กระทรวง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-รอ-เรือ-วอ-แหวน-งอ-งู ความหมายที่ ๒ | [ซวง] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในกฎหมาย เป็นคำนาม หมายถึง ส่วนราชการหนึ่งในราชการบริหารส่วนกลาง ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเป็นหัวหน้า; ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ หมายถึง ส่วนราชการที่พอเทียบได้กับกรมหรือกระทรวงในปัจจุบัน เช่น ถ้าเป็นกระทรวงแพ่ง แลฝ่ายจำเลยนั้นเป็นกรม ฝ่ายนอกให้ส่งไปแพ่งกระเสมพิจารณา, ถ้ามีผู้ร้ายลักช้างม้าผู้คนโคกระบือทรัพยสิ่งใด ๆ เปนกระทรวงนครบาลได้ว่า. ในวงเล็บ มาจาก กฎหมายตราสามดวง ในวงเล็บ เทียบ ภาษาเขมร กรฺสวง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-พิน-ทุ-สอ-เสือ-วอ-แหวน-งอ-งู****(สามดวง). (เทียบ ข. กรฺสวง; ไทยเหนือ ส่วง ว่า ข้าง, ฝ่าย). | กระทรวง ๒ [ซวง] (กฎ) น. ส่วนราชการหนึ่งในราชการบริหารส่วนกลาง ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเป็นหัวหน้า; (โบ) ส่วนราชการที่พอเทียบได้กับกรมหรือกระทรวงในปัจจุบัน เช่น ถ้าเป็นกระทรวงแพ่ง แลฝ่ายจำเลยนั้นเป็นกรม ฝ่ายนอกให้ส่งไปแพ่งกระเสมพิจารณา, ถ้ามีผู้ร้ายลักช้างม้าผู้คนโคกระบือทรัพยสิ่งใด ๆ เปนกระทรวงนครบาลได้ว่า. (สามดวง). (เทียบ ข. กรฺสวง; ไทยเหนือ ส่วง ว่า ข้าง, ฝ่าย). |
กระทวย เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-วอ-แหวน-ยอ-ยัก | เป็นคำนาม หมายถึง ทวย คือ ไม้เท้าแขนที่รับเต้า บางทีทำเป็นรูปนาค เช่น กระทวยธวัชกลงวง คชินทรจ้วงจับลม. ในวงเล็บ มาจาก ลิลิตเพชรมงกุฎ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ. | กระทวย น. ทวย คือ ไม้เท้าแขนที่รับเต้า บางทีทำเป็นรูปนาค เช่น กระทวยธวัชกลงวง คชินทรจ้วงจับลม. (เพชรมงกุฎ). |
กระทวย มีเครื่องหมายยัติภังค์หน้าคำ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-วอ-แหวน-ยอ-ยัก | ใช้เข้าคู่กับคำ กระทด เป็น กระทดกระทวย หรือใช้เข้าคู่กับคำ กระทิก เป็น กระทิกกระทวย. | กระทวย ใช้เข้าคู่กับคำ กระทด เป็น กระทดกระทวย หรือใช้เข้าคู่กับคำ กระทิก เป็น กระทิกกระทวย. |
กระทอก เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-ออ-อ่าง-กอ-ไก่ | เป็นคำกริยา หมายถึง กระแทกขึ้นกระแทกลง, กําแน่นแล้วรูดขึ้นรูดลง, ทำให้ทะลัก เช่น กระทอกเลือดกระแทกล้มกระดิกดิ้น. ในวงเล็บ มาจาก หนังสือบทเสภา เรื่องขุนช้างขุนแผน ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๐-๖๑ ในวงเล็บ เทียบ ภาษามลายู กระตอก เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ตอ-เต่า-ออ-อ่าง-กอ-ไก่ ว่า ตอก . | กระทอก ก. กระแทกขึ้นกระแทกลง, กําแน่นแล้วรูดขึ้นรูดลง, ทำให้ทะลัก เช่น กระทอกเลือดกระแทกล้มกระดิกดิ้น. (ขุนช้างขุนแผน). (เทียบมลายู กระตอก ว่า ตอก). |
กระท้อน เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-ไม้-โท-ออ-อ่าง-นอ-หนู ความหมายที่ ๑ | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Sandoricum koetjape (Burm.f.) Merr. ในวงศ์ Meliaceae ผลค่อนข้างกลม เปลือกนุ่ม สีเหลือง เนื้อกินได้, สะท้อน ก็เรียก, พายัพเรียก มะต้อง หรือ มะตื๋น. | กระท้อน ๑ น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Sandoricum koetjape (Burm.f.) Merr. ในวงศ์ Meliaceae ผลค่อนข้างกลม เปลือกนุ่ม สีเหลือง เนื้อกินได้, สะท้อน ก็เรียก, พายัพเรียก มะต้อง หรือ มะตื๋น. |
กระท้อน เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-ไม้-โท-ออ-อ่าง-นอ-หนู ความหมายที่ ๒ | เป็นคำกริยา หมายถึง กระเด็นกลับ, กระดอนขึ้น, สะท้อน ก็ว่า. | กระท้อน ๒ ก. กระเด็นกลับ, กระดอนขึ้น, สะท้อน ก็ว่า. |
กระท่อนกระแท่น เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-นอ-หนู-กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-แอ-ทอ-ทะ-หาน-ไม้-เอก-นอ-หนู | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ไม่เป็นชิ้นเป็นอัน, ไม่ครบถ้วน. | กระท่อนกระแท่น ว. ไม่เป็นชิ้นเป็นอัน, ไม่ครบถ้วน. |
กระท่อม เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-มอ-ม้า ความหมายที่ ๑ | เป็นคำนาม หมายถึง เรือนเล็ก ๆ ทําพออยู่ได้. ในวงเล็บ เทียบ ภาษาเขมร ขฺทม เขียนว่า ขอ-ไข่-พิน-ทุ-ทอ-ทะ-หาน-มอ-ม้า. | กระท่อม ๑ น. เรือนเล็ก ๆ ทําพออยู่ได้. (เทียบ ข. ขฺทม). |
กระท่อม เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-มอ-ม้า ความหมายที่ ๒ | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Mitragyna speciosa (Korth.) Havil. ในวงศ์ Rubiaceae ชอบขึ้นริมนํ้าทั่วไป ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกัน ยอด ใบอ่อน และก้านใบสีแดงเรื่อ ๆ ช่อดอกกลมสีเหลืองออกเดี่ยว ๆ ตามง่ามใบ ใบมีรสขม กินแล้วเมา เป็นยาเสพติด, อีถ่าง ก็เรียก. | กระท่อม ๒ น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Mitragyna speciosa (Korth.) Havil. ในวงศ์ Rubiaceae ชอบขึ้นริมนํ้าทั่วไป ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกัน ยอด ใบอ่อน และก้านใบสีแดงเรื่อ ๆ ช่อดอกกลมสีเหลืองออกเดี่ยว ๆ ตามง่ามใบ ใบมีรสขม กินแล้วเมา เป็นยาเสพติด, อีถ่าง ก็เรียก. |
กระท่อมขี้หมู เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-มอ-ม้า-ขอ-ไข่-สะ-หระ-อี-ไม้-โท-หอ-หีบ-มอ-ม้า-สะ-หระ-อู | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อไม้ต้นขนาดกลาง ๒ ชนิดในสกุล Mitragyna วงศ์ Rubiaceae ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกัน ชนิด M. diversifolia (Wall. ex G. Don) Havil. ใบยาวรีเล็ก, กระทุ่มนา หรือ ตุ้มแซะ ก็เรียก; ชนิด M. rotundifolia (Roxb.) Kuntze ใบกลม โคนใบเว้า ขนาดใหญ่กว่าชนิดแรก, กระทุ่มขี้หมู กระทุ่มหมู หรือ ตุ้มกว้าว ก็เรียก. | กระท่อมขี้หมู น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลาง ๒ ชนิดในสกุล Mitragyna วงศ์ Rubiaceae ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกัน ชนิด M. diversifolia (Wall. ex G. Don) Havil. ใบยาวรีเล็ก, กระทุ่มนา หรือ ตุ้มแซะ ก็เรียก; ชนิด M. rotundifolia (Roxb.) Kuntze ใบกลม โคนใบเว้า ขนาดใหญ่กว่าชนิดแรก, กระทุ่มขี้หมู กระทุ่มหมู หรือ ตุ้มกว้าว ก็เรียก. |
กระท้อมกระแท้ม เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-ไม้-โท-ออ-อ่าง-มอ-ม้า-กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-แอ-ทอ-ทะ-หาน-ไม้-โท-มอ-ม้า | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง เล็ก ๆ น้อย ๆ, ไม่ใหญ่โต, เช่น หากินกระท้อมกระแท้มไปวันหนึ่ง ๆ. | กระท้อมกระแท้ม ว. เล็ก ๆ น้อย ๆ, ไม่ใหญ่โต, เช่น หากินกระท้อมกระแท้มไปวันหนึ่ง ๆ. |
กระท่อมเลือด เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-มอ-ม้า-สะ-หระ-เอ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อือ-ออ-อ่าง-ดอ-เด็ก | เป็นคำนาม หมายถึง ตํารากบิลว่าน ว่าชื่อว่าน มี ๒ ชนิด; ชนิดหนึ่งก้านใบแดง ยางเป็นเลือด หัวคล้ายมันแกว ซึ่งในกรุงเทพฯ เรียกว่า สบู่เลือด ใช้อยู่คงชั่วเบา, อีกชนิดหนึ่งขาว เกิดตามเขา ลักษณะเช่นเดียวกับอย่างแดง แต่อย่างขาวหัวใหญ่ อย่างโตขนาดกระด้ง ทั้ง๒ ชนิดนี้ ชาวป่าใช้เป็นยาต้มแก้กระษัย หรือระดูขัด. ในวงเล็บ มาจาก พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๔๙๓. | กระท่อมเลือด น. ตํารากบิลว่าน ว่าชื่อว่าน มี ๒ ชนิด; ชนิดหนึ่งก้านใบแดง ยางเป็นเลือด หัวคล้ายมันแกว ซึ่งในกรุงเทพฯ เรียกว่า สบู่เลือด ใช้อยู่คงชั่วเบา, อีกชนิดหนึ่งขาว เกิดตามเขา ลักษณะเช่นเดียวกับอย่างแดง แต่อย่างขาวหัวใหญ่ อย่างโตขนาดกระด้ง ทั้ง๒ ชนิดนี้ ชาวป่าใช้เป็นยาต้มแก้กระษัย หรือระดูขัด. (พจน. ๒๔๙๓). |
กระทะ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อะ ความหมายที่ ๑ | เป็นคำนาม หมายถึง ภาชนะก้นตื้นปากผาย ใช้สําหรับหุงต้มเป็นต้น. | กระทะ ๑ น. ภาชนะก้นตื้นปากผาย ใช้สําหรับหุงต้มเป็นต้น. |
กระทะใบบัว เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-ไอ-ไม้-ม้วน-บอ-ไบ-ไม้-บอ-ไบ-ไม้-ไม้-หัน-อา-กาด-วอ-แหวน | เป็นคำนาม หมายถึง กระทะขนาดใหญ่. | กระทะใบบัว น. กระทะขนาดใหญ่. |
กระทะ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อะ ความหมายที่ ๒ | ดู ตะกรับ เขียนว่า ตอ-เต่า-สะ-หระ-อะ-กอ-ไก่-รอ-เรือ-ไม้-หัน-อา-กาด-บอ-ไบ-ไม้ ความหมายที่ ๓ (๑). | กระทะ ๒ ดู ตะกรับ ๓ (๑). |
กระทั่ง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-ไม้-หัน-อา-กาด-ไม้-เอก-งอ-งู | เป็นคำกริยา หมายถึง ตี, กระแทก, เช่น เสียงโครมครื้นคลื่นกระทั่งฝั่งชลา. ในวงเล็บ มาจาก นิราศเมืองเพชร ฉบับราชบัณฑิตยสภา พ.ศ. ๒๔๗๐; ทําให้มีเสียง เช่น กระทั่งแตรกระทั่งมโหระทึก; ให้เสียงสัญญาณ เช่น ตามช่องฉากบังกระทั่งไอ. ในวงเล็บ มาจาก คาวี พระราชนิพนธ์ ในรัชกาลที่ ๒ พิมพ์ จ.ศ. ๑๒๔๙, นิยมใช้เข้าคู่กับคํา กระทบ เป็น กระทบกระทั่ง. เป็นคำบุรพบท หมายถึง จดถึง, จนถึง, เช่น กระทั่งบัดนี้เขาก็ยังไม่มา; แม้, แม้แต่, เช่น กระทั่งพ่อสั่งเขาก็ยังไม่ทำ กระทั่งแม่ของเขาเองเขาก็ยังไม่เว้น. | กระทั่ง ก. ตี, กระแทก, เช่น เสียงโครมครื้นคลื่นกระทั่งฝั่งชลา. (นิ. เพชร); ทําให้มีเสียง เช่น กระทั่งแตรกระทั่งมโหระทึก; ให้เสียงสัญญาณ เช่น ตามช่องฉากบังกระทั่งไอ. (คาวี), นิยมใช้เข้าคู่กับคํา กระทบ เป็น กระทบกระทั่ง. บ. จดถึง, จนถึง, เช่น กระทั่งบัดนี้เขาก็ยังไม่มา; แม้, แม้แต่, เช่น กระทั่งพ่อสั่งเขาก็ยังไม่ทำ กระทั่งแม่ของเขาเองเขาก็ยังไม่เว้น. |
กระทั่งติด เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-ไม้-หัน-อา-กาด-ไม้-เอก-งอ-งู-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อิ-ดอ-เด็ก | ดู มวก เขียนว่า มอ-ม้า-วอ-แหวน-กอ-ไก่. | กระทั่งติด ดู มวก. |
กระทัน มีเครื่องหมายยัติภังค์หน้าคำ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-ไม้-หัน-อา-กาด-นอ-หนู | ใช้เข้าคู่กับคํา กระทด เป็น กระทดกระทัน. | กระทัน ใช้เข้าคู่กับคํา กระทด เป็น กระทดกระทัน. |
กระทั้น มีเครื่องหมายยัติภังค์หน้าคำ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-ไม้-หัน-อา-กาด-ไม้-โท-นอ-หนู | ใช้เข้าคู่กับคํา กระแทก เป็น กระแทกกระทั้น. | กระทั้น ใช้เข้าคู่กับคํา กระแทก เป็น กระแทกกระทั้น. |
กระทา เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อา | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อนกขนาดเล็กในวงศ์ Phasianidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับไก่ฟ้า ตัวกลม ขนลายเป็นจุดกระ ๆ ปีกและหางสั้น วิ่งหากินเมล็ดพืชและแมลงอยู่ตามพื้นดิน บินได้ในระยะทางสั้น ๆ มีหลายชนิด เช่น กระทาทุ่ง (Francolinus pintadeanus) กระทาดงแข้งเขียว (Arborophila chloropus). | กระทา น. ชื่อนกขนาดเล็กในวงศ์ Phasianidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับไก่ฟ้า ตัวกลม ขนลายเป็นจุดกระ ๆ ปีกและหางสั้น วิ่งหากินเมล็ดพืชและแมลงอยู่ตามพื้นดิน บินได้ในระยะทางสั้น ๆ มีหลายชนิด เช่น กระทาทุ่ง (Francolinus pintadeanus) กระทาดงแข้งเขียว (Arborophila chloropus). |
กระทาชาย เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อา-ชอ-ช้าง-สะ-หระ-อา-ยอ-ยัก | ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ เป็นคำนาม หมายถึง คนผู้ชาย, กระไทชาย ก็ว่า. | กระทาชาย (โบ) น. คนผู้ชาย, กระไทชาย ก็ว่า. |
กระทาย เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อา-ยอ-ยัก | เป็นคำนาม หมายถึง กระบุงเล็ก ปากผาย; เครื่องตวงครึ่งกระบุง ใช้ตวงข้าวสมัยโบราณ. เป็นคำกริยา หมายถึง กระทกของเอากากออก. ในวงเล็บ รูปภาพ กระทาย. | กระทาย น. กระบุงเล็ก ปากผาย; เครื่องตวงครึ่งกระบุง ใช้ตวงข้าวสมัยโบราณ. ก. กระทกของเอากากออก. (รูปภาพ กระทาย). |
กระทายเหิน เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อา-ยอ-ยัก-สะ-หระ-เอ-หอ-หีบ-สะ-หระ-อิ-นอ-หนู | ดู มหาหงส์ เขียนว่า มอ-ม้า-หอ-หีบ-สะ-หระ-อา-หอ-หีบ-งอ-งู-สอ-เสือ-ทัน-ทะ-คาด. | กระทายเหิน ดู มหาหงส์. |
กระทาสี เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อา-สอ-เสือ-สะ-หระ-อี | ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำนาม หมายถึง ทาส เช่น เหมือนไพร่ชาติชั่วช้ากระทาสี. ในวงเล็บ มาจาก นิราศ พระบวรราชนิพนธ์ ในกรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาท. | กระทาสี (กลอน) น. ทาส เช่น เหมือนไพร่ชาติชั่วช้ากระทาสี. (นิ. สุรสีห). |
กระทาหอง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อา-หอ-หีบ-ออ-อ่าง-งอ-งู | ดู จงโคร่ง, โจงโคร่ง จงโคร่ง เขียนว่า จอ-จาน-งอ-งู-สะ-หระ-โอ-คอ-ควาย-รอ-เรือ-ไม้-เอก-งอ-งู โจงโคร่ง เขียนว่า สะ-หระ-โอ-จอ-จาน-งอ-งู-สะ-หระ-โอ-คอ-ควาย-รอ-เรือ-ไม้-เอก-งอ-งู . | กระทาหอง ดู จงโคร่ง, โจงโคร่ง. |
กระทำ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อำ ความหมายที่ ๑ | เป็นคำกริยา หมายถึง ทํา, จัดแจง, ปรุงขึ้น, สร้างขึ้น; ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในกฎหมาย หมายถึง ทําการใด ๆ ที่เกิดผลในทางกฎหมาย และหมายรวมถึงละเว้นการที่กฎหมายบังคับให้กระทํา หรืองดเว้นการที่จักต้องกระทําเพื่อป้องกันผลนั้นด้วย. | กระทำ ๑ ก. ทํา, จัดแจง, ปรุงขึ้น, สร้างขึ้น; (กฎ) ทําการใด ๆ ที่เกิดผลในทางกฎหมาย และหมายรวมถึงละเว้นการที่กฎหมายบังคับให้กระทํา หรืองดเว้นการที่จักต้องกระทําเพื่อป้องกันผลนั้นด้วย. |
กระทำโดยเจตนา เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อำ-สะ-หระ-โอ-ดอ-เด็ก-ยอ-ยัก-สะ-หระ-เอ-จอ-จาน-ตอ-เต่า-นอ-หนู-สะ-หระ-อา | ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในกฎหมาย เป็นคำกริยา หมายถึง กระทำโดยรู้สำนึกในการที่กระทำและในขณะเดียวกันผู้กระทำประสงค์ต่อผล หรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้น. | กระทำโดยเจตนา (กฎ) ก. กระทำโดยรู้สำนึกในการที่กระทำและในขณะเดียวกันผู้กระทำประสงค์ต่อผล หรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้น. |
กระทำโดยประมาท เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อำ-สะ-หระ-โอ-ดอ-เด็ก-ยอ-ยัก-ปอ-ปลา-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-มอ-ม้า-สะ-หระ-อา-ทอ-ทะ-หาน | ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในกฎหมาย เป็นคำกริยา หมายถึง กระทำความผิดมิใช่โดยเจตนา แต่กระทำโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่. | กระทำโดยประมาท (กฎ) ก. กระทำความผิดมิใช่โดยเจตนา แต่กระทำโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่. |
กระทำ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อำ ความหมายที่ ๒ | เป็นคำกริยา หมายถึง ใช้เวทมนตร์ทําให้ผู้ใดผู้หนึ่งเป็นไปตามต้องการของตน มีให้รักหรือให้ป่วยเจ็บเป็นต้น เช่นว่า กระทํายําเยีย, การถูกเวทมนตร์เช่นนี้เรียกว่า ถูกกระทํา. | กระทำ ๒ ก. ใช้เวทมนตร์ทําให้ผู้ใดผู้หนึ่งเป็นไปตามต้องการของตน มีให้รักหรือให้ป่วยเจ็บเป็นต้น เช่นว่า กระทํายําเยีย, การถูกเวทมนตร์เช่นนี้เรียกว่า ถูกกระทํา. |
กระทิกกระทวย เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อิ-กอ-ไก่-กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-วอ-แหวน-ยอ-ยัก | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ระริกระรี่, ซิกซี้, เช่น เจ้าก็ระรี่ระริกกระทิกกระทวยรวยระรื่นจนสิ้นตัว. ในวงเล็บ มาจาก มหาเวสสันดรชาดก ในวงเล็บ แบบเรียน กัณฑ์ชูชก. | กระทิกกระทวย ว. ระริกระรี่, ซิกซี้, เช่น เจ้าก็ระรี่ระริกกระทิกกระทวยรวยระรื่นจนสิ้นตัว. (ม. ร่ายยาว ชูชก). |
กระทิง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อิ-งอ-งู ความหมายที่ ๑ | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อวัวป่าที่ใหญ่ที่สุดชนิด Bos gaurus ในวงศ์ Bovidae ขนลำตัวสีเทาหรือเทาอมดำ ยกเว้นขนบริเวณหน้าผากเป็นสีเทา ครึ่งล่างของขาทั้ง ๔ เป็นขนสีเทาอมเหลือง เนื่องจากเหงื่อที่เป็นน้ำมันที่ขับออกมา. | กระทิง ๑ น. ชื่อวัวป่าที่ใหญ่ที่สุดชนิด Bos gaurus ในวงศ์ Bovidae ขนลำตัวสีเทาหรือเทาอมดำ ยกเว้นขนบริเวณหน้าผากเป็นสีเทา ครึ่งล่างของขาทั้ง ๔ เป็นขนสีเทาอมเหลือง เนื่องจากเหงื่อที่เป็นน้ำมันที่ขับออกมา. |
กระทิงโทน เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อิ-งอ-งู-สะ-หระ-โอ-ทอ-ทะ-หาน-นอ-หนู | เป็นคำนาม หมายถึง กระทิงที่ชอบแยกออกจากฝูงโดยสมัครใจหรือถูกตัวผู้อื่นไล่ออกจากฝูงให้อยู่โดดเดี่ยว. | กระทิงโทน น. กระทิงที่ชอบแยกออกจากฝูงโดยสมัครใจหรือถูกตัวผู้อื่นไล่ออกจากฝูงให้อยู่โดดเดี่ยว. |
กระทิง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อิ-งอ-งู ความหมายที่ ๒ | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อไม้ต้นชนิด Calophyllum inophyllum L. ในวงศ์ Guttiferae ใบและผลคล้ายสารภี แต่ใบขึ้นสันมากและผลกลมกว่า เปลือกเมล็ดแข็ง ใช้ทําลูกฉลากหรือกระบวยของเล่น, สารภีทะเล กากะทิง หรือ กระทึง ก็เรียก. | กระทิง ๒ น. ชื่อไม้ต้นชนิด Calophyllum inophyllum L. ในวงศ์ Guttiferae ใบและผลคล้ายสารภี แต่ใบขึ้นสันมากและผลกลมกว่า เปลือกเมล็ดแข็ง ใช้ทําลูกฉลากหรือกระบวยของเล่น, สารภีทะเล กากะทิง หรือ กระทึง ก็เรียก. |
กระทิง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อิ-งอ-งู ความหมายที่ ๓ | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อปลานํ้าจืดในสกุล Mastacembelus วงศ์ Mastacembelidae ลําตัวยาว แบนข้างเล็กน้อย ปลายจะงอยปากบนเรียวแหลมคล้ายปลาหลด แต่มีครีบหลังและครีบก้นยาวต่อเนื่องกับครีบหาง สีสดสวยกว่าและมีขนาดใหญ่กว่า อาศัยอยู่ในแม่นํ้าลําคลองและที่ลุ่ม มีหลายชนิดในประเทศไทย ที่พบทั่วไป ได้แก่ ชนิด M. armatus, M. favus และกระทิงไฟ (M. erythrotaenia) ซึ่งมีขนาดยาวได้ถึง ๘๐ เซนติเมตร. | กระทิง ๓ น. ชื่อปลานํ้าจืดในสกุล Mastacembelus วงศ์ Mastacembelidae ลําตัวยาว แบนข้างเล็กน้อย ปลายจะงอยปากบนเรียวแหลมคล้ายปลาหลด แต่มีครีบหลังและครีบก้นยาวต่อเนื่องกับครีบหาง สีสดสวยกว่าและมีขนาดใหญ่กว่า อาศัยอยู่ในแม่นํ้าลําคลองและที่ลุ่ม มีหลายชนิดในประเทศไทย ที่พบทั่วไป ได้แก่ ชนิด M. armatus, M. favus และกระทิงไฟ (M. erythrotaenia) ซึ่งมีขนาดยาวได้ถึง ๘๐ เซนติเมตร. |
กระทึง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อึ-งอ-งู | เป็นคำนาม หมายถึง (๑) (โบ; กลอน) ชื่อไม้ต้นชนิดหนึ่ง ใบคล้ายพลวง รากมียางเมือก เชื่อกันว่าใช้เป็นยาดูดพิษฝีได้ เช่น กระทุทุบกระทึงทอง. ในวงเล็บ มาจาก สูตรธนูคำฉันท์ จากวชิรญาณรายเดือน ปีที่ ๒๐ ตอนที่ ๗๔ และ ๗๕. (๒) ดู กระทิง ๒. | กระทึง น. (๑) (โบ; กลอน) ชื่อไม้ต้นชนิดหนึ่ง ใบคล้ายพลวง รากมียางเมือก เชื่อกันว่าใช้เป็นยาดูดพิษฝีได้ เช่น กระทุทุบกระทึงทอง. (สุธน). (๒) ดู กระทิง ๒. |
กระทืบ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อือ-บอ-ไบ-ไม้ | เป็นคำกริยา หมายถึง ยกเท้ากระแทกลงไป. | กระทืบ ก. ยกเท้ากระแทกลงไป. |
กระทืบธรณี เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อือ-บอ-ไบ-ไม้-ทอ-ทง-รอ-เรือ-นอ-เนน-สะ-หระ-อี | เป็นคำนาม หมายถึง อาการที่เดินห่มตัว ถือกันว่าเป็นลักษณะไม่ดี เข้าในพวกว่า ยักหล่มถ่มร้าย กระทืบธรณี. | กระทืบธรณี น. อาการที่เดินห่มตัว ถือกันว่าเป็นลักษณะไม่ดี เข้าในพวกว่า ยักหล่มถ่มร้าย กระทืบธรณี. |
กระทืบยอบ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อือ-บอ-ไบ-ไม้-ยอ-ยัก-ออ-อ่าง-บอ-ไบ-ไม้ | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อไม้ล้มลุก ๓ ชนิด คือ Biophytum adiantoides Wight ex Edgew. et Hook.f., B. petersianum Klotzsch และ B. sensitivum (L.) DC. ในวงศ์ Oxalidaceae ต้นเล็ก ๆ ใบคล้ายใบผักกระเฉด เมื่อถูกกระเทือนหุบได้ ดอกสีเหลือง, กระทืบยอด ก็เรียก. | กระทืบยอบ น. ชื่อไม้ล้มลุก ๓ ชนิด คือ Biophytum adiantoides Wight ex Edgew. et Hook.f., B. petersianum Klotzsch และ B. sensitivum (L.) DC. ในวงศ์ Oxalidaceae ต้นเล็ก ๆ ใบคล้ายใบผักกระเฉด เมื่อถูกกระเทือนหุบได้ ดอกสีเหลือง, กระทืบยอด ก็เรียก. |
กระทุ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อุ | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อไม้พุ่มชนิด Rhodomyrtus tomentosa Wight ในวงศ์ Myrtaceae ขึ้นชุมตามป่าโปร่งทางปักษ์ใต้ ใบหนา สีเขียวแก่ ออกเป็นคู่ ๆ ตามกิ่ง บางทีออกเป็น ๓ ใบจากข้อเดียวกัน ด้านล่างของใบมีขนทึบสั้น ๆ ดอกสีชมพู สัณฐานคล้ายกุหลาบลาขนาดเล็ก ๆ ออกตามง่ามใบ ดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อ ๒๓ ดอกก็มี ผลกลม เมื่อสุกสีม่วงดํา กินได้ มีรสหอมหวาน, ทุ พรวด พลวดใหญ่ หรือ พลวดกินลูก ก็เรียก. | กระทุ น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Rhodomyrtus tomentosa Wight ในวงศ์ Myrtaceae ขึ้นชุมตามป่าโปร่งทางปักษ์ใต้ ใบหนา สีเขียวแก่ ออกเป็นคู่ ๆ ตามกิ่ง บางทีออกเป็น ๓ ใบจากข้อเดียวกัน ด้านล่างของใบมีขนทึบสั้น ๆ ดอกสีชมพู สัณฐานคล้ายกุหลาบลาขนาดเล็ก ๆ ออกตามง่ามใบ ดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อ ๒๓ ดอกก็มี ผลกลม เมื่อสุกสีม่วงดํา กินได้ มีรสหอมหวาน, ทุ พรวด พลวดใหญ่ หรือ พลวดกินลูก ก็เรียก. |
กระทุง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อุ-งอ-งู | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อนกนํ้าขนาดใหญ่ในวงศ์ Pelecanidae ขนสีขาวหรือสีเทา ๆ ตัวขนาดห่าน ปากยาวใหญ่ ปากล่างมีลักษณะเป็นถุงขนาดใหญ่สําหรับจับปลาทีละมาก ๆ อาศัยอยู่ตามแม่นํ้าลําคลองและชายทะเล ในประเทศไทยมีเพียงชนิดเดียวคือ ชนิด Pelecanus philippensis. | กระทุง น. ชื่อนกนํ้าขนาดใหญ่ในวงศ์ Pelecanidae ขนสีขาวหรือสีเทา ๆ ตัวขนาดห่าน ปากยาวใหญ่ ปากล่างมีลักษณะเป็นถุงขนาดใหญ่สําหรับจับปลาทีละมาก ๆ อาศัยอยู่ตามแม่นํ้าลําคลองและชายทะเล ในประเทศไทยมีเพียงชนิดเดียวคือ ชนิด Pelecanus philippensis. |
กระทุ้ง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อุ-ไม้-โท-งอ-งู | เป็นคำกริยา หมายถึง เอาสิ่งที่มีลักษณะยาวกระแทกให้แน่นหรือให้ออก, โดยปริยายหมายความว่า หนุนให้กระทําหรือกล่าวแสดงออกมา เช่น กระทุ้งให้ร้องเพลง, ทุ้ง ก็ว่า เช่น ชอบแต่ทุบถองทุ้งให้กุ้งกิน. ในวงเล็บ มาจาก มณีพิชัยตอนต้น บทละคร พระนิพนธ์ ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น ๒ กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๒. | กระทุ้ง ก. เอาสิ่งที่มีลักษณะยาวกระแทกให้แน่นหรือให้ออก, โดยปริยายหมายความว่า หนุนให้กระทําหรือกล่าวแสดงออกมา เช่น กระทุ้งให้ร้องเพลง, ทุ้ง ก็ว่า เช่น ชอบแต่ทุบถองทุ้งให้กุ้งกิน. (มณีพิชัย). |
กระทุ้งเส้า เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อุ-ไม้-โท-งอ-งู-สะ-หระ-เอ-สอ-เสือ-ไม้-โท-สะ-หระ-อา | เป็นคำกริยา หมายถึง เอาไม้เส้ากระทุ้งเพื่อให้จังหวะฝีพาย. | กระทุ้งเส้า ก. เอาไม้เส้ากระทุ้งเพื่อให้จังหวะฝีพาย. |
กระทุงลาย เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อุ-งอ-งู-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อา-ยอ-ยัก | ดู กระทงลาย เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-งอ-งู-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อา-ยอ-ยัก. | กระทุงลาย ดู กระทงลาย. |
กระทุงหมาบ้า เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อุ-งอ-งู-หอ-หีบ-มอ-ม้า-สะ-หระ-อา-บอ-ไบ-ไม้-ไม้-โท-สะ-หระ-อา | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อไม้เถาชนิด Dregea volubilis (L.f.) Benth. ex Hook.f. ในวงศ์ Asclepiadaceae มียางขาวเป็นพิษ ใบมนหรือรูปไข่ ปลายแหลม โคนใบเว้าหรือป้าน ออกเป็นคู่ตรงข้ามกันตามลําต้น ดอกสีเขียวอ่อนเป็นพวงกลม ใช้ทํายา, ฮ้วนหมู ก็เรียก. | กระทุงหมาบ้า น. ชื่อไม้เถาชนิด Dregea volubilis (L.f.) Benth. ex Hook.f. ในวงศ์ Asclepiadaceae มียางขาวเป็นพิษ ใบมนหรือรูปไข่ ปลายแหลม โคนใบเว้าหรือป้าน ออกเป็นคู่ตรงข้ามกันตามลําต้น ดอกสีเขียวอ่อนเป็นพวงกลม ใช้ทํายา, ฮ้วนหมู ก็เรียก. |
กระทุงเหว เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อุ-งอ-งู-สะ-หระ-เอ-หอ-หีบ-วอ-แหวน | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อปลาผิวนํ้าทุกชนิดในวงศ์ Belonidae และ Hemirhamphidae ลําตัวกลมยาวคล้ายปลาเข็ม กระดูกปากทั้งตอนบนและล่างหรือเฉพาะตอนล่างยื่นยาวแหลม หางเป็นแฉก บ้างก็ตัดเฉียงลงมากน้อยหรือกลมแล้วแต่ชนิดหรือสกุล บางชนิดพบอาศัยอยู่ในนํ้าจืด เช่น กระทุงเหวเมือง (Xenentodon cancila) ส่วนใหญ่พบในเขตนํ้ากร่อยหรือชายทะเล เช่น ชนิดในสกุล Hemirhamphus, Hyporhamphus, Rhynchorhamphus, Tylosurus, Strongylura และ Zenarchopterus ชนิดที่พบในทะเลห่างฝั่งและบริเวณรอบเกาะ คือ กระทุงเหวบั้ง (Ablennes hians) ซึ่งมีชุกชุมที่สุด, เข็ม ก็เรียก. | กระทุงเหว น. ชื่อปลาผิวนํ้าทุกชนิดในวงศ์ Belonidae และ Hemirhamphidae ลําตัวกลมยาวคล้ายปลาเข็ม กระดูกปากทั้งตอนบนและล่างหรือเฉพาะตอนล่างยื่นยาวแหลม หางเป็นแฉก บ้างก็ตัดเฉียงลงมากน้อยหรือกลมแล้วแต่ชนิดหรือสกุล บางชนิดพบอาศัยอยู่ในนํ้าจืด เช่น กระทุงเหวเมือง (Xenentodon cancila) ส่วนใหญ่พบในเขตนํ้ากร่อยหรือชายทะเล เช่น ชนิดในสกุล Hemirhamphus, Hyporhamphus, Rhynchorhamphus, Tylosurus, Strongylura และ Zenarchopterus ชนิดที่พบในทะเลห่างฝั่งและบริเวณรอบเกาะ คือ กระทุงเหวบั้ง (Ablennes hians) ซึ่งมีชุกชุมที่สุด, เข็ม ก็เรียก. |
กระทุน เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อุ-นอ-หนู | ดู กะทุน เขียนว่า กอ-ไก่-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อุ-นอ-หนู. | กระทุน ดู กะทุน. |
กระทุ่ม เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อุ-ไม้-เอก-มอ-ม้า ความหมายที่ ๑ | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อไม้ต้นขนาดกลางและขนาดใหญ่ชนิด Anthocephalus chinensis (Lam.) A. Rich. ex Walp. ในวงศ์ Rubiaceae ใบออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน ตามลํากิ่งและในระหว่างใบมีหูใบรูปสามเหลี่ยมปลายแหลมติดกับกิ่งทั้ง ๒ ด้าน ดอกเป็นช่อกลมสีเหลืองอ่อน หอม เนื้อไม้เหลืองหรือขาว ใช้ทําเสากระดาน และเยื่อกระดาษชนิดเลวได้, กระทุ่มบกตะกู หรือ ตะโกส้ม ก็เรียก. ในวงเล็บ เทียบ ภาษาบาลี กทมฺพ เขียนว่า กอ-ไก่-ทอ-ทะ-หาน-มอ-ม้า-พิน-ทุ-พอ-พาน. | กระทุ่ม ๑ น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางและขนาดใหญ่ชนิด Anthocephalus chinensis (Lam.) A. Rich. ex Walp. ในวงศ์ Rubiaceae ใบออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน ตามลํากิ่งและในระหว่างใบมีหูใบรูปสามเหลี่ยมปลายแหลมติดกับกิ่งทั้ง ๒ ด้าน ดอกเป็นช่อกลมสีเหลืองอ่อน หอม เนื้อไม้เหลืองหรือขาว ใช้ทําเสากระดาน และเยื่อกระดาษชนิดเลวได้, กระทุ่มบกตะกู หรือ ตะโกส้ม ก็เรียก. (เทียบ ป. กทมฺพ). |
กระทุ่มขี้หมู, กระทุ่มนา, กระทุ่มหมู กระทุ่มขี้หมู เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อุ-ไม้-เอก-มอ-ม้า-ขอ-ไข่-สะ-หระ-อี-ไม้-โท-หอ-หีบ-มอ-ม้า-สะ-หระ-อู กระทุ่มนา เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อุ-ไม้-เอก-มอ-ม้า-นอ-หนู-สะ-หระ-อา กระทุ่มหมู เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อุ-ไม้-เอก-มอ-ม้า-หอ-หีบ-มอ-ม้า-สะ-หระ-อู | ดู กระท่อมขี้หมู เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-มอ-ม้า-ขอ-ไข่-สะ-หระ-อี-ไม้-โท-หอ-หีบ-มอ-ม้า-สะ-หระ-อู. | กระทุ่มขี้หมู, กระทุ่มนา, กระทุ่มหมู ดู กระท่อมขี้หมู. |
กระทุ่ม เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อุ-ไม้-เอก-มอ-ม้า ความหมายที่ ๒ | เป็นคำกริยา หมายถึง เอาเท้าตีนํ้าเมื่อเวลาว่ายนํ้า; ตี เช่น กรกระทุ่มทรวงครวญ รํ่าร้อง. ในวงเล็บ มาจาก ลิลิตเพชรมงกุฎ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ; ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ และเป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง หมายถึง โดยปริยายหมายความว่า ผ่า เช่น ฟ้ากระทุ่มทับลง. (แช่งน้ำ). | กระทุ่ม ๒ ก. เอาเท้าตีนํ้าเมื่อเวลาว่ายนํ้า; ตี เช่น กรกระทุ่มทรวงครวญ รํ่าร้อง. (เพชรมงกุฎ); (โบ; กลอน) โดยปริยายหมายความว่า ผ่า เช่น ฟ้ากระทุ่มทับลง. (แช่งน้ำ). |
