์ Labiatae ขึ้นตามป่าดิบและที่ราบลุ่มทั่ว ๆ ไป สูง ๘๑๒ เมตร ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อย ๕ ใบ ดอกเล็ก สีม่วงอ่อน ผลรูปไข่ขนาดหัวแม่มือ สุกสีดํา กินได้ มีรสหวานเล็กน้อย เปลือกและรากใช้ทํายาได้. |
ไข่เน่า เขียนว่า สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ขอ-ไข่-ไม้-เอก-สะ-หระ-เอ-นอ-หนู-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา ความหมายที่ ๒ | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อแก๊สพิษชนิดหนึ่ง มีกลิ่นเหม็นเหมือนไข่เน่า. ในวงเล็บ ดู ก๊าซไข่เน่า, แก๊สไข่เน่า ก๊าซไข่เน่า เขียนว่า กอ-ไก่-ไม้-ตรี-สะ-หระ-อา-ซอ-โซ่-สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ขอ-ไข่-ไม้-เอก-สะ-หระ-เอ-นอ-หนู-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา แก๊สไข่เน่า เขียนว่า สะ-หระ-แอ-กอ-ไก่-ไม้-ตรี-สอ-เสือ-สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ขอ-ไข่-ไม้-เอก-สะ-หระ-เอ-นอ-หนู-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา . | ไข่เน่า ๒ น. ชื่อแก๊สพิษชนิดหนึ่ง มีกลิ่นเหม็นเหมือนไข่เน่า. (ดู ก๊าซไข่เน่า, แก๊สไข่เน่า). |
ไข่มุก เขียนว่า สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ขอ-ไข่-ไม้-เอก-มอ-ม้า-สะ-หระ-อุ-กอ-ไก่ | เป็นคำนาม หมายถึง วัตถุมีค่า มักมีลักษณะกลม ๆ เกิดจากหอยบางชนิด ที่รู้จักกันทั่วไปมีสีขาว ที่เป็นสีขาวอมชมพูหรือสีดำก็มี ใช้ทำเป็นเครื่องประดับ. | ไข่มุก น. วัตถุมีค่า มักมีลักษณะกลม ๆ เกิดจากหอยบางชนิด ที่รู้จักกันทั่วไปมีสีขาว ที่เป็นสีขาวอมชมพูหรือสีดำก็มี ใช้ทำเป็นเครื่องประดับ. |
ไขรา เขียนว่า สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ขอ-ไข่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อา | เป็นคำนาม หมายถึง ส่วนของหลังคาอาคารสถาปัตยกรรมไทย เฉพาะตอนที่ยื่นพ้นผนังอาคารออกไปยังขอบหลังคา, ถ้าส่วนที่ยื่นนั้นอยู่ตรงหน้าจั่ว เรียก ไขราหน้าจั่ว, ถ้าอยู่ปลายหน้าบัน เรียก ไขราหน้าบัน, ถ้าเป็นหลังคาปีกนก เรียก ไขราปีกนก, ถ้าเป็นหลังคาบังสาดตามขนาดยาวของเต้า เรียก ไขราจันทันเต้า หรือ ไขราเต้า. | ไขรา น. ส่วนของหลังคาอาคารสถาปัตยกรรมไทย เฉพาะตอนที่ยื่นพ้นผนังอาคารออกไปยังขอบหลังคา, ถ้าส่วนที่ยื่นนั้นอยู่ตรงหน้าจั่ว เรียก ไขราหน้าจั่ว, ถ้าอยู่ปลายหน้าบัน เรียก ไขราหน้าบัน, ถ้าเป็นหลังคาปีกนก เรียก ไขราปีกนก, ถ้าเป็นหลังคาบังสาดตามขนาดยาวของเต้า เรียก ไขราจันทันเต้า หรือ ไขราเต้า. |
ไขว่ เขียนว่า สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ขอ-ไข่-วอ-แหวน-ไม้-เอก | [ไขฺว่] เป็นคำกริยา หมายถึง ไขว้ เช่น ไขว่ชะลอม, ก่ายกัน. เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง อาการที่เคลื่อนไหวไปมาอย่างสับสน เช่น เดินไขว่ โบกมือไขว่. เป็นคำนาม หมายถึง เรียกแผ่นกระดาษที่รองรับแผ่นทองคำเปลวสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ จำนวน ๒๐ แผ่น ว่า ๑ ไขว่. | ไขว่ [ไขฺว่] ก. ไขว้ เช่น ไขว่ชะลอม, ก่ายกัน. ว. อาการที่เคลื่อนไหวไปมาอย่างสับสน เช่น เดินไขว่ โบกมือไขว่. น. เรียกแผ่นกระดาษที่รองรับแผ่นทองคำเปลวสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ จำนวน ๒๐ แผ่น ว่า ๑ ไขว่. |
ไขว่คว้า เขียนว่า สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ขอ-ไข่-วอ-แหวน-ไม้-เอก-คอ-ควาย-วอ-แหวน-ไม้-โท-สะ-หระ-อา | เป็นคำกริยา หมายถึง เอื้อมมือฉวยเอาอย่างสับสน, พยายามจับหรือถือเอา, คว้าไขว่ ก็ว่า. | ไขว่คว้า ก. เอื้อมมือฉวยเอาอย่างสับสน, พยายามจับหรือถือเอา, คว้าไขว่ ก็ว่า. |
ไขว่ห้าง เขียนว่า สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ขอ-ไข่-วอ-แหวน-ไม้-เอก-หอ-หีบ-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-งอ-งู | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง อาการที่นั่งหรือนอนเอาขาพาดบนเข่าซึ่งตั้งชันอยู่. | ไขว่ห้าง ว. อาการที่นั่งหรือนอนเอาขาพาดบนเข่าซึ่งตั้งชันอยู่. |