กระทู้ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อู-ไม้-โท ความหมายที่ ๑ | เป็นคำนาม หมายถึง ซอไม้ไผ่ที่เอามาปักเป็นเสารั้ว; หลัก เช่น ช้างพังพลายเป็นสัตว์มีคุณแล้วก็เป็นกระทู้ราชการสําหรับแผ่นดินสืบมา. (ท้องตราโบราณ วชิรญาณรายเดือน เล่ม ๗), เป็นกระทู้การสงคราม. (ประชุมพงศ. ๒); ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในไวยากรณ์ หมายถึง ในฉันทลักษณ์ หมายเอาข้อความอันเป็นเค้าเงื่อนนําหน้าบทกลอน เช่น โคลงที่แต่งตามเค้าเงื่อนนั้น เรียกว่า โคลงกระทู้. | กระทู้ ๑ น. ซอไม้ไผ่ที่เอามาปักเป็นเสารั้ว; หลัก เช่น ช้างพังพลายเป็นสัตว์มีคุณแล้วก็เป็นกระทู้ราชการสําหรับแผ่นดินสืบมา. (ท้องตราโบราณ วชิรญาณรายเดือน เล่ม ๗), เป็นกระทู้การสงคราม. (ประชุมพงศ. ๒); (ไว) ในฉันทลักษณ์ หมายเอาข้อความอันเป็นเค้าเงื่อนนําหน้าบทกลอน เช่น โคลงที่แต่งตามเค้าเงื่อนนั้น เรียกว่า โคลงกระทู้. |
กระทู้ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อู-ไม้-โท ความหมายที่ ๒ | เป็นคำนาม หมายถึง หัวข้อหรือข้อความที่ตั้งให้อธิบาย เช่น กระทู้ธรรม กระทู้ถาม. | กระทู้ ๒ น. หัวข้อหรือข้อความที่ตั้งให้อธิบาย เช่น กระทู้ธรรม กระทู้ถาม. |
กระทู้ถาม เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อู-ไม้-โท-ถอ-ถุง-สะ-หระ-อา-มอ-ม้า | ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในกฎหมาย เป็นคำนาม หมายถึง คําถามในข้อเท็จจริงหรือนโยบายที่สมาชิกสภานิติบัญญัติหรือสมาชิกสภาขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นตั้งถามฝ่ายบริหารให้ตอบในที่ประชุมแห่งสภานั้น ๆ หรือตอบเป็นหนังสือ. ในวงเล็บ มาจากภาษาอังกฤษ question เขียนว่า คิว-ยู-อี-เอส-ที-ไอ-โอ-เอ็น. | กระทู้ถาม (กฎ) น. คําถามในข้อเท็จจริงหรือนโยบายที่สมาชิกสภานิติบัญญัติหรือสมาชิกสภาขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นตั้งถามฝ่ายบริหารให้ตอบในที่ประชุมแห่งสภานั้น ๆ หรือตอบเป็นหนังสือ. (อ. question). |
กระทู้ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อู-ไม้-โท ความหมายที่ ๓ | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อหนอนของแมลงกลุ่มหนึ่งในวงศ์ Noctuidae หรือ Phalaenidae ลําตัวอ่อนนุ่ม ผิวเป็นมัน มีขนตามลําตัวน้อย ส่วนใหญ่สีคลํ้า ทางด้านท้องสีอ่อนกว่า มักมีแถบหรือเส้นสีต่าง ๆ เช่น สีส้มอมนํ้าตาล เหลืองอมขาว พาดตามยาวที่สันหลังและข้างลําตัว มีขาจริง ๓ คู่ ขาเทียม ๕ คู่ กินพืช โดยมักจะกัดต้นพืชให้ขาดออกจากกัน ทําให้เหลือแต่ตอโผล่เหนือพื้นดิน มองคล้ายกระทู้หรือซอไม้ไผ่ที่ปักเป็นหลัก ชนิดที่รู้จักกันทั่วไป เช่น หนอนกระทู้ควายพระอินทร์ หรือหนอนกระทู้คอรวง (Mythimna separata) ที่ทําลายต้นข้าว. | กระทู้ ๓ น. ชื่อหนอนของแมลงกลุ่มหนึ่งในวงศ์ Noctuidae หรือ Phalaenidae ลําตัวอ่อนนุ่ม ผิวเป็นมัน มีขนตามลําตัวน้อย ส่วนใหญ่สีคลํ้า ทางด้านท้องสีอ่อนกว่า มักมีแถบหรือเส้นสีต่าง ๆ เช่น สีส้มอมนํ้าตาล เหลืองอมขาว พาดตามยาวที่สันหลังและข้างลําตัว มีขาจริง ๓ คู่ ขาเทียม ๕ คู่ กินพืช โดยมักจะกัดต้นพืชให้ขาดออกจากกัน ทําให้เหลือแต่ตอโผล่เหนือพื้นดิน มองคล้ายกระทู้หรือซอไม้ไผ่ที่ปักเป็นหลัก ชนิดที่รู้จักกันทั่วไป เช่น หนอนกระทู้ควายพระอินทร์ หรือหนอนกระทู้คอรวง (Mythimna separata) ที่ทําลายต้นข้าว. |
กระเท่ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-ทอ-ทะ-หาน-ไม้-เอก | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง เท่, เอียง. | กระเท่ ว. เท่, เอียง. |
กระเท่เร่ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-ทอ-ทะ-หาน-ไม้-เอก-สะ-หระ-เอ-รอ-เรือ-ไม้-เอก | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง เอียงทื่ออยู่, เอียงไปมาก, มักพูดเข้าคู่กับ เอียง เป็น เอียงกระเท่เร่, โดยปริยายหมายความว่า ลําเอียงมาก. | กระเท่เร่ ว. เอียงทื่ออยู่, เอียงไปมาก, มักพูดเข้าคู่กับ เอียง เป็น เอียงกระเท่เร่, โดยปริยายหมายความว่า ลําเอียงมาก. |
กระเทียบ มีเครื่องหมายยัติภังค์หน้าคำ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก-บอ-ไบ-ไม้ | ใช้เข้าคู่กับคํา กระทบ เป็น กระทบกระเทียบ. | กระเทียบ ใช้เข้าคู่กับคํา กระทบ เป็น กระทบกระเทียบ. |
กระเทียม เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก-มอ-ม้า | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Allium sativum L. ในวงศ์ Alliaceae คล้ายต้นหอม หัวเป็นกลีบ ๆ เมื่อแห้งสีขาว กลิ่นฉุน รสเผ็ดร้อน ใช้ปรุงอาหาร, พายัพเรียก หอมเตียม, อีสานเรียก หอมขาว, ปักษ์ใต้เรียก เทียม. | กระเทียม น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Allium sativum L. ในวงศ์ Alliaceae คล้ายต้นหอม หัวเป็นกลีบ ๆ เมื่อแห้งสีขาว กลิ่นฉุน รสเผ็ดร้อน ใช้ปรุงอาหาร, พายัพเรียก หอมเตียม, อีสานเรียก หอมขาว, ปักษ์ใต้เรียก เทียม. |
กระเทียมหอม เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก-มอ-ม้า-หอ-หีบ-ออ-อ่าง-มอ-ม้า | เป็นคำนาม หมายถึง ต้นหอม เช่น กระเทียมหอมรําแย้ ก็มี. ในวงเล็บ มาจาก มหาชาติคำหลวง ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๐ กัณฑ์มหาพน. | กระเทียมหอม น. ต้นหอม เช่น กระเทียมหอมรําแย้ ก็มี. (ม. คำหลวง มหาพน). |
กระเทือน เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อือ-ออ-อ่าง-นอ-หนู | เป็นคำกริยา หมายถึง มีอาการเหมือนไหวหรือสั่นเพราะถูกกระทบกระทั่ง เช่น นั่งรถที่แล่นไปตามทางขรุขระก็รู้สึกกระเทือน เสียงระเบิดทำให้บ้านกระเทือน, โดยปริยายหมายความว่า รู้สึกหวั่นไหว เช่น เขาว่าลูกก็กระเทือนไปถึงแม่ ใครจะว่าอย่างไร ๆ ก็ไม่กระเทือน, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคํา กระทบ เป็น กระทบกระเทือน, สะเทือน ก็ว่า. | กระเทือน ก. มีอาการเหมือนไหวหรือสั่นเพราะถูกกระทบกระทั่ง เช่น นั่งรถที่แล่นไปตามทางขรุขระก็รู้สึกกระเทือน เสียงระเบิดทำให้บ้านกระเทือน, โดยปริยายหมายความว่า รู้สึกหวั่นไหว เช่น เขาว่าลูกก็กระเทือนไปถึงแม่ ใครจะว่าอย่างไร ๆ ก็ไม่กระเทือน, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคํา กระทบ เป็น กระทบกระเทือน, สะเทือน ก็ว่า. |
กระเทือนใจ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อือ-ออ-อ่าง-นอ-หนู-สะ-หระ-ไอ-ไม้-ม้วน-จอ-จาน | เป็นคำกริยา หมายถึง มีจิตใจหวั่นไหวอย่างแรงเพราะมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากระทบ (มักใช้ในทางที่ไม่ดี),สะเทือนใจ ก็ว่า. | กระเทือนใจ ก. มีจิตใจหวั่นไหวอย่างแรงเพราะมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากระทบ (มักใช้ในทางที่ไม่ดี),สะเทือนใจ ก็ว่า. |
กระเทือนซาง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อือ-ออ-อ่าง-นอ-หนู-ซอ-โซ่-สะ-หระ-อา-งอ-งู | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาปาก เป็นคำกริยา หมายถึง มีจิตใจหวั่นไหวอย่างรุนแรงเพราะมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากระทบใจ เช่น ว่าเท่าไร ๆ ก็ไม่กระเทือนซาง ถูกตำหนิอย่างแรงทำให้รู้สึกกระเทือนซาง. | กระเทือนซาง (ปาก) ก. มีจิตใจหวั่นไหวอย่างรุนแรงเพราะมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากระทบใจ เช่น ว่าเท่าไร ๆ ก็ไม่กระเทือนซาง ถูกตำหนิอย่างแรงทำให้รู้สึกกระเทือนซาง. |
กระเทื้อม เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อือ-ไม้-โท-ออ-อ่าง-มอ-ม้า | เป็นคำกริยา หมายถึง กระเทือน เช่น เสียงดังโครมใหญ่ไม่กระเทื้อม. ในวงเล็บ มาจาก พระอภัยมณีคำกลอน ของ สุนทรภู่ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๗. | กระเทื้อม ก. กระเทือน เช่น เสียงดังโครมใหญ่ไม่กระเทื้อม. (อภัย). |
กระแทก เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-แอ-ทอ-ทะ-หาน-กอ-ไก่ | เป็นคำกริยา หมายถึง กระทบโดยแรง, กระทุ้ง; พูดกระชากเสียงให้ดังผิดปรกติแสดงว่าไม่พอใจหรือโกรธ เช่น กระแทกเสียง, บางทีใช้เข้าคู่กับคํา กระทบ เป็น กระทบกระแทก. | กระแทก ก. กระทบโดยแรง, กระทุ้ง; พูดกระชากเสียงให้ดังผิดปรกติแสดงว่าไม่พอใจหรือโกรธ เช่น กระแทกเสียง, บางทีใช้เข้าคู่กับคํา กระทบ เป็น กระทบกระแทก. |
กระแทกกระทั้น เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-แอ-ทอ-ทะ-หาน-กอ-ไก่-กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-ไม้-หัน-อา-กาด-ไม้-โท-นอ-หนู | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง กระแทกเสียงหรือกระแทกสิ่งของให้รู้ว่าไม่พอใจหรือโกรธ. | กระแทกกระทั้น ว. กระแทกเสียงหรือกระแทกสิ่งของให้รู้ว่าไม่พอใจหรือโกรธ. |
กระแท่น เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-แอ-ทอ-ทะ-หาน-ไม้-เอก-นอ-หนู | เป็นคำกริยา หมายถึง แทบถึง, ถึงทีเดียว, กระทั่ง, คําใช้ในบทร้องของเด็ก ในความว่า พายเรืออกแอ่นกระแท่นต้นกุ่ม, นิยมใช้เข้าคู่กับคำ กระท่อน เป็น กระท่อนกระแท่น. | กระแท่น ก. แทบถึง, ถึงทีเดียว, กระทั่ง, คําใช้ในบทร้องของเด็ก ในความว่า พายเรืออกแอ่นกระแท่นต้นกุ่ม, นิยมใช้เข้าคู่กับคำ กระท่อน เป็น กระท่อนกระแท่น. |
กระแท้ม มีเครื่องหมายยัติภังค์หน้าคำ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-แอ-ทอ-ทะ-หาน-ไม้-โท-มอ-ม้า | ใช้เข้าคู่กับคํา กระท้อม เป็น กระท้อมกระแท้ม. | กระแท้ม ใช้เข้าคู่กับคํา กระท้อม เป็น กระท้อมกระแท้ม. |
กระแทะ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-แอ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อะ | เป็นคำนาม หมายถึง ยานชนิดลากขนาดเล็ก มี ๒ ล้อ ใช้วัวเทียม ตัวเรือนราบไม่ยกสูงอย่างเรือนเกวียน มีทั้งชนิดโถงและประกอบหลังคา, ระแทะ หรือ รันแทะ ก็ว่า. ในวงเล็บ มาจากภาษาเขมร รเทะ เขียนว่า รอ-เรือ-สะ-หระ-เอ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อะ. | กระแทะ น. ยานชนิดลากขนาดเล็ก มี ๒ ล้อ ใช้วัวเทียม ตัวเรือนราบไม่ยกสูงอย่างเรือนเกวียน มีทั้งชนิดโถงและประกอบหลังคา, ระแทะ หรือ รันแทะ ก็ว่า. (ข. รเทะ). |
กระไทชาย เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ทอ-ทะ-หาน-ชอ-ช้าง-สะ-หระ-อา-ยอ-ยัก | ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ มาจาก กระทาชาย เป็นคำนาม หมายถึง คนผู้ชาย เช่น อันว่ากระไทชายผู้หนึ่ง. ในวงเล็บ มาจาก มหาชาติคำหลวง ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๐ กัณฑ์กุมาร และกัณฑ์มหาราช, กระทาชาย ก็ว่า. | กระไทชาย (โบ; มาจาก กระทาชาย) น. คนผู้ชาย เช่น อันว่ากระไทชายผู้หนึ่ง. (ม. คำหลวง กุมาร; มหาราช), กระทาชาย ก็ว่า. |
กระนก เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-นอ-หนู-กอ-ไก่ | [หฺนก] ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ แผลงมาจาก กนก เป็นคำนาม หมายถึง ทองคํา. ในวงเล็บ มาจาก หนังสือไตรภูมิพระร่วง ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ ร.ศ. ๑๓๑. ในวงเล็บ ดู กนก เขียนว่า กอ-ไก่-นอ-หนู-กอ-ไก่. | กระนก [หฺนก] (โบ; แผลงมาจาก กนก) น. ทองคํา. (ไตรภูมิ). (ดู กนก). |
กระน่อง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-นอ-หนู-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-งอ-งู | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาถิ่นภาคอีสาน เป็นคำนาม หมายถึง อวัยวะส่วนหลังของลำแข้ง ตั้งแต่ขาพับลงไปถึงส้นเท้า, กระหน่อง ขะน่อง หรือ ขาน่อง ก็เรียก. | กระน่อง (ถิ่นอีสาน) น. อวัยวะส่วนหลังของลำแข้ง ตั้งแต่ขาพับลงไปถึงส้นเท้า, กระหน่อง ขะน่อง หรือ ขาน่อง ก็เรียก. |
กระนั้น เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-นอ-หนู-ไม้-หัน-อา-กาด-ไม้-โท-นอ-หนู | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง นั้น, ดังนั้น, อย่างนั้น. | กระนั้น ว. นั้น, ดังนั้น, อย่างนั้น. |
กระนี้ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-นอ-หนู-สะ-หระ-อี-ไม้-โท | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง นี้, ดังนี้, อย่างนี้. | กระนี้ ว. นี้, ดังนี้, อย่างนี้. |
กระแนะกระแหน เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-แอ-นอ-หนู-สะ-หระ-อะ-กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-แอ-หอ-หีบ-นอ-หนู | [แหฺน] เป็นคำกริยา หมายถึง พูดกระทบหรือพูดเป็นเชิงเสียดสี, กระแหนะกระแหน ก็ว่า. | กระแนะกระแหน [แหฺน] ก. พูดกระทบหรือพูดเป็นเชิงเสียดสี, กระแหนะกระแหน ก็ว่า. |
กระโน้น เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-โอ-นอ-หนู-ไม้-โท-นอ-หนู | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง โน้น, เช่นโน้น, อย่างโน้น. | กระโน้น ว. โน้น, เช่นโน้น, อย่างโน้น. |
กระไน เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-นอ-หนู | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อนกชนิดหนึ่ง, ตระไน ก็ว่า เช่น เขาคุ่มกระตรุมกระไตร ตระไนนี่สนั่นเสียง. ในวงเล็บ มาจาก สรรพสิทธิ์คำฉันท์ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิต ชิโนรส ทรงนิพนธ์ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๗. | กระไน น. ชื่อนกชนิดหนึ่ง, ตระไน ก็ว่า เช่น เขาคุ่มกระตรุมกระไตร ตระไนนี่สนั่นเสียง. (สรรพสิทธิ์). |
กระบก เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-กอ-ไก่ | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Irvingia malayana Oliv. ex A. Benn. ในวงศ์ Irvingiaceae ใบรูปไข่ ผลเท่ามะกอกหรือมะปรางขนาดเขื่อง เมล็ดแข็ง เนื้อในขาว มีรสมัน กินได้, ตระบก มะมื่น หรือ มะลื่น ก็เรียก. | กระบก น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Irvingia malayana Oliv. ex A. Benn. ในวงศ์ Irvingiaceae ใบรูปไข่ ผลเท่ามะกอกหรือมะปรางขนาดเขื่อง เมล็ดแข็ง เนื้อในขาว มีรสมัน กินได้, ตระบก มะมื่น หรือ มะลื่น ก็เรียก. |
กระบกคาย เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-กอ-ไก่-คอ-ควาย-สะ-หระ-อา-ยอ-ยัก | ดู กระโดงแดง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-โอ-ดอ-เด็ก-งอ-งู-สะ-หระ-แอ-ดอ-เด็ก-งอ-งู (๑). | กระบกคาย ดู กระโดงแดง (๑). |
กระบถ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-ถอ-ถุง | [บด] ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ เพี้ยนมาจาก กบฏ เป็นคำนาม หมายถึง การประทุษร้ายต่อทางอาณาจักร, ความทรยศ, ขบถ. | กระบถ [บด] (โบ; เพี้ยนมาจาก กบฏ) น. การประทุษร้ายต่อทางอาณาจักร, ความทรยศ, ขบถ. |
กระบม เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-มอ-ม้า | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาถิ่นภาคอีสาน เป็นคำนาม หมายถึง ภาชนะชนิดหนึ่งทําด้วยไม้ขุดรูปวงกลมมีขอบ ด้ามสั้น สำหรับสงข้าวเหนียวที่นึ่งสุกใหม่ ๆ หรือคนข้าวเหนียวนึ่งให้ลดความร้อนก่อนนำไปใส่ในกล่องข้าว หรือใช้เป็นภาชนะรองถ้วยชามอย่างสำรับ, กระโบม ก็เรียก. ในวงเล็บ รูปภาพ กระบม. | กระบม (ถิ่นอีสาน) น. ภาชนะชนิดหนึ่งทําด้วยไม้ขุดรูปวงกลมมีขอบ ด้ามสั้น สำหรับสงข้าวเหนียวที่นึ่งสุกใหม่ ๆ หรือคนข้าวเหนียวนึ่งให้ลดความร้อนก่อนนำไปใส่ในกล่องข้าว หรือใช้เป็นภาชนะรองถ้วยชามอย่างสำรับ, กระโบม ก็เรียก. (รูปภาพ กระบม). |
กระบวน เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-วอ-แหวน-นอ-หนู | เป็นคำนาม หมายถึง ขบวน, แบบแผน เช่น กระบวนหนังสือไทย, ชั้นเชิง เช่น ทํากระบวน งามกระบวนเนตรเงาเสน่ห์งํา; ลําดับ เช่น แลขุนหมื่นชาวสานทังปวงเฝ้าตามกระบวน. ในวงเล็บ มาจาก กฎหมายตราสามดวง; วิธีการ เช่น จัดกระบวนพิจารณาอรรถคดีในโรงศาล, นิยมใช้เข้าคู่กับคํา กระบิด เป็น กระบิดกระบวน. | กระบวน น. ขบวน, แบบแผน เช่น กระบวนหนังสือไทย, ชั้นเชิง เช่น ทํากระบวน งามกระบวนเนตรเงาเสน่ห์งํา; ลําดับ เช่น แลขุนหมื่นชาวสานทังปวงเฝ้าตามกระบวน. (สามดวง); วิธีการ เช่น จัดกระบวนพิจารณาอรรถคดีในโรงศาล, นิยมใช้เข้าคู่กับคํา กระบิด เป็น กระบิดกระบวน. |
กระบวนกระบิด เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-วอ-แหวน-นอ-หนู-กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อิ-ดอ-เด็ก | ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำนาม หมายถึง ชั้นเชิง เช่น ทั้งกระบวนกระบิดติดปั้นปึ่ง. ในวงเล็บ มาจาก พระราชนิพนธ์บทละครเรื่องไกรทอง สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ พิมพ์ทูลเกล้าฯ ถวาย พ.ศ. ๒๔๕๖, กระบิดกระบวน ก็ว่า. | กระบวนกระบิด (กลอน) น. ชั้นเชิง เช่น ทั้งกระบวนกระบิดติดปั้นปึ่ง. (ไกรทอง), กระบิดกระบวน ก็ว่า. |
กระบวนการ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-วอ-แหวน-นอ-หนู-กอ-ไก่-สะ-หระ-อา-รอ-เรือ | เป็นคำนาม หมายถึง ปรากฏการณ์ธรรมชาติที่ค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงอย่างมีระเบียบ ไปสู่ผลอย่างหนึ่ง เช่น กระบวนการเจริญเติบโตของเด็ก, กรรมวิธีหรือลําดับการกระทําซึ่งดําเนินต่อเนื่องกันไปจนสําเร็จลง ณ ระดับหนึ่ง เช่น กระบวนการเคมีเพื่อผลิตสิ่งใดสิ่งหนึ่ง. ในวงเล็บ มาจากภาษาอังกฤษ process เขียนว่า พี-อา-โอ-ซี-อี-เอส-เอส. | กระบวนการ น. ปรากฏการณ์ธรรมชาติที่ค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงอย่างมีระเบียบ ไปสู่ผลอย่างหนึ่ง เช่น กระบวนการเจริญเติบโตของเด็ก, กรรมวิธีหรือลําดับการกระทําซึ่งดําเนินต่อเนื่องกันไปจนสําเร็จลง ณ ระดับหนึ่ง เช่น กระบวนการเคมีเพื่อผลิตสิ่งใดสิ่งหนึ่ง. (อ. process). |
กระบวนการยุติธรรม เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-วอ-แหวน-นอ-หนู-กอ-ไก่-สะ-หระ-อา-รอ-เรือ-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อุ-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อิ-ทอ-ทง-รอ-เรือ-รอ-เรือ-มอ-ม้า | ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในกฎหมาย เป็นคำนาม หมายถึง วิธีดําเนินการให้ความคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ และให้ความเป็นธรรมในทางกฎหมายแก่บุคคล โดยบุคลากรและองค์กร หรือสถาบันต่าง ๆ ซึ่งมีหน้าที่บริหารงานยุติธรรม ได้แก่ พนักงานฝ่ายปกครองหรือตํารวจ พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ ทนายความ ศาล กระทรวงยุติธรรม และกรมราชทัณฑ์. | กระบวนการยุติธรรม (กฎ) น. วิธีดําเนินการให้ความคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ และให้ความเป็นธรรมในทางกฎหมายแก่บุคคล โดยบุคลากรและองค์กร หรือสถาบันต่าง ๆ ซึ่งมีหน้าที่บริหารงานยุติธรรม ได้แก่ พนักงานฝ่ายปกครองหรือตํารวจ พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ ทนายความ ศาล กระทรวงยุติธรรม และกรมราชทัณฑ์. |
กระบวนความ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-วอ-แหวน-นอ-หนู-คอ-ควาย-วอ-แหวน-สะ-หระ-อา-มอ-ม้า | เป็นคำนาม หมายถึง แบบแผนของเนื้อความหรือเรื่องราว เช่น ครบถ้วนกระบวนความ. | กระบวนความ น. แบบแผนของเนื้อความหรือเรื่องราว เช่น ครบถ้วนกระบวนความ. |
กระบวนจีน เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-วอ-แหวน-นอ-หนู-จอ-จาน-สะ-หระ-อี-นอ-หนู | เป็นคำนาม หมายถึง วิธีการที่นำแบบอย่างศิลปะของจีนมาดัดแปลงหรือประกอบในงานจิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม และ มัณฑนศิลป์ของไทย, เรียกลวดลายผ้าแพร โดยมากเป็นรูปประแจ กะแปะ มังกร ว่า ลายกระบวนจีน. | กระบวนจีน น. วิธีการที่นำแบบอย่างศิลปะของจีนมาดัดแปลงหรือประกอบในงานจิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม และ มัณฑนศิลป์ของไทย, เรียกลวดลายผ้าแพร โดยมากเป็นรูปประแจ กะแปะ มังกร ว่า ลายกระบวนจีน. |
กระบวย เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-วอ-แหวน-ยอ-ยัก | เป็นคำนาม หมายถึง ภาชนะสําหรับตักนํ้า เดิมทําด้วยกะลามะพร้าว มีด้ามถือ, พายัพว่า น้ำโบย. | กระบวย น. ภาชนะสําหรับตักนํ้า เดิมทําด้วยกะลามะพร้าว มีด้ามถือ, พายัพว่า น้ำโบย. |
กระบวร เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-วอ-แหวน-รอ-เรือ | [บวน] เป็นคำกริยา หมายถึง ประดับ, แต่ง. เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง วิจิตร. (แผลงมาจาก กบูร). | กระบวร [บวน] ก. ประดับ, แต่ง. ว. วิจิตร. (แผลงมาจาก กบูร). |
กระบอก เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-ออ-อ่าง-กอ-ไก่ ความหมายที่ ๑ | เป็นคำนาม หมายถึง ไม้ไผ่ที่ตัดเป็นท่อน, ของอื่น ๆ ที่มีรูปคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น กระบอกปืน กระบอกตา; ลักษณนามบอกสัณฐาน สําหรับใช้กับของกลมยาวแต่กลวง เช่น ข้าวหลาม ๓ กระบอก; เสื้อชนิดหนึ่งในสมัยรัชกาลที่ ๔ แขนยาว ช่วงตัวสั้นเสมอบั้นเอว แขนรัด ตัวรัด คอสูง เรียกว่า เสื้อกระบอก; หุ่นชนิดหนึ่งมีแต่ส่วนหัวและมือ ๒ ข้าง ลำตัวทำด้วยไม้กระบอก มีผ้าเย็บเป็นถุงคลุม เวลาเชิดใช้มือสอดเข้าไปจับไม้กระบอกนั้นเชิด เรียกว่า หุ่นกระบอก; ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในเรขาคณิต หมายถึง รูปตันที่กําเนิดขึ้นจากการเขียนรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยใช้ด้านใดด้านหนึ่งเป็นแกนแล้วหมุนโดยรอบฐาน ปลายทั้ง ๒ ข้างมีหน้าเป็นวงกลม เรียกว่า รูปทรงกระบอก หรือ รูปกระบอก, ลักษณะได้แก่รูปที่มีสัณฐานกลมยาวและตรงซึ่งมีส่วนสัดกลมเท่ากันตั้งแต่ต้นจนปลาย. ในวงเล็บ มาจากภาษาอังกฤษ cylinder เขียนว่า ซี-วาย-แอล-ไอ-เอ็น-ดี-อี-อา. | กระบอก ๑ น. ไม้ไผ่ที่ตัดเป็นท่อน, ของอื่น ๆ ที่มีรูปคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น กระบอกปืน กระบอกตา; ลักษณนามบอกสัณฐาน สําหรับใช้กับของกลมยาวแต่กลวง เช่น ข้าวหลาม ๓ กระบอก; เสื้อชนิดหนึ่งในสมัยรัชกาลที่ ๔ แขนยาว ช่วงตัวสั้นเสมอบั้นเอว แขนรัด ตัวรัด คอสูง เรียกว่า เสื้อกระบอก; หุ่นชนิดหนึ่งมีแต่ส่วนหัวและมือ ๒ ข้าง ลำตัวทำด้วยไม้กระบอก มีผ้าเย็บเป็นถุงคลุม เวลาเชิดใช้มือสอดเข้าไปจับไม้กระบอกนั้นเชิด เรียกว่า หุ่นกระบอก; (เรขา) รูปตันที่กําเนิดขึ้นจากการเขียนรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยใช้ด้านใดด้านหนึ่งเป็นแกนแล้วหมุนโดยรอบฐาน ปลายทั้ง ๒ ข้างมีหน้าเป็นวงกลม เรียกว่า รูปทรงกระบอก หรือ รูปกระบอก, ลักษณะได้แก่รูปที่มีสัณฐานกลมยาวและตรงซึ่งมีส่วนสัดกลมเท่ากันตั้งแต่ต้นจนปลาย. (อ. cylinder). |
กระบอกเพลา เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-ออ-อ่าง-กอ-ไก่-สะ-หระ-เอ-พอ-พาน-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อา | เป็นคำนาม หมายถึง ไม้แข็งเช่นเต็งรังทําเป็นปลอกตอกอัดไว้ในรูดุมเกวียน สําหรับสอดเพลาเข้าในรูนั้นป้องกันมิให้รูดุมคราก. | กระบอกเพลา น. ไม้แข็งเช่นเต็งรังทําเป็นปลอกตอกอัดไว้ในรูดุมเกวียน สําหรับสอดเพลาเข้าในรูนั้นป้องกันมิให้รูดุมคราก. |
กระบอกสูบ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-ออ-อ่าง-กอ-ไก่-สอ-เสือ-สะ-หระ-อู-บอ-ไบ-ไม้ | เป็นคำนาม หมายถึง ส่วนของเครื่องจักรเครื่องยนต์ ลักษณะเป็นโพรงรูปกระบอกอยู่ในเสื้อสูบ เป็นช่องสําหรับบังคับให้ลูกสูบเคลื่อนไปมา. | กระบอกสูบ น. ส่วนของเครื่องจักรเครื่องยนต์ ลักษณะเป็นโพรงรูปกระบอกอยู่ในเสื้อสูบ เป็นช่องสําหรับบังคับให้ลูกสูบเคลื่อนไปมา. |
กระบอกหัว เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-ออ-อ่าง-กอ-ไก่-หอ-หีบ-ไม้-หัน-อา-กาด-วอ-แหวน | ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ เป็นคำนาม หมายถึง กะโหลกหัว เช่น อีกกระบอกหววมึงกูจะผ่า. ในวงเล็บ มาจาก มหาชาติคำหลวง ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๐ กัณฑ์ชูชก, ปักษ์ใต้ว่า บอกหัว. | กระบอกหัว (โบ) น. กะโหลกหัว เช่น อีกกระบอกหววมึงกูจะผ่า. (ม. คำหลวง ชูชก), ปักษ์ใต้ว่า บอกหัว. |
กระบอก เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-ออ-อ่าง-กอ-ไก่ ความหมายที่ ๒ | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อปลานํ้ากร่อยและทะเลในสกุล Liza, Valamugil, Oedalechilus และ Mugil วงศ์ Mugilidae ลําตัวค่อนข้างกลม ปากเล็ก มีครีบหลัง ๒ ตอน เกล็ดใหญ่สีเงิน มีหลายชนิด มีชื่อเรียกแตกต่างกัน เช่น กระบอกท่อนไต้ (L. vaigiensis) กระบอกดํา (L. parsia) กระบอกขาว (V. seheli), กระเมาะ หรือ ละเมาะ ก็เรียก สําหรับปลาขนาดเล็ก, ปักษ์ใต้เรียก ยมก หรือ มก. | กระบอก ๒ น. ชื่อปลานํ้ากร่อยและทะเลในสกุล Liza, Valamugil, Oedalechilus และ Mugil วงศ์ Mugilidae ลําตัวค่อนข้างกลม ปากเล็ก มีครีบหลัง ๒ ตอน เกล็ดใหญ่สีเงิน มีหลายชนิด มีชื่อเรียกแตกต่างกัน เช่น กระบอกท่อนไต้ (L. vaigiensis) กระบอกดํา (L. parsia) กระบอกขาว (V. seheli), กระเมาะ หรือ ละเมาะ ก็เรียก สําหรับปลาขนาดเล็ก, ปักษ์ใต้เรียก ยมก หรือ มก. |
กระบอก เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-ออ-อ่าง-กอ-ไก่ ความหมายที่ ๓ | เป็นคำนาม หมายถึง ดอกไม้, กลีบดอกไม้, เช่น กระบอกทิพย์ผกากวน กาเมศ กูเอย. ในวงเล็บ มาจาก นิราศนรินทร์ แบบเรียนกวีนิพนธ์, กว่ากลิ่นกระบอกบง กชเกศเอาใจ. ในวงเล็บ มาจาก เสือโคคำฉันท์ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๕, ใช้ว่า ตระบอก ก็มี. ในวงเล็บ เทียบ ****(เทียบอะหม บฺลอก; ไทยใหญ่ หมอก; ไทยขาว และ ไทยนุง บอก; เขมร ตฺรบก). | กระบอก ๓ น. ดอกไม้, กลีบดอกไม้, เช่น กระบอกทิพย์ผกากวน กาเมศ กูเอย. (นิ. นรินทร์), กว่ากลิ่นกระบอกบง กชเกศเอาใจ. (เสือโค), ใช้ว่า ตระบอก ก็มี. (เทียบอะหม บฺลอก; ไทยใหญ่ หมอก; ไทยขาว และ ไทยนุง บอก; เขมร ตฺรบก). |
กระบอก เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-ออ-อ่าง-กอ-ไก่ ความหมายที่ ๔ | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อเพลงไทยทำนองเก่าสมัยอยุธยา ใช้กับบทที่ต้องการรีบด่วน ไปเร็วมาเร็วหรือต้องการให้จบเร็ว เช่นตอนท้าวเสนากุฎต้อนรับแปดกษัตริย์ ในเรื่องสังข์ศิลป์ชัย. ในวงเล็บ มาจาก ประชุมบทละครดึกดำบรรพ์ ฉบับหลวง พ.ศ. ๒๔๖๗. | กระบอก ๔ น. ชื่อเพลงไทยทำนองเก่าสมัยอยุธยา ใช้กับบทที่ต้องการรีบด่วน ไปเร็วมาเร็วหรือต้องการให้จบเร็ว เช่นตอนท้าวเสนากุฎต้อนรับแปดกษัตริย์ ในเรื่องสังข์ศิลป์ชัย. (ดึกดําบรรพ์). |
กระบอกเสียง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-ออ-อ่าง-กอ-ไก่-สะ-หระ-เอ-สอ-เสือ-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก-งอ-งู | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาปาก เป็นคำนาม หมายถึง ผู้เป็นปากเป็นเสียงแทน. | กระบอกเสียง (ปาก) น. ผู้เป็นปากเป็นเสียงแทน. |
กระบอง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-ออ-อ่าง-งอ-งู | เป็นคำนาม หมายถึง ไม้สั้นสําหรับใช้ตี มีรูปกลมบ้าง เหลี่ยมบ้าง คล้ายพลองแต่สั้นกว่า, ใช้ว่า ตระบอง ก็มี. ในวงเล็บ มาจากภาษาเขมร ฏํบง เขียนว่า ตอ-ปะ-ตัก-นิก-คะ-หิด-บอ-ไบ-ไม้-งอ-งู และมาจากภาษาปักษ์ใต้ บอง เขียนว่า บอ-ไบ-ไม้-ออ-อ่าง-งอ-งู. | กระบอง น. ไม้สั้นสําหรับใช้ตี มีรูปกลมบ้าง เหลี่ยมบ้าง คล้ายพลองแต่สั้นกว่า, ใช้ว่า ตระบอง ก็มี. (ข. ฏํบง; ปักษ์ใต้ บอง). |
กระบองกลึง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-ออ-อ่าง-งอ-งู-กอ-ไก่-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อึ-งอ-งู | เป็นคำนาม หมายถึง ไม้กลึงเป็นรูปกระบองอย่างยาวสําหรับถือเข้าขบวนแห่ช้างสําคัญ. | กระบองกลึง น. ไม้กลึงเป็นรูปกระบองอย่างยาวสําหรับถือเข้าขบวนแห่ช้างสําคัญ. |
กระบองกัน เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-ออ-อ่าง-งอ-งู-กอ-ไก่-ไม้-หัน-อา-กาด-นอ-หนู | ดู ตะบองกัน เขียนว่า ตอ-เต่า-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-ออ-อ่าง-งอ-งู-กอ-ไก่-ไม้-หัน-อา-กาด-นอ-หนู. | กระบองกัน ดู ตะบองกัน. |
กระบองเพชร เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-ออ-อ่าง-งอ-งู-สะ-หระ-เอ-พอ-พาน-ชอ-ช้าง-รอ-เรือ ความหมายที่ ๑ | เป็นคำนาม หมายถึง ใบตาลที่ขมวดปลายลงอักขระสําหรับใช้ในพิธีตรุษและโกนจุก, ตะบองเพชร ก็เรียก. | กระบองเพชร ๑ น. ใบตาลที่ขมวดปลายลงอักขระสําหรับใช้ในพิธีตรุษและโกนจุก, ตะบองเพชร ก็เรียก. |
กระบองเพชร เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-ออ-อ่าง-งอ-งู-สะ-หระ-เอ-พอ-พาน-ชอ-ช้าง-รอ-เรือ ความหมายที่ ๒ | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อไม้พุ่มชนิด Cereus hexagonus (L.) Miller ในวงศ์ Cactaceae ลําต้นสูง ๓๕ เมตร ลําต้นและกิ่งกลม หยักเป็นร่องโดยรอบ มีหนามละเอียด ดอกใหญ่ สีขาว กลิ่นหอม บานกลางคืน มักปลูกเป็นรั้วบ้าน, ตะบองเพชร ก็เรียก, พายัพ เรียก เขียะ หรือ หนามเขียะ. | กระบองเพชร ๒ น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Cereus hexagonus (L.) Miller ในวงศ์ Cactaceae ลําต้นสูง ๓๕ เมตร ลําต้นและกิ่งกลม หยักเป็นร่องโดยรอบ มีหนามละเอียด ดอกใหญ่ สีขาว กลิ่นหอม บานกลางคืน มักปลูกเป็นรั้วบ้าน, ตะบองเพชร ก็เรียก, พายัพ เรียก เขียะ หรือ หนามเขียะ. |
กระบองราหู เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-ออ-อ่าง-งอ-งู-รอ-เรือ-สะ-หระ-อา-หอ-หีบ-สะ-หระ-อู | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อโรคตามตําราแพทย์แผนโบราณว่าเป็นโรคซางชนิดหนึ่ง ที่ขึ้นเป็นเม็ดที่เด็กอ่อน, ละบองราหู ก็เรียก. | กระบองราหู น. ชื่อโรคตามตําราแพทย์แผนโบราณว่าเป็นโรคซางชนิดหนึ่ง ที่ขึ้นเป็นเม็ดที่เด็กอ่อน, ละบองราหู ก็เรียก. |
กระบะ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อะ | เป็นคำนาม หมายถึง ภาชนะไม้ก้นแบนมีขอบ ใช้อย่างถาด, ใช้ว่า ตระบะ ก็มี; ชื่อรถชนิดหนึ่งใช้บรรทุกสิ่งของ ทําตัวถังเป็นรูปอย่างกระบะ เรียกว่า รถกระบะ. | กระบะ น. ภาชนะไม้ก้นแบนมีขอบ ใช้อย่างถาด, ใช้ว่า ตระบะ ก็มี; ชื่อรถชนิดหนึ่งใช้บรรทุกสิ่งของ ทําตัวถังเป็นรูปอย่างกระบะ เรียกว่า รถกระบะ. |
กระบัด เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-ไม้-หัน-อา-กาด-ดอ-เด็ก ความหมายที่ ๑ | ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง บัดใจ, ทันใด, เช่น อาวุธกับศรก็ตกกระบัดเหอรหาย. ในวงเล็บ มาจาก สมุทรโฆษคำฉันท์ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๘, ตระบัด ก็ใช้. | กระบัด ๑ (กลอน) ว. บัดใจ, ทันใด, เช่น อาวุธกับศรก็ตกกระบัดเหอรหาย. (สมุทรโฆษ), ตระบัด ก็ใช้. |
กระบัด เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-ไม้-หัน-อา-กาด-ดอ-เด็ก ความหมายที่ ๒ | ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ เป็นคำกริยา หมายถึง ฉ้อโกง เช่น กระบัดสิน, ตระบัด ประบัด หรือ สะบัด ก็ใช้. | กระบัด ๒ (โบ) ก. ฉ้อโกง เช่น กระบัดสิน, ตระบัด ประบัด หรือ สะบัด ก็ใช้. |
กระบั้วกระเบี้ย เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-ไม้-หัน-อา-กาด-ไม้-โท-วอ-แหวน-กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อี-ไม้-โท-ยอ-ยัก | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง กระปั้วกระเปี้ย, กะปลกกะเปลี้ย, เดินไม่คล่องแคล่ว (อย่างผู้รื้อไข้). | กระบั้วกระเบี้ย ว. กระปั้วกระเปี้ย, กะปลกกะเปลี้ย, เดินไม่คล่องแคล่ว (อย่างผู้รื้อไข้). |
กระบ่า, กระบ้า กระบ่า เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา กระบ้า เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-ไม้-โท-สะ-หระ-อา | ดู ตบยุง เขียนว่า ตอ-เต่า-บอ-ไบ-ไม้-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อุ-งอ-งู. | กระบ่า, กระบ้า ดู ตบยุง. |
กระบาก เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อา-กอ-ไก่ | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่หลายชนิดในสกุล Anisoptera ในวงศ์ Dipterocarpaceae ขึ้นในป่าดิบทั่วไป ลําต้นตรง สูง ๓๐๔๐ เมตร เนื้อไม้ใช้ในการก่อสร้างที่ไม่ต้องรับนํ้าหนัก โดยมากใช้เป็นไม้แบบหล่อคอนกรีต. | กระบาก น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่หลายชนิดในสกุล Anisoptera ในวงศ์ Dipterocarpaceae ขึ้นในป่าดิบทั่วไป ลําต้นตรง สูง ๓๐๔๐ เมตร เนื้อไม้ใช้ในการก่อสร้างที่ไม่ต้องรับนํ้าหนัก โดยมากใช้เป็นไม้แบบหล่อคอนกรีต. |
กระบาย เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อา-ยอ-ยัก | เป็นคำนาม หมายถึง ภาชนะสานรูปคล้ายกระบุงแต่มีขนาดเล็กกว่า ปากกลม ก้นสี่เหลี่ยม. | กระบาย น. ภาชนะสานรูปคล้ายกระบุงแต่มีขนาดเล็กกว่า ปากกลม ก้นสี่เหลี่ยม. |
กระบาล เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อา-ลอ-ลิง | [บาน] เป็นคำนาม หมายถึง ส่วนกลางของกะโหลกศีรษะ, หัว, (คำไม่สุภาพ) เช่น ตีกระบาล เขกกระบาล, ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ หมายถึง เขียนเป็น กระบาน ก็มี เช่น เพิกหนังทังผมนั้นออกเสียแล้วเอากรวดทรายขัดกระบานศีศะชำระให้ขาวเหมือนพรรณศรีสังข์. ในวงเล็บ มาจาก กฎหมายตราสามดวง; แผ่นกระเบื้อง; ลานกลางหมู่บ้าน เรียกว่า กระบาลบ้าน. (แผลงมาจาก กบาล). | กระบาล [บาน] น. ส่วนกลางของกะโหลกศีรษะ, หัว, (คำไม่สุภาพ) เช่น ตีกระบาล เขกกระบาล, (โบ) เขียนเป็น กระบาน ก็มี เช่น เพิกหนังทังผมนั้นออกเสียแล้วเอากรวดทรายขัดกระบานศีศะชำระให้ขาวเหมือนพรรณศรีสังข์. (สามดวง); แผ่นกระเบื้อง; ลานกลางหมู่บ้าน เรียกว่า กระบาลบ้าน. (แผลงมาจาก กบาล). |
กระบิ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อิ ความหมายที่ ๑ | เป็นคำนาม หมายถึง แท่ง แผ่น ชิ้น. | กระบิ ๑ น. แท่ง แผ่น ชิ้น. |
กระบิ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อิ ความหมายที่ ๒ | เป็นคำนาม หมายถึง หญ้าที่ซับซ้อนกันอยู่ในที่ลุ่มหรือในหนอง เช่น ตัดกระบิในหนองเป็นสองหน. ในวงเล็บ มาจาก พระราชนิพนธ์บทละครเรื่องไกรทอง สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ พิมพ์ทูลเกล้าฯ ถวาย พ.ศ. ๒๔๕๖. | กระบิ ๒ น. หญ้าที่ซับซ้อนกันอยู่ในที่ลุ่มหรือในหนอง เช่น ตัดกระบิในหนองเป็นสองหน. (ไกรทอง). |
กระบิ้ง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อิ-ไม้-โท-งอ-งู | เป็นคำนาม หมายถึง นาที่เป็นกระทงเล็ก ๆ, ตะบิ้ง ก็เรียก. | กระบิ้ง น. นาที่เป็นกระทงเล็ก ๆ, ตะบิ้ง ก็เรียก. |
กระบิด เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อิ-ดอ-เด็ก | เป็นคำกริยา หมายถึง บิดเชือกหรือตอกให้เขม็งจนขอดเป็นปม. | กระบิด ก. บิดเชือกหรือตอกให้เขม็งจนขอดเป็นปม. |
กระบิดกระบวน เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อิ-ดอ-เด็ก-กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-วอ-แหวน-นอ-หนู | เป็นคำนาม หมายถึง ชั้นเชิง เช่น ทําจริตกระบิดกระบวนสะบิ้งสะบัด. ในวงเล็บ มาจาก มหาเวสสันดรชาดก ในวงเล็บ แบบเรียน กัณฑ์ชูชก, กระเบ็ดกระบวน ก็ใช้. เป็นคำกริยา หมายถึง แกล้งทำชั้นเชิงเหมือนไม่เต็มใจ เช่น อย่ากระบิดกระบวนนักเลย. | กระบิดกระบวน น. ชั้นเชิง เช่น ทําจริตกระบิดกระบวนสะบิ้งสะบัด. (ม. ร่ายยาว ชูชก), กระเบ็ดกระบวน ก็ใช้. ก. แกล้งทำชั้นเชิงเหมือนไม่เต็มใจ เช่น อย่ากระบิดกระบวนนักเลย. |
กระบิล เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อิ-ลอ-ลิง | เป็นคำนาม หมายถึง ระเบียบ, หมู่. (แผลงมาจาก กบิล). | กระบิล น. ระเบียบ, หมู่. (แผลงมาจาก กบิล). |
กระบี่ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อี-ไม้-เอก ความหมายที่ ๑ | ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำนาม หมายถึง ลิง เช่น ขุนกระบี่มีกำลังโดดโลดโผน กระโจมโจนจับยักษ์หักแขนขา. ในวงเล็บ มาจาก พระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ ในรัชกาลที่ ๒ ในวงเล็บ มาจากภาษาบาลี และมาจากภาษาสันสกฤต กปิ เขียนว่า กอ-ไก่-ปอ-ปลา-สะ-หระ-อิ. | กระบี่ ๑ (กลอน) น. ลิง เช่น ขุนกระบี่มีกำลังโดดโลดโผน กระโจมโจนจับยักษ์หักแขนขา. (รามเกียรติ์ ร. ๒). (ป., ส. กปิ). |
กระบี่ธุช เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อี-ไม้-เอก-ทอ-ทง-สะ-หระ-อุ-ชอ-ช้าง | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อธงมีลักษณะเป็นธงสามชาย ๓ ผืน ผืนธงทำด้วยผ้าปักไหมทองเป็นลวดลายเครือกระหนก สอดร่วมอยู่ในคันธงเดียวกันซึ่งเป็นเหล็ก และทำเป็นกิ่งแยกจากคันกลางทางด้านซ้ายและด้านขวา ปลายคันธงเป็นรูปใบหอก ที่โคนคันธงบริเวณที่สวมต่อคันธงท่อนล่างติดรูปพระกระบี่ คือหนุมานในท่ายืนยกขาหน้าและขาหลังข้างขวาเตรียมเหาะ เรียกเต็มว่า ธงชัยราชกระบี่ธุช หรือ ธงชัยราชกระบี่ธุชใหญ่ ใช้เชิญนำหน้าพระราชยานในกระบวนพยุหยาตรา และอัญเชิญประดิษฐานในพิธีมณฑลในการพระราชพิธีต่าง ๆ เข้าคู่กับธงพระครุฑพ่าห์ โดยธงกระบี่ธุชอยู่ทางด้านซ้าย และธงพระครุฑพ่าห์อยู่ทางด้านขวา. | กระบี่ธุช น. ชื่อธงมีลักษณะเป็นธงสามชาย ๓ ผืน ผืนธงทำด้วยผ้าปักไหมทองเป็นลวดลายเครือกระหนก สอดร่วมอยู่ในคันธงเดียวกันซึ่งเป็นเหล็ก และทำเป็นกิ่งแยกจากคันกลางทางด้านซ้ายและด้านขวา ปลายคันธงเป็นรูปใบหอก ที่โคนคันธงบริเวณที่สวมต่อคันธงท่อนล่างติดรูปพระกระบี่ คือหนุมานในท่ายืนยกขาหน้าและขาหลังข้างขวาเตรียมเหาะ เรียกเต็มว่า ธงชัยราชกระบี่ธุช หรือ ธงชัยราชกระบี่ธุชใหญ่ ใช้เชิญนำหน้าพระราชยานในกระบวนพยุหยาตรา และอัญเชิญประดิษฐานในพิธีมณฑลในการพระราชพิธีต่าง ๆ เข้าคู่กับธงพระครุฑพ่าห์ โดยธงกระบี่ธุชอยู่ทางด้านซ้าย และธงพระครุฑพ่าห์อยู่ทางด้านขวา. |
กระบี่ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อี-ไม้-เอก ความหมายที่ ๒ | เป็นคำนาม หมายถึง อาวุธชนิดหนึ่ง ใบแบนยาว ปลายแหลม มีคมข้างหนึ่งหรือทั้ง ๒ ข้าง ด้ามสั้น ที่ด้ามถืออาจมีโกร่งหรือไม่มีก็ได้ มีฝัก. | กระบี่ ๒ น. อาวุธชนิดหนึ่ง ใบแบนยาว ปลายแหลม มีคมข้างหนึ่งหรือทั้ง ๒ ข้าง ด้ามสั้น ที่ด้ามถืออาจมีโกร่งหรือไม่มีก็ได้ มีฝัก. |
กระบี่กระบอง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อี-ไม้-เอก-กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-ออ-อ่าง-งอ-งู | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อการเล่นชนิดหนึ่ง ต่อสู้กันด้วยกระบี่และกระบองเป็นต้น. | กระบี่กระบอง น. ชื่อการเล่นชนิดหนึ่ง ต่อสู้กันด้วยกระบี่และกระบองเป็นต้น. |
กระบี่ลีลา เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อี-ไม้-เอก-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อี-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อา | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อเพลงกลองแขก เดิมเป็นเพลงของมลายู ทํานองห่าง ๆ เช่นเพลงกระบี่กระบอง, แล้วแปลงมาใช้เป็นเพลงร้องรํา ๒ ชั้น ทํานองให้ถี่เข้าประสมเล่นรวมมโหรีและกลองแขก สมัยปลายรัชกาลที่ ๔ หรือต้นรัชกาลที่ ๕ เช่นตอนโหรทูลท้าวเสนากุฎในเรื่องสังข์ศิลป์ชัย. ในวงเล็บ มาจาก ประชุมบทละครดึกดำบรรพ์ ฉบับหลวง พ.ศ. ๒๔๖๗. | กระบี่ลีลา น. ชื่อเพลงกลองแขก เดิมเป็นเพลงของมลายู ทํานองห่าง ๆ เช่นเพลงกระบี่กระบอง, แล้วแปลงมาใช้เป็นเพลงร้องรํา ๒ ชั้น ทํานองให้ถี่เข้าประสมเล่นรวมมโหรีและกลองแขก สมัยปลายรัชกาลที่ ๔ หรือต้นรัชกาลที่ ๕ เช่นตอนโหรทูลท้าวเสนากุฎในเรื่องสังข์ศิลป์ชัย. (ดึกดําบรรพ์). |
กระบือ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อือ-ออ-อ่าง | เป็นคำนาม หมายถึง ควาย (มักใช้เป็นทางการ) เช่น รูปพรรณโคกระบือ. ในวงเล็บ มาจากภาษาเขมร กรฺบี เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-พิน-ทุ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อี และมาจากภาษามลายู เกรฺเบา เขียนว่า สะ-หระ-เอ-กอ-ไก่-รอ-เรือ-พิน-ทุ-สะ-หระ-เอ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อา. | กระบือ น. ควาย (มักใช้เป็นทางการ) เช่น รูปพรรณโคกระบือ. (ข. กรฺบี; มลายู เกรฺเบา). |
กระบือเจ็ดตัว เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อือ-ออ-อ่าง-สะ-หระ-เอ-จอ-จาน-ไม้-ไต่-คู้-ดอ-เด็ก-ตอ-เต่า-ไม้-หัน-อา-กาด-วอ-แหวน | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อไม้พุ่มชนิด Excoecaria cochinchinensis Lour. ในวงศ์ Euphorbiaceae สูง ๑๒ เมตร ใบด้านบนสีเขียว ด้านล่างสีแดงเลือดหมู ใช้ทํายาได้, ลิ้นกระบือ ก็เรียก, จันทบุรีเรียก ใบท้องแดง. | กระบือเจ็ดตัว น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Excoecaria cochinchinensis Lour. ในวงศ์ Euphorbiaceae สูง ๑๒ เมตร ใบด้านบนสีเขียว ด้านล่างสีแดงเลือดหมู ใช้ทํายาได้, ลิ้นกระบือ ก็เรียก, จันทบุรีเรียก ใบท้องแดง. |
กระบุง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อุ-งอ-งู | เป็นคำนาม หมายถึง ภาชนะสานทึบรูปกลมสูง พื้นก้นเป็นสี่เหลี่ยม. | กระบุง น. ภาชนะสานทึบรูปกลมสูง พื้นก้นเป็นสี่เหลี่ยม. |
กระบุงโกย เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อุ-งอ-งู-สะ-หระ-โอ-กอ-ไก่-ยอ-ยัก | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาปาก เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง มากมาย เช่น มีข้าวของเป็นกระบุงโกย ถูกบ่นตั้งกระบุงโกย. | กระบุงโกย (ปาก) ว. มากมาย เช่น มีข้าวของเป็นกระบุงโกย ถูกบ่นตั้งกระบุงโกย. |
กระบุ่มกระบ่าม เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อุ-ไม้-เอก-มอ-ม้า-กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา-มอ-ม้า | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง บุ่ม ๆ บ่าม ๆ, ซุ่มซ่าม. | กระบุ่มกระบ่าม ว. บุ่ม ๆ บ่าม ๆ, ซุ่มซ่าม. |
กระบู้กระบี้ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อู-ไม้-โท-กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อี-ไม้-โท | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง บู้ ๆ บี้ ๆ, บุบ, บุบแฟบ. | กระบู้กระบี้ ว. บู้ ๆ บี้ ๆ, บุบ, บุบแฟบ. |
กระบูน เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อู-นอ-หนู | เป็นคำนาม หมายถึง ตะบูนขาว. ในวงเล็บ ดู ตะบูน เขียนว่า ตอ-เต่า-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อู-นอ-หนู. | กระบูน น. ตะบูนขาว. (ดู ตะบูน). |
กระบูนเลือด เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อู-นอ-หนู-สะ-หระ-เอ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อือ-ออ-อ่าง-ดอ-เด็ก | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อว่านชนิดหนึ่ง หัวและต้นดั่งขมิ้นอ้อย ต้นและใบเขียว หัวขนาดหัวเผือก กลมเกลี้ยงเป็นมัน มีปล้องห่าง ๆ เนื้อขาว ฉุนร้อน ถ้าเคี้ยวจะทําให้ฟันโยก เชื่อกันว่าใช้ฝนกับนํ้าปูนใสหรือต้มเสียก่อนก็ได้ กินแก้ดานเลือด ดานลม และกระชับมดลูกให้แห้งสนิท. ในวงเล็บ มาจาก ตำรากบิลว่าน ของ หลวงประพัฒสรรพากร. | กระบูนเลือด น. ชื่อว่านชนิดหนึ่ง หัวและต้นดั่งขมิ้นอ้อย ต้นและใบเขียว หัวขนาดหัวเผือก กลมเกลี้ยงเป็นมัน มีปล้องห่าง ๆ เนื้อขาว ฉุนร้อน ถ้าเคี้ยวจะทําให้ฟันโยก เชื่อกันว่าใช้ฝนกับนํ้าปูนใสหรือต้มเสียก่อนก็ได้ กินแก้ดานเลือด ดานลม และกระชับมดลูกให้แห้งสนิท. (กบิลว่าน). |
กระบูร เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อู-รอ-เรือ | [บูน] เป็นคำกริยา หมายถึง ประดับ, แต่ง. (แผลงมาจาก กบูร). | กระบูร [บูน] ก. ประดับ, แต่ง. (แผลงมาจาก กบูร). |
กระเบง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-บอ-ไบ-ไม้-งอ-งู | ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำกริยา หมายถึง เบ่ง เช่น ระด่าวตึงกระเบงแขน. ในวงเล็บ มาจาก อนิรุทธ์คำฉันท์ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ; ตะเบ็ง, กระเบญ ก็ใช้. | กระเบง (กลอน) ก. เบ่ง เช่น ระด่าวตึงกระเบงแขน. (อนิรุทธ์); ตะเบ็ง, กระเบญ ก็ใช้. |
กระเบญ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-บอ-ไบ-ไม้-ยอ-หยิง | ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำกริยา หมายถึง กระเบง เช่น กุมกระบอง กระเบญหาญ. ในวงเล็บ มาจาก สมุทรโฆษคำฉันท์ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๘. | กระเบญ (กลอน) ก. กระเบง เช่น กุมกระบอง กระเบญหาญ. (สมุทรโฆษ). |
กระเบ็ดกระบวน เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-บอ-ไบ-ไม้-ไม้-ไต่-คู้-ดอ-เด็ก-กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-วอ-แหวน-นอ-หนู | เป็นคำนาม หมายถึง กระบิดกระบวน, ชั้นเชิง. | กระเบ็ดกระบวน น. กระบิดกระบวน, ชั้นเชิง. |
กระเบน เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-บอ-ไบ-ไม้-นอ-หนู | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อปลากระดูกอ่อนพวกหนึ่ง มีหลายชนิด หลายสกุล และหลายวงศ์ ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ลําตัวแบนลงมาก ครีบอกแผ่ออกด้านข้าง บางชนิดแผ่ออกไปจดด้านหน้าและด้านท้ายเกือบเป็นวงกลมดูคล้ายจานหรือว่าว บางชนิดแผ่ยื่นด้านข้างออกไปเป็นปีกคล้ายนกหรือผีเสื้อ และบางชนิดครีบอกแผ่ไปไม่ถึงส่วนหน้า ทำให้หัวแยกจากลำตัวและส่วนยื่นของหัวเป็นลอน มีเหงือก ๕ คู่ อยู่ด้านล่างของส่วนหัว บริเวณถัดจากส่วนท้ายของนัยน์ตามีรูเปิดข้างละช่อง ซึ่งด้านในติดต่อกับโพรงเหงือกและปาก หางส่วนมากเรียว สั้นบ้างยาวบ้าง มักมีผิวหยาบหรือขรุขระ บางพวกมีเงี่ยงอยู่บนหางตอนใกล้ลำตัว และมีต่อมน้ำพิษอยู่บริเวณโคนเงี่ยง เมื่อใช้เงี่ยงแทงจะปล่อยน้ำพิษออกมาด้วย ทำให้คนหรือสัตว์ที่ถูกแทงรู้สึกปวด; เรียกชายผ้านุ่งที่ม้วนแล้วสอดไปใต้หว่างขา ดึงขึ้นไปเหน็บขอบผ้านุ่งด้านหลังระดับบั้นเอว ว่า ชายกระเบน หรือ หางกระเบน; โคนหางช้าง เช่น ผูกกระเบนสักหลาดถกล สัปทนแดงกางกั้ง. ในวงเล็บ มาจาก ลิลิตกระบวนแห่พระกฐินพยุหยาตรา พระนิพนธ์ในสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส. | กระเบน น. ชื่อปลากระดูกอ่อนพวกหนึ่ง มีหลายชนิด หลายสกุล และหลายวงศ์ ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ลําตัวแบนลงมาก ครีบอกแผ่ออกด้านข้าง บางชนิดแผ่ออกไปจดด้านหน้าและด้านท้ายเกือบเป็นวงกลมดูคล้ายจานหรือว่าว บางชนิดแผ่ยื่นด้านข้างออกไปเป็นปีกคล้ายนกหรือผีเสื้อ และบางชนิดครีบอกแผ่ไปไม่ถึงส่วนหน้า ทำให้หัวแยกจากลำตัวและส่วนยื่นของหัวเป็นลอน มีเหงือก ๕ คู่ อยู่ด้านล่างของส่วนหัว บริเวณถัดจากส่วนท้ายของนัยน์ตามีรูเปิดข้างละช่อง ซึ่งด้านในติดต่อกับโพรงเหงือกและปาก หางส่วนมากเรียว สั้นบ้างยาวบ้าง มักมีผิวหยาบหรือขรุขระ บางพวกมีเงี่ยงอยู่บนหางตอนใกล้ลำตัว และมีต่อมน้ำพิษอยู่บริเวณโคนเงี่ยง เมื่อใช้เงี่ยงแทงจะปล่อยน้ำพิษออกมาด้วย ทำให้คนหรือสัตว์ที่ถูกแทงรู้สึกปวด; เรียกชายผ้านุ่งที่ม้วนแล้วสอดไปใต้หว่างขา ดึงขึ้นไปเหน็บขอบผ้านุ่งด้านหลังระดับบั้นเอว ว่า ชายกระเบน หรือ หางกระเบน; โคนหางช้าง เช่น ผูกกระเบนสักหลาดถกล สัปทนแดงกางกั้ง. (กฐินพยุห). |
กระเบนเหน็บ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-บอ-ไบ-ไม้-นอ-หนู-สะ-หระ-เอ-หอ-หีบ-นอ-หนู-ไม้-ไต่-คู้-บอ-ไบ-ไม้ | เป็นคำนาม หมายถึง ส่วนของร่างกายด้านหลังระดับบั้นเอว ตรงที่เหน็บชายกระเบน. | กระเบนเหน็บ น. ส่วนของร่างกายด้านหลังระดับบั้นเอว ตรงที่เหน็บชายกระเบน. |
กระเบนเนื้อดำ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-บอ-ไบ-ไม้-นอ-หนู-สะ-หระ-เอ-นอ-หนู-สะ-หระ-อือ-ไม้-โท-ออ-อ่าง-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-อำ | ดู ยี่สน เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อี-ไม้-เอก-สอ-เสือ-นอ-หนู. | กระเบนเนื้อดำ ดู ยี่สน. |
กระเบา เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อา ความหมายที่ ๑ | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อไม้ต้นขนาดย่อมถึงขนาดใหญ่หลายชนิดในสกุล Hydnocarpus วงศ์ Flacourtiaceae เช่น กระเบาใหญ่ หรือ กระเบานํ้า (H. anthelminthica Pierre ex Laness.) เป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ ผลกลม เปลือกแข็ง มีขนสีนํ้าตาล ขนาดเท่าผลส้มโอขนาดย่อม เนื้อในเป็นแป้งสีเหลืองอ่อน ๆ กินได้ เมล็ดมีนํ้ามัน เคยใช้เป็นยาแก้โรคเรื้อน ต้นที่มีแต่ดอกเพศผู้ เรียกว่า แก้วกาหลง, กระเบากลัก หรือ กระเบียน (H. ilicifolia King) เป็นไม้ต้นขนาดกลาง ผลกลม เปลือกแข็ง มีขนสีดํา ขนาดเท่าผลส้มเกลี้ยง. | กระเบา ๑ น. ชื่อไม้ต้นขนาดย่อมถึงขนาดใหญ่หลายชนิดในสกุล Hydnocarpus วงศ์ Flacourtiaceae เช่น กระเบาใหญ่ หรือ กระเบานํ้า (H. anthelminthica Pierre ex Laness.) เป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ ผลกลม เปลือกแข็ง มีขนสีนํ้าตาล ขนาดเท่าผลส้มโอขนาดย่อม เนื้อในเป็นแป้งสีเหลืองอ่อน ๆ กินได้ เมล็ดมีนํ้ามัน เคยใช้เป็นยาแก้โรคเรื้อน ต้นที่มีแต่ดอกเพศผู้ เรียกว่า แก้วกาหลง, กระเบากลัก หรือ กระเบียน (H. ilicifolia King) เป็นไม้ต้นขนาดกลาง ผลกลม เปลือกแข็ง มีขนสีดํา ขนาดเท่าผลส้มเกลี้ยง. |
กระเบา เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อา ความหมายที่ ๒ | เป็นคำนาม หมายถึง กระบี่ชนิดหนึ่ง ปลายแหลมเรียวอย่างหางกระเบน เรียกว่า กระเบาหางกระเบน. | กระเบา ๒ น. กระบี่ชนิดหนึ่ง ปลายแหลมเรียวอย่างหางกระเบน เรียกว่า กระเบาหางกระเบน. |
กระเบิก เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อิ-กอ-ไก่ | ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำกริยา หมายถึง เบิก เช่น ปรดิพหุลดุลยปรดิมุข หุลดุลยอุกกลุก ก็เกริกกระเบิกหาวหบ. ในวงเล็บ มาจาก อนิรุทธ์คำฉันท์ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ. | กระเบิก (กลอน) ก. เบิก เช่น ปรดิพหุลดุลยปรดิมุข หุลดุลยอุกกลุก ก็เกริกกระเบิกหาวหบ. (อนิรุทธ์). |
กระเบี้ย มีเครื่องหมายยัติภังค์หน้าคำ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อี-ไม้-โท-ยอ-ยัก | ใช้เข้าคู่กับคํา กระบั้ว เป็น กระบั้วกระเบี้ย. | กระเบี้ย ใช้เข้าคู่กับคํา กระบั้ว เป็น กระบั้วกระเบี้ย. |
กระเบียด เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก-ดอ-เด็ก | เป็นคำนาม หมายถึง มาตราวัดตามวิธีประเพณี ๑ กระเบียด เท่ากับ ๑ ใน ๔ ส่วนของนิ้ว. | กระเบียด น. มาตราวัดตามวิธีประเพณี ๑ กระเบียด เท่ากับ ๑ ใน ๔ ส่วนของนิ้ว. |
กระเบียดกระตัก เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก-ดอ-เด็ก-กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ตอ-เต่า-ไม้-หัน-อา-กาด-กอ-ไก่ | เป็นคำกริยา หมายถึง เกี่ยงให้ตัวได้มาก. | กระเบียดกระตัก ก. เกี่ยงให้ตัวได้มาก. |
กระเบียดกระเสียร เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก-ดอ-เด็ก-กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-สอ-เสือ-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก-รอ-เรือ | เป็นคำกริยา หมายถึง พยายามใช้จ่ายอย่างจํากัดจําเขี่ย. | กระเบียดกระเสียร ก. พยายามใช้จ่ายอย่างจํากัดจําเขี่ย. |
กระเบียน เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก-นอ-หนู | เป็นคำนาม หมายถึง (๑) กระเบากลัก. ในวงเล็บ ดู กระเบา เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อา ความหมายที่ ๑.(๒) ชื่อไม้ต้นผลัดใบขนาดเล็กชนิด Gardenia turgida Roxb. ในวงศ์ Rubiaceae ขึ้นในป่าเต็งรังและป่าเบญจพรรณ ต้นมีหนามห่าง ๆ เปลือกเรียบ ดอกเมื่อแรกบานสีขาว แล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอ่อน ผลคล้ายละมุดฝรั่ง แต่สุกแล้วแข็ง, กระดานพน มะกอกพราน หมุยขาว หรือ หัวโล้น ก็เรียก. | กระเบียน น. (๑) กระเบากลัก. (ดู กระเบา ๑).(๒) ชื่อไม้ต้นผลัดใบขนาดเล็กชนิด Gardenia turgida Roxb. ในวงศ์ Rubiaceae ขึ้นในป่าเต็งรังและป่าเบญจพรรณ ต้นมีหนามห่าง ๆ เปลือกเรียบ ดอกเมื่อแรกบานสีขาว แล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอ่อน ผลคล้ายละมุดฝรั่ง แต่สุกแล้วแข็ง, กระดานพน มะกอกพราน หมุยขาว หรือ หัวโล้น ก็เรียก. |
กระเบื้อง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อือ-ไม้-โท-ออ-อ่าง-งอ-งู | เป็นคำนาม หมายถึง เครื่องมุงหลังคาหรือปูพื้นเป็นต้น ทําด้วยดิน หรือวัสดุอย่างอื่น โดยปรกติเป็นแผ่น, เครื่องถ้วยชามที่ปั้นด้วยดินประสมอย่างดี เนื้อมีลักษณะแข็งและขาว เคลือบผิวเป็นมัน มีพื้นหรือลวดลายเป็นสีต่าง ๆ เรียกรวมว่า เครื่องกระเบื้อง, ชิ้นของเครื่องกระเบื้องที่แตกออก, กระทะแบน ๆ สําหรับละเลงขนมเบื้องเป็นต้น เดิมทําด้วยดินเผา แต่ปัจจุบันทําด้วยโลหะ; ลักษณนามเรียกจํานวนข้าวเม่าเป็นต้นที่คั่วครั้งหนึ่ง ๆ เช่น ข้าวเม่ากระเบื้องหนึ่ง งา ๒ กระเบื้อง. | กระเบื้อง น. เครื่องมุงหลังคาหรือปูพื้นเป็นต้น ทําด้วยดิน หรือวัสดุอย่างอื่น โดยปรกติเป็นแผ่น, เครื่องถ้วยชามที่ปั้นด้วยดินประสมอย่างดี เนื้อมีลักษณะแข็งและขาว เคลือบผิวเป็นมัน มีพื้นหรือลวดลายเป็นสีต่าง ๆ เรียกรวมว่า เครื่องกระเบื้อง, ชิ้นของเครื่องกระเบื้องที่แตกออก, กระทะแบน ๆ สําหรับละเลงขนมเบื้องเป็นต้น เดิมทําด้วยดินเผา แต่ปัจจุบันทําด้วยโลหะ; ลักษณนามเรียกจํานวนข้าวเม่าเป็นต้นที่คั่วครั้งหนึ่ง ๆ เช่น ข้าวเม่ากระเบื้องหนึ่ง งา ๒ กระเบื้อง. |
กระเบื้องกาบกล้วย เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อือ-ไม้-โท-ออ-อ่าง-งอ-งู-กอ-ไก่-สะ-หระ-อา-บอ-ไบ-ไม้-กอ-ไก่-ลอ-ลิง-ไม้-โท-วอ-แหวน-ยอ-ยัก | เป็นคำนาม หมายถึง กระเบื้องมุงหลังคาชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นกระเบื้อง ๒ แผ่นวางคร่อมกัน แผ่นคว่ำมีรูปร่างเหมือนกาบกล้วย ข้างใต้ตอนบนมีงวงหรือขอสำหรับยึดกับระแนง ส่วนแผ่นหงายที่อยู่ข้างล่างนั้นเป็นแผ่นแบน งอริมขึ้นทั้ง ๒ ข้าง มีขออยู่ตอนบนเพื่อเกี่ยวกับระแนง ปัจจุบันนิยมทำให้กระเบื้องแผ่นคว่ำและแผ่นหงายติดเป็นแผ่นเดียวกันเพื่อให้มีความคงทนมากขึ้น, กาบู ก็เรียก. | กระเบื้องกาบกล้วย น. กระเบื้องมุงหลังคาชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นกระเบื้อง ๒ แผ่นวางคร่อมกัน แผ่นคว่ำมีรูปร่างเหมือนกาบกล้วย ข้างใต้ตอนบนมีงวงหรือขอสำหรับยึดกับระแนง ส่วนแผ่นหงายที่อยู่ข้างล่างนั้นเป็นแผ่นแบน งอริมขึ้นทั้ง ๒ ข้าง มีขออยู่ตอนบนเพื่อเกี่ยวกับระแนง ปัจจุบันนิยมทำให้กระเบื้องแผ่นคว่ำและแผ่นหงายติดเป็นแผ่นเดียวกันเพื่อให้มีความคงทนมากขึ้น, กาบู ก็เรียก. |
กระเบื้องเกล็ดเต่า เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อือ-ไม้-โท-ออ-อ่าง-งอ-งู-สะ-หระ-เอ-กอ-ไก่-ลอ-ลิง-ไม้-ไต่-คู้-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-เอ-ตอ-เต่า-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา | เป็นคำนาม หมายถึง กระเบื้องดินเผาปลายตัดเป็นมุมแหลม ผิวด้าน มีสีแดงตามเนื้อดิน ใช้มุงหลังคาโบสถ์วิหารเป็นต้น. | กระเบื้องเกล็ดเต่า น. กระเบื้องดินเผาปลายตัดเป็นมุมแหลม ผิวด้าน มีสีแดงตามเนื้อดิน ใช้มุงหลังคาโบสถ์วิหารเป็นต้น. |
กระเบื้องขนมเปียกปูน เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อือ-ไม้-โท-ออ-อ่าง-งอ-งู-ขอ-ไข่-นอ-หนู-มอ-ม้า-สะ-หระ-เอ-ปอ-ปลา-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก-กอ-ไก่-ปอ-ปลา-สะ-หระ-อู-นอ-หนู | เป็นคำนาม หมายถึง กระเบื้องสำหรับมุงหลังคารูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ทำด้วยปูนซีเมนต์ ทราย และน้ำ, กระเบื้องว่าว หรือ กระเบื้องหน้าวัว ก็เรียก. | กระเบื้องขนมเปียกปูน น. กระเบื้องสำหรับมุงหลังคารูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ทำด้วยปูนซีเมนต์ ทราย และน้ำ, กระเบื้องว่าว หรือ กระเบื้องหน้าวัว ก็เรียก. |
กระเบื้องถ้วยกะลาแตก เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อือ-ไม้-โท-ออ-อ่าง-งอ-งู-ถอ-ถุง-ไม้-โท-วอ-แหวน-ยอ-ยัก-กอ-ไก่-สะ-หระ-อะ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-แอ-ตอ-เต่า-กอ-ไก่ | เป็นคำนาม หมายถึง เศษภาชนะดินเผาที่แตกออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย, โดยปริยายหมายถึงของเล็ก ๆ น้อย ๆ ไม่เป็นชิ้นเป็นอันที่ชํารุดหรือขาดชุดหมดราคา. | กระเบื้องถ้วยกะลาแตก น. เศษภาชนะดินเผาที่แตกออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย, โดยปริยายหมายถึงของเล็ก ๆ น้อย ๆ ไม่เป็นชิ้นเป็นอันที่ชํารุดหรือขาดชุดหมดราคา. |
กระเบื้องปรุ, กระเบื้องรู กระเบื้องปรุ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อือ-ไม้-โท-ออ-อ่าง-งอ-งู-ปอ-ปลา-รอ-เรือ-สะ-หระ-อุ กระเบื้องรู เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อือ-ไม้-โท-ออ-อ่าง-งอ-งู-รอ-เรือ-สะ-หระ-อู | เป็นคำนาม หมายถึง กระเบื้องเคลือบจีน มีลายโปร่งสําหรับกรุตามผนังหรือกําแพงให้มีช่องลม. | กระเบื้องปรุ, กระเบื้องรู น. กระเบื้องเคลือบจีน มีลายโปร่งสําหรับกรุตามผนังหรือกําแพงให้มีช่องลม. |
กระเบื้องว่าว เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อือ-ไม้-โท-ออ-อ่าง-งอ-งู-วอ-แหวน-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา-วอ-แหวน | เป็นคำนาม หมายถึง กระเบื้องสำหรับมุงหลังคารูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ทำด้วยปูนซีเมนต์ ทราย และน้ำ, กระเบื้องขนมเปียกปูน หรือ กระเบื้องหน้าวัว ก็เรียก. | กระเบื้องว่าว น. กระเบื้องสำหรับมุงหลังคารูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ทำด้วยปูนซีเมนต์ ทราย และน้ำ, กระเบื้องขนมเปียกปูน หรือ กระเบื้องหน้าวัว ก็เรียก. |
กระเบื้องหน้างัว เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อือ-ไม้-โท-ออ-อ่าง-งอ-งู-หอ-หีบ-นอ-หนู-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-งอ-งู-ไม้-หัน-อา-กาด-วอ-แหวน | ดู กระเบื้องหน้าวัว เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อือ-ไม้-โท-ออ-อ่าง-งอ-งู-หอ-หีบ-นอ-หนู-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-วอ-แหวน-ไม้-หัน-อา-กาด-วอ-แหวน. | กระเบื้องหน้างัว ดู กระเบื้องหน้าวัว. |