ไขว้ เขียนว่า สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ขอ-ไข่-วอ-แหวน-ไม้-โท | [ไขฺว้] เป็นคำกริยา หมายถึง ขัด เช่น ไขว้เฉลว, สับกัน เช่น ส่งของไขว้ คือ เอาของคนหนึ่งไปส่งคืนให้อีกคนหนึ่ง, ก่ายสับกัน เช่น ไขว้ขา; กิริยาที่เตะตะกร้อด้วยบิดเท้าไปอีกข้างหนึ่ง เรียกว่า เตะไขว้. | ไขว้ [ไขฺว้] ก. ขัด เช่น ไขว้เฉลว, สับกัน เช่น ส่งของไขว้ คือ เอาของคนหนึ่งไปส่งคืนให้อีกคนหนึ่ง, ก่ายสับกัน เช่น ไขว้ขา; กิริยาที่เตะตะกร้อด้วยบิดเท้าไปอีกข้างหนึ่ง เรียกว่า เตะไขว้. |
ไขว้เขว เขียนว่า สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ขอ-ไข่-วอ-แหวน-ไม้-โท-สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-วอ-แหวน | เป็นคำกริยา หมายถึง สับกัน; ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาปาก หมายถึง โดยปริยายหมายความว่า เอาของไปจํานํา. | ไขว้เขว ก. สับกัน; (ปาก) โดยปริยายหมายความว่า เอาของไปจํานํา. |
ไขว้โรง เขียนว่า สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ขอ-ไข่-วอ-แหวน-ไม้-โท-สะ-หระ-โอ-รอ-เรือ-งอ-งู | เป็นคำกริยา หมายถึง กลับตรงกันข้าม (เดิมเป็นภาษาใช้ในการพนันหวย ก ข มีตัวโรงเช้า โรงคํ่า เมื่อผู้แทงระบุตัวแทงแล้ว ถ้าหากตัวออกกลับกันเสีย ก็เรียกว่า ขุนบาลกินอย่างไขว้โรง, ตรงกับว่า โอละพ่อ). | ไขว้โรง ก. กลับตรงกันข้าม (เดิมเป็นภาษาใช้ในการพนันหวย ก ข มีตัวโรงเช้า โรงคํ่า เมื่อผู้แทงระบุตัวแทงแล้ว ถ้าหากตัวออกกลับกันเสีย ก็เรียกว่า ขุนบาลกินอย่างไขว้โรง, ตรงกับว่า โอละพ่อ). |
ไขษย เขียนว่า สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ขอ-ไข่-สอ-รือ-สี-ยอ-ยัก | [ขะไส] ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ เป็นคำนาม หมายถึง กษัย, การสิ้นไป, การหมดไป. | ไขษย [ขะไส] (โบ) น. กษัย, การสิ้นไป, การหมดไป. |
ไขเสนียด เขียนว่า สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ขอ-ไข่-สะ-หระ-เอ-สอ-เสือ-นอ-หนู-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก-ดอ-เด็ก | [สะเหฺนียด] เป็นคำนาม หมายถึง นํ้าครํา. | ไขเสนียด [สะเหฺนียด] น. นํ้าครํา. |
ไข่หิน เขียนว่า สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ขอ-ไข่-ไม้-เอก-หอ-หีบ-สะ-หระ-อิ-นอ-หนู ความหมายที่ ๑ | ดูใน ไข่ เขียนว่า สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ขอ-ไข่-ไม้-เอก ความหมายที่ ๑. | ไข่หิน ๑ ดูใน ไข่ ๑. |
ไข่หิน เขียนว่า สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ขอ-ไข่-ไม้-เอก-หอ-หีบ-สะ-หระ-อิ-นอ-หนู ความหมายที่ ๒ | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อสาหร่ายสีเขียวชนิด Nostochopsis lobatus Wood ในวงศ์ Nostochopsidaceae ลักษณะรูปไข่ ค่อนข้างกลมเล็ก สีเขียวแก่ เกิดในนํ้าใสสะอาด เกาะอยู่กับหิน กินได้, ดอกหิน ก็เรียก. | ไข่หิน ๒ น. ชื่อสาหร่ายสีเขียวชนิด Nostochopsis lobatus Wood ในวงศ์ Nostochopsidaceae ลักษณะรูปไข่ ค่อนข้างกลมเล็ก สีเขียวแก่ เกิดในนํ้าใสสะอาด เกาะอยู่กับหิน กินได้, ดอกหิน ก็เรียก. |
ไข่แหน เขียนว่า สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ขอ-ไข่-ไม้-เอก-สะ-หระ-แอ-หอ-หีบ-นอ-หนู | [แหฺน] เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อไม้นํ้าชนิด Wolffia globosa (Roxb.) Hartog et Plas ในวงศ์ Lemnaceae เกาะกันเป็นกลุ่มลอยอยู่ในนํ้า ลักษณะเป็นเม็ดเขียว ๆ กลม ๆ เล็ก ๆ ขนาดเม็ดทราย ไม่มีราก เป็นพืชที่เล็กที่สุดในจําพวกพืชมีดอก กินได้, ไข่นํ้า หรือ ผํา ก็เรียก. | ไข่แหน [แหฺน] น. ชื่อไม้นํ้าชนิด Wolffia globosa (Roxb.) Hartog et Plas ในวงศ์ Lemnaceae เกาะกันเป็นกลุ่มลอยอยู่ในนํ้า ลักษณะเป็นเม็ดเขียว ๆ กลม ๆ เล็ก ๆ ขนาดเม็ดทราย ไม่มีราก เป็นพืชที่เล็กที่สุดในจําพวกพืชมีดอก กินได้, ไข่นํ้า หรือ ผํา ก็เรียก. |