กระเบื้องหน้าวัว เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อือ-ไม้-โท-ออ-อ่าง-งอ-งู-หอ-หีบ-นอ-หนู-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-วอ-แหวน-ไม้-หัน-อา-กาด-วอ-แหวน | เป็นคำนาม หมายถึง กระเบื้องปูพื้นรูปสี่เหลี่ยมทําด้วยดินเผา; กระเบื้องสำหรับมุงหลังคารูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ทำด้วยปูนซีเมนต์ ทราย และน้ำ, กระเบื้องว่าว หรือ กระเบื้องขนมเปียกปูน ก็เรียก. | กระเบื้องหน้าวัว น. กระเบื้องปูพื้นรูปสี่เหลี่ยมทําด้วยดินเผา; กระเบื้องสำหรับมุงหลังคารูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ทำด้วยปูนซีเมนต์ ทราย และน้ำ, กระเบื้องว่าว หรือ กระเบื้องขนมเปียกปูน ก็เรียก. |
กระเบื้องถ้วย เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อือ-ไม้-โท-ออ-อ่าง-งอ-งู-ถอ-ถุง-ไม้-โท-วอ-แหวน-ยอ-ยัก | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาถิ่นภาคใต้ เป็นคำนาม หมายถึง ต้นกะอวม. ในวงเล็บ ดู กะอวม เขียนว่า กอ-ไก่-สะ-หระ-อะ-ออ-อ่าง-วอ-แหวน-มอ-ม้า. | กระเบื้องถ้วย (ถิ่นปักษ์ใต้) น. ต้นกะอวม. (ดู กะอวม). |
กระแบ่ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-แอ-บอ-ไบ-ไม้-ไม้-เอก | ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ เป็นคำนาม หมายถึง กระบิ, ชิ้น, ส่วน, เช่น เราจะให้บั่นให้แล่ ทุกกระแบ่จงหนําใจ. ในวงเล็บ มาจาก ลิลิตพระลอ แบบเรียน, ทุกกระแบ่เนื้อเห็นเปล่าเลย. ในวงเล็บ มาจาก มหาชาติคำหลวง ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๐ กัณฑ์กุมาร, กระแบะ ก็ว่า. | กระแบ่ (โบ) น. กระบิ, ชิ้น, ส่วน, เช่น เราจะให้บั่นให้แล่ ทุกกระแบ่จงหนําใจ. (ลอ), ทุกกระแบ่เนื้อเห็นเปล่าเลย. (ม. คำหลวง กุมาร), กระแบะ ก็ว่า. |
กระแบก เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-แอ-บอ-ไบ-ไม้-กอ-ไก่ | เป็นคำนาม หมายถึง ต้นตะแบก เช่น หูกวางพรรค์กระแบก. ในวงเล็บ มาจาก มหาชาติคำหลวง ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๐ กัณฑ์จุลพน, ตระแบก ก็ว่า. | กระแบก น. ต้นตะแบก เช่น หูกวางพรรค์กระแบก. (ม. คำหลวง จุลพน), ตระแบก ก็ว่า. |
กระแบกงา เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-แอ-บอ-ไบ-ไม้-กอ-ไก่-งอ-งู-สะ-หระ-อา | เป็นคำกริยา หมายถึง แตกเป็นไรงา เช่น พลุกกระแบกงาแต่ต้น จนปลาย. ในวงเล็บ มาจาก โคลงตำราช้าง พระบวรราชนิพนธ์ ในกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ วชิรญาณรายเดือน เล่ม ๑๑. | กระแบกงา ก. แตกเป็นไรงา เช่น พลุกกระแบกงาแต่ต้น จนปลาย. (ตําราช้างคําโคลง). |
กระแบะ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-แอ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อะ ความหมายที่ ๑ | เป็นคำนาม หมายถึง แผ่น, ชิ้น, ส่วน, กระแบ่ ก็ว่า. | กระแบะ ๑ น. แผ่น, ชิ้น, ส่วน, กระแบ่ ก็ว่า. |
กระแบะ ๒, กระแบะมือ กระแบะ ความหมายที่ ๒ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-แอ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อะ กระแบะมือ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-แอ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อะ-มอ-ม้า-สะ-หระ-อือ-ออ-อ่าง | เป็นคำนาม หมายถึง ขนาดเท่าฝ่ามือ. | กระแบะ ๒, กระแบะมือ น. ขนาดเท่าฝ่ามือ. |
กระโบม เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-โอ-บอ-ไบ-ไม้-มอ-ม้า ความหมายที่ ๑ | เป็นคำกริยา หมายถึง ตระโบม, โลมเล้า, กอด, เช่น ยักษ์ผยองโพยมแลกระโบมถนอมพนิดไคล. ในวงเล็บ มาจาก สรรพสิทธิ์คำฉันท์ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิต ชิโนรส ทรงนิพนธ์ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๗. | กระโบม ๑ ก. ตระโบม, โลมเล้า, กอด, เช่น ยักษ์ผยองโพยมแลกระโบมถนอมพนิดไคล. (สรรพสิทธิ์). |
กระโบม เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-โอ-บอ-ไบ-ไม้-มอ-ม้า ความหมายที่ ๒ | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาถิ่นภาคอีสาน เป็นคำนาม หมายถึง ภาชนะชนิดหนึ่ง ทำด้วยไม้ขุดรูปวงกลมมีขอบ ด้ามสั้น สำหรับสงข้าวเหนียวที่นึ่งสุกใหม่ ๆ หรือคนข้าวเหนียวนึ่งให้ลดความร้อนก่อนนำไปใส่ในกล่องข้าว หรือใช้เป็นภาชนะรองถ้วยชามอย่างสำรับ, กระบม ก็เรียก. | กระโบม ๒ (ถิ่นอีสาน) น. ภาชนะชนิดหนึ่ง ทำด้วยไม้ขุดรูปวงกลมมีขอบ ด้ามสั้น สำหรับสงข้าวเหนียวที่นึ่งสุกใหม่ ๆ หรือคนข้าวเหนียวนึ่งให้ลดความร้อนก่อนนำไปใส่ในกล่องข้าว หรือใช้เป็นภาชนะรองถ้วยชามอย่างสำรับ, กระบม ก็เรียก. |
กระปมกระปำ, กระปมกระเปา กระปมกระปำ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ปอ-ปลา-มอ-ม้า-กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ปอ-ปลา-สะ-หระ-อำ กระปมกระเปา เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ปอ-ปลา-มอ-ม้า-กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-ปอ-ปลา-สะ-หระ-อา | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ปุ่มป่ำ, ปมเปา, เป็นปมเป็นก้อน. | กระปมกระปำ, กระปมกระเปา ว. ปุ่มป่ำ, ปมเปา, เป็นปมเป็นก้อน. |
กระปรอก ๑, กระปอก ๑ กระปรอก ความหมายที่ ๑ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ปอ-ปลา-รอ-เรือ-ออ-อ่าง-กอ-ไก่ กระปอก ความหมายที่ ๑ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ปอ-ปลา-ออ-อ่าง-กอ-ไก่ | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อไต้ชนิดหนึ่ง ห่อด้วยใบพลวงหลายชั้น ลูกยาวใหญ่เหมือนไต้หาง แต่ไม่มีหาง ชาวทะเลและชาวชนบทชอบใช้สําหรับหาหอย กุ้ง ปลา เพราะดวงไฟใหญ่ไม่ใคร่ดับ. | กระปรอก ๑, กระปอก ๑ น. ชื่อไต้ชนิดหนึ่ง ห่อด้วยใบพลวงหลายชั้น ลูกยาวใหญ่เหมือนไต้หาง แต่ไม่มีหาง ชาวทะเลและชาวชนบทชอบใช้สําหรับหาหอย กุ้ง ปลา เพราะดวงไฟใหญ่ไม่ใคร่ดับ. |
กระปรอก ๒, กระปอก ๒ กระปรอก ความหมายที่ ๒ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ปอ-ปลา-รอ-เรือ-ออ-อ่าง-กอ-ไก่ กระปอก ความหมายที่ ๒ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ปอ-ปลา-ออ-อ่าง-กอ-ไก่ | เป็นคำนาม หมายถึง นุ่น. ในวงเล็บ เทียบ ภาษามลายู กระป๊อก เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ปอ-ปลา-ไม้-ตรี-ออ-อ่าง-กอ-ไก่ ว่า ต้นนุ่น . | กระปรอก ๒, กระปอก ๒ น. นุ่น. (เทียบมลายู กระป๊อก ว่า ต้นนุ่น). |
กระปรอก เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ปอ-ปลา-รอ-เรือ-ออ-อ่าง-กอ-ไก่ ความหมายที่ ๓ | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาถิ่นภาคตะวันออกและภาคใต้ เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อเรียกเฟินอิงอาศัยหลายชนิดในสกุล Drynaria และ Platycerium วงศ์ Polypodiaceae. | กระปรอก ๓ (ถิ่นตะวันออก, ปักษ์ใต้) น. ชื่อเรียกเฟินอิงอาศัยหลายชนิดในสกุล Drynaria และ Platycerium วงศ์ Polypodiaceae. |
กระปรอกว่าว เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ปอ-ปลา-รอ-เรือ-ออ-อ่าง-กอ-ไก่-วอ-แหวน-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา-วอ-แหวน | ดู กระแตไต่ไม้ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-แอ-ตอ-เต่า-สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ตอ-เต่า-ไม้-เอก-สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-มอ-ม้า-ไม้-โท ความหมายที่ ๒. | กระปรอกว่าว ดู กระแตไต่ไม้ ๒. |
กระปรี้กระเปร่า เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ปอ-ปลา-รอ-เรือ-สะ-หระ-อี-ไม้-โท-กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-ปอ-ปลา-รอ-เรือ-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง แคล่วคล่องว่องไว เพราะมีกําลังวังชา, กระฉับกระเฉง, ไม่เนิบนาบ. | กระปรี้กระเปร่า ว. แคล่วคล่องว่องไว เพราะมีกําลังวังชา, กระฉับกระเฉง, ไม่เนิบนาบ. |
กระป้อกระแป้ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ปอ-ปลา-ไม้-โท-ออ-อ่าง-กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-แอ-ปอ-ปลา-ไม้-โท | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ป้อแป้มาก, กําลังน้อย. | กระป้อกระแป้ ว. ป้อแป้มาก, กําลังน้อย. |
กระป่อง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ปอ-ปลา-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-งอ-งู | ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ป่อง เช่น สักหน่อยหนึ่งมึงจะท้องกระป่องเหยาะ. ในวงเล็บ มาจาก พระอภัยมณีคำกลอน ของ สุนทรภู่ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๗. | กระป่อง (กลอน) ว. ป่อง เช่น สักหน่อยหนึ่งมึงจะท้องกระป่องเหยาะ. (อภัย). |
กระป๋อง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ปอ-ปลา-ไม้-จัด-ตะ-วา-ออ-อ่าง-งอ-งู | เป็นคำนาม หมายถึง ภาชนะทําด้วยเหล็กวิลาดหรือสังกะสีเป็นต้น มักมีรูปเป็นทรงกระบอก สําหรับบรรจุของต่าง ๆ, ลักษณนามว่า ใบ, ลูก. | กระป๋อง น. ภาชนะทําด้วยเหล็กวิลาดหรือสังกะสีเป็นต้น มักมีรูปเป็นทรงกระบอก สําหรับบรรจุของต่าง ๆ, ลักษณนามว่า ใบ, ลูก. |
กระปอดกระแปด เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ปอ-ปลา-ออ-อ่าง-ดอ-เด็ก-กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-แอ-ปอ-ปลา-ดอ-เด็ก | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง อาการที่บ่นปอดแปด, อาการที่บ่นรํ่าไร. | กระปอดกระแปด ว. อาการที่บ่นปอดแปด, อาการที่บ่นรํ่าไร. |
กระป๋อหลอ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ปอ-ปลา-ไม้-จัด-ตะ-วา-ออ-อ่าง-หอ-หีบ-ลอ-ลิง-ออ-อ่าง | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง เหลอ (ใช้แก่หน้า) เช่น ก็หยุดยั้งนั่งหน้ากระป๋อหลอ. ในวงเล็บ มาจาก มณีพิชัยตอนต้น บทละคร พระนิพนธ์ ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น ๒ กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๒. | กระป๋อหลอ ว. เหลอ (ใช้แก่หน้า) เช่น ก็หยุดยั้งนั่งหน้ากระป๋อหลอ. (มณีพิชัย). |
กระปั้วกระเปี้ย เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ปอ-ปลา-ไม้-หัน-อา-กาด-ไม้-โท-วอ-แหวน-กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-ปอ-ปลา-สะ-หระ-อี-ไม้-โท-ยอ-ยัก | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง กระบั้วกระเบี้ย, กะปลกกะเปลี้ย, ไม่คล่องแคล่ว, ไม่แข็งแรง. | กระปั้วกระเปี้ย ว. กระบั้วกระเบี้ย, กะปลกกะเปลี้ย, ไม่คล่องแคล่ว, ไม่แข็งแรง. |
กระปำ มีเครื่องหมายยัติภังค์หน้าคำ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ปอ-ปลา-สะ-หระ-อำ | ใช้เข้าคู่กับคํา กระปม เป็น กระปมกระปำ. | กระปำ ใช้เข้าคู่กับคํา กระปม เป็น กระปมกระปำ. |
กระป่ำ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ปอ-ปลา-ไม้-เอก-สะ-หระ-อำ ความหมายที่ ๑ | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง เป็นปุ่มป่ำ เช่น บนเขากระป่ำ. ในวงเล็บ มาจาก มหาชาติคำหลวง ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๐ กัณฑ์กุมาร, มักใช้เข้าคู่กับคํา กระปุ่ม เป็น กระปุ่มกระป่ำ. | กระป่ำ ๑ ว. เป็นปุ่มป่ำ เช่น บนเขากระป่ำ. (ม. คำหลวง กุมาร), มักใช้เข้าคู่กับคํา กระปุ่ม เป็น กระปุ่มกระป่ำ. |
กระป่ำ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ปอ-ปลา-ไม้-เอก-สะ-หระ-อำ ความหมายที่ ๒ | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง อร่อย เช่น อนี้ต้นหว้าหวานกระป่ำ. ในวงเล็บ มาจาก มหาชาติคำหลวง ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๐ กัณฑ์กุมาร และกัณฑ์มัทรี. | กระป่ำ ๒ ว. อร่อย เช่น อนี้ต้นหว้าหวานกระป่ำ. (ม. คำหลวง กุมาร; มัทรี). |
กระปิ่ม มีเครื่องหมายยัติภังค์หน้าคำ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ปอ-ปลา-สะ-หระ-อิ-ไม้-เอก-มอ-ม้า | ใช้เข้าคู่กับคํา กระปุ่ม เป็น กระปุ่มกระปิ่ม. | กระปิ่ม ใช้เข้าคู่กับคํา กระปุ่ม เป็น กระปุ่มกระปิ่ม. |
กระปุก เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ปอ-ปลา-สะ-หระ-อุ-กอ-ไก่ | เป็นคำนาม หมายถึง ภาชนะเครื่องปั้นดินเผาหรือแก้วเป็นต้น รูปป้อม ๆ เตี้ย ๆ ขนาดเล็ก โดยมากปากแคบ ก้นสอบ, ลักษณนามเรียกทะลายของผลระกําหรือผลจาก เช่น ผลระกํากระปุกหนึ่ง ผลจาก ๒ กระปุก. | กระปุก น. ภาชนะเครื่องปั้นดินเผาหรือแก้วเป็นต้น รูปป้อม ๆ เตี้ย ๆ ขนาดเล็ก โดยมากปากแคบ ก้นสอบ, ลักษณนามเรียกทะลายของผลระกําหรือผลจาก เช่น ผลระกํากระปุกหนึ่ง ผลจาก ๒ กระปุก. |
กระปุกหลุก, กระปุ๊กลุก กระปุกหลุก เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ปอ-ปลา-สะ-หระ-อุ-กอ-ไก่-หอ-หีบ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อุ-กอ-ไก่ กระปุ๊กลุก เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ปอ-ปลา-สะ-หระ-อุ-ไม้-ตรี-กอ-ไก่-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อุ-กอ-ไก่ | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง อ้วนกลมน่าเอ็นดู. | กระปุกหลุก, กระปุ๊กลุก ว. อ้วนกลมน่าเอ็นดู. |
กระปุ่ม เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ปอ-ปลา-สะ-หระ-อุ-ไม้-เอก-มอ-ม้า | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาถิ่นภาคอีสาน เป็นคำนาม หมายถึง เครื่องสานชนิดหนึ่ง ส่วนล่างใหญ่ ส่วนบนเล็ก รูปกลม มีฝาสวมลงลึก สําหรับใส่สิ่งของ พ่อค้าหาบเร่มักใช้. | กระปุ่ม (ถิ่นอีสาน) น. เครื่องสานชนิดหนึ่ง ส่วนล่างใหญ่ ส่วนบนเล็ก รูปกลม มีฝาสวมลงลึก สําหรับใส่สิ่งของ พ่อค้าหาบเร่มักใช้. |
กระปุ่มกระป่ำ, กระปุ่มกระปิ่ม กระปุ่มกระป่ำ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ปอ-ปลา-สะ-หระ-อุ-ไม้-เอก-มอ-ม้า-กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ปอ-ปลา-ไม้-เอก-สะ-หระ-อำ กระปุ่มกระปิ่ม เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ปอ-ปลา-สะ-หระ-อุ-ไม้-เอก-มอ-ม้า-กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ปอ-ปลา-สะ-หระ-อิ-ไม้-เอก-มอ-ม้า | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง มีปุ่มป่ำมาก เช่น ดูกระปุ่มกระปิ่มตุ่มติ่มเต็ม. ในวงเล็บ มาจาก นิราศเมืองเพชร ฉบับราชบัณฑิตยสภา พ.ศ. ๒๔๗๐. | กระปุ่มกระป่ำ, กระปุ่มกระปิ่ม ว. มีปุ่มป่ำมาก เช่น ดูกระปุ่มกระปิ่มตุ่มติ่มเต็ม. (นิ. เพชร). |
กระเปา มีเครื่องหมายยัติภังค์หน้าคำ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-ปอ-ปลา-สะ-หระ-อา | ใช้เข้าคู่กับคํา กระปม เป็น กระปมกระเปา. | กระเปา ใช้เข้าคู่กับคํา กระปม เป็น กระปมกระเปา. |
กระเป๋า เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-ปอ-ปลา-ไม้-จัด-ตะ-วา-สะ-หระ-อา ความหมายที่ ๑ | เป็นคำนาม หมายถึง เครื่องใช้รูปคล้ายถุงหรือกระเพาะ ทําด้วยหนังบ้าง ผ้าบ้าง สําหรับใส่เงินหรือของต่าง ๆ ใช้คาดเอวก็มี ติดอยู่ในตัวเสื้อหรือกางเกงก็มี ใช้หิ้วก็มี; กลีบดอกกล้วยไม้คล้ายรูปกรวยหรือหลอดที่อยู่ตรงกลางเป็นที่อยู่ของเกสร, ปาก ก็เรียก; ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาปาก หมายถึง เรียกถุงหน้าท้องสำหรับใส่ลูกของสัตว์บางชนิดเช่นจิงโจ้ ม้าน้ำ. | กระเป๋า ๑ น. เครื่องใช้รูปคล้ายถุงหรือกระเพาะ ทําด้วยหนังบ้าง ผ้าบ้าง สําหรับใส่เงินหรือของต่าง ๆ ใช้คาดเอวก็มี ติดอยู่ในตัวเสื้อหรือกางเกงก็มี ใช้หิ้วก็มี; กลีบดอกกล้วยไม้คล้ายรูปกรวยหรือหลอดที่อยู่ตรงกลางเป็นที่อยู่ของเกสร, ปาก ก็เรียก; (ปาก) เรียกถุงหน้าท้องสำหรับใส่ลูกของสัตว์บางชนิดเช่นจิงโจ้ ม้าน้ำ. |
กระเป๋าฉีก เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-ปอ-ปลา-ไม้-จัด-ตะ-วา-สะ-หระ-อา-ฉอ-ฉิ่ง-สะ-หระ-อี-กอ-ไก่ | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาปาก เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง หมดเงินในกระเป๋าเพราะใช้จ่ายมาก เช่น วันนี้จ่ายเงินเสียกระเป๋าฉีกเลย. | กระเป๋าฉีก (ปาก) ว. หมดเงินในกระเป๋าเพราะใช้จ่ายมาก เช่น วันนี้จ่ายเงินเสียกระเป๋าฉีกเลย. |
กระเป๋าตุง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-ปอ-ปลา-ไม้-จัด-ตะ-วา-สะ-หระ-อา-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อุ-งอ-งู | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาปาก เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง มีเงินในกระเป๋ามาก เช่น ไปทำอะไรจึงกระเป๋าตุงกลับมา. | กระเป๋าตุง (ปาก) ว. มีเงินในกระเป๋ามาก เช่น ไปทำอะไรจึงกระเป๋าตุงกลับมา. |
กระเป๋าเบา เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-ปอ-ปลา-ไม้-จัด-ตะ-วา-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-เอ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อา | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาปาก เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง มีเงินในกระเป๋าน้อยลง เช่น ไปเที่ยวเสียกระเป๋าเบาเลย. | กระเป๋าเบา (ปาก) ว. มีเงินในกระเป๋าน้อยลง เช่น ไปเที่ยวเสียกระเป๋าเบาเลย. |
กระเป๋าแฟบ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-ปอ-ปลา-ไม้-จัด-ตะ-วา-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-แอ-ฟอ-ฟัน-บอ-ไบ-ไม้ | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาปาก เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง มีเงินในกระเป๋าลดน้อยลงมาก เช่น ไปจ่ายของเสียกระเป๋าแฟบเลย. | กระเป๋าแฟบ (ปาก) ว. มีเงินในกระเป๋าลดน้อยลงมาก เช่น ไปจ่ายของเสียกระเป๋าแฟบเลย. |
กระเป๋าหนัก เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-ปอ-ปลา-ไม้-จัด-ตะ-วา-สะ-หระ-อา-หอ-หีบ-นอ-หนู-ไม้-หัน-อา-กาด-กอ-ไก่ | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาปาก เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง มีเงินมาก, ร่ำรวย, เช่น วันนี้ยอมเป็นเจ้ามือเลี้ยงข้าว สงสัยจะกระเป๋าหนัก. | กระเป๋าหนัก (ปาก) ว. มีเงินมาก, ร่ำรวย, เช่น วันนี้ยอมเป็นเจ้ามือเลี้ยงข้าว สงสัยจะกระเป๋าหนัก. |
กระเป๋าแห้ง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-ปอ-ปลา-ไม้-จัด-ตะ-วา-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-แอ-หอ-หีบ-ไม้-โท-งอ-งู | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาปาก เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ไม่มีเงินติดกระเป๋าเลย เช่น วันนี้เขากระเป๋าแห้ง. | กระเป๋าแห้ง (ปาก) ว. ไม่มีเงินติดกระเป๋าเลย เช่น วันนี้เขากระเป๋าแห้ง. |
กระเป๋า เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-ปอ-ปลา-ไม้-จัด-ตะ-วา-สะ-หระ-อา ความหมายที่ ๒ | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาปาก เป็นคำนาม หมายถึง พนักงานเก็บค่าโดยสารรถหรือเรือประจำทาง. | กระเป๋า ๒ (ปาก) น. พนักงานเก็บค่าโดยสารรถหรือเรือประจำทาง. |
กระเปาะ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-ปอ-ปลา-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-อะ | เป็นคำนาม หมายถึง รูปนูนกลม, เรียกสิ่งที่มีสัณฐานคล้ายคลึงเช่นนั้นว่า กระเปาะ เช่น กระเปาะไข่ กระเปาะดอกไม้; ฐานที่ฝังเพชรพลอยเป็นหัวแหวนหรือตุ้มหู; เก็จ (ดู เก็จ ๒); ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในวิทยาศาสตร์ หมายถึง ส่วนของหลอดแก้วที่พองออก จะกลมหรือรีก็ตาม. | กระเปาะ น. รูปนูนกลม, เรียกสิ่งที่มีสัณฐานคล้ายคลึงเช่นนั้นว่า กระเปาะ เช่น กระเปาะไข่ กระเปาะดอกไม้; ฐานที่ฝังเพชรพลอยเป็นหัวแหวนหรือตุ้มหู; เก็จ (ดู เก็จ ๒); (วิทยา) ส่วนของหลอดแก้วที่พองออก จะกลมหรือรีก็ตาม. |
กระเปาะเหลาะ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-ปอ-ปลา-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-หอ-หีบ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-อะ | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง มีสัณฐานกลมป้อม, เปาะเหลาะ ก็ว่า. | กระเปาะเหลาะ ว. มีสัณฐานกลมป้อม, เปาะเหลาะ ก็ว่า. |
กระเปี้ย มีเครื่องหมายยัติภังค์หน้าคำ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-ปอ-ปลา-สะ-หระ-อี-ไม้-โท-ยอ-ยัก | ใช้เข้าคู่กับคํา กระปั้ว เป็น กระปั้วกระเปี้ย. | กระเปี้ย ใช้เข้าคู่กับคํา กระปั้ว เป็น กระปั้วกระเปี้ย. |
กระแป้ มีเครื่องหมายยัติภังค์หน้าคำ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-แอ-ปอ-ปลา-ไม้-โท | ใช้เข้าคู่กับคํา กระป้อ เป็น กระป้อกระแป้. | กระแป้ ใช้เข้าคู่กับคํา กระป้อ เป็น กระป้อกระแป้. |
กระแปด มีเครื่องหมายยัติภังค์หน้าคำ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-แอ-ปอ-ปลา-ดอ-เด็ก | ใช้เข้าคู่กับคํา กระปอด เป็น กระปอดกระแปด. | กระแปด ใช้เข้าคู่กับคํา กระปอด เป็น กระปอดกระแปด. |
กระโปก เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-โอ-ปอ-ปลา-กอ-ไก่ ความหมายที่ ๑ | เป็นคำนาม หมายถึง ส่วนหนึ่งของอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกของชายหรือสัตว์ตัวผู้. | กระโปก ๑ น. ส่วนหนึ่งของอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกของชายหรือสัตว์ตัวผู้. |
กระโปก เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-โอ-ปอ-ปลา-กอ-ไก่ ความหมายที่ ๒ | เป็นคำนาม หมายถึง เครื่องเกวียนสําหรับยึดเพลา ติดอยู่กับตัวทูบ. | กระโปก ๒ น. เครื่องเกวียนสําหรับยึดเพลา ติดอยู่กับตัวทูบ. |
กระโปรง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-โอ-ปอ-ปลา-รอ-เรือ-งอ-งู | [โปฺรง] เป็นคำนาม หมายถึง ผ้านุ่งผู้หญิงแบบสากล; ฝาครอบเครื่องรถยนต์หรือฝาครอบที่เก็บของข้างหน้าและข้างหลังรถยนต์; กระบุงรูปกลมสูง ปากผายมาก พื้นก้นเป็นสี่เหลี่ยมเล็กสอบลง ลักษณะคล้ายกระโปรงบาน สำหรับขนข้าวเปลือกหรือมะพร้าวเป็นต้น; ภาชนะเย็บด้วยกาบหมากหรือใบไม้ สําหรับใส่ของต่าง ๆ เช่น ราชปุโรหิตก็ให้เอานางนกไส้ใส่กระโปรงขังไว้จนเพลารุ่งเช้า. ในวงเล็บ มาจาก เรื่องนางนพมาศ ฉบับราชบัณฑิตยสภา พ.ศ. ๒๔๗๒; กะโปรง ก็ใช้. | กระโปรง [โปฺรง] น. ผ้านุ่งผู้หญิงแบบสากล; ฝาครอบเครื่องรถยนต์หรือฝาครอบที่เก็บของข้างหน้าและข้างหลังรถยนต์; กระบุงรูปกลมสูง ปากผายมาก พื้นก้นเป็นสี่เหลี่ยมเล็กสอบลง ลักษณะคล้ายกระโปรงบาน สำหรับขนข้าวเปลือกหรือมะพร้าวเป็นต้น; ภาชนะเย็บด้วยกาบหมากหรือใบไม้ สําหรับใส่ของต่าง ๆ เช่น ราชปุโรหิตก็ให้เอานางนกไส้ใส่กระโปรงขังไว้จนเพลารุ่งเช้า. (นพมาศ); กะโปรง ก็ใช้. |
กระโปรงทอง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-โอ-ปอ-ปลา-รอ-เรือ-งอ-งู-ทอ-ทะ-หาน-ออ-อ่าง-งอ-งู | ดู กะทกรก เขียนว่า กอ-ไก่-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-กอ-ไก่-รอ-เรือ-กอ-ไก่ (๒). | กระโปรงทอง ดู กะทกรก (๒). |
กระผม เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ผอ-ผึ้ง-มอ-ม้า | เป็นคำสรรพนาม หมายถึง คําใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย พูดกับผู้ใหญ่, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑. | กระผม ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย พูดกับผู้ใหญ่, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑. |
กระผลาม มีเครื่องหมายยัติภังค์หน้าคำ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ผอ-ผึ้ง-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อา-มอ-ม้า | [ผฺลาม]ใช้เข้าคู่กับคํา กระผลี เป็น กระผลีกระผลาม. | กระผลาม [ผฺลาม] ใช้เข้าคู่กับคํา กระผลี เป็น กระผลีกระผลาม. |
กระผลีกระผลาม เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ผอ-ผึ้ง-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อี-กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ผอ-ผึ้ง-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อา-มอ-ม้า | [ผฺลีผฺลาม] เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง รีบร้อนเกินไปโดยไม่ระมัดระวังหรือไม่ถูกกาลเทศะ. | กระผลีกระผลาม [ผฺลีผฺลาม] ว. รีบร้อนเกินไปโดยไม่ระมัดระวังหรือไม่ถูกกาลเทศะ. |
กระผาน เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ผอ-ผึ้ง-สะ-หระ-อา-นอ-หนู | เป็นคำนาม หมายถึง ตะโพก. ในวงเล็บ มาจาก D.J.B. Pallegoix Dictionnaire, Siamois, Francais-Anglais. | กระผาน น. ตะโพก. (ปาเลกัว). |
กระผีก เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ผอ-ผึ้ง-สะ-หระ-อี-กอ-ไก่ | เป็นคำนาม หมายถึง มาตราตวง มีพิกัดเท่ากับ ๑ ภาค (คือ ๑ ใน ๔) ของกระเพาะ. เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง เล็กน้อย. | กระผีก น. มาตราตวง มีพิกัดเท่ากับ ๑ ภาค (คือ ๑ ใน ๔) ของกระเพาะ. ว. เล็กน้อย. |
กระผีกริ้น เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ผอ-ผึ้ง-สะ-หระ-อี-กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อิ-ไม้-โท-นอ-หนู | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาปาก เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง นิดหน่อย, น้อยมาก, เล็กน้อย. | กระผีกริ้น (ปาก) ว. นิดหน่อย, น้อยมาก, เล็กน้อย. |
กระพรวน เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-พอ-พาน-รอ-เรือ-วอ-แหวน-นอ-หนู | [พฺรวน] เป็นคำนาม หมายถึง โลหะทําเป็นรูปกลมกลวง มีลูกกลิ้งเล็ก ๆ อยู่ข้างในเพื่อให้เกิดเสียง ใช้ผูกคอสัตว์หรือข้อเท้าเป็นต้น, พรวน ลูกพรวน หรือ ลูกกระพรวน ก็ว่า; ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาถิ่นภาคพายัพและภาคอีสาน หมายถึง มะหิ่ง หรือ หมากหิ่ง. | กระพรวน [พฺรวน] น. โลหะทําเป็นรูปกลมกลวง มีลูกกลิ้งเล็ก ๆ อยู่ข้างในเพื่อให้เกิดเสียง ใช้ผูกคอสัตว์หรือข้อเท้าเป็นต้น, พรวน ลูกพรวน หรือ ลูกกระพรวน ก็ว่า; (ถิ่นพายัพ, อีสาน) มะหิ่ง หรือ หมากหิ่ง. |
กระพริ้ม เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-พอ-พาน-รอ-เรือ-สะ-หระ-อิ-ไม้-โท-มอ-ม้า | ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง พริ้มพราย, แฉล้ม, เช่น ดูกระพริ้มริมแดงดังแสงโสม. ในวงเล็บ มาจาก นิราศเดือน ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๖. | กระพริ้ม (กลอน) ว. พริ้มพราย, แฉล้ม, เช่น ดูกระพริ้มริมแดงดังแสงโสม. (นิ. เดือน). |
กระพอก เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-พอ-พาน-ออ-อ่าง-กอ-ไก่ ความหมายที่ ๑ | เป็นคำนาม หมายถึง กล่องสานมีฝาครอบสําหรับใส่อาหาร; หม้อ (มงคลทีปนีแปลร้อย กุมภชาดก); กระบะสําหรับใส่กับข้าว เช่น ร่วมกระพอกจอกจานร้านเรือนเดียว. ในวงเล็บ มาจาก สุภาษิตสอนเด็ก ในสุภาษิต ๓ อย่าง ราชบัณฑิตยสภาสอบทาน พ.ศ. ๒๔๗๒; การเลี้ยงกัน, ที่เลี้ยงกัน. (อะหม พอก ว่า เลี้ยงกัน). | กระพอก ๑ น. กล่องสานมีฝาครอบสําหรับใส่อาหาร; หม้อ (มงคลทีปนีแปลร้อย กุมภชาดก); กระบะสําหรับใส่กับข้าว เช่น ร่วมกระพอกจอกจานร้านเรือนเดียว. (สุ. สอนเด็ก); การเลี้ยงกัน, ที่เลี้ยงกัน. (อะหม พอก ว่า เลี้ยงกัน). |
กระพอก เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-พอ-พาน-ออ-อ่าง-กอ-ไก่ ความหมายที่ ๒ | เป็นคำกริยา หมายถึง พรอก, พูด, เช่น ฟังเสียงกากระพอก บอกข่าวท้าวเสด็จดล. ในวงเล็บ มาจาก ลิลิตพระลอ แบบเรียน. | กระพอก ๒ ก. พรอก, พูด, เช่น ฟังเสียงกากระพอก บอกข่าวท้าวเสด็จดล. (ลอ). |
กระพอกวัว เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-พอ-พาน-ออ-อ่าง-กอ-ไก่-วอ-แหวน-ไม้-หัน-อา-กาด-วอ-แหวน | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อนกชนิดหนึ่ง. ในวงเล็บ มาจาก พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๔๙๓. | กระพอกวัว น. ชื่อนกชนิดหนึ่ง. (พจน. ๒๔๙๓). |
กระพอง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-พอ-พาน-ออ-อ่าง-งอ-งู ความหมายที่ ๑ | เป็นคำนาม หมายถึง ส่วนที่นูนเป็นปุ่ม ๒ ข้างศีรษะช้าง, ตระพอง ตะพอง หรือ กะพอง ก็ว่า. | กระพอง ๑ น. ส่วนที่นูนเป็นปุ่ม ๒ ข้างศีรษะช้าง, ตระพอง ตะพอง หรือ กะพอง ก็ว่า. |
กระพอง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-พอ-พาน-ออ-อ่าง-งอ-งู ความหมายที่ ๒ | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อตัวไม้อันบนที่เป็นราวลูกกรงเรือนหรือเกวียน, กําพอง ก็เรียก. | กระพอง ๒ น. ชื่อตัวไม้อันบนที่เป็นราวลูกกรงเรือนหรือเกวียน, กําพอง ก็เรียก. |
กระพ้อม เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-พอ-พาน-ไม้-โท-ออ-อ่าง-มอ-ม้า | เป็นคำนาม หมายถึง ภาชนะสานขนาดใหญ่สำหรับบรรจุข้าวเปลือกเป็นต้น, พ้อม ก็เรียก; ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาถิ่นภาคอีสาน หมายถึง เครื่องสานชนิดหนึ่ง รูปเหมือนกระบุง แต่เล็กกว่าราวครึ่งหนึ่ง. | กระพ้อม น. ภาชนะสานขนาดใหญ่สำหรับบรรจุข้าวเปลือกเป็นต้น, พ้อม ก็เรียก; (ถิ่นอีสาน) เครื่องสานชนิดหนึ่ง รูปเหมือนกระบุง แต่เล็กกว่าราวครึ่งหนึ่ง. |
กระพัก เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-พอ-พาน-ไม้-หัน-อา-กาด-กอ-ไก่ | เป็นคำนาม หมายถึง โขดหินหรือไหล่เขาที่เป็นขั้น ๆ พอพักได้ เช่น บ้างก็เป็นกระพักกระเพิงกระพังพุ. ในวงเล็บ มาจาก มหาเวสสันดรชาดก ในวงเล็บ แบบเรียน กัณฑ์กุมาร, ตะพัก ก็ว่า. | กระพัก น. โขดหินหรือไหล่เขาที่เป็นขั้น ๆ พอพักได้ เช่น บ้างก็เป็นกระพักกระเพิงกระพังพุ. (ม. ร่ายยาว กุมาร), ตะพัก ก็ว่า. |
กระพัง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-พอ-พาน-ไม้-หัน-อา-กาด-งอ-งู ความหมายที่ ๑ | เป็นคำนาม หมายถึง แอ่ง, บ่อ, หนอง, ตระพัง ตะพัง หรือ สะพัง ก็เรียก. ในวงเล็บ เทียบ ภาษาเขมร ตฺรพําง เขียนว่า ตอ-เต่า-พิน-ทุ-รอ-เรือ-พอ-พาน-นิก-คะ-หิด-สะ-หระ-อา-งอ-งู ว่า บ่อที่เกิดเอง . | กระพัง ๑ น. แอ่ง, บ่อ, หนอง, ตระพัง ตะพัง หรือ สะพัง ก็เรียก. (เทียบ ข. ตฺรพําง ว่า บ่อที่เกิดเอง). |
กระพัง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-พอ-พาน-ไม้-หัน-อา-กาด-งอ-งู ความหมายที่ ๒ | เป็นคำนาม หมายถึง ภาชนะชนิดหนึ่ง สําหรับใส่นํ้าทําพิธีต่าง ๆ ตามลัทธิไสยศาสตร์ เรียกว่า กระพังนํ้า ซึ่งน่าจะมีรูปคล้ายกับหม้อนํ้ามนตร์ของเรา. | กระพัง ๒ น. ภาชนะชนิดหนึ่ง สําหรับใส่นํ้าทําพิธีต่าง ๆ ตามลัทธิไสยศาสตร์ เรียกว่า กระพังนํ้า ซึ่งน่าจะมีรูปคล้ายกับหม้อนํ้ามนตร์ของเรา. |
กระพังเหิร เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-พอ-พาน-ไม้-หัน-อา-กาด-งอ-งู-สะ-หระ-เอ-หอ-หีบ-สะ-หระ-อิ-รอ-เรือ | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อการฟันด้วยขอช้างอย่างหนึ่ง คือฟันให้หยุดอย่างชะงัก. ในวงเล็บ มาจาก ตำราขี่ช้าง ครั้งแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๕. | กระพังเหิร น. ชื่อการฟันด้วยขอช้างอย่างหนึ่ง คือฟันให้หยุดอย่างชะงัก. (ตําราขี่ช้าง). |
กระพังโหม เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-พอ-พาน-ไม้-หัน-อา-กาด-งอ-งู-สะ-หระ-โอ-หอ-หีบ-มอ-ม้า | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อไม้เถาชนิด Oxystelma secamone (L.) Karst. ในวงศ์ Asclepiadaceae ทั้งต้นมียางขาว ใบแคบเรียวแหลม ออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน มีนวล ดอกสีม่วงแกมชมพู ใช้ทํายาได้ ใบและเถาใช้เป็นอาหาร, จมูกปลาหลด จมูกปลาไหล หรือ ผักไหม ก็เรียก. | กระพังโหม น. ชื่อไม้เถาชนิด Oxystelma secamone (L.) Karst. ในวงศ์ Asclepiadaceae ทั้งต้นมียางขาว ใบแคบเรียวแหลม ออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน มีนวล ดอกสีม่วงแกมชมพู ใช้ทํายาได้ ใบและเถาใช้เป็นอาหาร, จมูกปลาหลด จมูกปลาไหล หรือ ผักไหม ก็เรียก. |
กระพัด เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-พอ-พาน-ไม้-หัน-อา-กาด-ดอ-เด็ก | เป็นคำนาม หมายถึง เชือกหรือลวดหนังตีเป็นเกลียวหุ้มผ้าแดง ปรกติคล้องผูกอยู่รอบคอช้าง เมื่อตั้งสัปคับหรือกูบอย่างใดอย่างหนึ่ง ใช้ปลายทั้ง ๒ ข้างผูกสัปคับหรือกูบเพื่อรั้งมิให้เลื่อนไปทางท้ายช้างขณะเดินขึ้นที่ชัน, เขียนเป็น กระพัตร ก็มี เช่น และกระพัตรรัตคนควร. ในวงเล็บ มาจาก คำฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้างของเก่า ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๗. เป็นคำกริยา หมายถึง ผูก, คาด, ล้อม, เช่น เหตุกระพัดรัดตาด้วยไฟราค. ในวงเล็บ มาจาก มหาเวสสันดรชาดก ในวงเล็บ แบบเรียน กัณฑ์ชูชก. | กระพัด น. เชือกหรือลวดหนังตีเป็นเกลียวหุ้มผ้าแดง ปรกติคล้องผูกอยู่รอบคอช้าง เมื่อตั้งสัปคับหรือกูบอย่างใดอย่างหนึ่ง ใช้ปลายทั้ง ๒ ข้างผูกสัปคับหรือกูบเพื่อรั้งมิให้เลื่อนไปทางท้ายช้างขณะเดินขึ้นที่ชัน, เขียนเป็น กระพัตร ก็มี เช่น และกระพัตรรัตคนควร. (ดุษฎีสังเวย). ก. ผูก, คาด, ล้อม, เช่น เหตุกระพัดรัดตาด้วยไฟราค. (ม. ร่ายยาว ชูชก). |
กระพัดแม่ม่าย เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-พอ-พาน-ไม้-หัน-อา-กาด-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-แอ-มอ-ม้า-ไม้-เอก-มอ-ม้า-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา-ยอ-ยัก | ดู กระดูกกบ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-อู-กอ-ไก่-กอ-ไก่-บอ-ไบ-ไม้. | กระพัดแม่ม่าย ดู กระดูกกบ. |
กระพัตร เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-พอ-พาน-ไม้-หัน-อา-กาด-ตอ-เต่า-รอ-เรือ | [พัด] เป็นคำนาม หมายถึง เชือกหรือลวดหนังตีเป็นเกลียวหุ้มผ้าแดง ปรกติคล้องผูกอยู่รอบคอช้าง เมื่อตั้งสัปคับ หรือกูบอย่างใดอย่างหนึ่ง ใช้ปลายทั้ง ๒ ข้างผูกสัปคับหรือกูบเพื่อรั้งมิให้เลื่อนไปทางท้ายช้างขณะเดินขึ้นที่ชัน เช่น และกระพัตรรัตคนควร. ในวงเล็บ มาจาก คำฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้างของเก่า ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๗, กระพัด ก็ว่า. | กระพัตร [พัด] น. เชือกหรือลวดหนังตีเป็นเกลียวหุ้มผ้าแดง ปรกติคล้องผูกอยู่รอบคอช้าง เมื่อตั้งสัปคับ หรือกูบอย่างใดอย่างหนึ่ง ใช้ปลายทั้ง ๒ ข้างผูกสัปคับหรือกูบเพื่อรั้งมิให้เลื่อนไปทางท้ายช้างขณะเดินขึ้นที่ชัน เช่น และกระพัตรรัตคนควร. (ดุษฎีสังเวย), กระพัด ก็ว่า. |
กระพัน เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-พอ-พาน-ไม้-หัน-อา-กาด-นอ-หนู | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ทนทานต่อศัสตราวุธ, มักใช้ควบกับ ชาตรี เป็น คงกระพันชาตรี. ในวงเล็บ เทียบ ภาษามลายู กะบัล เขียนว่า กอ-ไก่-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-ไม้-หัน-อา-กาด-ลอ-ลิง. | กระพัน ว. ทนทานต่อศัสตราวุธ, มักใช้ควบกับ ชาตรี เป็น คงกระพันชาตรี. (เทียบมลายู กะบัล). |
กระพั่น เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-พอ-พาน-ไม้-หัน-อา-กาด-ไม้-เอก-นอ-หนู | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาถิ่นภาคอีสาน เป็นคำนาม หมายถึง เครื่องไม้ในจําพวกเครื่องทอผ้า สําหรับม้วนผ้า. | กระพั่น (ถิ่นอีสาน) น. เครื่องไม้ในจําพวกเครื่องทอผ้า สําหรับม้วนผ้า. |
กระพา เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-พอ-พาน-สะ-หระ-อา | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาถิ่นภาคอีสาน เป็นคำนาม หมายถึง เครื่องสานชนิดหนึ่ง สําหรับใส่สิ่งของบรรทุกไว้ที่หลังคน มีสายรัดไขว้หน้าอก ใช้อย่างต่างใส่วัว แต่มีอันเดียว. | กระพา (ถิ่นอีสาน) น. เครื่องสานชนิดหนึ่ง สําหรับใส่สิ่งของบรรทุกไว้ที่หลังคน มีสายรัดไขว้หน้าอก ใช้อย่างต่างใส่วัว แต่มีอันเดียว. |
กระพาก เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-พอ-พาน-สะ-หระ-อา-กอ-ไก่ | เป็นคำนาม หมายถึง ปลาตะพาก. ในวงเล็บ มาจาก เสด็จประพาสไทรโยคและจันทบุรี พระราชนิพนธ์ ในรัชกาลที่ ๕ ร.ศ. ๑๓๑. ในวงเล็บ ดู ตะพาก เขียนว่า ตอ-เต่า-สะ-หระ-อะ-พอ-พาน-สะ-หระ-อา-กอ-ไก่. | กระพาก น. ปลาตะพาก. (ประพาสไทรโยค). (ดู ตะพาก). |
กระพี้ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-พอ-พาน-สะ-หระ-อี-ไม้-โท | เป็นคำนาม หมายถึง ส่วนของเนื้อไม้ที่หุ้มแก่น, เนื้อไม้ที่อยู่ระหว่างเปลือกกับแก่น มีลักษณะอ่อนและยุ่ยง่าย. เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง โดยปริยายหมายความว่า ไม่เป็นแก่นสาร. | กระพี้ น. ส่วนของเนื้อไม้ที่หุ้มแก่น, เนื้อไม้ที่อยู่ระหว่างเปลือกกับแก่น มีลักษณะอ่อนและยุ่ยง่าย. ว. โดยปริยายหมายความว่า ไม่เป็นแก่นสาร. |
กระพี้เขาควาย เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-พอ-พาน-สะ-หระ-อี-ไม้-โท-สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-สะ-หระ-อา-คอ-ควาย-วอ-แหวน-สะ-หระ-อา-ยอ-ยัก | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงใหญ่ชนิด Dalbergia cultrata Grah. ex Benth. ในวงศ์ Leguminosae ขึ้นตามป่าเบญจพรรณและป่าทุ่งทั่วไป เว้นแต่ปักษ์ใต้ แก่นสีดําแข็งและหนักมาก ใช้ทําเครื่องเรือน เพลาเกวียน และด้ามเครื่องมือต่าง ๆ. | กระพี้เขาควาย น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงใหญ่ชนิด Dalbergia cultrata Grah. ex Benth. ในวงศ์ Leguminosae ขึ้นตามป่าเบญจพรรณและป่าทุ่งทั่วไป เว้นแต่ปักษ์ใต้ แก่นสีดําแข็งและหนักมาก ใช้ทําเครื่องเรือน เพลาเกวียน และด้ามเครื่องมือต่าง ๆ. |
กระพี้นางนวล เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-พอ-พาน-สะ-หระ-อี-ไม้-โท-นอ-หนู-สะ-หระ-อา-งอ-งู-นอ-หนู-วอ-แหวน-ลอ-ลิง | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อไม้ต้นชนิด Dalbergia cana Grah. ex Kurz ในวงศ์ Leguminosae ใบเป็นใบประกอบ ใบย่อยรูปไข่ ปลายเรียวแหลม ดอกรูปดอกถั่ว กลีบเลี้ยงสีม่วงดำ กลีบดอกสีขาวอมเหลือง ฝักแบน มีขน มี ๒ เมล็ด, จักจั่น ก็เรียก. | กระพี้นางนวล น. ชื่อไม้ต้นชนิด Dalbergia cana Grah. ex Kurz ในวงศ์ Leguminosae ใบเป็นใบประกอบ ใบย่อยรูปไข่ ปลายเรียวแหลม ดอกรูปดอกถั่ว กลีบเลี้ยงสีม่วงดำ กลีบดอกสีขาวอมเหลือง ฝักแบน มีขน มี ๒ เมล็ด, จักจั่น ก็เรียก. |
กระพือ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-พอ-พาน-สะ-หระ-อือ-ออ-อ่าง | เป็นคำกริยา หมายถึง เอาสิ่งที่เป็นผืนแผ่นบาง ๆ โบกขึ้นลง, พัดหรือโบกด้วยอาการเช่นนั้น, โดยปริยายหมายถึง แพร่กระจาย เช่น ข่าวนี้กระพือไปอย่างรวดเร็ว. | กระพือ ก. เอาสิ่งที่เป็นผืนแผ่นบาง ๆ โบกขึ้นลง, พัดหรือโบกด้วยอาการเช่นนั้น, โดยปริยายหมายถึง แพร่กระจาย เช่น ข่าวนี้กระพือไปอย่างรวดเร็ว. |
กระพุ้ง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-พอ-พาน-สะ-หระ-อุ-ไม้-โท-งอ-งู | เป็นคำนาม หมายถึง ส่วนที่ป่องออก เช่น กระพุ้งแก้ม กระพุ้งก้น. | กระพุ้ง น. ส่วนที่ป่องออก เช่น กระพุ้งแก้ม กระพุ้งก้น. |
กระพุ่ม เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-พอ-พาน-สะ-หระ-อุ-ไม้-เอก-มอ-ม้า | เป็นคำนาม หมายถึง ลักษณะของสิ่งที่เป็นพุ่มยอดแหลมอย่างดอกบัวตูม, ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง หมายถึง พุ่ม เช่น ดอกพวงเผล็ดช่อ กระพุ่มห่อเกสร สลอนบุษบาบาน. ในวงเล็บ มาจาก ลิลิตพระลอ แบบเรียน, สองถันกระพุ่มกาญ จนแมนมาเลขา. ในวงเล็บ มาจาก อนิรุทธ์คำฉันท์ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ. | กระพุ่ม น. ลักษณะของสิ่งที่เป็นพุ่มยอดแหลมอย่างดอกบัวตูม, (กลอน) พุ่ม เช่น ดอกพวงเผล็ดช่อ กระพุ่มห่อเกสร สลอนบุษบาบาน. (ลอ), สองถันกระพุ่มกาญ จนแมนมาเลขา. (อนิรุทธ์). |
กระพุ่มมือ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-พอ-พาน-สะ-หระ-อุ-ไม้-เอก-มอ-ม้า-มอ-ม้า-สะ-หระ-อือ-ออ-อ่าง | เป็นคำกริยา หมายถึง พนมมือ. เป็นคำนาม หมายถึง มือที่พนม. | กระพุ่มมือ ก. พนมมือ. น. มือที่พนม. |
กระเพลิด เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-พอ-พาน-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อิ-ดอ-เด็ก | [เพฺลิด] ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ เป็นคำกริยา หมายถึง ตะเพิด. ในวงเล็บ มาจาก อักขราภิธานศรับท์ ของ หมอปรัดเล. | กระเพลิด [เพฺลิด] (โบ) ก. ตะเพิด. (ปรัดเล). |
กระเพลิศ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-พอ-พาน-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อิ-สอ-สา-ลา | [เพฺลิด] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ตะพืด เช่น พลพายกระเพลิศพ้าง พายพัด. ในวงเล็บ มาจาก โคลงดั้นเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย, พระยาตรัง แต่ง ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๗. | กระเพลิศ [เพฺลิด] (กลอน) ว. ตะพืด เช่น พลพายกระเพลิศพ้าง พายพัด. (เฉลิมพระเกียรติ ร. ๒). |
กระเพาะ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-พอ-พาน-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-อะ | เป็นคำนาม หมายถึง อวัยวะภายในของคนและสัตว์ รูปเป็นถุง คือ กระเพาะอาหารและกระเพาะปัสสาวะ. ในวงเล็บ เทียบ ภาษาเขมร กฺรพะ เขียนว่า กอ-ไก่-พิน-ทุ-รอ-เรือ-พอ-พาน-สะ-หระ-อะ; ภาชนะสานสําหรับตวงข้าว มีอัตราจุ ๔ กระผีก. | กระเพาะ น. อวัยวะภายในของคนและสัตว์ รูปเป็นถุง คือ กระเพาะอาหารและกระเพาะปัสสาวะ. (เทียบ ข. กฺรพะ); ภาชนะสานสําหรับตวงข้าว มีอัตราจุ ๔ กระผีก. |
กระเพาะปลา เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-พอ-พาน-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-อะ-ปอ-ปลา-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อา | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่ออาหารคาวแบบจีนชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยถุงลมปลา เนื้อไก่ เลือดหมู เป็นต้น. | กระเพาะปลา น. ชื่ออาหารคาวแบบจีนชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยถุงลมปลา เนื้อไก่ เลือดหมู เป็นต้น. |
กระเพิง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-พอ-พาน-สะ-หระ-อิ-งอ-งู | เป็นคำนาม หมายถึง เพิง, สิ่งที่ยื่นเป็นเพิง, เช่น บ้างก็เป็นกระพักกระเพิงกระพังพุ. ในวงเล็บ มาจาก มหาเวสสันดรชาดก ในวงเล็บ แบบเรียน กัณฑ์กุมาร. | กระเพิง น. เพิง, สิ่งที่ยื่นเป็นเพิง, เช่น บ้างก็เป็นกระพักกระเพิงกระพังพุ. (ม. ร่ายยาว กุมาร). |
กระเพื่อม เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-พอ-พาน-สะ-หระ-อือ-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-มอ-ม้า | เป็นคำกริยา หมายถึง อาการของสิ่งเหลวหรือนุ่มที่ไหวขึ้น ๆ ลง ๆ เช่น นํ้ากระเพื่อม. | กระเพื่อม ก. อาการของสิ่งเหลวหรือนุ่มที่ไหวขึ้น ๆ ลง ๆ เช่น นํ้ากระเพื่อม. |
กระแพง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-แอ-พอ-พาน-งอ-งู | ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ และเป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำนาม หมายถึง กําแพง เช่น ทิศออกกระแพงแก้วกั้น. ในวงเล็บ มาจาก ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน ฉบับราชบัณฑิตยสภา พ.ศ. ๒๔๗๒. | กระแพง (โบ; กลอน) น. กําแพง เช่น ทิศออกกระแพงแก้วกั้น. (จารึกวัดโพธิ์). |
กระแพ้ง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-แอ-พอ-พาน-ไม้-โท-งอ-งู | เป็นคำนาม หมายถึง ไม้ไผ่ที่ปล้องข้างในเป็นโรค มีสีดํา ๆ กลิ่นเหม็น, กําแพ้ง ก็ว่า. | กระแพ้ง น. ไม้ไผ่ที่ปล้องข้างในเป็นโรค มีสีดํา ๆ กลิ่นเหม็น, กําแพ้ง ก็ว่า. |
กระฟัดกระเฟียด เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ฟอ-ฟัน-ไม้-หัน-อา-กาด-ดอ-เด็ก-กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-ฟอ-ฟัน-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก-ดอ-เด็ก | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง อาการที่โกรธหรือแสร้งทําโกรธ. | กระฟัดกระเฟียด ว. อาการที่โกรธหรือแสร้งทําโกรธ. |
กระฟาย มีเครื่องหมายยัติภังค์หน้าคำ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ฟอ-ฟัน-สะ-หระ-อา-ยอ-ยัก | ใช้เข้าคู่กับคํา กระฟูม เป็น กระฟูมกระฟาย. | กระฟาย ใช้เข้าคู่กับคํา กระฟูม เป็น กระฟูมกระฟาย. |
กระฟูมกระฟาย เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ฟอ-ฟัน-สะ-หระ-อู-มอ-ม้า-กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ฟอ-ฟัน-สะ-หระ-อา-ยอ-ยัก | เป็นคำกริยา หมายถึง ฟูมฟาย. | กระฟูมกระฟาย ก. ฟูมฟาย. |
กระเฟียด มีเครื่องหมายยัติภังค์หน้าคำ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-ฟอ-ฟัน-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก-ดอ-เด็ก | ใช้เข้าคู่กับคํา กระฟัด เป็น กระฟัดกระเฟียด. | กระเฟียด ใช้เข้าคู่กับคํา กระฟัด เป็น กระฟัดกระเฟียด. |
กระมล เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-มอ-ม้า-ลอ-ลิง | [มน] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง แผลงมาจาก กระลึง เป็นคำนาม หมายถึง ดอกบัว, หัวใจ. | กระมล [มน] (กลอน; แผลงมาจาก กมล) น. ดอกบัว, หัวใจ. |
กระมอบ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-มอ-ม้า-ออ-อ่าง-บอ-ไบ-ไม้ | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อไม้ต้นขนาดย่อมชนิด Gardenia obtusifolia Roxb. ในวงศ์ Rubiaceae คล้ายกระเบียน (๒) ซึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกัน แต่ใบคายและเล็กกว่า ปลายใบป้าน ยอดอ่อนมียางเหนียว ผลย่อมกว่า เนื้อไม้ขาวละเอียด ใช้แกะสลักได้. | กระมอบ น. ชื่อไม้ต้นขนาดย่อมชนิด Gardenia obtusifolia Roxb. ในวงศ์ Rubiaceae คล้ายกระเบียน (๒) ซึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกัน แต่ใบคายและเล็กกว่า ปลายใบป้าน ยอดอ่อนมียางเหนียว ผลย่อมกว่า เนื้อไม้ขาวละเอียด ใช้แกะสลักได้. |
กระมอมกระแมม เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-มอ-ม้า-ออ-อ่าง-มอ-ม้า-กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-แอ-มอ-ม้า-มอ-ม้า | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง มอมแมมมาก, เลอะเทอะเปรอะเปื้อน. | กระมอมกระแมม ว. มอมแมมมาก, เลอะเทอะเปรอะเปื้อน. |
กระมัง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-มอ-ม้า-ไม้-หัน-อา-กาด-งอ-งู ความหมายที่ ๑ | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง คําแสดงความไม่แน่ใจ, คําแสดงความคาดคะเน, (ใช้ไว้ท้ายประโยค) เช่น เป็นเช่นนี้กระมัง, ในบทกลอนใช้ว่า กระหมั่ง ก็มี. | กระมัง ๑ ว. คําแสดงความไม่แน่ใจ, คําแสดงความคาดคะเน, (ใช้ไว้ท้ายประโยค) เช่น เป็นเช่นนี้กระมัง, ในบทกลอนใช้ว่า กระหมั่ง ก็มี. |
กระมัง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-มอ-ม้า-ไม้-หัน-อา-กาด-งอ-งู ความหมายที่ ๒ | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Puntioplites proctozysron ในวงศ์ Cyprinidae รูปร่างคล้ายปลาตะเพียน มีกระดูกครีบก้นแข็งแรงและเป็นหยัก ครีบหลังมีขนาดใหญ่ พื้นลําตัวเป็นสีขาว, เหลี่ยม ก็เรียก. | กระมัง ๒ น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Puntioplites proctozysron ในวงศ์ Cyprinidae รูปร่างคล้ายปลาตะเพียน มีกระดูกครีบก้นแข็งแรงและเป็นหยัก ครีบหลังมีขนาดใหญ่ พื้นลําตัวเป็นสีขาว, เหลี่ยม ก็เรียก. |
กระมัน เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-มอ-ม้า-ไม้-หัน-อา-กาด-นอ-หนู | ดู กระโห้ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-โอ-หอ-หีบ-ไม้-โท. | กระมัน ดู กระโห้. |
กระมิดกระเมี้ยน เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-มอ-ม้า-สะ-หระ-อิ-ดอ-เด็ก-กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-มอ-ม้า-สะ-หระ-อี-ไม้-โท-ยอ-ยัก-นอ-หนู | เป็นคำกริยา หมายถึง แสดงอาการซ่อนอายลับ ๆ ล่อ ๆ, มิดเมี้ยน ก็ว่า. | กระมิดกระเมี้ยน ก. แสดงอาการซ่อนอายลับ ๆ ล่อ ๆ, มิดเมี้ยน ก็ว่า. |
กระมึน เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-มอ-ม้า-สะ-หระ-อึ-นอ-หนู | ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง สูงคํ้าฟ้า, สูงเด่น, เช่น กายาศีรษะพลัดพราย หัวขาดเด็ดตาย จรลู่กระมึนเหมือนเขา. (เสือโค, บางฉบับเป็น ตระหมื้น), ตระมึน ก็ใช้, โดยมากเป็น ทะมื่น. | กระมึน (โบ) ว. สูงคํ้าฟ้า, สูงเด่น, เช่น กายาศีรษะพลัดพราย หัวขาดเด็ดตาย จรลู่กระมึนเหมือนเขา. (เสือโค, บางฉบับเป็น ตระหมื้น), ตระมึน ก็ใช้, โดยมากเป็น ทะมื่น. |
กระมุท เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-มอ-ม้า-สะ-หระ-อุ-ทอ-ทะ-หาน | เป็นคำนาม หมายถึง บัว, กมุท ก็ว่า. (แผลงมาจาก กุมุท). | กระมุท น. บัว, กมุท ก็ว่า. (แผลงมาจาก กุมุท). |
กระเมาะ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-มอ-ม้า-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-อะ | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อปลากระบอกขนาดเล็ก. ในวงเล็บ ดู กระบอก เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-ออ-อ่าง-กอ-ไก่ ความหมายที่ ๒. | กระเมาะ น. ชื่อปลากระบอกขนาดเล็ก. (ดู กระบอก ๒). |
กระเมี้ยน มีเครื่องหมายยัติภังค์หน้าคำ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-มอ-ม้า-สะ-หระ-อี-ไม้-โท-ยอ-ยัก-นอ-หนู | ใช้เข้าคู่กับคํา กระมิด เป็น กระมิดกระเมี้ยน. | กระเมี้ยน ใช้เข้าคู่กับคํา กระมิด เป็น กระมิดกระเมี้ยน. |
กระแมม มีเครื่องหมายยัติภังค์หน้าคำ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-แอ-มอ-ม้า-มอ-ม้า | ใช้เข้าคู่กับคํา กระมอม เป็น กระมอมกระแมม. | กระแมม ใช้เข้าคู่กับคํา กระมอม เป็น กระมอมกระแมม. |
กระย่อง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ยอ-ยัก-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-งอ-งู | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาถิ่นภาคอีสาน เป็นคำนาม หมายถึง เครื่องสานชนิดหนึ่ง รูปกลมคล้ายโตก, ถ้าใหญ่ใช้เป็นสํารับ ถ้าเล็กใช้เป็นเครื่องใส่ข้าวตอกดอกไม้บูชาตามวัด. | กระย่อง (ถิ่นอีสาน) น. เครื่องสานชนิดหนึ่ง รูปกลมคล้ายโตก, ถ้าใหญ่ใช้เป็นสํารับ ถ้าเล็กใช้เป็นเครื่องใส่ข้าวตอกดอกไม้บูชาตามวัด. |
กระย่อง มีเครื่องหมายยัติภังค์หน้าคำ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ยอ-ยัก-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-งอ-งู | ใช้เข้าคู่กับคํา กระยิ้ม เป็น กระยิ้มกระย่อง. | กระย่อง ใช้เข้าคู่กับคํา กระยิ้ม เป็น กระยิ้มกระย่อง. |
กระย่องกระแย่ง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ยอ-ยัก-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-งอ-งู-กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-แอ-ยอ-ยัก-ไม้-เอก-งอ-งู | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง อาการที่ร่างกายไม่เข็งแรง ทำให้เดินหรือเคลื่อนไหวไม่ถนัด, กระง่องกระแง่ง หรือ ง่องแง่ง ก็ว่า. | กระย่องกระแย่ง ว. อาการที่ร่างกายไม่เข็งแรง ทำให้เดินหรือเคลื่อนไหวไม่ถนัด, กระง่องกระแง่ง หรือ ง่องแง่ง ก็ว่า. |
กระย่อน เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ยอ-ยัก-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-นอ-หนู | เป็นคำกริยา หมายถึง ขย้อน คือ อาการขยับขึ้นขยับลง, กระหย่อน ก็ใช้; ยวบยาบ, แกว่ง เช่น ลมไกวกิ่งกลฟ้อน ก็กระย่อนอยู่ยานโยน. ในวงเล็บ มาจาก สมุทรโฆษคำฉันท์ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๘; ขยับ เช่น ยกค้อนกระย่อนดูบริพาร. ในวงเล็บ มาจาก สมุทรโฆษคำฉันท์ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๘. | กระย่อน ก. ขย้อน คือ อาการขยับขึ้นขยับลง, กระหย่อน ก็ใช้; ยวบยาบ, แกว่ง เช่น ลมไกวกิ่งกลฟ้อน ก็กระย่อนอยู่ยานโยน. (สมุทรโฆษ); ขยับ เช่น ยกค้อนกระย่อนดูบริพาร. (สมุทรโฆษ). |
กระย่อม เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ยอ-ยัก-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-มอ-ม้า | ดู ระย่อม เขียนว่า รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ยอ-ยัก-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-มอ-ม้า. | กระย่อม ดู ระย่อม. |
กระยา เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา | เป็นคำนาม หมายถึง เครื่อง, สิ่งของ, เครื่องกิน, เช่น เทียนธูปแลประทีปชวาลา เครื่องโภชนกระยา สังเวยประดับทุกพรรณ. (ดุษฎีสังเวยกล่อมช้างของเก่า ครั้งกรุงเก่า), เขียนเป็น กรยา ก็มี เช่น พระไพรดมานโฉม นุบพิตรแลงผอง มนตรอัญสดุดิยฮอง กรยานุถกลทาบ. (ดุษฎีสังเวยกล่อมช้างของเก่า ขุนเทพกะวีแต่ง). | กระยา น. เครื่อง, สิ่งของ, เครื่องกิน, เช่น เทียนธูปแลประทีปชวาลา เครื่องโภชนกระยา สังเวยประดับทุกพรรณ. (ดุษฎีสังเวยกล่อมช้างของเก่า ครั้งกรุงเก่า), เขียนเป็น กรยา ก็มี เช่น พระไพรดมานโฉม นุบพิตรแลงผอง มนตรอัญสดุดิยฮอง กรยานุถกลทาบ. (ดุษฎีสังเวยกล่อมช้างของเก่า ขุนเทพกะวีแต่ง). |
กระยาคชวาง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-คอ-ควาย-ชอ-ช้าง-วอ-แหวน-สะ-หระ-อา-งอ-งู | [คดชะวาง] เป็นคำนาม หมายถึง ข้าวสําหรับบําบวงเชือกบาศ เป็นพิธีของพระหมอเฒ่าในการรับช้างเผือก. | กระยาคชวาง [คดชะวาง] น. ข้าวสําหรับบําบวงเชือกบาศ เป็นพิธีของพระหมอเฒ่าในการรับช้างเผือก. |
กระยาดอก, กระยาดอกเบี้ย กระยาดอก เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-ดอ-เด็ก-ออ-อ่าง-กอ-ไก่ กระยาดอกเบี้ย เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-ดอ-เด็ก-ออ-อ่าง-กอ-ไก่-สะ-หระ-เอ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อี-ไม้-โท-ยอ-ยัก | ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ เป็นคำนาม หมายถึง สิ่งที่ส่งชําระแทนดอกเบี้ย เช่น กู้เงินเขามาแล้ว มอบที่นาให้ทําหรือมอบบุตรภริยาให้รับใช้การงาน. | กระยาดอก, กระยาดอกเบี้ย (โบ) น. สิ่งที่ส่งชําระแทนดอกเบี้ย เช่น กู้เงินเขามาแล้ว มอบที่นาให้ทําหรือมอบบุตรภริยาให้รับใช้การงาน. |
กระยาทาน เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อา-นอ-หนู | เป็นคำนาม หมายถึง เครื่องบริจาค. ในวงเล็บ มาจาก ประชุมจารึกสยาม ภาคที่ จารึกสุโขทัย, ศาสตราจารย์ ยอช เซเดส์ ชำระและแปล ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๗. | กระยาทาน น. เครื่องบริจาค. (จารึกสยาม). |
กระยาทิพย์ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อิ-พอ-พาน-ยอ-ยัก-ทัน-ทะ-คาด | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อขนมอย่างหนึ่ง ปรุงด้วยเครื่องกวนมีนํ้าผึ้ง นํ้าอ้อย นํ้านม ถั่ว งา เป็นต้น นิยมใช้หญิงพรหมจารีเป็นผู้กวน มักทําในพิธีสารท เรียกว่า ข้าวกระยาทิพย์, ข้าวทิพย์ ก็เรียก. | กระยาทิพย์ น. ชื่อขนมอย่างหนึ่ง ปรุงด้วยเครื่องกวนมีนํ้าผึ้ง นํ้าอ้อย นํ้านม ถั่ว งา เป็นต้น นิยมใช้หญิงพรหมจารีเป็นผู้กวน มักทําในพิธีสารท เรียกว่า ข้าวกระยาทิพย์, ข้าวทิพย์ ก็เรียก. |
กระยาบวช เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-บอ-ไบ-ไม้-วอ-แหวน-ชอ-ช้าง | เป็นคำนาม หมายถึง เครื่องกินที่ไม่มีของสดคาว. | กระยาบวช น. เครื่องกินที่ไม่มีของสดคาว. |
กระยาเบี้ย เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-เอ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อี-ไม้-โท-ยอ-ยัก | ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ เป็นคำนาม หมายถึง เบี้ยเงินค่าตัวทาส และเงินกู้. | กระยาเบี้ย (โบ) น. เบี้ยเงินค่าตัวทาส และเงินกู้. |
กระยารงค์ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-รอ-เรือ-งอ-งู-คอ-ควาย-ทัน-ทะ-คาด | เป็นคำนาม หมายถึง สีสําหรับวาดเขียน. | กระยารงค์ น. สีสําหรับวาดเขียน. |
กระยาเลย เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-เอ-ลอ-ลิง-ยอ-ยัก | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ต่าง ๆ, ปะปนกัน, (ใช้แก่ต้นไม้มีแก่น แต่ไม่รวมไม้สัก). | กระยาเลย ว. ต่าง ๆ, ปะปนกัน, (ใช้แก่ต้นไม้มีแก่น แต่ไม่รวมไม้สัก). |
กระยาสนาน เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-สอ-เสือ-นอ-หนู-สะ-หระ-อา-นอ-หนู | ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในราชาศัพท์ เป็นคำนาม หมายถึง เครื่องสรง. | กระยาสนาน (ราชา) น. เครื่องสรง. |
กระยาสังเวย เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-สอ-เสือ-ไม้-หัน-อา-กาด-งอ-งู-สะ-หระ-เอ-วอ-แหวน-ยอ-ยัก | เป็นคำนาม หมายถึง เครื่องเซ่น. | กระยาสังเวย น. เครื่องเซ่น. |
กระยาสังแวง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-สอ-เสือ-ไม้-หัน-อา-กาด-งอ-งู-สะ-หระ-แอ-วอ-แหวน-งอ-งู | เป็นคำนาม หมายถึง ข้าวเภาในพิธีรับช้างเผือก. | กระยาสังแวง น. ข้าวเภาในพิธีรับช้างเผือก. |
กระยาสารท เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-สอ-เสือ-สะ-หระ-อา-รอ-เรือ-ทอ-ทะ-หาน | [สาด] เป็นคำนาม หมายถึง ขนมทําด้วยถั่วงาและข้าวเม่าข้าวตอกกวนกับนํ้าตาล แต่เดิมนิยมทําเฉพาะในเทศกาลสารท. | กระยาสารท [สาด] น. ขนมทําด้วยถั่วงาและข้าวเม่าข้าวตอกกวนกับนํ้าตาล แต่เดิมนิยมทําเฉพาะในเทศกาลสารท. |
กระยาเสวย เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-เอ-สอ-เสือ-วอ-แหวน-ยอ-ยัก | ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในราชาศัพท์ เป็นคำนาม หมายถึง เครื่องเสวย. | กระยาเสวย (ราชา) น. เครื่องเสวย. |
กระยาหาร เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-หอ-หีบ-สะ-หระ-อา-รอ-เรือ | เป็นคำนาม หมายถึง เครื่องกินมีข้าวเป็นต้น. | กระยาหาร น. เครื่องกินมีข้าวเป็นต้น. |
กระยาง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-งอ-งู ความหมายที่ ๑ | เป็นคำนาม หมายถึง ขาหยั่ง เช่น อ้ายเหล่าเที่ยววิด พบหนองป้องปิด ทำเปนเชิงราง เอาไม้สามอัน ปักไว้เปนกระยาง แขวนโพงตรงกลาง สาดนํ้าเอาปลา. (คำพากย์เรื่องสุบิน), เขียนเป็น กระหยาง ก็มี เช่น ปักไว้เปนกระหยาง. (สุบินคำพากย์). | กระยาง ๑ น. ขาหยั่ง เช่น อ้ายเหล่าเที่ยววิด พบหนองป้องปิด ทำเปนเชิงราง เอาไม้สามอัน ปักไว้เปนกระยาง แขวนโพงตรงกลาง สาดนํ้าเอาปลา. (คำพากย์เรื่องสุบิน), เขียนเป็น กระหยาง ก็มี เช่น ปักไว้เปนกระหยาง. (สุบินคำพากย์). |
กระยาง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-งอ-งู ความหมายที่ ๒ | เป็นคำนาม หมายถึง นกยาง. ในวงเล็บ ดู ยาง เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-งอ-งู ความหมายที่ ๑. | กระยาง ๒ น. นกยาง. (ดู ยาง ๑). |
กระยาจก เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-จอ-จาน-กอ-ไก่ | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาปาก เป็นคำนาม หมายถึง ยาจก, คนขอทาน, เช่น ตัวอ้ายพราหมณ์เถ้ากระยาจก. ในวงเล็บ มาจาก บทละครครั้งกรุงเก่า เรื่องมโนห์รา ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ. (กระ + ป. ยาจก). | กระยาจก (ปาก) น. ยาจก, คนขอทาน, เช่น ตัวอ้ายพราหมณ์เถ้ากระยาจก. (มโนห์รา). (กระ + ป. ยาจก). |
กระยาด มีเครื่องหมายยัติภังค์หน้าคำ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-ดอ-เด็ก | ใช้เข้าคู่กับคํา กระยืด เป็น กระยืดกระยาด. | กระยาด ใช้เข้าคู่กับคํา กระยืด เป็น กระยืดกระยาด. |
กระยาหงัน เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-หอ-หีบ-งอ-งู-ไม้-หัน-อา-กาด-นอ-หนู | เป็นคำนาม หมายถึง วิมาน, สวรรค์ชั้นฟ้า, เช่น อวยชัยให้พรแล้วเทวัญ กลับคืนกระยาหงันชั้นฟ้า. ในวงเล็บ มาจาก อิเหนา พระราชนิพนธ์ ในรัชกาลที่ ๒ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๔ ในวงเล็บ มาจากภาษามลายู กะยางัน เขียนว่า กอ-ไก่-สะ-หระ-อะ-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-งอ-งู-ไม้-หัน-อา-กาด-นอ-หนู ว่า สวรรค์, ที่อยู่ของเทวดา . | กระยาหงัน น. วิมาน, สวรรค์ชั้นฟ้า, เช่น อวยชัยให้พรแล้วเทวัญ กลับคืนกระยาหงันชั้นฟ้า. (อิเหนา). (ม. กะยางัน ว่า สวรรค์, ที่อยู่ของเทวดา). |
กระยิก เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อิ-กอ-ไก่ | เป็นคำกริยา หมายถึง ขะยิก. | กระยิก ก. ขะยิก. |
กระยิ้มกระย่อง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อิ-ไม้-โท-มอ-ม้า-กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ยอ-ยัก-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-งอ-งู | เป็นคำกริยา หมายถึง แสดงอาการดีใจหรืออิ่มใจ, ยิ้มย่อง ก็ว่า. | กระยิ้มกระย่อง ก. แสดงอาการดีใจหรืออิ่มใจ, ยิ้มย่อง ก็ว่า. |
กระยึกกระยือ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อึ-กอ-ไก่-กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อือ-ออ-อ่าง | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง หยิกไปหยิกมา, ไม่ตรง, ไม่เป็นระเบียบ, ยึกยือ ก็ว่า. | กระยึกกระยือ ว. หยิกไปหยิกมา, ไม่ตรง, ไม่เป็นระเบียบ, ยึกยือ ก็ว่า. |
กระยึกกระหยัก เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อึ-กอ-ไก่-กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-หอ-หีบ-ยอ-ยัก-ไม้-หัน-อา-กาด-กอ-ไก่ | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง อาการที่ลังเลไม่กล้าตัดสินใจ, ยึกยัก ก็ว่า. | กระยึกกระหยัก ว. อาการที่ลังเลไม่กล้าตัดสินใจ, ยึกยัก ก็ว่า. |
กระยืดกระยาด เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อือ-ดอ-เด็ก-กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-ดอ-เด็ก | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ยืดยาดมาก, เนิบนาบ, ช้า, ไม่ฉับไว. | กระยืดกระยาด ว. ยืดยาดมาก, เนิบนาบ, ช้า, ไม่ฉับไว. |
กระเย้อกระแหย่ง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-ยอ-ยัก-ไม้-โท-ออ-อ่าง-กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-แอ-หอ-หีบ-ยอ-ยัก-ไม้-เอก-งอ-งู | [แหฺย่ง] เป็นคำกริยา หมายถึง เขย่งแล้วเขย่งอีก, โดยปริยายหมายความว่า พยายามจะให้ได้สิ่งที่สุดเอื้อม, ขะเย้อแขย่ง ก็ว่า. | กระเย้อกระแหย่ง [แหฺย่ง] ก. เขย่งแล้วเขย่งอีก, โดยปริยายหมายความว่า พยายามจะให้ได้สิ่งที่สุดเอื้อม, ขะเย้อแขย่ง ก็ว่า. |
กระแย่ง มีเครื่องหมายยัติภังค์หน้าคำ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-แอ-ยอ-ยัก-ไม้-เอก-งอ-งู | ใช้เข้าคู่กับคํา กระย่อง เป็น กระย่องกระแย่ง. | กระแย่ง ใช้เข้าคู่กับคํา กระย่อง เป็น กระย่องกระแย่ง. |
กระรอก เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-รอ-เรือ-ออ-อ่าง-กอ-ไก่ | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Sciuridae มีฟันแทะ ส่วนใหญ่ตาโตและหูใหญ่ หางยาวเป็นพวง กินผลไม้ มีหลายสกุลและหลายชนิด เช่น กระรอกหลากสี (Callosciurus finlaysoni) พญากระรอกดํา (Ratufa bicolor). | กระรอก น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Sciuridae มีฟันแทะ ส่วนใหญ่ตาโตและหูใหญ่ หางยาวเป็นพวง กินผลไม้ มีหลายสกุลและหลายชนิด เช่น กระรอกหลากสี (Callosciurus finlaysoni) พญากระรอกดํา (Ratufa bicolor). |
กระรอกน้ำข้าว เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-รอ-เรือ-ออ-อ่าง-กอ-ไก่-นอ-หนู-ไม้-โท-สะ-หระ-อำ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-วอ-แหวน | ดู เขยตาย เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ยอ-ยัก-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อา-ยอ-ยัก. | กระรอกน้ำข้าว ดู เขยตาย. |
กระเรียน เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-รอ-เรือ-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก-นอ-หนู ความหมายที่ ๑ | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อนกขนาดใหญ่ชนิด Grus antigone ในวงศ์ Gruidae คอยาว ขายาว ปีกกว้าง หางกว้างและสั้น หากินตามที่ราบลุ่ม กินพืช แมลง และสัตว์ขนาดเล็ก ไม่ชอบกินปลา, กาเรียน ก็เรียก. | กระเรียน ๑ น. ชื่อนกขนาดใหญ่ชนิด Grus antigone ในวงศ์ Gruidae คอยาว ขายาว ปีกกว้าง หางกว้างและสั้น หากินตามที่ราบลุ่ม กินพืช แมลง และสัตว์ขนาดเล็ก ไม่ชอบกินปลา, กาเรียน ก็เรียก. |
กระเรียน เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-รอ-เรือ-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก-นอ-หนู ความหมายที่ ๒ | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อเพลงไทยของเก่าสําหรับทําเพลงช้า เรียกว่า กระเรียนร้อง, ถ้ารับร้องบทละครเป็นเพลง ๒ ชั้น ท่อนต้นเรียกว่า กระเรียนร้องตัวผู้ ท่อนหลังเรียกว่า กระเรียนร้องตัวเมีย ต่อจากนี้ทําเพลงกระเรียนทอง แล้วถึงกระเรียนร่อน เป็นเพลงเสภาร้องรับมโหรี. | กระเรียน ๒ น. ชื่อเพลงไทยของเก่าสําหรับทําเพลงช้า เรียกว่า กระเรียนร้อง, ถ้ารับร้องบทละครเป็นเพลง ๒ ชั้น ท่อนต้นเรียกว่า กระเรียนร้องตัวผู้ ท่อนหลังเรียกว่า กระเรียนร้องตัวเมีย ต่อจากนี้ทําเพลงกระเรียนทอง แล้วถึงกระเรียนร่อน เป็นเพลงเสภาร้องรับมโหรี. |
กระโรกน้ำข้าว เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-โอ-รอ-เรือ-กอ-ไก่-นอ-หนู-ไม้-โท-สะ-หระ-อำ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-วอ-แหวน | ดู เขยตาย เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ยอ-ยัก-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อา-ยอ-ยัก. | กระโรกน้ำข้าว ดู เขยตาย. |
กระโรกใหญ่ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-โอ-รอ-เรือ-กอ-ไก่-สะ-หระ-ไอ-ไม้-ม้วน-หอ-หีบ-ยอ-หยิง-ไม้-เอก | ดู ชิงชี่ เขียนว่า ชอ-ช้าง-สะ-หระ-อิ-งอ-งู-ชอ-ช้าง-สะ-หระ-อี-ไม้-เอก. | กระโรกใหญ่ ดู ชิงชี่. |
กระไร เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-รอ-เรือ | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง อะไร เช่น เขาไม่ว่ากระไร, อย่างไร เช่น จะทำกระไรดี, เท่าไร เช่น ถูกปรับเพียง ๑๐๐ บาทก็ไม่กระไรนัก, ทำไม, ไฉน, เช่น ข้าแต่นเรศูรสมเด็จพระบิดาเจ้าข้าเอ่ย กระไรเลยไม่ปรานี. ในวงเล็บ มาจาก มหาเวสสันดรชาดก ในวงเล็บ แบบเรียน กัณฑ์กุมาร. | กระไร ว. อะไร เช่น เขาไม่ว่ากระไร, อย่างไร เช่น จะทำกระไรดี, เท่าไร เช่น ถูกปรับเพียง ๑๐๐ บาทก็ไม่กระไรนัก, ทำไม, ไฉน, เช่น ข้าแต่นเรศูรสมเด็จพระบิดาเจ้าข้าเอ่ย กระไรเลยไม่ปรานี. (ม. ร่ายยาว กุมาร). |
กระลด เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ลอ-ลิง-ดอ-เด็ก | [หฺลด] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง แผลงมาจาก กลด เป็นคำนาม หมายถึง ร่ม เช่น เทียวทองธงชัย และแซงกระลดชุมสาย. ในวงเล็บ มาจาก สมุทรโฆษคำฉันท์ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๘. | กระลด [หฺลด] (กลอน; แผลงมาจาก กลด) น. ร่ม เช่น เทียวทองธงชัย และแซงกระลดชุมสาย. (สมุทรโฆษ). |
กระลบ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ลอ-ลิง-บอ-ไบ-ไม้ | [หฺลบ] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง แผลงมาจาก กลบ เป็นคำกริยา หมายถึง ตระหลบ. เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ฟุ้ง เช่น ก็หอมกระลบอบองค์. ในวงเล็บ มาจาก มหาชาติคำหลวง ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๐ กัณฑ์จุลพน. | กระลบ [หฺลบ] (กลอน; แผลงมาจาก กลบ) ก. ตระหลบ. ว. ฟุ้ง เช่น ก็หอมกระลบอบองค์. (ม. คำหลวง จุลพน). |
กระลอก เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ลอ-ลิง-ออ-อ่าง-กอ-ไก่ | [หฺลอก] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง หมายถึง แผลงมาจาก กลอก เช่น พื้นบรรพตเลื่อมล้วนมณีผา กระลอกรุ่งพรุ่งพรายถึงเมฆา. (สมบัติอมรินทร์), ใช้เข้าคู่กับคํา กระลับ หรือ กระลาย เป็น กระลับกระลอก หรือ กระลายกระลอก. | กระลอก [หฺลอก] (กลอน) แผลงมาจาก กลอก เช่น พื้นบรรพตเลื่อมล้วนมณีผา กระลอกรุ่งพรุ่งพรายถึงเมฆา. (สมบัติอมรินทร์), ใช้เข้าคู่กับคํา กระลับ หรือ กระลาย เป็น กระลับกระลอก หรือ กระลายกระลอก. |
กระลอม เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ลอ-ลิง-ออ-อ่าง-มอ-ม้า | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาถิ่นภาคอีสาน เป็นคำนาม หมายถึง เครื่องสานชนิดหนึ่ง สานด้วยตอกเป็นต้น ตาห่าง ๆ สำหรับใส่สิ่งของ, ชะลอม ก็ว่า. | กระลอม (ถิ่นอีสาน) น. เครื่องสานชนิดหนึ่ง สานด้วยตอกเป็นต้น ตาห่าง ๆ สำหรับใส่สิ่งของ, ชะลอม ก็ว่า. |
กระละหล่ำ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อะ-หอ-หีบ-ลอ-ลิง-ไม้-เอก-สะ-หระ-อำ | เป็นคำกริยา หมายถึง กลํ้า, เกือบ, เช่น กระละหลํ่าจกกเป็น แต่กี้. ในวงเล็บ มาจาก ทวาทศมาส ฉบับโรงพิมพ์ ไท พ.ศ. ๒๔๖๐. | กระละหล่ำ ก. กลํ้า, เกือบ, เช่น กระละหลํ่าจกกเป็น แต่กี้. (ทวาทศมาส). |
กระลัด เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ลอ-ลิง-ไม้-หัน-อา-กาด-ดอ-เด็ก | [หฺลัด] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง แผลงมาจาก กลัด เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง เข้มแข็ง เช่น กระลัดในกลางสงคราม. ในวงเล็บ มาจาก สมุทรโฆษคำฉันท์ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๘. | กระลัด [หฺลัด] (กลอน; แผลงมาจาก กลัด) ว. เข้มแข็ง เช่น กระลัดในกลางสงคราม. (สมุทรโฆษ). |
กระลับ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ลอ-ลิง-ไม้-หัน-อา-กาด-บอ-ไบ-ไม้ | [หฺลับ] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง หมายถึง แผลงมาจาก กลับ เช่น ก็กระลับกระลอกแทง. ในวงเล็บ มาจาก อนิรุทธ์คำฉันท์ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ. | กระลับ [หฺลับ] (กลอน) แผลงมาจาก กลับ เช่น ก็กระลับกระลอกแทง. (อนิรุทธ์). |
กระลับกระเลือก เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ลอ-ลิง-ไม้-หัน-อา-กาด-บอ-ไบ-ไม้-กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อือ-ออ-อ่าง-กอ-ไก่ | [เหฺลือก] เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง กลอกขึ้นกลอกลง (ใช้แก่ตา), ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ หมายถึง กลับเกลือก. | กระลับกระเลือก [เหฺลือก] ว. กลอกขึ้นกลอกลง (ใช้แก่ตา), (โบ) กลับเกลือก. |
กระลัมพร เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ลอ-ลิง-ไม้-หัน-อา-กาด-มอ-ม้า-พอ-พาน-รอ-เรือ | เป็นคำนาม หมายถึง โทษใหญ่, ความฉิบหาย, เช่น ก็ทํากระลัมพรกาล. ในวงเล็บ มาจาก สมุทรโฆษคำฉันท์ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๘, (แผลงมาจาก กลัมพร), เขียนเป็น กระลําพร ก็มี. | กระลัมพร น. โทษใหญ่, ความฉิบหาย, เช่น ก็ทํากระลัมพรกาล. (สมุทรโฆษ), (แผลงมาจาก กลัมพร), เขียนเป็น กระลําพร ก็มี. |
กระลา เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อา ความหมายที่ ๑ | ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ เป็นคำนาม หมายถึง ท่วงที. ในวงเล็บ มาจาก อนันตวิภาค ในหนังสือแปลศัพท์พากย์ต่าง ๆ ของ พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) พิมพ์ ร.ศ. ๑๑๔; ที่, กอง, เช่น กระลาบังคลคนผจง. ในวงเล็บ มาจาก คำฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้างของเก่า ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๗ ในวงเล็บ เทียบ ภาษาเขมร กฺรฬา เขียนว่า กอ-ไก่-พิน-ทุ-รอ-เรือ-ลอ-จุ-ลา-สะ-หระ-อา. | กระลา ๑ (โบ) น. ท่วงที. (อนันตวิภาค); ที่, กอง, เช่น กระลาบังคลคนผจง. (ดุษฎีสังเวย). (เทียบ ข. กฺรฬา). |
กระลา เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อา ความหมายที่ ๒ | เป็นคำนาม หมายถึง องค์ของการบูชา เช่น กระลาพิธีกรกุณฑ์. ในวงเล็บ มาจาก เสือโคคำฉันท์ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๕. (แผลงมาจาก กลา). ในวงเล็บ มาจากภาษาสันสกฤต กลา เขียนว่า กอ-ไก่-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อา มีองค์ เขียนว่า มอ-ม้า-สะ-หระ-อี-ออ-อ่าง-งอ-งู-คอ-ควาย-ทัน-ทะ-คาด ๓ เขียนว่า สาม คือ เขียนว่า คอ-ควาย-สะ-หระ-อือ-ออ-อ่าง มนตร์ เขียนว่า มอ-ม้า-นอ-หนู-ตอ-เต่า-รอ-เรือ-ทัน-ทะ-คาด สัมภาระ เขียนว่า สอ-เสือ-ไม้-หัน-อา-กาด-มอ-ม้า-พอ-สำ-เพา-สะ-หระ-อา-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ และ เขียนว่า สะ-หระ-แอ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อะ ศรัทธา เขียนว่า สอ-สา-ลา-รอ-เรือ-ไม้-หัน-อา-กาด-ทอ-ทะ-หาน-ทอ-ทง-สะ-หระ-อา . | กระลา ๒ น. องค์ของการบูชา เช่น กระลาพิธีกรกุณฑ์. (เสือโค). (แผลงมาจาก กลา). (ส. กลา มีองค์ ๓ คือ มนตร์ สัมภาระ และ ศรัทธา). |
กระลาการ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อา-กอ-ไก่-สะ-หระ-อา-รอ-เรือ | ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ เป็นคำนาม หมายถึง ตุลาการ เช่น แลผู้พิพากษากระลาการไต่ไปโดยคลองธรรมดั่งกล่าวมานี้. ในวงเล็บ มาจาก กฎหมายตราสามดวง. | กระลาการ (โบ) น. ตุลาการ เช่น แลผู้พิพากษากระลาการไต่ไปโดยคลองธรรมดั่งกล่าวมานี้. (สามดวง). |
กระลาพิม เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อา-พอ-พาน-สะ-หระ-อิ-มอ-ม้า | เป็นคำนาม หมายถึง ผู้หญิง เช่น รฦกกระลาพิม พระมาศ กูเออย. (กำสรวล). | กระลาพิม น. ผู้หญิง เช่น รฦกกระลาพิม พระมาศ กูเออย. (กำสรวล). |
กระลายกระลอก เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อา-ยอ-ยัก-กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ลอ-ลิง-ออ-อ่าง-กอ-ไก่ | [หฺลอก] ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ และเป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง แผลงมาจาก กลายกลอก เป็นคำกริยา หมายถึง สับสน เช่น เสือสีห์หมีควาย กระลายกระลอกซอกซอน. ในวงเล็บ มาจาก สมุทรโฆษคำฉันท์ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๘. | กระลายกระลอก [หฺลอก] (โบ; กลอน; แผลงมาจาก กลายกลอก) ก. สับสน เช่น เสือสีห์หมีควาย กระลายกระลอกซอกซอน. (สมุทรโฆษ). |
กระลาศรี เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อา-สอ-สา-ลา-รอ-เรือ-สะ-หระ-อี | เป็นคำนาม หมายถึง ผู้หญิง เช่น รฦกกระลาศรี เสาวภาคย กูเออย. (กำสรวล). | กระลาศรี น. ผู้หญิง เช่น รฦกกระลาศรี เสาวภาคย กูเออย. (กำสรวล). |
กระลำ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อำ | ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง ย่อมาจาก กระลําพร เป็นคำนาม หมายถึง โทษใหญ่, ความฉิบหาย, เช่น จะเกิดกระลีกระลําแต่ล้วนร้อนใจ. (โชคโบราณ). ในวงเล็บ ดู กลัมพร เขียนว่า กอ-ไก่-ลอ-ลิง-ไม้-หัน-อา-กาด-มอ-ม้า-พอ-พาน-รอ-เรือ. | กระลำ (กลอน; ย่อมาจาก กระลําพร) น. โทษใหญ่, ความฉิบหาย, เช่น จะเกิดกระลีกระลําแต่ล้วนร้อนใจ. (โชคโบราณ). (ดู กลัมพร). |
กระลำพร เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อำ-พอ-พาน-รอ-เรือ | ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ เป็นคำนาม หมายถึง กระลัมพร, โทษใหญ่, ความฉิบหาย. ในวงเล็บ ดู กลัมพร เขียนว่า กอ-ไก่-ลอ-ลิง-ไม้-หัน-อา-กาด-มอ-ม้า-พอ-พาน-รอ-เรือ. | กระลำพร (โบ) น. กระลัมพร, โทษใหญ่, ความฉิบหาย. (ดู กลัมพร). |
กระลำพัก เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อำ-พอ-พาน-ไม้-หัน-อา-กาด-กอ-ไก่ | เป็นคำนาม หมายถึง ส่วนของเนื้อไม้ซึ่งมีสีดํา ๆ เกิดในต้นสลัดไดป่า (Euphorbia antiquorum L.) และต้นตาตุ่มทะเล (Excoecaria agallocha L.) ในวงศ์ Euphorbiaceae กลิ่นหอมอ่อน รสขม ใช้ทํายาได้. | กระลำพัก น. ส่วนของเนื้อไม้ซึ่งมีสีดํา ๆ เกิดในต้นสลัดไดป่า (Euphorbia antiquorum L.) และต้นตาตุ่มทะเล (Excoecaria agallocha L.) ในวงศ์ Euphorbiaceae กลิ่นหอมอ่อน รสขม ใช้ทํายาได้. |
กระลำพุก เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อำ-พอ-พาน-สะ-หระ-อุ-กอ-ไก่ | ดู ตะลุมพุก เขียนว่า ตอ-เต่า-สะ-หระ-อะ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อุ-มอ-ม้า-พอ-พาน-สะ-หระ-อุ-กอ-ไก่ ความหมายที่ ๓. | กระลำพุก ดู ตะลุมพุก ๓. |
กระลิง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อิ-งอ-งู | ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำกริยา หมายถึง จับ, ถือ, โดยมากใช้เป็น กระลึง. | กระลิง (กลอน) ก. จับ, ถือ, โดยมากใช้เป็น กระลึง. |
กระลี เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อี | เป็นคำนาม หมายถึง สิ่งร้าย, โทษ. เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ร้าย เช่น กระลีชาติ กระลียุค. | กระลี น. สิ่งร้าย, โทษ. ว. ร้าย เช่น กระลีชาติ กระลียุค. |
กระลึง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อึ-งอ-งู | ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ เป็นคำกริยา หมายถึง จับ, ถือ, เช่น ชดกรกระลึงกุมแสง. ในวงเล็บ มาจาก ลิลิตพระลอ แบบเรียน. | กระลึง (โบ) ก. จับ, ถือ, เช่น ชดกรกระลึงกุมแสง. (ลอ). |
กระลุมพาง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อุ-มอ-ม้า-พอ-พาน-สะ-หระ-อา-งอ-งู | เป็นคำนาม หมายถึง กลองหน้าเดียว, โบราณเขียนเป็น กรลุมพาง ก็มี. | กระลุมพาง น. กลองหน้าเดียว, โบราณเขียนเป็น กรลุมพาง ก็มี. |
กระลุมพุก เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อุ-มอ-ม้า-พอ-พาน-สะ-หระ-อุ-กอ-ไก่ ความหมายที่ ๑ | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาปาก เป็นคำนาม หมายถึง ไม้ตะลุมพุก. | กระลุมพุก ๑ (ปาก) น. ไม้ตะลุมพุก. |
กระลุมพุก เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อุ-มอ-ม้า-พอ-พาน-สะ-หระ-อุ-กอ-ไก่ ความหมายที่ ๒ | ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำนาม หมายถึง ปลาตะลุมพุก เช่น ค้าวอ้าวอุกกระลุมพุกสีเสียดสุกรสิง. ในวงเล็บ มาจาก สรรพสิทธิ์คำฉันท์ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิต ชิโนรส ทรงนิพนธ์ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๗. ในวงเล็บ ดู ตะลุมพุก เขียนว่า ตอ-เต่า-สะ-หระ-อะ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อุ-มอ-ม้า-พอ-พาน-สะ-หระ-อุ-กอ-ไก่ ความหมายที่ ๒. | กระลุมพุก ๒ (กลอน) น. ปลาตะลุมพุก เช่น ค้าวอ้าวอุกกระลุมพุกสีเสียดสุกรสิง. (สรรพสิทธิ์). (ดู ตะลุมพุก ๒). |
กระลุมพุก เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อุ-มอ-ม้า-พอ-พาน-สะ-หระ-อุ-กอ-ไก่ ความหมายที่ ๓ | ดู ตะลุมพุก เขียนว่า ตอ-เต่า-สะ-หระ-อะ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อุ-มอ-ม้า-พอ-พาน-สะ-หระ-อุ-กอ-ไก่ ความหมายที่ ๓. | กระลุมพุก ๓ ดู ตะลุมพุก ๓. |
กระลุมพู เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อุ-มอ-ม้า-พอ-พาน-สะ-หระ-อู | เป็นคำนาม หมายถึง นกลุมพู เช่น เหล่ากระลิงโกกิลา กระลุมพูก็โผผิน. ในวงเล็บ มาจาก มหาเวสสันดรชาดก ในวงเล็บ แบบเรียน กัณฑ์มหาพน. ในวงเล็บ ดู ลุมพู เขียนว่า ลอ-ลิง-สะ-หระ-อุ-มอ-ม้า-พอ-พาน-สะ-หระ-อู. | กระลุมพู น. นกลุมพู เช่น เหล่ากระลิงโกกิลา กระลุมพูก็โผผิน. (ม. ร่ายยาว มหาพน). (ดู ลุมพู). |
กระลูน เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อู-นอ-หนู | ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำนาม หมายถึง ความเศร้าโศก. เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง น่ากรุณา, น่าสงสาร, เช่น อ่อนจิตสวามีอันพูนกระลูนนุกูลภรรยายิ่งยอดกว่าอันภิปราย. ในวงเล็บ มาจาก สรรพสิทธิ์คำฉันท์ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิต ชิโนรส ทรงนิพนธ์ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๗ ในวงเล็บ มาจากภาษาบาลี กลูน เขียนว่า กอ-ไก่-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อู-นอ-หนู. | กระลูน (กลอน) น. ความเศร้าโศก. ว. น่ากรุณา, น่าสงสาร, เช่น อ่อนจิตสวามีอันพูนกระลูนนุกูลภรรยายิ่งยอดกว่าอันภิปราย. (สรรพสิทธิ์). (ป. กลูน). |
กระลู่น์ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อู-ไม้-เอก-นอ-หนู-ทัน-ทะ-คาด | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง น่าสงสาร เช่น กระลู่น์แลดูดาลแสยง. ในวงเล็บ มาจาก สูตรธนูคำฉันท์ จากวชิรญาณรายเดือน ปีที่ ๒๐ ตอนที่ ๗๔ และ ๗๕. | กระลู่น์ ว. น่าสงสาร เช่น กระลู่น์แลดูดาลแสยง. (สุธน). |
กระเล็น เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-ลอ-ลิง-ไม้-ไต่-คู้-นอ-หนู | ดู กระถิก, กระถึก กระถิก เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ถอ-ถุง-สะ-หระ-อิ-กอ-ไก่ กระถึก เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ถอ-ถุง-สะ-หระ-อึ-กอ-ไก่ . | กระเล็น ดู กระถิก, กระถึก. |
กระเลียด เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก-ดอ-เด็ก | [เหฺลียด] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง หมายถึง แผลงมาจาก เกลียด เช่น ไยเยาวเคียดและกระเลียด ฤเหลือบพระพักตร์ผิน. ในวงเล็บ มาจาก สรรพสิทธิ์คำฉันท์ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิต ชิโนรส ทรงนิพนธ์ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๗. | กระเลียด [เหฺลียด] (กลอน) แผลงมาจาก เกลียด เช่น ไยเยาวเคียดและกระเลียด ฤเหลือบพระพักตร์ผิน. (สรรพสิทธิ์). |
กระเลือก เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อือ-ออ-อ่าง-กอ-ไก่ | [เหฺลือก] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง แผลงมาจาก เกลือก เป็นคำกริยา หมายถึง เหลือก, ใช้เข้าคู่กับคํา กระลับ เป็น กระลับกระเลือก. | กระเลือก [เหฺลือก] (กลอน; แผลงมาจาก เกลือก) ก. เหลือก, ใช้เข้าคู่กับคํา กระลับ เป็น กระลับกระเลือก. |
กระโลง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-โอ-ลอ-ลิง-งอ-งู | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาถิ่นภาคอีสาน เป็นคำนาม หมายถึง เครื่องสานด้วยใบลานชนิดหนึ่ง ใช้อย่างกระสอบ สําหรับใส่ข้าวเปลือกหรือข้าวสาร. | กระโลง (ถิ่นอีสาน) น. เครื่องสานด้วยใบลานชนิดหนึ่ง ใช้อย่างกระสอบ สําหรับใส่ข้าวเปลือกหรือข้าวสาร. |
กระวน เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-วอ-แหวน-นอ-หนู | ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำกริยา หมายถึง วนเวียน, วุ่น, หวน, เช่น กระเวนกระวนกาม กวนอก พี่นา. ในวงเล็บ มาจาก นิราศนรินทร์ แบบเรียนกวีนิพนธ์. | กระวน (กลอน) ก. วนเวียน, วุ่น, หวน, เช่น กระเวนกระวนกาม กวนอก พี่นา. (นิ. นรินทร์). |
กระวนกระวาย เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-วอ-แหวน-นอ-หนู-กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-วอ-แหวน-สะ-หระ-อา-ยอ-ยัก | เป็นคำกริยา หมายถึง วุ่นวายใจ, แสดงอาการวุ่นวายไม่เป็นสุข. | กระวนกระวาย ก. วุ่นวายใจ, แสดงอาการวุ่นวายไม่เป็นสุข. |
กระวัด เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-วอ-แหวน-ไม้-หัน-อา-กาด-ดอ-เด็ก | [หฺวัด] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง หมายถึง แผลงมาจาก กวัด เช่น เฉวียงหัตถ์กระวัดวรธนู. ในวงเล็บ มาจาก สรรพสิทธิ์คำฉันท์ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิต ชิโนรส ทรงนิพนธ์ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๗. | กระวัด [หฺวัด] (กลอน) แผลงมาจาก กวัด เช่น เฉวียงหัตถ์กระวัดวรธนู. (สรรพสิทธิ์). |
กระว่า เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-วอ-แหวน-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา | ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ และเป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อนกชนิดหนึ่ง เช่น เสียงนกกระว่ามาตีลาน นกกรงหงส์ห่านร้องขานคู่. ในวงเล็บ มาจาก บทละครครั้งกรุงเก่า เรื่องมโนห์รา ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ. | กระว่า (โบ; กลอน) น. ชื่อนกชนิดหนึ่ง เช่น เสียงนกกระว่ามาตีลาน นกกรงหงส์ห่านร้องขานคู่. (มโนห์รา). |
กระวาด มีเครื่องหมายยัติภังค์หน้าคำ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-วอ-แหวน-สะ-หระ-อา-ดอ-เด็ก | ใช้เข้าคู่กับคํา กระวี และ กระวูด เป็น กระวีกระวาด และ กระวูดกระวาด. | กระวาด ใช้เข้าคู่กับคํา กระวี และ กระวูด เป็น กระวีกระวาด และ กระวูดกระวาด. |
กระวาน เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-วอ-แหวน-สะ-หระ-อา-นอ-หนู ความหมายที่ ๑ | เป็นคำนาม หมายถึง (๑) ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Amomum krervanh Pierre ในวงศ์ Zingiberaceae ชอบขึ้นในป่าดิบชื้นตามภูมิประเทศที่เป็นเขาทางจันทบุรีและตราด ผลมีกลิ่นหอมฉุน ใช้ปรุงอาหารและทํายา; อีกชนิดหนึ่ง คือ Elettaria cardamomum (L.) Maton ในวงศ์เดียวกัน เรียกว่า กระวานเทศ มาจากประเทศอินเดียตอนใต้, เอลา ลูกเอ็ล หรือ ลูกเอ็น ก็เรียก. (๒) ชื่อเรียกใบของไม้ต้นชนิด Laurus nobilis L. ในวงศ์ Lauraceae กลิ่นคล้ายกระวาน ใช้เป็นเครื่องเทศและแต่งกลิ่นยา. | กระวาน ๑ น. (๑) ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Amomum krervanh Pierre ในวงศ์ Zingiberaceae ชอบขึ้นในป่าดิบชื้นตามภูมิประเทศที่เป็นเขาทางจันทบุรีและตราด ผลมีกลิ่นหอมฉุน ใช้ปรุงอาหารและทํายา; อีกชนิดหนึ่ง คือ Elettaria cardamomum (L.) Maton ในวงศ์เดียวกัน เรียกว่า กระวานเทศ มาจากประเทศอินเดียตอนใต้, เอลา ลูกเอ็ล หรือ ลูกเอ็น ก็เรียก. (๒) ชื่อเรียกใบของไม้ต้นชนิด Laurus nobilis L. ในวงศ์ Lauraceae กลิ่นคล้ายกระวาน ใช้เป็นเครื่องเทศและแต่งกลิ่นยา. |
กระวาน เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-วอ-แหวน-สะ-หระ-อา-นอ-หนู ความหมายที่ ๒ | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อนกชนิดหนึ่ง เช่น กระวานกระแวนแกลนกลัว. ในวงเล็บ มาจาก สมุทรโฆษคำฉันท์ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๘. | กระวาน ๒ น. ชื่อนกชนิดหนึ่ง เช่น กระวานกระแวนแกลนกลัว. (สมุทรโฆษ). |
กระวาย เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-วอ-แหวน-สะ-หระ-อา-ยอ-ยัก | ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ส่าย, ดิ้น, เช่น ทอดตนตีทรวงกระวาย. ในวงเล็บ มาจาก อุเทนคำฉันท์ พระยาอิศรานุภาพ (อ้น) แต่ง ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๘, และใช้เข้าคู่กับคํา กระเวย และ กระโวย เป็น กระเวยกระวาย และ กระโวยกระวาย. | กระวาย (กลอน) ว. ส่าย, ดิ้น, เช่น ทอดตนตีทรวงกระวาย. (อุเทน), และใช้เข้าคู่กับคํา กระเวย และ กระโวย เป็น กระเวยกระวาย และ กระโวยกระวาย. |
กระวายกระวน เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-วอ-แหวน-สะ-หระ-อา-ยอ-ยัก-กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-วอ-แหวน-นอ-หนู | เป็นคำกริยา หมายถึง กระวนกระวาย, ดิ้นรน, เร่าร้อน, กระสับกระส่าย, เช่น เมื่อเราอยู่ที่นี้จะต้องกระวายกระวนด้วยเหลือบยุงริ้นร่าน. ในวงเล็บ มาจาก มหาเวสสันดรชาดก ในวงเล็บ แบบเรียน กัณฑ์สักบรรพ. | กระวายกระวน ก. กระวนกระวาย, ดิ้นรน, เร่าร้อน, กระสับกระส่าย, เช่น เมื่อเราอยู่ที่นี้จะต้องกระวายกระวนด้วยเหลือบยุงริ้นร่าน. (ม. ร่ายยาว สักบรรพ). |
กระวิน เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-วอ-แหวน-สะ-หระ-อิ-นอ-หนู ความหมายที่ ๑ | เป็นคำนาม หมายถึง ห่วงที่เกี่ยวกันสําหรับโยงสัปคับช้าง, ห่วงติดกับบังเหียนเหล็กผ่าปากม้า, ประวิน ก็ใช้. ในวงเล็บ มาจาก พระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก่อนเสวยราชย์ พิมพ์ พ.ศ. ๒๔๗๒, เครื่องร้อยสายรัดเอวพระภิกษุ (รัดประคด) ทําด้วยกระดูกสัตว์เป็นต้น มีรูกลาง เรียกว่า ลูกกระวิน. ในวงเล็บ รูปภาพ กระวิน. | กระวิน ๑ น. ห่วงที่เกี่ยวกันสําหรับโยงสัปคับช้าง, ห่วงติดกับบังเหียนเหล็กผ่าปากม้า, ประวิน ก็ใช้. (ประวัติ. จุล), เครื่องร้อยสายรัดเอวพระภิกษุ (รัดประคด) ทําด้วยกระดูกสัตว์เป็นต้น มีรูกลาง เรียกว่า ลูกกระวิน. (รูปภาพ กระวิน). |
กระวิน เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-วอ-แหวน-สะ-หระ-อิ-นอ-หนู ความหมายที่ ๒ | ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง สีนํ้าตาล เช่น โคกระวิน. (ทมิฬ = กระวิล แผลงมาจาก ป. กปิล). | กระวิน ๒ (โบ) ว. สีนํ้าตาล เช่น โคกระวิน. (ทมิฬ = กระวิล แผลงมาจาก ป. กปิล). |
กระวี เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-วอ-แหวน-สะ-หระ-อี ความหมายที่ ๑ | เป็นคำนาม หมายถึง นักปราชญ์ในการแต่งบทกลอน เช่น เสดจ์ยังสาระพินิจฉัยพร้อมด้วยหมู่มุกขมนตรีกระวีราชปโรหิตาโหราจารย์อยู่ในศีลสัจ. ในวงเล็บ มาจาก กฎหมายตราสามดวง. (แผลงมาจาก กวี). | กระวี ๑ น. นักปราชญ์ในการแต่งบทกลอน เช่น เสดจ์ยังสาระพินิจฉัยพร้อมด้วยหมู่มุกขมนตรีกระวีราชปโรหิตาโหราจารย์อยู่ในศีลสัจ. (สามดวง). (แผลงมาจาก กวี). |
กระวีชาติ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-วอ-แหวน-สะ-หระ-อี-ชอ-ช้าง-สะ-หระ-อา-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อิ | เป็นคำนาม หมายถึง หมู่กวี, พวกกวี, เช่น เสดจ์ในพระที่นั่งพลับพลาทองโดยอุตราภิมุขพร้อมด้วยหมู่มาตยามนตรีกระวีชาติราชปะโรหิตาจารย์เฝ้าพระบาท. ในวงเล็บ มาจาก กฎหมายตราสามดวง, เขียนเป็น กระวีชาต หรือ กระวิชาติ ก็มี เช่น พระองค์ทรงพระกรุณาเพื่อจะมิให้มุกขมนตรีกระวีชาตแลราษฎรล่วงเกินพระราชอาญา, พร้อมด้วยหมู่มุกขมาตยามนตรีกระวิชาติราชสุริยวงษพงษพฤฒาโหราจารยเฝ้าเบื้องบาทบงกชมาศ. ในวงเล็บ มาจาก กฎหมายตราสามดวง. | กระวีชาติ น. หมู่กวี, พวกกวี, เช่น เสดจ์ในพระที่นั่งพลับพลาทองโดยอุตราภิมุขพร้อมด้วยหมู่มาตยามนตรีกระวีชาติราชปะโรหิตาจารย์เฝ้าพระบาท. (สามดวง), เขียนเป็น กระวีชาต หรือ กระวิชาติ ก็มี เช่น พระองค์ทรงพระกรุณาเพื่อจะมิให้มุกขมนตรีกระวีชาตแลราษฎรล่วงเกินพระราชอาญา, พร้อมด้วยหมู่มุกขมาตยามนตรีกระวิชาติราชสุริยวงษพงษพฤฒาโหราจารยเฝ้าเบื้องบาทบงกชมาศ. (สามดวง). |
กระวี เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-วอ-แหวน-สะ-หระ-อี ความหมายที่ ๒ | ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ เป็นคำกริยา หมายถึง แกว่ง. (เพี้ยนมาจาก คระวี). | กระวี ๒ (โบ) ก. แกว่ง. (เพี้ยนมาจาก คระวี). |
กระวีกระวาด เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-วอ-แหวน-สะ-หระ-อี-กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-วอ-แหวน-สะ-หระ-อา-ดอ-เด็ก | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง รีบเร่งอย่างไม่นอนใจ. | กระวีกระวาด ว. รีบเร่งอย่างไม่นอนใจ. |
กระวูดกระวาด เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-วอ-แหวน-สะ-หระ-อู-ดอ-เด็ก-กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-วอ-แหวน-สะ-หระ-อา-ดอ-เด็ก | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง กระวีกระวาด, ทําโดยเร็วอย่างลมพัดวูดวาด. | กระวูดกระวาด ว. กระวีกระวาด, ทําโดยเร็วอย่างลมพัดวูดวาด. |
กระเวน เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-วอ-แหวน-นอ-หนู ความหมายที่ ๑ | ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำกริยา หมายถึง ตระเวน, เที่ยวไป. ในวงเล็บ เทียบ ภาษาเขมร กฺรแวล เขียนว่า กอ-ไก่-พิน-ทุ-รอ-เรือ-สะ-หระ-แอ-วอ-แหวน-ลอ-ลิง ว่า คอยดู, กองตระเวน . | กระเวน ๑ (กลอน) ก. ตระเวน, เที่ยวไป. (เทียบ ข. กฺรแวล ว่า คอยดู, กองตระเวน). |
กระเวน เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-วอ-แหวน-นอ-หนู ความหมายที่ ๒ | ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำกริยา หมายถึง วนเวียน เช่น กระเวนกระวนกาม กวนอก พี่นา. ในวงเล็บ มาจาก นิราศนรินทร์ แบบเรียนกวีนิพนธ์. | กระเวน ๒ (กลอน) ก. วนเวียน เช่น กระเวนกระวนกาม กวนอก พี่นา. (นิ. นรินทร์). |
กระเวนกระวน เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-วอ-แหวน-นอ-หนู-กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-วอ-แหวน-นอ-หนู | ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำกริยา หมายถึง วนเวียน เช่น กระเวนกระวนกาม กวนอก พี่นา. ในวงเล็บ มาจาก นิราศนรินทร์ แบบเรียนกวีนิพนธ์, หวนตลบ เช่น หอมกระเวนกระวน, เขียนเป็น กรเวนกรวล ก็มี เช่น ชื่อจลาจรเรนทร์ หอมกรเวนกรวล อาจจิญจญจวนใจ. ในวงเล็บ มาจาก มหาชาติคำหลวง ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๐ กัณฑ์มหาราช. | กระเวนกระวน (กลอน) ก. วนเวียน เช่น กระเวนกระวนกาม กวนอก พี่นา. (นิ. นรินทร์), หวนตลบ เช่น หอมกระเวนกระวน, เขียนเป็น กรเวนกรวล ก็มี เช่น ชื่อจลาจรเรนทร์ หอมกรเวนกรวล อาจจิญจญจวนใจ. (ม. คำหลวง มหาราช). |
กระเวน เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-วอ-แหวน-นอ-หนู ความหมายที่ ๓ | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อนกชนิดหนึ่ง เช่น กระเวนวังนัวกระเวนดง ช่างทองลงจับทองยั้ว. ในวงเล็บ มาจาก ลิลิตพระลอ แบบเรียน. | กระเวน ๓ น. ชื่อนกชนิดหนึ่ง เช่น กระเวนวังนัวกระเวนดง ช่างทองลงจับทองยั้ว. (ลอ). |
กระเวยกระวาย เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-วอ-แหวน-ยอ-ยัก-กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-วอ-แหวน-สะ-หระ-อา-ยอ-ยัก | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง เสียงร้องขอความช่วยเหลืออย่างเอ็ดอึง. | กระเวยกระวาย ว. เสียงร้องขอความช่วยเหลืออย่างเอ็ดอึง. |
กระแวน เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-แอ-วอ-แหวน-นอ-หนู | เป็นคำนาม หมายถึง นกกาแวน เช่น คับคาคาบคาร่อน กระแวนว่อนบินบน. ในวงเล็บ มาจาก หนังสือลิลิตตะเลงพ่าย แบบเรียนกวีนิพนธ์. ในวงเล็บ ดู กาแวน เขียนว่า กอ-ไก่-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-แอ-วอ-แหวน-นอ-หนู. | กระแวน น. นกกาแวน เช่น คับคาคาบคาร่อน กระแวนว่อนบินบน. (ตะเลงพ่าย). (ดู กาแวน). |
กระโวยกระวาย เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-โอ-วอ-แหวน-ยอ-ยัก-กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-วอ-แหวน-สะ-หระ-อา-ยอ-ยัก | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง อาการที่ส่งเสียงเอะอะเป็นการประท้วงหรือแสดงความไม่พอใจเป็นต้น, โวยวาย ก็ว่า. | กระโวยกระวาย ว. อาการที่ส่งเสียงเอะอะเป็นการประท้วงหรือแสดงความไม่พอใจเป็นต้น, โวยวาย ก็ว่า. |
กระศก เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สอ-สา-ลา-กอ-ไก่ | [สก] ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ เป็นคำกริยา หมายถึง ข้อน. ในวงเล็บ มาจาก จินดามณี เล่ม ๑ - ๒ กับบันทึกเรื่องหนังสือจินดามณีและจินดามณี ฉบับพระเจ้าบรมโกศ ของ พระโหราธิบดี ฉบับโรงพิมพ์ รุ่งวัฒนา พ.ศ. ๒๕๑๒. | กระศก [สก] (โบ) ก. ข้อน. (จินดามณี). |
กระศัย เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สอ-สา-ลา-ไม้-หัน-อา-กาด-ยอ-ยัก | ในวงเล็บ เป็นคำที่เลิกใช้แล้ว เป็นคำนาม หมายถึง กระษัย. | กระศัย (เลิก) น. กระษัย. |
กระษัตริย์ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สอ-รือ-สี-ไม้-หัน-อา-กาด-ตอ-เต่า-รอ-เรือ-สะ-หระ-อิ-ยอ-ยัก-ทัน-ทะ-คาด | [สัด] ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ เป็นคำนาม หมายถึง กษัตริย์. | กระษัตริย์ [สัด] (โบ) น. กษัตริย์. |
กระษัตรี เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สอ-รือ-สี-ไม้-หัน-อา-กาด-ตอ-เต่า-รอ-เรือ-สะ-หระ-อี | [สัดตฺรี] ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ เป็นคำนาม หมายถึง ผู้หญิง. | กระษัตรี [สัดตฺรี] (โบ) น. ผู้หญิง. |
กระษัย เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สอ-รือ-สี-ไม้-หัน-อา-กาด-ยอ-ยัก | [ไส] เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อโรคตามตําราแพทย์แผนโบราณว่า ทําให้ร่างกายทรุดโทรม มีอาการผอมแห้งตัวเหลืองเท้าเย็น, กษัย ก็ว่า. ในวงเล็บ มาจากภาษาสันสกฤต กฺษย เขียนว่า กอ-ไก่-พิน-ทุ-สอ-รือ-สี-ยอ-ยัก ว่า โรคซูบผอม . | กระษัย [ไส] น. ชื่อโรคตามตําราแพทย์แผนโบราณว่า ทําให้ร่างกายทรุดโทรม มีอาการผอมแห้งตัวเหลืองเท้าเย็น, กษัย ก็ว่า. (ส. กฺษย ว่า โรคซูบผอม). |
กระษัยกล่อน เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สอ-รือ-สี-ไม้-หัน-อา-กาด-ยอ-ยัก-กอ-ไก่-ลอ-ลิง-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-นอ-หนู | [ไสกฺล่อน] เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อโรคตามตําราแพทย์แผนโบราณ ทําให้ร่างกายผอมแห้ง เกิดจากโรคกล่อน. | กระษัยกล่อน [ไสกฺล่อน] น. ชื่อโรคตามตําราแพทย์แผนโบราณ ทําให้ร่างกายผอมแห้ง เกิดจากโรคกล่อน. |
กระษาปณ์ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สอ-รือ-สี-สะ-หระ-อา-ปอ-ปลา-นอ-เนน-ทัน-ทะ-คาด | [สาบ] เป็นคำนาม หมายถึง เงินตราที่ทําด้วยโลหะ เช่น เหรียญกระษาปณ์ โรงกระษาปณ์, กษาปณ์ ก็ใช้. ในวงเล็บ มาจากภาษาสันสกฤต การฺษาปณ เขียนว่า กอ-ไก่-สะ-หระ-อา-รอ-เรือ-พิน-ทุ-สอ-รือ-สี-สะ-หระ-อา-ปอ-ปลา-นอ-เนน และมาจากภาษาบาลี กหาปณ เขียนว่า กอ-ไก่-หอ-หีบ-สะ-หระ-อา-ปอ-ปลา-นอ-เนน. | กระษาปณ์ [สาบ] น. เงินตราที่ทําด้วยโลหะ เช่น เหรียญกระษาปณ์ โรงกระษาปณ์, กษาปณ์ ก็ใช้. (ส. การฺษาปณ; ป. กหาปณ). |
กระษิร เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สอ-รือ-สี-สะ-หระ-อิ-รอ-เรือ | [สิน, สิระ] ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ แผลงมาจากคำสันสกฤตว่า กฺษิร เป็นคำนาม หมายถึง นํ้านม เช่น มาจากวารินกระษิรสมุทร. ในวงเล็บ มาจาก พระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ ในรัชกาลที่ ๒, กระษิรสินธุสาคร. ในวงเล็บ มาจาก สรรพสิทธิ์คำฉันท์ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิต ชิโนรส ทรงนิพนธ์ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๗. | กระษิร [สิน, สิระ] (โบ; แผลงมาจาก ส. กฺษิร) น. นํ้านม เช่น มาจากวารินกระษิรสมุทร. (รามเกียรติ์ ร. ๒), กระษิรสินธุสาคร. (สรรพสิทธิ์). |
กระเษม เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-สอ-รือ-สี-มอ-ม้า | ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ เป็นคำนาม หมายถึง เกษม. | กระเษม (โบ) น. เกษม. |
กระเษมสานต์ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-สอ-รือ-สี-มอ-ม้า-สอ-เสือ-สะ-หระ-อา-นอ-หนู-ตอ-เต่า-ทัน-ทะ-คาด | เป็นคำนาม หมายถึง เกษมสันต์. ในวงเล็บ มาจากภาษาสันสกฤต เกฺษม เขียนว่า สะ-หระ-เอ-กอ-ไก่-พิน-ทุ-สอ-รือ-สี-มอ-ม้า + ศานฺต เขียนว่า สอ-สา-ลา-สะ-หระ-อา-นอ-หนู-พิน-ทุ-ตอ-เต่า และมาจากภาษาสันสกฤต เกฺษม เขียนว่า สะ-หระ-เอ-กอ-ไก่-พิน-ทุ-สอ-รือ-สี-มอ-ม้า + ภาษาบาลี สนฺต เขียนว่า สอ-เสือ-นอ-หนู-พิน-ทุ-ตอ-เต่า . | กระเษมสานต์ น. เกษมสันต์. (ส. เกฺษม + ศานฺต; ส. เกฺษม + ป. สนฺต). |
กระเษียร เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-สอ-รือ-สี-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก-รอ-เรือ | ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ และเป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง แผลงมาจาก เกษียร เป็นคำนาม หมายถึง นํ้านม เช่น เนาในกระเษียรนิทรบันดาล. ในวงเล็บ มาจาก สรรพสิทธิ์คำฉันท์ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิต ชิโนรส ทรงนิพนธ์ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๗. | กระเษียร (โบ; กลอน; แผลงมาจาก เกษียร) น. นํ้านม เช่น เนาในกระเษียรนิทรบันดาล. (สรรพสิทธิ์). |
กระสง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สอ-เสือ-งอ-งู | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Channa lucius ในวงศ์ Channidae รูปร่างคล้ายปลาช่อนซึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกัน แต่หัวแหลมกว่าและแอ่นงอนขึ้นเล็กน้อย มีลายพาดขวางลําตัวข้างละ ๗๑๒ แถบ ทุกครีบมีจุดประหรือริ้วสีดํา. | กระสง น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Channa lucius ในวงศ์ Channidae รูปร่างคล้ายปลาช่อนซึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกัน แต่หัวแหลมกว่าและแอ่นงอนขึ้นเล็กน้อย มีลายพาดขวางลําตัวข้างละ ๗๑๒ แถบ ทุกครีบมีจุดประหรือริ้วสีดํา. |
กระสน มีเครื่องหมายยัติภังค์หน้าคำ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สอ-เสือ-นอ-หนู | ใช้เข้าคู่กับคํา กระเสือก เป็น กระเสือกกระสน. | กระสน ใช้เข้าคู่กับคํา กระเสือก เป็น กระเสือกกระสน. |
กระสบ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สอ-เสือ-บอ-ไบ-ไม้ | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อโรคลมชนิดหนึ่ง ในตําราแพทย์แผนโบราณว่า มักขึ้นในไส้ ให้เวียนหัว ให้ราก จุก สมุฏฐานเกิดจากธาตุไฟหย่อน. | กระสบ น. ชื่อโรคลมชนิดหนึ่ง ในตําราแพทย์แผนโบราณว่า มักขึ้นในไส้ ให้เวียนหัว ให้ราก จุก สมุฏฐานเกิดจากธาตุไฟหย่อน. |
กระสม เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สอ-เสือ-มอ-ม้า | เป็นคำนาม หมายถึง ไม้ที่อยู่ในเครื่องทอผ้า สําหรับบิดม้วนผ้าที่ทอแล้ว เรียกว่า ไม้กระสม. ในวงเล็บ มาจาก D.J.B. Pallegoix Dictionnaire, Siamois, Francais-Anglais. | กระสม น. ไม้ที่อยู่ในเครื่องทอผ้า สําหรับบิดม้วนผ้าที่ทอแล้ว เรียกว่า ไม้กระสม. (ปาเลกัว). |
กระสรวล เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สอ-เสือ-รอ-เรือ-วอ-แหวน-ลอ-ลิง | [สวน] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำกริยา หมายถึง ยินดี, ร่าเริง, เช่น นางนกกระสรวลสันต์ สมเสพ. ในวงเล็บ มาจาก นิราศนรินทร์ แบบเรียนกวีนิพนธ์. | กระสรวล [สวน] (กลอน) ก. ยินดี, ร่าเริง, เช่น นางนกกระสรวลสันต์ สมเสพ. (นิ. นรินทร์). |
กระสร้อย เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สอ-เสือ-รอ-เรือ-ไม้-โท-ออ-อ่าง-ยอ-ยัก | เป็นคำนาม หมายถึง ปลาสร้อย. ในวงเล็บ ดู สร้อย เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-ไม้-โท-ออ-อ่าง-ยอ-ยัก ความหมายที่ ๒. | กระสร้อย น. ปลาสร้อย. (ดู สร้อย ๒). |
กระสวน เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สอ-เสือ-วอ-แหวน-นอ-หนู | เป็นคำนาม หมายถึง แบบ เช่น อย่าคบพวกหญิงพาลสันดานชั่ว ที่แต่งตัวไว้จริตผิดกระสวน. ในวงเล็บ มาจาก ประชุมสุภาษิตสุนทรภู่ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ; แบบตัวอย่างสําหรับสร้างหรือทําของจริง เช่น กระสวนเรือน กระสวนเสื้อ. | กระสวน น. แบบ เช่น อย่าคบพวกหญิงพาลสันดานชั่ว ที่แต่งตัวไว้จริตผิดกระสวน. (สุภาษิตสุนทรภู่); แบบตัวอย่างสําหรับสร้างหรือทําของจริง เช่น กระสวนเรือน กระสวนเสื้อ. |
กระสวย เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สอ-เสือ-วอ-แหวน-ยอ-ยัก | เป็นคำนาม หมายถึง เครื่องบรรจุด้ายสําหรับทอผ้าหรือเย็บผ้า. | กระสวย น. เครื่องบรรจุด้ายสําหรับทอผ้าหรือเย็บผ้า. |
กระสอบ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สอ-เสือ-ออ-อ่าง-บอ-ไบ-ไม้ | เป็นคำนาม หมายถึง เครื่องสานหรือทอด้วยต้นกระจูดหรือป่านปอเป็นต้น สําหรับบรรจุข้าวและของอื่น ๆ. | กระสอบ น. เครื่องสานหรือทอด้วยต้นกระจูดหรือป่านปอเป็นต้น สําหรับบรรจุข้าวและของอื่น ๆ. |
กระสอบทราย เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สอ-เสือ-ออ-อ่าง-บอ-ไบ-ไม้-ทอ-ทะ-หาน-รอ-เรือ-สะ-หระ-อา-ยอ-ยัก | เป็นคำนาม หมายถึง ถุงผ้าใบหรือหนัง ลักษณะคล้ายหมอนข้างขนาดใหญ่ เดิมบรรจุทราย ปัจจุบันบรรจุด้วยขี้เลื่อย เศษผ้า หรือฟองน้ำ อัดแน่น เป็นอุปกรณ์อย่างหนึ่งในการฝึกซ้อมของนักมวยเพื่อฝึกการชก เตะ ขึ้นเข่า เป็นต้น, ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาปาก หมายถึง ผู้ที่ถูกทำร้ายร่างกายอย่างบอบช้ำ โดยที่ไม่มีทางหรือไม่กล้าต่อสู้ เช่น นักมวยฝ่ายน้ำเงินถูกนักมวยฝ่ายแดงถลุงเป็นกระสอบทราย. | กระสอบทราย น. ถุงผ้าใบหรือหนัง ลักษณะคล้ายหมอนข้างขนาดใหญ่ เดิมบรรจุทราย ปัจจุบันบรรจุด้วยขี้เลื่อย เศษผ้า หรือฟองน้ำ อัดแน่น เป็นอุปกรณ์อย่างหนึ่งในการฝึกซ้อมของนักมวยเพื่อฝึกการชก เตะ ขึ้นเข่า เป็นต้น, (ปาก) ผู้ที่ถูกทำร้ายร่างกายอย่างบอบช้ำ โดยที่ไม่มีทางหรือไม่กล้าต่อสู้ เช่น นักมวยฝ่ายน้ำเงินถูกนักมวยฝ่ายแดงถลุงเป็นกระสอบทราย. |
กระสะ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ | เป็นคำนาม หมายถึง ดินหรือหินหรือทรายเป็นต้นที่อยู่ในบ่อแร่ ซึ่งให้ผลเป็นสินค้าแก่ผู้ทําแร่, ขี้ผงของแร่. | กระสะ น. ดินหรือหินหรือทรายเป็นต้นที่อยู่ในบ่อแร่ ซึ่งให้ผลเป็นสินค้าแก่ผู้ทําแร่, ขี้ผงของแร่. |
กระสัง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สอ-เสือ-ไม้-หัน-อา-กาด-งอ-งู ความหมายที่ ๑ | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Peperomia pellucida Korth. ในวงศ์ Peperomiaceae ขึ้นอยู่ทั่วไปตามที่ชื้น ลําต้นอวบนํ้า. | กระสัง ๑ น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Peperomia pellucida Korth. ในวงศ์ Peperomiaceae ขึ้นอยู่ทั่วไปตามที่ชื้น ลําต้นอวบนํ้า. |
กระสัง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สอ-เสือ-ไม้-หัน-อา-กาด-งอ-งู ความหมายที่ ๒ | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อนกชนิดหนึ่ง, สันนิษฐานว่าในสมัยโบราณบางถิ่นอาจใช้เรียกนกชนิดหนึ่ง แต่ปัจจุบันไม่ปรากฏว่ามีใช้, เช่น กระสังกระสาสาว กระสันจับกระลับดู. ในวงเล็บ มาจาก เสือโคคำฉันท์ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๕. | กระสัง ๒ น. ชื่อนกชนิดหนึ่ง, สันนิษฐานว่าในสมัยโบราณบางถิ่นอาจใช้เรียกนกชนิดหนึ่ง แต่ปัจจุบันไม่ปรากฏว่ามีใช้, เช่น กระสังกระสาสาว กระสันจับกระลับดู. (เสือโค). |
กระสัน เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สอ-เสือ-ไม้-หัน-อา-กาด-นอ-หนู | เป็นคำกริยา หมายถึง คะนึง, คิดผูกพันอยู่, มีใจจดจ่ออยู่, เช่น ปู่กระสันถึงไก่ในไพรพฤกษ์. ในวงเล็บ มาจาก ลิลิตพระลอ แบบเรียน; กระวนกระวายในกาม เช่น เดี๋ยวนี้นะพระองค์ทรงธรรม์ แสนกระสันจันทร์สุดาดวงสมร. ในวงเล็บ มาจาก คาวี พระราชนิพนธ์ ในรัชกาลที่ ๒ พิมพ์ จ.ศ. ๑๒๔๙; ผูกให้แน่น เช่น กระสันเข้าไว้กับหลัก, ผูกพันพระพี่น้องสองกระสันเข้าให้มั่นกับมือ. ในวงเล็บ มาจาก มหาชาติคำหลวง ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๐ กัณฑ์กุมาร, รัด เช่น สายกระสัน; ต่อเนื่อง เช่น มุขกระสัน; ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาปาก หมายถึง อยากมาก เช่น กระสันจะเป็นรัฐมนตรี. เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง แน่น เช่น พระขรรค์เหน็บกระสันอยู่เป็นนิจ. | กระสัน ก. คะนึง, คิดผูกพันอยู่, มีใจจดจ่ออยู่, เช่น ปู่กระสันถึงไก่ในไพรพฤกษ์. (ลอ); กระวนกระวายในกาม เช่น เดี๋ยวนี้นะพระองค์ทรงธรรม์ แสนกระสันจันทร์สุดาดวงสมร. (คาวี); ผูกให้แน่น เช่น กระสันเข้าไว้กับหลัก, ผูกพันพระพี่น้องสองกระสันเข้าให้มั่นกับมือ. (ม. คำหลวง กุมาร), รัด เช่น สายกระสัน; ต่อเนื่อง เช่น มุขกระสัน; (ปาก) อยากมาก เช่น กระสันจะเป็นรัฐมนตรี. ว. แน่น เช่น พระขรรค์เหน็บกระสันอยู่เป็นนิจ. |
กระสับกระส่าย เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สอ-เสือ-ไม้-หัน-อา-กาด-บอ-ไบ-ไม้-กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สอ-เสือ-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา-ยอ-ยัก | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง เร่าร้อนใจทนนิ่งเป็นปรกติไม่ได้, กระวนกระวาย, ทุรนทุราย. | กระสับกระส่าย ว. เร่าร้อนใจทนนิ่งเป็นปรกติไม่ได้, กระวนกระวาย, ทุรนทุราย. |
กระสา เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สอ-เสือ-สะ-หระ-อา ความหมายที่ ๑ | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อนกในวงศ์ Ciconiidae ขนาดใหญ่เกือบเท่านกกระเรียน ปากหนายาวปลายแหลมตรง คอและขายาว เวลาบินคอจะยืดตรงเหมือนนกกระเรียน ทํารังด้วยกิ่งไม้อยู่บนยอดไม้สูง ๆ กินปลาและสัตว์นํ้าขนาดเล็ก ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น กระสาขาว (Ciconia ciconia) กระสาคอดํา (Ephippiorhynchus asiaticus). | กระสา ๑ น. ชื่อนกในวงศ์ Ciconiidae ขนาดใหญ่เกือบเท่านกกระเรียน ปากหนายาวปลายแหลมตรง คอและขายาว เวลาบินคอจะยืดตรงเหมือนนกกระเรียน ทํารังด้วยกิ่งไม้อยู่บนยอดไม้สูง ๆ กินปลาและสัตว์นํ้าขนาดเล็ก ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น กระสาขาว (Ciconia ciconia) กระสาคอดํา (Ephippiorhynchus asiaticus). |
กระสา เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สอ-เสือ-สะ-หระ-อา ความหมายที่ ๒ | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่องูชนิดหนึ่ง เช่น งูไซงูกระสา. ในวงเล็บ มาจาก หนังสือไตรภูมิพระร่วง ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ ร.ศ. ๑๓๑. | กระสา ๒ น. ชื่องูชนิดหนึ่ง เช่น งูไซงูกระสา. (ไตรภูมิ). |
กระสา เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สอ-เสือ-สะ-หระ-อา ความหมายที่ ๓ | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Broussonetia papyrifera Vent. ในวงศ์ Moraceae ชอบขึ้นในที่ชื้นแฉะ ตามริมแม่นํ้าลําคลอง ใบใหญ่เท่าฝ่ามือหรือกว่านั้นบ้าง รูปไข่ปลายแหลม ขอบใบเป็นจัก ๆ หรือเว้าเป็น ๓ แฉก มีขนทั้ง ๒ ด้าน เปลือกใช้ทํากระดาษได้ เรียก กระดาษสา, พายัพเรียก สา. | กระสา ๓ น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Broussonetia papyrifera Vent. ในวงศ์ Moraceae ชอบขึ้นในที่ชื้นแฉะ ตามริมแม่นํ้าลําคลอง ใบใหญ่เท่าฝ่ามือหรือกว่านั้นบ้าง รูปไข่ปลายแหลม ขอบใบเป็นจัก ๆ หรือเว้าเป็น ๓ แฉก มีขนทั้ง ๒ ด้าน เปลือกใช้ทํากระดาษได้ เรียก กระดาษสา, พายัพเรียก สา. |
กระสานติ์ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สอ-เสือ-สะ-หระ-อา-นอ-หนู-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อิ-ทัน-ทะ-คาด | ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง สงบ, ราบคาบ, เขียนเป็น กรสานต์ ก็มี เช่น ดำรงกรษัตรให้กรสานต์. ในวงเล็บ มาจาก ลิลิตยวนพ่าย ฉบับโรงพิมพ์ ไท พ.ศ. ๒๔๖๐. (กระ + ป. สนฺติ; เป็นคำสรรพนาม หมายถึง ศานฺติ). | กระสานติ์ (กลอน) ว. สงบ, ราบคาบ, เขียนเป็น กรสานต์ ก็มี เช่น ดำรงกรษัตรให้กรสานต์. (ยวนพ่าย). (กระ + ป. สนฺติ; ส. ศานฺติ). |
กระสาบ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สอ-เสือ-สะ-หระ-อา-บอ-ไบ-ไม้ ความหมายที่ ๑ | เป็นคำนาม หมายถึง หนังที่เย็บเหมือนกระสอบ. ในวงเล็บ มาจาก D.J.B. Pallegoix Dictionnaire, Siamois, Francais-Anglais. | กระสาบ ๑ น. หนังที่เย็บเหมือนกระสอบ. (ปาเลกัว). |
กระสาบ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สอ-เสือ-สะ-หระ-อา-บอ-ไบ-ไม้ ความหมายที่ ๒ | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาถิ่นภาคอีสาน เป็นคำนาม หมายถึง เถานางนูน. (ไทยเหนือว่า ผักสาบ). ในวงเล็บ มาจาก พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๔๙๓. | กระสาบ ๒ (ถิ่นอีสาน) น. เถานางนูน. (ไทยเหนือว่า ผักสาบ). (พจน. ๒๔๙๓). |
กระสาย เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สอ-เสือ-สะ-หระ-อา-ยอ-ยัก | เป็นคำนาม หมายถึง เครื่องแทรกยา เช่น นํ้าเหล้า. ในวงเล็บ มาจากภาษาสันสกฤต กษาย เขียนว่า กอ-ไก่-สอ-รือ-สี-สะ-หระ-อา-ยอ-ยัก ว่า ยาที่เคี่ยวเอาแต่ ๑ ใน ๔ ส่วน ****(ส. กษาย ว่า ยาที่เคี่ยวเอาแต่ ๑ ใน ๔ ส่วน; ในทมิฬใช้ในความหมายว่า เป็นเครื่องแทรกยาทุกชนิด ตามปรกติเป็นน้ำ). ว. ใช้เข้าคู่กับคำ กระเส็น เป็น กระเส็นกระสาย. | กระสาย น. เครื่องแทรกยา เช่น นํ้าเหล้า. (ส. กษาย ว่า ยาที่เคี่ยวเอาแต่ ๑ ใน ๔ ส่วน; ในทมิฬใช้ในความหมายว่า เป็นเครื่องแทรกยาทุกชนิด ตามปรกติเป็นน้ำ). ว. ใช้เข้าคู่กับคำ กระเส็น เป็น กระเส็นกระสาย. |
กระส่าย มีเครื่องหมายยัติภังค์หน้าคำ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สอ-เสือ-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา-ยอ-ยัก | ใช้เข้าคู่กับคํา กระสับ เป็น กระสับกระส่าย. | กระส่าย ใช้เข้าคู่กับคํา กระสับ เป็น กระสับกระส่าย. |
กระสินธุ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สอ-เสือ-สะ-หระ-อิ-นอ-หนู-ทอ-ทง-สะ-หระ-อุ | ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ และเป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำนาม หมายถึง แม่นํ้า เช่น กระแสกระสินธุสงสาร. ในวงเล็บ มาจาก อุเทนคำฉันท์ พระยาอิศรานุภาพ (อ้น) แต่ง ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๘. (กระ + ป., เป็นคำสรรพนาม หมายถึง สินฺธุ). | กระสินธุ (โบ; กลอน) น. แม่นํ้า เช่น กระแสกระสินธุสงสาร. (อุเทน). (กระ + ป., ส. สินฺธุ). |
กระสือ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สอ-เสือ-สะ-หระ-อือ-ออ-อ่าง ความหมายที่ ๑ | เป็นคำนาม หมายถึง ผีชนิดหนึ่งที่ถือว่าเข้าสิงในตัวผู้หญิง ชอบกินของโสโครก, คู่กับ กระหัง ซึ่งเข้าสิงในตัวผู้ชาย; ในทางวิทยาศาสตร์ คือ แก๊สมีเทน(methane) ที่เกิดจากการเน่าเปื่อยผุพังของสารอินทรีย์แล้วติดไฟในอากาศ เป็นแสงวอบแวบในที่มืด; โคมชนิดหนึ่ง มีที่เปิดปิดไฟ มีแว่นฉายแสงไปได้ไกล, โคมตาวัว ก็ว่า. | กระสือ ๑ น. ผีชนิดหนึ่งที่ถือว่าเข้าสิงในตัวผู้หญิง ชอบกินของโสโครก, คู่กับ กระหัง ซึ่งเข้าสิงในตัวผู้ชาย; ในทางวิทยาศาสตร์ คือ แก๊สมีเทน(methane) ที่เกิดจากการเน่าเปื่อยผุพังของสารอินทรีย์แล้วติดไฟในอากาศ เป็นแสงวอบแวบในที่มืด; โคมชนิดหนึ่ง มีที่เปิดปิดไฟ มีแว่นฉายแสงไปได้ไกล, โคมตาวัว ก็ว่า. |
กระสือดูด เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สอ-เสือ-สะ-หระ-อือ-ออ-อ่าง-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-อู-ดอ-เด็ก | เป็นคำนาม หมายถึง เรียกผลกล้วยที่แกร็นทั้งเครือ. ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาปาก เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง เรียกคนที่ซูบซีด. | กระสือดูด น. เรียกผลกล้วยที่แกร็นทั้งเครือ. (ปาก) ว. เรียกคนที่ซูบซีด. |
กระสือ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สอ-เสือ-สะ-หระ-อือ-ออ-อ่าง ความหมายที่ ๒ | เป็นคำนาม หมายถึง (๑) ชื่อเรียกเห็ดหลายชนิดหลายสกุลและหลายวงศ์ที่เรืองแสงได้ในเวลากลางคืน อาจเรืองแสงเฉพาะบางส่วนหรือทุกส่วน มีสีแตกต่างกันแล้วแต่ชนิด เช่น ชนิด chlorosplenium aeruginascens (Nyl.) Karst. เรืองแสงสีเขียวในระยะเกิดสปอร์. (๒) ชื่อว่านชนิดหนึ่ง ต้นและหัวคล้ายขมิ้นอ้อย สีขาว ฉุนร้อน ตามตํารากบิลว่านว่า เมื่อหัวแก่มีธาตุปรอทลงกิน มีพรายเป็นแสงแมงคาเรืองในเวลากลางคืน ถือกันว่ามีสรรพคุณอยู่คง แต่เป็นกายสิทธิ์ ชอบไปเที่ยวหากินของโสโครก และเข้าสิงกินคนดั่งกระสือหรือปอบ แล้วบอกชื่อเจ้าของว่านที่ปลูกนั้นว่า เป็นตัวกระสือหรือผีปอบ ทําให้ขายหน้าจึงไม่ค่อยมีใครกล้าปลูก. | กระสือ ๒ น. (๑) ชื่อเรียกเห็ดหลายชนิดหลายสกุลและหลายวงศ์ที่เรืองแสงได้ในเวลากลางคืน อาจเรืองแสงเฉพาะบางส่วนหรือทุกส่วน มีสีแตกต่างกันแล้วแต่ชนิด เช่น ชนิด chlorosplenium aeruginascens (Nyl.) Karst. เรืองแสงสีเขียวในระยะเกิดสปอร์. (๒) ชื่อว่านชนิดหนึ่ง ต้นและหัวคล้ายขมิ้นอ้อย สีขาว ฉุนร้อน ตามตํารากบิลว่านว่า เมื่อหัวแก่มีธาตุปรอทลงกิน มีพรายเป็นแสงแมงคาเรืองในเวลากลางคืน ถือกันว่ามีสรรพคุณอยู่คง แต่เป็นกายสิทธิ์ ชอบไปเที่ยวหากินของโสโครก และเข้าสิงกินคนดั่งกระสือหรือปอบ แล้วบอกชื่อเจ้าของว่านที่ปลูกนั้นว่า เป็นตัวกระสือหรือผีปอบ ทําให้ขายหน้าจึงไม่ค่อยมีใครกล้าปลูก. |
กระสือ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สอ-เสือ-สะ-หระ-อือ-ออ-อ่าง ความหมายที่ ๓ | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อตัวอ่อนและตัวเต็มวัยของหิ่งห้อยตัวเมียหลายชนิดในวงศ์ Lampyridae เช่น ชนิด Lamprophorus tardus ไม่มีปีก ต้องคลานไปตามพื้นดิน สามารถทําแสงสีเขียวอมเหลืองอ่อนและกะพริบเป็นจังหวะได้ เรียกว่า หนอนกระสือ. ในวงเล็บ ดู หิงห้อย, หิ่งห้อย ประกอบ หิงห้อย เขียนว่า หอ-หีบ-สะ-หระ-อิ-งอ-งู-หอ-หีบ-ไม้-โท-ออ-อ่าง-ยอ-ยัก หิ่งห้อย ประกอบ เขียนว่า หอ-หีบ-สะ-หระ-อิ-ไม้-เอก-งอ-งู-หอ-หีบ-ไม้-โท-ออ-อ่าง-ยอ-ยัก ปอ-ปลา-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-กอ-ไก่-ออ-อ่าง-บอ-ไบ-ไม้ . | กระสือ ๓ น. ชื่อตัวอ่อนและตัวเต็มวัยของหิ่งห้อยตัวเมียหลายชนิดในวงศ์ Lampyridae เช่น ชนิด Lamprophorus tardus ไม่มีปีก ต้องคลานไปตามพื้นดิน สามารถทําแสงสีเขียวอมเหลืองอ่อนและกะพริบเป็นจังหวะได้ เรียกว่า หนอนกระสือ. (ดู หิงห้อย, หิ่งห้อย ประกอบ). |
กระสุงกระสิง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สอ-เสือ-สะ-หระ-อุ-งอ-งู-กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สอ-เสือ-สะ-หระ-อิ-งอ-งู | เป็นคำกริยา หมายถึง สุงสิง, ยุ่ง, ข้องแวะ. ในวงเล็บ มาจาก D.J.B. Pallegoix Dictionnaire, Siamois, Francais-Anglais. | กระสุงกระสิง ก. สุงสิง, ยุ่ง, ข้องแวะ. (ปาเลกัว). |
กระสุน เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สอ-เสือ-สะ-หระ-อุ-นอ-หนู | เป็นคำนาม หมายถึง เครื่องยิงมีคัน ใช้สายโก่งยิงด้วยลูกดินปั้นกลมซึ่งเรียกว่า ลูกกระสุน; ลูกปืน. | กระสุน น. เครื่องยิงมีคัน ใช้สายโก่งยิงด้วยลูกดินปั้นกลมซึ่งเรียกว่า ลูกกระสุน; ลูกปืน. |
กระสุนปืน เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สอ-เสือ-สะ-หระ-อุ-นอ-หนู-ปอ-ปลา-สะ-หระ-อือ-นอ-หนู | เป็นคำนาม หมายถึง ลูกปืน, บางทีก็เรียก กระสุน หรือ ลูกกระสุน. | กระสุนปืน น. ลูกปืน, บางทีก็เรียก กระสุน หรือ ลูกกระสุน. |
กระสุนวิถี เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สอ-เสือ-สะ-หระ-อุ-นอ-หนู-วอ-แหวน-สะ-หระ-อิ-ถอ-ถุง-สะ-หระ-อี | เป็นคำนาม หมายถึง ทางแห่งกระสุน, วิถีกระสุน ก็ว่า. | กระสุนวิถี น. ทางแห่งกระสุน, วิถีกระสุน ก็ว่า. |
กระสูทธิ์ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สอ-เสือ-สะ-หระ-อู-ทอ-ทะ-หาน-ทอ-ทง-สะ-หระ-อิ-ทัน-ทะ-คาด | เป็นคำนาม หมายถึง กรสุทธิ์. ในวงเล็บ ดู กรสุทธิ์ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สอ-เสือ-สะ-หระ-อุ-ทอ-ทะ-หาน-ทอ-ทง-สะ-หระ-อิ-ทัน-ทะ-คาด. | กระสูทธิ์ น. กรสุทธิ์. (ดู กรสุทธิ์). |
กระสูบ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สอ-เสือ-สะ-หระ-อู-บอ-ไบ-ไม้ | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อปลานํ้าจืด ๒ ชนิด ในวงศ์ Cyprinidae รูปร่างคล้ายปลาแก้มชํ้า แต่ลําตัวเพรียวและโตกว่าชนิดแรกคือ กระสูบขาว (Hampala macrolepidota) มักมีลายดําพาดขวางที่บริเวณลําตัวใต้ครีบหลัง พื้นหางสีแดงขอบบนและล่างสีดํา ขนาดยาวถึงประมาณ ๗๐ เซนติเมตร อีกชนิดหนึ่งคือ กระสูบจุด (H. dispar) ลําตัวมีจุดดําอยู่ตอนกลาง ปลายครีบหางมนกว่า และไม่มีแถบสีดํา ตัวยาวเต็มที่ไม่เกิน ๒๐ เซนติเมตร, สูด หรือ สูบ ก็เรียก. | กระสูบ น. ชื่อปลานํ้าจืด ๒ ชนิด ในวงศ์ Cyprinidae รูปร่างคล้ายปลาแก้มชํ้า แต่ลําตัวเพรียวและโตกว่าชนิดแรกคือ กระสูบขาว (Hampala macrolepidota) มักมีลายดําพาดขวางที่บริเวณลําตัวใต้ครีบหลัง พื้นหางสีแดงขอบบนและล่างสีดํา ขนาดยาวถึงประมาณ ๗๐ เซนติเมตร อีกชนิดหนึ่งคือ กระสูบจุด (H. dispar) ลําตัวมีจุดดําอยู่ตอนกลาง ปลายครีบหางมนกว่า และไม่มีแถบสีดํา ตัวยาวเต็มที่ไม่เกิน ๒๐ เซนติเมตร, สูด หรือ สูบ ก็เรียก. |
กระเสด เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-สอ-เสือ-ดอ-เด็ก | เป็นคำนาม หมายถึง หาดทรายที่ขึ้นสูงพ้นนํ้า. | กระเสด น. หาดทรายที่ขึ้นสูงพ้นนํ้า. |
กระเส็นกระสาย เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-สอ-เสือ-ไม้-ไต่-คู้-นอ-หนู-กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สอ-เสือ-สะ-หระ-อา-ยอ-ยัก | เป็นคำนาม หมายถึง เศษเล็กเศษน้อย. เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง นิดหน่อย. | กระเส็นกระสาย น. เศษเล็กเศษน้อย. ว. นิดหน่อย. |
กระเส่า, กระเส่า ๆ กระเส่า เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-สอ-เสือ-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา กระเส่า ๆ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-สอ-เสือ-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา ไม้-ยะ-มก | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง สั่นเครือและเบา (ใช้แก่เสียง). | กระเส่า, กระเส่า ๆ ว. สั่นเครือและเบา (ใช้แก่เสียง). |
กระเสาะกระแสะ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-สอ-เสือ-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-อะ-กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-แอ-สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง อาการที่ป่วยอยู่บ่อย ๆ, เสาะแสะ ก็ว่า. | กระเสาะกระแสะ ว. อาการที่ป่วยอยู่บ่อย ๆ, เสาะแสะ ก็ว่า. |
กระเสียน เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-สอ-เสือ-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก-นอ-หนู | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ชิด, สนิท, แนบเนียน, เช่น ชฎากลีบจีบเวียนกระเสียนพระศก. ในวงเล็บ มาจาก พระอภัยมณีคำกลอน ของ สุนทรภู่ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๗, เขาเข้าไม้ปะที่ตรงนี้ดีนัก พอดีกระเสียนกันทีเดียว; ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ หมายถึง อาการที่ของสิ่งใดสิ่งหนึ่งสอดเสียดลงไปในช่องในรูไม่คับไม่หลวมพอครือ ๆ กัน. ในวงเล็บ มาจาก อักขราภิธานศรับท์ ของ หมอปรัดเล. | กระเสียน ว. ชิด, สนิท, แนบเนียน, เช่น ชฎากลีบจีบเวียนกระเสียนพระศก. (อภัย), เขาเข้าไม้ปะที่ตรงนี้ดีนัก พอดีกระเสียนกันทีเดียว; (โบ) อาการที่ของสิ่งใดสิ่งหนึ่งสอดเสียดลงไปในช่องในรูไม่คับไม่หลวมพอครือ ๆ กัน. (ปรัดเล). |
กระเสียน มีเครื่องหมายยัติภังค์หน้าคำ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-สอ-เสือ-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก-นอ-หนู | ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ใช้เข้าคู่กับคำ กระเบียด เป็น กระเบียดกระเสียน หมายความว่า อาการที่คนพูดจาเสียดสีด้วยถ้อยคำต่าง ๆ หรือกดขี่เบียดเบียน. ในวงเล็บ มาจาก อักขราภิธานศรับท์ ของ หมอปรัดเล. | กระเสียน (โบ) ว. ใช้เข้าคู่กับคำ กระเบียด เป็น กระเบียดกระเสียน หมายความว่า อาการที่คนพูดจาเสียดสีด้วยถ้อยคำต่าง ๆ หรือกดขี่เบียดเบียน. (ปรัดเล). |
กระเสียร เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-สอ-เสือ-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก-รอ-เรือ | [เสียน] เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง คับแคบ, ลําบาก, ฝืดเคือง, ใช้เข้าคู่กับคํา กระเบียด เป็น กระเบียดกระเสียร. ในวงเล็บ มาจากภาษาบาลี กสิร เขียนว่า กอ-ไก่-สอ-เสือ-สะ-หระ-อิ-รอ-เรือ. | กระเสียร [เสียน] ว. คับแคบ, ลําบาก, ฝืดเคือง, ใช้เข้าคู่กับคํา กระเบียด เป็น กระเบียดกระเสียร. (ป. กสิร). |
กระเสือกกระสน เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-สอ-เสือ-สะ-หระ-อือ-ออ-อ่าง-กอ-ไก่-กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สอ-เสือ-นอ-หนู | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ดิ้นรนเพื่อให้พ้นความทุกข์ยากเป็นต้น. | กระเสือกกระสน ว. ดิ้นรนเพื่อให้พ้นความทุกข์ยากเป็นต้น. |
กระแส เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-แอ-สอ-เสือ | เป็นคำนาม หมายถึง นํ้าหรือลมเป็นต้นที่ไหลหรือพัดเรื่อยเป็นแนวเป็นทางไปไม่ขาดสาย เช่น กระแสนํ้า กระแสลม, โดยปริยายหมายถึงอาการเช่นนั้น; เส้น, สาย, แนว, ทาง, เช่น กระแสความ กระแสความคิด; เส้นวัดที่ดินทำด้วยหวายหรือเหล็กเป็นต้น เรียกว่า เส้นกระแส. ในวงเล็บ เทียบ ภาษาเขมร แขฺส เขียนว่า สะ-หระ-แอ-ขอ-ไข่-พิน-ทุ-สอ-เสือ = เชือก . | กระแส น. นํ้าหรือลมเป็นต้นที่ไหลหรือพัดเรื่อยเป็นแนวเป็นทางไปไม่ขาดสาย เช่น กระแสนํ้า กระแสลม, โดยปริยายหมายถึงอาการเช่นนั้น; เส้น, สาย, แนว, ทาง, เช่น กระแสความ กระแสความคิด; เส้นวัดที่ดินทำด้วยหวายหรือเหล็กเป็นต้น เรียกว่า เส้นกระแส. (เทียบ ข. แขฺส = เชือก). |
กระแสการเงิน เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-แอ-สอ-เสือ-กอ-ไก่-สะ-หระ-อา-รอ-เรือ-สะ-หระ-เอ-งอ-งู-สะ-หระ-อิ-นอ-หนู | เป็นคำนาม หมายถึง การหมุนเวียนของเงินตรา. | กระแสการเงิน น. การหมุนเวียนของเงินตรา. |
กระแสความ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-แอ-สอ-เสือ-คอ-ควาย-วอ-แหวน-สะ-หระ-อา-มอ-ม้า | เป็นคำนาม หมายถึง แนวความ, ข้อความที่ต่อเนื่องกัน. | กระแสความ น. แนวความ, ข้อความที่ต่อเนื่องกัน. |
กระแสจิต เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-แอ-สอ-เสือ-จอ-จาน-สะ-หระ-อิ-ตอ-เต่า | เป็นคำนาม หมายถึง กระแสความนึกคิดหรือกระบวนความนึกคิดที่เกิดดับต่อเนื่องกันไป, เรียกอาการที่ส่งความนึกคิดติดต่อกันระหว่างจิตของคนหนึ่งกับอีกคนหนึ่ง ซึ่งอยู่ห่างกันโดยไม่ต้องอาศัยประสาทสัมผัสทั้ง ๕ อย่างใดอย่างหนึ่งว่า การส่งกระแสจิต. | กระแสจิต น. กระแสความนึกคิดหรือกระบวนความนึกคิดที่เกิดดับต่อเนื่องกันไป, เรียกอาการที่ส่งความนึกคิดติดต่อกันระหว่างจิตของคนหนึ่งกับอีกคนหนึ่ง ซึ่งอยู่ห่างกันโดยไม่ต้องอาศัยประสาทสัมผัสทั้ง ๕ อย่างใดอย่างหนึ่งว่า การส่งกระแสจิต. |
กระแสตรง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-แอ-สอ-เสือ-ตอ-เต่า-รอ-เรือ-งอ-งู | เป็นคำนาม หมายถึง กระแสไฟฟ้าซึ่งเคลื่อนที่ตามแนวทิศเดียวกันอยู่ตลอดเวลา. ในวงเล็บ มาจากภาษาอังกฤษ direct เขียนว่า ดี-ไอ-อา-อี-ซี-ที current เขียนว่า ซี-ยู-อา-อา-อี-เอ็น-ที เขียนย่อว่า เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก-นอ-หนู-ยอ-ยัก-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-วอ-แหวน-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา D.C. เขียนว่า ดี-จุด-ซี-จุด . | กระแสตรง น. กระแสไฟฟ้าซึ่งเคลื่อนที่ตามแนวทิศเดียวกันอยู่ตลอดเวลา. (อ. direct current เขียนย่อว่า D.C.). |
กระแสนํ้า เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-แอ-สอ-เสือ-นอ-หนู-นิก-คะ-หิด-ไม้-โท-สะ-หระ-อา | เป็นคำนาม หมายถึง สายนํ้า. | กระแสนํ้า น. สายนํ้า. |
กระแสพระราชดำรัส เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-แอ-สอ-เสือ-พอ-พาน-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-รอ-เรือ-สะ-หระ-อา-ชอ-ช้าง-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-อำ-รอ-เรือ-ไม้-หัน-อา-กาด-สอ-เสือ | [ราดชะ] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในราชาศัพท์ เป็นคำนาม หมายถึง ข้อความที่พระเจ้าแผ่นดินตรัส. | กระแสพระราชดำรัส [ราดชะ] (ราชา) น. ข้อความที่พระเจ้าแผ่นดินตรัส. |
กระแสรับสั่ง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-แอ-สอ-เสือ-รอ-เรือ-ไม้-หัน-อา-กาด-บอ-ไบ-ไม้-สอ-เสือ-ไม้-หัน-อา-กาด-ไม้-เอก-งอ-งู | ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในราชาศัพท์ เป็นคำนาม หมายถึง คําพูด. | กระแสรับสั่ง (ราชา) น. คําพูด. |
กระแสลม เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-แอ-สอ-เสือ-ลอ-ลิง-มอ-ม้า | เป็นคำนาม หมายถึง สายลมพัด. | กระแสลม น. สายลมพัด. |
กระแสสลับ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-แอ-สอ-เสือ-สอ-เสือ-ลอ-ลิง-ไม้-หัน-อา-กาด-บอ-ไบ-ไม้ | [สะหฺลับ] เป็นคำนาม หมายถึง กระแสไฟฟ้าซึ่งเคลื่อนที่โดยสลับแนวทิศอยู่ตลอดเวลา. ในวงเล็บ มาจากภาษาอังกฤษ alternating เขียนว่า เอ-แอล-ที-อี-อา-เอ็น-เอ-ที-ไอ-เอ็น-จี current เขียนว่า ซี-ยู-อา-อา-อี-เอ็น-ที เขียนย่อว่า เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก-นอ-หนู-ยอ-ยัก-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-วอ-แหวน-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา A.C. เขียนว่า เอ-จุด-ซี-จุด . | กระแสสลับ [สะหฺลับ] น. กระแสไฟฟ้าซึ่งเคลื่อนที่โดยสลับแนวทิศอยู่ตลอดเวลา. (อ. alternating current เขียนย่อว่า A.C.). |
กระแสเสียง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-แอ-สอ-เสือ-สะ-หระ-เอ-สอ-เสือ-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก-งอ-งู | เป็นคำนาม หมายถึง เสียงที่แล่นไป, นํ้าเสียง. | กระแสเสียง น. เสียงที่แล่นไป, นํ้าเสียง. |
กระแสง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-แอ-สอ-เสือ-งอ-งู ความหมายที่ ๑ | เป็นคำนาม หมายถึง เสียง, เสียงแจ่มจ้า เช่น จึ่งตั้งนโม ซุ่มเสียงใหญ่โต กระแสงแจ่มใส. ในวงเล็บ มาจาก ประถม ก กา แบบเรียนของเก่า โรงพิมพ์ครูสมิท จ.ศ. ๑๒๔๙. | กระแสง ๑ น. เสียง, เสียงแจ่มจ้า เช่น จึ่งตั้งนโม ซุ่มเสียงใหญ่โต กระแสงแจ่มใส. (ประถม ก กา). |
กระแสง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-แอ-สอ-เสือ-งอ-งู ความหมายที่ ๒ | เป็นคำนาม หมายถึง แสง, รัศมี; สี. | กระแสง ๒ น. แสง, รัศมี; สี. |
กระแสะ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-แอ-สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง เพลีย, โผเผ, ไม่มีกําลัง, เช่นพูดว่า ข้ามันให้อ่อนหิวกระแสะ ๆ ไป. ในวงเล็บ มาจาก ดิกชนารีไทย ค.ศ. ๑๘๔๖ ตัวเขียนของ J.H. Chandler, และใช้เข้าคู่กับคํา กระเสาะ เป็น กระเสาะกระแสะ. | กระแสะ ว. เพลีย, โผเผ, ไม่มีกําลัง, เช่นพูดว่า ข้ามันให้อ่อนหิวกระแสะ ๆ ไป. (ดิกชนารีไทย), และใช้เข้าคู่กับคํา กระเสาะ เป็น กระเสาะกระแสะ. |
กระโสง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-โอ-สอ-เสือ-งอ-งู | ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำนาม หมายถึง ปลากระสง เช่น กระโสงสังควาดหว้าย ชลา. ในวงเล็บ มาจาก สรรพสิทธิ์คำฉันท์ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิต ชิโนรส ทรงนิพนธ์ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๗. | กระโสง (กลอน) น. ปลากระสง เช่น กระโสงสังควาดหว้าย ชลา. (สรรพสิทธิ์). |
กระไส เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-สอ-เสือ | เป็นคำนาม หมายถึง ทราย เช่น สีคงคาขุ่นเป็นเปือกเทือกกระไส. ในวงเล็บ มาจาก มหาชาติคำกาพย์ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๕๙ กัณฑ์วนปเวสน์, ประทับทอดจอดอ่าวเข้าไม่ได้ โขดกระไสติดช่องร่องวิถี. ในวงเล็บ มาจาก นิราศเกาะแก้วกัลกตา. | กระไส น. ทราย เช่น สีคงคาขุ่นเป็นเปือกเทือกกระไส. (ม. กาพย์ วนปเวสน์), ประทับทอดจอดอ่าวเข้าไม่ได้ โขดกระไสติดช่องร่องวิถี. (นิ. เกาะแก้วกัลกตา). |
กระหง่อง, กระหน่อง ๑ กระหง่อง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-หอ-หีบ-งอ-งู-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-งอ-งู กระหน่อง ความหมายที่ ๑ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-หอ-หีบ-นอ-หนู-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-งอ-งู | ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ และเป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำกริยา หมายถึง จ้อง, คอยดู, เช่น ตากตากระหง่องเตรียม คอยแม่ มาฤๅ. ในวงเล็บ มาจาก นิราศพระยาตรัง, ตระหง่อง หรือ ตระหน่อง ก็ใช้. | กระหง่อง, กระหน่อง ๑ (โบ; กลอน) ก. จ้อง, คอยดู, เช่น ตากตากระหง่องเตรียม คอยแม่ มาฤๅ. (นิ. ตรัง), ตระหง่อง หรือ ตระหน่อง ก็ใช้. |
กระหน เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-หอ-หีบ-นอ-หนู | ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ เป็นคำกริยา หมายถึง ดิ้นรน, เดือดร้อน, กระวนกระวาย. ในวงเล็บ มาจากภาษาเขมร กฺรหล่ เขียนว่า กอ-ไก่-พิน-ทุ-รอ-เรือ-หอ-หีบ-ลอ-ลิง-ไม้-เอก. | กระหน (โบ) ก. ดิ้นรน, เดือดร้อน, กระวนกระวาย. (ข. กฺรหล่). |
กระหนก เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-หอ-หีบ-นอ-หนู-กอ-ไก่ ความหมายที่ ๑ | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อแบบลายไทยประเภทหนึ่ง ใช้ผูกเขียนเป็นลวดลาย มีทั้งระบายสี ปิดทองรดนํ้า ปั้น หรือแกะสลักเป็นต้น มีหลายชนิด เช่น กระหนกเปลว กระหนกก้านขด กระหนกเครือ, เดิมเขียนเป็น กนก ก็มี. | กระหนก ๑ น. ชื่อแบบลายไทยประเภทหนึ่ง ใช้ผูกเขียนเป็นลวดลาย มีทั้งระบายสี ปิดทองรดนํ้า ปั้น หรือแกะสลักเป็นต้น มีหลายชนิด เช่น กระหนกเปลว กระหนกก้านขด กระหนกเครือ, เดิมเขียนเป็น กนก ก็มี. |
กระหนก เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-หอ-หีบ-นอ-หนู-กอ-ไก่ ความหมายที่ ๒ | ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ เป็นคำกริยา หมายถึง ตระหนก, ตกใจ, สะดุ้ง, หวาด. | กระหนก ๒ (โบ) ก. ตระหนก, ตกใจ, สะดุ้ง, หวาด. |
กระหนกกินรี, กระหนกนฤมิต กระหนกกินรี เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-หอ-หีบ-นอ-หนู-กอ-ไก่-กอ-ไก่-สะ-หระ-อิ-นอ-หนู-รอ-เรือ-สะ-หระ-อี กระหนกนฤมิต เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-หอ-หีบ-นอ-หนู-กอ-ไก่-นอ-หนู-รอ-รึ-มอ-ม้า-สะ-หระ-อิ-ตอ-เต่า | ดู กระหนกนารี เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-หอ-หีบ-นอ-หนู-กอ-ไก่-นอ-หนู-สะ-หระ-อา-รอ-เรือ-สะ-หระ-อี. | กระหนกกินรี, กระหนกนฤมิต ดู กระหนกนารี. |
กระหนกนารี เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-หอ-หีบ-นอ-หนู-กอ-ไก่-นอ-หนู-สะ-หระ-อา-รอ-เรือ-สะ-หระ-อี | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Rhektophyllum mirabile N.E. Br. ในวงศ์ Araceae ต้นมีไหลเลื้อยเหนือพื้นดินแยกออกไปเป็นต้นใหม่ได้ ใบคล้ายใบบอนสี มีลายขาวตามเส้นใบ, กระหนกกินรี กระหนกนฤมิต บอนลายกระหนก หรือ แม้นเขียน ก็เรียก. | กระหนกนารี น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Rhektophyllum mirabile N.E. Br. ในวงศ์ Araceae ต้นมีไหลเลื้อยเหนือพื้นดินแยกออกไปเป็นต้นใหม่ได้ ใบคล้ายใบบอนสี มีลายขาวตามเส้นใบ, กระหนกกินรี กระหนกนฤมิต บอนลายกระหนก หรือ แม้นเขียน ก็เรียก. |
กระหน่อง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-หอ-หีบ-นอ-หนู-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-งอ-งู ความหมายที่ ๒ | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาถิ่นภาคอีสาน เป็นคำนาม หมายถึง อวัยวะส่วนหลังของลำแข้ง ตั้งแต่ขาพับลงไปถึงส้นเท้า เช่น ตัวหนึ่งกัดเอ็นกระหน่อง. ในวงเล็บ มาจาก หนังสือมหาเวสสันดรชาดก คำกลอน ฉบับโรงพิมพ์กิมหลีหงวน พ.ศ. ๒๔๗๒ ก์ณฑ์ชูชก, กระน่อง ขะน่อง หรือ ขาน่อง ก็เรียก. | กระหน่อง ๒ (ถิ่นอีสาน) น. อวัยวะส่วนหลังของลำแข้ง ตั้งแต่ขาพับลงไปถึงส้นเท้า เช่น ตัวหนึ่งกัดเอ็นกระหน่อง. (ม. ภาคอีสาน ชูชก), กระน่อง ขะน่อง หรือ ขาน่อง ก็เรียก. |
กระหนาก เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-หอ-หีบ-นอ-หนู-สะ-หระ-อา-กอ-ไก่ | (แผลงมาจาก ขนาก) ดู ขนาก. | กระหนาก (แผลงมาจาก ขนาก) ดู ขนาก. |
กระหนาบ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-หอ-หีบ-นอ-หนู-สะ-หระ-อา-บอ-ไบ-ไม้ | เป็นคำกริยา หมายถึง ประชิดเข้าไปทั้ง ๒ ข้าง เช่น กองทัพตีกระหนาบ; อาการที่อยู่ทั้ง ๒ ข้าง เช่น กระหนกกระหนาบภาพหาญ, กระหนกกระหนาบคาบเครือสร้อยสน. ในวงเล็บ มาจาก ประชุมคำพากย์รามเกียรติ์ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ; ดุดันเอา. (แผลงมาจาก ขนาบ). | กระหนาบ ก. ประชิดเข้าไปทั้ง ๒ ข้าง เช่น กองทัพตีกระหนาบ; อาการที่อยู่ทั้ง ๒ ข้าง เช่น กระหนกกระหนาบภาพหาญ, กระหนกกระหนาบคาบเครือสร้อยสน. (พากย์); ดุดันเอา. (แผลงมาจาก ขนาบ). |
กระหนาบคาบเกี่ยว เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-หอ-หีบ-นอ-หนู-สะ-หระ-อา-บอ-ไบ-ไม้-คอ-ควาย-สะ-หระ-อา-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-เอ-กอ-ไก่-สะ-หระ-อี-ไม้-เอก-ยอ-ยัก-วอ-แหวน | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ประชิดเหลื่อมลํ้ากัน. | กระหนาบคาบเกี่ยว ว. ประชิดเหลื่อมลํ้ากัน. |
กระหน่ำ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-หอ-หีบ-นอ-หนู-ไม้-เอก-สะ-หระ-อำ | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ซํ้า ๆ ลงอย่างหนัก. | กระหน่ำ ว. ซํ้า ๆ ลงอย่างหนัก. |
กระหมวด เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-หอ-หีบ-มอ-ม้า-วอ-แหวน-ดอ-เด็ก ความหมายที่ ๑ | เป็นคำกริยา หมายถึง ขอดให้เป็นปม, มุ่น, บิดม้วนให้เป็นปม. (แผลงมาจาก ขมวด). | กระหมวด ๑ ก. ขอดให้เป็นปม, มุ่น, บิดม้วนให้เป็นปม. (แผลงมาจาก ขมวด). |
กระหมวด เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-หอ-หีบ-มอ-ม้า-วอ-แหวน-ดอ-เด็ก ความหมายที่ ๒ | เป็นคำนาม หมายถึง จอมประสาทศีรษะช้าง เป็นอวัยวะสําคัญที่เกิดขนช้างฐาน ๑ ใน ๕ ฐาน คือ ขนที่หู หาง บรรทัดหลัง กระหมวดหรือโขมด ราวชัก (คือ สีข้างช้าง แต่โดยนิยมถือเอาเฉพาะแนวที่สายประโคนรัด ซึ่งถัดจากขาหน้าไปหน่อยหนึ่ง), ในการดูลักษณะช้างเผือก ใช้ตรวจขนทั้ง ๕ ฐานนี้ เป็นทางประกอบการพิจารณา. | กระหมวด ๒ น. จอมประสาทศีรษะช้าง เป็นอวัยวะสําคัญที่เกิดขนช้างฐาน ๑ ใน ๕ ฐาน คือ ขนที่หู หาง บรรทัดหลัง กระหมวดหรือโขมด ราวชัก (คือ สีข้างช้าง แต่โดยนิยมถือเอาเฉพาะแนวที่สายประโคนรัด ซึ่งถัดจากขาหน้าไปหน่อยหนึ่ง), ในการดูลักษณะช้างเผือก ใช้ตรวจขนทั้ง ๕ ฐานนี้ เป็นทางประกอบการพิจารณา. |
กระหมอบ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-หอ-หีบ-มอ-ม้า-ออ-อ่าง-บอ-ไบ-ไม้ | ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง แขม่ว ๆ เช่น หายใจกระหมอบหอบเต็มที. ในวงเล็บ มาจาก คาวี พระราชนิพนธ์ ในรัชกาลที่ ๒ พิมพ์ จ.ศ. ๑๒๔๙. | กระหมอบ (กลอน) ว. แขม่ว ๆ เช่น หายใจกระหมอบหอบเต็มที. (คาวี). |
กระหม่อม เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-หอ-หีบ-มอ-ม้า-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-มอ-ม้า | เป็นคำนาม หมายถึง ส่วนของกะโหลกอยู่ตรงแนวศีรษะแต่ตํ่ากว่าส่วนสูงสุดลงมาใกล้หน้าผาก ในเด็กแรกเกิดจนถึง ๒ ขวบส่วนนี้จะมีเนื้อเยื่ออ่อนปิดรอยประสานกะโหลกที่ยังเปิดอยู่ หลังจากนั้นเนื้อเยื่ออ่อนนี้จะกลายเป็นกระดูก, โดยปริยายหมายรวม ๆ ว่า หัว เช่น เป่ากระหม่อม ลงกระหม่อม, ขม่อม ก็ว่า; คําสําหรับใช้ควบกับคําที่ขึ้นต้น ว่า เกล้า เช่น ทราบเกล้าทราบกระหม่อม ทูลเกล้าทูลกระหม่อม ในการเขียนหนังสือใช้ไปยาลน้อยแทน เช่น ทราบเกล้าฯ ทูลเกล้าฯ. เป็นคำสรรพนาม หมายถึง คําใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย เพ็ดทูลเจ้านายชั้นหม่อมเจ้า และพระวรวงศ์เธอที่มิได้ทรงกรม, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑. ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในราชาศัพท์ เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง คำรับหรือคำลงท้ายที่ผู้ชายใช้เพ็ดทูลเจ้านายชั้นหม่อมเจ้า. (ย่อมาจาก ขอรับกระหม่อม). (แผลงมาจาก ขม่อม). | กระหม่อม น. ส่วนของกะโหลกอยู่ตรงแนวศีรษะแต่ตํ่ากว่าส่วนสูงสุดลงมาใกล้หน้าผาก ในเด็กแรกเกิดจนถึง ๒ ขวบส่วนนี้จะมีเนื้อเยื่ออ่อนปิดรอยประสานกะโหลกที่ยังเปิดอยู่ หลังจากนั้นเนื้อเยื่ออ่อนนี้จะกลายเป็นกระดูก, โดยปริยายหมายรวม ๆ ว่า หัว เช่น เป่ากระหม่อม ลงกระหม่อม, ขม่อม ก็ว่า; คําสําหรับใช้ควบกับคําที่ขึ้นต้น ว่า เกล้า เช่น ทราบเกล้าทราบกระหม่อม ทูลเกล้าทูลกระหม่อม ในการเขียนหนังสือใช้ไปยาลน้อยแทน เช่น ทราบเกล้าฯ ทูลเกล้าฯ. ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย เพ็ดทูลเจ้านายชั้นหม่อมเจ้า และพระวรวงศ์เธอที่มิได้ทรงกรม, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑. (ราชา) ว. คำรับหรือคำลงท้ายที่ผู้ชายใช้เพ็ดทูลเจ้านายชั้นหม่อมเจ้า. (ย่อมาจาก ขอรับกระหม่อม). (แผลงมาจาก ขม่อม). |
กระหม่อมบาง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-หอ-หีบ-มอ-ม้า-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-มอ-ม้า-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อา-งอ-งู | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นสำนวน เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง เจ็บป่วยง่าย เช่น เขาเป็นคนกระหม่อมบาง ถูกนํ้าค้างหน่อยก็เป็นหวัด, ขม่อมบาง ก็ว่า. | กระหม่อมบาง (สำ) ว. เจ็บป่วยง่าย เช่น เขาเป็นคนกระหม่อมบาง ถูกนํ้าค้างหน่อยก็เป็นหวัด, ขม่อมบาง ก็ว่า. |
กระหมั่ง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-หอ-หีบ-มอ-ม้า-ไม้-หัน-อา-กาด-ไม้-เอก-งอ-งู | ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง กระมัง เช่น เครื่องค้าเหลือผู้ซื้อ กระหมั่ง. ในวงเล็บ มาจาก ลิลิตพระลอ แบบเรียน. | กระหมั่ง (กลอน) ว. กระมัง เช่น เครื่องค้าเหลือผู้ซื้อ กระหมั่ง. (ลอ). |
กระหม่า เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-หอ-หีบ-มอ-ม้า-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา | ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ เป็นคำกริยา หมายถึง ประหม่า, สะทกสะท้าน, พรั่นใจ, เช่น กระมลบ้ากระหม่ามะเมอ. ในวงเล็บ มาจาก สมุทรโฆษคำฉันท์ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๘. | กระหม่า (โบ) ก. ประหม่า, สะทกสะท้าน, พรั่นใจ, เช่น กระมลบ้ากระหม่ามะเมอ. (สมุทรโฆษ). |
กระหมิด มีเครื่องหมายยัติภังค์หน้าคำ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-หอ-หีบ-มอ-ม้า-สะ-หระ-อิ-ดอ-เด็ก | ใช้เข้าคู่กับคํา กระหมุด เป็น กระหมุดกระหมิด. | กระหมิด ใช้เข้าคู่กับคํา กระหมุด เป็น กระหมุดกระหมิด. |
กระหมิบ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-หอ-หีบ-มอ-ม้า-สะ-หระ-อิ-บอ-ไบ-ไม้ | เป็นคำกริยา หมายถึง ทําปากหรือช่องทวารหนักทวารเบาให้เม้มอยู่; อาการที่กล้ามเนื้อขอบปากทวารรัดตัวเข้ามา. (แผลงมาจาก ขมิบ). เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคํา กระหมุบ เป็น กระหมุบกระหมิบ. | กระหมิบ ก. ทําปากหรือช่องทวารหนักทวารเบาให้เม้มอยู่; อาการที่กล้ามเนื้อขอบปากทวารรัดตัวเข้ามา. (แผลงมาจาก ขมิบ). ว. บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคํา กระหมุบ เป็น กระหมุบกระหมิบ. |
กระหมุดกระหมิด เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-หอ-หีบ-มอ-ม้า-สะ-หระ-อุ-ดอ-เด็ก-กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-หอ-หีบ-มอ-ม้า-สะ-หระ-อิ-ดอ-เด็ก | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ขมวดให้แน่น เช่น สักกระสันเป็นสามรวดรัดกระหวัดกระหมุดกระหมิดฉุดชิด ชักชายน้อยห้อยหูกระต่าย. ในวงเล็บ มาจาก มหาเวสสันดรชาดก ในวงเล็บ แบบเรียน กัณฑ์ชูชก. | กระหมุดกระหมิด ว. ขมวดให้แน่น เช่น สักกระสันเป็นสามรวดรัดกระหวัดกระหมุดกระหมิดฉุดชิด ชักชายน้อยห้อยหูกระต่าย. (ม. ร่ายยาว ชูชก). |
กระหมุ่น เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-หอ-หีบ-มอ-ม้า-สะ-หระ-อุ-ไม้-เอก-นอ-หนู | ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง มุ่น; ขุ่น เช่น นํ้าใช้และนํ้าฉัน นานหลายวันเป็นกระหมุ่น. (ขมุ่น หรือ ขนุ่น ทางเหนือว่า ขี้ตะกอน, ทางใต้ใช้ว่า หมวน). | กระหมุ่น (โบ) ว. มุ่น; ขุ่น เช่น นํ้าใช้และนํ้าฉัน นานหลายวันเป็นกระหมุ่น. (ขมุ่น หรือ ขนุ่น ทางเหนือว่า ขี้ตะกอน, ทางใต้ใช้ว่า หมวน). |